ตามหา หมอดู เชียงใหม่ คนนี้ให้ผมด้วยครับ มีรายละเอียดให้ครับ

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย ramai, 23 ตุลาคม 2010.

  1. sirisrisombat

    sirisrisombat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2011
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +32
    จันทร์-เสาร์ 07.30-21.00 น. ครับ
    ไม่ต้องบอก วัน เดือน ปีเกิด ผมใช้สมาธิจิตครับ (ไม่ได้เป็นหมอดู)

    ขอบคุณครับ สิริ ศรีสมบัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2013
  2. sirisrisombat

    sirisrisombat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2011
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +32
    ระหว่างที่คุณนั่งรถไฟไปกรุงSydney ซิดนีย์
    ผมขอเพิ่มเติมหลักธรรมที่ขีดเส้นใต้ให้เป็นธรรมทานนะครับ
    สังโยชน์10
    ข้อที่ 1 สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้เป็น เราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา

    ข้อที่ 2 วิจิกิจฉา สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์

    ข้อที่ 3 สีลัพพตปรามาส ลูบคลำศีลไม่รักษาศีลจริงจัง

    ข้อที่ 4 กามฉันทะ พอใจในกามคุณ

    ข้อที่ 5 ปฏิฆะ มีอารมณ์กระทบใจ จิตมีความโกรธ

    ข้อที่ 6 รูปราคะ หลงในรูปฌาน

    ข้อที่ 7 อรูปราคะ หลงในอรูปฌาน

    ข้อที่ 8 มานะ มีการถือตัวถือตน

    ข้อที่ 9 อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน

    ข้อที่ 10 อวิชชา ไม่รู้ตามความจริงของเรื่องนิพพาน

    จาก สิริ ศรีสมบัติ
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูิหิ(เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2013
  3. heroparttime

    heroparttime สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2012
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +18
    สาธุด้วย..
    <table width="477" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><colgroup><col width="477"></colgroup><tbody><tr height="17"> <td class="xl24" style="height:12.75pt; width:358pt" width="477" align="left" height="17">งาน parttime</td> </tr></tbody></table>
     
  4. sirisrisombat

    sirisrisombat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2011
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +32
    ผมขออภัยคุณท่าน...
    ที่โทรหาผมช่วง 13:27 น.26/1/2012 เป็นเวลาที่ผมงานยุ่งพอดี
    (ต้องลําบากท่านอีกครั้ง)เพราะโทรศัพท์ท่านไม่โชว์เบอร์
    เสียงค่อยมาก จับใจความเพียงแค่ว่าท่านโทรจาก นิวซีแลนด์
    หากท่านไม่สะดวกที่จะพูดคุยทางโทรศัพท์ ท่านจะใช้ช่องทางอื่น
    ด้วยก็ได้ "ผมเตรียมคําตอบไว้รอท่านแล้วครับ"
    จาก สิริ ศรีสมบัติ
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูิหิ(เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2013
  5. sirisrisombat

    sirisrisombat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2011
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +32
    วันนี้ผมมีเรื่องเบาๆมาฝากครับ!
    Siri คืออะไร (สิริ)
    หมวด » บอร์ดเย็นตาโฟว์ » สาระความรู้ กฎกติกา วิธีคิด ranking

    Siri คืออะไร (สิริ)
    [​IMG]
    มองสิริแล้วย้อนมองตัวเอง
    ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ถ้าไม่นับเรื่องน้ำท่วมแล้ว ในแวดวงไอทีมีข่าวใหญ่ ๆ เกิดขึ้นหลายข่าวด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัว iPhone 4s หรือข่าวการเสียชีวิตของสตีฟ จอบส์ อดีตซีอีโอของแอปเปิล
    ความสามารถพิเศษของระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ที่จะมาพร้อมไอโฟนรุ่นล่าสุดที่แอปเปิลใช้เป็นจุดขาย ที่ฮือฮากันพอสมควรก็คือ การฝังเอเจนต์โต้ตอบอัจฉริยะที่ชื่อ สิริ (Siri) ลงไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการนี้ด้วย
    สิริเป็นใคร ทำไมถึงน่าสนใจ?
    แรกเริ่มเดิมทีสิริเป็นผลิตภัณฑ์ของเครือบริษัทสิริ (Siri Inc.) ที่ไม่ใช่ของแอปเปิล แต่ในท้ายที่สุดแอปเปิลได้ซื้อสิริ แล้วผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไอโอเอสรุ่นใหม่ที่สามารถ “ฟัง” คำถามจากมนุษย์ได้เข้าใจ และสามารถตอบโต้ออกมาเป็นการกระทำในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สามารถค้นหาข้อมูลสภาพอากาศ ประมวลผลเพื่อหาคำตอบ แล้วตอบออกมาเป็นเสียงพูด เพื่อสื่อสารกับมนุษย์ได้อย่างน่าประทับใจ
    ไม่ใช่แต่เพียงสิริเท่านั้นที่เปิดตัวได้อย่างน่าทึ่ง เพราะก่อนหน้านี้หลายเดือน ทางฝั่งกูเกิลได้ฝังความสามารถทางด้านการโต้ตอบด้วยเสียงแบบเดียวกับสิริลงไปในแอนดรอยด์โอเอสของตัวเอง กูเกิลตั้งชื่อความสามารถพิเศษนี้ว่า Voice Actions ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดและใช้ผ่านแอพพลิเคชั่นวอยซ์เสิร์ช (Voice Search)
    คุณสมบัติทั้งสองจากไอโฟนและแอนดรอยด์จัดอยู่ในกลุ่มเอเจนต์อัจฉริยะ ที่หมายถึง การสร้างส่วนจำเพาะของระบบ (หรือเรียกว่า มอดูล-Module) ให้ทำงานบางอย่างได้อย่างอัตโนมัติภายในสิ่งแวดล้อมที่กำหนด แนวคิดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลาย เช่น สร้างเอเจนต์ในรูปแบบระบบฝังตัวเพื่อคอยตรวจวัดอุณหภูมิทั้งในรถยนต์เพื่อใช้ในการควบคุมการทำงานของพัดลมระบายความร้อน หรือใช้เป็นตัวคอยปรับอุณหภูมิภายในห้องสำหรับกรณีเครื่องปรับอากาศ สร้างเป็นเอเจนต์โต้ตอบระหว่างผู้ขับกับอุปกรณ์ภายในรถยนต์ที่มีอยู่ในรถหลาย ๆ รุ่น หรือแม้กระทั่งสร้างเอเจนต์คอยตรวจการพิมพ์เพื่อแก้ไขให้เป็นภาษาที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นผลงานจากโครงงานของนิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (RightLang : โปรแกรมแก้พิมพ์ผิดภาษา) เป็นต้น
    ย้อนกลับมาที่เอเจนต์เท่ ๆ อย่างสิริและวอยซ์เสิร์ชกันครับ
    แน่นอนว่า ในตอนเปิดตัวคุณสมบัติทั้งสองอันนี้ยังไม่สนับสนุนภาษาไทย และคงอีกนานกว่ามันจะสนับสนุนภาษาไทยได้เหมือนที่ทำได้ในภาษาอังกฤษ
    ผู้ใช้หลายท่านอาจจะขมวดคิ้วตั้งคำถามว่า แล้วต้องรออีกนานขนาดไหน ถึงจะสามารถใช้ภาษาไทยในสิริกับวอยซ์เสิร์ชได้
    ซึ่งก่อนที่จะตอบคำถามว่า “อีกนานขนาดไหน” ได้ เราลองมาพิจารณาดูก่อนว่า มัน “ยาก” มากไหมที่จะสร้างให้สิริกับวอยซ์เสิร์ชรองรับภาษาไทยได้
    สิ่งที่ต้องทำเพิ่มเพื่อให้สามารถใช้งานภาษาไทยได้นั้นมีหลายอย่างด้วยกัน เช่น การ “ฟัง” ภาษาไทย (หรือที่เรียกว่า การรู้จำเสียงภาษาไทย) การแปลภาษาไทยเป็นอังกฤษและอังกฤษกลับเป็นไทย (ในกรณีที่ใช้กลไกภายในทั้งหมดของสิริและวอยซ์เสิร์ช) การสรุปความภาษาไทย และการสังเคราะห์เสียงหรือการแปลงข้อความกลับเป็นเสียง
    หลายคนมองสิริอาจจะรู้สึกทึ่ง ตื่นเต้น อยากใช้หรืออื่น ๆ อีกมากมาย แต่ลองมองย้อนกลับมาที่ตัวเรา เราจะพบความจริงที่น่ากลัวว่า คือ ในบรรดาสิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติมตามที่อธิบายในย่อหน้าด้านบนนี้ เราต้องการแรงงานคนในระดับปริญญาตรี โท และเอก รวม ๆ แล้วไม่ต่ำกว่าร้อยคน (อาจถึงหลายร้อยคน) ซึ่งต้องเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญในระดับสูงถึงสูงมากเสียด้วย และสิ่งที่น่ากลัวกว่านั้น คือ ความจริงที่ว่า ในปัจจุบันเราสามารถผลิตคนในระดับนี้ได้เพียงปีละไม่ถึงสิบคน
    จากทรัพยากรที่เรามีอย่างจำกัด ทำให้เรามีสามทางเดินให้เลือกเดิน หนึ่ง ยอมจำนนไม่ใช้ภาษาแม่ของเราและหันไปใช้ภาษาอังกฤษ สอง ยอมให้ต่างชาติใช้แรงงานคนและเงินที่มีมากกว่าเราสร้างสรรค์งานเกี่ยวกับภาษาของเราแล้วนำมาขายเรา หรือสาม ตระหนักถึงความอ่อนแอของกำลังคนในด้านไอทีและทำให้มันเข้มแข็งมากขึ้น
    “คุณเลือกข้อไหนครับ?”


    <HR>
    สุกรี สินธุภิญโญ /sukree.s@chula.ac.th
    ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    http//www.facebook.com/1001FanPage


    [​IMG]ตั้งเมื่อ: <ACRONYM title="3 เดือน 14 วันที่ผ่านมา">13:18 น. 21 ต.ค. 2011</ACRONYM>
    แท็ก: สิริ, siri

    ที่ผมต้องนําบทความจากเว็ปบอร์ดมาลงซ้ำ
    มิใช่อยากเกาะกระแส เพื่อให้ตนเองเด่นดัง(บังเอิญชื่อเหมือน)
    เพียงแต่อยากให้ผู้อ่านได้เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น อย่างมีสติครับ
    จาก สิริ ศรีสมบัติ
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูิหิ(เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2013
  6. สุดขอบฟ้า

    สุดขอบฟ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +127
    กราบโมทนาสาธุกับสิ่งที่เรียกว่าดีและงดงามจากความเมตตาของท่านสิริ ศิริสมบัติ ด้วยความเคารพค่ะ
     
  7. sirisrisombat

    sirisrisombat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2011
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +32
    คําถามที่มักจะถามกันมากในช่วงนี้ เดือนแห่งความรัก
    บุพเพสันนิวาส คือ การได้เคยอยู่ร่วมกันในอดีตชาติ จนส่งผลให้ได้มาเป็นคู่ครองกันในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่จะคิดว่าเคยอยู่ร่วมกันเป็นสามีภรรยาเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วบุพเพสันนิวาสหมายถึงการที่อาจจะได้อยู่ร่วมกันในฐานะอื่นก็ได้ เช่น พี่กับน้อง พ่อกับลูก แม่กับลูก เพื่อครูกับศิษย์ นายกับบ่าว เป็นต้น การที่มีบุพเพสันนิวาสร่วมกันนี้เมื่อเกิดมาร่วมกัน ก็มักจะสร้างบุญสร้างกุศลร่วมกันมา ทำอะไรตามกัน มีความเห็นสอดคล้องกัน ทำให้อยู่ด้วยกันแล้วมีความสุข

    เนื้อคู่ คือ หญิงและชายที่เคยได้ใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นสามีภรรยากันมาก่อนในอดีตชาติ

    คู่ครอง คือ หญิงและชายที่ใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นสามีภรรยากันในชาติปัจจุบัน

    คู่กรรม คือ หญิงและชายที่ใช้ชีวิตร่วมกันเป็นสามีภรรยา แต่มักไม่มีความสุข เนื่องจากการมาอยู่ร่วมกันนั้นเกิดจากวิบากของกรรมที่ทำร่วมกันหรือวิบากกรรมที่มีต่อกันมาส่งผล เช่น อาจเคยทำบาปร่วมกัน หรือเคยเป็นศัตรูกันมาก่อนเป็นต้น

    คู่บารมี คือ เนื้อคู่ที่ได้ติดตามกันมา ส่งเสริมกันและกันในทางที่ดี ได้ใช้ชีวิตร่วมกันในฐานะสามีภรรยาร่วมกันนับชาติไม่ถ้วน และจะติดตามกันต่อไปจนกว่าจะสามารถหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้

    เหตุแห่งการได้อยู่ร่วมกัน

    เหตุที่หญิงชายได้รักและได้เป็นสามีภรรยากันนั้นมี ๒ ปัจจัย คือ
    • การได้อยู่ร่วมกันในกาลก่อน
    • การได้เกื้อหนุนกันในชาติปัจจุบัน

    เนื่องจากวัฎสงสารยาวไกลจนหาจุดเริ่มต้นและที่สุดไม่ได้ หญิงชายแต่ละคนจึงมีเนื้อคู่มากมายเป็นแสนคน แต่ละชาติที่เกิดมาก็อาจได้พบเจอเนื้อคู่ได้หลาย ๆ คนพร้อมกัน หรืออาจไม่ได้เจอเนื้อคู่เลยสักคนก็เป็นได้ กรณีที่ไม่เจอเนื้อคู่เลยนั้น หญิงชายนั้นก็อาจมีคู่ได้กับบุคคลใกล้ชิดที่ได้เกื้อหนุนกันในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อได้เป็นคู่กันในปัจจุบันแล้วหญิงชายนั้นก็จะได้เป็นเนื้อคู่กันต่อไป

    ลำดับของเนื้อคู่
    เพราะเหตุที่แต่ละคนมีเนื้อคู่จำนวนมากมาย จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าแล้วใครกันเล่าที่สมควรจะได้อยู่เป็นคู่ครองกันมากที่สุด และจะมีวิธีการเลือกอย่างไร แม้จะมีเนื้อคู่จำนวนมากมาย แต่จะมีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่เมื่ออยู่ร่วมกันแล้วมีความสุขที่สุด เมื่อพบหน้ากันแล้วไม่อาจตัดใจรักให้ขาดจากกันได้ บุคคลนี้คือเนื้อคู่ที่ได้อยู่ร่วมกันมามากที่สุดเป็นแสนเป็นล้านชาติ เป็นเนื้อคู่ลำดับที่ ๑ กฎแห่งกรรมจะจัดสรรการมีคู่ไว้ให้เราเรียบร้อย คือ หากเรามีเนื้อคู่เกิดมาพร้อมกัน ใจเราจะเป็นผู้เลือกเนื้อคู่ลำดับต้นเสมอ เมื่อเลือกแล้วคู่ลำดับอื่นเขาจะหลีกทางและไปหาคู่ของเขาต่อไป แต่กฎแห่งกรรมอีกเช่นกัน ที่บางชาติ กลับทำให้คู่ลำดับต้น ๆ ได้มาพบกันทีหลังหลังจากที่อีกฝ่ายได้เลือกคู่ครองไปแล้วซึ่งแม้จะได้พบกันทีหลัง แต่เพราะเป็นคู่ลำดับต้น จิตใจของทั้งคู่ก็จะร้อนรนทนไม่ไหว จึงต้องรักกันอีกครั้งซึ่งความรักครั้งนี้ต้องหัก ต้องบังคับฝืนใจกันอย่างเต็มกำลัง กล่าวกันว่าแม้พระภิกษุผู้มั่นคงในศีล เมื่อได้เจอเนื้อคู่ลำดับต้น ๆ ยังทนไม่ได้ ต้องสึกหาลาเพศมาอยู่กับเนื้อคู่ของตนจนได้ เหตุที่เนื้อคู่ลำดับต้นมาเกิดในชาติภพเดียวกัน แต่กลับไม่สมกันนั้น มีเหตุเดียว คือ กรรมพลัดพรากได้มาส่งผลเป็นวิบากแก่ทั้งคู่อย่างร้ายแรง หากกรรมนั้นใกล้จะหมดผลเขาทั้งสองก็อาจได้เป็นคู่ครองกันในชาตินั้น แต่หากกรรมนั้นยังรุนแรงอยู่ทั้งสองก็ต้องทนทุกข์ทรมานชดใช้กรรมนั้นให้หมด แล้วจึงจะได้มีวาสนาอยู่ร่วมกันในชาติต่อ ๆ ไป

    เหตุที่อกหักผิดหวังในความรัก
    นอกจากการผิดหวังจากเนื้อคู่ลำดับต้น ๆ ซึ่งเกิดจากกรรมพลัดพรากแล้ว บางครั้งคนเราก็อาจต้องผิดหวังในความรัก โดยมีเหตุมาจากกรรมทั้งสิ้น คืออยู่กับคู่ครองไม่มีความสุข ทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นประจำหรือมีปัญหาให้ทุกข์ใจตลอด เหตุที่เป็นดังนี้ แสดงว่าคู่ครองนั้นไม่ใช่เนื้อคู่ลำดับที่ ๑-๕ เนื่องจากกรรมจากการเป็นคนไม่ดี ไม่มีศีลธรรมส่งผลให้ไม่ได้พบเนื้อคู่ลำดับต้น ๆ หรืออาจเป็นเพราะทั้งสองไม่ใช่เนื้อคู่กัน แต่ทั้งคู่เป็นศัตรูคู่อาฆาต ได้เคยผูกใจเจ็บกันมา ชาตินี้จึงต้องมาแก้แค้นกันเอง และแรงอาฆาตได้ผลักดันให้ทั้งสองมาอยู่ร่วมกัน และแก้แค้นกันเองตามแรงอาฆาตนั้น หรือบางคนรักเขาข้างเดียว อกหักบ่อยครั้ง โดยที่อีกฝ่ายไม่ได้สนใจด้วยเลย เหตุนี้เกิดขึ้นเนื่องจากอดีตชาติเคยอาฆาตเขาไว้ แต่เขาไม่ได้อาฆาตตอบและไม่ได้ถือโกรธด้วย ชาตินี้จึงต้องทนทุกข์ทรมานเพราะเขาอยู่เพียงฝ่ายเดียว อย่างนี้ไม่ได้เป็นเนื้อคู่ เป็นเพียงคู่กรรมเท่านั้น

    ทำอย่างไรจึงจะได้อยู่ร่วมกัน
    เมื่อความรักหวานชื่น คู่ครองทั้งหลายย่อมต้องอยากเกิดมาเป็นเนื้อคู่กันอีก ซึ่งผลกรรมก็ได้จัดสรรการเกิดมาเป็นคู่ครองกันอีกตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่นอกจากการรอให้กรรมเป็นตัวจัดสรรแล้ว เรายังสามารถเลือกที่จะได้พบและอยู่เป็นคู่ครองกับเนื้อคู่ของเราได้ในอนาคต โดยการอธิษฐาน แต่แม้จะมีอธิษฐานร่วมกัน สุดท้ายการได้อยู่ร่วมกันก็ยังต้องขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรมอยู่ดี การอธิษฐานนั้นมีทั้งประโยชน์และโทษคือ ในด้านประโยชน์ ทำให้เนื้อคู่ทั้งสองมีโอกาสกลับมาเป็นคู่ครองกันในชาติต่อ ๆไป ได้ง่าย แต่ในแง่ของโทษ บางครั้งก็ทำให้การใช้ชีวิตไม่เป็นปกติสุข เช่น หากเนื้อคู่ที่อธิษฐานกันไว้ไม่ได้มาเกิด หรือมาเ กิดแล้วแต่ยังไม่ได้พบกัน ฝ่ายที่รออยู่จะไม่สามารถมีคู่ได้ จิตใจไม่รักใคร หรือแม้จะได้พบเนื้อคู่ลำดับต้น ๆ แต่ก็มีเหตุให้ไม่สมหวังทุกครั้งไป เนื่องจากแรงอธิษฐานนั้นฉุดรั้งไว้ หรือบางครั้งจิตใจมีสังหรณ์อยู่เสมอว่ารอคอยใครอยู่ ทั้งที่ไม่รู้ว่ารอคอยใคร
    ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน จึงสรรหาเพื่อทุกท่านจริงๆครับ
    โดย สิริ ศรีสมบัติ


    <SCRIPT>DWRITE('cf.postContentPanel.displaySource',[,[[,1,[,"เรื่องเกี่ยวกับบุพเพสันนิวาส : วัดเกาะวาลุการาม เว็บธรรมะ TOP HiT","http://www.watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID\u003d1408","บุพเพสันนิวาส"]]]],'csuid2_source');</SCRIPT><TABLE><TBODY><TR style="VERTICAL-ALIGN: top"><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; WHITE-SPACE: nowrap; FONT-SIZE: 14px"></TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE><TBODY><TR style="VERTICAL-ALIGN: top"><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; WHITE-SPACE: nowrap; FONT-SIZE: 14px"></TD><TD width="100%">
    </TD></TR></TBODY></TABLE>การอ้างอิง
    <SCRIPT>DWRITE('cf.postContentPanel.displaySource',[,[[,1,[,"เรื่องเกี่ยวกับบุพเพสันนิวาส : วัดเกาะวาลุการาม เว็บธรรมะ TOP HiT","http://www.watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID\u003d1408","บุพเพสันนิวาส"]]]],'csuid2_source');</SCRIPT><TABLE><TBODY><TR style="VERTICAL-ALIGN: top"><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; WHITE-SPACE: nowrap; FONT-SIZE: 14px">[1]</TD><TD width="100%">เรื่องเกี่ยวกับบุพเพสันนิวาส : วัดเกาะวาลุการาม เว็บธรรมะ TOP HiT(เว็บ)
    www.watkoh.com



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2012
  8. sirisrisombat

    sirisrisombat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2011
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +32
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD colSpan=2>กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร
    1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
    2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
    3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
    4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
    5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
    6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
    7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
    8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
    9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
    10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)
    [​IMG]ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
    [​IMG]สูตรนี้ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาละมะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาละมะนั้นเป็นชาวเกสปุตตะนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก 10 ข้อ

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>[​IMG]


    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>ตัวอย่าง


    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    1. อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ประเภท "เขาว่า" "ได้ยินมาว่า" ทั้งหลาย
    2. อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆกันมา ประเภท "ใครๆว่า" "โบราณว่า" ตามกระแส
    3. อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เข่าว่าอย่างนี้ ประเภทข่าวลือ ข่าวโคมลอย ทั้งหลาย
    4. อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าไปตามตำรามากนัก ตำราว่าอย่างนั้น ต้องออกมาเป็นอย่างนั้น เท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะอย่าลืมว่า ตำราบางเล่ม คนแต่งก็มั่วมาบ้าง เขียนไม่ครบบ้าง ใส่ไข่เอาเองบ้าง คนมีกิเลสไปแก้ไขตำรา คนมีผลประโยขน์ ไม่แก้ไขตำราเท่ากับเราโดนหลอก
    5. อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เช่น เข้าใจเอาเอง หรือข้อมูลไม่พอ ใจร้อนเดาสุ่มเอา มั่วๆ เอา
    6. อย่าได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ เพราะเห็นแค่ร้อย อย่าเหมาว่าที่ร้อยเอ็ดจะเป็นไปด้วย
    7. อย่าได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ ให้คิดเผื่อๆไว้ด้วย เช่น เห็นคนไข้เป็นแบบที่เคยรักษาคนอื่นๆมาก่อน อย่าไปตรึกเอาเองว่าเป็นแบบนั้น เห็นเงาก็จ่ายยาได้ เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าเข้าข้างตนเอง นั่งสมาธิเห็นโน่น เห็นนี้ อย่านึกว่าเป็นจริง เพราะอาจจะเป็นจิตหลอกจิต
    8. อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อะไรที่ตรงกับที่ตนคิดไว้เท่านั้นที่เชื่อได้ คนคิดแบบนี้ ดื้อตายชัก
    9. อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ระวังจะโดนหลอก อย่าลืมว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
    10. อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา การยึดอาจารย์ของตนเองมากไป ก็ไม่ดี ควรทำตาม ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได้
    ดังนั้น แม้แต่ตัวกระผมเองก็ยังต้องพึงพิจราณา ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยการใช้สติ
    เช่นเดียวกับผู้อ่านทุกท่าน เช่นกันครับ
    โดย สิริ ศรีสมบัติ
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD colSpan=2>[​IMG] [​IMG] ติดต่อเรา [​IMG] กลับไปข้างบน
    <TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="86%"><<ก่อนหน้านี้
    </TD><TD width="14%">หน้าถัดไป>>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ผู้แต่ง พระธรรมปิฎก สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2546 หน้า 232​
    [​IMG][​IMG][​IMG]พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ ผู้แต่ง พระธรรมปิฎก สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2546 หน้า 13
    [​IMG][​IMG][​IMG]พระพุทธเจ้าสอนอะไร แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดย ร.ศ.ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร และคณะ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2547 หน้า 15-17
    [​IMG][​IMG][​IMG]คิดอย่างเป็นระบบ และ เทคนิคการแก้ปัญหา ผู้แต่ง ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ สำนักพิมพ์ อริยชน จำกัด หน้า 190-191
    [​IMG]โปรดใช้หลักอย่าเชื่อ 10 ประการ (กาลามสูตร) ในการพิจารณา ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาได้จากที่มาที่อ้างอิงครับ



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2012
  9. sirisrisombat

    sirisrisombat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2011
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +32
    พละ 4
    พละ 42 หมายถึง หลักธรรม 4 ประการที่เป็นกำลังในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จด้วยความมั่นใจและปลอดภัยมีดังนี้
    1. ปัญญาพละ หมายถึง ปัญญาที่เป็นกำลัง ให้รู้ดี รู้ชอบ รู้ถูกต้อง แล้วปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควรทั้งกายและใจ เพื่อจะได้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข คนทุกคนมีปัญญาแต่ไม่เท่ากัน คนที่มีปัญญาดีอาจจะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตได้มากกว่า ส่วนคนที่มีความรู้หรือปัญญาไม่ดีสะสมเพิ่มพูนได้เพราะปัญญาเกิดขึ้นโดย 3 ทาง คือ
    1.1 ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน คือได้รับการถ่ายทอดจากผู้อื่นโดยการฟังการอ่าน
    1.2 ปัญญาที่เกิดจากการพิจารณาหาเหตุผลด้วยตนเอง ตามพื้นฐานพันธุกรรม เช่น ฟังเรื่อง การปลูกฟักทอง กว่าจะได้ผลอีก 65 วัน แล้วนำมาศึกษาไตร่ตรองทดลองใหม่ ได้ฟักทองที่ให้ผลในเวลา 45 วันเป็นต้น
    1.3 ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติ ฝึกอบรมและสร้างสมประสบการณ์ด้วยตนเอง เช่น ช่างถ่ายรูปต้องเรียนรู้ทฤษฎีเกี่ยวกับกล้องถ่ายรูปก่อนแล้วมาฝึกการถ่ายรูปจนเกิดความชำนาญ ทำเป็นอาชีพได้
    2. วิริยะพละ หมายถึง ความเพียรพยายามที่เป็นพลัง ในการทำให้คนเราไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ โดยความเพียรนั้นต้องเป็นความเพียรชอบคือ
    2.1 เพียรพยายามไม่ให้เกิดความชั่ว ไม่ทำชั่วดูแลคนใกล้ชิดให้อบอุ่น ป้องกันให้ห่างไกลจากการคิดชั่ว ทำชั่ว เช่น ดูแลบุตรหลานไม่ให้ติดยาเสพย์ติด
    2.2 เพียรพยายามละความชั่วที่มีอยู่แล้ว เช่น ติดบุหรี่อยู่ก็เลิกเสีย
    2.3 เพียรสร้างความดี โดยการปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดี มีการเสียสละและช่วยเหลือส่วนรวมบ้าง เช่น การบริจาคโลหิต
    2.4 เพียรรักษาความดีและสร้างความดีเพิ่มขึ้น
    คนเราเมื่อมีปัญญาก็จะรู้จักคิด หาเหตุผล รู้ปฏิบัติ แต่ก็ไม่ได้ประสบผลสำเร็จไปทุกอย่าง บางทีก็มีอุปสรรค เราจึงต้องมีความเพียรมีความบากบั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเราจึงจะไปถึงจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
    3. อนวัชชพล หมายถึง การกระทำที่ไม่มีโทษเป็นกำลัง คือทำในสิ่งที่ดีที่เป็นมงคลผู้กระทำจะเกิดความเจริญก้าวหน้า การกระทำที่กล่าวนี้มี 3 ทางคือ
    3.1 กายกรรม คือการกระทำทางกาย เช่น การยืน การเล่น การสั่งสอน
    3.2 วจีกรรม คือการกระทำทางวาจาที่เป็นคำพูด เช่น การพูดคุย
    3.3 มโนกรรม คือ การกระทำทางใจ เช่น การนึกคิด การมีจิตเมตตา
    หลักเกณฑ์การพิจารณาว่า การกระทำใดเป็น อนวัชชพล
    1. ไม่ผิดกฏหมาย เช่น ฆ่าคน ค้ายาเสพย์ติด
    2. ไม่ผิดจารีตประเพณี เช่น การที่หญิงสาวบรรลุนิติภาวะ หนีตามผู้ชาย
    3. ไม่ผิดศีล เช่น พูดเท็จ ดื่มน้ำเมา
    4. ไม่ผิดธรรม เช่น การโกรธ การคิดอิจฉาริษยา
    การกระทำทางกาย วาจาและใจที่ไม่มีโทษย่อมได้รับการยกย่องชื่นชมจากผู้อื่นและยังเป็นพลังให้ผู้กระทำดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย
    4. สังคหพละ หมายถึง การสงเคราะห์เป็นกำลังเพราะคนเมื่ออยู่ร่วมกันในสังคม ก็ควรจะช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อสร้างความรักความสามัคคี ในทางพระพุทธศาสนามีหลักธรรมในการสงเคราะห์ผู้อื่น เรียกว่า สังคหวัตถุ 4 ได้แก่
    4.1 ทาน คือ การให้โดยไม่ต้องการสิ่งตอบแทน ให้กับผู้ที่ต้องการ ผู้ที่เดือดร้อนขาดแคลนหรือผู้มีพระคุณ การให้อาจเป็นวัตถุสิ่งของ คำแนะนำหรือข้อคิด ของที่ให้ต้องไม่ผิดกฏหมาย ไม่ผิดศีลธรรม ผู้ให้มีความสุขผู้รับก็พอใจ
    4.2 ปิยวาจา คือการใช้วาจาที่สุภาพประกอบด้วยเหตุผลที่มีประโยชน์ ฟังแล้วสร้างสรรใช้คำพูดที่ไพเราะอ่อนหวาน ไม่ใช้คำหยาบ ไม่นินทาผู้อื่น ผู้ที่มีปิยวาจาจะเป็นที่รักของผู้อื่น
    4.3 อัตถจริยา คือการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นตามโอกาสอันควรในฐานะที่ต้องอยู่ร่วมสังคมกัน เช่น บริจาคของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
    4.4 สมานัตตตา คือ ความเสมอต้นเสมอปลาย ในการวางตนให้เหมาะสมกับสถานะของตนไม่หวั่นไหวตกอยู่ในความชั่วทั้งหลาย เช่น การทำตนเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ทุก ๆ วัน ไม่ใช่ทำตนดีเฉพาะวันพ่อหรือวันแม่เท่านั้น
    พละ 4 นี้เป็นธรรมที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจและปลอดภัยแล้วยังส่งเสริมให้เกิดความสงบสุขด้วยการอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

    ผมจึงขอใช้หลักธรรมพละ๔นี้แทนคำตอบที่ท่านได้กรุณาโทรมาปรึกษาเมื่อ
    ค่ำวานนี้ และขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญฯ
    อนุโมทนา
    สิริ ศรีสมบัติ
     
  10. sirisrisombat

    sirisrisombat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2011
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +32
    กราบ นมัสการพระคุณเจ้า
    วัดรอมพระเจ้าตอง ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
    ขอน้อมอาราธนาอัญเชิญ พระอายุรักษา ปางมหาปรินิพพาน
    ที่ทำจากไม้แกะสลักจากต้นตะเคียน อายุหลายร้อยปี
    ตามที่ท่านพระคุณเจ้า บอกบุญผ่านทางสถานีวิทยุคลื่นพระพุทธศาสนา
    เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ร่วมงานพิธีอัญเชิญพระแกะสลักไม้เพื่อเคลื่อนย้าย
    มาประดิษฐาน ณ พระวิหาร ระหว่างวันที่๑๙/๒/๒๕๕๕ เลา ๙:๑๐ น
    เริ่มพิธีอัญเชิญ
    บัดนี้สำเร็จเสร็จสิ้นลงแล้ว ข้าพเจ้าในนามศิษย์ญานุศิษย์ ขอร่วมอนุโมธนาบุญ
    อันเป็นกุศลใหญ่หลวงในครั้งนี้ จงเป็นพละปัจจัยอุปนิสัย จงมีแก่ข้าพเจ้า
    ศิษย์ญานุศิษย์และคณะศรัทธาทุกท่าน พร้อมด้วยเดชแห่งคุณศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อให้ได้ข้ามพ้นวัฏสงสาร ทุกภพทุกชาติไปเทอญ ฯ
    ศิษย์ญานุศิษย์
    สิริ ศรีสมบัติ ๒๐/๒/๒๕๕๕
     
  11. poonaa

    poonaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +51
    ขอบพระคุณค่ะ

    ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณสิริแล้วค่ะ ขอบพระคุณมากนะคะที่ได้บอกถึงอดีตที่ได้ทำมาและส่งถึงปัจจุบันที่เป็นอยู่ น้อมรับคำแนะนำไปปฏิบัติต่อไป ขอให้ตัวเองก้าวล่วงวิบากกรรมอีกหนึ่งอึดใจด้วยสติสัมปชัญญะที่มีอยู่(คุณสิริเปรียบให้รู้ว่าตอนนี้วิบากกรรมของตัวเองอยู่ที่คอแล้ว ถ้าถึงปากใกล้จมูกจะก้าวล่วง) อยากมีชีวิตใหม่ซะทีค่ะ ขออนุโมทนาบุญกับทุกความเมตตาที่คุณสิริมีให้โดยมิได้หวังผลตอบแทน

    ปล เป็นคนเหนือที่โทรหาคุณสิริแต่เช้าตรู่(7.30 น 20/02/12) ได้ส่งภาษาเหนือเล็กน้อยระหว่างสนทนาใกล้จบ
     
  12. sirisrisombat

    sirisrisombat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2011
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +32
    กราบนมัสการท่านพระคุณเจ้า
    พระอาจารย์นพน สังฆโสภโณ
    วัดรอมพระเจ้าตอง ตําบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
    กระผมติดตามเสียงอ่านพระธรรมจากพระไตรปิฎกของพระอาจารย์
    มาตั้งแต่ปีพ.ศ2551ทางสถานีวิทยุกองทัพภาคที่3 ตำบลอุโมง จ.ลำพูน
    (ช่วงเช้าวันอาทิตย์)กระผมบูชาพระคุณ และระรึกถึงต่อความมีเมตตาธรรมของพระอาจารย์เสมอมา ด้วยการปฎิบัติให้ทาน รักษาศีล ภาวนา และช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ ตามกำลังความสามารถเช่นปุถุชนพึงกระทำ ตามแนวทางที่พระอาจารย์ได้วางเป็นแบบอย่างโดยไม่ย้อท้อ
    บุญกุศลใดที่กระผมกระทำไว้ดีแล้ว ด้วยจิตใจอันบริสุทธิขอบุญกุศลนั้นจงมีแด่พระอาจารย์ และแก่ญาติทั้งหลายทุกท่านทุกคนเทอญฯ
    จาก สิริ ศรีสมบัติ
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูิหิ(เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2013
  13. แผ่บารมี

    แผ่บารมี สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    ผมไม่แน่ใจว่าเป็น อาจารย์ มีชัย ที่อยู่แถวๆปั๊มเอสโซ่ใกล้ๆกับตลาดเมืองใหม่หรือเปล่า..เป็นผู้ชายมีอายุพูดเร็ว แม่น ตรง
     
  14. sirisrisombat

    sirisrisombat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2011
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +32
    เรียนเชิญ ดาว์โหลดเสียงอ่านพระไตรปิฎก พระอ.นพน สังฆโสภโณ

    ผมเคยโทรศัพท์กราบนมัสการ เรียนขออนุญาตจากพระอาจารย์ นพน สังฆโสภโณ วัดลอมพระเจ้าตอง ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
    เพื่อช่วยประสานงานบอกบูญแด่พุทธศาสนิกชนทุกท่าน เกี่ยวกับกิจกรรมของทางวัดอีกช่องทางหนึ่ง ท่านฯรับทราบแล้ว
    ดังนั้นกระผมจึงอยากเชิญชวนกัลญาณมิตร กัลญาณธรรมทุกท่าน
    โดยเฉพาะสหธรรมิกจังหวัดกาญจนบุรี และคนไทยทุกท่านที่อยู่ต่างประเทศ
    เบลเยี่ยม,สหรัฐอเมริกา ที่โทรมาปรึกษากับผมเมื่อวานนี้ 28/2/2555
    สิ่งที่ผมพูดคุยกับท่าน พร้อมด้วยหลักธรรมต่างๆ ส่วนหนึ่งได้จากสุตะ
    จากการฟังเสียงอ่านพระธรรมจากพระไตรปิฎก แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของท่านพระอาจารย์ นพน สังฆโสภโณ วัดลอมพระเจ้าตอง
    เพื่อเป็นแสงสว่างนำทางชีวิต กระผมจึงอยากเผื่อแผ่แสงสว่างแห่งธรรมะนี้
    แด่พุทธศาสนิกชนทุกท่าน ทุกคนด้วยเช่นกันครับ
    ขั้นตอนมีดังนี้ครับ
    พิมพ์ สถานีวิทยุเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาลำพูน หรือท่านจะคลิ๊กที่ขีดเส้นสีแดงด้านล่างนี้ก็ได้
    สถานีวิทยุเพื่อการศึกษาพระพุทธศานา มูลนิธิอาภิธัมมิกวิชชาลัย FM 101.0 ...




    <CITE>www.watlom.com/watlom02.html</CITE> - แคช
    คุณ +1 รายการนี้สู่สาธารณะ เลิกทำ
    10 พ.ย. 2011 – แนะในท่านควรใช้ระบบอินเตอร์เน็ต Exp lorer นะครับ สถานีวิทยุธรรมะ เพื่อการศึกษา พระพุทธศาสนา โดย มูลนิธิอาภิธัมมิกวิชชาลัย คลื่นความถี่ FM 101.0 MHz ...


    คลิก หน้าแรก
    เลื่อนเม้าท์ลงมาด้านล่างสุด ท่านจะเจอรูปภาพพระพุทธรูปสีขาวนวล
    และข้อความโหลดเสียงอ่านพระไตรปิฎก คลิ๊กตรงลูกศรชี้ ครับ
    จาก สิริ ศรีสมบัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2012
  15. sirisrisombat

    sirisrisombat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2011
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +32
    ขอแสดงความยินดีต่อกัลยาณมิตร
    ที่ท่านต้องการบวชชีพราหมณ์
    ณ.วัดไทยในเยอรมัน
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
    จาก สิริ ศรีสมบัติ
     
  16. sirisrisombat

    sirisrisombat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2011
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +32
    ขอเดชแห่งคุณ ศีล สมาธิ ปัญญา(ของข้าพเจ้า)
    พร้อมด้วยอำนาจ บุญบารมีที่ท่านกระทำไว้ดีแล้ว
    เป็นดั่งกำแพงแก้วเจ็ดชั้น จงบังเกิดเป็นเกราะป้องกัน ตัวท่านและครอบครัว
    จากภัยอันตรายทั้งปวงด้วยเทอญฯ
    ส่งถึงท่านที่อาศัยอยู่ณ.ประเทศฟินแลนด์ (Finland)
    จาก สิริ ศรีสมบัติ
     
  17. sirisrisombat

    sirisrisombat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2011
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +32
    น้อมในธรรม
    เคารพธรรม
    ประพฤติธรรม
    บำเพ็ญธรรม
    เท่านี้ท่านก็สามารถมีกำลังใจฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆทั้งปวงได้แล้วครับ!
    ขอส่งแรงใจแด่ท่านที่อาศัยอยู่ ณ.ประเทศอังกฤษ 17/3/2555
    10:30 น. ตามเวลาในประเทศไทย
    จาก สิริ ศรีสมบัติ
     
  18. goodone

    goodone Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +77
    จากเมลเบิล ออสเตเลียคะ ดีใจมากที่สามารถคุยกับคุณศิริ ทางโทรศัพท์แล้วคะ หากว่างแล้วกรุณาช่วยด้วยนะคะ
     
  19. sirisrisombat

    sirisrisombat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2011
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +32
    ธรรมะโอสถโดย พระนพน สังฆโสภโณ

    พระอาจารย์ท่านมีเมตตาสูงมากครับ
    เพราะท่านเป็นพระนักปฎิบัติอีกองค์หนึ่งแห่งยุคนี้ ท่านเคยออกธุดงค์โปรดสัตว์กลางป่าดงแถวๆจังหวัดกาญจนบุรีมาไม่น้อยกว่า5ปีและศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน เชี่ยวชาญทั้ง3ปิฎก อีกทั้งท่านสามารถอธิบายและแปลอรรถธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างยอดเยี่ยมและชัดเจนไพเราะโดยที่ผู้ฟังสามารถนึกเห็นภาพ เสมือนว่าเราได้อยู่ร่วมในเหตุกาลนั้นๆตามไปด้วยจริงๆ
    ท่านเคยเป็นพระอาจารย์สอนภิกษุ สามเณร ในวัดแห่งหนึ่งกลางเมืองเชียงใหม่จนกระทั่งท่านได้ดำริสร้างอาราม และขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ยกระดับขึ้นเป็นวัด (แต่ปรากฎว่า เคยมีชื่อและเป็นวัดร้างมาก่อนเมื่อเจ็ดร้อยกว่าปีที่แล้ว เพราะอยู่ในสารบบของทางอำเภอ)อายุรวมกับปัจจุบันทั้งหมดไม่ต่ำกว่า หนึ่งพันห้าร้อยปี จากคำบอกเล่าของเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันและลูกศิษย์ โดยได้แรงสนับสนุนจากคณะศรัทธาชาวบ้านแถบนั้นเพื่อจัดตั้งสถานี
    วิทยุคลื่นสถานีวิทยุเพื่อการศึกษาพระพุทธศานา มูลนิธิอาภิธัมมิกวิชชาลัย FM 101.0 ...
    หากคลิ๊กจากตัวหนังสีแดงด้านบนนี้เมื่อเข้าไปได้แล้วให้คลิ๊ก หน้าแรก...เลื่อนลงล่างสุดครับ

    (1) สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่วัดลอมพระเจ้าตอง เลขที่105หมู่ที่7ตำบล มะกอก อำเภอ ป่าซาง จังหวัด ลำพูน รหัสไปรษณีย์51120โทรศัพท์(053)555256
    081-2899971 (เบอร์โทรศัพท์พระอาจารย์)
    และกระผมได้มีโอกาสไปกราบนมัสการเรียนถามท่าน ถึงที่ในวัดในหลายๆเรื่อง
    ท่านก็เมตตาตอบให้กระผมคลายข้อสงสัย แต่การก่อสร้างพระอุโบสถจำต้องมีอันชงักเพราะท่านที่เป็นเจ้าภาพท่านได้เสียชีวิตลงไปเสียก่อนโดยปล่อยทิ้งร้างเอาไว้และรอคอยผู้มีจิตศรัทธา ที่มีกำลังทรัพย์สนับสนุนการเงินต่อไปแต่ก็ผ่านไปโดยไร้วี่แวว เพราะท่านฯไม่สามารถจะเชิญชวนบอกบุญได้ด้วยตนเองเพราะขัดต่อพระวินัยสงฆ์ ตัวผมเองก็ใช่ร่ำรวยเงินทองได้แต่ถวายโภชนาอาหารและปัจจัยเล็กน้อยเพื่อเป็นค่าน้ำค่าไฟเท่านั้น หากท่านใดที่มีจิตศรัทธาอยากร่วมสร้างอุโบสถให้สำเร็จ หรือจะร่วมอนุโมทนาให้กำลังใจพระอาจารย์กระผมขอเรียนเชิญติดต่อทางโทรศัพท์กับท่านโดยตรง หรือจะไปที่วัดเพื่อศึกษาพระธรรมจากท่านเลยก็จะเป็นการดีครับ วัดของพระอาจารย์อยู่ท่ามกลางป่าไม้ใหญ่ร่มรื่นมีเสียงนกร้อง เช่นเดียวกับเสียงในซีดีนั้นเลยครับ สามารถดาวน์โหลดฟังเสียงอ่านพระธรรมจากผลงานของพระอาจารย์ดูก่อนได้ครับโดยการคลิ๊กตัวหนังสือสีแดงที่พิมพ์คำว่าสถานีวิทยุเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาด้านบนนั้นหรือจะย้อนกลับไปดูหน้าที่ผ่านมาที่ผมโพสต์เชิญดาวน์โหลดเสียงอ่านจะมีวิธีบอกไว้อย่างย่อๆครับ
    ส่วนท่านที่อาศัยอยู่ที่เมืองเมลเบิร์นประเทศออสเตรเลีย ท่านสามารถดาวน์โหลดเสียงอ่านเพื่อสร้างบารมีให้กับตัวเองแล้วอุทิศส่วนกุศลจากการฟังเสียงอ่านแด่ ภิกษุ สามเณร ที่ท่านมรณภาพล่วงลับไปแล้วในอดีติชาติ ปัจจุบันชาติ และอนาคตกาลข้างหน้า พร้อมด้วยการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา (เวลาทำบุญทำที่วัดนะครับ)ส่วนศีล ภาวนา ทำทีบ้านหรือที่ไหนๆก็ได้ครับ
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
    จาก สิริ ศรีสมบัติ
    เสียงอ่านพระไตรปิฎกวัดลอมพระเจ้าตอง กดคลิ๊กตรงลูกศรชี้ดาวน์โหลดข้างล่างนี้ได้เลยครับ

    [​IMG]


    <!-- google_ad_section_end -->









    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>Artist: วัดลอมพระเจ้าตอง(ตัวอย่างเท่านั้นครับไม่สามารถฟังได้ทันที)
    ใช้ได้เฉพาะด้านบนครับ!ที่มีสัญลักษณ์ลูกศรชี้ดาวน์โหลด










    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>ไฟล์แนบข้อความ</LEGEND><TABLE border=0 cellSpacing=3 cellPadding=0><TBODY><TR><TD width=20><INPUT id=play_61147 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61147.value; value=attachment.php?attachmentid=61147 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>จักรวัตรสูตร ๑.mp3 (41.50 MB, 4160 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61148 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61148.value; value=attachment.php?attachmentid=61148 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>จักรวัตรสูตร ๒.mp3 (38.48 MB, 2648 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61149 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61149.value; value=attachment.php?attachmentid=61149 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>เปรตวัตถุ ๑.mp3 (40.31 MB, 1639 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61150 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61150.value; value=attachment.php?attachmentid=61150 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>เปรตวัตถุ ๒.mp3 (41.56 MB, 1369 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61185 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61185.value; value=attachment.php?attachmentid=61185 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>พรหมายุสูตร.mp3 (41.83 MB, 1966 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61186 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61186.value; value=attachment.php?attachmentid=61186 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>พุทธอุทาน ๑.mp3 (43.35 MB, 1964 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61190 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61190.value; value=attachment.php?attachmentid=61190 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>พุทธอุทาน ๒.mp3 (42.93 MB, 1345 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61191 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61191.value; value=attachment.php?attachmentid=61191 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>พุทธอุทาน ๓.mp3 (41.82 MB, 1335 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61197 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61197.value; value=attachment.php?attachmentid=61197 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>พุทธอุทาน ๔.mp3 (41.67 MB, 1909 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61198 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61198.value; value=attachment.php?attachmentid=61198 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>พุทธอุทาน ๕.mp3 (42.39 MB, 1914 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61199 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61199.value; value=attachment.php?attachmentid=61199 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>พุทธอุทาน ๖.mp3 (41.40 MB, 706 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61200 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61200.value; value=attachment.php?attachmentid=61200 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>พุทธอุทาน ๗.mp3 (41.27 MB, 1346 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61201 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61201.value; value=attachment.php?attachmentid=61201 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>อัคคัญญสูตร.mp3 (47.03 MB, 1391 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61257 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61257.value; value=attachment.php?attachmentid=61257 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>อิติวุตตกะ ๑.mp3 (42.36 MB, 1163 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61260 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61260.value; value=attachment.php?attachmentid=61260 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>อิติวุตตกะ ๔.mp3 (42.45 MB, 1836 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61262 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61262.value; value=attachment.php?attachmentid=61262 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>อังคุตติกะ ๑.mp3 (44.57 MB, 1918 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61264 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61264.value; value=attachment.php?attachmentid=61264 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>อังคุตติกะ ๒.mp3 (43.07 MB, 1849 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61265 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61265.value; value=attachment.php?attachmentid=61265 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>อิติวุตตกะ ๓.mp3 (42.70 MB, 1946 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61266 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61266.value; value=attachment.php?attachmentid=61266 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>อังคุตติกะ ๔ N 304.mp3 (82.72 MB, 1372 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61267 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61267.value; value=attachment.php?attachmentid=61267 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>เสลสูตร.mp3 (43.04 MB, 1192 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61268 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61268.value; value=attachment.php?attachmentid=61268 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>จูฬกัมม-คณกโมคคัลลานสุตร.mp3 (43.48 MB, 2001 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61280 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61280.value; value=attachment.php?attachmentid=61280 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>มหาขันธกะ ๑.mp3 (42.03 MB, 1697 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61281 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61281.value; value=attachment.php?attachmentid=61281 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>มหาขันธกะ ๒.mp3 (42.85 MB, 1924 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61282 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61282.value; value=attachment.php?attachmentid=61282 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>มหาขันธกะ ๓.mp3 (43.82 MB, 943 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61283 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61283.value; value=attachment.php?attachmentid=61283 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>มหาขันธกะ ๔.mp3 (41.39 MB, 1481 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61285 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61285.value; value=attachment.php?attachmentid=61285 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>มหาขันธกะ ๕.mp3 (43.05 MB, 940 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61288 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61288.value; value=attachment.php?attachmentid=61288 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สุทินภาณวารw.mp3 (42.10 MB, 926 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61289 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61289.value; value=attachment.php?attachmentid=61289 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>ปาราชิก ๒-๓.mp3 (42.08 MB, 960 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61290 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61290.value; value=attachment.php?attachmentid=61290 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>ปาราชิก ๔.mp3 (41.34 MB, 732 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61294 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61294.value; value=attachment.php?attachmentid=61294 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>มหาขันธกะ ๖.mp3 (43.37 MB, 1490 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61295 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61295.value; value=attachment.php?attachmentid=61295 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>มหาขันธกะ ๗.mp3 (44.48 MB, 1480 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61297 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61297.value; value=attachment.php?attachmentid=61297 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สังฆาทิเสส ๑-๕.mp3 (42.21 MB, 757 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61299 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61299.value; value=attachment.php?attachmentid=61299 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สังฆาฑิเสส ๖-๘.mp3 (44.07 MB, 1473 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61300 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61300.value; value=attachment.php?attachmentid=61300 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สังฆาทิเสส ๙-๑๓.mp3 (44.39 MB, 1472 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61308 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61308.value; value=attachment.php?attachmentid=61308 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>อนิยต.mp3 (43.74 MB, 1503 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61310 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61310.value; value=attachment.php?attachmentid=61310 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สุตตนิบาต ๑.mp3 (39.63 MB, 1285 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61311 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61311.value; value=attachment.php?attachmentid=61311 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สุตตนิบาต ๒.mp3 (41.34 MB, 2025 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61312 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61312.value; value=attachment.php?attachmentid=61312 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สุตตนิบาต ๓.mp3 (42.80 MB, 129 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_61313 onclick=document.all.music.url=document.all.play_61313.value; value=attachment.php?attachmentid=61313 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สุตตนิบาต ๔.mp3 (45.15 MB, 1413 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_62201 onclick=document.all.music.url=document.all.play_62201.value; value=attachment.php?attachmentid=62201 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>นิพเพธิก - ฐาน อ.จันทนา ๒๘๙.mp3 (40.81 MB, 278 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_62369 onclick=document.all.music.url=document.all.play_62369.value; value=attachment.php?attachmentid=62369 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>ปรายน - อุทก อ.จันทนา.mp3 (42.37 MB, 234 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_62370 onclick=document.all.music.url=document.all.play_62370.value; value=attachment.php?attachmentid=62370 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สารีปุตปทาน ๑ พรพิมล.mp3 (82.73 MB, 763 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_62371 onclick=document.all.music.url=document.all.play_62371.value; value=attachment.php?attachmentid=62371 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สารีปุตปทาน ๒ พรพิมล.mp3 (87.76 MB, 256 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_62377 onclick=document.all.music.url=document.all.play_62377.value; value=attachment.php?attachmentid=62377 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สมาธิ พรพิมล.mp3 (41.43 MB, 141 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_62468 onclick=document.all.music.url=document.all.play_62468.value; value=attachment.php?attachmentid=62468 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>กรรมวลี พรพิมล.mp3 (41.52 MB, 728 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_62480 onclick=document.all.music.url=document.all.play_62480.value; value=attachment.php?attachmentid=62480 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สังสารวัฎฎ์ พรพิมล.mp3 (54.77 MB, 275 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_62743 onclick=document.all.music.url=document.all.play_62743.value; value=attachment.php?attachmentid=62743 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>ปิงคิยานี-สีล อ.จันทนา.mp3 (43.08 MB, 824 views)</TD></TR><TR><TD width=20><INPUT id=play_62770 onclick=document.all.music.url=document.all.play_62770.value; value=attachment.php?attachmentid=62770 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>อังคิก-สุมน อ.จันทนา.mp3 (42.33 MB, 861 views)</TD></TR></TBODY></TABLE></FIELDSET>
    <TABLE id=post5778937 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2 width=175></TD><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_5778937 class=alt1><CENTER></CENTER>




















    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE id=post5778937 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2 width=175></TD><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_5778937 class=alt1><CENTER></CENTER>




















    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2012
  20. sirisrisombat

    sirisrisombat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2011
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +32
    ส่งถึงท่านที่อาศัยอยู่ที่
    The City of Dundee - เมืองดันดี ประเทศสกอตแลนด์
    กัลยาณมิตร ความมีกัลยามิตร คือ มีผู้แนะนำสั่งสอน ที่ปรึกษา เพื่อนที่คบหาและบุคคลผู้แวดล้อมที่ดี , ความรู้จักเลือกเสวนาบุคคล หรือเข้าร่วมหมู่กับท่านผู้ทรงคุณทรงปัญญามีความสามารถ ซึ่งจะช่วยแวดล้อมสนับสนุน ชักจูง ชี้ช่องทาง เป็นแบบอย่าง ตลอดจนเป็นเครื่องอุดหนุนเกื้อกูลแก่กัน ให้ดำเนินก้าวหน้าไปด้วยดี ในการศึกษาอบรม การครองชีวิต การประกอบกิจการ และธรรมปฏิบัติ , สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดี ข้อนี้เป็นองค์ประกอบภายนอก
    คำว่า “กัลยาณมิตร” แปลความหมายคำ “กัลยาณ” ว่า หมายถึง งาม, ดี และ “มิตร” หมายถึง เพื่อนรักใคร่ที่สนิทสนมคุ้นเคย ดังนั้น กัลยาณมิตร จึงมีความหมายว่า เพื่อนที่ดี, เพื่อนที่งาม หรือเพื่อนที่รักใคร่คุ้นเคยที่ดี, เพื่อนรักใคร่คุ้นเคยที่งาม
    กัลยาณมิตร มิได้หมายถึงเพื่อนที่ดีตามความหมายทั่วไปเท่านั้น แต่เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม มีความตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม ทำหน้าที่ของชาวพุทธที่ดี เพื่อยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ผู้สั่งสอนแนะนำ ชักนำไปในหนทางที่ถูกต้องดีงาม

    เมื่อเราเป็นกัลยาณมิตรภายในให้กับตนเองแล้ว ก็ต้องทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้กับผู้อื่น โดยมีความสำนึกในหน้าที่อันสูงส่งนี้ว่า เป็นหน้าที่ที่มีเกียรติ มีค่าอย่างยิ่ง เป็นหน้าที่ของบัณฑิตและนักปราชญ์ทุกยุคทุกสมัย ต่างสรรเสริญและทำกันมาก่อนแล้วทั้งนั้น การทำหน้าที่กัลยาณมิตรภายนอก ทำได้โดย
    • ให้ความยิ้มแย้มแจ่มใส ให้ความสดชื่นเบิกบานใจกับทุกๆ คน
    • ให้ความเป็นมิตร ให้ความเป็นกันเอง ให้ความปรารถนาดีอย่างจริงใจกับทุกคน เป็นญาติยิ่งด้วยญาติ เป็นมิตรยิ่งด้วยมิตร
    • ให้คำแนะนำที่ดี ชี้หนทางที่ถูกให้เดิน ดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและเป็นไปเพื่อการสร้างบารมีอย่างแท้จริง
    • ให้อริยทรัพย์ แนะนำให้ทำบุญให้ถูกวิธีและถูกเนื้อนาบุญ เพื่อเปลี่ยนสามัญทรัพย์ให้เป็นอริยทรัพย์ติดตัวข้ามภพข้ามชาติ
    • ให้หนทางแห่งความสงบร่มเย็น ให้ความสุขที่แท้จริงแก่บุคคลทั้งหลาย โดยการปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงธรรมกาย แนะนำบุคคลทั้งหลายออกจากกามโดยธรรม
    • ให้ชีวิตการเป็นกัลยาณมิตร เวลาเป็นสิ่งมีค่ามากที่สุด เวลาที่ผ่านไปแต่ละวินาทีนั้นกลืนกินชีวิตของเราให้หมดไปด้วย แต่เพื่อประโยชน์แก่มวลมนุษย์ เราได้สละเวลาหรือชีวิต เพื่อทำหน้าที่กัลยาณมิตร ให้ทุกชีวิตได้เตรียมเสบียง ในการเดินทางในวัฎฎสงสาร ไปสู่จุดหมาย คือ นิพพาน
    จาก สิริ ศรีสมบัติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...