จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    พุทธวจน ธรรมวินัยจากพุทธโอษฐ์

    อัคคิเวสสนะ!
    อาสวะเหล่าใด อันกระทำให้เศร้าหมอง
    ทำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย
    มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติชรามรณะต่อไป
    เป็นอาสวะที่บุคคลใดละไม่ได้
    เรากล่าวบุคคลนั้นว่า เป็นคนหลงไหล.

    อัคคิเวสนะ! เพราะ ละอาสวะไม่ได้จึงเป็นคนหลงไหล.

    อัคคิเวสสนะ!
    อาสวะเหล่าใด อันกระทำให้เศร้าหมอง
    ทำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย
    มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติชรามรณะต่อไป
    เป็นอาสวะที่บุคคลใดละได้แล้ว
    เรากล่าวบุคคลนั้นว่า เป็นคนไม่หลงไหล.

    อัคคิเวสนะ! เพราะ ละอาสวะได้จึงเป็นคนไม่หลงไหล.

    อัคคิเวสสนะ!
    อาสวะเหล่าใด อันกระทำให้เศร้าหมอง
    ทำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย
    มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติชรามรณะต่อไป
    อาสวะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ทำให้มีรากขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลไม่มีขั้วยอดแล้ว ถึงความไม่มีไม่เป็น
    มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
    เปรียบเหมือนต้นตาลมีขั้วยอดขาดแล้ว
    ไม่อาจงอกงามอีกต่อไป ฉันใดก็ฉันนั้น.


    -มู. ม. ๑๒/๔๖๑/๔๓๑.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2015
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    [​IMG]
    ธิษฐานและอุทิศบุญให้ตรงให้แรง เกิดผลมากในธรรมทาน

    ครูบาอาจารย์ท่านเมตตาแนะนำว่า

    หนึ่ง ก่อนที่ทำธรรมทาน ขอให้วางจิตให้สงบนิ่ง สบายๆ ระลึกว่า เรากำลังสร้างบุญ
    สร้างกุศลให้คนอื่นได้พ้นทุกข์ ได้พ้นจากความยากลำบาก
    แต่เขาจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับกรรมของเขา

    สอง ขณะทำอย่าไปเสียดาย อย่าไปคิดมาก ให้คิดเหมือนก่อนทำคือ
    เรากำลังสร้างบุญ สร้างกุศลให้คนอื่นได้พ้นทุกข์
    ได้พ้นจากความยากลำบาก ตามกำลังของเรา

    สาม เมื่อทำเสร็จแล้ว ก็วางจิตให้สบาย และอธิษฐานขอให้ผลบุญนี้ส่งผลให้เราเป็นผู้พ้นทุกข์
    เป็นผู้พ้นจากอบายทั้งปวง มีสติปัญญาที่ถูกศีล ถูกธรรม ได้พบกับกัลยาณมิตร
    การงานอาชีพที่เราทำแล้วเกิดผลบุญ ทรัพย์ที่ควรได้
    เหมาะสมกับเราไม่เกินกำลัง ไม่ฝืนกรรม

    การอุทิศบุญนั้น ควรเจาะจง ระบุชื่อลงไปว่าเราจะอุทิศให้ใคร ตั้งจิตระลึกถึงหน้าท่านให้ดี
    ให้ได้ มีหลายท่านทำได้ถึงแบบเห็นท่านยิ้มเป็นสุข นั่นคือ ของวิเศษแล้ว

    ไม่ว่าจะเป็นศัตรู เจ้ากรรมนายเวร ผู้มีพระคุณได้ทั้งสิ้น

    ฝ่ายดีจะอุ้มชูส่งเสริม เชื่อมบุญกันไป หนุนกันไปตลอดสาย

    ฝ่ายร้าย หรือฝ่ายที่กำลังมีปัญหา ผลกรรมไม่ดีจะยากตามทัน เพราะบุญนำโด่งไปก่อนแล้ว

    หลายท่านบอกว่า เวลาสร้างบุญไม่ได้ติดชื่อคนที่จะอุทิศเขาจะได้รับหรือไม่

    ขอให้เข้าใจตรงกันว่า การจะได้รับหรือไม่นั้น ไม่ได้อยู่ที่การติดชื่อบนสิ่งของ

    อยู่ที่จิตของเรา และที่สำคัญที่สุดจิตของเขารับหรือไม่รับ เขาอยู่ในภพภูมิที่รับได้หรือไม่ หวังว่าพอจะเข้าใจกัน

    ขอให้ทุกท่านเจริญๆ ยิ่งขึ้นไป

    ขอบุญรักษา

    โดย ธ. ธรรมรักษ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    กระทู้นี้ดูเงียบๆไปนะคะ คงเป็นไปตามกาลและเวลา:cool:
     
  5. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    ‪#‎แสงในจิต‬
    ‪#‎สว่างในใจ‬
    มาทำจิตให้มีแสงสว่าง
    มาทำความว่างให้กับจิตตน
    มาทำความสบายใจให้กับตนเอง
    ด้วยการนำจิตมาเดินตามอริยมรรค
    คือ มรรคมีองค์๘
    เรียกย่อๆ ศี ล ส ม า ธิ ปั ญ ญ า
    หรือ ท า น ศี ล ภ า ว น า
    คนส่วนใหญ่ที่เป็นทุกข์
    คือ รู้สึกทุกข์ใจอยู่ในขณะนี้ ก็เพราะว่า..
    เราไม่ทำแสงในจิต
    เราไม่ทำความสว่างในใจตนให้เกิดขึ้น
    สรุป.. เราไม่พยายามทำใจให้สบายกัน
    รู้กันยัง.. จิตตนกำลังหลง หรือสนใจอะไรอยู่
    ส่วนจิตผู้ไม่หลง ก็ให้ดูตัวอย่าง พระพุทธเจ้า
    หรือพระอริยเจ้านั่นไง ดูจิตท่านเป็นตัวอย่าง
    ดูสิ จิตเขาเหล่านั้น เขากำลังสนใจเรื่องอันใด
    แล้วจงมองย้อนกลับมาดูที่จิตตนเองว่า.. กำลังสนใจอะไร
    เห็นไหม เห็นหรือยัง.. เห็นชัดไหม
    ส่วนคนที่ยังไม่มีสติ ไม่ฝึกจิต แล้วเราจะไปรู้ไหม
    โดยเฉพาะสิ่งที่ตนกำลังกระทำอยู่ปัจจุบันนี้ฯ
    เรารู้ไหมว่า มันมิได้ติดตามดวงจิตเราไปเลยในภพหน้าโลกหน้า
    หรือโลกทิพย์ คือ โลกจิตวิญญาณ หรือโลกหลังความตาย
    ดูๆไป ที่เรากำลังมีลมหายใจกันอยู่นี้.. เรากำลังอยู่กับสมมุติกันทั้งเลย
    หรือ เรามีลมหายใจกันชั่วคราวเท่านั้นเอง หาสาระใดๆไม่มี
    แต่จงทำไร้สาระนั้น ให้เป็นสาระ แล้วเราจะได้อะไรๆเยอะแยะมากมาย
    นี่แค่อยากจะบอก อยากจะเตือนเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
    ที่พวกเราเกิดแก่เจ็บตาย มาเวียนว่ายในวัฎฎสงสารนี้มายาวนาน
    วันนี้ก็อยากจะมาปลุกจิตพวกเราให้ตื่นขึ้น..
    เพราะทุกวันน คนเรามีชีวิตอยู่นั้น คือ สุขปนทุกข์
    มันมิใช่สุขแบบบน พ ร ะ นิ พ พ า น
    ถ้าเปรียบดั่งอาหารก็คือ สุขๆ ดิบๆ
    ดีกินบ้าง ไม่ดีกินบ้าง อะไรประมาณนั้น
    ฉะนั้น วันนี้ หากผู้ใด ไร้สติ ขาดปัญญา
    หรือมีสติเพียงครั้งคราว ฉะนั้น ปัญญาเรามันจะต่อเนื่องไหม (คิดกันเอง)
    พอจิตเราขาดปัญญา ก็ไม่ต่างกับหลอดไฟที่กำลังติดๆดับๆ
    ไฟติดทีนึง ความสว่างก็เกิดทีนึง
    แต่ในขณะที่ไฟดับ ความมืดก็จะเข้ามาแทน
    ฉะนั้น ปัญญานักภาวนาที่ขาด คำว่า ต่อเนื่อง
    ก็เลยเป็นดังที่กล่าวมาแล้ว
    ฉะนั้น คำว่า วิปัสสนาของนักภาวนาก็จะเกิดขึ้นไม่ได้
    หรือเกิดยาก เพราะปัญญาเราเกิดไม่ต่อเนื่องนั่นเอง
    คนที่วิปัสสนาหลายครา หลายรอบก็ด้วยเหตุนี้
    แล้คำว่า วิปัสสนาญาณเราจะเกิดไหมน่ะ
    วิปัสสนาญาณ เสมือนญาณหยั่งรู้ที่ตำราแปลกัน
    อันนี้ท่านจะจริง เพราะใครมีแล้วย่อมรู้ด้วยตนเอง
    เช่น ธรรมนี้ เราไม่ต้องไปเสียเวลาวิปัสสนาแล้ว
    ถึงวิปัสสนากับสิ่งที่กำลังกระทบจิตตนนั้น มันไมทันกินแล้ว
    เพราะขบวนการ หรือการทำงานของจิตนั้น มันทำงานเร็วมาก
    เพราะจิตเดินทางเร็วกว่าแสงพระอาทิตย์หลายล้านเท่า
    ฉะนั้น แค่สติหรอ ยังไงก็ตามจิตไม่ทันหรอก
    เวลาอะไรมากระทบจิตปั๊บ จิตก็จะแปลมาเป็นสุขเป็นทุกข์ทันที
    หรือ พอใจ ไม่พอใจ เกิดขึ้นทันที
    เห็นไหม พวกเราพอจะตามจิตตนทันกันไหม
    ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์ทรงมีกรรมฐาน๔๐ มาให้พวกเราปฎิบัติตาม
    ก็เพราะว่า จู่ๆจะให้ไปเข้าใจธรรมดั่งพระตถาคตเลยนั้น ไม่ได้
    พระองค์ท่านก็เลยมีกรรมฐานทั้งหมดนี้ นำไปปฎิบัติก่อน
    และต้องปฎิบัติให้ได้ด้วย แต่ถ้ากองแรก หมายถึง สมถกรรมฐานยังทำไม่ได้
    ส่วนกองสุดท้าย คือ วิปัสสนากรรมฐาน ก็จะทำไม่ได้อีกเช่นกัน
    คนที่จะออกทุกข์ตนเองได้ หรือ จิตตนจะปล่อยวางอะไรๆได้นั้น
    จิตตนจำเป็นจะต้องทำกรรมฐานให้ได้ทั้งสองกองก่อน
    กองแรกคือสมถะ แค่มีอุบายทำให้จิตตนนิ่งเป็น คือสมาธิจิต
    แต่ทว่า ณ วันนี้ จิตของนักภาวนาทั้งหลาย
    ยังหาจิตไม่พบเจอ ยังหาที่อยู่ให้กับจิตตนไม่เจอ
    หรือเรายังหาความสงบสวัดหรือความสุขภายในไม่ได้
    อย่าเพิ่งกระโดดข้ามไปเอา กองสุดท้าย ถึงพยายามแค่ไหนก็ไม่เป็นผล
    เพราะอย่าลืมนะว่า สมาธิคือฐานของจิต คือฐานของคำว่า วิปัสสนา
    รากฐานของสติก็คือ ศีล
    รากฐานของสมาธิก็คือ สติ
    ฉะนั้น รากฐานของจิต หรือรากฐานของปัญญาก็คือ สมาธิจิต
    ก็คือ ปัญญาใครจะเกิดต่อเนื่องหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับตนเอง ว่า..
    จะขยันทรงสมาธิ หรือ ทรงฌานกันไหม ทรงได้นานแค่ไหน
    คำว่า เนื้อนาบุญ หรือ บุญกรรมฐาน ที่เป็นนักภาวนาเหมือนกัน
    แต่ทำไม ได้บุญไม่เหมือนกัน
    คราวนี้ คงจะรู้คำตอบกันบ้างแล้วน๊า..
    คำว่า บุญกรรมฐาน เริ่มนับหนึ่งที่ตรงไหน
    คำตอบก็คือ เมื่อจิตตนเองนิ่งเป็นสมาธิ
    บุญแปลว่าอะไร.. แปลว่า.. ความสบายใจนั่นไง
    นี่คือคำว่า บุญ คือตัวบุญที่เราจับต้องได้ แต่ใช้ใจไปรับสัมผัส
    ‪#‎แต่ถ้าเราไม่พยายามรักษาศีลของตนเอง‬
    ฉะนั้น ย่อมมีนิวรณ์๕ รบกวนจิตอย่างแน่นอน
    เมื่อนิวรณ์มาเยี่ยมเยือนตนบ่อยๆแล้ว สมาธิก็ไม่เกิดขึ้นสักที
    หรือ จิตไม่คืบหน้า ไม่ไปหน้าไปหลัง
    หรือ ไม่เจริญในธรรม ไม่เจริญในมรรคผล นั่นเอง
    ฉะนั้น การปฎิบัติธรรมก็อยู่ที่ตัวของคนๆนั้น คือ (สตินะสติ)
    ฉะนั้น การปฎิบัติ ส่วนจะได้มรรคผลเร็วหรือช้า
    ก็อยู่ที่ความเพียรตนเอง โดยเฉพาะ สติ..
    จิตจะไปเร็ว หรือกรรมฐานจะไปไวแค่ไหน
    ก็ขึ้นอยู่กับวิธีหรือการสร้างสติตนเอง
    ตรงนี้พวกเราอย่าไปใช้เวลากันมากนัก
    พยายามทำสติให้เป็นสติสัมปชัญญะ เร็วๆ
    เพราะเรามาปฎิบัติธรรมกัน เพื่ออะไร
    เพื่อจะหาทางออกหรือออกจากความทุกข์ใจกัน ใช่ไหม
    แต่ถ้าวันนี้ ตอนนี้ สติตนยังไม่คืบหน้าไปไหนเลย
    แล้วยิ่งเราจะเอาอะไรไปดูจิต ไปรู้เท่าทันสิ่งกระทบจิตตนกันเล่า
    ยิ่งคำว่า ปล่อยวางด้วยแล้ว ก็ยิ่งไกลความจริงเข้าไปอีก
    เห็นไหม เวลาจิตเป็นธรรม ก็จะชอบอยู่กับพระอยู่กับธรรม
    ผู้พูดก็เลยไม่มีเวลาไปหาเสี้ยน ไปหาเห่าใส่หัวที่ไหน
    หมายความว่า ไม่มีเวลาไปเยี่ยมหาทุกข์เลย
    อกุศลใดๆ ก็เช่นกัน หายหัวไปไหนกันหมดเลย อยู่ไหนไม่รุ๊ ..
    (ยาวจนได้ แค่นี้ก่อนครับผม)
    ขอโมทนาจิตผู้ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ ทุกๆท่านด้วย
    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
    ภู ท ย า น ฌ า น
     
  6. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    กลับมาแร็ะยุ่งอยู่กับงานทางโลกนะค่ะ ขอขอบคุณมากค่ะที่คุณ ฮากาแมนมีเมตตาและห่วงใยกระทู้ค่ะ สาธุค่ะ(good)
     
  7. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    " เรือนเป็นที่พักนอน ใจเป็นที่พักอารมณ์ที่มันยุ่งเหยิง วุ่นวายตั้งแต่ตื่นนอนถึงค่ำ มาพักเอาภาวนาพุทโธๆๆนั่นแหละ จิตใจของเราก็จะใด้ชุ่มเย็นไป นี่เรียกว่าเราสร้างเรือนใจให้เรา เรือนกายนั้นมีด้วยกันทุกคน ไม่ว่าบ้านนอกในเมือง ในป่าในเขา มีบ้านมีเรือนเป็นที่พักกายหลับนอนได้ทั้งนั้น แต่เรือนใจคือเรือนภายในนี้ คือทาน ศีล ภาวนา การปฏิบัติบูชาต่อ พระรัตนตรัย อันมีพระ พุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ พระบิดาพระมารดา ครูบาอาจารย์ สิ่งนี้สำคัญมากถ้าสิ่งนี้มีอยู่ในใจแล้วเขาไปกับเราด้วยทุกที่ที่เราไป ". ขอทุกท่านสุขกายสบายใจมีความคล่องตัวทางโลกและเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป สาธุค่ะ
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    . .[​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    [​IMG]
    . .
    ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LpDuDontWait.jpg
      LpDuDontWait.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.7 KB
      เปิดดู:
      2,858
    • WantLetGo.jpg
      WantLetGo.jpg
      ขนาดไฟล์:
      126.1 KB
      เปิดดู:
      88
  10. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต



    อริยธรรมสูตร
    [๑๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอริยธรรมและอนริยธรรม
    แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
    ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
    อนริยธรรมเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าอนริยธรรม
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยธรรมเป็นไฉน สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุตินี้เรียกว่า
    อริยธรรม ฯ
    จบสูตรที่ ๒
    กุสลสูตร
    [๑๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกุศลธรรม และอกุศลธรรม
    แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
    ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
    อกุศลธรรมเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าอกุศลธรรม
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุศลธรรมเป็นไฉน สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่า
    กุศลธรรม ฯ
    จบสูตรที่ ๓
    อรรถสูตร
    [๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงประโยชน์และสิ่งไม่เป็น
    ประโยชน์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
    เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็สิ่งไม่เป็นประโยชน์เป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าสิ่งไม่เป็น
    ประโยชน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์เป็นไฉน สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ
    นี้เรียกว่าประโยชน์ ฯ
    จบสูตรที่ ๔
    ธรรมสูตร
    [๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมและอธรรม แก่เธอ
    ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
    ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธรรม
    เป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุตินี้เรียกว่าอธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
    ธรรมเป็นไฉน สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่า ธรรมฯ
    จบสูตรที่ ๕
    อาสวธรรมสูตร
    [๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีอาสวะ และธรรม
    ที่ไม่มีอาสวะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ก็ธรรมที่มีอาสวะ เป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่า
    ธรรมที่มีอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่มีอาสวะเป็นไฉน สัมมาทิฐิ ฯลฯ
    สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่มีอาสวะ ฯ
    จบสูตรที่ ๖
    สาวัชชธรรมสูตร
    [๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีโทษและธรรมที่ไม่มีโทษ
    แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล
    รับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่มีโทษ
    เป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่มีโทษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ธรรมที่ไม่มีโทษเป็นไฉน สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่
    มีโทษ ฯ
    จบสูตรที่ ๗
    ตปนิยธรรมสูตร
    [๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเร่า
    ร้อน และธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเร่าร้อน แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
    จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้
    มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเร่าร้อนเป็น
    ไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเร่าร้อน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเร่าร้อนเป็นไฉน สัมมาทิฐิ
    ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเร่าร้อน ฯ
    จบสูตรที่ ๘
    อาจยคามิธรรมสูตร
    [๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส
    และธรรมอันไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จง
    ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค
    ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลสเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ
    ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมอันเป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ธรรมอันไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลสเป็นไฉน สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้
    เรียกว่าธรรมอันไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส ฯ
    จบสูตรที่ ๙
    ทุกขทรยธรรมสูตร
    [๑๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมมีทุกข์เป็นกำไรและธรรมมี
    สุขเป็นกำไรแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
    เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ธรรมมีทุกข์เป็นกำไรเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมมี
    ทุกข์เป็นกำไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมมีสุขเป็นกำไรเป็นไฉน สัมมาทิฐิ ฯลฯ
    สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมมีสุขเป็นกำไร ฯ
    จบสูตรที่ ๑๐
    ทุกขวิปากธรรมสูตร
    [๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมมีทุกข์เป็นวิบากและธรรม
    มีสุขเป็นวิบากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ก็ธรรมมีทุกข์เป็นวิบากเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่า
    ธรรมมีทุกข์เป็นวิบาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมมีสุขเป็นวิบากเป็นไฉน สัมมาทิฐิ
    ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมมีสุขเป็นวิบาก ฯ
    จบสูตรที่ ๑๑
    จบสาธุวรรคที่ ๔
    -----------------------------------------------------
    รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
    ๑. สาธุสูตร ๒. อริยธรรมสูตร ๓. กุสลสูตร ๔. อรรถสูตร
    ๕. ธรรมสูตร ๖. อาสวธรรมสูตร ๗. สาวัชชธรรมสูตร ๘. ตปนียธรรมสูตร
    ๙. อาจยคามิธรรมสูตร ๑๐. ทุกขุทรยธรรมสูตร ๑๑. ทุกขวิปากธรรมสูตร ฯ
    -----------------------------------------------------
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Buddhateaching.jpg
      Buddhateaching.jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.6 KB
      เปิดดู:
      1,101
    • Sadhu.jpg
      Sadhu.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.7 KB
      เปิดดู:
      86
  12. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    สุดยอดแห่งธรรมชุดที่ ๑
    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม-ปกิณกะธรรม
    สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑.จงอาศัยการกระทบให้เป็นประโยชน์ของการตัดกิเลส เห็นทุกข์มากเท่าไหร่ ยิ่งเบื่อทุกข์มากขึ้นเท่านั้น จิตจักปล่อยวางทุกข์ลงได้ในที่สุด แต่ต้องอาศัยปัญญาพิจารณาประกอบไปด้วย มิฉะนั้น เห็นทุกข์ก็จักเกาะทุกข์ ก็ยิ่งทุกข์ใหญ่ ถ้าหากมีปัญญาก็จักปล่อยวาง เนื่องด้วยเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง การที่จักพ้นทุกข์ได้ จักต้องรู้จักพิจารณาใช้ปัญญาใคร่ครวญอยู่เสมอ จึงจักปล่อยวางได้


    ๒.พิจารณาร่างกาย พิจารณาอารมณ์ ทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไป อย่าเอาความไม่เที่ยงมาเกาะติดอยู่ในจิตให้เป็นทุกข์ พยายามรักษาอารมณ์เกาะพระนิพพานให้มาก ๆ อย่าห่วงใคร อย่ากังวลกับเหตุการณ์ใด ๆ ทั้งปวง ตั้งใจทำทุกอย่างเพื่อพระศาสนา เพื่อพระนิพพานจุดเดียว ปล่อยวางเรื่องภายนอกลงเสียบ้าง แม้ชั่วขณะหนึ่งก็ยังดี เพราะยังไม่ใช่พระอนาคามีผล การเจริญพระกรรมฐานให้หมั่นฝึกให้ได้ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าทำอะไรอยู่ก็ให้จิตจับมาเป็นกรรมฐานให้ได้ การเผลอนั้น ย่อมยังมีอยู่เป็นธรรมดา พยายามประคองจิต อย่าให้หวั่นไหวกับเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบมากนัก แล้วจักมีความสุขขึ้นในจิต

    ๓.ร่างกายไม่ใช่สาระแก่นสารที่สำคัญก็จริงอยู่ แต่บุคคลใดจักพ้นไปจากร่างกายได้ ก็จักต้องพิจารณาให้เห็นความจริงของร่างกาย จักพูดแต่ปากหรือพูดเอาแต่สัญญานั่นย่อมไม่ได้ เพราะเท่ากับมีแต่ความจำ ไม่ช้าไม่นานก็ลืม ผิดกับคำว่าอธิปัญญา คือ เห็นอยู่ในความเป็นจริงตามปกติ บุคคลใดที่จักพ้นจากร่างกายได้ ตถาคตขอยืนยันว่าจักต้องพิจารณาร่างกายให้เห็นตามความเป็นจริง จนกระทั่งจิตเข้าถึงคำว่า เอกัตคตารมณ์ หมายความว่าเห็นจริงตามนั้นอยู่เป็นปกติ จึงจักพ้นจากร่างกายนี้ไปได้

    ๔.มองเห็นร่างกายแล้ว ให้ดูอารมณ์ของจิต ที่ยึดเกาะร่างกายในส่วนไหนบ้าง การมีอาการถูกกระทบกระทั่งใจ ก็เนื่องด้วยร่างกายเป็นเหตุ ใครจักเกลียด จักโกรธ จักแกล้ง จักติ จักชม ก็เนื่องด้วยร่างกายเป็นต้นเหตุทั้งสิ้น ดังนั้นการพิจารณารูปและนาม จักต้องย้อนไปย้อนมา จึงจักเกิดปัญญารู้เท่าทันรูป-นามตามความเป็นจริงได้ จงอย่าละความเพียรในการปฏิบัติ พึงเร่งรัดกำลังใจของตน ให้ตั้งมั่นอยู่ในการพิจารณารูป-นามอยู่เสมอ นั่นแหละคือหนทางที่จักไปพระนิพพานได้

    ๕.การป้องกันคุณไสยทำร้ายกายและจิตไม่ให้สงบ จักต้องไม่มีอารมณ์ปฏิฆะหรือโกรธ เพราะการภาวนาคาถาต่าง ๆ เพียงเพื่อป้องกันเท่านั้น เจ้าไม่ได้ต่อสู้เพื่อทำร้ายเขา ให้ทำจิตให้สงบ ไม่คิดเป็นศัตรูกับใครเข้าไว้ อย่าโกรธ อย่าอาฆาต ภาวนาเพื่อต่อสู้ไป เพื่อป้องกันเท่านั้นเป็นพอ และจำไว้ อย่าใช้บารมีของตนเองในขณะที่ภาวนาต่อสู้ ให้กำหนดจิตขอบารมีพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ หรือพระอริยสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ จักทำให้เจ้าปลอดภัยจากอำนาจคุณไสยทั้งปวง และจงอย่าคิดว่าตนเองเก่ง ถ้าคิดว่าตนเองเก่งเมื่อไหร่ ดีเมื่อไหร่ พระทุกองค์ก็จักไม่ช่วยเจ้า

    ๖.ร่างกายที่เห็นอยู่นี้เป็นสมบัติของโลก ไม่มีใครสามารถเอาไปได้ โลกนี้ทั้งโลกกอปรไปด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเสื่อมไปในท่ามกลาง มีความสลายตัวไปในที่สุด เจ้าจักยึดถือร่างกายเป็นสรณะที่พึ่งก็ไม่ได้ จักยึดถืออะไรในโลกเป็นที่พึ่งก็ไม่ได้ พิจารณาถึงจุดนี้ ฝึกฝนจิตให้รู้จักกับคำว่าธรรมดาให้มาก และยอมรับคำว่าธรรมดาให้มาก และจงรู้จักคำว่าไม่เบียดเบียนร่างกายตนเองให้มากจนเกินไป และรู้จักเมตตาร่างกายตนเองด้วย เพื่อความอยู่เป็นสุขของจิตผู้อาศัยอยู่ในร่างกายนี้ และอย่ากังวลกับสิ่งภายนอกให้มาก จงเป็นผู้มีธุระน้อย หาความพอดีให้กับกายและจิตให้มาก ๆ จึงจักพบกับความสุขอย่างแท้จริง

    ๗.การอาศัยความกระทบกระทั่งของอารมณ์เป็นเครื่องวัดกำลังใจที่จักตัดกิเลส นั่นแหละเป็นของจริง ได้ก็รู้ ตกก็รู้ ใช้อริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา อะไรที่เข้ามาในชีวิตก็จักต้องทนได้ เพราะต้องการที่จักไปพระนิพพาน ต้องทนได้กับทุก ๆ สภาวะ ให้ตรวจบารมี ๑๐ เข้าไว้ ขาดตัวใดตัวหนึ่งก็ต้องทำตัวนั้นให้เต็ม อย่าให้พร่องแม้แต่หนึ่งนาที แล้วการเจริญพระกรรมฐานก็จักคล่องตัวเอง ทำกำลังใจให้สงบ แล้วทุกสิ่งทุกอย่างจักดีขึ้นเองอย่าหวั่นไหวในการกระทบ สิ่งใดรู้ว่าแพ้ก็ให้แพ้ไป ตั้งกำลังใจกันใหม่ แผ่เมตตาให้มาก ๆ การปฏิบัติอย่าเครียด คือเอาจริงเอาจังเกินไป อารมณ์ต้องเบา ๆ สบาย ๆ จงอย่าสนใจกรรมหรือการกระทำของผู้อื่น ให้ดูแต่กรรมของตนเองเป็นที่ตั้ง ดูกาย-วาจา-ใจของตนเอง เพียรให้อยู่ในศีล-สมาธิ-ปัญญา เท่านั้น อารมณ์เผลอย่อมมีบ้างเป็นธรรมดา ได้สติก็ตั้งต้นดึงเข้ามาใหม่

    ๘.เหตุการณ์บ้านเมืองเวลานี้ไม่ดี ไม่ต้องไปวิพากษ์วิจารณ์ว่าใครดีใครเลว เพราะกฎของกรรมเป็นของตายตัว จึงมิใช่ของแปลก เป็นเรื่องธรรมดาของกฎของกรรม นักปฏิบัติเพื่อต้องการพ้นทุกข์ จงเห็นกฎของธรรมดาเหล่านี้ให้มาก และยอมรับนับถือกฎของธรรมดาด้วย จิตจึงจักสงบเย็นลงไม่โทษเขาหรือโทษใคร ให้เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริงไว้เสมอ และจงอย่าได้มีความประมาทในชีวิต พร้อมตายและซ้อมตาย เพื่อเอาจิตเข้าสู่พระนิพพานไว้ ด้วยความไม่ประมาท ให้จิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดาให้มาก แล้วจิตจักเป็นสุข

    รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น

    สุดยอดแห่งธรรมชุดที่ ๑-คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
    สุดยอดแห่งธรรมชุดที่ ๒-คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
    สุดยอดแห่งธรรมชุดที่ ๓-คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
    สุดยอดแห่งธรรมชุดที่ ๔-คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

    เสียงธรรม-ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
    เสียงธรรม-ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๘
    เสียงธรรม-ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๐
    เสียงธรรม-ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๑
    เสียงธรรม-ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๔
    เสียงธรรม-ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๕

    ลูกขอน้อมจิตรับพระธรรมคำสอนและกราบแทบเท้าสมเด็จพ่อองค์ปฐมบรมครูด้วยเศียรเกล้าพระพุทธเจ้าค่ะ กราบ กราบ กราบ สาธุ
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    [​IMG]
    ใน ยุคสมัยของพระศรีอาริยเมตตรัยนั้น ผู้คนจะมีอายุขัยโดยประมาณ 8 หมื่นปี ชายก็จะรูปหล่อ หญิงก็จะหน้าตาสวยงาม... จะไปเกิดในยุคสมัยนั้น...
    ผู้คนก็จะมีความสุข ต่างมีศีล มีธรรม การทำมาหากินก็เป็นไปด้วยสะดวก...
    มีโภคทรัพย์มาก..มีสมบัติมากด้วยกัน ผู้คนตัวจะสูงใหญ่สัก 40 ศอก เห็นจะได้...
    เมื่อถือกำเนิดมาอายุได้ 2 หมื่นปี ก็พากันปฏิบัติธรรม ล่วงไปอีก 2 หมื่นปี ผู้คนทั้งหลายจะบรรลุธรรมกันโดยมาก...
    ................................................

    เป็นธรรมดาอยู่เองของสรรพสัตว์ที่หนาแน่นด้วยกิเลส และตัณหา ความทะยานอยาก มีความต้องการเสพสุข เสวยสุข รักความสะดวก สบาย จะทำบุญบริจาคทรัพย์มากมาย เพื่อให้ได้ไปเกิดในสมัยแห่งพระศรีอริยเมตตรัย...โดยทอดทิ้งเสีย แห่งโอกาสในยุคสมัยแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระสมณโคดม อันประเสริฐ เลิศด้วยพระปัญญาบารมีอันยิ่ง...
    ..............................................
    "ทุกข์เท่านั้นที่เกิด....ทุกข์เท่านั้นที่ดับ...นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีสิ่งใดเกิด...นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีสิ่งใดต้องดับ"

    พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ทรงตรัสสอนเรื่องทุกข์ และหนทางดับทุกข์ หาได้มีพระองค์ใดตรัสสอนเรื่องสุข และการเสวยสุขเลย...การบรรลุธรรม ก็ด้วยเห็นทุกข์ เห็นเหตุที่เกิดทุกข์ เห็นความสิ้นไปแห่งทุกข์ เห็นหนทางที่จะทำให้สิ้นไปแห่งทุกข์...

    อายุ 100 ปี ก็ทุกข์ทั้ง 100 ปี ทุกข์ตั้งแต่การเกิด การแก่ การเจ็บ การตายในที่สุด การพลัดพรากจากของรักของชอบใจ การปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ ความโศกเศร้า พิลาบพิไลรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ
    ทุกข์จากความหิว ความกระหาย การปวดอุจจาระ ปัสสาวะ ความง่วงหงาวหาวนอน...

    อายุ 80,000 ปี ก็มีทุกข์ แบบนี้เช่นเดียวกัน...หากไม่ทุกข์ ย่อมไม่มีผู้ใดแสวงหาหนทางแห่งการดับทุกข์...ดังนั้น จะอายุขับเท่าใด...สัตว์ทั้งหลาย ย่อมหนีไม่พ้น ทุกข์ จากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ต่างๆเหล่านี้ไปได้เลย...ทุกข์ 100 ปี มันว่ายังไม่พอ...มันจะขอทุกข์ 8 หมื่นปี...ผมรู้สึกสงสารความโง่ของสัตว์เหล่านี้ยิ่งนัก...

    ในยุคสมัยแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระนามว่าสมณโคดมซึ่งทรงพระ ปรีชาฌาณด้านปัญญาเป็นเลิศ...ทรงตรัสสอนเวไนยสัตว์อันโง่เขลา ให้ได้รู้แจ้ง เห็นจริง จนบรรลุธรรมได้ ในชั่วอายุขัย 100 ปี ให้สำเร็จ อรหัตผล พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่สิบปี...นับเป็นความมหัศจรรย์อย่างยิ่ง....

    แต่ก็ยังมีสรรพสัตว์ที่มีกิเลส ตัณหา อันท่วมล้น เกินจะแก้ไข นึกอยากจะมีอายุขัยเป็นอันมาก โดยไม่เห็นในกองทุกข์ กลับเห็นโลกนี้ว่าจะตระการตาดุจราชรถ...ให้ต้องใช้เวลาพากเพียรนับหมื่นปี หลายหมื่นปี เพื่อให้ได้บรรลุธรรม เฉกเช่นเดียวกับอริยะบุคคลในยุคสมัยนี้ ซึ่งใช้เวลาไม่ถึง 100 ปี...

    ...............................................................
    ผมจึงอยากจะขอฝาก ข้อคิดเห็นเหล่านี้ เอาไว้กับหมู่กัลยาณมิตรทั้งหลาย..
    ที่ปัจจุบันนี้ พระพุทธศาสนายังมีอยู่ พระธรรมยังมีอยู่ การบรรลุมรรคผล ยังสามารถทำได้อยู่ พระอริยสงฆ์ยังมีอยู่...เราทั้งหลาย...จะรออะไรกันอีก...จะปรารถนาอะไรในภาย ภาคหน้า อันหานิมิตหมายเครื่องกำหนดใดๆเป็นที่แน่นอนไม่ได้...และแม้ได้โอกาสในยุค สมัยแห่งพระศรีอริยเมตตรัยแล้วนั้น...ท่านทั้งหลาย จะยินดีอยู่กับกองทุกข์อันยาวนาน เพื่อการบรรลุธรรม อันเสมอกันนี้ จริงๆหรือ?

    ครูบาอาจารย์ท่านคงทราบเรื่องเหล่านี้มานานแล้ว แต่บอกกล่าวอย่างไร ผู้คนที่มีตัณหาอันท่วมล้น ก็ยังไม่สนใจจะเร่งรัดปฏิบัติธรรมในปัจจุบัน...ต่างยังเพ้อฝันยินดี ลุ่มหลงกับความทุกข์อันยาวนานในอนาคตกาลอันไกลโพ้น...

    ผมจึงหวังว่า ความเห็นของผมในครั้งนี้ จะได้แพร่กระจายไปยังคนทั้งหลาย เพื่อให้เปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ .... ให้เร่งทำประโยชน์ในปัจจุบันชาติ ให้ยิ่งๆขึ้นไป จนสำเร็จแห่งการดับไม่มีเชื้อ ในยุคสมัยปัจจุบันนี้เถิด...

    ขอบพระคุณข้อความจากท่านraming2555ค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    สุดยอดแห่งธรรมชุดที่ ๒
    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม-ปกิณกะธรรม
    สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑.ร่างกายที่เห็นอยู่นี้ อยู่ได้เพราะธาตุ ๔ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ทั้งภายนอก-ภายใน และเป็นภาระที่หนักหนา (ภาราหะเวปัญจักขันธา) อันทำให้จิตต้องดิ้นรนเสาะหาปัจจัย ๔ มาหล่อเลี้ยงห่อหุ้มร่างกายนี้ บุคคลใดเห็นทุกข์ของการมีภาระอันเนื่องจากร่างกายนี้ บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงอริยสัจข้อต้น และจากการพิจารณาจนเห็นสาเหตุของจิตดิ้นรนด้วยตกอยู่ในห้วงของ กามตัณหา-ภวตัณหา-วิภวตัณหา ก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงอริยสัจข้อสมุทัย และเมื่อได้ปฏิบัติในมรรคปฏิปทาอันมีองค์แปด หรือศีล-สมาธิ-ปัญญา จนจิตเข้าถึงนิโรธ ก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงอริยสัจ ๔ อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นบุคคลใดทิ้งอริยสัจ ๔ บุคคลนั้นไม่สามารถที่จักเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้เลย


    ๒.การเจ็บป่วยไม่สบายเป็นกฎของธรรมดา เพราะไม่มีใครหนีการเจ็บไข้ไปได้ ให้พยายามแยกกาย แยกเวทนา แยกจิต(เจตสิกหรืออารมณ์ของจิต) แยกธรรมหรือกรรม ว่าไม่ใช่เรา ไม่มีในเรา เราคือผู้อาศัยในสิ่งเหล่านี้อยู่ ก็ให้สักแต่ว่าเป็นเพียงผู้รู้ เป็นเพียงผู้อาศัย อย่าไปยึดมาเป็นตัวตนของใคร เพราะสิ่งเหล่านี้มีเกิดขึ้นมาได้ เพราะการมีร่างกายอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าไม่มีร่างกาย ความร้อน-หิว-กระหาย-เจ็บป่วย-ไม่สบาย-การถูกกระทบกระทั่งใจก็ไม่มีแล้ว อะไรเป็นเหตุของการมีร่างกาย ต้นเหตุคือตัณหา ๓ กามตัณหา-ภวตัณหา-วิภวตัณหา ในเมื่อความเป็นจริงของร่างกายเป็นเช่นนี้ เราไปฝืน ไม่อยากให้มันเป็นไป ก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะความโง่ที่ไม่รู้เท่าทันสภาวะธรรม หากขยันพิจารณาธรรมจุดนี้ให้ดีๆ อย่างต่อเนื่อง สักวันหนึ่งข้างหน้าก็จักตัดอารมณ์ของการเป็นทาสของตัณหาได้

    ๓.จิตที่ไปติดข้องอยู่กับกรรม จึงต้องไปเสวยกรรมดีและกรรมชั่ว สภาวะกรรมหรือธรรม เกิดแล้วก็ดับไป จิตที่ยังเกาะกรรมดี คือ บุญ ก็ไปสู่สุคติ คือสวรรค์-พรหม เป็นต้น จิตที่เกาะกรรมชั่ว คือ บาปอกุศล ก็ไปสู่ทุคติ คืออบายภูมิ ๔ จึงเวียนว่ายตายเกิดไปตามกฎของกรรมที่ตนกระทำไปนั้นๆ สำหรับพระอรหันต์ ชื่อว่าหมดกรรม เพราะท่านเห็นทั้งสภาวะโลก และ สภาวะธรรม ล้วนไม่เที่ยง เกิด-ดับๆ อยู่อย่างนั้น กรรมที่เป็นอกุศลท่านไม่ทำอีกต่อไป หมดกรรมเพราะไม่มีการจุติเกิดขึ้นกับท่านอีก ทุกอย่างท่านทำไปตามหน้าที่ สงเคราะห์คน-สัตว์ ชี้หนทางพ้นทุกข์ เผยแพร่ธรรมไปตามหน้าที่ แต่ท่านหาได้ติดอยู่ในบุญเหล่านี้ไม่ บุญหรือบาปก็ไม่ข้องอยู่ กรรมก็ไม่ข้องอยู่ ยังมีร่างกายอยู่กฎของกรรมเก่าๆ ตามมาสนองก็เรื่องของมัน บุญหรือบาปไม่มีสิทธิ์ที่จักนำท่านไปเกิดอีก

    ๔.อนึ่ง คำว่า จิตไม่ใช่เรา จุดนี้คือนาม หรือเจตสิก อันมี เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ (ทรงอธิบายถึงกาย(รูป)-เวทนา-จิต-ธรรม ซึ่งไม่เที่ยงเกิดดับๆ ตลอดเวลา คำว่าจิต คือเจตสิกหรืออารมณ์ของจิต มิใช่ตัวจิต หรือนาม ๔ ตัวที่อาศัยรูปอยู่ ซึ่งจริงๆ ก็คือขันธ์ ๕ หรือร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยรูปหนึ่งกับนามอีก ๔ คือ เวทนา-สัญญา-สังขาร และวิญญาณ) ธรรมอีกจุดหนึ่งที่เข้าใจยาก คือ อทิสสมานกายนี้ไม่ใช่เรา ธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นปัจจัตตัง ปฏิบัติถึงแล้วจึงจะรู้ได้เอง หรือถึงแล้วรู้เอง ยังไม่ถึงก็ยังรู้ไม่ได้จริง และรู้ได้เฉพาะตนของใครของมัน ตามระดับของจิตในจิต และธรรมในธรรม ผมขออนุญาตอธิบายว่า ให้ยึดพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นหลัก เพราะเที่ยงแล้ว ไม่เปลี่ยนแปลงอีก ที่ทรงตรัสไว้ว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ควรยึดว่ามันเป็นเรา เป็นของเรา

    เรื่องกายของจิต หรือรูปในนามนี้ก็เช่นกัน ทรงตรัสเป็นสมมุติธรรมว่า อทิสสมานกาย กายของจิต หรืออทิสสมานกายนี้มันก็ไม่เที่ยง ตราบใดที่ยังตัดกิเลสไม่หมดเป็นสมุจเฉทปหาน คือสังโยชน์ ๑๐ ประการยังไม่หมด หรือความโลภ-โกรธ-หลงยังไม่หมด หรือตัณหา ๓ ยังไม่หมด อทิสสมานกายก็ยังไม่เที่ยง ยังเปลี่ยนแปลงไปตามกรรมที่จิตทำไว้ เช่น อทิสสมานกายเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน หรืออบายภูมิ ๔ ในฝ่ายกรรมชั่วที่เป็นอกุศล ในฝ่ายกรรมดีที่เป็นกุศล อทิสสมานกายก็เปลี่ยนแปลงไปตามกรรมดี เป็นมนุษย์-เป็นเทวดา-เป็นนางฟ้า-เป็นพรหมตามกรรมดี ก็ล้วนยังไม่เที่ยง ไม่ทรงตัว ยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเราไม่ได้ จนกว่าจิตดวงนั้นจะอยู่เหนือกรรม ทั้งดี ทั้งชั่วอย่างถาวร มิใช่ชั่วคราว แค่หลุดพ้นได้ชั่วคราวเป็นปทังควิมุติ เช่น ระงับนิวรณ์ทั้ง ๕ ได้ชั่วคราว จิตเป็นฌาน เป็นสมาธิ แต่ยังฆ่ายังตัดกิเลสไม่ได้จริงๆ

    ขอสรุปว่า พระอรหันต์เท่านั้นที่จิตท่านพ้นดี-พ้นชั่วอย่างถาวร จิตท่านก็มีสิทธิ์เข้าสู่แดนพระนิพพานได้อย่างถาวรเช่นกัน อทิสสมานกายของท่านจึงจะเที่ยง ไม่มีเปลี่ยนแปลงอีก เป็นพระวิสุทธิเทพ เทพที่มีอทิสสมานกายบริสุทธิ์คงทน-ถาวร-มั่นคง เที่ยงตลอดกาล ภูมิจิต-ภูมิธรรมของผม มีแค่ระดับสัญญาและปัญญา ยังมิใช่ตัวปัญญาแท้ๆ ยังมีสัญญาปนอยู่ เพราะยังตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการไม่ได้หมด ก็อธิบายได้แค่นี้

    ๕.สถานที่วิเวกก็มีความสำคัญในการปฏิบัติธรรม จิตที่มีสมาธิคือจิตวิเวกที่ต้องอาศัยสถานที่วิเวกด้วย จึงจักมีความตั้งมั่นอยู่ในใจ ฟังอะไรก็รู้เรื่อง ไม่เสียสมาธิไปกับเสียงจ๊อกแจ๊กจอแจ แต่ก็พึงเห็นเป็นของธรรมดา เลี่ยงได้ก็พึงเลี่ยง แต่ในเมื่อเลี่ยงไม่ได้ ก็จำเป็นที่จักต้องชน ชนในที่นี้ มิได้หมายความถึงการไปสู้รบตบมือ หรือไปพอใจหรือไม่พอใจกับเหตุการณ์ที่สับสนวุ่นวายนั้น แต่หมายถึง รักษาอารมณ์ของใจให้เห็นเป็นเรื่องธรรมดา จิตสงบ จิตเป็นสุข ไม่ดิ้นรนเดือดร้อนไปด้วยกรณีทั้งปวง
     
  15. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    มาอ่านต่อกันนะค่ะ
    โมทนาสาธุค่ะ
    อนึ่งให้รู้ความสำคัญในความวิเวกนั้น มีความสำคัญในการปฏิบัติมากขนาดไหน พึงดูตถาคตเจ้าก่อนที่จักบรรลุอภิเษกพระสัมมาสัมโพธิญาณ พระปัญจวัคคีย์ได้หลีกห่างออกไป ทรงอยู่ตามลำพังพระองค์เดียว พราหมณ์ถวายหญ้าคาเป็นที่รองนั่ง หลังจากรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดาแล้ว สถานที่นั้นก็วิเวก มิได้ประกอบด้วยคนหมู่ใหญ่ เมื่อกำหนดกายตั้งตรง กายก็วิเวก ปราศจากกิจอื่นๆ ที่ต้องทำโน่นทำนี่อีก แล้วดำรงจิตให้มั่นกำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก จุดนี้จิตก็วิเวกอีก จึงต้องมีความสำคัญในการบรรลุโมกขธรรม

    ที่ตรัสนี้เพื่อให้พวกเจ้าได้พิจารณาและปฏิบัติตามแบบอย่างจึงจักได้ผล หากยังชมชอบคลุกเคล้าอยู่ด้วยคนหมู่มาก ด้วยเพลิดเพลินไปด้วยคำสรรเสริญหรือนินทา หรือการสนทนาธรรม ด้วยอารมณ์ปรุงแต่ง จุดนั้นกายปราศจากการวิเวก วจีกรรมก็มาก เพราะมโนกรรมเป็นผู้ปรุงแต่งคำพูดออกมา ความสงบของใจก็ไม่มี การปฏิบัติก็บรรลุได้ยาก ตรัสเท่านี้ก็ให้พิจารณาดูตัวเอง ดูกาย ดูวาจาของตนเอง อย่าลืมมโนเป็นใหญ่ กายกับวาจาย่อมมีใจเป็นผู้บงการ ดีหรือเลวก็สำเร็จที่ใจนั่นแหละ

    ๖.ให้เห็นธรรมดาของคนอันแปลว่าวุ่นวาย และเป็นธรรมดาอยู่ดีที่คนเมื่อได้ยินที่ไหนว่ามีของดี มีพระดีก็จักแห่ไปที่นั่น แล้วคนมีมารยาทก็มีมาก คนไม่มีมารยาทก็มีมาก การรู้กาลเทศะก็มิใช่ว่าจักมีได้ง่ายในคน เรื่องเหล่านี้จักต้องใช้การพิจารณา แล้วหมั่นปล่อยวาง อย่าไปคิดหรือกล่าวตำหนิเอาไว้ในใจ จักไปเอาอะไรกับคน เสียผลของการปฏิบัติธรรมเปล่าๆ

    ๗.ให้มั่นใจในพุทธคุณ-ธรรมคุณ-สังฆคุณ ปัญหาใดๆ ถ้าหากไม่เกินวิสัยในกฎของกรรม ให้ขอบารมีพุทธคุณ-ธรรมคุณ-สังฆคุณ ย่อมขจัดปัดเป่าแก้ไขได้ พุทธคุณ คือคุณของผู้รู้ อันหมายถึงพระตถาคตเจ้า เป็นผู้รู้-ผู้ตื่น-ผู้เบิกบาน ดังนั้น บุคคลใดไม่ลืมพุทธคุณ ก็พึงกระทำตามให้ถึงซึ่งพุทธคุณด้วยธรรมคุณ คุณของพระธรรม อันหมายถึงทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค นั่นแหละ บุคคลผู้ปฏิบัติถึงซึ่งพุทธคุณและธรรมคุณ อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ด้วยกำลังใจเต็ม ก็ได้ชื่อว่าถึงซึ่งสังฆคุณใน ๔ ระดับ คือ พระโสดาบัน-พระสกิทาคา-พระอนาคา-พระอรหันต์

    คุณทั้งสามประการของพระรัตนตรัยในบวรพระพุทธศาสนานี้ ผู้ใดถึงแล้ว ผู้นั้นย่อมมีความสุข และจักสุขยิ่งๆ ขึ้นไป จนกระทั่งเข้าถึงซึ่งแดนเอกันตบรมสุข คือพระนิพพานเป็นที่ไปนั่นแหละ ให้มองดูจิต-ดูกายของตนนั่นแหละเป็นสำคัญ ถ้ามุ่งต้องการปฏิบัติให้พ้นทุกข์ได้จริง อย่าเพ่งโทษในจริยาของผู้อื่น ให้เห็นความร้อนในจิตของตนเองให้มาก และเห็นโทษของความร้อนในจิตนั้น ก็จักปฏิบัติฝึกจิตของตนให้พ้นไปจากความร้อนได้ในที่สุด

    ๘.อารมณ์เบื่อจัดเป็นปฏิฆะ เพราะจิตไม่ยอมรับกฎของธรรมดา (จิตฝืนโลก-ฝืนธรรม) ให้ค้นคว้าหาสาเหตุของอารมณ์เบื่อ (ด้วยอริยสัจ หรือด้วยสังฆคุณ) แล้วจักมีกำลังใจพิจารณาไปจนถึงที่สุดของสาเหตุนั้น ถ้าจิตยอมรับจักวางอารมณ์เบื่อหน่ายนั้นลงไป จนถึงยอมรับกฎของธรรมดา จิตสงบไม่ดิ้นรน มีความสุขมาก ค่อยๆ ทำไปด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ แล้วจักได้ผลตามนั้น

    ๙.อย่ากังวลใจกับการเดินทาง เมื่อย่างเท้าออกจากวัด-จากบ้าน-จากที่อยู่อาศัย ให้ตัดอารมณ์กังวลทิ้งไปทันทีทันใด ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง การเดินทางให้รักษาอารมณ์จิตให้ดีๆ กำหนดพุทธคุณ-ธรรมคุณ-สังฆคุณ หรือพระไตรลักษณ์เป็นที่พึ่ง รู้พระนิพพานเข้าไว้เป็นอารมณ์ รู้โทษของการมีกังวล แม้แต่เล็กน้อยก็ไม่สามารถเข้าสู่พระนิพพานได้ เพราะขาดความผ่องใสของจิต ผู้ปฏิบัติธรรมที่ดีจักต้องหมั่นตรวจสอบอารมณ์อยู่เสมอ หมั่นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดใจกังวลโดยเร็วที่สุด ด้วยอริยสัจหรือธรรมคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอามรณานุสสติขึ้นมาตั้งมั่น คอยเตือนตนอยู่เสมอว่า ความเศร้าหมองของจิต (จิตไม่ผ่องใส) ทำให้ไปพระนิพพานไม่ได้

    ๑๐.คนจักพ้นทุกข์ได้ก็ต้องเห็นทุกข์ก่อน คนเห็นกิเลสที่ยังเกาะกินใจตนอยู่ ก็คือคนเห็นทุกข์ เห็นปัญหา เห็นอุปสรรค ก็คือคนเห็นอริยสัจ หรือเห็นพระธรรม เห็นธรรมคุณ ผู้มีปัญญาทุกคนจักเอาทุกข์ เอาปัญหา เอาอุปสรรคทุกอย่างมาเป็นกรรมฐานได้หมด หาประโยชน์ได้หมด ในทุกสภาวะการณ์ โดยนำมาพิจารณาเข้าหาอริยสัจหมด เป็นธรรมคุณ ก็จักตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้ในที่สุด

    ๑๑.รักษาอารมณ์ของจิตให้ดีๆ ประคองใจไว้เป็นสำคัญ อย่าไปฝืนกรรมของใคร แล้วอย่าไปแก้ไขคนอื่น ให้แก้ไขใจตนเองนี้แหละ จึงจักถูกต้องตามหลักการของพระพุทธศาสนา จุดนี้มีความจำเป็นต้องพูดซ้ำ เพราะพวกเจ้าส่วนใหญ่มักจักไปแก้ไขบุคคลอื่น ผิดหลักธรรมอย่างยิ่ง ไปทำอย่างนั้นก็เท่ากับไปเพิ่มกิเลสให้กับจิตของตนเอง จักต้องพยายามมีสติให้ตั้งมั่น ถือธุระไม่ใช่เข้าไว้ให้มาก ๆ ไม่ใช่หน้าที่ให้ปล่อยวางทันที ยกเว้นมีการเกี่ยวข้องโดยกรรมต่อกัน ก็พึงกระทำกันเพียงแต่หน้าที่เท่านั้น สำหรับทางจิตใจ พยายามไม่เกี่ยวข้องกับใคร ปล่อยวางเพื่อความผ่องใสของจิตให้มากที่สุดเท่าที่จักมากได้ กฎของกรรมใดๆ เข้ามาถึง ก็ถือว่าชดใช้กรรมเก่าให้เขาไป อย่าไปต่อกรรมในเมื่อปรารถนาจักไปพระนิพพาน แม้จักทำได้ยาก ก็จักต้องทำให้ได้

    ๑๒.พวกโทสะจริต ให้พยายามฝึกจิตให้เยือกเย็น แล้วพึงพิจารณาโทษของโทสะจริตให้มาก พยายามทรงอารมณ์จิตให้อยู่ในคำภาวนาให้มาก พร้อมกำหนดอานาปาให้มากด้วย หลังจากรู้ลม-รู้ภาพพระแล้ว ก็จักมีอารมณ์เย็นขึ้น อย่าลืมจิตต้องเย็น สงบก่อน จึงค่อยพิจารณาทุกข์อันเกิดจากโทสะจริตนั้น จิตยิ่งเย็นก็ยิ่งเห็นทุกอย่างได้ชัดขึ้นเท่านั้น และจงอย่าลืมว่า พุทธานุสสติ พุทโธอัปมาโณ คุณของพระพุทธเจ้าหาประมาณมิได้ คนฉลาดไม่มีใครทิ้งพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะพระอรหันต์ท่านยังไม่ทิ้ง แล้วพวกเจ้าเป็นใคร ให้คิดเอาเอง

    ๑๓.ร่างกายไม่ดี ก็ให้เห็นเป็นธรรมดา หรือร่างกายดีอันเนื่องจากธาตุ ๔ มีความทรงตัวแค่ระยะหนึ่ง ก็ให้เห็นเป็นของธรรมดา แล้วจงอย่าคิดว่าร่างกายจักทรงตัวอยู่อย่างนั้นเสมอไป ร่างกายไม่ดีก็ไม่เที่ยง ร่างกายดีก็ไม่เที่ยง มันมีแต่ความแปรปรวนหมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกวัน หรือทุกขณะจิต นั่นคือธรรมดาของร่างกาย แล้วในที่สุดร่างกายนี้ก็มีความแก่และมีความตายเป็นธรรมดา หมั่นพิจารณาให้เห็นกฎของธรรมดาให้มาก จิตใจจักได้มีความสุข หรือแม้กระทั่งการถูกด่า-ถูกนินทา หรือถูกสรรเสริญเยินยอ ก็เป็นเรื่องธรรมดา เหล่านี้ หมั่นพิจารณาธรรมดาให้มาก แล้วจักมีการยอมรับ ในกฎของธรรมดาทั้งปวง จิตใจจักสงบและเป็นสุข ให้พยายามรักษาอารมณ์พิจารณาเหล่านี้ให้มาก

    รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
     
  16. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    ความสุขที่อยากแบ่งปันนะค่ะ.
    มานี่สิลูก แม่มีอะไรจะสอน (^-^)

    แม่คงสอนให้ลูกฉลาดไม่ได้ ลูกต้องเรียนรู้
    และฉลาดด้วยไหวพริบและกึ๋นของลูกเอง
    แม่คงสอนให้ลูกเรียนเก่งไม่ได้
    ลูกต้องอยากรู้อยากเข้าใจในบทเรียนด้วยตัวของลูกเอง
    แม่คงสอนให้ลูกเกรดสี่ทุกวิชาไม่ได้ เพราะแม่เองก็ไม่เคยได้เกรดสี่สักวิชา แฮ่ๆ แม่อยากให้ลูกคิด และมองโลกในแง่ดี อย่าคิดว่าใต้ฟ้านี้มีแต่
    เรื่องทำไม่ได้ เป็นไม่ได้ หัดคิดให้เป็นบวกไว้แหละดี
    แม่อยากให้ลูกหัดฝัน เมื่อไรลูกฝันเป็น ไม่ว่าจะเป็นใฝ่ฝัน หรือความฝัน ลูกจะรู้ว่าโลกนี้มันน่าอยู่เพียง
    ไหน แม่อยากให้ลูกพูดแต่เรื่องดี พูดแต่เรื่องสวยงาม จงเป็นคนสุดท้ายที่ให้
    ร้ายคนอื่น และจงเป็นคนแรกที่ให้กำลังใจ และชื่นชม แม่อยากให้ลูกทำเรื่องแปลกๆ ลูกไม่จำเป็นต้องเดินตามชีวิตประจำวันของใคร อย่าเก็บความคิดแปลก เพียงเพราะเห็นว่ามันไม่เหมือนใคร แม่อยากสอนให้ลูกกล้าแดด กล้าฝน เพราะภายใต้ไออุ่นของดวงอาทิตย์
    ลูกจะได้รับวิตามินดี และภายใต้ฟ้าที่มีฝน มันจะทำให้ลูกร้องไห้โดยไม่มีใครเห็นน้ำตา แม่อยากสอนให้ลูกออกกำลังกายทุกวัน
    อย่างน้อยคนเราก็ต้องเคลื่อนไหวทะมัด
    ทะแมง ลูกได้ออกแรงเสียบ้าง ลูกจะแข็งแกร่งไม่อ่อนแอ แม่อยากให้ลูกยิ้ม และอยู่กับโลกด้วยความรัก ยิ้มอาจจะไม่ชนะทุกสิ่ง ยิ้มมากๆอาจจะดูเหมือนคนบ้า แต่มันก็ดีกว่าหน้าบึ้งหน้างอเป็นไหนๆ แม่อยากสอนให้ลูกรู้จักอดทน ลูกต้องเรียนรู้ว่าลูกไม่มีทางได้
    ทุกๆอย่างที่ลูกหวังไว้ อดทนและอย่าได้เสีย
    กำลังใจ อย่าท้อและขอให้เริ่มใหม่อย่าง
    มีพลัง
    แม่อยากสอนให้ลูกเข่ยงขาขึ้นให้สูง
    ไม่มีอะไรที่สูงไปกว่าสองมือเราจะเอื้อมคว้า
    เพียงแค่ว่าเรายืนยันที่จะไม่ยืนอยู่กับที่
    แม่อยาก
    สอนให้เจ้ามีความสุข แต่อย่าลืมทุกข์ด้วยล่ะลูก คนที่ไม่เคยมีความทุกข์ เขาสุขจริงๆไม่เป็นหรอก เจ้าเอย ไอคิวมันติดมาแต่บนฟ้าลูกจ๋า
    ไม่ฉลาดก็มีความสุขได้ไม่ต้องห่วง อย่าน้อยใจถ้าตามใครเขาไม่ทัน อย่าเสียขวัญถ้าเรา
    ช้ากว่าใครๆ อีคิวมันต้องหาเองบนโลกนี้
    ลูกเอ๋ย ไม่ฉลาดก็น่ารักและมีความสุขได้
    อย่ากลัวที่จะเปลี่ยนแปลงปรับปรุง ลูกมีกำลังใจเป็นถุงจากแม่ ไม่ต้องกลัว.....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      29.7 KB
      เปิดดู:
      90
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2015
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    . .[​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    ทั้งสุขและทุกข์นี้ พวกเราท่านอย่าเข้าไปเป็น ให้รู้เท่าทันอารมณ์นั้น ข้อปฏิบัตินี้คือการภาวนา พูดง่ายๆก็คือว่า เราต้องเป็นผู้มีสติอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เราทำอาจจะคิดว่าไม่ได้ เพราะสิ่งที่ได้เรามองไม่เห็น (ทาน ศีล ภาวนา) โมทนาสาธุค่ะ
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    [​IMG]
    ภาวนาทุกอิริยาบถเป็นทางพ้นภัยในวัฏสงสาร : หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร
    วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่

    ...

    พระพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลาย ข้ามทุกข์ข้ามพ้นไปแล้ว
    ท่านทำปฏิบัติทั้งภาวนาละกิเลส ท่านไม่ยึดหน้าถือตา ไม่ยึดตัวถือตน
    ไม่ยึดเรายึดของของเรา ท่านมีความตั้งใจมั่นไม่หวั่นไหว
    จึงได้บรรลุคุณธรรมอันพิเศษ ละกิเลสให้สิ้นไปในสมัยครั้งพุทธกาล

    แม้สมัยนี้ถ้าเราตั้งใจแล้วก็ไม่มีอะไรที่จะมาเป็นอุปสรรค นี่ใจเราไม่มีอุปสรรค
    สิ่งต่างๆจะมาเป็นอุปสรรคไม่ได้ จึงให้พากันตั้งอกตั้งใจ ปฏิบัติบูชาภาวนา
    จิตใจอย่าได้ง่วงเหงาหาวนอน มีความแช่มชื่นในธรรมะปฏิบัติ
    เมื่อใจของเราไม่ง่วงเหงาหาวนอน มีธรรมปีติ ปีติยินดีในธรรมะปฏิบัติ
    ย่อมมีความแกล้วกล้าสามารถอาจหาญในตัวในใจของเราได้ทุกเวลา

    ยืนก็ภาวนาได้ เดินก็ภาวนาได้ นั่งก็ภาวนาได้ นอนยังไม่หลับก็ภาวนาได้
    ทุกอิริยาบถยืนเดินนั่งนอนทุกลมหายใจเข้าออก ภาวนาได้อยู่เสมอ
    นี่แหละเป็นทางหนึ่งที่จะดำเนินเดินไปสู่ความพ้นทุกข์ภัยในวัฏสงสาร
    เมื่อว่าเราท่านทั้งหลาย พากันได้ยินได้ฟังแล้วก็ให้พากันตั้งอกตั้งใจ
    ปฏิบัติบูชาภาวนาก้าวไป ก็จะมีแต่ความสุขความเจริญในทางพระพุทธศาสนา

    Dhammathai.org
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LpSim.jpg
      LpSim.jpg
      ขนาดไฟล์:
      35.7 KB
      เปิดดู:
      833

แชร์หน้านี้

Loading...