ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. moonoiija

    moonoiija เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2014
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +198
    (deejai)
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ทหารปฏิรูปประเทศไทย

    [​IMG]

    วันที่ 20 ก.พ.58 เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินเอฟ 16 ตกขณะฝึก
    เกิดอุบัติเหตุ เครื่องบินเอฟ 16 รุ่น A หมายเลขเครื่อง 10316 ทำการบิน ไปฝึกใช้อาวุธต่อเป้าหมายพื้นดิน Air to ground ซึ่งเป็นการฝึกแบบ Lccal flight ของฝูงบิน 103 กองบิน1 โคราช ในการฝึกพร้อมรบ ทำการขึ้นทำการฝึก ประสบเหตุตก ณ สนามการใช้อาวุธ ชัยบาดาล จ.ลพบุรี
    เรืออากาศเอก นพนนท์ นิวาศานนท์ นักบินประจำหมวดบิน 3 ฝ่ายยุทธการ ฝูงบิน 103 กองบิน 1 ไม่สามารถดีดตัวออกจากเครื่องบินได้ทัน ล่าสุดพบร่างเขาแล้ว เตรียมนำร่างกลับไปประกอบพิธีทางศาสนา ที่บ้านเกิดจังหวัดปราจีนบุรี แล้ว
    ----------------------------------->
    ขอแสดงว่าเสียใจกับญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูงทุกคน เรืออากาศเอก นพนนท์ นิวาศานนท์ เขาได้ทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถ สมกับเป็นชายชาติทหารแล้ว..ทหารที่ยังอยู่ทุกคน จะมุ่งมั่นทำหน้าที่ต่อจากเขา ปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชนต่อไป..หลับให้เถิดสบายน้องรัก !!
    @ เสธ น้ำเงิน4 : กดปุ่ม “ติดตาม” ด้านบนเพจ เพื่อรับข่าวครั้งต่อไป
    https://www.facebook.com/thailandcoup
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ปอกเปลือก ทรราช ·

    [​IMG]

    สหรัฐฯ-ตุรกีตกลงร่วมฝึกทหารและติดอาวุธให้กลุ่มกบฎต่อต้านรัฐบาลซีเรีย
    ----------------
    เมื่อวันก่อนสหรัฐฯก็พึ่งจะปล่อยข่าวเรื่อง IS จะบุกยุโรปไปแม็บๆ เมื่อวานก็มีข่าวว่าตุรกีกำลังจะซื้อระบบมิสไซล์ป้องกันภัยทางอากาศพิสัยกลาง HQ-9 จากจีนซึ่งไม่เข้ากับระบบเดิมของนาโต้ที่ตุรกีเป็นพันธมิตรร่วมอยู่ด้วย แต่ฝ่ายสหรัฐฯและนาโต้ก็ดิ้นสุดๆ หาทางที่จะไม่ให้ตุรกีใช้ของจีน มาวันนี้ไม่รู้ว่าเอาอะไรไปบีบรัฐบาลตุรกีให้ลงนามยอมร่วมมือกับสหรัฐฯให้ไปฝึกยุธทวิธีและการใช้อาวุธให้กับกลุ่มกบฎที่กำลังทำสงครามกลางเมืองกับรัฐบาลซีเรียที่มาจากการเลือกตั้งอยู่ในขณะนี้
    โดยในการนี้เอกอัคราชทูตสหรัฐฯประตุรกีและรองรัฐมนตรีต่างประเทศของตุรกีได้ลงนามร่วมกันที่ประเทศตุรกีว่าทางสหรัฐฯจะส่งทหารจำนวน 400 นายเพื่อไปฝึกกองกำลังติดอาวุธที่ทางสหรัฐฯเรียกว่า "กบฎสายกลาง" (moderate rebels) (สมาชิกของกองกำลังปลดปล่อยซีเรีย) ภายนอกประเทศตุรกี โดยอาจจะส่งไปฝึกที่ซาอุดิอาระเบียและกาตาร์พร้อมกับฝ่ายตุรกี ตามแผนนั้นทางสหรัฐฯจะสามารถสร้างกองทัพใหม่ให้ฝ่ายกบฎได้ปีละ 5,000 คนระช่วงระยะเวลา 3 ปี วัตถุประสงค์หลักของข้อตกลงนี้ก็คือเพื่อสนับสนุนกลุ่มกบฎและต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้าย al-Qaeda ในพื้นที่ โดยสหรัฐฯอ้างว่าจะให้อำนาจแก่กลุ่มกบฎให้สามารถร้องขอความช่วยเหลือการส่งเครื่องบินรบมาทิ้งระเบิดใส่ฝ่ายตรงข้ามของกลุ่มกบฎได้ด้วย
    งานนี้สหรัฐฯชงเองกินเองหมดเลย ก็กลุ่มกบฎพวกนี้สหรัฐฯก็คุมอยู่ บอกให้พูดอย่างไรก็ต้องพูดตามอยู่แล้ว สหรัฐฯจะอ้างการทิ้งระเบิดหรือการโจมตีทางอากาศใส่จุดไหนของซีเรียหรือฐานขุดเจาะน้ำมันหรือโรงกลั่นน้ำมันแหน่งไหนของรัฐบาลซีเรียโดยอ้างว่าเป็นคำขอจากกลุ่มกบฎก็ย่อมทำได้อยู่แล้ว และที่ตุรกียอมเซ็นข้อตกลงในครั้งนี้ก็คงจะโดนขู่ว่าหากไม่ยอมทำตามที่รัฐบาลสหรัฐฯต้องการก็ส่งพวก IS เข้าก่อความวุ่นวายในตุรกีแน่ๆ แล้วยังมีเรื่องที่ตุรกีกำลังจะตัดสินใจซื้ออาวุธจากจีนอีกจะว่าอย่างไร จะซื้อของจีนหรือของนาโต้ด้วยกัน ไม่งั้นเอา IS ไปปล่อยในตุรกีนะ ส่วนเรื่องซีเรียนั้นก็ผลประโยชน์เรื่องน้ำมันล้วนๆ ไม่มีอะไรมาก เพราะสหรัฐฯและอียูแซงชั่นรัฐบาลซีเรียแต่รับซื้อน้ำมันจากฝ่ายกบฎที่เข้ายึดแท่นขุดเจาะน้ำมันและโรงกลั่นน้ำมันจากรัฐบาลซีเรียมาได้ แต่ไม่ให้ใครซื้อจากฝั่งรัฐบาลซีเรีย
    The Eyes
    20/02/2558
    -----------
    http://rt.com/news/233927-us-turkey-train-equip-rebels/
    US-trained ‘moderate’ Syrian rebels to get tools to call-in airstrikes – report — RT News
    US & Turkey Sign Deal to Train Syrian Rebels / Sputnik International
    http://rt.com/news/233839-isis-turkey-attack-diplomatic/
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เปิดโฉมหน้าผู้ฟัตวาอนุญาตให้ ISIS ฆ่าอำมหิต
    ตะวันออกกลางบทความby อิบรอฮีม อาแว - ก.พ. 19, 2015 2480

    ใครออกคำฟัตวาอนุญาตให้กลุ่มไอซิสใช้อ้างความชอบธรรมในการสังหารบรรดาเด็กๆและสตรี ? เป็นคำถามที่มีอยู่ในหัวใจของผู้คนทั่วโลก
    กลุ่มก่อการร้ายไอซิส อาศัยคำฟัตวา(วินิจฉัย)ของอุลามาอ์(ผู้รู้ทางศาสนา)วะฮาบี เป็นพื้นฐานความชอบธรรมในการฆ่าบรรดาสตรีและเด็กๆ
    ALALAM – บรรดาผู้สนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายไอซิส เพื่อที่จะอธิบายเหตุผลของการก่ออาชญากรรมต่างๆ ของพวกเขาที่กระทำกับบรรดาสตรีและเด็กๆ พวกเขาได้ตีพิมพ์คำฟัตวา ของ “มุฮัมมัด บินซอและห์ อัลอุษัยมีน” อดีตมุฟตี(ผู้รู้ระดับสูงที่สามารถออกคำวินิจฉัยปัญหาข้อขัดแย้งทางศาสนาอิสลาม) ของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งในคำฟัตวาดังกล่าวอนุญาตให้ฆ่าบรรดาสตรีและเด็กๆ ของบุคคลที่พวกเขาเรียกว่าเป็นกุฟฟาร์ “ผู้ปฏิเสธศาสนา”
    ตามรายงาน บรรดาผู้สนับสนุนกลุ่มไอซิส (ISIS) ได้ตีพิมพ์คำฟัตวาหนึ่งโดยอ้างจาก “มุฮัมมัด บินซอและห์ อัลอุษัยมีน” ลงใน สื่อออนไลน์ต่างๆ โดยคำฟัตวานี้เป็นคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า “การฆ่าบรรดาสตรีและเด็กๆ ของผู้ปฏิเสธศรัทธา หากพวกเขาได้กระทำเช่นนี้กับเรา เป็นที่อนุญาตหรือไม่?
    เขาตอบว่า “เราสามารถฆ่าบรรดาสตรีและเด็กๆ ของพวกเขาได้ เนื่องจากว่าการกระทำเช่นนี้จะทำให้หัวใจของบรรดาศัตรูแตกสลาย และเป็นการดูถูกเหยียดหยามพวกเขา” !!!!

    เหลียวมอง ชีวะประวัติ มุฮัมมัด บินซอและห์ อัลอุษัยมีน

    [​IMG]

    ชื่อ อบูอับดุลลอฮ์ มุฮัมมัด บิน ซอและห์ บิน มุฮัมมัด บินสุไลมาน บิน อับดุลรอฮ์มาน อัลอุษัยมีน ตะมีมีย์ นัจดีย์ รู้จักในนาม มุฮัมมัด บินซอและห์ อัลอุษัยมีน เกิดวันที่ 14 เดือนมิถุนายน ปี 1925 (ฮ.ศ 1347 ) ณ. เมือง อะนีซะห์ แคว้นกอศียม์ ซาอุดีอาระเบีย

    อาจารย์วิชาหลักศรัทธาตามลัทธิวะฮาบี นิติศาสตร์ และไวยกรณ์อาหรับ คือ มุฮัมมัดบิน อับกุลอาซิส
    ปี 1370 เป็นอาจารย์สอนในมหาลัยอิสลามอะนีซะห์
    ปี 1376 ได้รับการแต่งตั้งเป็นอิมามและคอติบนมาซวันศุกร์ประจำมัสยิดญาเมีอ์ อะนีซะห์ (หลัง อับดุลรอฮ์มาน อัลซะอ์ดีย์ เสียชีวิต)
    หลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคอติบประจำมัสยิดฮะรอมในเมืองมักกะห์
    ในปี 1384 – 1385 ได้เริ่มกล่าวบรรยายในมหาลัยอุมมุลกุรอ และเริ่มสาธยายความคิดของอิบนุตัยมียะห์และอิบนุก็อยยุม จากนั้นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดีมหาลัยอิมามมุฮัมมัด บิน ซาอูด ในเมือง กอศียม เป็นสมาชิกของคณะสภาอุลามาอ์ชั้นสูงของซาอุดิอาระเบีย
    ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ปี 1994 ได้รับรางวัลพระทานผู้รับใช้ศาสนาอิสลามดีเด่นแห่งปีตามหลักคำสอนของมุฮัมมัดบิน อับดุลวะฮาบ จากคิงส์อับดุลลอฮ์
    เขาเสียชีวิตในวัน 10 เดือนมกราคม ปี 2001 ด้วยวัย 84 ปี ฝังที่เมืองมักกะห์ และอับดุลอาซิส บินอับดุลลอฮ์ บินบาส เป็นผู้นำนมาซมัยยิตให้แก่เขา
    เขามีคำฟัตวาแปลกแปลกในด้านหลักความเชื่อและความศรัทธาจำนวนมากที่ขัดแย้งกับอัลกุรอานและอัลฮะดิษ
    หนึ่งในคำฟัตวาของเขา คือ “เราสามารถฆ่าบรรดาสตรีและเด็กๆ ของพวกเขาได้ เนื่องจากว่าการกระทำเช่นนี้จะทำให้หัวใจของบรรดาศัตรูแตกสลาย และเป็นการดูถูกเหยียดหยามพวกเขา !!!! ”
    ในการออกคำฟัตวาที่วิตถารเช่นนี้ เขาได้อาศัยการบิดเบือนจากโองการอัลกุรอาน ในซูเราะห์ บอกอเราะห์ โองการที่ 194 เป็นข้ออ้าง ซึ่งโองการมีอยู่ว่า
    فَمَنِ اعْتَدَى عَلَيْكُمْ فَاعْتَدُواْ عَلَيْهِ بِمِثْلِ مَا اعْتَدَى عَلَيْكُمْ
    ความว่า “ดังนั้นผู้ใดละเมิดต่อพวกเจ้า ก็จงละเมิดต่อเขา เยี่ยงที่เขาละเมิดต่อพวกเขา”
    และนี่คือที่มา ในการฆ่าสังหารบรรดาเด็กๆสตรีและผู้บริสุทธิ์ ตามมุมมองของกลุ่มก่อการร้ายไอซิส………

    แหล่งอ้างอิง

    فتوای داعش برای قتل زنان و کودکان از کیست ؟

    محمّد صالح ابن عثیمین(م 1421 ق)+ عکس | پرسمان دانشجويي - وهابيت

    TWITTER FACEBOOK GOOGLE + PINTEREST

    เปิดโฉมหน้าผู้ฟัตวาอนุญาตให้ ISIS ฆ่าอำมหิต | abnewstoday
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สาส์นจากผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน ถึงบรรดาเยาวชนในยุโรป และอเมริกาเหนือ
    by ยูซุฟ ญาวาดี - ก.พ. 19, 2015 188

    [​IMG]

    ด้วยพระนามของพระองค์อัลลอฮ ผู้ทรงกุรณา ผู้ทรงปราณี

    ถึงบรรดาเยาวชนในยุโรป และอเมริกาเหนือ

    สถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศส และเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันซึ่งเกิดขึ้นในประเทศตะวันตกบางประเทศ เมื่อเร็วๆนี้ ได้ทำให้ข้าพเจ้าตระหนักว่า จะต้องสนทนากับพวกท่านโดยตรง !!

    ข้าพเจ้ากำลังพูดกับพวกท่าน บรรดาเยาวชนคนหนุ่มสาว !! ไม่ใช่เพราะข้าพเจ้ามองไม่เห็น บิดา มารดา ของพวกท่าน แต่เพราะข้าพเจ้าเห็นอนาคตของประเทศชาติ อยู่ในกำมือของพวกท่านทั้งหลาย และข้าพเจ้ายังสัมผัสได้ถึง ความต้องการที่จะใฝ่หาความจริง ซึ่งมันประดับอยู่ในหัวใจที่มีชีวิตชีวามากขึ้น และใฝ่รู้ที่มากขึ้นของพวกท่าน

    เช่นเดียวกันในจดหมายฉบับนี้ ข้าพเจ้าไม่ได้สนทนากับ บรรดานักการเมือง หรือรัฐบาลของพวกท่าน เพราะข้าพเจ้าเชื่อว่า พวกเขาได้แยกเส้นทางทางการเมือง ออกจากเส้นทางแห่งความชอบธรรม และความซื่อสัตย์ไปเสียแล้ว

    สิ่งที่ข้าพเจ้ากำลังพูดกับพวกท่าน คือ เรื่องเกี่ยวกับอิสลาม !! โดยเฉพาะ ภาพลักษณ์ของอิสลามที่ถูกนำเสนอแก่พวกท่าน

    กว่าสองทศวรรษ หรือ นับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตแล้ว มีความพยายามอย่างมากมายที่จะทำให้ศาสนาอันยิ่งใหญ่นี้ ถูกแสดงให้เห็นว่าเป็นศาสนาที่อยู่ในสถานะของศัตรูที่น่าหวาดวิตก และยังมีการกระตุ้นให้เกิดความเกลียดชัง, ความกลัว เพื่อใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้อยู่เสมอ ช่างโชคร้ายที่สิ่งเหล่านี้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองตะวันตกมาอย่างยาวนาน

    ในที่นี้ข้าพเจ้าไม่จะพูดถึง กระแสความหวาดกลัวต่างๆ ที่ถูกชักนำในประเทศต่างๆ ของตะวันตก พวกท่านสามารถกลับไปทบทวน ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาด้วยตัวเอง จะทำให้ท่านเข้าถึงความจริงต่อ การกระทำและแผนการอันไม่ซื่อสัตย์ของรัฐบาลที่ได้ทำไว้กับชาติและวัฒนธรรมอื่นๆของโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่ต่างตำหนิเสมอ

    ประวัติศาสตร์ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ต่างต้องละอายต่อความเป็นทาส ต่างต้องก้มหน้าต่อยุคสมัยแห่งการล่าอาณานิคม ต้องอับอายต่อการกดขี่เรื่องการเหยียดผิว และผู้ที่ไม่ใช่ชาวคริสต์ บรรดานักประวัติศาสตร์ของพวกท่านกลายเป็นเครื่องมือในการแสดงถึงความอับอายอย่างลึกซึ้ง ต่อการหลั่งเลือดภายใต้นามของนิกาย ระหว่าง คาทอลิค และโปรแทสแทนต์ หรือ การหลั่งเลือดภายใต้นามของ ชาติและเผ่าพันธ์ที่้เกิดขึ้น ในสงครามโลกครั้งที่ 1,2

    เป้าหมายของข้าพเจ้าไม่ใช่เพื่อการย้อนร้อยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสารบัญประวัติศาสตร์อันยาวนาน ขอให้ท่านกลับไปถาม บรรดาปัญญาชนเหล่านั้นว่า เพราะเหตุใด มโนธรรมสำนึกของประชาชน มักจะต้องตื่นตัว สายไป 10 หรือ 100 ปี เสมอ ? เพราะเหตุใดคุณธรรมของสังคมจะต้องถูกโยงใยให้เกี่ยวกับกับอดีตที่ห่างไกล แต่ไม่ใช่ในวันนี้ ? เพราะเหตุใด ประเด็นต่างๆที่สำคัญ เช่น แนวทางในการรับมือกับวัฒนธรรมอิสลาม ถึงกลายเป็นสิ่งที่ถูกปิดกั้นจากการรับรู้ของคนทั่วไป ?

    พวกท่านต่างรู้ดีว่า การดูถูก ความเกลียดชัง ความหวาดกลัว คือ พื้นฐานโดยรวมที่บรรดาผู้กดขี่มักจะใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น วันนี้ ข้าพเจ้าต้องการให้พวกท่านถามตัวเองว่า เพราะเหตุใด การเมืองในอดีต อย่าง การสร้างความหวาดกลัว และ การแผ่ขยายความเกลียดชัง ถึงได้ถูกนำมาใช้อย่างรุนแรง อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยมีอิสลามเป็นเป้าหมาย ?

    เพราะเหตุใด โครงสร้างอำนาจของโลกในวันนี้ ถึงปราถนาที่จะวางกรอบจำกัดขอบเขตต่อแนวคิดอิสลาม ? มีคุณค่าอะไรในอิสลามที่ไปรบกวนแผนการของมหาอำนาจกระนั้นหรือ ? และมีผลประยชน์อะไรภายใต้เงาของการสร้างภาพลักษ์อย่างผิดๆต่ออิสลามที่ซ่อนเร้นอยู่ ?

    ดังนั้น คำขออันดับแรกของข้าพเจ้า คือ ขอให้พวกท่านจงตั้งคำถาม และค้นหาความจริง เกี่ยวกับแรงจูงใจในการสร้างความมืดมิดต่อภาพลักษณ์ของศาสนาอิสลาม

    และคำขออันดับที่สองของข้าพเจ้า คือ จากการต่อต้านภายใต้เส้นทางแห่งความอคติ และการโฆษณาเพื่อสร้างความเกลียดชัง ข้าพเจ้าขอให้พวกท่านทั้งหลาย พยายามทำความรู้จักศาสนานี้โดยตรงโดยไม่ผ่านสื่อใดๆ ตรรกะบริสุทธิ์จะตัดสินว่า อย่างน้อย ท่านควรจะรู้ว่า สิ่งที่พวกเขายัดเหยียดให้แก่ท่าน สิ่งที่พวกเขาพยายามทำให้พวกท่านกลัวคือ อะไร ? มีเอกลักษณ์อย่างไร ?

    ข้าพเจ้าไม่ได้บังคับให้ท่านยอมรับ ในสิ่งที่ข้าพเจ้านำเสนอ หรือยอมรับในความเจริญต่างๆของอิสสลาม ทว่า สิ่งที่ข้าพเจ้าอยากย้ำต่อพวกท่านคือ จงอย่าได้ปล่อย ให้พวกเขานำเสนอความจริงอันเจริญ ซึ่งส่งผลต่อโลกทุกวันนี้ ต้องมาเจือปนกับเป้าหมายที่สกปรกปนเปื้อน !

    ขอพวกท่านจงอย่าได้ปล่อยให้พวกเขาแนะนำ นักแสดงผู้ตีสองหน้า กลุ่มก่อการร้าย ซึ่งคอยรับใช้พวกเขา ว่าคือ ผู้เป็นตัวแทนของศาสนาอิสลาม !

    ขอพวกท่านจงทำความรู้จักอิสลามจากแหล่งดั่งเดิม จงทำความรู้จักอิสลาม จากเส้นทางของอัลกุรอ่าน และ วิถีชีวิตของท่านศาสดาผู้ยิ่งใหญ่(ศ) !

    ข้าพเจ้าปราถนาที่จะถามกับพวกท่านว่า จนถึงตอนนี้ พวกท่านเคยย้อนกลับไปพิจารณาอัลกุรอ่าน โดยตรงหรือไม่ ? พวกท่านเคยศึกษา คำสอนของศาสดาอิสลาม ,คำสอนต่างๆแห่งมนุษยธรรม ,จริยธรรม เหล่านี้หรือไม่ ?

    จนถึงตอนนี้ นอกจาก สื่อแล้ว พวกท่านเคยรับสาส์นของอิสลามจากแหล่งอื่นหรือไม่ ? พวกท่านเคยถามตนเองหรือไม่ ว่า อิสลาม สามารถพัฒนากลายเป็นวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ อย่างต่อเนื่องหลายศตวรรษมาได้อย่างไร ? อิสลามใช้พื้นฐานอะไรในการบริหาร จนกลายมาเป็น หนึ่งในวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ทางความรู้ และวิทยาการของโลก ? อิสลามสามารถอบรมและสร้าง นักวิชาการ นักคิด นักเขียน ที่ยิ่งใหญ่เหล่านี้มาได้อย่างไร?

    ขอพวกท่านจงอย่าได้ปล่อย ให้ภาพลักษณ์ที่ถูกเติมแต่งด้วยความหวาดกลัว และความอ่อนแอ เป็นตัวปิดกั้นระหว่างพวกท่านกับความจริง! เป็นตัวปิดกั้นความอ่อนโยนและความรู้สึกของพวกท่าน !ขอจงอย่าได้ปล่อยให้(ภาพลักษณ์)สิ่งเหล่านี้ เป็นตัวสกัดไม่ให้มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการตัดสินที่เป็นกลางจากพวกท่าน!

    ในวันนี้ สื่อที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือตรึงชายแดนทางภูมิศาสตร์ซึ่งถูกตีกรอบไว้ กำลังฉีกขาด !ขอจงอย่าปล่อยให้ กรอบที่ถูกขีดไว้ในความคิดของพวกท่าน ปิดล้อมพวกท่าน แม้ว่าคนๆเดียวไม่สามารถเติมเต็มช่องว่างเหล่านี้ได้ ทว่าพวกท่านก็ยังสามารถสร้างสะพานแห่งความคิดและความเป็นธรรมพาดไว้บนช่องว่างเหล่านั้น โดยมีเป้าหมายเพื่อแสวงหาความกระจ่างให้กับตัวท่าน และสภาพแวดล้อมของท่าน
 ความท้าท้ายนี้ถูกเสนอแก่พวกท่านแล้ว ระหว่าง อิสลาม กับพวกท่าน เยาวชนคนหนุ่มสาว!! และแม้ว่ามันจะขมขื่นสักเพียงใด พวกท่านก็ยังสามารถสร้างคำถามใหม่ๆในความคิดที่เปี่ยมด้วยการแสวงหาความจริง และความเป็นผู้ค้นหาความจริงของพวกท่านได้เสมอ..

    ความพยายามในการค้นหาคำตอบจากคำถามมากมาย คือ โอกาศอันล้ำค่าสำหรับการค้นหาความจริงใหม่ๆ ซึ่งมันอยู่ตรงหน้าท่านแล้ว ดังนั้น จงอย่าให้โอกาศในการทำความเข้าใจที่ถูกต้องโดยปราศจากความอคติต่ออิสลาม หลุดไปจากมือของพวกท่าน เพราะ เป็นไปได้ว่า เนื่องจากความรู้สึกต่อการรับผิดชอบในการแสวงหาความจริงของพวกท่าน จะทำให้ลูกหลานแห่งอนาคต สามารถเขียนประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างตะวันตก กับอิสลาม ด้วยการลดความขุ่นเคือง และการมีจิตสำนึกที่ชัดเจนยิ่งขึ้น…..



    ซัยยิดอาลี คาเมเนอีย์

    ลงวันที่ 21 มกราคม 2015
    (1 บะฮมัน 1393)

    สาส์นจากผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน ถึงบรรดาเยาวชนในยุโรป และอเมริกาเหนือ | abnewstoday
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ยอดผู้เข้ารับอิสลามในฝรั่งเศสเพิ่มมากขึ้น
    ยุโรปby เอบีนิวส์ทูเดย์ - ก.พ. 19, 2015 130

    [​IMG]

    หลังจากเหตุการณ์กราดยิงสำนักพิมพ์วารสารชาร์ลี เอ็บโด ในใจกลางกรุงปารีส และความพยายามอย่างมากของตะวันตกในการสร้างกระแสเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มก่อการร้ายกับอิสลามและพี่น้องมุสลิม ทว่าตามผลสำรวจล่าสุด พบว่า พลเมืองฝรั่งเศสหันเข้ามารับอิสลามเพิ่มมากขึ้น

    สถานีวิทยุ RTL ฝรั่งเศส รายงานว่า มัสยิดกลางในกรุงปารีส ได้เปิดเผยยอดจำนวนของมุสลิมใหม่ที่เพิ่มเข้ารับอิสลาม ว่า ในช่วงเดือนมกราคม ที่ผ่านมา พลเมืองฝรั่งเศส 40 กว่าคน เข้ารับอิสลาม ในขณะที่ปีที่ผ่านมา ในช่วงเดือนนี้เหมือนกัน มีเพียงแค่ 22 คน เท่านั้นที่เข้ารับอิสลาม

    เมืองๆต่างในฝรั่งเศส ที่มีพลเมืองเข้ารับอิสลามสูงขึ้น เช่น ลิโยง สตรากโบกร์

    ผลของการโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายในปารีส ทำให้พี่น้องมุสลิมในฝรั่งเศสมีความหวาดกังวลต่อโรคกลัวอิสลาม แต่จะอย่างไรก็ตาม แม้นว่าจะมีอุปสรรค์ปัญหาต่างๆนาๆ แต่สถิติยอดของการขายอัลกุรอาน และการเข้ารับอิสลามกลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

    สถานีวิทยุ RTL รายงานเสริมว่า การเข้ารับอิสลามที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นนี้ มันเหนือความคาดหมาย

    มัสยิดใหญ่ตามเมืองต่างๆของฝรั่งเศส ก็สามารถประชัดเห็นพลเมืองฝรั่งเศสเข้ารับอิสลามที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้ง ในเมืองลิโยง และสตรากโบกร์ มีผู้เข้ารับอิสลามสูงขึ้นร้อยละ 20 มากกว่าปีที่ผ่านมา

    วัยรุ่นคนหนึ่ง ได้ให้สัมภาษณ์กับสถานีวิทยุ RTL ว่า “หลังจากเหตุการณ์ในปารีส ทำให้ผมรู้สึกอยากจะศึกษาศาสนาอิสลามและหลักคำสอนของศาสนามากยิ่งขึ้น”

    ตามคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่คนหนึ่งประจำมัสยิดกรุงปารีส ว่า พลเมืองฝรั่งเศสที่เข้ารับอิสลาม มาจากหลากหลายอาชีพการงาน เช่น ปัญญาชน อาจารย์ เจ้าหน้าที่ของรัฐ แพทย์ ตำรวจและอื่นๆ……

    افزایش چشمگیر گرایش به اسلام در فرانسه

    ยอดผู้เข้ารับอิสลามในฝรั่งเศสเพิ่มมากขึ้น | abnewstoday
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    มอสโก ทำห้องนมาซเคลื่อนที่
    by เอบีนิวส์ทูเดย์ - ก.พ. 19, 2015 39

    [​IMG]

    อิสลาม ออนไลน์ – พี่น้องมุสลิมในกรุงมอสโกกำลังรวบรวมเงินเพื่อสร้างห้องนมาซเคลื่อนที่ โดยมีรูปลักษณะที่สามารถเคลื่อนย้ายพ่วงกับรถใหญ่ในการเคลื่อนยังสถานที่ต่างๆ

    เนื่องจากกรุงมอสโกขาดแคลนห้องนมาซเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทำให้พี่น้องมุสลิมในกรุงมอสโก ผุดไอเดียใหม่ในการจัดทำโครงการสร้างห้องนมาซเคลื่อนที่

    ห้องนมาซเคลื่อนที่ดังกล่าวประกอบด้วยห้องเล็กๆ ที่สามารถเคลื่อนที่ยังเมืองต่างๆในกรุงมอสโก โดยมีสถานที่อาบน้ำนมาซภายในตัว

    มุฟตีย์กรุงมอสโก เผยว่า โครงการดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดี แต่ทว่าห้องนมาซเคลื่อนที่ดังกล่าวไม่สามารถทดแทนมัสยิดที่แท้จริงได้

    ปัจจุบัน ในสหพันธรัฐรัสเซียมีมุสลิมประมาณ 23 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 15 จากประชากรทั้งหมด ประมาณ 145 ล้านคน

    มอสโก ทำห้องนมาซเคลื่อนที่ | abnewstoday
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ทึ่ง!! "ลมหลุมดำ" อานุภาพมหาศาล ถึงขั้นระงับการเกิดดาวดวงใหม่ในกาแล็คซี !!
    2015-02-20 16:58:31 |

    [​IMG]

    พบลมจากหลุมดำอานุภาพมหาศาล ถึงขั้นสามารถหยุดยั้งการเกิดดาวดวงใหม่ในกาแล็กซีได้ นับเป็นการค้นพบใหม่ในวงการดาราศาสตร์


    วันนี้ (20 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดเรื่องฮือฮาเขย่าวงการดาราศาสตร์อีกครั้ง เมื่อมีการค้นพบ "ลมจากหลุมดำ" ที่มีอานุภาพรุนแรงมหาศาลพอที่จะทำให้กาแล็คซีไม่สามารถให้กำเนิดดาวเคราะห์ดวงใหม่ได้

    โดยรายงานดังกล่าวระบุว่า กล้องโทรทรรศน์ NuStar ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือ นาซา และกล้องโทรทรรศน์ XMiM นิวตัน ของสถานีอวกาศยุโรป ที่สามารถจับภาพ "ลมที่รุนแรง" จากหลุมดำ PDS456 ซึ่งมีขนาดใหญ่มหาศาลที่พ่นออกมาจากทุกทิศ เข้าใส่กาแล็คซีใหญ่ที่ตั้งอยู่ ซึ่งก่อนหน้านี้วงการดาราศาสตร์ไม่เคยมีความเชื่อว่า หลุมดำจะมีปรากฎการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น

    ล่าสุด ผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ว่า ลมดังกล่าวมีอานุภาพรุนแรงมหาศาล ซึ่งเพียงพอที่จะยับยั้งกาแล็คซีไม่ให้สามารถกำเนิดดาวเคราะห์ดวงใหม่ได้เลยทีเดียว

    จากการศึกษาดังกล่าว เหล่านักดาราศาสตร์ได้ประเมินว่า หลุมดำ PDS456 หรือที่รู้จักกันว่าเป็นกลุ่มวัตถุจักรวาลที่อยู่ห่างจากโลก 2 พันล้านปีแสง สามารถเก็บและปล่อยลมที่ก่อให้เกิดพลังงานได้ในทุกวินาที โดยลมดังกล่าวจะสามารถโจมตีมวลสารต่างๆต่อกาแล๊คซี่ใหญ่ โดยเดินทางด้วยความเร็วมากกว่า 1 ใน 3 ของความเร็วต่อแสง ทำให้มันสามารถขัดขวางการก่อกำเนิดดาวพระเคราะห์ใหม่ๆได้

    ทั้งนี้ นักดาราศาสตร์คิดว่า หลุมดำขนาดมหาศาลและกาแล็คซีซึ่งเป็นที่ตั้งของหลุมดำ ต่างมีวิวัฒนาการในตัวเอง และสามารถกำหนดการเติบโตของเองได้

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ตื่นตา !! "พายุลูกเห็บ" ถล่มหนองคาย ปกคลุมถนนขาวโพลนราวหิมะ !!! (ชมภาพ)
    2015-02-19 19:57:38 |

    [​IMG]

    ชาวบ้านพากันตื่นตะลึง หลังพายุลูกเห็บถล่ม จ.หนองคาย พบกองลูกเห็บขาวโพลนเป็นทางยาวราวกับหิมะ แห่แชะภาพเป็นที่ระลึก

    วันนี้ (18 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเหตุพายุฝนและลูกเห็บตกกระหน่ำลงมาอย่างหนัก ในเขตตัวเมืองจังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายกว่า 100 หลังคา บางรายถึงขั้นหลังคาพังลงมาทับรถยนต์อีกทีหนึ่ง ทั้งยังมีสายไฟฟ้าขาดจนทำให้ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหนองคายไม่มีไฟฟ้าใช้

    ขณะเดียวกัน หลังจากพายุลูกเห็บสงบลง ผู้คนต่างตื่นตาตื่นใจกับกองลูกเห็บมหาศาลที่ตกอยู่บนพื้นขาวโพลนราวกับหิมะ ได้รับความสนใจจากประชาชนผู้พบเห็นจนต้องพากันมาถ่ายรูปเก็บเป็นที่ระลึกเป็นจำนวนมาก

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ช่วงนี้เกิดแผ่นดินไหวระดับ 6 ขึ้นหลายครั้งแล้ว หลังจากไม่ได้เกิดมาหลายเดือน เอ๊ะหรือว่า Planet 7X ออกมาจากหลังดาวศุกร์แล้ว ล้อเล่นน่ะครับ อาจมีจริงหรือไม่มีก็ได้น่ะครับ

    ญี่ปุ่นแผ่นดินไหว 6.1 แมกนิจูด

    [​IMG]

    เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 6.1 แมกนิจูด ใต้ทะเลนอกชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น เคราะห์ดีไม่เกิดความเสียหายรุนแรง

    วันศุกร์ 20 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 15:10 น.
    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ว่าสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ( เจเอ็มเอ ) รายงานการเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงระดับ 6.1 แมกนิจูด เมื่อเวลา 13.25 น. ตามเวลาท้องถิ่น ( 11.25 น. ตามเวลาในประเทศไทย ) โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้ทะเลราว 10 กิโลเมตร นอกชายฝั่งเมืองโมริโอกะ เมืองเอกของจังหวัดอิวาเตะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

    ทั้งนี้ ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแรงสั่นสะเทือนครั้งนี้ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นครั้งล่าสุดยังคงเป็นแผ่นดินไหวตาม หรืออาฟเตอร์ช็อกจากแผ่นดินไหวรุนแรง 9.0 แมกนิจูด ที่ก่อให้เกิดสึนามิยักษ์คร่าชีวิตประชาชนกว่า 15,000 ศพ เมื่อวันที่ 11 มีค. 2554 เช่นเดียวกับแผ่นดินไหวรุนแรงหลายครั้งในบริเวณนี้เมื่อวันอังคาร ที่มีระดับความรุนแรงสูงสุด 6.9 และ 5.8 แมกนิจูดตามลำดับ

    ญี่ปุ่นแผ่นดินไหว 6.1 แมกนิจูด | อ่านความจริงอ่านเดลินิวส์
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    นักวิทย์ฯพบเชื้อมาลาเรียดื้อยาหวั่นระบาดทั่วโลก

    [​IMG]

    ทีมนักวิจัยพบการกลายพันธุ์ของเชื้อปรสิตสาเหตุของโรคมาลาเรีย สร้างภูมิต้านทานต่อยาอาร์ติมิซินิน ซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษามาลาเรียมากที่สุดในปัจจุบัน

    วันศุกร์ 20 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 15:29 น.
    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ว่า วารสารด้านการแพทย์ เดอะ แลนเซ็ต (The Lancet) เผยแพร่การค้นพบของทีมนักวิจัย จากศูนย์วิจัยเวชศาสตร์เขตร้อนมหิดล-ออกซ์ฟอร์ด มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ โดยการเก็บรวบรวมเชื้อปรสิตที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมาลาเรีย 940 ตัวอย่าง จากศูนย์รักษามาลาเรีย 55 แห่งทั่วเมียนมาร์ รวมถึงพื้นที่ชายแดนของไทยและบังกลาเทศ ระหว่างปี 2556 - 2557 จากการตรวจวิเคราะห์พบว่า ร้อยละ 39 ของตัวอย่างพบการกลายพันธุ์ในยีนเคลช์ หรือ เค 13 ซึ่งบ่งชี้ถึงการเกิดภูมิต้านทานต่อยาอาร์ติมิซินิน (artemisinin)

    ขณะที่ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์พบว่า มีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นที่เมืองโฮมาลิน ในเขตสะกาย ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ห่างจากพรมแดนประเทศอินเดียเพียง 25 กิโลเมตร นายชาร์ลส์ วู้ดโรว์ หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่า เมียนมาร์ถือเป็นปราการด่านสุดท้าย เพราะหากเชื้อกระจายไปสู่อินเดีย ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่นทั่วโลกโดยเฉพาะแอฟริกา ซึ่งจะทำให้การควบคุมและกำจัดเชื้อเป็นเรื่องยาก และอาจนำไปสู่การสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่เช่นที่เคยเป็นมาในอดีต ขณะนี้ยังไม่มีการตรวจพบเชื้อดังกล่าวในแอฟริกา แต่พบว่ามีอยู่ในหลายประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งไทย เวียดนาม และกัมพูชา รวมถึงมีรายงานที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบอีกว่า พบเชื้อชนิดนี้ในอเมริกาใต้ด้วย

    ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษปี 1950 - 1970 เชื้อมาลาเรียที่มีภูมิต้านทานต่อยาคลอโรควิน (chloroquine) ได้กระจายไปทั่วทั้งเอเชียและแอฟริกา ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อหลายล้านราย ก่อนที่จะมีการนำยาซัลฟาด็อกซิน-ไพริเมตามีน หรือเอสพี (SP: sulphadoxine-pyrimethamine) มาใช้ จากนั้นก็เกิดการต้านทานเอสพีในเชื้ออีก ซึ่งระบาดไปทั่วภาคตะวันตกของกัมพูชา และกระจายไปยังทวีปแอฟริกา ก่อนจะมีนักวิทยาศาสตร์จีนคิดค้นอาร์ติมิซินินขึ้นจากสมุนไพรจีนชนิดหนึ่ง ซึ่งนำมาใช้ในการรักษามาลาเรียในรูปแบบการบำบัดรวมอาร์ติมิซินิน หรือเอทีซี (ATC: artemisinin combination treatment) โดยอาร์ติมิซินินเป็นยาที่ถือว่าดีและปลอดภัยที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งองค์การอนามัยโลก (ฮู) สั่งยกเลิกการใช้การรักษาด้วยอาร์ติมิซินินเพียงอย่างเดียว แต่ให้ใช้ในรูปแบบเอทีซีแทน.

    นักวิทย์ฯพบเชื้อมาลาเรียดื้อยาหวั่นระบาดทั่วโลก | อ่านความจริงอ่านเดลินิวส์
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ยุโรปมองการณ์ไกลเรื่องยูเครนไม่เท่ารัสเซีย

    [​IMG]

    สภาขุนนางอังกฤษออกรายงานวิเคราะห์ว่ายุโรปผิดพลาดในการวิเคราะห์ปัญหายูเครน และไม่มองสถานการณ์ในระยะยาว ในระดับที่ "เท่าเทียม" กับมุมมองของรัสเซีย

    วันศุกร์ 20 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 14:08 น.
    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ว่าคณะกรรมาธิการด้านกิจการยุโรปของสภาขุนนางอังกฤษออกรายงานวิเคราะห์นโยบายของสหภาพยุโรป ( อียู ) และรัฐบาลอังกฤษ ต่อวิกฤตการณ์ในยูเครน ว่ายังขาดมุมมองและความเข้าใจที่ลึกซึ้งในหลายประเด็น อีกทั้งยังมองข้ามประเด็นอีกหลายด้านเช่นกัน ต่างจากการทำงานของรัฐบาลรัสเซียในเรื่องนี้

    ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯมองส่วนหนึ่งของต้นตอปัญหาว่า มาจากการที่กระทรวงการต่างประเทศของบรรดากลุ่มประเทศสมาชิกอียู โดยเฉพาะอังกฤษ ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองและวัฒนธรรมรัสเซียในระดับที่ "รู้ซึ้งอย่างถ่องแท้" ส่งผลให้การวิเคราะห์บทบาทและนโยบายของรัฐบาลมอสโกในเรื่องยูเครนไม่ละเอียดและครอบคลุมเท่าที่ควร

    นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างอียูกับรัสเซียที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความคาดหวังมากเกินไปจากฝั่งยุโรป ว่ารัสเซียจะมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ส่งผลให้อียูขาดการวางนโยบายในระยะยาว ว่าจะแแสดงบทบาทอย่างไร หากรัฐบาลมอสโก "เปลี่ยนท่าที" ในอนาคต

    ลอร์ด คริสโตเฟอร์ ทูเกนด์แฮ็ต ประธานคณะกรรมธิการฯ กล่าวว่า รัฐบาลอังกฤษเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤตการณ์ในยูเครน เพียงเพราะรัฐบาลเวสต์มินสเตอร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมลงนามใน "บันทึกบูดาเปสต์" เมื่อปี 2537 ร่วมกับรัสเซียและสหรัฐ ที่มีสาระสำคัญระบุถึงการยอมรับอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน ที่รวมถึงภูมิภาคไครเมียด้วย ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษออกแถลงการณ์แก้ต่างในเวลาต่อมา ว่าสถานการณ์ในยูเครนมี "ความเปลี่ยนแปลง" ตลอดเวลา

    รายงานของสภาขุนนางอังกฤษได้รับการเผยแพร่ออกมาในเวลาเดียวกับที่นายโดนัลด์ ทัสก์ ประธานมุขมนตรียุโรป โทรศัพท์สายตรงมาหารือกับนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ผู้นำอังกฤษ เกี่ยวกับการวางท่าทีของอียูในอนาคตต่อรัสเซียและสถานการณ์วุ่นวายในยูเครน

    ยุโรปมองการณ์ไกลเรื่องยูเครนไม่เท่ารัสเซีย | อ่านความจริงอ่านเดลินิวส์
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ยูโรกรุ๊ปถึงทางตันโครงการเงินกู้กรีซ

    [​IMG]

    รัฐบาลกรีซเตือนยูโรกรุ๊ปมีทางเลือกเพียง "ตกลง" หรือ "ปฏิเสธ" คำร้องต่อเวลาเงินกู้ให้กับเอเธนส์ออกไปอีก 6 เดือนหรือไม่เท่านั้น ขณะที่เยอรมนียืนกรานไม่มีทางรับรองเอกสารเด็ดขาด

    วันศุกร์ 20 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 10:52 น.
    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ว่าทำเนียบนายกรัฐมนตรีกรีซออกแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสบดี ประกาศให้การยื่นเอกสารคำร้องขอต่อเวลาโครงการรับเงินช่วยเหลือออกไปอีก 6 เดือน แทนข้อตกลงฉบับเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2553 และกำลังจะหมดอายุในวันที่ 28 ก.พ. นี้ ว่าเป็นการยื่นคำขาดของรัฐบาลเอเธนส์เช่นกัน และที่ประชุมยูโรกรุ๊ปมีเวลาพิจารณาภายในวันนี้ตามที่ประกาศแต่แรก ว่าจะรับรองหรือปฏิเสธเอกสารที่ส่งไปแล้วทั้งหมด

    แถลงการณ์ดังกล่าวได้รับการเผยแพร่หลังนายโวล์ฟกัง ชอยเบลอ รมว.กระทรวงการคลังเยอรมนี กล่าวว่าเอกสารของรัฐบาลกรีซมีข้อมูลไม่ครบตามเกณฑ์ที่ยูโรกรุ๊ปกำหนดให้เมื่อวันจันทร์ ทั้งที่สหภาพยุโรป ( อียู ) ยกย่องการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ผู้นำกรีซ ซึ่งยินยอมยื่นคำร้อง ว่าเป็นก้าวย่างสำคัญที่จะทำให้ทุกฝ่ายหาทางออกร่วมกันได้อย่างประนีประนอม โดยชอยเบลอซึ่งอยู่เบื้องหลังการกำหนดมาตรการรัดเข็มขัดให้กับกรีซ ยืนยันรัฐบาลเอเธนส์ต้องใช้มาตรการนี้ต่อไป หากต้องการรับเงินช่วยเหลือก้อนใหม่

    ท่าทีดังกล่าวของเยอรมนี ประเทศมหาอำนาจของยุโรปและเสาหลักของยูโรโซน สะท้อนการแตกร้าวทางความคิดเห็นเรื่องภาระหนี้สินของกรีซครั้งใหญ่ที่สุดระหว่างรัฐบาลเบอร์ลินกับอียู ขณะที่กระทรวงการคลังสหรัฐเผยกำลังจับตาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของยุโรปอย่างใกล้ชิด และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยอม "ถอยคนละก้าว" เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม

    ยูโรกรุ๊ปถึงทางตันโครงการเงินกู้กรีซ | อ่านความจริงอ่านเดลินิวส์
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    จีนปฏิเสธหนุนหลังกบฏเมียนมาร์

    [​IMG]

    จีนปฏิเสธข้อกล่าวหาของเมียนมาร์เรื่องการให้ความสนับสนุนกลุ่มกบฏโกก้าง โดยยืนยันต้องการให้ทุกฝ่ายร่วมกันเจรจาอย่างสันติ

    วันศุกร์ 20 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:03 น.
    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ว่ากองทัพเมียนมาร์ออกแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสบดี ประณามการแทรกแซงจาก "อำนาจภายนอก" ให้ความสนับสนุนกลุ่มกบฏโกก้าง ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ในรัฐฉาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ แม้ไม่ได้เอ่ยชื่อประเทศใดประเทศหนึ่งโดยตรง แต่เนื้อหาของแถลงการณ์มีการเรียกร้องให้จีนเลี่ยงการมอบความช่วยเหลือให้กับบรรดานักรบโกก้าง ซึ่งลี้ภัยข้ามแดนเข้าไปอาศัยตามพื้นที่ชายขอบของมณฑลยูนนาน แล้วก่อเหตุโจมตีข้ามแดนกลับมายังเมียนมาร์ด้วย

    ขณะที่น.ส.หัว เจิ้นอิง โฆษกหญิงกระทรวงการต่างประเทศจีน แถลงปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดของรัฐบาลเมียนมาร์ โดยยืนยันรัฐบาลปักกิ่งต้องการให้คู่กรณีทุกฝ่ายร่วมกันเจรจาอย่างสันติเพื่อยุติการสู้รบที่ยืดเยื้อมานานเกือบ 1 เดือนแล้ว และทำให้มีประชาชนกว่า 30,000 คน ลี้ภัยข้ามแดนเข้ามาในจีน ส่วนอีกกว่า 60,000 คน ลี้ภัยอยู่ตามศูนย์พักพิงของรัฐและกาชาดภายในเมียนมาร์

    ทั้งนี้ การสู้รบอย่างดุเดือดครั้งแรกในรอบ 6 ปี ระหว่างกองทัพเมียนมาร์กับกลุ่มกบฏโกก้าง ที่มีเครือข่ายนำโดยกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมาร์ ( เอ็มเอ็นดีเอเอ ) เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 9 ก.พ. เป็นเหตุให้ทหารเสียชีวิตอย่างน้อย 50 ศพ และได้รับบาดเจ็บอีกหลายร้อยนาย ด้านกลุ่มกบฏเสียชีวิตแล้ว 26 ศพ กระตุ้นให้ประธานาธิบดีเต็ง เส่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและกฎอัยการศึกในรัฐฉานเมื่อวันอังคาร ถือเป็นการบังคับใช้กฎอัยการศึกครั้งแรกในสมัยรัฐบาลของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ที่อยู่ในอำนาจมาตั้งแต่ปี 2554

    จีนปฏิเสธหนุนหลังกบฏเมียนมาร์ | อ่านความจริงอ่านเดลินิวส์
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    In Pics : “ไซโคลนแฝดแซนด์วิช” กระหน่ำเข้ารัฐควีนสแลนด์ เหนือสุดของออสเตรเลีย ไฟฟ้าดับหลายหมื่นหลังคาเรือน-อพยพหนีตายวุ่น โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 กุมภาพันธ์ 2558 12:38 น. (แก้ไขล่าสุด 20 กุมภาพันธ์ 2558 16:30 น.)

    [​IMG]

    เอพี - พายุไซโคลน 2 ลูก ไซโคลนแลม (Cyclone Lam) และไซโคลนมาร์เซีย (Cyclone Marcia) หรือที่เรียกว่า ไซโคลนแฝดแซนด์วิชได้เคลื่อนตัวพัดเข้าถล่มทางตอนเหนือสุดของออสเตรเลียวันนี้ (20 ก.พ.) เป็นผลทำให้มีไฟฟ้าดับกระทบ 30,000 ครัวเรือน หลังคาปลิวและถล่ม ชาวบ้านในพื้นที่บริเวณชายฝั่งต่างต้องอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัย ทางรัฐบาลท้องถิ่นเตือน ฤทธิ์พายุไซโคลนแฝดแซนด์วิชอาจส่งผลทำให้มีลมแรงจัด รวมไปถึงฝนตกหนักตาม

    พายุไซโคลนแฝดแซนด์วิช หรือพายุ 2 ลูก ที่คนท้องถิ่นเรียกขานได้ทะยอยพัดเข้าทางเหนือที่ห่างไกลของออสเตรเลียห่างกันไม่กี่ชั่วโมง และมีพื้นที่ห่างกันราว 2,500 กม. โดยไซโคลนแลม (Cyclone Lam) ลูกแรกได้พัดเข้าบริเวณ Northern Territory ในขณะที่ไซโคลนมาร์เซีย (Cyclone Marcia) ซึ่งเป็นไซโคลนลูกที่ 2 ที่มีพละกำลังมากกว่าได้พัดเข้าไปยังเมืองเล็กๆทางชายฝั่งตะวันออกของรัฐควีนสแลนด์ และมีอัตราแรงลมกรรโชกถึง 285 กม.ต่อชั่วโมง

    เอพีรายงานเพิ่มเติมว่า ในเมืองเยพพูน (Yeppoon) ที่อยู่ห่าง 700 กม.ไปทางตอนเหนือของบริสเบน เมืองเอกของรัฐควีนสแลนด์นั้นมีประชากรราว 30,000 คนอาศัยอยู่ นั้นแต่เดิมคาดว่าจะต้องประสบกับการเข้าโจมตีของพายุไซโคลน ส่งผลทำให้มีการประกาศปิดโรงเรียนเกือบ 100 แห่ง และชาวออสเตรเลียที่อาศัยบริเวณชายฝั่งร่วม 900 คนได้รับคำสั่งให้อพยพออกจากบ้านเรือนเพื่อความปลอดภัย แต่ทว่าทิศทางของพายุไซโคลนที่เปลี่ยนไปเล็กน้อยส่งผลให้เมืองเยพพูนปลอดภัยในที่สุด

    อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นออสเตรเลียได้ขอร้องชาวเมืองอย่าได้ประมาทต่อฤทธิพายุไซโคลน เพราะพายุไซโคลนยาซี (Yasi) ที่มีระดับความเร็วพอกันได้พัดเข้ารัฐในปี 2011 และส่งผลทำให้มีบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างเสียหายเป็นวงกว้าง แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต และพบว่าในขณะที่พายุไซโคลนแฝดมุ่งหน้าลงใต้ไปทางเมืองร็อคแฮมตัน (Rockhampton) ที่มีประชากรอาศัยราว 80,000 คน พายุสองลูกนี้ได้อ่อนกำลังลง อย่างไรก็ตาม ผู้นำรัฐควีนสแลนด์ได้ออกเตือนให้ประชาชนอาศัยอยู่ภายในบ้านเพื่อความปลอดภัย

    นอกจากนี้ มีไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างร่วม 30,000 ครัวเรือน และมีบ้านเรือนบางส่วนหลังคาปลิวหาย หรือถล่ม รวมไปถึงประตูบ้านพัก ส่วนในเขต Northern Territory พายุไซโคลนแลมเข้าโจมตีชายฝั่งที่ห่างไกล ทำให้ต้นไม้หักโค่น รวมไปถึงสายไฟฟ้าที่พาดผ่านได้รับความเสียหาย แต่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายมากเนื่องจากตัวพายุไซโคลนได้อ่อนกำลังลง และเคลื่อนตัวจากชายฝั่งเข้าสู่บริเวณแผ่นดินใหญ่ ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000020888
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    หลายชาติยุโรปเห็นพ้อง “ระบอบอัสซาด” สำคัญยิ่งต่อ “โร้ดแมปสันติภาพซีเรีย”
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 กุมภาพันธ์ 2558 12:19 น.

    [​IMG]

    รอยเตอร์/เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-นักการทูตยุโรปเห็นพ้อง ระบอบการปกครองของ “บาชาร์ อัล-อัสซาด” ในซีเรียมีความสำคัญยิ่ง ชี้ ความสงบสุขในซีเรียจะไม่มีวันบังเกิด หากถอดอัสซาดจาก “โร้ดแมปสันติภาพ”

    มาร์ติน ลิเดการ์ด รัฐมนตรีต่างประเทศเดนมาร์กเผยต่อผู้สื่อข่าวที่กรุงโคเปนเฮเกน โดยระบุว่า ในขณะนี้เริ่มมีความพยายามของแวดวงการทูตทั่วยุโรปในการผลักดันให้สงครามกลางเมืองในซีเรียที่ดำเนินมานานจนเกือบ 4 ปียุติลง และว่านักการทูตจากหลายชาติยุโรปเห็นพ้องต้องกันแล้วว่า ระบอบการปกครองของ “บาชาร์ อัล-อัสซาด” ในซีเรียมีความสำคัญยิ่งยวดและจำเป็นที่อัสซาดจะต้องมีส่วนร่วมใน “โร้ดแมปสันติภาพซีเรีย”

    “ถึงเวลาแล้วที่เราต้องยอมรับความจริงว่า รัฐบาลอัสซาดมีความสำคัญต่ออนาคตของซีเรียอย่างยิ่ง การหาทางโค่นล้มระบอบอัสซาดมิใช่ความคิดที่ชาญฉลาด และรังแต่จะนำมาซึ่งความวุ่นวายและสงครามที่ไม่รู้จบ” รัฐมนตรีต่างประเทศเดนมาร์กกล่าว

    ด้านแหล่งข่าวทางการทูตในยุโรปเผยว่า ทางการเดนมาร์กและรัฐบาลของอีกหลายชาติในยุโรป คือ สวีเดน โรมาเนีย บัลแกเรีย สเปน ออสเตรีย สาธารณรัฐเชก สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์ต่างเห็นพ้องต้องกันในจุดยืนดังกล่าว และพร้อมผลักดันให้เกิดกระบวนการสร้างสันติภาพที่ถาวรในซีเรียแบบที่ “ไม่กีดกันอัสซาด”

    ทั้งนี้ สงครามกลางเมืองซีเรียซึ่งปะทุขึ้นตั้งแต่ 11 มีนาคม 2011 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วมากกว่า 200,000 คน ขณะที่ชาวซีเรียอีกหลายล้านคนต้องกลายสภาพเป็นผู้ลี้ภัย

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    บนเส้นทางสู่สงครามกับรัสเซีย
    โดย ไบรอัน คลัฟเลย์ 19 กุมภาพันธ์ 2558 23:03 น. (เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ Asia Times Online :: Asian news hub providing the latest news and analysis from Asia) On the way to war on Russia By Brian Cloughley 18/02/2015

    ผู้ที่ร่วมลงนามในข้อตกลงกรุงมินสก์เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น มีผู้นำของจังหวัดโดเนตสก์ และจังหวัดลูฮันสก์ ของยูเครน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รับวัฒนธรรมรัสเซียอย่างแข็งขันรวมอยู่ด้วย ทว่าลอนดอนกับวอชิงตันถูกกีดกันออกนอกวงไม่ได้เข้าร่วมในการเจรจา สามารถคาดหมายได้ว่ากลุ่มพันธมิตรต่อต้านรัสเซียที่นำโดยสหรัฐฯจะยังคงพยายามสืบต่อขยายอิทธิพลของพวกตนตามแนวพรมแดนรัสเซียต่อไป และไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในบริเวณภาคตะวันออกของยูเครน พวกเขาก็จะยังคงตั้งหน้าตั้งตาประจันหน้ากับรัสเซีย โดยที่มีวอชิงตันเป็นหัวโจก

    นับตั้งแต่ที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลงไป -การณ์ก็เป็นไปดังที่มอสโกหวาดหวั่น- กลุ่มพันธมิตร [นาโต้] ได้แผ่ผลิคลี่บานออกไปทางตะวันออก โดยสามารถขยายตัวอย่างกว้างขวางไปตามแนวเส้น จาก เอสโตเนีย ในตอนเหนือ ลงมาจนถึง โรมาเนีย และ บัลแกเรีย ในทางใต้ เครมลินพยายามกล่าวอ้างว่าตนเคยได้รับคำมั่นสัญญาจากฝ่ายตะวันตกว่าจะไม่เกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้นมา มาถึงเวลานี้ มอสโกยังไม่ได้ถูกนาโต้ปิดล้อมโอบรอบอย่างสมบูรณ์ก็เฉพาะบริเวณพรมแดนทางด้านตะวันตกของตน ซึ่งยังมีดินแดนรัฐกันชนอย่าง ฟินแลนด์, เบลารุส, และยูเครน คั่นอยู่เท่านั้น เครมลินไม่ควรจะต้องขวัญผวาคอยจ้องมองดูแผนที่นี้ด้วยความหวาดระแวงหวั่นไหวไปหรอก - สตาร์ส แอนด์ สไตรป์ส (Stars and Stripes) (หนังสือพิมพ์ของกองทัพสหรัฐฯ) ฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2015 (ดูรายละเอียดได้ที่ NATO expansion after Cold War at heart of crisis in Ukraine - Europe - Stripes)

    “ข้อตกลงกรุงมินสก์ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2015” (The Minsk Agreement of February 12, 2015 ดูรายละเอียดได้ที่ Minsk II - Wikipedia, the free encyclopedia) สามารถคลอดออกมาได้ ก็ด้วยการลงแรงดำเนินการของผู้นำฝรั่งเศส, เยอรมนี, รัสเซีย, และยูเครน เนื้อหาของข้อตกลงนี้บรรจุข้อกำหนดสำคัญๆ ว่าด้วยการปฏิบัติในอนาคตต่อพลเรือนในดินแดนพื้นที่เขตทางตะวันออกของจังหวัดโดเนตสก์ (Donetsk oblast) และจังหวัดลูฮันสก์ (Luhansk oblast) ของยูเครน ซึ่งเป็นประชาชนที่พูดภาษารัสเซียและรับวัฒนธรรมรัสเซียอย่างแข็งขัน รวมทั้งยังเป็นพื้นที่ซึ่งเกิดการสู้รบอย่างโหดเหี้ยม ระหว่างกองกำลังของพวกแบ่งแยกดินแดน กับกองทหารรัฐบาลกรุงเคียฟที่มีกองกำลังอาวุธพลเรือนให้ความสนับสนุน

    สื่อมวลชนฝ่ายตะวันตกส่วนใหญ่ไม่ได้รายงานหรอกว่า ข้อตกลงฉบับนี้ลงนามโดยผู้นำของจังหวัดโดเนตสก์ และจังหวัดลูฮันสก์ ตลอดจนผู้แทนของรัสเซียและผู้แทนของยูเครน ทว่าการร่วมเซ็นชื่อของผู้นำของ 2 จังหวัดดังกล่าว ถือว่ามีความสำคัญอย่างใหญ่หลวงต่อการนำเอาข้อกำหนดในข้อตกลงฉบับนี้ไปใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติจริงๆ

    สิ่งซึ่งสร้างความผิดหวังเป็นอย่างมากให้แก่ฝ่ายตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่สหรัฐอเมริกา ย่อมได้แก่เรื่องที่ดูเหมือนประชากรส่วนข้างมากอย่างมหาศาลของดินแดนเหล่านี้ ได้รับสิ่งต่างๆ เยอะแยะทีเดียวที่พวกเขาพยายามเรียกร้องเพรียกหา (รวมทั้งได้รับความสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัสเซีย) เป็นต้นว่า สิทธิที่จะพูดภาษาซึ่งพวกเขาพูดมาตั้งแต่เกิด ตลอดจนสิทธิที่จะได้รับการศึกษาด้วยภาษาดังกล่าวนี้, การได้คืนสิทธิที่จะได้รับเงินบำนาญตลอดจนเงินรายได้อื่นๆ จากส่วนกลางซึ่งได้ถูกรัฐบาลกรุงเคียฟสั่งระงับไป, การปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญของยูเครน ที่รวมถึงประเด็นให้มี “การรับรองกฎหมายถาวรว่าด้วยสถานะพิเศษของหลายๆ เขตของโดเนตสก์และลูฮันสก์”, และการเลือกตั้งท้องถิ่นอย่างเสรีในจังหวัดทั้งสอง

    หนทางเดินไปสู่สันติภาพอย่างแท้จริงนั้น ยังจะไม่ใช่เรื่องง่ายดายสะดวกสบาย แต่สาระสำคัญของข้อตกลงฉบับนี้ก็ครอบคลุมเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนของจังหวัดทางภาคตะวันออกเหล่านี้บังเกิดความมั่นอกมั่นใจขึ้นมาว่า ในอนาคตพวกเขาจะไม่ถูกปฏิบัติเสมือนกับเป็นแค่เพียงพลเมืองชั้นสอง พวกเขาจะได้รับอนุญาตให้สามารถทำการตัดสินใจในระดับที่เหมาะสมเกี่ยวกับกิจการภายในท้องที่ของพวกเขา และถ้าหากทางฝ่ายรัฐบาลกรุงเคียฟมีความจริงใจมีความปรารถนาดีจริงๆ แล้ว ก็เป็นสิ่งสมเหตุสมผลที่จะเชื่อว่าสามารถที่จะเกิดธรรมาภิบาลขึ้นมาได้ อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัญหาสำคัญมากอยู่อีกประการหนึ่ง ได้แก่ท่าทีของสหรัฐฯกับอังกฤษที่มีต่อรัสเซียและยูเครน

    ทั้งสหรัฐฯและอังกฤษต่างก็ไม่ได้รับสิทธิให้เข้าไปยุ่มย่ามเกี่ยวข้อง ในระหว่างการถกเถียงกันของผู้เข้าร่วมประชุมในการเจรจาที่กรุงมินสก์คราวนี้ ยกเว้นเพียงอาศัยผ่านการแอบดักฟังทางเทคนิคด้วยฝีมือหน่วยข่าวกรองของพวกเขา ตลอดจนอาศัยผ่านการบอกเล่าพรรณนาอย่างสนิทชิดเชื้อทว่าย่อมต้องถูกบิดเบือนด้วยอคติเป็นธรรมดาโดยประธานาธิบดีเปโตร โปโรเชนโก (Petro Poroshenko) ของกรุงเคียฟ รวมทั้งพวกลูกน้องบริวารของเขา ทั้งนี้เราย่อมคาดหมายได้ว่า พวกเขาเหล่านี้มีการรายงานแจ้งข่าวผ่านทางสายท่อรับส่งของสหรัฐฯและอังกฤษกันเป็นประจำอยู่แล้ว

    ลอนดอนกับวอชิงตันถูกกีดกันออกไปจากการเจรจาคราวนี้ เนื่องจากทั้งคู่ต่างไม่มีความปรารถนาที่จะได้หนทางแก้ปัญหาซึ่งจะเป็นที่ยอมรับได้ของรัสเซียและของเขตที่รับวัฒนธรรมรัสเซียในยูเครนตะวันออก

    ทั้งคู่ต่างมีความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างแน่วแน่หัวชนฝาที่จะหยามหมิ่นสร้างความอับอายขายหน้าให้แก่มอสโก ถึงแม้อังกฤษกำลังใกล้จะหมดน้ำยาเต็มทีแล้วในเรื่องกิจการโลก ยกเว้นจะยอมวางตนเป็นผู้ช่วยที่เสื่อมถอยชราภาพและมีบทบาทอันจำกัดของสหรัฐฯ แต่ยังพรักพร้อมที่จะเข้าเสี่ยงภัยตีรันฟันแทงในเรื่องอะไรก็ตามทีที่วอชิงตันริเริ่มขึ้นมา ขณะที่สำหรับรัฐสภาสหรัฐฯกับทำเนียบขาว แม้พวกเขาเป็นปฏิปักษ์กันในเรื่องอื่นๆ มากมายหลายหลาก แต่กลับเห็นพ้องต้องตรงกันในเรื่องที่จะต้องมีความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่เพื่อทำลายเศรษฐกิจของรัสเซียและโค่นล้มประธานาธิบดีของแดนหมีขาวลงให้ได้ อีกทั้งกำลังพยายามตั้งหน้าตั้งตาท้าทายยั่วยุเพื่อมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายดังกล่าวนั้น

    นับตั้งแต่ช่วงสูงสุดของสงครามเย็นครั้งที่แล้วเป็นต้นมา ยังไม่เคยมีการตั้งท่าเตรียมประจันหน้าทั้งทางทางการเมืองและทางการทหารอย่างตั้งอกตั้งใจถึงขนาดนี้เลย คำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ที่พูดถึงรัสเซียและประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ทั้งชวนทะเลาะวิวาท, ปรามาสสบประมาท, และสำแดงตัวตนแบบทะลึ่งอวดดี จนกระทั่งถึงระดับไร้เหตุผลไร้ความคิดแบบคนที่ยังไม่โตเป็นผู้ใหญ่เต็มที่ เขาไม่ได้ตระหนักเอาเสียเลยว่าการดูถูกเหยียดหยามและการข่มขู่คุกคามของเขาจะไม่มีวันได้รับการยกโทษจากประชาชนชาวรัสเซีย ผู้ซึ่งแม้มักถูกมองเมินอยู่เสมอ ทว่าเป็นผู้ที่มีความภาคภูมิใจในความเป็นคนรัสเซียของตนเอง และเป็นที่เข้าใจได้ว่าพวกเขาจะต้องบังเกิดความโกรธเกรี้ยวเคืองขุ่นเมื่อถูกดูหมิ่นหยามหยันไม่หยุดไม่หย่อน

    เมื่อปีที่แล้วโอบามาเคยประกาศอวดอ้างเอาไว้ว่า สหรัฐฯ “เป็นและจะยังคงเป็นประเทศหนึ่งซึ่งทรงความสำคัญอย่างชนิดที่ไม่อาจขาดหายไปจากโลกนี้” โดยปรากฏว่าเรียกเสียงหัวเราะเยาะเบาๆ จากชาติจำนวนมาก แต่มาถึงตอนนี้ชาวรัสเซียกำลังเกิดความตระหนักขึ้นมาแล้วว่า การที่เขาป่าวร้องแบบอวดกล้ามตบอกตนเองเช่นนี้นั้นเขาหมายความว่าอะไร เพราะอเมริกาได้เข้าอุปถัมภ์เกื้อหนุนความปั่นป่วนวุ่นวายที่ยูเครน ในความพยายามที่จะสร้างความชอบธรรมให้แก่จุดยืนของตนซึ่งมุ่งที่จะแสดงความก้าวร้าวรุกรานอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ต่อชาวรัสเซีย

    ทว่ายูเครนนั้นไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับสหรัฐฯเลย ประเทศนี้ตั้งประชิดอยู่ตรงชายแดนของรัสเซีย ไม่ใช่ชายแดนของสหรัฐฯสักหน่อย ประเทศนี้ยังไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์การนาโต้ ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป แล้วก็ไม่ได้มีสนธิสัญญาด้านการป้องกันหรือสนธิสัญญาทางการเมืองชนิดใดๆ กับสหรัฐฯทั้งสิ้น ระยะทางระหว่างวอชิงตันกับเคียฟนั้นอยู่ห่างกันถึง 5,000 ไมล์หรือ 8,000 กิโลเมตร และไม่ต้องสงสัยเลยว่ามีสมาชิกรัฐสภาอเมริกันเพียงแค่หยิบมือเดียวเท่านั้นที่สามารถหายูเครนเจอบนแผนที่

    ในเดือนมีนาคม 2014 จังหวัดไครเมีย (Crimea) ได้ประกาศแยกตนเองออกจากยูเครน มีการจัดลงประชามติรับฟังความคิดเห็นของประชากร 2.4 ล้านคนของไครเมียในเรื่องอำนาจอธิปไตยนี้ องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Co-operation in Europe ใช้อักษรย่อว่า OSCE) ได้รับคำขอให้เข้าไปติดตามสังเกตการณ์และรายงานผลการลงประชามติคราวนี้ (ดูรายละเอียดได้ที่ Crimea sends official invitation to OSCE to monitor referendum) ทว่าได้รับการปฏิเสธ (Crimea referendum illegal, no OSCE monitoring - Swiss | Reuters) ทั้งการลงประกาศมติและการประกาศแยกตัวของไครเมีย ต่างถูกสหรัฐฯประณามอย่างแข็งกร้าว (http://www.usatoday.com/story/news/...-crimea-ukraine-referendum-sanctions/6493837/)

    แต่ประชากรของไครเมียราว 60% ทีเดียวเป็นผู้ที่พูดภาษารัสเซีย, รับวัฒนธรรมรัสเซีย, และได้รับการศึกษาด้วยภาษารัสเซีย และพวกเขาก็ลงคะแนนเสียงเพื่อกลับเข้ามารวมกับรัสเซียอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่พวกเขาถูกแบ่งแยกออกไปสืบเนื่องจากการใช้อำนาจเผด็จการของประธานสหภาพโซเวียต นิกิตา ครุสชอฟ (Nikita Khrushchev) ซึ่งเป็นชาวยูเครน (ดูรายละเอียดได้ที่ Crimea: A Gift To Ukraine Becomes A Political Flash Point : Parallels : NPR) มันจะเป็นเรื่องแปลกประหลาดมากกว่า ถ้าหากพวกเขาไม่ปรารถนาที่จะกลับไปเข้าร่วมกับประเทศซึ่งแสดงความยินดีต้อนรับพวกเขาฉันญาติ อีกทั้งสามารถให้ผลประโยชน์อย่างงดงามในทางเศรษฐกิจเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับอนาคตในภายภาคหน้าของพวกเขา

    การที่รัสเซียให้ความสนับสนุนแก่ประชาชนของยูเครนตะวันออก (เป็นสิ่งที่กระจ่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ว่ารัสเซียให้ความช่วยเหลืออย่างมากมายมหาศาลทั้งทางการเมืองและทางทหารแก่ประชาชนยูเครนตะวันออก ในทำนองเดียวกับที่กลุ่มพันธมิตรสหรัฐฯ-นาโต้ ให้ความช่ววยเหลืออย่างมากมายมหาศาลแก่ประชาชนของจังหวัดโคโซโว (Kosovo) ที่แยกตัวออกมาจากประเทศเซอร์เบียในปี 2008) มีพื้นฐานจากข้อเท็จจริงที่ว่าประชาชนส่วนข้างมากอันท่วมท้นของที่นั่นเป็นผู้พูดภาษารัสเซีย, รับวัฒนธรรมรัสเซีย, และถูกแบ่งแยกกีดกันจากรัฐบาลยูเครน ในทำนองเดียวกับที่ชาวโคโซโวถูกข่มเหงรังแกจากชาวเซิร์บนั่นเอง

    ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไรที่ประชากรส่วนข้างมากของพื้นที่ด้านตะวันออกของจังหวัดโดเนตสก์และจังหวัดลูฮันสก์ ต่างต้องการที่จะ “ ละลายการจับกลุ่มทางการเมือง ซึ่งเป็นการผูกเชื่อมพวกเขาเข้ากับคนอื่น” (ดูที่
    Declaration of Independence - Text Transcript) และต่างต้องการที่จะได้รับสิทธิในการปกครองตนเองเพิ่มมากขึ้น หรือกระทั่งได้เข้าร่วมกับรัสเซียเสียเลย ทั้งนี้จนกระทั่งถึงเวลานี้สหรัฐฯก็ยังคงปฏิเสธไม่ยอมรับว่าประชาชนที่นั่นอาจจะมีเหตุผลอันชอบธรรมทีเดียวที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจเช่นนี้

    มีการรณรงค์ทางสื่อมวลชนที่นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งกำลังพยายามที่จะชักจูงสาธารณชนให้บังเกิดความเข้าใจไขว้เขวไปว่า (ถ้าหากจะใช้คำพูดของ จอห์น เฮิร์บสต์ John Herbst อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำยูเครน ซึ่งกล่าวว่า) “การยั่วยุท้าทายต่อบรรดารัฐในแถบชายฝั่งทะเลบอลติก, และต่อคาซัคสถาน (ของประธานาธิบดีปูติน) เป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าเป้าหมายของเขานั้นใหญ่โตยิ่งกว่าเพียงแค่ยูเครนเท่านั้น ถ้าหากเราไม่หยุดยั้งมิสเตอร์ปูตินในยูเครนแล้ว เราก็อาจจะต้องไปรับมือกับเขาอีกในเอสโตเนีย” (ดูที่ 'Russia's growing threat': After Ukraine, fears grow that Baltic states could be Vladimir Putin's next targets - Europe - World - The Independent)

    ข้อกล่าวหาเช่นนี้ช่างไร้สาระยิ่งนัก เพราะมันไม่ได้มีประเด็นทางเศรษฐกิจ, การเมือง, หรือทางทหารเอาเสียเลย ที่จะทำให้คิดไปได้ว่ารัสเซียกำลังพยายามที่จะเข้ารุกรานพวกรัฐทางชายฝั่งบอลติก หรือประเทศอื่นใดก็ตามซึ่งตั้งประชิดชายแดนของแดนหมีขาว อีกทั้งไม่ได้มีสัญญาเครื่องบ่งชี้ใดๆ เลยว่ามีความเคลื่อนไหวในลักษณะดังกล่าว นอกจากคำแถลงอันพิลึกพิศดารอย่างเช่นของมิสเตอร์เฮิร์บสต์นี้ ตลอดจนรายงานข่าวแสนจะบิดเบือนในสื่อมวลชนข่าวของโลกตะวันตกเท่านั้น การที่พยายามพูดจาหันเหไปเช่นนี้ย่อมเป็นเรื่องน่าเย้ยหยัน และเป็นการเสื่อมเสียเกียรติคุณทางสติปัญญา ตลอดจนเป็นการหลอกลวงดูถูกสติปัญญา น่าเสียใจมากที่บุคคลผู้มีสติปัญญาเหนือธรรมดาอย่างมิสเตอร์เฮิร์บสต์ สามารถลดตนเองให้ต่ำทรามจนถึงกับพูดเรื่องอย่างนี้ออกมาได้

    อย่างไรก็ตาม มันก็ได้กลายเป็นการโฆษณาชวนเชื่อชั้นดีไปเสียฉิบ!

    ด้วยลีลาทำนองเดียวกันนี้แหละ คำแถลงของประธานาธิบดีปูตินที่พูดตอบโต้ประธานาธิบดีโปโรเชนโก ที่ว่า “ถ้าหากผมต้องการจริงๆ แล้ว ในเวลาเพียง 2 วันผมย่อมสามารถที่จะส่งทหารรัสเซีย ไม่เพียงเข้าไปถึงกรุงเคียฟเท่านั้น แต่ยังเข้าไปยังกรุงริกา (เมืองของลัตเวีย), กรุงวิลนีอุส (เมืองหลวงของลิทัวเนีย), กรุงทาลลินน์ (เมืองหลวงของเอสโตเนีย), กรุงวอร์ซอ (เมืองหลวงของโปแลนด์), และกรุงบูดาเปสต์ (เมืองหลวงของฮังการี) ได้อีกด้วย” ปรากฏว่าหนังสือพิมพ์เดลี่ เทเลกราฟ (Daily Telegraph) ของอังกฤษ ได้นำคำพูดนี้ไปรายงานเป็นข่าวว่า “ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน กล่าวข่มขู่เป็นการภายในว่าจะรุกรานโปแลนด์, โรมาเนีย, และเหล่ารัฐแถบทะเลบอลติก” (ดู Putin 'privately threatened to invade Poland, Romania and the Baltic states' - Telegraph) –ซึ่งเป็นการตีความสิ่งที่เขาพูดอย่างผิดๆ แบบมุ่งประสงค์ร้ายโดยแท้

    ปูตินนั้นกำลังอธิบายในประเด็นที่ว่า กองทัพของรัสเซียสามารถที่จะใช้ปฏิบัติการทางทหารเอาชนะพวกประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลายได้อย่างง่ายดาย ถ้าหากพวกเขาได้รับคำสั่งให้กระทำเช่นนั้น --แต่ปูตินไม่ได้มีเจตนารมณ์ที่จะทำอะไรซึ่งหุนหันพลันแล่นและโง่เขลาถึงขนาดนั้น สิ่งที่เขาและประชาชนชาวรัสเซียต้องการคือความยุติธรรมและหนทางเลือกทางการเมืองสำหรับประชาชนชาติพันธุ์รัสเซียในยูเครนตะวันออก ตลอดจนการขยายการค้าขายทวิภาคีอันทำกำไรงามกับพวกประเทศที่อยู่ประชิดติดกันกับรัสเซีย มันจะเป็นการกระทำแบบบ้าบอคอแตกไปแล้วทีเดียว ถ้าหากมอสโกจะทำอันตรายต่อความเชื่อมโยงทางการพาณิชย์กับประเทศเพื่อนบ้านของตนไม่ว่ารายใด ตรงกันข้าม วอชิงตันต่างหากที่กำลังพยายามทำลายความสัมพันธ์เหล่านี้

    ภายหลังเกิดข้อตกลงกรุงมินสก์ฉบับนี้แล้ว ปรากฏว่าแคนาดา, อิตาลี, ญี่ปุ่น, อังกฤษ, และสหรัฐฯ (ซึ่งเมื่อรวมกับฝรั่งเศสและเยอรมนี ก็จะกลายเป็น กลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก หรือ จี-7) ได้แสดงความยินดีต้อนรับข้อตกลงนี้อย่างสุภาพ (แน่นอนล่ะ ในการแถลงต่อสาธารณชน พวกเขาย่อมไม่มีทางเลือกอื่น) แต่ก็ได้ใช้โอกาสนี้ “ประณามอีกครั้งต่อการที่รัสเซียเข้าผนวกไครเมียอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ” ทั้งนี้ตามคำแถลงของทำเนียบขาว (ดูรายละเอียดได้ที่ G-7 Leaders Statement on Ukraine | The White House)

    ดูราวกับว่า พวกชาติในกลุ่ม จี-7 ซึ่งได้รับการกระตุ้นจากสหรัฐฯเหล่านี้ กำลังเรียกร้องว่า ไครเมียที่มีประชากรเป็นคนชาติพันธุ์รัสเซียอยู่ 60% ควรที่จะถูกครอบครองจากรัฐบาลกรุงเคียฟ แม้จะเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของประชากรส่วนข้างมากของเขตพื้นที่ซึ่งเคยเป็นของรัสเซียมาอย่างยาวนานแห่งนี้ก็ตามที

    หากเป็นเช่นนี้ได้นั่นแหละจึงจะเป็นที่สมอกสมใจตามจุดมุ่งหมายของกลุ่มพันธมิตรสหรัฐฯ-นาโต้ ซึ่งมุ่งมาดปรารถนามานานและยังคงมุ่งมาดปรารถนาอยู่จนถึงเวลานี้ ที่จะให้ยูเครนกลายเป็นสมาชิกรายหนึ่งขององค์การแห่งนั้น และเข้าไปร่วมกับชาติอื่นๆ ซึ่งตั้งประจันจ่อประชิดอยู่ตรงชายแดนของรัสเซียเรียบร้อยแล้ว สำหรับสหรัฐฯ-นาโต้แล้ว ปัญหาในเวลานี้ก็คือ การที่เมืองท่าเซวาสโตโปล (Sevastopol) อันใหญ่โตกว้างขวาง บัดนี้เป็นอิสระจากเคียฟแล้ว และดังนั้นก็จะทำให้สหรัฐฯ-นาโต้หมดโอกาสที่จะได้ฐานทัพซึ่งจะสามารถควบคุมบงการทะเลดำได้

    กลุ่มพันธมิตรต่อต้านรัสเซียที่นำโดยสหรัฐฯ จะยังคงสืบต่อขยายอิทธิพลของตนตามแนวพรมแดนของรัสเซียต่อไป และเห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในจังหวัดต่างๆ ทางภาคตะวันออกของยูเครนก็ตามที การประจันหน้าอย่างต่อเนื่องกับรัสเซียโดยที่มีวอชิงตันเป็นหัวโจก ก็จะยังเดินหน้าต่อไปไม่มีหยุดยั้ง

    มิฮาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) –บุรุษผู้ซึ่งมีอารมณ์ความรู้สึกร่วมกันกับประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน จนกระทั่งช่วยทำให้สงครามเย็นครั้งแรกยุติลงได้-- ได้ออกมาตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดยืนของกลุ่มพันธมิตรสหรัฐฯ-นาโต้ว่า “ผมไม่สามารถมั่นใจได้เลยว่า สงครามเย็น [ครั้งใหม่] จะไม่ทำให้เกิดสงคราม 'ร้อน' ขึ้นมาด้วย ตัวผมนั้นกลัวจริงๆ ว่าพวกเขาอาจจะถึงกับกล้าเสี่ยงให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นมา”

    เมื่อพิจารณาจากท่าทีอันหลงระเริงไร้ความยับยั้งชั่งใจ และพร้อมที่จะเข้าเผชิญหน้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของสหรัฐฯ รวมทั้งพวกผู้สนับสนุนที่เป็นพันธมิตรในกลุ่มนาโต้ของเขาบางรายแล้ว ความเสี่ยงก็ดูจะอยู่ในระดับสูงมาก พวกเขากำลังเป็นอันตรายต่อชีวิตของพวกเราทั้งหลายทั้งปวงไปเสียแล้ว

    ไบรอัน คลัฟเลย์ เป็นอดีตทหารที่เขียนเรื่องราวกิจการทางทหารและทางการเมือง ส่วนใหญ่แล้วเกี่ยวข้องกับอนุทวีปอินเดีย หนังสือเรื่อง A History of the Pakistan Army ของเขาฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4 เพิ่งได้รับการตีพิมพ์เมื่อปี 2014 ที่ผ่านมา

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000020527
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    กรณีแบงก์HSBC กับความเปราะบางของเสรีภาพหนังสือพิมพ์
    โดย รอย กรีนสเลด 13 กุมภาพันธ์ 2558 19:05 น. (เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ Asia Times Online :: Asian news hub providing the latest news and analysis from Asia) HSBC and fragility of press freedom 13/02/2015

    คติพจน์อันมีชื่อเสียงโด่งดังของ เอเจ ลิบลิ่ง ที่ว่า “เสรีภาพของหนังสือพิมพ์เป็นสิ่งซึ่งมีแต่พวกเจ้าของหนังสือพิมพ์เท่านั้นที่ได้รับการรับรองว่ามีเสรีภาพชนิดนี้” ไม่ว่าพูดกันบ่อยแค่ไหนก็ดูจะยังไม่เพียงพอ วันนี้จะต้องนักหนังสือพิมพ์ไม่น้อยในปารีสที่พูดอะไรทำนองนี้กันอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักหนังสือพิมพ์ที่กำลังทำงานให้แก่ “เลอมงด์” เนื่องจากมีบุคคลคนหนึ่งในกลุ่มผู้เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ออกมาตักเตือนให้นักหนังสือพิมพ์ที่เลอมงด์ระลึกเอาไว้ว่า พวกเขาไม่ได้มีความเป็นอิสรเสรีเหมือนอย่างที่พวกเขาอาจจะมโนคิดฝันไปเองหรอก

    คติพจน์อันมีชื่อเสียงโด่งดังของ เอเจ ลิบลิ่ง (AJ Liebling) ที่ว่า “เสรีภาพของหนังสือพิมพ์เป็นสิ่งซึ่งมีแต่พวกเจ้าของหนังสือพิมพ์เท่านั้นที่ได้รับการรับรองว่ามีเสรีภาพชนิดนี้” (Freedom of the press is guaranteed only to those who own one) ไม่ว่าพูดกันบ่อยแค่ไหนก็ดูจะยังไม่เพียงพอ

    ผมจินตนาการว่าวันนี้จะต้องนักหนังสือพิมพ์ไม่น้อยในปารีสที่พูดอะไรทำนองนี้กันอย่างแน่นอน ยิ่งถ้าพวกเขากำลังทำงานอยู่กับ “เลอมงด์” (Le Monde) ด้วยแล้ว ยิ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าพวกเขาจะต้องพูดถ้อยคำอย่างนี้ด้วยเสียงดังลั่นและด้วยความโกรธแค้น เนื่องจากมีบุคคลคนหนึ่งในกลุ่มผู้เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ออกมาตักเตือนให้นักหนังสือพิมพ์ที่เลอมงด์ระลึกเอาไว้ว่า พวกเขาไม่ได้มีความเป็นอิสรเสรีเหมือนอย่างที่พวกเขาอาจจะมโนคิดฝันไปเองหรอก

    ปีแอร์ แบร์เช (Pierre Bergé) ประธานคณะกรรมการกำกับตรวจสอบของเลอมงด์ และก็เป็นหนึ่งในกลุ่มนักธุรกิจผู้มั่งคั่งซึ่งเข้าช่วยเหลือกอบกู้หนังสือพิมพ์ฉบับนี้จากภาวะล้มละลายในปี 2010 ได้ออกมาแถลงโจมตีกองบรรณาธิการอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน จากการที่กองบรรณาธิการตีพิมพ์เผยแพร่รายชื่อลูกค้าของธนาคาร HSBC ซึ่งไปเปิดบัญชีไว้ในสวิตเซอร์แลนด์ โดยที่บัญชีเหล่านี้อาจจะถูกนำไปใช้เพื่อการหลบเลี่ยงการเสียภาษี

    ในการให้สัมภาษณ์ทางวิทยุรายการหนึ่ง แบร์เชกล่าวหากองบรรณาธิการที่ “ป่าวประกาศ” รายชื่อลูกค้าธนาคารเหล่านี้ พร้อมกับตั้งคำถามว่า “มันเป็นหน้าที่ของหนังสือพิมพ์หรือ ที่จะเที่ยวเอารายชื่อของใครต่อใครออกมาโยนกันให้เกลื่อนกลาดอย่างนี้?”

    จากนั้นเขาก็ระเบิดคำวิจารณ์ซึ่งตรงแน่วเข้าสู่หัวใจของการถกเถียงอภิปรายที่ยังไม่ได้บทสรุปเสียที ว่าด้วยความเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ภาคเอกชน โดยเขาบอกว่า “การที่ผมยินยอมให้พวกเขาใช้ความเป็นอิสรเสรีของพวกเขานั้น ไม่ใช่ให้เอามาทำอย่างนี้หรอก”

    แล้วจะให้เอาอิสรเสรีไปทำอะไรล่ะครับ คุณแบร์เช? ความเป็นอิสระเสรีจะมีความหมายอะไรถ้าหากคุณไม่สามารถใช้มันได้? การที่คุณเข้ามาแทรกแซงอย่างนี้ มันจะเป็นการป่าวประกาศความเป็นอิสรเสรีไปได้อย่างไรกัน?

    ทางฝ่ายนักหนังสือพิมพ์ ได้แสดงปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยการประณาม แบร์เช ว่า “เข้ามาแทรกแซงส่วนเนื้อหาของกองบรรณาธิการ” พร้อมกับเรียกร้องให้เขามุ่งมั่นอยู่แต่เรื่องยุทธศาสตร์เชิงพาณิชย์ และปล่อยให้เรื่องการเสนอข่าวเป็นหน้าที่ของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ท่าทีเช่นนี้แสดงให้เห็นความอ่อนหัดไร้เดียงสาอยู่บ้างบางประการ

    เหตุผลที่คนเขาจะเข้ามาเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ที่กำลังขาดทุนไม่หยุดไม่หย่อน ทั้งหลายทั้งปวงก็เพราะต้องการมีอิทธิพลเหนือเนื้อหาที่ผลิตโดยกองบรรณาธิการนั่นแหละ โดยที่ส่วนสำคัญมากอย่างหนึ่งของอิทธิพลดังกล่าว ได้แก่การทำให้เกิดความมั่นใจว่า เพื่อนฝูงของเขา, ชนชั้นนำผู้มั่งคั่งรำรวย จะได้รับการปกป้องคุ้มครองให้ปลอดจากการถูกคุ้ยเขี่ยตรวจสอบ

    มีข้อน่าสังเกตว่า แบร์เช ซึ่งปัจจุบันอายุ 84 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันเสื้อผ้าแฟชั่นชั้นสูง “อีฟ แซ็ง โลร็อง” (Yves Saint Laurent couture house) ไม่ใช่เป็นผู้ถือหุ้นเพียงรายเดียวที่ออกโรงมาต่อต้านคัดค้าน เขายังได้รับความสนับสนุนจาก มัทติว ปีกัสเซ (Matthieu Pigasse) ซีอีโอของวาณิชธนกิจ “ลาซาร์ด” (Lazard) ในปารีส ผู้ออกมาแสดงความกังวลเรื่องที่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ตกอยู่ในอันตรายที่จะ “จมถลำไปสู่รูปแบบของลัทธิแมคคาร์ธีทางการคลัง (fiscal McCarthyism) และทางการเสนอข่าวสาร”

    แบร์เช, ปีกาสเซ, และ ซาวีร์ นีล (Xavier Niel) มหาเศรษฐีทรงอิทธิพลทางด้านโทรคมนาคม เป็นผู้ลงนามในข้อตกลงฉบับหนึ่งเมื่อปี 2010 ซึ่งรับประกันว่ากองบรรณาธิการของเลอมงด์จะมีอิสรเสรีในการปฏิบัติงาน

    เลอมงด์ ด้วยการร่วมมือกับ การ์เดียน (Guardian) ได้แสดงบทบาทนำหน้าสื่อมวลชนอื่นๆ ในการเปิดโปงว่า กิจการธนาคารมุ่งบริการลูกค้ากระเป๋าหนักของแบงก์ HSBC ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์นั้น ได้ช่วยเหลือลูกค้าให้หลบเลี่ยงภาษีหรือกระทั่งหนีภาษี รวมเป็นมูลค่าหลายพันล้านปอนด์

    อย่างไรก็ตาม การ์เดียนยังคงมีความอิสรเสรีอย่างแท้จริง สืบเนื่องจากหนังสือพิมพ์อังกฤษฉบับนี้มีกองทุนทรัสต์เป็นเจ้าของ ไม่ใช่เป็นของกลุ่มผู้มั่งคั่งร่ำรวยแบบเลอมงด์

    รอย กรีนสเลด เป็นศาสตราจารย์ทางด้านวารสารศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัย ซิตี้ ยูนิเวอร์ซิตี้ ลอนดอน เขาเคยเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์เดลี่ มิร์เรอร์ ในช่วงปี 1990-91 และตั้งแต่ปี 1992 ได้หันมาทำงานเป็นนักวิจารณ์ให้แก่สื่อมวลชนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างหนังสือพิมพ์การ์เดียน ปัจจุบันเขาเขียนลงในบล็อกรายวันซึ่งอยู่บนเว็บไซต์ของการ์เดียน และยังเป็นคอลัมนิสต์ให้แก่หนังสือพิมพ์ลอนดอน อีฟนิ่ง สแตนดาร์ด

    (ข้อเขียนชิ้นนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ทีแรกที่บล็อกรายวันของ รอย กรีนสเลด บนเว็บไซต์ของการ์เดียน)


    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000018094
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    บริษัทการเกษตรรายยักษ์ของตะวันตกเร่ง ‘เขมือบ’ ยูเครน
    โดย เฟรเดอริก มุสโซ 8 กุมภาพันธ์ 2558 11:50 น. (เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ Asia Times Online :: Asian news hub providing the latest news and analysis from Asia) West's agri-giants snap up Ukraine By Frederic Mousseau 28/01/2015

    ยูเครนมีที่ดินเหมาะแก่การเพาะปลูกเป็นจำนวนมาก เท่ากับประมาณหนึ่งในสามของที่ดินเช่นนี้ในทั่วทั้งสหภาพยุโรป (อียู) ทีเดียว ในความเห็นของผู้เขียนแล้ว ปัจจัยหลักประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันล่าสุดระหว่างฝ่ายตะวันออกกับฝ่ายตะวันตก ก็คือแผนกโลบายที่จะเข้าควบคุมระบบทางการเกษตรของยูเครนให้ได้นั่นเอง โดยที่เวลานี้พวกบริษัทอุตสาหกรรมการเกษตรรายยักษ์ใหญ่ของโลกตะวันตก ไม่ว่าจะเป็น มอนซานโต, คาร์กิลล์, หรือ ดูปองต์, ต่างกำลังนำขบวนเคลื่อนไหวเข้าควบคุมสายโซ่อุปทานทางการเกษตรของยูเครนเอาไว้ในทุกๆ ภาคส่วน

    โอคแลนด์, สหรัฐอเมริกา - ในเวลาเดียวกับที่สหรัฐฯ, แคนาดา, และสหภาพยุโรป (อียู) ต่างประกาศมาตรการใหม่ๆ ในการลงโทษคว่ำบาตรรัสเซียเมื่อกลางเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ยูเครนก็ได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯคิดเป็นมูลค่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยที่ความช่วยเหลือก้อนนี้เป็นการเสริมเติมต่อยอดจากแพกเกจความช่วยเหลือจำนวน 1,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งผ่านการรับรองเห็นชอบของรัฐสภาสหรัฐฯเมื่อเดือนมีนาคม 2014

    การที่เหล่ารัฐบาลของโลกตะวันตก เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับการสู้รบขัดแย้งกันในยูเครนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้ เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความพอใจและมั่นใจในคณะรัฐบาลชุดใหม่ของยูเครนซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม 2014 รัฐบาลใหม่ชุดนี้ต้องถือว่ามีลักษณะโดดเด่นน่าจับตาเป็นพิเศษ เนื่องจากตำแหน่งรัฐมนตรีนั่งกระทรวงสำคัญที่สุด 3 กระทรวง ถูกจัดสรรให้แก่บุคคลที่ถือกำเนิดในต่างแดนและเพิ่งได้รับสัญชาติเป็นพลเมืองยูเครน เพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่พวกเขาจะได้รับการแต่งตั้ง

    ทั้งนี้กระทรวงการคลังตกเป็นของ นาตาลี จาเรสโค (Natalie Jaresko) นักธุรกิจหญิงที่เกิดและได้รับการศึกษาในสหรัฐฯ เธอเข้าไปทำงานอยู่ในยูเครนตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1990 โดยทำหน้าที่กำกับดูแลกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในหุ้น ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาลสหรัฐฯเพื่อทำการลงทุนในยูเครน นอกจากนั้น จาเรสโค ยังเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของ ฮอไรซอน แคปิตอล (Horizon Capital) บริษัทด้านการลงทุนซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการการลงทุนเป็นจำนวนมากของโลกตะวันตกในประเทศนี้

    การแต่งตั้งเช่นนี้ดูออกจะไม่ชอบมาพากล และสอดคล้องเป็นไปในทิศทางที่ระบุกันว่า กลุ่มผลประโยชน์ของโลกตะวันตกกำลังตั้งท่าเข้าไปเทคโอเวอร์เศรษฐกิจของยูเครน สถาบันโอคแลนด์ (Oakland Institute) ได้จัดทำรายงานออกมา 2 ฉบับ ได้แก่เรื่อง “The Corporate Takeover of Ukrainian Agriculture” (ภาคบริษัทเข้าเทคโอเวอร์การเกษตรของยูเครน) และเรื่อง “Walking on the West Side: The World Bank and the IMF in the Ukraine Conflict” (เดินไปในฝั่งตะวันตก: ธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟในความขัดแย้งยูเครน) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลของการเทคโอเวอร์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร

    ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในช่วงต้นๆ ของวิกฤตการณ์ยูเครนคราวนี้ ซึ่งนำไปสู่การประท้วงนองเลือดต่อเนื่องและลงท้ายประธานาธิบดีวิกตอร์ ยานูโควิช (Viktor Yanukovych) ก็ถูกถอดออกจากตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ได้แก่การที่ ยานูโควิช ปฏิเสธไม่ยอมรับ ข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมืองกับสหภาพยุโรป (European Union Association agreement) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะขยายการค้าระหว่างกัน และบูรณาการยูเครนเข้ากับอียู โดยที่ข้อตกลงฉบับนี้ยังถูกผูกเป็นเงื่อนไขข้อหนึ่งสำหรับการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะปล่อยเงินกู้จำนวน 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯให้แก่ยูเครนอีกด้วย

    หลังจากประธานาธิบดียานูโควิชถูกขับออกจากเก้าอี้ โดยมีรัฐบาลโปรตะวันตกขึ้นมาแทนที่ ไอเอ็มเอฟได้ริเริ่มจัดทำแผนการปฏิรูปซึ่งมีเป้าหมายที่จะเพิ่มพูนการลงทุนของภาคเอกชนในยูเครน และมันก็กลายเป็นเงื่อนไขอีกส่วนหนึ่งสำหรับการอนุมัติปล่อยเงินกู้ให้แก่ประเทศนี้

    แผนการปฏิรูปนี้ประกอบด้วยมาตรการหลายหลาก เป็นต้นว่า การปฏิรูปกิจการของรัฐซึ่งทำหน้าที่จัดหาน้ำสะอาดและจัดหาพลังงาน แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นเสียอีก ได้แก่ความพยายามในการจัดการกับสิ่งที่ธนาคารโลกระบุว่า เป็น “รากเหง้าเชิงโครงสร้าง” ของวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันของยูเครน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการดำเนินธุรกิจในประเทศนี้

    ภาคการเกษตรของยูเครนถูกจับจ้องตาเป็นมันในฐานะที่เป็นเป้าหมายใหญ่ลำดับต้นๆ ของพวกนักลงทุนภาคเอกชนต่างชาติ และด้วยเหตุนี้จึงถูกมองจากไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกว่าเป็นภาคที่ควรทำการปฏิรูปเป็นลำดับแรกๆ สถาบันทั้งสองแห่งนี้ต่างยกย่องชมเชยรัฐบาลใหม่ของยูเครนซึ่งแสดงความพรักพร้อมที่จะทำตามคำแนะนำของพวกเขา

    แผนแม่บทเพื่อการปฏิรูปภาคการเกษตรซึ่งต่างชาติพยายามผลักดันนี้ ประกอบด้วยมาตรการอย่างเช่น การอำนวยความสะดวกให้แก่การเข้าถือครองที่ดินเพื่อการเกษตร, การตัดลดระเบียบกฎหมายและการบังคับควบคุมในเรื่องอาหารและพืชพรรณ, การลดภาษีนิติบุคคลและภาษีศุลกากร

    ภาคการเกษตรอันใหญ่โตกว้างขวางของยูเครน คือเดิมพันมูลค่าสูงลิ่วซึ่งน่าไขว่คว้าเอาไว้เป็นที่สุด โดยที่ในปัจจุบันก็มีฐานะเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่อันดับ 5 ของโลกอยู่แล้ว ท้องทุ่งอันกว้างขวางของประเทศนี้ขึ้นชื่อว่ามีดินดำที่อุดมสมบูรณ์ คิดคำนวณแล้วยูเครนสามารถคุยอวดได้ว่ามีที่ดินชั้นดีเหมาะแก่การเพาะปลูกมากกว่า 32 ล้านเฮกตาร์ (ประมาณ 200 ล้านไร่) หรือเท่ากับหนึ่งในสามของที่ดินแบบนี้ในตลอดทั่วทั้งอียูทีเดียว

    ปัจจัยหลักประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการต่อสู้กันอย่างดุเดือดตั้งแต่ปีที่แล้ว และกลายเป็นเผชิญหน้ากันระหว่างฝ่ายตะวันออกกับฝ่ายตะวันตกครั้งใหญ่โตที่สุดนับตั้งแต่สงครามเย็นยุติลง ก็คือแผนกโลบายที่จะเข้าควบคุมระบบทางการเกษตรของยูเครนให้ได้นั่นเอง

    พวกบริษัทต่างชาติรายใหญ่ๆ กำลังพากันบุกเจาะเข้าสู่ภาคการเกษตรของยูเครนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีพื้นที่มากกว่า 1.6 ล้านเฮกตาร์ (ราว 10 ล้านไร่) แล้วซึ่งมีการลงนามยกให้พวกบริษัทต่างชาติใช้สอยเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเกษตร ในขณะที่ มอนซานโต (Monsanto), คาร์กิลล์ (Cargill), และ ดูปองต์ (DuPont) เข้าไปดำเนินธุรกิจในยูเครนได้พักใหญ่ๆ แล้ว ทว่าในระยะไม่กี่ปีหลังมานี้ การลงทุนของพวกเขาในประเทศนี้ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญทีเดียว

    คาร์กิลล์นั้นมีธุรกิจในด้านการขายยาฆ่าศัตรูพืช, เมล็ดพันธุ์, และปุ๋ย รวมทั้งเมื่อเร็วๆ นี้ยังได้ขยายการลงทุนในภาคการเกษตรของตนออกไปอีก โดยครอบคลุมทั้งกิจการไซโลเก็บธัญญาหาร, อาหารสัตว์, ตลอดจนมีหุ้นอยู่ใน ยูคระแลนด์ฟาร์มมิ่ง (UkrLandFarming) ซึ่งธุรกิจภาคการเกษตรรายใหญ่ที่สุดในประเทศนี้

    ในทำนองเดียวกัน มอนซานโตก็ทำธุรกิจในยูเครนมาหลายปีแล้ว ทว่าในช่วง 3 ปีหลังมานี้ จำนวนลูกจ้างพนักงานของบริษัทนี้ได้เพิ่มสูงขึ้น 1 เท่าตัว ในเดือนมีนาคม 2014 เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจาก ยานูโควิช ถูกโค่นล้ม บริษัทแห่งนี้ก็ได้ลงทุนเป็นมูลค่า 140 ล้านดอลลาร์เพื่อก่อสร้างโรงเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งใหม่ขึ้นในยูเครน

    ทางด้าน ดูปองต์ ก็ได้ขยายการลงทุนของตน และได้ประกาศในเดือนมิถุนายน 2013 ว่าบริษัทจะเข้าลงทุนสร้างโรงเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งใหม่ขึ้นในประเทศนี้เช่นกัน

    พวกบริษัทตะวันตกไม่ได้พอใจอยู่เพียงแค่การเข้าควบคุมธุรกิจการเกษตรบางแขนงและกิจกรรมทางการเกษตรบางอย่างที่ทำกำไรงามเท่านั้น มาถึงตอนนี้พวกเขาได้เริ่มต้นขยายอาณาจักรในลักษณะที่มุ่งบูรณาการภาคการเกษตรในแนวตั้ง ตลอดจนแผ่ขยายเข้าควบคุมภาคโครงสร้างพื้นฐานและกิจการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าการเกษตรเอาไว้ในกำมือ

    ตัวอย่างเช่น คาร์กิลล์เวลานี้เป็นเจ้าของโรงเก็บเมล็ดธัญญาหารอย่างน้อย 4 แห่ง และโรงงานแปรรูปเมล็ดดอกทานตะวันเพื่อใช้สำหรับการผลิตน้ำมันเมล็ดทานตะวันอย่างน้อย 2 แห่ง ในเดือนธันวาคม 2013 บริษัทได้เข้าซื้อหุ้นจำนวน “25%+1หุ้น” ในกิจการขนถ่ายธัญญาหารลงเรือที่เมืองโนโบรอสซืย์สกะ (Novorossiysk) ซึ่งเป็นเมืองท่าริมทะเลดำ โดยที่กิจการแห่งนี้มีศักยภาพขนถ่ายธัญญาหารได้ 3.5 ล้านตันต่อปี

    ทุกๆ ภาคส่วนของสายโซ่อุปทานทางการเกษตรของยูเครน ไล่เรียงตั้งแต่การผลิตเมล็ดพันธุ์และอินพุตทางการเกษตรอื่นๆ ไปจนถึงการขนถ่ายสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ออกนอกประเทศนี้ จึงกำลังถูกบริษัทตะวันตกควบคุมเอาไว้มากขึ้นเรื่อยๆ

    ทั้งสถาบันต่างๆ ในยุโรปและทั้งรัฐบาลสหรัฐฯ ต่างส่งเสริมสนับสนุนการขยายตัวเช่นนี้อย่างกระตือรือร้น เริ่มต้นตั้งแต่การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนรัฐบาลในจังหวะเวลาที่ประธานาธิบดียานูโควิช ถูกมองว่าเป็นพวกโปรผลประโยชน์ของรัสเซีย ต่อจากนั้นการผลักดันยังคงคืบหน้าไปอีกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2014 เป็นต้นมา ด้วยการเสริมส่งสนับสนุนให้รัฐบาลใหม่ของยูเครนใช้ระเบียบวาระการปฏิรูปแบบ “โปรธุรกิจ” ตามถ้อยคำของรัฐมนตรีพาณิชย์ เพนนี พริตซเคอร์ (Penny Pritzker) ของสหรัฐฯ ตอนที่เธอพบปะเจรจากับนายกรัฐมนตรี อาร์เซนืย์ ยัตเซนยุค (Arsenly Yatsenyuk) ของยูเครนในเดือนตุลาคม 2014

    สหภาพยุโรปกับสหรัฐฯกำลังทำงานอย่างสอดคล้องประสานกันในการเข้าเทคโอเวอร์ภาคการเกษตรของยูเครน ถึงแม้เวลานี้ยูเครนมีนโยบายไม่อนุญาตให้เพาะปลูกพืชผลที่ผ่านการตัดแต่งทางพันธุกรรม (GM หรือ GMO) ทว่าตามข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างยูเครนกับอียู ซึ่งเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดความขัดแย้งที่นำไปสู่การโค่นล้มยานูโควิช มีข้อความ (มาตรา 404) ที่ผูกมัดให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องร่วมมือกัน “ในการขยายการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ” ภายในยูเครน

    การที่มีมาตรานี้บรรจุเอาไว้ต้องถือเป็นเรื่องเซอร์ไพรซ์ เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่าผู้บริโภคชาวยุโรปส่วนใหญ่ต่างรังเกียจไม่ยอมรับพืชผล GM อย่างไรก็ตาม เมื่อมีมาตรานี้อยู่ มันก็เท่ากับการเปิดช่องให้สามารถนำผลิตผล GM เข้าไปในยุโรปได้ อันเป็นโอกาสที่พวกบริษัทเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่อย่างเช่น มอนซานโต เสาะแสวงหากันมานาน

    การเปิดประตูให้นำเอาพืชผล GM ไปเพาะปลูกในยูเครนได้เช่นนี้ ย่อมขัดต่อเจตนารมณ์ของพลเมืองชาวยุโรป และไม่มีความชัดเจนเลยว่าการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้จะเป็นประโยชน์แก่ชาวยูเครน

    ในทำนองเดียวกัน มันไม่มีความชัดเจนเลยว่าชาวยูเครนจะได้ประโยชน์จากกระแสการลงทุนของต่างชาติในภาคการเกษตรของพวกเขา ตลอดจนเรื่องที่การลงทุนเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อเกษตรกรท้องถิ่นจำนวน 7 ล้านคน ก็ยังไม่มีความชัดเจนเช่นกัน

    ทันทีที่พวกเขาสามารถละสายตาออกจากสงครามความขัดแย้งในภาคตะวันออกที่ “โปรรัสเซีย” ของประเทศได้ในท้ายที่สุด ชาวยูเครนอาจจะรู้สึกงุนงงข้องใจว่า ประเทศของพวกเขายังเหลือความสามารถอะไรอยู่อีกในการควบคุมผลผลิตด้านอาหารของตน และในการบริหารจัดการเศรษฐกิจให้เกิดผลประโยชน์แก่ชาวยูเครนเอง

    ขณะที่สำหรับพลเมืองชาวสหรัฐฯและชาวยุโรป ในที่สุดแล้วพวกเขาจะสามารถหรือไม่หนอที่จะตื่นฟื้นจากความหลับใหลแห่งการโหมประโคมพาดหัวข่าวและถ้อยคำโวหารอันสูงส่งเกี่ยวกับการรุกรานและการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัสเซีย และหันมาตั้งคำถามเอากับรัฐบาลของพวกเขาที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวพัวพันอยู่ในสงครามความขัดแย้งของยูเครน?

    เฟรเดอริก มุสโซ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายอยู่ที่สถาบันโอคแลนด์

    ข้อเขียนชิ้นนี้มาจาก สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) Inter Press Service | Turning the World Downside Up ซึ่งเป็นสถาบันเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศที่มีสำนักข่าวระดับโลกเป็นแกนกลาง ไอพีเอสก่อตั้งขึ้นในปี 1964 มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเสนอข่าวด้านพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ, สิทธิมนุษยชน, สิ่งแวดล้อม, ตลอดจนนโยบายการต่างประเทศของพวกมหาอำนาจพัฒนาแล้ว ในแง่มุมของการที่พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับพวกประเทศกำลังพัฒนา

    ทัศนะความคิดเห็นที่แสดงไว้ในข้อเขียนชิ้นนี้เป็นของผู้เขียน และไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นตัวแทนความคิดเห็นของไอพีเอส รวมทั้งไม่ควรที่จะถือว่าเป็นทัศนะความคิดเห็นของ ไอพีเอส

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000015446
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,239
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ‘โอบามา’เยือน ‘อินเดีย’: อุดมด้วย ‘สัญลักษณ์’แต่ ‘เนื้อหา’ว่างกลวง
    โดย เอ็ม เค ภัทรกุมาร 6 กุมภาพันธ์ 2558 23:37 น.(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ Asia Times Online :: Asian news hub providing the latest news and analysis from Asia) Obama’s India visit a big blank By M K Bhadrakumar 30/01/2015

    การเดินทางไปอินเดียเป็นเวลา 3 วันของ บารัค โอบามา เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ถือเป็นการสร้างแบบอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเป็นการเยือนแดนภารตะครั้งที่ 2 ของประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ การเยี่ยมเยียนคราวนี้อุดมสมบูรณ์เป็นพิเศษด้วยสัญลักษณ์ทางการเมือง ทว่ากลับล้มเหลวมิได้ผลิตผลลัพธ์อันมีเนื้อหาสาระออกมา ทั้งนี้ ไม่ได้มีคำมั่นสัญญาใดๆ เกี่ยวกับการลงทุนของสหรัฐฯ, ไม่ได้มีข้อตกลงใดๆ ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ, ไม่ได้มีโครงการอันสำคัญเป็นหลักหมายระดับ “เรือธง” ใดๆ ในเรื่องการร่วมมือทางการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหาร รวมทั้งอินเดียก็ไม่ได้ลงนามในสัญญาซื้อหาอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ จากสหรัฐฯเลย

    การเดินทางเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามา ระหว่างวันที่ 25-27 มกราคมที่ผ่านมา มีความอุดมสมบูรณ์เป็นพิเศษในเรื่องสัญลักษณ์ทางการเมือง การเยี่ยมเยียนครั้งนี้บังเกิดขึ้นหลังจากที่ในเบื้องแรกทีเดียว นายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี ของอินเดีย ได้เชื้อเชิญ โอบามา ให้มาเป็นแขกเกียรติยศหัวแถว ในงานเฉลิมฉลองวันชาติ 26 มกราคมของอินเดีย

    ตัว โมดี เองนั้นเพิ่งไปเยือนกรุงวอชิงตันเมื่อ 4 เดือนก่อน และการที่โอบามาตอบรับคำเชิญคราวนี้ ยังหมายความว่าเป็นการสร้างแบบอย่างซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเป็นการเยือนแดนภารตะครั้งที่ 2 ของประธานาธิบดีสหรัฐฯในระหว่างที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่

    เมื่อฝุ่นผงคลีซึ่งฟุ้งกระจายจากความตื่นเต้นของการเยี่ยมเยียนอันเต็มไปด้วยสีสันครั้งนี้ค่อยๆ จางคลายลงไปแล้ว มันก็ถึงเวลาที่จะเริ่มต้นพินิจพิจารณากันอย่างจริงจัง ถึงดอกผลที่ผลิตออกมาได้ ทั้งนี้ ผู้เขียนเห็นว่าสิ่งที่ควรต้องวินิจฉัยนั้นมีด้วยกัน 3 ด้าน กล่าวคือ ด้านแรก สัญลักษณ์ทางการเมืองที่ปรากฏให้เห็นเหล่านี้ควรที่จะถอดรหัสแปลความหมายว่าอย่างไร ด้านที่สอง ผลลัพธ์ที่เป็นเนื้อหาสาระของการเยือนคราวนี้คืออะไร และด้านที่สาม ความสัมพันธ์ที่ได้รับการยกระดับสูงขึ้นมาเช่นนี้จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อพลวัตอันเต็มไปด้วยพลังในเอเชีย-แปซิฟิก

    ไม่มีข้อสงสัยใดๆ เลย ทั้งนิวเดลีและวอชิงตันต่างส่งสัญญาณแสดงความมุ่งมั่นในทางการเมือง ที่จะปรับปรุงยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกัน ให้คึกคักมีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่ หลังจากตกอยู่ในสภาพเนือยๆ ลงไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมื่อมองย้อนหลังกลับไป เราย่อมพบเห็นว่าความมุ่งหวังอย่างสูงส่งซึ่งปรากฏขึ้นมาจากการที่อดีตนายกรัฐมนตรี มานโมหัน ซิงห์ ของอินเดีย เดินทางไปวอชิงตันในปี 2009 และการที่โอบามาเยือนแดนภารตะเป็นการตอบแทนในปี 2010 มิได้รับการเติมเต็มอย่างสมราคาตามที่คาดหมายกันไว้ และดังนั้นจึงส่งผลทำให้รัศมีที่เปล่งเรืองรองของความสัมพันธ์ทวิภาคีอินเดีย-สหรัฐฯ ต้องอับแสงคล้ำมืดลงไปมาก

    กล่าวโดยสาระสำคัญแล้ว คณะบริหารโอบามาใช้ท่าทีเฝ้ารอไปก่อนจนกระทั่งความไม่แน่นอนทางการเมืองในอินเดียได้รับการสะสางให้กระจ่างชัดเจนภายหลังการเลือกตั้งในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2014 ต่อจากนั้นตัวโมดีเองก็ได้ใช้ความพยายามลงแรงผลักดัน โดยระหว่างการเยือนสหรัฐฯในเดือนกันยายนปีนั้นของเขา โมดีไม่เพียงแค่มุ่งเน้นย้ำว่าไม่ได้มีเจตนารมณ์ในทางลบในทางเลวร้ายใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้น หากยังแสดงความกระหายที่จะปลุกความมีชีวิตชีวาให้แก่สายใยความผูกพันซึ่งมีอยู่กับสหรัฐฯอีกด้วย และวอชิงตันก็ประเมินวินิจฉัยออกมาว่า ตนสามารถคบค้าร่วมไม้ร่วมมือกับโมดีได้ โดยที่นายกรัฐมนตรีอินเดียคนใหม่ผู้นี้ ไม่เพียงถูกมองว่าเป็น “พวกนิยมการปฏิรูป” เฉกเช่น มานโมหัน ซิงห์ นายกรัฐมนตรีคนก่อนเท่านั้น หากโมดียังเป็นคู่เจรจาซึ่งมุ่งเน้นสาระสำคัญมากกว่า, ทรงประสิทธิภาพกว่า, และเด็ดเดี่ยวยิ่งกว่าซิงห์อีกด้วย

    สำหรับโมดี การแสดงออกอย่างฟุ่มเฟือยให้โลกมองเห็นถึงไมตรีจิตมิตรภาพที่มีอยู่กับ “บารัค” เป็นสิ่งที่ให้ผลดียิ่งแก่ตัวเขาในทางด้านการเมืองภายในประเทศ ขณะเดียวกัน ทางฝ่ายโอบามาถึงแม้ขึ้นชื่อลือชาในเรื่องชอบวางตัวเหินห่าง แต่เขากลับแสดงความยินยอมพร้อมใจที่จะเล่นบทเคียงข้างกับโมดี ทั้งนี้สืบเนื่องจากวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขากำลังถูกปรปักษ์ทางการเมืองในสหรัฐฯเอง โจมตีไล่ล่าอย่างไม่รู้เหน็ดรู้เหนื่อย การฟื้นชีพความสัมพันธ์สหรัฐฯ-อินเดียให้กลับมีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่ ย่อมถือเป็นมรดกทางด้านนโยบายการต่างประเทศซึ่งเขาจะสามารถโอ่อวดด้วยความภาคภูมิใจ ด้วยเหตุฉะนี้ การผูกสัมพันธ์ระหว่างโมดี-โอบามาจึงช่างเหมาะเหม็งราวกับเป็นเนื้อคู่ที่สวรรค์ลิขิตเอาไว้ทีเดียว

    อย่างไรก็ตาม ถึงแม้บรรยากาศจะออกมาอย่างที่บรรยายไว้ข้างต้น แต่เอาจริงแล้วการเยือนของโอบามากลับล้มเหลวไม่ได้ก่อเกิดผลลัพธ์อันมีเนื้อหาสาระอะไรเอาเสียเลย ทั้งนี้ เขาไม่ได้ให้คำมั่นสัญญาใดๆ เกี่ยวกับการลงทุนของสหรัฐฯ ไม่ได้มีการบรรลุข้อตกลงใดๆ ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (ซึ่งตั้งแต่ตอนแรกดูเหมือนสหรัฐฯจะถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญลำดับต้น) มีการต่ออายุข้อตกลงทางการทหารระหว่างอินเดีย-สหรัฐฯออกไปอีก 10 ปีก็จริง ทว่าไม่ได้มีการประกาศโครงการอันสำคัญเป็นหลักหมายระดับ “เรือธง” ใดๆ ในเรื่องการร่วมมือผลิตหรือการร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหาร รวมทั้งอินเดียก็ไม่ได้ลงนามในสัญญาซื้อหาอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ จากสหรัฐฯเลย

    สิ่งที่ได้รับการรายงานว่าเป็นผลลัพธ์อันสำคัญอย่างหนึ่งของการเยี่ยมเยียนคราวนี้ ได้แก่ “การผ่าทางตัน” สามารถหาสูตรซึ่งจะขจัดความไม่ลงรอยกันในระหว่างรัฐบาลของทั้งสองชาติ เกี่ยวกับกฎหมายความรับผิดทางนิวเคลียร์ (nuclear liability law) ของอินเดีย ทว่ายังคงไม่มีความชัดเจนเลยว่าความเข้าอกเข้าใจกันซึ่งเห็นพ้องต้องกันในระดับรัฐบาลแล้วนี้ (รายละเอียดของสิ่งที่เข้าอกเข้าใจกันนี้ยังคงไม่ได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน) จะสามารถทนทานต่อการตรวจสอบพิจารณาเมื่อมีผู้นำขึ้นฟ้องศาลยุติธรรมหรือไม่ หรือกระทั่งว่าจะสามารถเร่งรัดพวกบริษัทอเมริกันให้ยุติความรังเกียจเดียดฉันท์ต่อกฎหมายของอินเดียฉบับนี้ได้หรือไม่ (พวกบริษัทอเมริกันบอกว่า กฎหมายนี้ไม่ได้ดำเนินตามรอยของกติกาสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดในการซื้อขายทางด้านนิวเคลียร์)

    กล่าวโดยสรุป ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นค่อนข้างแย่ ทว่ากลับมีการโหมประโคมทางสื่ออย่างเอิกเกริกว่า ว่า นี่เป็นการเยือนที่ “ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่อีกสถานะหนึ่ง” แท้จริงแล้ว การเยือนที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่อีกสถานะหนึ่งในความสัมพันธ์อินเดีย-สหรัฐฯนั้น คือ การเยือนของ บิล คลินตัน ในเดือนมีนาคม 2000 และการเยือนของ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ในเดือนมีนาคม 2006 ต่างหาก เพราะการเดินทางมาของคลินตัน เป็นนิมิตรหมายให้เห็นว่านโยบายต่างๆ ของสหรัฐฯที่ไม่มีความเป็นมิตรต่ออินเดียในยุคสงครามเย็นนั้น กำลังได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องอย่างชนิดที่ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ขณะที่การเดินทางมาของบุชบังเกิดขึ้นท่ามกลางภูมิหลังของการทำข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯกับอินเดียว่าด้วยความร่วมมือด้านนิวเคลียร์เพื่อใช้ในกิจการพลเรือน ซึ่งก่อให้เกิดความมั่นใจขึ้นมาว่า กำลังจะเกิดความเปลี่ยนแปลงจนถึงระดับกรอบความคิดสำหรับความผูกพันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศทั้งสอง

    เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การเดินทางมาของโอบามาควรที่จะจัดระดับจำแนกชั้นออกไปต่างหาก นั่นคือยังไม่ถึงขั้นที่จะเรียกได้ว่าเป็นการเยือนซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่อีกสถานะหนึ่ง แต่ก็ต้องถือว่าเป็นการเยี่ยมเยียนซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามอย่างกระตือรือร้นร่วมกัน เพื่อกอบกู้ความสัมพันธ์นี้ให้พ้นจากความตกต่ำ และจัดวางให้อยู่ในแนววิถีของการมุ่งหน้าไปสู่อนาคต

    โมดีกับโอบามาจะประสบความสำเร็จไปได้ยาวไกลแค่ไหน คงต้องปล่อยให้เวลาเป็นผู้ตัดสิน คนอินเดียนั้นขึ้นชื่อลือชานักในเรื่องการยกย่องสรรเสริญ “คุณสมบัติทางเคมีส่วนบุคคล” ของผู้นำของพวกเขา ที่สามารถสร้างความสนิทชิดเชื้อเป็นพิเศษกับผู้นำของโลกตะวันตก แต่คนอินเดียกลับขาดความใส่ใจมองไม่เห็นว่ารากฐานของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐนั้นคือการเคลื่อนเข้ามาบรรจบกันได้ของผลประโยชน์ด้านต่างๆ บรรยากาศอันดีวิเศษในความสัมพันธ์อินเดีย-สหรัฐฯ จะสามารถประคับประคองต่อไปให้ยืนยาวถาวรได้หรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะติดตามมาหลังจากนี้ ที่เราสามารถพูดได้เลยในปัจจุบันก็มีเพียงว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีผลประโยชน์อย่างมหาศาลที่จะเป็นแรงผลักดันให้ประคับประคองบรรยากาศอันยอดเยี่ยมเอาไว้ ทว่าสำหรับพวกผู้สังเกตการณ์ซึ่งปราศจากอคติแล้ว ย่อมอดรู้สึกไม่ได้ว่ามันอาจจะซ้ำรอยเดิมอย่างที่เกิดขึ้นมาในอดีต

    แก่นกลางของเรื่องนี้มีอยู่ว่า ทั้งความสามารถเข้าถึงตลาดแดนภารตะชนิดซึ่งสหรัฐฯกำลังเรียกร้องอยู่ และทั้งความหวังอย่างสูงลิ่วของฝ่ายอินเดียในเรื่องการเข้ามาลงทุนของบริษัทอเมริกัน ต่างก็เป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเอาเสียเลยในเงื่อนเวลาระยะใกล้ การประมาณการของไอเอ็มเอฟและเวิลด์แบงก์ที่ว่า อินเดียอยู่บนเส้นทางแห่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยอัตราเร็วสูงลิ่วระดับที่จะแซงหน้าจีนได้ภายในเวลา 1 หรือ 2 ปีนั้น เอาเข้าจริงแล้วคงจะต้องบวกเพิ่มขึ้นไปอีกหลายปี รวมทั้งยังไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์ใดๆ มารองรับด้วย ประเด็นปัญหาเชิงระบบของอินเดียยังคงมีอยู่มากมาย แถมสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในปัจจุบันก็ไม่เอื้ออำนวย แม้กระทั่งเศรษฐกิจสหรัฐฯเอง การฟื้นตัวก็ยังคงไม่มีเสถียรภาพ

    นิวเดลีอวดว่า “ความรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอินเดียของนักลงทุนเวลานี้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงพลิกโฉมอย่างน่าตื่นตาตื่นใจแล้ว หลังจากที่ติดแหง็กอยู่ในภาวะชะงักงันมานานปี” นี่คือคำแถลงของรัฐมนตรีคลัง อรุณ จาอิตเลย์ (Arun Jaitley) ทว่ากระทั่งตัวจาอิตเลย์ยังยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า การมองการณ์ในแง่ดีเช่นนี้ ยังควรต้อง “เจือไว้ด้วยความระมัดระวัง” โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงความสามารถในการรับมือกับการลงทุนของรัฐบาลแดนภารตะ

    ความตึงเครียดในภูมิภาคและพี่เบิ้มนักค้าอาวุธ

    คำแถลงทางด้านนโยบายการต่างประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่ออกมาจากการเดินทางเยือนของโอบามาเที่ยวนี้ คือ “คำแถลงร่วมวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์” (joint strategic vision statement’) ซึ่งพูดถึงเอเชีย-แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย

    ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจมาก ได้แก่การที่คำแถลงฉบับนี้ไม่ได้พูดอะไรเลยเกี่ยวกับปากีสถาน ทั้งๆ ที่เป็นประเด็นทางนโยบายการต่างประเทศซึ่งพวกชาตินิยมฮินดูผู้เป็นที่ปรึกษาทางความคิดของคณะรัฐบาลโมดี ให้ความสนใจอย่างยิ่งจนถึงขั้นหมกมุ่นลุ่มหลงไม่ยอมเลิก ตัวโอบามาเองก็ไม่ได้เอ่ยอะไรสักคำเกี่ยวกับปากีสถาน หรือเรื่องที่ปากีสถานถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนผู้ก่อการร้าย ซึ่งนี่นับว่าผิดแผกอย่างเด่นชัดจากตอนที่เขาเยือนอินเดียในปี 2010 มันจึงระบุบ่งบอกให้เห็นว่าทั้งสองประเทศยังคงมีความเห็นผิดแผกแตกต่างกันอย่างล้ำลึกในเรื่องของปากีสถาน อันเป็นประเด็นระดับภูมิภาคที่สร้างความว้าวุ่นรบกวนใจมากที่สุด ในบรรดาความคิดคาดคำนวณทางด้านนโยบายการต่างประเทศทั้งหลายของโมดีในขณะนี้

    “คำแถลงร่วมวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์” นี้ ไปๆ มาๆ ก็กลายเป็นการทบทวนปรับปรุงจุดยืนในเรื่องต่างๆ ซึ่งได้มีการแจกแจงเอาไว้ในคำแถลงร่วมฉบับที่ออกมาภายหลังโมดีเสร็จสิ้นการเยือนวอชิงตัน และเฉกเช่นเดียวกับคำแถลงที่วอชิงตัน ในคำแถลงฉบับใหม่นี้มีการพาดพิงไปถึงทะเลจีนใต้ด้วย โดยที่ฝ่ายอเมริกันพยายามที่จะอธิบายลากความให้เห็นไปว่า การเจรจาหารือระหว่างโอบามากับโมดีในประเด็นปัญหาต่างๆ ในระดับภูมิภาคนั้น มีการเจาะจงเน้นหนักไปที่นโยบาย “แข็งกร้าว” ของจีน

    พวกนักวิเคราะห์โปรอเมริกันในแวดวงสื่อมวลชนอินเดีย รีบด่วนสรุปความกันเลยว่า ภายใต้การบริหารปกครองของโมดี อินเดียกำลังหันเหบ่ายหน้าไปสู่ “การควบรวมเข้าด้วยกันในท้ายที่สุด ระหว่างนโยบาย ‘ปฏิบัติการตะวันออก’ (Act East หมายถึงการดำเนินนโยบายด้านต่างๆ ต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ของอินเดีย กับยุทธศาสตร์ปักหมุดในเอเชีย (Asia pivot) ของสหรัฐฯ” ข้อวินิจฉัยอันแปลกพิกลของนักวิเคราะห์เหล่านี้ก็คือ โมดีกำลังโยนทิ้งท่าทีเดิมของอินเดีย ที่พยายามยับยั้งชั่งใจไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ปิดล้อมต่อต้านจีนของสหรัฐฯ

    เป็นความจริงอยู่หรอกที่ว่าวัตถุประสงค์แต่ไหนแต่ไรมาของสหรัฐฯนั้น มุ่งที่จะชักชวนโน้มน้าวให้อินเดียเข้าร่วมอยู่ในยุทธศาสตร์ต่อต้านจีนของตน ไอเดียว่าด้วยการจับมือสร้าง “กลุ่มพันธมิตร 4 ฝ่าย” อันได้แก่ สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, และอินเดีย ได้ถูกเสนอขึ้นมาอย่างน้อย 1 ทศวรรษแล้ว โดยสามารถสาวย้อนเวลากลับไปถึงยุครุ่งเรืองที่สุดของอุดมการณ์อนุรักษนิยมใหม่ (neocon) ในยุคประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในระยะหลังๆ มานี้ เลียน แพเนตตา (Leon Panetta) ผู้เคยเป็นรัฐมนตรีกลาโหมในคณะบริหารโอบามา ครั้งหนึ่งก็เคยกล่าวคำพูดซึ่งสร้างความเกรียวกราวมากที่ว่า อินเดียเป็น “แกนกลาง” แกนหนึ่งในยุทธศาสตร์ปรับสมดุลใหม่ในเอเชีย (rebalance strategy in Asia ชื่อใหม่ของยุทธศาสตร์ “ปักหมุดในเอเชีย” -ผู้แปล) ของสหรัฐฯ

    อย่างไรก็ตาม ในเวลาเดียวกับที่โอบามาและพวกนักปั้นข่าวในคณะผู้ติดตามของเขาพากันขึ้นเครื่องบินกลับบ้าน เจ้าหน้าที่อินเดียก็เร่งรีบวิ่งวุ่นอยู่กับการแจกแจงแก้ข่าว โดยยืนยันว่าพวกเขาไม่ได้รับรู้เกี่ยวข้องอะไรกับ “การตีความอย่างผิดพลาดในเชิงยุทธศาสตร์” ของฝ่ายอเมริกัน ในเรื่องเนื้อหาของคำแถลงร่วมวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ ตามคำอธิบายของเจ้าหน้าที่เหล่านี้ โมดีบอกกับโอบามาอย่างชัดเจนว่า อินเดียนั้นดำเนินนโยบายการต่างประเทศอย่างเป็นอิสระ จึงไม่ยินยอมให้ “มหาอำนาจรายที่สาม” (พูดง่ายๆ ก็คือสหรัฐฯ) เข้ามาจับมือด้วยเพื่อเป็นแนวร่วมในการต่อต้านคัดค้านจีน

    นิวเดลีมีความวิตก ไม่ต้องการให้ฝ่ายอเมริกันและเหล่านักล็อบบี้ของพวกเขาในอินเดีย กลายเป็นผู้ออกแบบและกำกับทิศทางในการไปเยือนจีนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าของโมดี นักการทูตอาวุโสของอินเดียผู้หนึ่งบรรยายสรุปต่อสื่อมวลชนว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของอินเดียมีกำหนดเดินทางไปจีนในช่วงสิ้นเดือนมกราคม และเมื่อเธอเดินทางกลับมาแล้ว ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติก็จะไปปักกิ่งเช่นกัน เพื่อเตรียมการสำหรับการเยี่ยมเยียนของโมดี รายงานของสื่อมวลชนได้อ้างอิงคำพูดของนักการทูตอาวุโสผู้นี้ที่กล่าวว่า “ประธานาธิบดีสี มีความกระตือรือร้นที่จะเป็นเจ้าภาพรับรองท่านนายกฯ (โมดี) ในเมืองเกิดของท่าน (สี) คือที่เมืองซีอาน”

    ทำไมฝ่ายอเมริกันต้องเที่ยวแพร่กระจาย “การตีความอย่างผิดพลาดในเชิงยุทธศาสตร์” เกี่ยวกับความคิดเห็นของโมดีที่มีต่อจีน? วอชิงตันดูเหมือนจะสำนึกตนด้วยความเฉียบแหลมว่า สหรัฐฯนั้นไม่สามารถแข่งขันกับจีนได้ ในการปฏิบัติตนเป็นนักลงทุน เข้าร่วมในโครงการ “ผลิตในอินเดีย” (Make in India) ของโมดี ข้อกังวลข้อใหญ่ของสหรัฐฯก็คือ หากโครงการสร้างทางรถไฟในอินเดียที่จีนเสนอเอาไว้ ซึ่งจะมีมูลค่าสูงลิ่วถึง 32,000 ล้านดอลลาร์ สามารถที่จะเดินหน้าดำเนินการได้ (นี่เป็นส่วนเพิ่มเติมต่อยอดจากข้อเสนอของฝ่ายจีนที่แถลงออกมาในตอนที่ สี เยือนอินเดียเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ในเรื่องแผนการลงทุนมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์เพื่อก่อตั้งดำเนินการนิคมอุตสาหกรรมหลายๆ แห่งในแดนภารตะ) ความสัมพันธ์จีน-อินเดีย ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพลิกโฉมไปอย่างลึกซึ้ง

    หัวใจของเรื่องราวทั้งหมดเหล่านี้ อยู่ที่ระเบียบวาระด้านการพัฒนาของโมดี ซึ่งเขาประกาศไว้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งปี 2014 และส่งผลทำให้พรรคของเขาได้คะแนนเสียงเป็นกอบเป็นกำ จนตัวเขาได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ระเบียบวาระดังกล่าวมีจุดโฟกัสอยู่ที่ภาคโครงสร้างพื้นฐานและภาคอุตสาหกรรมการผลิต เนื่องจากมีแต่ 2 ภาคเศรษฐกิจนี้เท่านั้นซึ่งมีศักยภาพใหญ่หลวงเพียงพอที่จะก่อให้เกิดตำแหน่งงานสำหรับคนหนุ่มสาวที่ว่างงานเป็นจำนวนล้านๆ ในอินเดีย และเมื่อเป็นเช่นนี้ จีนก็ดูจะถือเป็นหุ้นส่วนในอุดมคติทีเดียว หากพิจารณาจากประสบการณ์อันมากมายกว้างขวางของแดนมังกรใน 2 ภาคเศรษฐกิจเหล่านี้

    ในอีกด้านหนึ่ง “ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” อินเดีย-สหรัฐฯนั้น มักจะมีบทสรุปลงท้ายออกมาว่า ถ้าจะให้ดำเนินไปอย่างกระฉับกระเฉงและวางกล้ามกร่างเกรียนได้นั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับการป้อน “อาหาร”อย่างสม่ำเสมอไม่ขาดตอน “อาหาร” ดังกล่าวอยู่ในรูปของความตึงเครียดระหว่างจีนกับอินเดีย

    ทว่าความตึงเครียดเช่นนี้ย่อมสร้างความเสียหายให้แก่สภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงของภูมิภาคแถบนี้ และทำให้ความคิดจิตใจของฝ่ายอินเดียเต็มไปด้วยความวิตกกังวลอย่างสาหัส ขณะที่สภาวการณ์แบบนี้แหละ กลับเป็นบรรยากาศทางธุรกิจในอุดมคติของพวกบิ๊กเบิ้มทั้งหลายในเครือข่ายการทหาร-อุตสาหกรรมที่ทรงอำนาจอิทธิพลยิ่งของสหรัฐฯ ดังนั้น มันจึงกลายเป็นวงจรอุบาทว์อย่างแท้จริง

    ความหวาดกลัวอันใหญ่หลวงของอเมริกันในวันนี้มีว่า โมดีอาจทำลายวงจรอุบาทว์นี้ และนำเอาความสัมพันธ์อินเดีย-จีนเข้าสู่พื้นฐานอันมั่นคงที่ต่างฝ่ายต่างคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เมื่อพิจารณาจากบทวิจารณ์ทั้งหลายของฝ่ายจีนเกี่ยวกับการเยือนแดนภารตะของโอบามะเที่ยวนี้ ปักกิ่งดูจะตระหนักดีถึงความพยายามของฝ่ายอเมริกันในการเร่งรัดนำเอาตัวโมดีเข้ามาอยู่ในยุทธศาสตร์ปรับสมดุลใหม่ในเอเชียของสหรัฐฯ ในเวลาเดียวกัน นิวเดลีก็รีบเร่งแจกแจงอธิบายให้กระจ่างว่า การเข้าใกล้ชิดสนิทสนมกับสหรัฐฯนั้น จะไม่แปรเปลี่ยนกลายเป็นการตั้งกลุ่มพันธมิตรขึ้นมาคัดค้านจีน

    อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าองค์ประกอบอย่างหนึ่งของภาวะกำกวมคลุมเครือทางยุทธศาสตร์ ได้ปรากฏขึ้นมาแล้ว และเวลานี้ความกำกวมคลุมเครือดังกล่าวจะสลายตัวไปได้มากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญแล้วจะขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของการเดินทางไปเยือนจีนในอีกไม่นานเกินรอของโมดี

    เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย เขาเคยได้รับมอบหมายให้ไปประจำอยู่ในหลายๆ ประเทศ อาทิ สหภาพโซเวียต, เกาหลีใต้, ศรีลังกา, เยอรมนี, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อุซเบกิสถาน, คูเวต, และตุรกี

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000015106
     

แชร์หน้านี้

Loading...