ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    หิมะถล่มที่น่าทึ่งในเทือกเขาแอลป์ อิตาลี #17 พ. ย.


     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    แดง วงศ์ทวิชาติ

    สำนักข่าวอุตุนิยมวิทยาระบุว่าระดับการแจ้งเตือนของภูเขาไฟในทิศตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในวันจันทร์

    ด้วยระดับที่ 2 ในระดับ 5 จุดผู้คนได้รับคำเตือนว่าอย่าเข้าใกล้ปล่องภูเขาไฟ Mount Shinmoe ภูเขาไฟสูง 1,421 เมตรซึ่งทอดยาวทั้งสองด้านของชายแดนของจังหวัดคาโงชิมะ -Miyazaki
    การเริ่มต้น แผ่นดินไหวและภูเขาไฟ
    แผ่นดินไหวและภูเขาไฟ
    ระดับการเตือนภัยเพิ่มขึ้นสำหรับภูเขาไฟ Shinmoe ในภาคใต้ของคิวชูหลังจากเกิดแผ่นดินไหว 22 ครั้ง
    โดย Rodrigo Contreras Lopez -18 พฤศจิกายน 2562
    สำนักข่าวอุตุนิยมวิทยาระบุว่าระดับการแจ้งเตือนของภูเขาไฟในทิศตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในวันจันทร์

    ด้วยระดับที่ 2 ในระดับ 5 จุดผู้คนได้รับคำเตือนว่าอย่าเข้าใกล้ปล่องภูเขาไฟ Mount Shinmoe ภูเขาไฟสูง 1,421 เมตรซึ่งทอดยาวทั้งสองด้านของชายแดนของจังหวัดคาโงชิมะ -Miyazaki
    จากรายงานของหน่วยงานพบว่ามีแผ่นดินไหว 22 ครั้งที่เกิดขึ้นใต้ปล่องภูเขาไฟระหว่างเที่ยงวันอาทิตย์และ 5 โมงเช้าในวันจันทร์

    หน่วยงานเตือนถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปะทุและความเสี่ยงของหินในอากาศน้อยกว่า 2 กิโลเมตรจากปากปล่องภูเขาไฟรวมถึงการไหลของ pyroclastic น้อยกว่า 1 กิโลเมตร ชินโมซึ่งปะทุขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายนปีที่แล้วเป็นหนึ่งใน 50 ภูเขาไฟที่มีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องในประเทศ

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    นักวิจัยชี้ “เวนิส” จะจมน้ำในปลายศตวรรษหน้า จากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเพราะ Climate Change ระบุกำแพงใต้ทะเลแบบเคลื่อนที่ได้ก็รับไม่ไหว
    18 พฤศจิกายน 2019 venice_flood_2019_2-620x465.jpg
    ที่มาภาพ: https://abcnews.go.com/International/venice-flood-reporters-notebook/story?id=67042426
    นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ว่า เมืองเวนิสของอิตาลีจะจมน้ำอย่างสิ้นเชิงในปลายศตวรรษหน้า อันเนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น

    ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เมิองเวนิส ซึ่งเป็นมืองมรดกโลกสำคัญ และสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก ในอิตาลีเกิดน้ำท่วมกระทันหันและรุนแรง โดยพื้นที่ราว 85% ของเมืองมีระดับน้ำสูง หลังจากที่วันอังคาร( 12 พฤศจิกายน) ระดับน้ำสูงถึง 187 เซนติเมตรหรือ 74 นิ้ว ซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1966 ซึ่งเป็นปีที่น้ำสูงขึ้นทำสถิติ

    น้ำท่วมเวนิสครั้งนี้ร้ายแรงสุดในรอบ 50 ปี และเป็นการท่วมหนักครั้งที่สองนับตั้งแต่มีการบันทึกเหตุการณ์ แม้ชาวเวนิสจะคุ้นชินระดับน้ำในคลองที่มักจะสูงขึ้นในช่วงนี้ของทุกปี

    เวนิสตั้งอยู่ในพื้นที่ทะเลสาปที่มีน้ำขึ้นน้ำลงและอยู่ในระดับเดียวกับระดับน้ำทะเล ดังนั้นเมื่อน้ำขึ้น พื้นที่เมืองและถนนก็จะถูกน้ำท่วม ในสัปดาห์นี้ ระดับน้ำสูงสุดเหนือกว่าระดับน้ำขึ้นปกติถึงมากกว่า 6 ฟุต จนมีผู้เสียชีวิต 1 ราย(เมืองเวนิสสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กเกาะน้อย จำนวน 118 เกาะ เข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ทะเลเอเดรียติกทางภาคเหนือของ ประเทศอิตาลี)

    ระดับน้ำที่สูงของปีนี้ท่วมพื้นที่ 85% ของเมือง ซึ่งชาวเมืองเวนิสต่างบอกกันว่า น้ำท่วมปีนี้ผิดปกติ ระดับน้ำสูงถึงระดับหน้าอก ร้านค้าและโรงแรมเสียหายอย่างมาก จตุรัส เซนต์มาร์ก แลนด์มาร์กสำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาร่วม 300 ปี ก็จมน้ำ

    ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่รัฐระบุว่า สาเหตุที่เวนิสประสบกับน้ำท่วมหนักมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น

    นายลุยจิ บรูญาโร นายกเทศมนตรีเมืองเวนิสทวีตข้อความว่า “นี่เป็นผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

    โบสถ์เซนต์มาร์ก ที่ก่อสร้างมาร่วม 1,000 ปี ถูกน้ำท่วม 6 ครั้งในประวัติศาสตร์ และถูกน้ำท่วม 2 ครั้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

    ในปี 2003 เวนิสได้สร้างกำแพงกั้นน้ำ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าแม้จะสร้างต่อให้เสร็จ แต่ไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาได้ เพราะระดับน้ำทะเลด้านนอกสูงกว่า

    นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยประกอบด้วย นายริคคาร์โด เมล จากมหาวิทยาลัยคาลาเบรีย นายลูก้า คาร์เนียลโลก และนายลุยจิ ดิอัลปาออส จากมหาวิทยาลัยปาดัว ระบุว่า ระดับน้ำที่ขึ้นสูง หรือ acqua alta ในภาษาอิตาเลียน ที่เวนิสจะเกิดถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น เพราะระดับน้ำทะเลในโลกสูงขึ้น

    การที่เกิดน้ำท่วมเวนิสในวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นเพราะภาวะ acqua alta ซึ่งเป็นครั้งที่สองที่ระดับน้ำสูงขึ้นมากจนมีผลรุนแรง คลื่นสูงได้โถมเข้ามาในอ่าว สร้างความเสียหายให้กับเรือและสิ่งก่อสร้างในเมืองอย่างมาก

    โรงแรมร้านอาหาร ร้านค้าและอาคารต่างๆถูกน้ำท่วม เพราะกำแพงกั้นที่หน้าประตูไม่สามารถกั้นระดับน้ำที่สูงได้ นอกจากนี้ยังผลต่อระบบกระแสไฟฟ้า โทรศัพท์ให้หยุดชะงักในบางพื้นที่และบางเกาะในอ่าว โดยเฉพาะโบสถ์เซนต์มาร์กที่ถูกน้ำท่วมมาแล้ว 6 ครั้งในรอบ 1,200 ปี ได้รับความเสียหายระดับที่แก้ไขไม่ได้

    เวนิสเจอน้ำท่วมบ่อยขึ้นและแนวโน้มนี้ยังต่อเนื่อง มีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้น 4 ครั้ง สร้างความเสียหายให้กับมหาวิหารนี้ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา

    venice_flood_2019-620x485.jpg
    ที่มาภาพ: https://www.newsweek.com/venice-permanen tly-submerged-end-next-century-scientists-1471979?utm_ campaign=NewsweekTwitter&utm_source=Twitter&utm_medium=Social
    นอกจากนี้ ภาวะคลื่นพายุซัดฝั่งหรือ สตอร์มเซิร์จ ในทะเลสาป เกิดถี่ขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพจากภูมิอากาศ ข้อมูลจากมาตรวัดระดับน้ำขึ้นลง ที่จุดชมวิว Punta della Salute ซึ่งเปรียบเสมือนสถานีตรวจวัดระดับน้ำและใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 6 มิลลิเมตรต่อปีในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

    “แนวโน้มนี้คาดว่ายังเกิดขึ้นต่อเนื่องในศตวรรษนี้ และจะมีผลให้น้ำท่วมถี่ขึ้นในเวนิส นอกจากนี้ จากการศึกษาที่ทำขึ้นเมื่อเร็วๆนี้บ่งชี้ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดพายุ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงบริเวณชายฝั่ง”

    การประมาณการณ์ล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น 61-110 เซนติเมตรหรือ 2-3.6 ฟุต ภายในปี 2100 ภายใต้สถานการณ์ที่รู้จักกันในชื่อ RCP 8.5 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อเนื่องตลอดศตวรรษที่ 21 อีกทั้งตัวเลขนี้อาจจะประเมินต่ำไป หากน้ำแข็งในแถบแอนตาร์ติกละลายเร็วกว่าที่คาด หรือมีปัจจัยเข้ามา

    นักวิจัยยังระบุว่า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเป็นปัญหาของเมืองเวนิส เพราะระดับน้ำท่วมต่ำสุดที่ผ่านมาอยู่ที่ 60 เซนติเมตรในเขตพื้นที่ต่ำสุดเมือง ขณะเดียวกันระดับน้ำที่สูงถึง 80 เซนติเมตรจะมีผลให้น้ำท่วมบริเวณมหาวิหารเซนต์มาร์กและถนนสายย่อย

    ภายในปี 2000 คณะกรรมการ IPCC ประเมินว่าระดับน้ำทะเลโลกจะสูงขึ้นราว 2-5 เมตรหรือ 6.5-16.4 ฟุต ซึ่งจะมีผลให้เวนิสจมน้ำอย่างถาวร หากไม่มีการดำเนินการใดเพื่อป้องกัน (แม้ระดับน้ำทะเลจะไม่เพิ่มขึ้นเท่ากันทั่วโลก และการเปลี่ยนแปลงในทะเลเอเดรียติก ซึ่งแยกออกไปทางตอนเหนือของทะเลเมดิเตอรเรเนียน ซึ่งเป็นที่ตั้งของทะเลสาปเวนิเทียอาจจะแตกต่างจากการประมาณการณ์ของทั้งโลกเล็กน้อย)

    นักวิทยาศาสตร์มีความเห็นว่า น้ำท่วมเมืองเวนิสมาจากปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงระดับน้ำที่ขึ้นลงตามอิทธิพล ของแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์อื่นเป็นหลัก ผลของแรงดึงดูดจากดวงจันทร์ ทำให้เกิดความดันบรรยากาศสูงหรือต่ำผิดปกติและลมที่รุนแรงและนาน ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดน้ำท่วม แต่ขณะที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมได้ถี่กว่าเดิม และเป็นภัยคุกคามเมืองที่มีความเปราะบางอยู่แล้ว

    แม้จะเป็นเมืองมรดกโลกแต่ปัจจุบันยังไม่มีระบบปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วม เพื่อป้องกันเมือง มีการก่อสร้างกำแพงใต้ทะเลแบบเคลื่อนที่ได้เพื่อกั้นน้ำทะเล(ในชื่อ Mo.S.E.system)เริ่มตั้งแต่ปี 2003 เพื่อป้องกันทะเลสาปเวนิเทียจากน้ำท่วม อย่างไรก็ตามก็ไม่น่าจะเสร็จสมบูรณ์จนกระทั่งปี 2022 และโครงการนี้มีความล่าช้า งบบานปลายและมีการทุจริต

    venice_flood_2019_3-620x484.png
    ที่มาภาพ:

    “ระบบ Mo.S.E.มีแท่นแบริเออร์ 4 แท่นแยกติดตั้งที่ช่องทางเชื่อมต่อระหว่างทะเลสาปกับทะเล 3 จุด แต่แท่นแบริเออร์จะมี 20 ประตู เมื่อสร้างเสร็จคาดว่าจะช่วยปิดช่องทางเชื่อมนี้ในช่วงที่เกิดคลื่นสูงซัดชายฝั่ง”

    ปัจจุบันไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการปิดช่องทางเชื่อมนี้ในช่วงที่ยังเกิดคลื่นสูงซัดชายฝั่ง ดังนั้นการก่อสร้างระบบ Mo.S.E. ให้เสร็จจึงเป็นหนทางเดียวที่จะป้องกันเวนิส และที่ตั้งเมืองอื่นๆในทะเลสาป

    อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์มองว่า แม้ระบบ M.o.S.E.จะสร้างเสร็จและเปิดใช้งาน แต่ก็ไม่ใช่ยาครอบจักรวาลที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองเวนิส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปัจจัยระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเข้ามามีผลมากขึ้น

    คำถามสำคัญคือแท่นแบริเออร์นี้จะป้องกันเมืองได้นานแค่ไหน เพราะแรงลม (ลมที่ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นจากสภาวะน้ำนิ่ง)ในทะเลสาปเวนิเทียสูงขึ้นอย่างมาก เมื่อปิดประตูน้ำในช่องทางเชื่อม

    ปรากฎการณ์นี้จะมีผลกระทบอย่างมากต่อการกำหนดทำงานของแท่นแบริเออร์ ในระบบ Mo.S.E. barriers ตามเป้าหมายที่จะป้องกันน้ำท่วมในทุกเขตเมืองที่ตั้งอยู่ภายในทะเลสาป

    ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่าโครงการนี้ซี่งริเริ่มมาตั้งแต่ปี 1984 จะไม่สามารถรับมือกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นตามประมาณการณ์ของคณะกรรมการ IPCC นอกจากนี้รายงานของยูเนสโกที่จัดทำขึ้นก่อนรายงานของ IPCC ยังเตือนว่าระบบ M.o.S.E.ออกแบบมาให้รองรับกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเพียง 22 เซนติเมตรภายในปี 2100

    รายงานยูเนสโกระบุว่า จากการประมาณการณ์ระดับน้ำทะเลในรายงานฉบับนี้ จึงคาดว่าระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นถึงในระดับที่ทะเลสาปและเมืองประวัติศาสตร์แห่งนี้จะไม่ยั่งยืน แผนการก่อสร้างระบบกั้นน้ำอาจจะช่วยเลี่ยงภาวะน้ำท่วมในอีกไม่กี่ทศวรรษ แต่ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นไปที่ระดับที่แม้จะมีการกั้นน้ำทั้งหมดก็ไม่สามารถป้องกันเมืองจากน้ำท่วมได้ คำถามจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าจะเกิดหรือไม่ แต่อยู่ที่จะเกิดขึ้นเมื่อไร

    ในงานวิจัย ของนักวิจัย 3 ราย(นายริคคาร์โด เมล จากมหาวิทยาลัยคาลาเบรีย นายลูก้า คาร์เนียลโลก และนายลุยจิ ดิอัลปาออส จากมหาวิทยาลัยปาดัว) พบว่า แท่นแบริเออร์ Mo.S.E. ควรมีการปิด 6 ครั้งต่อปี และครั้งละ 3 ชั่วโมง แต่จากการที่ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น 30 เซนติเมตร การปิดแท่นแบริเออร์ควรมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และหากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 50 เซนติเมตรก็ควรที่จะปิดวันละ 1 ครั้ง หรือรวมแล้ว 1 ใน 4 ของระยะเวลาทั้งปี

    “การปิดที่ยาวขึ้นและปิดหลายครั้งไม่เพียงแต่มีผลต่อต้นทุนการบำรุงรักษา แต่มีผลต่อคุณภาพของน้ำในทะเลสาปและอุตสาหกรรมท่าเรือด้วย ในความเห็นของเรา การทำให้ระบบ Mo.S.E. ใช้งานได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเริ่มศึกษาทันทีเพื่อหาแนวทางอื่นในการป้องกัน เสริมจากการใช้ระบบ Mo.S.E. ก่อนที่ไม่มีประสิทธิภาพ”


    https://thaipublica.org/2019/11/venice-flood-warning-scientists/
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เวนิสจมบาดาลอีก เตือนภัยรอบ3 น้ำทะเลทะลักท่วมเมือง สูงเกิน 1.5 เมตร วันที่ 17 พฤศจิกายน 2562 - 19:29 น.

    เวนิสจมบาดาลอีก – เอเอฟพี รายงานว่า เมื่อวันที่ 17 พ.ย. เจ้าหน้าที่บริหารเมืองเวนิส ประกาศภาวะฉุกเฉิน พร้อมเตือนภัยน้ำท่วมใหญ่ในเมืองอีกเป็นครั้งที่สาม ภายในเวลาไม่ถึงสัปดาห์ หลังจากฝนตกหนักและน้ำทะเลหนุนหลากท่วมพื้นที่เมือง รวมถึงสถานที่มรดกโลก จนเสียหายเป็นประวัติการณ์

    “ขอให้ระมัดระวังกระแสน้ำวันนี้ระดับสูงสุด” นายลุยจิ บรุกนาโร นายกเทศมนตรีเมืองเวนิส กล่าว และว่าความเสียหายที่น้ำเค็มหลากท่วมเมืองนั้นสูงกว่า 1 พันล้านยูโร หรือราว 33,400 ล้านบาทแล้ว เบื้องต้น รัฐบาลกลางอนุมัติเงินฉุกเฉินมาให้ 20 ล้านยูโร หรือเกือบ 670 ล้านบาท

    ระดับน้ำประจำวันอาทิตย์ที่ 17 พ.ย. เพิ่มขึ้น 160 เซนติเมตร หรือเกินกว่า 1.5 เมตร ช่วงเที่ยงวัน แม้ว่าน้อยกว่าสถิติเมื่อวันอังคารที่ 12 พ.ย. ที่ขึ้นสูง 187 เซนติเมตร สูงสุดในรอบ 50 ปี แต่ยังถือว่ามีอันตราย ทำให้นักท่องเที่ยวพากันอพยพ

    คำเตือนรอบใหม่เกิดขึ้นหลังจากมีกระแสน้ำซัดเข้าเมืองอย่างชัดเจนตั้งแต่วันเสาร์ จากนั้นช่วงเช้าวันอาทิตย์ นักท่องเที่ยวต้องไปเดินบนแผ่นไม้ต่อเป็นทางเดินรอบจัตุรัสเซนต์มาร์ค และสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งในเมืองปิดหลายชั่วโมงตั้งแต่วันศุกร์ เนื่องจากมีพายุรุนแรง และระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    John Traczyk

    17 พ.ย. 2019 การอัพเดทการกลับขั้วสนามแม่เหล็กโลก: ขั้วโลกเหนือแม่เหล็กยังคงเร่งต่อ ไปยังไซบีเรีย ซึ่งเคลื่อนไหวอีก 2.9 ไมล์ (4.667 กิโลเมตร) ใน 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา

    IMG_4990.JPG

    อิสยาห์ 24: 1

    ดูเถิดองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงกระทำให้แผ่นดินโลกว่างเปล่าและกระทำให้มันรกร้างและพลิกคว่ำเสียและกระจายไปทั่วชาวแผ่นดินนั้น


    maverickstar ถูกโหลดใหม่

    เผยแพร่เมื่อ 17 พ.ย. 2019

    รายละเอียดในวิดีโอ:





    November 17, 2019. Pole Shift Update: The magnetic North Pole continues racing toward Siberia advancing another 2.9 miles in the last 3 weeks.


    Isaiah 24:1

    Behold, the Lord maketh the earth empty, and maketh it waste, and turneth it upside down, and scattereth abroad the inhabitants thereof.


    maverickstar reloaded

    Published on Nov 17, 2019

    Details in video:



     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan

    เพลิดเพลินไปกับสระว่ายน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกในเวนิส 15 พฤศจิกายน 2019


     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan


    ประเทศคูเวต ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2019


     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan

    ประเทศคูเวต ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2019


     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan

    พายุลูกเห็บที่โหดร้ายที่ชายฝั่งซันไชน์, ควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2019


     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan

    อัพเดท ภูเขาไฟ Shishaldin, Alaska :

    การปะทุในระดับต่ำยังคงดำเนินต่อไปเมื่ออุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้นอย่างมากตามที่รายงานโดย alaska_avo


    ที่นี่มีมุมมองกว้างจากภาพ CopernicusEU # Sentinel2 ล่าสุดที่บันทึกเมื่อวานนี้ 17 พฤศจิกายน 2019


     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan

    เก็บตก พายุทอร์นาโดใน Grosseto - Polverosa, ประเทศอิตาลี 17 พฤศจิกายน 2019


     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan

    ไฟป่าที่ส่งผลต่อ valparaíso ได้เผาไหม้ไปแล้วประมาณ 2000 เฮกต์ บ้านเรือน 500 หลัง กำลังตกอยู่ในอันตราย ประเทศชิลี ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2019


     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan

    แผ่นดินไหว ขนาด 5.9 - ความลึก 25.8 กม
    1km WNW ของ Dancagan, ฟิลิปปินส์
    2019-11-18 13:22:12 (UTC)

    การสั่นสะเทือนขนาด 5.9 บันทึกลงที่ Kadingilan, Bukidnon เวลา 9:22 น.

    ความเข้มที่รายงาน:
    Intensity V-Kidapawan City
    Intensity IV - เมืองดาเวา และเมืองโคตาบาโต

    IMG_4995.JPG

    M 5.9 - 25.8 km depth

    1km WNW of Dancagan, Philippines

    2019-11-18 13:22:12 (UTC)


    Magnitude 5.9 quake recorded off Kadingilan, Bukidnon at 9:22 p.m.


    Reported Intensities:

    Intensity V -Kidapawan City

    Intensity IV - Davao City and Cotabato City


     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan

    หิมะที่ Osttirol, Austria วันที่ 16 พฤศจิกายน 2019


     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Setiawan

    เวนิส นักท่องเที่ยวไล่ตามเซลฟี่ ในละครของเมืองที่ถูกน้ำท่วม

    IMG_4996.JPG

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    13 เขตมุดตัวของเปลือกโลกในอาเซียน ตัวการที่ทำให้เกิดสึนามิ
    โดย สันติ ภัยหลบลี้ 8 พฤศจิกายน 2019

    ปัจจุบัน จากการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลด้านธรณีวิทยา ธรณีแปรสัณฐานและวิทยาคลื่นไหวสะเทือนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) หรือ อาเซียน (ASEAN) พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่และกระทบกระทั่งกันระหว่างแผ่นเปลือกโลก 3 แผ่น คือ แผ่นยูเรเซีย (Eurasian Plate) อินโด-ออสเตรเลีย (Indo-Australian Plate) และแผ่นทะเลฟิลิปปินส์ (Philippine Sea Plate) ซึ่งผลจากการชนและมุดกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกดังกล่าวทำให้เกิด เขตมุดตัวของเปลือกโลก (subduction zone) ที่เป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวสำคัญ 13 เขตมุดตัว

    • [1] เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Subduction Zone) 4,145 กิโลเมตร
    • [2] ร่องลึกก้นสมุทรซุนดา (Sunda Trench) 5,154 กิโลเมตร
    • [3] ร่องลึกก้นสมุทรลูซอนตะวันออก (East Luzon Trench) 379 กิโลเมตร
    • [4] เขตมุดตัวของเปลือกโลกฮัลมาฮีรา (Halmahera Subduction Zone) 452 กิโลเมตร
    • [5] ร่องลึกก้นสมุทรมะนิลา (Manila Trench) 1,256 กิโลเมตร
    • [6] ร่องลึกก้นสมุทรมินาฮาสสา (Minahassa Trench) 1,372 กิโลเมตร
    • [7] ร่องลึกก้นสมุทรเนกรอส (Negros Trench) 446 กิโลเมตร
    • [8] ร่องลึกก้นสมุทรปาลาวัน (Palawan Trench) 1,141 กิโลเมตร
    • [9] เขตมุดตัวของเปลือกโลกฟิลิปปินส์ (Philippine Subduction Zone) 1,617 กิโลเมตร
    • [10] ร่องลึกก้นสมุทรริวกิว (Ryukyu Trench) 1,416 กิโลเมตร
    • [11] เขตมุดตัวของเปลือกโลกซันกิลดับเบิ้ล (Sangihe Double Subduction Zone) 620 กิโลเมตร
    • [12] ร่องลึกก้นสมุทรซูลูอาชิเพลาโก (Sulu Archipelago Trench) 686 กิโลเมตร
    • [13] ร่องลึกก้นสมุทรซูลู (Sulu Trench) 527 กิโลเมตร
    4-82-1.jpg
    แผนที่ภูมิภาคอาเซียนแสดงการวางตัวของเขตมุดตัวของเปลือกโลก (เส้นสีเทา) ที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวและสึนามิในอนาคต สามเหลี่ยมสีแดง คือ ภูเขาไฟมีพลัง วงกลมสีเขียว คือ เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดสึนามิและ สามเหลี่ยมสีน้ำเงิน คือ พื้นที่ซึ่งเคยได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติสึนามิ (Charusiri และ Pailoplee, 2015a)
    จากฐานข้อมูลแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวในช่วงปี ค.ศ. 1960-2015 (55 ปี) ที่บันทึกโดยหน่วยงาน International Seismological Centre (ISC) ประเทศสหรัฐอเมริกา บ่งชี้ว่าเคยเกิดแผ่นดินไหวจำนวนมากตามเขตมุดตัวของเปลือกโลกดังกล่าว นอกจากนี้จากบันทึกของหน่วยงาน National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) ประเทศสหรัฐอเมริกา รายงานว่าแผ่นดินไหวส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นตามเขตมุดตัวของเปลือกโลกดังกล่าวเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสึนามิ (; Charusiri และ Pailoplee, 2015a) เช่น เหตุการณ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 เดือนธันวาคม ค.ศ. 2004 จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Subduction Zone) ทำให้ชุมชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งโดยรอบมหาสมุทรอินเดียได้รับความเสียหาย ซึ่งประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตและสูญหายจากภัยพิบัติสึนามิดังกล่าวประมาณ 230,000-280,000 คน จาก 14 ประเทศ (สำนักข่าว BBC, 2004) โดยประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด คือ ประเทศอินโดนีเซียซึ่งอยู่ใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากที่สุด ประเทศศรีลังกา อินเดีย และประเทศไทย ตามลำดับ ถือว่าเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์

    จากสภาพแวดล้อมการเกิดแผ่นดินไหวที่สัมพันธ์กับกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐาน พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวโดยรวม รวมทั้งรูปร่างและการวางตัวของเขตมุดตัวของเปลือกโลกในภูมิภาคอาเซียน ผู้วิจัย (ผู้เขียน) ได้จัดกลุ่มเขตมุดตัวของเปลือกโลกดังกล่าวออกเป็น 3 กลุ่ม

    4-82-3.jpg
    แผนที่ภูมิภาคอาเซียนแสดงการวางตัวของเขตมุดตัวของเปลือกโลก (เส้นสีเขียว) ที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิ สามเหลี่ยมสีแดง คือ ตำแหน่งของภูเขาไฟมีพลัง วงกลมสีเขียว คือ เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดภัยพิบัติสึนามิ สามเหลี่ยมสีฟ้า คือ พื้นที่ที่เคยได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติสึนามิ
    เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน
    เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Subduction Zone) มีความยาวประมาณ 4,145 กิโลเมตร วางตัวในแนวเหนือ-ใต้พาดผ่านทางตะวันตกของประเทศพม่า หมู่เกาะนิโคบาร์ (Nicobar Islands) ในทะเลอันดามัน (Andaman Sea) ต่อเนื่องลงไปถึงตอนใต้ของเกาะสุมาตรา (พื้นที่ศึกษาที่ 1) (Charusiri และ Pailoplee, 2005b)

    4-82-6-1024x536.jpg
    ภาพดาวเทียมจาก google earth แสดงแนวการวางตัวของเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (เส้นสีฟ้า)
    เพื่อที่จะประเมินรูปร่างและการวางตัวของเขตมุดตัวของเปลือกโลก Charusiri และ Pailoplee (2015a) ได้สร้างแบบจำลองการกระจายตัวของแผ่นดินไหวในรูปแบบของภาคตัดขวาง โดยพิจารณาตามแนวการวางตัว 6 แนว พาดผ่านเขตมุดตัวของเปลือกโลกต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งผลการศึกษาเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามันแสดงในภาคตัดขวางที่ 1-2

    4-82-2-1024x860.jpg
    แผนที่ภูมิภาคอาเซียนแสดงการกระจายตัวของแผ่นดินไหว (จุดสีแดง) ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1960-2015 ตรวจวัดและบันทึกโดยหน่วยงาน ISC (Charusiri และ Pailoplee, 2015a) เส้นตรงสีดำ คือ แนวการวิเคราะห์การกระจายตัวของแผ่นดินไหวตามภาคตัดขวางดังแสดงในรูปด้านล่าง
    4-82-4-1024x746.jpg
    ภาคตัดขวางแสดงการกระจายตัวของแผ่นดินไหว (จุดสีเทา) ที่เกิดขึ้นตามเขตมุดตัวของเปลือกโลกต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน (Charusiri และ Pailoplee, 2015a) แนวการวางตัวของภาคตัดขวางแสดงในรูปด้านบน
    ภาคตัดขวางที่ 1 ตัดขวางเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ แสดงลักษณะการมุดตัวของเปลือกโลกไปทางตะวันออก โดยเริ่มมุดตัวในช่วงกิโลเมตรที่ 300 ของภาคตัดขวาง ทำมุมการมุดตัวประมาณ 45o และมุดลงไปถึงความลึก 180 กิโลเมตร ใต้พื้นโลกบริเวณกิโลเมตรที่ 500 ส่วนบริเวณกิโลเมตรที่ 600 พบแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ความลึก < 40 กิโลเมตร วิเคราะห์ว่าอาจเป็นแผ่นดินไหวที่เกิดจากรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault; Dain และคณะ, 1984) ซึ่งต่อเนื่องมาจากประเทศพม่าลงสู่ทะเลอันดามัน

    ภาคตัดขวางที่ 2 ตัดขวางเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน บริเวณตอนเหนือของเกาะสุมาตรา โดยแสดงการมุดตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงกิโลเมตรที่ 450 ของภาคตัดขวาง และมุดลงไปถึงความลึก 250 กิโลเมตร ใต้พื้นโลก โดยทำมุมการมุดตัวประมาณ 30o ซึ่งมีความชันของการมุดตัวต่ำกว่าเขตมุดตัวของเปลือกโลกในพื้นที่ข้างเคียง

    ลักษณะทางธรณีแปรสัณฐานของเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน เกิดจากแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 5.5-7.0 เซนติเมตร/ปี (Charusiri และ Pailoplee, 2005b) เข้าชนแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่จำนวนมากในช่วงเวลา 35 ปี ที่ผ่านมา (ค.ศ. 1980-2015) เช่น แผ่นดินไหวขนาด 9.0 เมื่อวันที่ 26 เดือนธันวาคม ค.ศ. 2004 รวมทั้งแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 จำนวน 9 เหตุการณ์ (Sukrungsri และ Pailoplee, 2015; 2017a)

    นอกจากนี้จากการสำรวจและศึกษาหลักฐานทางธรณีวิทยาแผ่นดินไหว บ่งชี้ว่าเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามันเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่เป็นภัยพิบัติ เช่น หลักฐานการตกทับถมของตะกอนทรายที่ถูกพัดพามากับสึนามิในอดีต บริเวณเกาะพระทอง (Phra Thong Island) นอกชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย (; Tuttle และคณะ, 2007; Jankaew และคณะ, 2007; 2008) และชายฝั่งทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา (Monecke และคณะ, 2008) ซึ่งบ่งชี้ว่านอกจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่เกิดขึ้นครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 2004 เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามันเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และทำให้เกิดสึนามิ 3 เหตุการณ์ ในช่วงเวลา 380±50 ปี 990±130 ปี 1,410±190 ปี และ 2,100±260 ปี ที่ผ่านมา (Prendergast และคณะ, 2012)

    4-82-5-1024x661.jpg
    หลักฐานทางธรณีวิทยารูปแบบต่างๆ ซึ่งบ่งชี้การเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอดีตจากเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (ก) ชั้นตะกอนทรายสึนามิ บริเวณเกาะพระทอง นอกชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย (Jankaew และคณะ, 2008) (ข) ตะพักทะเล และ (ค) เว้าทะเล (Wang และคณะ, 2013) บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกของประเทศพม่าและ (ง) ปะการังโขดหัวตาย บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา (Natawidjaja และคณะ, 2006)
    Aung และคณะ (2008) และ Wang และคณะ (2013) สำรวจและศึกษาตะพักทะเล (marine terrace) และเว้าทะเล (sea notch) บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกของประเทศพม่า ซึ่งสัมพันธ์กับการยกตัวหรือทรุดตัวของแผ่นดินเนื่องจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่บริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (ดูรายละเอียดในบทความเรื่อง การปรับระดับพื้นโลก-ภัยพิบัติระยะยาวจากแผ่นดินไหว) ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าพื้นที่ดังกล่าวเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด ≥ 8.0 หลายครั้ง เช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหวในช่วงเวลา 1,395-740 ปี ก่อนคริสตกาล แผ่นดินไหวในช่วงปี ค.ศ. 805-1220 ค.ศ. 1585-1810 และ ค.ศ. 1762 ตามลำดับ (Aung และคณะ, 2008; Wang และคณะ, 2013)

    Zachariase และคณะ (1999) และ Natawidjaja และคณะ (2006) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเจริญเติบโตของปะการังโขดหัวตาย (microatoll) ที่สัมพันธ์กับการยกตัวหรือทรุดตัวของแผ่นดินเนื่องจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ผลการศึกษาสรุปว่าเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน โดยเฉพาะบริเวณนอกชายฝั่งทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.8-9.2 ในปี ค.ศ. 1833 และ ค.ศ. 1797

    จากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน บ่งชี้ว่าหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และมีการเลื่อนตัวในแนวดิ่งของแผ่นเปลือกโลกใต้ทะเล อาจเกิดสึนามิและส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เช่น ประเทศไทย พม่าและประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศต่างๆ โดยรอบมหาสมุทรอินเดีย ดังนั้นเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามันจึงเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวสำคัญในภูมิภาคอาเซียน

    เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย
    เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Indonesian Island Chain) (พื้นที่ศึกษาที่ 2) วางตัวในแนวตะวันตก-ตะวันออกขนานไปกับแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย เกิดจากการชนกันในแนวเหนือ-ใต้ของแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียและแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Krabbenhoeft และคณะ, 2010) ทำให้แนวหมู่เกาะอินโดนีเซียยังคงมีภูเขาไฟมีพลังและกิจกรรมแผ่นดินไหวและสึนามิเกิดขึ้นตลอดแนวอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน

    4-82-7-1024x536.jpg
    ภาพดาวเทียมจาก google earth แสดงแนวการวางตัวของเขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย (เส้นสีฟ้า)
    ในส่วนของรูปร่างและการวางตัวของเขตมุดตัวของเปลือกโลก แสดงภาคตัดขวางทางตะวันออกและตะวันตกของเขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย เช่น ภาคตัดขวางที่ 3 ตัดขวางเขตมุดตัวของเปลือกโลกทางตอนใต้ของเกาะสุมาตราแสดงลักษณะการมุดตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทำมุมการมุดตัวประมาณ 30oส่วนภาคตัดขวางที่ 4 ตัดขวางทางตะวันออกของเขตมุดตัวของเปลือกโลกแสดงลักษณะการมุดตัวไปทางตะวันตกอย่างชัดเจน โดยทำมุมการมุดตัวประมาณ 45o และมุดลงไปถึงความลึก 300 กิโลเมตร ใต้พื้นโลก

    ในทางวิทยาคลื่นไหวสะเทือน เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซียมีพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวโดยรวมต่ำกว่าเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน ซึ่งจากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ดังกล่าว บ่งชี้ว่าไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด > 8.6 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 (Newcomb และ McCann, 1987) อย่างไรก็ตาม Ammon และคณะ (2006) ศึกษาและสรุปว่าแผ่นดินไหวส่วนใหญ่ที่เกิดจากเขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซียมักจะก่อให้เกิดสึนามิ โดยหน่วยงาน NOAA รายงานว่าในช่วงปี ค.ศ. 1629-2010 (380 ปี) มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ > 150 เหตุการณ์ ที่ทำให้เกิดสึนามิ สร้างความเสียหายต่อประเทศอินโดนีเซีย

    เขตมุดตัวของเปลือกโลกรอบหมู่เกาะฟิลิปปินส์
    เขตมุดตัวของเปลือกโลกรอบหมู่เกาะฟิลิปปินส์ (Philippine Islands) (พื้นที่ศึกษาที่ 3) สืบเนื่องจากการชนและมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียและแผ่นทะเลฟิลิปปินส์ ทำให้หมู่เกาะฟิลิปปินส์และพื้นที่ข้างเคียงมีความซับซ้อนในทางธรณีแปรสัณฐาน โดยจากการสำรวจและประมวลผลข้อมูลระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก หรือ จีพีเอส (Global Positioning System, GPS) พบว่าแผ่นเปลือกโลกดังกล่าวมีอัตราเลื่อนตัวของรอยเลื่อน (slip rate) ประมาณ 5-40 มิลลิเมตร/ปี (Galgana และคณะ, 2007) โดยทางตอนเหนือของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ แผ่นยูเรเชียชนและมุดลงไปทางตะวันออก ใต้แผ่นทะเลฟิลิปปินส์ด้วยมุมการมุดตัวสูงชัน ในขณะที่ทางตอนใต้ แผ่นทะเลฟิลิปปินส์มุดตัวไปทางตะวันตกใต้แผ่นยูเรซียด้วยมุมการมุดตัวต่ำ

    4-82-8-1024x536.jpg
    ภาพดาวเทียมจาก google earth แสดงแนวการวางตัวของเขตมุดตัวของเปลือกโลกรอบหมู่เกาะฟิลิปปินส์ (เส้นสีฟ้า)
    ภาคตัดขวางที่ 5 ซึ่งตัดขวางเขตมุดตัวของเปลือกโลก 3 เขตมุดตัว เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา ได้แก่ 1) ร่องลึกก้นสมุทรมินาฮาสสา 2) เขตมุดตัวของเปลือกโลกซันกิลดับเบิ้ลและ 3) เขตมุดตัวของเปลือกโลกฮัลมาฮีรา ตามลำดับ ซึ่งการกระจายตัวของแผ่นดินไหวตามภาคตัดขวางดังกล่าว บ่งชี้ว่ามีการมุดตัวของเปลือกโลกซ้อนทับกัน โดย Charusiri และ Pailoplee (2015a) วิเคราะห์ว่าร่องลึกก้นสมุทรมินาฮาสสาแสดงทิศทางการมุดตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ทำมุมการมุดตัวประมาณ 30o และมุดลงไปถึงความลึก 300 กิโลเมตร ใต้พื้นโลก ในขณะที่เขตมุดตัวของเปลือกโลกฮัลมาฮีราแสดงทิศทางการมุดตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยเริ่มมุดตัวในช่วงกิโลเมตรที่ 300 ของภาคตัดขวาง ทำมุมประมาณ 45oและมุดลงไปถึงความลึก 600 กิโลเมตร ใต้พื้นโลกแต่เนื่องจากบริเวณกิโลเมตรที่ 600 ไม่พบแนวการมุดตัวของเปลือกโลกอย่างชัดเจน จึงวิเคราะห์ว่าเขตมุดตัวของเปลือกโลกฮัลมาฮีรา ไม่แสดงแนวการมุดตัวในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะสามารถตรวจพบร่องลึกก้นสมุทรได้จากการแปลความหมายภาพถ่ายดาวเทียม

    ภาคตัดขวางที่ 6 ตัดขวางทางตอนเหนือของเขตมุดตัวของเปลือกโลกฟิลิปปินส์ ซึ่งจากการกระจายตัวของแผ่นดินไหวพบว่าเขตมุดตัวของเปลือกโลกดังกล่าวมีการมุดตัวไปทางตะวันตก แต่เนื่องจากข้อมูลแผ่นดินไหวที่มีจำนวนมากกระจายตัวอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์มุมการมุดตัวและประเมินความหนาของแผ่นเปลือกโลกในช่วงกิโลเมตรที่ 150-400 ของภาคตัดขวางได้อย่างแม่นยำ อย่างไรก็ตามหากพิจารณาห่างออกไปจากเขตมุดตัวของเปลือกโลก พบว่าแผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดที่ความลึก ≤ 40 กิโลเมตร Charusiri และ Pailoplee (2015a) จึงประเมินในเบื้องต้นว่าแผ่นเปลือกโลกในพื้นที่ดังกล่าวมีความหนาประมาณ 40 กิโลเมตร

    ในทางวิทยาคลื่นไหวสะเทือน ผลจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกในบริเวณหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ทำให้เกิดลักษณะทางธรณีแปรสัณฐานที่สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหว 2 รูปแบบ คือ 1) เขตมุดตัวของเปลือกโลก และ 2) รอยเลื่อนภายในแผ่นเปลือกโลก โดยกลุ่มรอยเลื่อนส่วนใหญ่วางตัวอยู่ตามหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ในขณะที่บริเวณนอกชายฝั่งโดยรอบหมู่เกาะฟิลิปปินส์จะพบเขตมุดตัวของเปลือกโลก 11 เขตมุดตัว (เขตมุดตัวหมายเลข 3-13) ซึ่งจากฐานข้อมูลแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวในช่วงเวลา 55 ปี (ค.ศ. 1960-2015) บ่งชี้ว่าเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 จำนวน 95 เหตุการณ์ และหน่วยงาน NOAA รายงานว่าในช่วงปี ค.ศ. 1509-2016 หมู่เกาะฟิลิปปินส์เคยได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติสึนามิ 280 พื้นที่

    นอกจากนี้ Ha และคณะ (2009) และ Ruangrassamee และ Saelem (2009) ประเมินสถานการณ์ที่รุนแรงที่สุดของการเกิดสึนามิในทะเลจีนใต้ (South China Sea) รวมทั้งอ่าวไทย (Gulf of Thailand) โดยตั้งสมมุติฐานว่าหากแผ่นดินไหวขนาด 8.0-9.0 บริเวณร่องลึกก้นสมุทรมะนิลา (เขตมุดตัวหมายเลข 3) จะส่งผลกระทบด้านภัยพิบัติสึนามิรุนแรงที่สุดต่อประเทศฟิลิปปินส์ เวียดนามและชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศจีน ส่วนในกรณีของอ่าวไทย สึนามิใช้เวลาในการเดินทางจากร่องลึกก้นสมุทรมะนิลาถึงแนวชายฝั่งทางภาคใต้ของประเทศไทยและกรุงเทพมหานครประมาณ 13 และ 19 ชั่วโมง หลังจากเกิดแผ่นดินไหวและมีความสูงของคลื่นสูงที่สุดประมาณ 65 เซนติเมตร บริเวณชายฝั่งของจังหวัดนราธิวาส (Ruangrassamee และ Saelem, 2009) ดังนั้นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวในแถบหมู่เกาะฟิลิปปินส์จึงมีโอกาสส่งผลกระทบด้านภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิต่อภูมิภาคอาเซียน




    http://www.mitrearth.org/4-82-subduction-zone-in-asean/
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    มีรายงานไอน้ำสีแดงออกจากทะเลใน Bongao, ฟิลิปปินส์ # 18 พ.ย.


     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    พายุก่อตัวขึ้นใน olavarría, อาร์เจนตินา #18 พ. ย.


     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,989
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    พายุโซนร้อนราโมนเคลื่อนห่างจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของฟิลิปปินส์และเคลื่อนไปทางเหนือ # 18 พ.ย.


     

แชร์หน้านี้

Loading...