ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น
    มีนกอพยพฝูงใหญ่นับล้านตัว
    บุกบินว่อนเหนือน่านฟ้าเมืองมิลาน
    ประเทศ...อิตาลี
    ร้อยวันพันปีไม่เคยมีมา
    แต่ว่าวันนี้ฝูงนกทำให้ฟ้ามืดมัว
    เหมือนดั่ง "ลางบอกเหตุ"
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เวลา 06.50 น. ได้เกิดแผ่นดินไหว สั่นสะเทือน 2 รอบ หลายจังหวัดรับรู้ ส่วน ในพื้นทีจังหวัดเลย รับรู้ แรงสั่นสะเทือน เกือบทุกอำเภอ ทั่วจังหวัดเลย มีภาพจานดาวเทียมที่สั่น มีภาพน้ำกระเพื่ม ที่ประชาชนนั้นถ่าย ส่งมาให้ดู
    ขอบคุณ ภาพวีดีโอ คุณ แบงค์ คนดี. ในสามโลก
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คุมราคายา รพ.เอกชน
    หมดทางไปต่อ
    รัฐไร้อำนาจจัดการ


    ดูเหมือนการคุมราคายาเอกชน ที่กรมการค้าภายใน ประกาศว่าจะ “จัดการ” ต่อเนื่อง - ยาวนาน ตลอดปีที่ผ่านมา จะสิ้นสุดลงไปแล้ว เมื่อปลายเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา

    หลังกระทรวงพาณิชย์ แถลง “ปิดเฟส” ด้วยการประกาศโรงพยาบาลกลุ่มสีเขียว 164 โรงพยาบาล ที่ขายยาไม่แพง โรงพยาบาลกลุ่มสีเหลือง ที่ขายยาราคาปกติ 60 โรงพยาบาล และกลุ่มสีแดง ที่ขายยาแพง 73 โรงพยาบาล รวมถึง “จับมือ” กับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาต้นทุนราคายา เพื่อหามาตรการ “ไปต่อ”

    แม้การเปิดราคา “ยาแพง” เช่น ยานอนหลับ ยาแก้อักเสบ ซึ่งเป็นยา “คนรวย” หลายตัว หลายชื่อการค้า ให้เห็นว่ากำไรขึ้นสูงไปหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือบางตัว เป็นพันเปอร์เซ็นต์ จะสะท้อนให้เห็นชัดว่าที่ผ่านมา โรงพยาบาลเหล่านี้โขกสับคนไข้ ในฐานะ “ลูกค้า” มากเพียงใด แต่เมื่อถึงขั้นตอนที่จะนำไปสู่ “ความเปลี่ยนแปลง” นั้น ในที่สุด กลับไม่มีหนทางไปต่อ

    แม้แต่เว็บไซต์ที่ประกาศรายชื่อโรงพยาบาล “สีเขียว” “สีเหลือง” “สีแดง” นั้น ในปัจจุบัน ก็ “ล่ม” ไม่สามารถเข้าถึงได้!

    ส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะกระทรวงพาณิชย์เอง ไม่ต้องการไปมีเรื่องกับ “ขาใหญ่” ในแวดวงโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งจำนวนมาก มีชื่อเป็นโรงพยาบาลกลุ่มสีแดง และเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ นำรายได้เข้าประเทศหลักแสนล้านบาท จากลูกค้าทั้งชาวไทย – ชาวต่างชาติ

    หากใช้ “ยาแรง” ไปจัดการ หรือไปยุ่มย่ามกับเอกชนมากเกินไป ดีไม่ดี อาจถูกฟ้องกลับ หรือความร่วมมือบางอย่างที่เคยมีมาระหว่าง กระทรวงพาณิชย์ - โรงพยาบาลเอกชน อาจหายไป

    ต้องไม่ลืมว่า ก่อนหน้านี้ เวลา “ยกคณะ” ไปโร้ดโชว์ต่างประเทศหลายครั้ง ก็หอบเอาบรรดา “เจ้าสัว” เจ้าของโรงพยาบาล บินไปด้วย โดยเฉพาะในประเทศตะวันออกกลาง ที่บรรดา “ชีค” สนิทสนมกับเจ้าของโรงพยาบาลใหญ่เป็นอย่างดี

    และต้องไม่ลืมว่า กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเอง ก็ประกาศสนับสนุน Medical Tourism เป็นหนึ่งในนโยบายหลัก ด้วยการให้ “คนไข้” ที่เข้ามารักษาตัว เข้ามาทำฟัน เข้ามาทำศัลยกรรม ซื้อแพคเกจท่องเที่ยวไปในตัว เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการหาเงินเข้าประเทศในห้วงเวลาเศรษฐกิจฝืดเคือง

    แน่นอนว่าการทำ Medical Tourism จะเดินไม่ได้เลย หากปราศจากโรงพยาบาลยักษ์ใหญ่ เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลสมิติเวช ฯลฯ ซึ่งมีทีมงานมืออาชีพ ในการทำการตลาด ดึงดูดลูกค้าจากทั่วโลก

    การจะไปตัดสัมพันธ์กับโรงพยาบาลเหล่านี้ ด้วยการบอกว่า โรงพยาบาลคุณเป็น “สีแดง” และแพงเกินไป ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่งามนัก หากคิดถึงความสัมพันธ์อันดีที่เคยมีร่วมกันมาก่อน

    ที่ผ่านมา โรงพยาบาลเอกชน พยายามชี้แจงว่า ต้นทุนราคายา อาจถูก-แพงต่างกัน เพราะต้องบวก “ต้นทุน” ของการให้บริการไปด้วย หลายโรงพยาบาล มีต้นทุนที่สูงกว่า เพราะต้องลงทุนเครื่องมือ – อุปกรณ์ทางการแพทย์มากกว่า ขณะที่หลายโรงพยาบาล ก็กำหนด Positioning ตัวเองให้เป็นโรงพยาบาลระดับ “พรีเมียม” ต้องลงทุนด้านการบริการ ให้เหนือกว่าคู่แข่ง จึงทำให้ยาอาจแพงขึ้นได้

    แต่การที่ราคาแพงสูงเป็นหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือเป็นพันเปอร์เซ็นต์นั้น ขณะนี้ ยังไม่มีคำตอบจากบรรดาผู้บริหารโรงพยาบาลว่า ไปบวกต้นทุนอะไร ถึงทำให้ราคาสูงได้ขนาดนั้น

    สิ่งที่กระทรวงพาณิชย์ควรทำคือ “ประโคมข่าว” มากกว่านี้ เรื่องการให้คนไข้ สามารถเข้าไปตรวจเช็คราคายา ราคาโรงพยาบาลในเว็บไซต์ ไม่ใช่ประกาศในเว็บ ให้สามารถเช็คได้ แล้วเงียบหายไปเฉยๆ แบบในปัจจุบัน

    ก่อนหน้านี้ กรมการค้าภายใน ประกาศว่าจะ “กำหนดเพดาน” ราคายาสูงสุด ว่าโรงพยาบาล “สีแดง” จะเอากำไรได้มากขนาดไหน และจะใช้มาตรการตั้งแต่การเตือน และการบังคับ ตามอำนาจของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการไปดูแล หากโรงพยาบาลไหนค้ากำไรเกินควร

    แต่เมื่อเผยราคามาจริง และพบว่ากำไรโรงพยาบาลหลายแห่ง สูงลิ่วไปมาก กลับไม่มีมาตรการใดๆ ออกมา นอกจากจะใช้ “ดีเลย์แทคติค” ว่าจะเข้าไป “ศึกษา” เท่านั้น ทำให้โรงพยาบาลที่ใช้ยาราคาแพง ก็ยังสามารถกำหนดให้ราคายาแพงต่อไป ไม่ต้องปรับ ไม่ต้องแก้ใดๆ

    อันที่จริงเรื่องนี้ หากแก้ได้สำเร็จ ราคายาถูกลง ค่าบริการโรงพยาบาลเอกชน ก็จะถูกลง บรรดา “ชนชั้นกลาง” หรือผู้ที่มีกำลังจ่าย ก็จะสามารถไปใช้บริการได้มากขึ้น

    และในที่สุด หากกระทรวงพาณิชย์เข้าไปดูในรายละเอียดจริงๆ เมื่อราคายาและราคาโรงพยาบาลเอกชนปรับลงตาม “ต้นทุนที่แท้จริง” แล้ว “เบี้ยประกันสุขภาพ” ก็จะถูกลง ผลที่ตามมา ก็จะไปเบียดบังประกันสุขภาพของรัฐน้อยลง หน่วยบริการของรัฐ อาจไม่ต้องรับภาระมากขนาดนี้

    แต่ระบบสุขภาพบ้านเรา แยกระหว่าง รัฐ – เอกชน ชัดเจน และมักจะยึดคติ “ไม่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน” ทำให้มาตรการอะไรที่ออกมา ในที่สุด ก็ต้องเกรงใจกันไปมาตลอดเวลา

    หากกลไกคุ้มครองผู้บริโภค ทำได้ดีกว่านี้ หากหน่วยงานรัฐ สามารถใช้อำนาจรัฐ ไม่ต้องถึงขั้น “ก้าวก่าย” แต่ทำให้เกิดความ “เป็นธรรม” ให้คนทั่วไป สามารถเข้าถึงบริการได้ ในที่สุด ระบบรัฐที่แออัดยัดเยียด และถูกมองว่าเป็น “ภาระ” ให้กับระบบงบประมาณ ก็จะเป็นภาระน้อยลง หากคนสามารถเข้าถึงระบบเอกชน ที่ราคาสมเหตุสมผลได้ โดยไม่ต้องฝ่าด่านค่ารักษาพยาบาลราคาแพง เหมือนแต่เก่าก่อน....
    #คุมราคายา #ราคายา #ยาแพง #โรงพยาบาลเอกชน
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ยูเอ็น: “เรากำลังอยู่ในยุคสมัยที่มีภัยธรรมชาติเกิดขึ้นทุกสัปดาห์”
    NGThai 9 ก.ค. 2019

    ผู้ทำงานด้าน ภัยพิบัติ ขององค์การสหประชาชาติเตือนว่า “ประเทศที่กำลังพัฒนาจำต้องเตรียมรับมือกับผลกระทบทางธรรมชาติเสียตั้งแต่ตอนนี้”

    เจ้าหน้าที่จากองค์การสหประชาชาติออกโรงเตือนว่า ขณะนี้ โลกมีภัยพิบัติด้านวิกฤตการณ์ทางภูมิอากาศเกิดขึ้นในอัตราหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ จึงมีความจำเป็นที่เราต้องเตรียมตัว ทั้งความสนใจและการทำงานร่วมกันในระดับนานาชาติ เพื่อให้ประเทศที่กำลังพัฒนาพร้อมรับผลกระทบอันใหญ่หลวงที่เกิดขึ้น

    เดอะการ์เดียน สื่อออนไลน์ของอังกฤษ ได้ออกบทความรายงานกล่าวถึง มามิ มิซุโทริ(Mami Mizutori) ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการขององค์การสหประชาชาติ ในด้านการลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ ซึ่งได้ออกมากล่าวว่า ภัยพิบัติ เช่น พายุไซโคลน ในประเทศโมซัมบิก และภัยแล้ง ในอินเดียกำลังกลายเป็นข่าวใหญ่ในหน้าสื่อทั่วโลก ทว่ายังมีภัยพิบัติที่ “ส่งผลกระทบระดับต่ำ” (lower-impact disasters) ซึ่งไม่ได้ถูกรายงานในหน้าสื่อ แต่ทำให้มีผู้เสียชีวิต การย้ายออกจากพื้นที่ และความทุกข์ทรมาน เกิดขึ้นมากและเร็วเกินกว่าที่คาดการณ์ และมามิเสริมว่า “นี่ไม่ใช่เรื่องของอนาคต หากแต่เป็นเรื่องของวันนี้”

    สิ่งนี้หมายความว่า การปรับตัวต่อวิกฤตการณ์ด้านภูมิอากาศไม่ได้เป็นปัญหาที่ต้องพิจารณากันในระยะยาวอีกต่อไป แต่ควรมีการลงทุนเรื่องนี้เสียตั้งแต่วันนี้ โดยมามิกล่าวว่า “ผู้คนต้องมีการพูดคุยในเรื่องการปรับตัวและฟื้นฟูในเรื่องนี้”

    มีการประมาณการณ์ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติที่ราว 520 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี ในขณะที่ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในเรื่องการสร้างอาคารที่มีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการปกป้องผลกระทบจากวิกฤตภูมิอากาศของโลกมีเพียงแค่ราวร้อยละ 3 หรือราว 2.7 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในช่วงอีก 20 ปีข้างหน้า
    earthquake-freeway.ngsversion.1396554182180.adapt_.768.1.jpg
    ภาพถ่ายของถนนที่ได้รับความเสียหายแจกแผ่นดินไหว ภาพถ่ายโดย SPIRIT OF AMERICA, SHUTTERSTOCK
    มิซุโทริกล่าวว่า “นี่ไม่ใช่เงินจำนวนมาก [ในบริบทของการใช้จ่ายในโครงสร้างพื้นฐาน] แต่บรรดานักลงทุนก็ยังทำได้ไม่มากพอ และการฟื้นฟูจะกลายเป็นค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่ผู้คนจะต้องจ่าย” โดยค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูนี้หมายถึงการวางมาตรฐานสำหรับโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบใหม่ เช่นที่อยู่อาศัย ถนนและโครงข่ายรถไฟ โรงงาน แหล่งน้ำและพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ได้รับมือกับผลกระทบจากน้ำท่วม ภัยแล้ง พายุ และสภาวะภูมิอากาศสุดขั้วให้ได้มากที่สุด

    จนถึงวันนี้ งานที่ให้ความสำคัญส่วนใหญ่ในเรื่องวิกฤตการณ์ภูมิอากาศมักเป็นในเรื่องของ การบรรเทา (Mitigation) อันเป็นคำศัพท์เชิงเทคนิคที่หมายถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ในส่วนของการปรับตัวต่อผลกระทบกลับเป็นเรื่องที่รองลงมา ทั้งที่เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กันเลย “เราต้องพิจารณาในเรื่องความเสี่ยงของการไม่ลงทุนกับการฟื้นฟูจากภัยพิบัติด้วย” มิซุโทริ กล่าว

    ภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบในระดับต่ำสามารถป้องกันได้ ถ้ามีการแจ้งเตือนในเรื่องสภาพอากาศรุนแรงและเตรียมพร้อมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การป้องกันน้ำท่วม หรือการเข้าถึงแหล่งน้ำในกรณีเกิดภัยแล้ง รวมไปถึงการตระหนักรู้ของรัฐบาลว่าพื้นที่ใดมีความเสี่ยงภัยบ้าง

    อย่างไรก็ตาม มิซุโทริกล่าวว่า ในประเทศกำลังพัฒนาไม่ได้มีการตื่นตัวในปัญหานี้เท่าใดนัก และแม้กระทั่งประเทศที่ร่ำรวยก็ต้องพบเจอกับความท้าทายในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและวิธีการปกป้องผู้คนจากภัยพิบัติ
    01_quake_gettyimages-1154089141.adapt_.885.1.jpg
    นักดับเพลิงกำลังเข้าระงับเพลิงในบ้านแห่งหนึ่งเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.1 แมกนิจูด ที่รัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2019 อันเป็นแผ่นดินไหวในทางตอนใต้ของแคลิฟอร์เนียที่มีความรุนแรงที่สุดในรอบสองทศวรรษ ภาพภ่ายโดย ROBYN BECK, AFP/GETTY IMAGES
    โดยการแก้ปัญหาโดยใช้ธรรมชาติ เช่น การปลูกป่าชายเลน พื้นที่ป่า และพื้นที่ชุ่มน้ำที่สามารถเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันน้ำท่วม ควรเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก มิซุโทริ กล่าว

    ปัญหาที่มีนอกเหนือจากนี้ คือการปกป้องผู้คนที่มีการตั้งถิ่นฐานแบบไม่เป็นทางการ (informal settlements) หรือชุมชนแออัด ซึ่งมีความเปราะบางกว่าเมืองที่มีการวางแผนเอาไว้แล้วอย่างมาก โดยในพื้นที่ที่เปราะบางเหล่านี้ มีทั้งคนจน ผู้หญิง เด็กผู้สูงอายุ และคนพิการ จำนวนมากอาศัยอยู่ และพื้นที่เหล่านี้ไม่มีการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานเท่าใดนัก

    นอกจากนี้ การปรับปรุงข้อกำหนด-ข้อบังคับ และการสร้างมาตรฐานในเรื่องวิกฤตสภาพภูมิอากาศจำเป็นต้องบังคับใช้ด้วยความร่วมมือในระดับรัฐบาลด้วยเช่นกัน

    “เราต้องพิจารณาความเสี่ยงในมุมมองแบบองค์รวมมากกว่านี้” มิซุโทริกล่าวทิ้งท้าย

    แหล่งอ้างอิง

    ขอขอบคุณบทความต้นฉบับ: One climate crisis disaster happening every week, UN warns

    Climate Disasters Now Happening Weekly, UN Official Warns


    https://ngthai.com/environment/23321/climatedisastereveryweek/
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เมื่อ 5 ปีก่อน รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเตือนว่าอาจเกิดอันตรายขึ้นกับเขื่อนไซยะบุรีเพราะสร้างขึ้นใกล้กับรอยเลื่อนที่แอกทีฟอยู่ ตอนนั้นอาจารย์บอกว่ามีโอกาส 30% ที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลาง และ 10% ที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7 แมกนิจูดขึ้นไป และบอกว่า "ไม่ควรจะเริ่มก่อสร้าง" โดยไม่ได้ศึกษาผลกระทบจากเรื่องนี้

    ส่วนผู้ก่อสร้างบอกว่าสร้างให้รับมือกับแผ่นดินไหวได้ สร้างตามไกด์ไลน์การรับแรงสั่นสะเทือนของ ICOLD

    วันนี้เกิด 6.1 แมกนิจูดห่างจากเขื่อนร้อยกว่ากิโล แต่แรงสั่นสะเทือนยังรู้สึกได้ถึงกรุงเทพฯ ส่วนโรงไฟ้าลิกไนต์เมืองหงสาที่อยู่ใกล้ๆ กับศูนย์กลางเสียหายพอสมควรเลย เราควรจะกังวลไหม?
    Crสาธิต

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่ายังคงเกิดอาฟเตอร์ช็อกอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวันมากกว่า 30 ครั้ง หลัง #แผ่นดินไหว ขนาด 6.4 ที่ สปป.ลาว #ThaiPBSnews

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    น้ำท่วมฉับพลันใน #เฮติ #21 พ. ย.

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    สหรัฐอเมริกา เครื่องบินทำการลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินนานาชาติลอสแอนเจลิสเร็วๆนี้ หลังจากบินขึ้น พวกเขาเห็นเปลวไฟออกมาจากหนึ่งในเครื่องยนต์ของพวกเขา ซึ่งได้บังคับเครื่องบินกลับไปที่สนามบิน


     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    มีรายงานลูกไฟ ในดัลลัส, โอเรกอน #21 พ.ย.


     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    สถานการณ์ในออสเตรเลียในสัปดาห์นี้ #ไฟป่า #ลูกเห็บและ #พายุฝุ่นใน #griffith


     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    พายุหมุนในออสเตรเลียใน outback


     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ความเสียหายในโรงไฟฟ้า hongsa หลังแผ่นดินไหว 6.0 (ที่ลาว)

    IMG_5111.JPG IMG_5112.JPG IMG_5113.JPG

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    น้ำท่วมใน #มัสกัต #โอมาน


     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    พวยน้ำ 2 สาย บนชายฝั่ง messina, กรีซ


     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    น้ำท่วมฉับพลันในซาอุดีอาระเบีย #21 พ.ย


     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    # ออสเตรเลีย ชาว victorian กำลังเผชิญกับรหัสสภาพไฟป่า (red fire) ได้รับการบอกกล่าวว่า บ้านของพวกเขาไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อทนต่อเงื่อนไขและพวกเขาควรจะไปถึงเมืองหลัก หากทำได้ อุณหภูมิมีการคาดการณ์ว่าจะยังคงสูงกว่า 40 °


     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    ออสเตรเลียบนอัคคีภัย


    เปลวไฟเป็นคำที่พบได้ทั่วไปสำหรับไฟไหม้ป่า pyrocumulonimbus ไฟที่รุนแรงมาก พวกมันสร้างพายุฝนฟ้าคะนอง ลมแรง ลูกเห็บสีดำและฟ้าผ่า 21 พ.ย. 2019


    เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายนมีไฟป่าเผาไหม้ พื้นที่ 1,650,000 เฮกตาร์ (4,100,000 เอเคอร์) มากกว่า 3 ฤดูการไฟป่าที่ผ่านมาทั้งหมด


    AUSTRALIA ON FIRE


    Firestorms are the common term for pyrocumulonimbus bushfires – fires so intense they create their own thunderstorms, extreme winds, black hail, and lightning. Nov21 2019


    As of 18 November, 1,650,000 ha (4,100,000 acres) has been burnt, more than the past 3 fire seasons in total.


     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan


    ❤ นกนับพันบินไปทั่วที่ทำงานของฉันเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาที่สนามบิน halim perdana kusuma, จาการ์ตา วันที่ 10 พฤศจิกายน 2019


     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    ซาอุดีอาระเบีย 21 พฤศจิกายน 2019


     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,863
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    Avon, North Carolina 19 พฤศจิกายน 2019


    ความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อที่อยู่อาศัยในพื้นที่รถถูกฝังในทราย

    IMG_5114.JPG IMG_5115.JPG IMG_5116.JPG


     

แชร์หน้านี้

Loading...