จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    อย่าตำหนิกรรมของผู้อื่น

    (โ ด ย ส ม เ ด็ จ อ ง ค์ ป ฐ ม)



    ทรงเมตตาสอนไว้เมื่อ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๕ พิจารณาแล้วเห็นว่ามีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่อ่าน แล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดผล มีความสำคัญโดยย่อดังนี้

    ในวันนี้ข้าพเจ้าและเพื่อนผู้ปฏิบัติธรรม มองเห็นชายคนหนึ่งที่แพเลี้ยงปลาของวัด จับปลาสวายตัวใหญ่ (ปลาของวัดเชื่องมาก) ขึ้นมาจากน้ำ ปลาก็ดิ้นจนหลุดจากมือตกน้ำไป เขาก็จับปลาขึ้นมาใหม่ด้วยความสนุกสนาน ในครั้งนี้ปลาดิ้นแล้วตกลงที่พื้นกระดานของแพปลา แล้วจึงตกลงไปในน้ำเมื่อพวกเราเห็นการกระทำ (กรรม) ของเขา ก็เกิดอารมณ์ปฏิฆะ (ไม่พอใจ) พูดขึ้นว่า ”บ้า” อีกท่านหนึ่งพูดว่า “ทะลึ่ง” ซึ่งเป็นการคิดชั่ว พูดชั่ว (สอบตกในมโนกรรมและวจีกรรมทั้งคู่)

    สมเด็จองค์ปฐมทรงเมตตาตรัสสอนว่า (เพื่อสะดวกในการจดจำ แล้วนำไปปฏิบัติต่อ ขอเขียนเป็นข้อๆ) ดังนี้

    ๑. "เหตุที่จิตมีอุปาทาน ยึดเอากรรมของผู้อื่นมาใส่จิตของเรา จึงกล่าวเป็นวจีกรรมหลุดออกไป เพราะเหตุไม่รู้เท่าทันอารมณ์ของจิต ที่ยึดเอาอุปาทานนั้นๆ(บุรุษผู้สร้างกรรมกับปลา) ถ้าไม่ใช่อดีตกรรมส่งผลให้เขาทำกับปลา กล่าวคือ ถ้าไม่ใช่ปลาเคยเป็นคนมาแล้ว จับคนที่เป็นปลาอยู่อย่างนี้แล้ว กรรมนี้ก็เป็นกรรมปัจจุบัน คือ มีอารมณ์ฟุ้งซ่านเหลวไหล เห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ มีอารมณ์สนุกไปกับการเบียดเบียนปลา จึงสร้างกรรมนี้ให้เกิดขึ้น ซึ่งกรรมนี้เมื่อลุล่วงไปแล้ว ก็เป็นกายกรรมอันส่งผลให้เกิดกรรมในอนาคตได้ กล่าวคือจะต้องมีชาติหนึ่งในต่อไปข้างหน้า บุรุษนี้ก็จะเกิดมาเป็นปลาสวาย และปลานั้นกลับชาติมาเกิดเป็นคนจับเงี่ยงปลาชูให้ดิ้นรน จนกระทั่งตกลงกระแทกแพอีก นี่คือกรรมภายนอก แต่เจ้าทั้งสองเอามาเป็นกรรมภายใน สร้างวจีกรรมให้เกิด เท่ากับเห็นคนผิด เห็นปลาถูก จึงไปตำหนิกรรมอยู่อย่างนั้น วจีกรรมคือนินทากับสรรเสริญนั่นเอง”

    ๒. "ถ้าจิตยังละการตำหนิกรรมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นมโนกรรมหรือวจีกรรม ก็เท่ากับสร้างผลกรรมให้ต่อเนื่องกันไป ในการตำหนิกรรมไม่รู้จักสิ้นสุด ในเมื่อโลกนี้มันเป็นวัฏจักรอยู่อย่างนี้ ผิดถูกในโลกนี้ไม่มี มันมีแต่กรรมล้วนๆ”

    ๓. "ในเมื่อเจ้าทั้งสองตำหนิกรรมอย่างนี้แล้ว พอไปชาติหน้าก็ประสบมาเป็นคน จากคนที่เป็นปลาก็ต้องมาตำหนิกรรมอีก เมื่อมัวแต่ตำหนิธรรมหรือกรรมของผู้อื่น อันสืบเนื่องเป็นสันตติประดุจกงกำกงเกวียน หมุนเวียนต่อเนื่องกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แล้วพวกเจ้าจะเอาชาติไหนมาตัดสินว่าใครผิด-ใครถูก โลกทั้งโลกมันเป็นอยู่อย่างนี้ เพราะกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน-อกุศลกรรมเป็นเหตุ ทำให้จิตของคนกระทำกรรมให้เกิดแก่มโน-วจีและกายได้อยู่เป็นอาจิณ”

    ๔. "เจ้าต้องการพ้นกรรม ก็จงหมั่นปล่อยวาง มองเห็นเหตุแห่งกรรม อะไรจักเกิดก็ต้องคิดว่า กรรมใครกรรมมัน รู้สันตติของกฎแห่งกรรมว่ามันเป็นอย่างนี้ ถ้าเขาไม่ทำกรรมกันมาก่อน กรรมนี้ก็จักไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นมาได้ ตถาคตจึงได้ตรัสยืนยันว่า กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เมื่อเรารู้เหตุก็จงดับที่เหตุแห่งกรรมนั้น จงอย่ามองว่าใครผิดใครถูก กรรมถ้าไม่ใช่เขาก่อขึ้นเอง มันก็เกิดขึ้นไม่ได้เองหรอก”

    ๕. "เมื่อพวกเจ้าเข้าใจดีแล้ว ก็จงหมั่นทำจิตให้พ้นจากการตำหนิธรรมเถิด ค่อยๆวางค่อยๆทำ กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม ก็จะละเอียดขึ้นตามลำดับ กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในวิมุติธรรม ทำอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ ยอมรับนับถือกฎของกรรมให้เกิดขึ้นในจิต ทำบ่อยๆเข้ามรรคผลก็จะปรากฏขึ้นเอง อย่าละความเพียรเสีย กระทบเท่าไหร่-เมื่อไหร่-ที่ไหนก็ต้องรู้ อย่าตำหนิธรรมให้เกิดขึ้นกับจิต เห็นกรรมที่เป็นสภาวะอย่างนี้อยู่ให้ชัดเจนอยู่ตลอดเวลาอยู่กับจิต ผู้ไม่รู้ย่อมกอปรกรรมให้เกิดด้วยจิตอุปาทานในกรรมนั้น ๆ กรรมใครกรรมมัน พวกเจ้าอย่าไปเกาะยึดเอากรรมนั้นๆมาตำหนิดีเลว เพราะเท่ากับว่ามีอุปาทานเห็นกรรมนั้น ๆ ว่าดี-เลว เมื่อจิตมีอุปาทานตำหนิดี-เลวจนเป็นมโนกรรม แล้วยับยั้งไม่อยู่ ก็ออกปากตำหนิดี-เลว จนเป็นวจีกรรมอีก”

    ๖. "ถ้าบุคคลไม่รู้อุปาทานนี้ ทำกรรมโดยลงแพไปต่อว่าต่อขานคนที่จับปลาเข้า ถ้ายังอารมณ์ปฏิฆะให้เกิด ก็จะทะเลาะกัน ดีไม่ดีก็จักทำร้ายร่างกายกัน จนเป็นกายกรรมสืบเนื่องต่อกันไปได้ ดังมีตัวอย่างมามากมาย คนอื่นเขาทะเลาะกัน สร้างกรรมกัน คนนอกเข้าไปสอดแทรก เป็นกรรมการห้ามปราม คู่กรณีไม่ยอมฟังเกิดอารมณ์โทสะขึ้นหน้า ลงมือทำร้ายกรรมการเสียจนตายไปด้วยความหมั่นไส้ เพราะฉะนั้น เมื่อพวกเจ้าปรารถนามรรคผลนิพพาน ก็ไม่ควรต่อกรรมกันไปอีก ยุติการตำหนิกรรมลงเสียให้ได้ ไม่ว่าจักเป็นกายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม ก็ต้องยุติลง ใช้ศีล-สมาธิ-ปัญญาอันเกิดแก่จิต พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงในสันตติวงล้อวัฏจักรกรรมว่ามันเป็นอยู่อย่างนี้ เอง พยายามทำจิตให้ยอมรับกฎของกรรมโทษของกรรมไม่ว่าดีหรือเลวนั้นไม่มี เห็นแต่กงกำกงเกวียนหมุนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด จงยอมรับกฎของกรรมซึ่งยุติธรรมที่สุด ใครทำใครได้ อย่าไปมีหุ้นส่วนกรรมกับใครๆเขาโดยการตำหนิกรรมเป็นอันขาด จำไว้นะ ”

    ขอยกตัวอย่างอารมณ์ที่สอบตกสัก ๒ เรื่อง

    เรื่องแรก...มีความโดยย่อว่า มีคนมาเล่าให้ฟังว่า หญิงแก่คนหนึ่งว่าจ้างรถจากในเมืองให้มาส่งที่วัดท่าซุงในราคา ๕๐ บาท พอรถมาส่งที่วัด หญิงแก่กลับให้ค่ารถเพียง ๑๐ บาท บอกว่าฉันมีแค่นี้จะเอาหรือไม่เอา คนรถก็ตำหนิหญิงคนนั้นว่า อะไรกัน คนมาปฏิบัติธรรมที่วัดใหญ่โต แต่ไม่มีสัจจะ พอได้ยินเขาเล่าเพียงแค่นี้ จิตก็ปรุงแต่งตำหนิหญิงแก่นั้นเสียยืดยาว คือ ร่วมวงนินทาปสังสากับผู้เล่าเสียเพลิน กว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผิดทั้งมโนกรรมและวจีกรรม ก็ว่าไปครบสูตรแล้ว จึงต้องขอขมาพระรัตนตรัย

    เรื่องที่ ๒ คือ ตัวของข้าพเจ้าเอง พอขอขมาพระรัตนตรัยเรื่องการตำหนิกรรมของบุรุษผู้สร้างกรรมกับปลาแล้ว ตาก็เห็นหนังสือพิมพ์พาดหัวโต ๆ ว่า เมืองไทยมีคดีฆ่าคนตายมากเป็นอันดับ ๒ ของโลก จิตก็ตำหนิกรรมทันทีว่าไม่จริง เป็นอุปาทานของนักข่าวเอง เพราะประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศที่มีคดีฆ่าคนมากกว่าเรา แต่หนังสือพิมพ์เขาไม่ประโคมข่าวในหนังสือพิมพ์หน้าแรกเหมือนเมืองไทย เมืองไทยชอบประโคมข่าวชั่วร้ายข่าวไม่ดีในหน้าแรกตัวโตๆ ชอบขายข่าวบนความทุกข์ของชาวบ้าน ว่าเสียยาวกว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผลก็คือต้องขอขมาพระรัตนตรัยอีกครั้ง

    : หมายเหตุ

    นี่คือตัวอย่างเมื่อ ๑๕ ปีที่แล้ว ผู้อ่านพระธรรมบทนี้แล้วหากหวังก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม เมื่อรู้ตัวเองว่าผิดก็ควรจะละอายแก่ใจ (มีเทวธรรมหรือหิริ - โอตตัปปะ) ให้ขอขมาพระรัตนตรัยทุกครั้งจนเป็นนิสัย

    ผมขออาราธนาบารมีคุณพระศรีรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง ขอให้ผู้อ่านด้วยความศรัทธาทุกท่าน จงโชคดีในธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ ในชาติปัจจุบันนี้



    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
    ที่มา http://www.tangnipparn.com/page4_b00k3.html
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • First Budhawhite.jpg
      First Budhawhite.jpg
      ขนาดไฟล์:
      145.2 KB
      เปิดดู:
      112
    • Verse.jpg
      Verse.jpg
      ขนาดไฟล์:
      25.9 KB
      เปิดดู:
      100
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มีนาคม 2015
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    ******************************
    ขอบพระคุณค่ะ ขอน้อมรับพรและขอให้ท่านเจริญทั้งทางโลกและทางธรรมค่ะ
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    หลวงพ่อฤๅษีวัดท่าซุง


    สายทิพจักขุญาณ


    ตอนนี้ก็มาพูดกันถึงว่าเราจะเดินสายทิพจักขุญาณค่อย ๆ ว่ากันทีละขั้น ถามว่าท่านจะฝึกมโนมยิทธิหรือ นอนภาวนา นั่งภาวนา เดินภาวนาไปเลย นะมะ พะธะ ว่ากันไปเลย อย่าให้เวลามันว่าง อย่าให้จิตมันว่าง จะได้เลิกกันเสียที ไอ้ความเห็นผิด ไอ้การรู้ผิด ไอ้การเข้าใจผิดน่ะ เลิกกันเสียที ถ้าได้มโนมยิทธิน่ะ เขาแก้อารมณ์กันข้างบนโน่น เขาขึ้นไปเที่ยวกันบนสวรรค์ เที่ยวกันบนพรหม เที่ยวกันบนนิพพาน ถ้าจิตเข้าถึง แล้วแก้อารมณ์มันง่าย ใช้อารมณ์แว๊บเดียวเดี๋ยวเดียวเป็นขั้นนั้นขั้นนี้ไปเลย

    ตอนนี้ มาว่าถึงคนที่มีกำลังใจไม่เข้าถึงมโนมยิทธิ มาว่ากันถึงทิพจักขุญาณ ผมสอนไว้แล้วว่า

    พุทธัง เมฆนิมิต จิตตัง มะอะอุ

    ธัมมัง เมฆนิมิต จิตตัง อุอะมะ

    สังฆัง เมฆนิมิตจิตตัง อะมะอุ


    นี่เป็นแบบลัด คลุมหมดวิชชา ๘ ที่สมาทานกันนี่ ถ้าทำอันนี้ได้ทำได้หมด เวลาเขาทำเขาทำกันยังไง ให้จับภาพพระพุทธรูปหรือจับภาพพระสงฆ์ เป็นพระใช้ได้หมด เวลาภาวนาไปเดินไป นั่งอยู่ นอนอยู่ ยืนอยู่ก็ตาม ภาวนาให้มันติดใจให้มันโผล่ขึ้นมาในใจเสมอ ถ้าจิตเว้นว่างจากอารมณ์อย่างอื่น ให้คำภาวนานี้มันโผล่ขึ้นมาเลย แล้วก็จิตนึกถึงภาพพระให้มันเป็นปกติ นึกเห็นนะ ไม่ใช่พระลอยมา นี่พวกเราที่ยังติดภาพลอยกันอยู่เยอะ ภาพลอยนี่เขาไม่ใช้นะ มันต้องใช้อารมณ์จิตที่เป็นสมาธิ นึกเห็นภาพพระ จะเอาไว้ในอกก็ได้ จะเอาไว้ข้างนอกก็ได้ แต่ผมเองนิยมเอาไว้ในอกหรือว่าในสมอง นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งอยู่ในอกหรืออยู่ในสมอง ถามว่ามันทำยากหรือมันทำง่าย ผมต้องตอบว่ามันไม่ยากถ้าเราแน่ใจซะอย่าง ถ้าเรามีอิทธิบาท ๔ ซะอย่างมันไม่มีอะไรยาก

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LP Ruesri.jpg
      LP Ruesri.jpg
      ขนาดไฟล์:
      16.1 KB
      เปิดดู:
      91
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2015
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    หลงทาง
    raming2555
    มีอยู่เรื่องหนึ่ง ที่ผมเห็นว่าจะมี และจะเกิดขึ้น เสมอๆนั้น สำหรับทั้งผู้ศึกษาและผู้แนะนำการเจริญภาวนานั้น คือ

    การที่ผู้ฝึก ผู้ปฏิบัติ เมื่อมีความก้าวหน้าในการเจริญกรรมฐานแล้ว ในระดับหนึ่ง จะเกิดอาการหลงว่า ตนเองนี้รู้แล้ว พอเข้าใจแล้ว และต่อมาก็เริ่มเห็นว่า ครูผู้สอนและแนะนำในการเจริญภาวนานี้ ไม่มีอะไรแล้ว ไม่เห็นจะรู้อะไรสักเท่าไรเลย เราก็รู้เหมือนกัน จนกระทั่งมีจริยากระด้าง กระเดื่อง ไม่เคารพเชื่อฟังบ้าง ไม่เห็นคุณค่าของผู้แนะนำสั่งสอนมาบ้าง บางครั้งก็รู้สึกไม่พอใจกับคำแนะนำของผู้สอนบ้าง

    อาการเหล่านี้ จะมีเกิดขึ้นกับนักปฏิบัติทั้งหลาย เป็นเรื่องปกติครับ แม้แต่ครูผู้สอนทั้งหลายต่างก็เคยผ่าน อารมณ์เช่นนี้มาก่อนแล้วทั้งสิ้น ดังนั้นแล้ว ท่านผู้ที่มีหน้าที่แนะนำสั่งสอนการเจริญภาวนาทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุสงฆ์ก็ดี ฆารวาสก็ตาม ท่านทั้งหลายเหล่านี้ ท่านไม่ถือสา...
    ส่วนนักปฏิบัติทั้งหลาย ก็พึงหมั่นตามดูจิตดูใจของตนเอง สอดส่องหาสิ่งชั่วในดวงใจ เพราะจริยาที่แท้จริงของนักปฏิบัติทั้งหลาย จะเป็นไปด้วยความอ่อนน้อม แต่ไม่อ่อนแอ ถ่อมตน แต่ไม่ดูถูกดูแคลนตน มีพื้นฐานของจิตใจที่เข้มแข็ง แต่ไม่แข็งกระด้าง

    เมื่อเห็นกริยาของจิตเกิดขึ้นเช่นนั้นแล้ว พึงสวดมนต์ ไหว้พระ กราบพระ บ่อยๆ เพื่อระงับอารมณ์ยโส หยิ่งผยอง หลงทางนี้ ให้สงบระงับลง และค่อยบรรเทาเบาบางลง มีจิตคิดไว้เสมอว่า เรายังเป็นนักปฏิบัติผู้ใหม่อยู่ แม้เวลาล่วงเลยไป 30-50 ปี ก็ยังรู้สึกเหมือนเรายังเป็นผู้ฝึกใหม่ดั่งวันแรก เมื่อนั้นแล้วก็จะมุ่งมั่น ทำความเพียรไป ไม่ลดละลงได้เลย จำจะต้องเร่งรัดความเพียร ตลอดวัน ตลอดเวลา จนกว่าจะถึงลมหายใจสุดท้าย ระลึกไว้ได้เช่นนี้แล้ว การหลงทาง แม้ยังคงมีอยู่ ก็ไม่มากนัก และพอจะมีหนทางปรับปรุงแก้ไขจิตของตนเองได้ง่าย....เพราะในท้ายที่สุดแล้ว ผู้ที่แก้ไขอารมณ์ให้เราได้ดีที่สุด ยังคงเป็นตัวของเราเอง...สวัสดี...

    จากกระทู้ หลงทาง

    ขอบพระคุณท่าน อ ระมิงค์ค่ะ

    <table role="presentation" class="Bs nH iY" cellpadding="0"><tbody><tr><td class="Bu">
    </td><td class="Bu yM">
    </td><td style="height: 349px;" class="Bu y3">
    </td></tr></tbody></table>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มีนาคม 2015
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    "กิเลสแก้ยาก เพราะมุ่งแก้กิเลสผู้อื่น" (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

    "กิเลสแก้ยาก เพราะมุ่งแก้กิเลสผู้อื่น"

    " .. อย่าไปมุ่งเพ่งเล็งแก้กิเลสของผู้อื่น แม้ปรารถนาเป็นผู้พ้นทุกข์ ทุกข์เกิดจากกิเลส เพราะการเพ่งเล็งแก้กิเลสของผู้อื่นนั้น นอกจากจะไม่ทำให้กิเลสของตนเบาบางห่างไกลออกไป ยังจะเพิ่มกิเลสของตนให้มากขึ้น กิเลสของใครคนใด ใครคนนั้นต้องแก้ ไม่ใช่คนอื่นจะไปแก้ให้ได้[​IMG]

    ดังนั้น แม้คิดจะไปเพ่งโทษคนอื่น คือคิดไปแก้กิเลสของคนอื่นนั่นเอง ก็พึงมีสติรู้ให้เร็วที่สุดว่า กำลังทำไม่ถูก ที่ถูกคือต้องแก้กิเลสของตนเอง กิเลสของตนเอง ของทุกคนที่ทุกคนควรแก้ของตนเองไม่ใช่ไปมุ่งแก้ของคนอื่น

    "คนนั้นก็ไม่ดีอย่างนี้ ไม่ดีอย่างนั้น ผิดอย่างนั้น ผิดอย่างนี้" เช่นนี้ไม่มีทาง ที่ตนจะถึงความสุขได้ .. "

    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2015
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    คาถา อภิญญารวม

    "โสตัตตะภิญญา"
    เวลาภาวนาให้กำหนดลมหายใจเข้าออก แล้วก็ทิ้งนิมิตเสีย ไม่ต้องไปใช้นิมิตใน
    กสิณใช้คาถาอย่างเดียว คือกำหนดลมหายใจเข้าออกให้ถึงที่สุดเป็นฌานสี่ เท่านี้
    อภิญญาทุกอย่างก็จะรวมตัวเราใช้ได้ทันทีทันใด โดยไม่ต้องเลือกกสิณอะไรทั้ง
    หมด

    ท่านกล่าวว่าท่านได้พบองค์สมเด็จพระจอมไตรที่พระจุฬามณีเจดียสถาน องค์
    สมเด็จพระพิชิตมารทรงตรัสว่า สัมภเกสี สำหรับอภิญญาที่เธอได้ เวลาที่เธอจะ
    ใช้ก็ต้องจับกสิณนั้น กสิณนี้ ใช้จิตอย่างนี้ช้าไปหน่อย แต่ความจริงเขาใช้อภิญญา
    กันจริงๆ เขาใช้อารมณ์เรียกว่า เขาจับอภิญญารวม คำว่า อภิญญารวมนี่นึกถึง
    อภิญญาสมาบัติ คือนึกถึงอารมณ์กสิณทั้งหมดว่าเราต้องการอะไร แล้วก็ให้ภาวนา
    ภาวนาย่อๆว่า

    "โสตัตตะภิญญา"
    ใช้คำเพียงเท่านี้ เวลาภาวนาให้กำหนดลมหายใจเข้าออก แล้วก็ทิ้งนิมิตเสีย ไม่
    ต้องไปใช้นิมิตในกสิณใช้โสตัตตะภิญญา อย่างเดียว คือจับกำหนดลมหายใจเข้า
    ออกให้ถึงที่สุดเป็นฌาน ๔ เท่านั้น อภิญญาทุกอย่างก็จะรวมตัว เราจะใช้ได้ทันที
    ทันใดโดยไม่ต้องเลือกกสิณอะไรทั้งหมดตามบันทึกของท่านๆ ก็มาทำๆ แล้ว
    สบายใจอภิญญาทุกอย่างมันก็รวมตัว เวลาจะใช้อภิญญาก็ใช้ โสตัตตะภิญญา
    เห็นคำภาวนาเท่านี้

    ตามบันทึกของท่านนี้ผมไม่เห็นท่านบอกว่าสงวนสิทธิ์ ในเมื่อท่านไม่สงวนสิทธิ์
    ท่านก็สามารถจะทำได้ทุกคน แต่ว่าอย่าลืมว่า ท่านเจ้าของท่านทรงสมาบัติ ๘ ในเมื่อจิตทรงฌาน ๘ จะคว้าอะไรมันก็ได้ทันที ไม่เสียเวลาแม้แต่หนึ่งนาที ถ้า
    เรามีฌานไม่ถึงสมาบัติ ๘ เราก็ทำตามกำลังของเรา จะทำได้ไม่เท่าท่าน แต่ทำ
    ได้ใกล้ท่าน ค่อยๆ ทำไปก็ใกล้เข้าไปทุกที มันก็ใช้ได้เหมือนกัน ของสิ่งนี้รู้สึก
    ว่าใครคนใดคนหนึ่งนำไปใช้แกบอกว่ามีผลดีมาก

    (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๗๘)
    กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา : กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LP Ruesri4.jpg
      LP Ruesri4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73.4 KB
      เปิดดู:
      87
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2015
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า(คัดลอกมาบางตอน)
    อย่างที่หลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญท่านให้ภาวนาว่าสัมมาอรหัง บาง คนบอกของฉันนี่พุทโธดีกว่า สัมมาอรหังสู้ฉันไม่ได้ ทางพวกนั้นเขาอาจจะบอกว่าสัมมาอรหังของฉันดีกว่าพุทโธของเธอสู้ฉันไม่ได้ บางท่านก็บอกว่า พุทโธก็ดี สัมมาอรหังก็ดี ไม่ทันสมัย สู้ยุบหนอพองหนอ ไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายเป็นผู้รับฟัง ท่านจะมีความรู้สึกอย่างไร ถ้าเราไม่ศึกษากันให้ครบ เราก็คงจะคิดว่าไม่ใครก็ใครต้องผิดฝ่ายหนึ่ง ถ้าเราศึกษากันให้ครบจริงๆ ก็จะเห็นว่าการใช้ทั้งสามแบบหรือแบบอื่นก็ไม่มีใครผิด ทั้งนี้เพราะว่า พุทโธ เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน สัมมาอรหัง ดูในอิติปิโสบทต้นก็เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ยุบหนอ พองหนอ เอาเฉพาะคำว่า ยุบหนอ พองหนอ อันนี้เป็นอานาปานสติกรรมฐาน แต่ถ้าอารมณ์ใจของท่านจะใช้ในด้านวิปัสสนาญาณอีกก็ได้ สำหรับที่วัดหลวงพ่อวัดปากน้ำสอนว่าจงเพ่งดวงแก้วภายในอก ถ้าเราไม่ศึกษาให้ครบ เราก็จะนึกว่านี่ยุ่งแล้ว ดวงแก้วในอกนี่ไม่มี สอนแบบนี้น่ากลัวจะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ เพราะว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านโดนมาแล้ว ผมเคยได้ฟัง ความจริง คำว่าดวงแก้วจัดว่าเป็นแสงสว่างก็จัดว่าเป็นอาโลกกสิณ และศัพท์ที่ท่านใช้ก็ใช้ให้ฟังง่ายๆ เท่านั้น ถ้าบอกว่าอาโลกกสิณชักยุ่ง ก็เลยไปเบ่งกันว่ากสิณเป็นของวิเศษกว่าของอื่นกันไปหมด ความจริงกรรมฐานทุกกองมีค่าเท่ากัน

    เป็นอันว่าถ้าเราศึกษาให้ดี และพิจารณาลักษณะอาการหรือว่านิมิตที่ท่านปฏิบัติ เราก็อนุโลมเข้ามาได้ในกรรมฐานสี่สิบ ไม่มีอะไรผิด หรือว่าในมหาสติปัฏฐานสูตร ความจริงกรรมฐานใหญ่คือกรรมฐานสี่สิบ ย่อมเป็นเครื่องรับรองทั้งหมด การศึกษา ถ้าหากว่าเราศึกษากันไม่ครบ เราก็จะได้ยินบ่อยๆ ว่าทำอย่างนี้ไม่ดีสู้อย่างนั้นไม่ได้ อย่างนี้น่าสลดใจ การศึกษาให้ท่านทั้งหลายศึกษาให้ครบ เมื่อครบแล้วก็จงใช้ปัญญาพิจารณาด้วย ใช้อิทธิบาทสี่ คือ ฉันทะ ความพอใจ พอใจเพื่อจะตัด โลภะ ความโลภ ราคะ ความรัก โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง

    ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LPRuesri3 (2).jpg
      LPRuesri3 (2).jpg
      ขนาดไฟล์:
      116.1 KB
      เปิดดู:
      111
    • Lustless.jpg
      Lustless.jpg
      ขนาดไฟล์:
      125 KB
      เปิดดู:
      107
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LoveandBone.jpg
      LoveandBone.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.9 KB
      เปิดดู:
      942
    • Dogtell.jpg
      Dogtell.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19.5 KB
      เปิดดู:
      91
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มีนาคม 2015
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    คำสอนบางตอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    แดนพระนิพพาน
    ตานี้มาพูดกันถึงแดนพระนิพพาน อันนี้พระพุทธเจ้าทรงรับรองนี่ ว่าสถานที่อีกแห่งหนึ่งมีดีกว่าพรหม บริสุทธิ์กว่าพรหม มีความสุขกว่าพรหม ถึงที่นั่นแล้วไม่มีการเคลื่อน นี่พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่าพระนิพพานสูญ แต่ว่าเราเรียกกันว่าสูญ อาตมาเรียนมาก็สูญ แถมก็ไปเทศน์ว่าสูญเสียอึก เยอะด้วยซี ต่อมาภายหลังทราบชัดว่าองค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ คือพระพุทธเจ้ารับรองว่านิพพานไม่สูญ เลยเทศน์ใหม่ ไปเทศน์ที่ไหนก็ไปขออภัยชาวบ้านเขาว่า ได้ที่เทศน์มาเก่าน่ะมันผิด เวลานี้ไปพบพระสูตรเข้าสูตรหนึ่ง ปรากฏว่าพระพุทธเจ้ายืนยันว่าพระนิพพานไม่สูญ แล้วถ้าพระนิพพานไม่สูญหรือพระนิพพานสูญ เราจะรู้กันได้ยังไง เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายที่ฟังก็ตาม ที่ติดตามมาก็ดี ฟังกันดูให้ดีนะ ถ้าใครสงสัยเรื่องพระนิพพานทำกันแบบนี้ จะบอกให้ มีหรือไม่มี สูญหรือไม่สูญ เอากันแบบปฏิบัติให้มันถึงนา ไม่ใช่มานั่งเถียงกัน ไอ้การที่มานั่งเถียงกันนี่ไม่มีประโยชน์ เมื่อยลิ้นเปล่าๆ ไปนอนไปเที่ยวไปดูหนังดูละครดีกว่า หรือกินข้าวกินปลาให้มันอิ่มดีกว่า อย่ามานั่งเถียงกัน มานั่งทำกันให้มันถึงเลยดีกว่า ทำถึงเลยทำยังไงจะบอกให้ฟัง ในตอนต้นปฏิบัติตามแบบอุทุมพลิกาสูตร อย่าละ อย่าเว้นนา นิดหนึ่งก็ห้ามข้ามแล้วหน่อยหนึ่งก็ห้ามประมาท ทำแต่พอเหมาะพอดี อุทุมพลิกาสูตร พุธหน้าเริ่มต้นแล้วฟังไว้แล้ว จำไว้ บันทึกเข้าไว้ จะมานั่งถามกันบ่อยๆ ถ้าออกรายการนั้นแล้วเอามาถามไม่พูดไม่ฟังอีกแล้ว ถ้าพูดไห้จำแล้วไม่จำ ไห้จดแล้วไม่จด ให้เก็บเสียงไว้ไม่เก็บ จะมานั่งถามกัน เสียเวลานอน ไม่เอาไม่เอาหรอก ไม่ได้บวชมาเพื่อประจบชาวบ้าน บวชมาเพื่อมีความประสงค์อย่างเดียว คือว่าเป็นตาเถรไม่อยากเกิด แต่มันจะเกิดหรือไม่เกิดก็ช่างมัน แต่จิตใจมั่นไม่อยากเกิด เป็นเถรนี่ดีกว่าพระมียศทีศักดิ์ เพราะตำแหน่งเถรใครถอดไม่ได้ สบายเวลานี้เป็นเถร สบายเวลานี้เป็นเถร ไปดูในทำเนียบพระไม่มีหรอกเถร มีแต่เถระพระผู้ใหญ่ ตาเถรไม่มี นี่คนพูด นี่เป็นตาเถร ไม่อยู่ในทำเนียบพระ สบาย สบายเพราะไม่มีตำแหน่งให้ถอด เป็นอันว่าปฏิบัติตามอุทุมพลิกาสูตรนั้น ให้ได้ด้วยบุพเพนิวาสานุสสติญาณระลึกชาติได้แล้วก็จุตูปปาตญาณ คือได้ทิพยจักขุญาณ เอาละ อีตรงนี้ แล้วก็พิจารณาวิปัสสนาญาณ ให้เข้าถึงโคตรภูญาณหรือพระโสดาบัน แค่โคตรภูญาณนี่ใช้ได้แล้วพอแล้ว ตอนนี้ เราจะอาศัยทิพยจักขุญาณมองเห็นพระนิพพานได้ชัดเจน แจ่มใส ไม่ต้องถึงอรหันต์แล้วก็ยังไม่ถึงพระโสดาบัน นี่ว่ากันฝ่ายวิชชาสามขึ้นไปนะ วิชชาสาม อภิญญา ๖ เข้าปฏิสัมภิทาญาณ ท่านผู้นี้เห็นพระนิพพานชัดเจนแจ่มใส แต่ว่าฝ่ายสุขวิปัสสโก ไม่เห็นอะไร แต่พอใจ เชื่อว่าพระนิพพานมีจริง เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง เรื่องของพระนิพพาน นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หากว่าท่านไม่สามารถสร้างทิพยจักขุญาณให้ปรากฏ แล้วก็ไม่สามารถจะทำจิตของท่านให้เข้าถึงโคตรภูญาณ เรื่องของพระนิพพานเย็บปากไว้เสียก่อนดีกว่า เย็บเสียเลยนะ อย่าเผยอพูดไปเลย พูดเท่าไรผิดเท่านั้น เพราะอะไร? ฟังมาเยอะแล้ว ฟังมามากแล้วที่ท่านไม่เข้าถึงจังหวะแล้ว พูดถึงพระนิพพานไม่เห็นใครพูดถูกสักราย แม้แต่เพียงแค่เปรตยังพูดไม่ถูก อสุรกายก็พูดไม่ถูกแล้ว ทำไมจะไปพูดเรื่องพระนิพพาน เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เรื่องไตรภูมิก็ขอเอวังลงแค่นี้ บรรดาท่านพุทธบริษัทที่มาเที่ยวพรหมชั้นอนาคามี แหงนหน้าขึ้นไปดูอีกสักนิดซี กำลังยืนอยู่ชั้นที่ ๑๖ เห็นไหม ท้องฟ้าต่ำๆ มีทางเป็นประกายระยิบระยับสวยสดงดงามยิ่งกว่าพรหมชั้นที่ ๑๖ มาก แค่ทางนะ ท้องฟ้าก็สวย มีดาวเป็นประกายเต็มไปหมด ดาวดวงใหม่ที่สุดก็มีดวงเล็กๆ ย่อมลงมาก็มี สถานที่นี้เขาเรียกว่าอะไร นั่นคือพระนิพพาน เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เมื่อเวลาก็หมด รายการก็ขอหมดเพียงนี้เพราะไตรภูมินี้ ถ้าจะพูดกัน ๑๐๐ ตอน หรือ ๒๐๐ ตอน แต่หนังสือจะมากเกินไปพูดมาเท่านี้ก็เพื่อให้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ได้รับฟังไปนิทรรศนะได้บ้าง ถ้ามีใครมีความต้องการเกินในนรก เป็นเปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน หรือเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหม หรือไปนิพพาน จะได้นำเอาปฏิปทานั้นเป็นเครื่องวัดใจของตัว แล้วก็ปฏิบัติตามนั้น จะได้ไปในที่นั้นๆ ได้สมตามอัธยาศัย เอ้า วันนี้เลยเวลาของสถานีวิทยุ ๐๔ มาหน่อยหนึ่งแล้ว ขออภัยท่านเจ้าหน้าที่ด้วย ยังไงๆ ก็เป็นอันว่าเลิกเที่ยวกันเสียทีสำหรับเมืองผี ก็ขอยุติด้วยเวลาแต่เพียงนี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล ขอบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จงเจริญไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ และ ปฏิภาณ ธรรมใดที่สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจารย์ และพระอรหันต์ทั้งหลายได้ ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายที่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว จงเห็นธรรมนั้นทุกท่านในชาติปัจจุบันนี้เถิด สวัสดี. .


    คำสอนบางตอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    .หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    ในทางปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาด เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา เมื่อสติมันติดต่อกันไปอย่างนี้แล้ว ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา" ตัวรู้ก็คือ "สติ" นั่นเอง

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2015
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    บุญ บาป เป็นของเที่ยงแท้แน่นอน ใครจะมาว่าเรา เป็นเรื่องปากเขา จิตเรามีหน้าที่ภาวนา ยืนให้มีสติ เดินให้มีสติ
    ทำอะไร พูดอะไร ให้มีสติ รู้ภายนอกรู้ไปทำไม รู้ภายใน รู้กาย รู้จิต ของตัวเองดีกว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LP Sim.jpg
      LP Sim.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.8 KB
      เปิดดู:
      77
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    โอวาทหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

    เมื่อเราควบคุมกำลังใจให้ทรงตัวอยู่ การควบคุมกำลังใจด้วยอานาปานุสตินี่มีความสำคัญ นี้ต่อไปการใช้ปัญญาในด้านสมถะ ภาวนา ค้นคว้าหาความจริงด้านตื้นๆ ไว้ซะก่อน คือ มานั่งนึกดูว่าร่างกายของเราสกปรก หรือว่ามันสะอาด ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ไล่ เบี้ยไปตามแบบรำคาญเปล่าๆ

    มานั่งดูอุจจาระของเราสะอาดไหม ปัสสาวะสะอาดไหม น้ำลายสะอาดไหม น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง สะอาดไหม เอาแค่นี้ก็แล้วกัน เอาอย่างย่อๆ

    ถ้าเราคิดว่ามันไม่สะอาด ตอบตัวเอง ก็ถามมันดูมันอยู่ที่ไหน มันอยู่ในร่าง ก็ถามใจมันดู ฟังใจมันตอบ ถ้ามันตอบที่อื่นก็เตรียมตัวลงนรกไป ถ้ามันตอบว่าอยู่ในกาย ก็ถามมันดูดิว่าไอ้กายของเราคบของสกปรกเข้าไว้เต็มตัวแบบนี้กายของเราสะอาด หรือสกปรก ไอ้กายของเรานี่มันทรงสภาพไหม มันเป็นแท่งทึบ มันเป็นอาการกายวัตถุท่อนเดียวหรือว่ามีหลายท่อน กายเราเป็นแท่งทึบหรือโปร่งถามมันดู ถ้ามันฉลาดมันก็ตอบข้างในว่าโปร่ง มีหนังกำพร้าหุ้มอยู่ มีเนื้อพอกอยู่ภายใน ภายในเข้าไปนั้นก็มีกระดูก เลยกระดูกเข้าไปโปร่งหมดมีช่องว่าง มีเครื่องจักรกลต่างๆ มีตับไต ไส้ ปอด อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เสมหะ อุจจาระ ปัสสาวะ เต็มไปด้วยความสกปรก หาอะไรดีไม่ได้เลย เราก็ถามมันดูซิว่า ในเมื่อร่างกายมันสกปรก เราจะควรคบมันไหม เราชอบสกปรก หรือ เราชอบสะอาด

    ถ้าใจมันชอบสกปรก บอก เออ ดีและ ร่างกายพาลงไปนรกซ่ะ เพราะนรกมีของทำลายความสกปรก คือ มีไฟเป็นเครื่องเผาสิ่งโสโครก มีสัมพาวุธ เป็นเครื่องตัดฟันสิ่งโสโครกอันนี้ถ้ามันตอบว่าสกปรก ถามเอ็งชอบไม่ชอบ ถ้าไม่ชอบเราจะหลงมันอยู่เพื่อประโยชน์อะไร ดูกายก่อน พระอรหันต์ทุกองค์ ต้องผ่าน กายคตานุสสติกรรมฐาน อันนี้เขาเรียก กายคตานุสสติกรรมฐาน

    เมื่อเห็นว่าสกปรก พิจารณาให้มันเห็นว่ามันสกปรกจริงๆ อย่าไปหลอกตัวเอง นึกให้เห็นตามความเป็นจริง ว่ามันสกปรก ทำจิตให้เขาถึงความสกปรกของร่างกาย สร้างความเบื่อหน่าย สะอิดสะเอียนในร่างกายซึ้งจริงๆ ให้มันถึงจริงๆ เห็นคนทุกคน เห็นสัตว์ทุกประเภท มองปั้บ ผ่านผ้าผ่านหนังผ่านเนื้อ เข้าไปถึงข้างในเลย อย่าให้ตาไปอยู่ที่ผ้าอาภรณ์ภายนอก หรือ ผิวหนัง หรือ แค่เนื้อ เมื่อเราเห็นตัวเรา ตัวเรานี่สำคัญ ถ้าเราเห็นสกปรกซะแล้ว คนอื่นสกปรกทั้งหมด ถ้าเรายังเมามันว่ามันสะอาด แหม่ ความโปร่งของนรก มันยังมีกำลังมาก!!!

    อันนี้ถ้าเราเห็นว่าร่างกายสกปรก สกปรกนะมันเป็นยังไง ก้าวต่อไปก้าวเดียวเป็นวิปัสสนาญาณ ไอ้ตัวนี้เป็นสมถะ สกปรกนี่น่าสะอิดสะเอียน เมื่อก้าวต่อไป ไอ้ของสกปรกเหล่านี้มันเป็นของเราจริง หรือว่าเป็นของเรา หรือไม่ใช่เรา หรือไม่ใช่ของเรา ตรงนี้ซิ!!! มาแล้ว

    จะเข้าจุดจบ จะเข้าจุดพบ พอพิจารณาไปแล้ว แหมมันสกปรกจริงๆ เราก็พยายามหาสิ่งที่สะอาดมาป้อนมันเข้าไป อาหารเด็กป้อนเข้าไปแต่ละชิ้น ต้องทำให้สุข ต้องทำให้สะอาด น้ำแต่ละอย่าง แหม ต้องหา ดีไม่ดีน้ำประปากินไม่ได้ ต้องกินน้ำฝนนู่น ต้องเอาให้สะอาดที่สุด แล้วมันพยายามสะอาดไหม ถ้าหาความสะอาดอะไรไม่ได้เลย มันก็เพิ่มความสกปรกอยู่นั่นที่นี้มันสกปรกแล้วมันทรงตัวไหม เราต้องการให้มันทรงตัว ไม่อยากให้มันแก่ ไม่อยากให้มันป่วย ไม่อยากให้ทรุดโทรม ไม่อยากให้มันตาย มันทรงตัวหรือเปล่า

    ถ้าพิจารณาไปจริงๆแล้วมันก้าวไปหาความพังอยู่ทุกวัน ความทรุดโทรมอยู่ทุกวัน ร่างกายทั้งจิตใจ ทั้งประสาท ด้านความคิดเต็มไปด้วยความเสื่อม เสื่อมลงไปทุกวัน
    นี่เป็นตัววิปัสนาญาณ เอาสมถะตัวนี้นั่นละ เข้าเป็นวิปัสสนาญาณ ร่างกายนี่มันสกปรกไม่พอ นี่มันเสื่อม มันต้องการเข้าไปหาความตาย จักรกลต่างๆ ภายใน เนื้อหนังที่ปรากฏไว้เป็นเช่นต่างๆ มันลดหายลงไปทุกที ความเป็นหนุ่มเป็นสาว มีร่างกายเป็นที่เปร่งปรั่งและก็เลือดฝาด มีความเอิ่มอิ่ม พอเริ่มความเป็นแก่เข้าแล้วหมด
    อยู่นู่น อ้างนี่เข้ามาทุกที นี่มันเป็นอะไร เพราะมันเป็นอนิจจังหาความเที่ยงไม่ได้ ในเมื่อมันไม่เที่ยงเราจะเอาจิตเข้าไปเกาะมัน ไอ้ตัวทุกขังมันมา เพราะจิตมันเข้าไปเกาะ เกาะว่าร่างกายมันต้องทรงอยู่แบบนี้ ทรงอยู่แบบนี้ มันต้องเป็นอย่างนี้ ดีแสนดี ไม่เคลื่อนไหวไปไหน อันนี้เราเอาจิตเข้าไปเกาะมันทำไม ในเมื่อมันมีสภาพมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง มีการแตกสลายไปในที่สุด ก็เชิญมันตามสบาย ถ้าเราจะไม่เชิญมัน เราไปขวางมัน เราก็ขวางมันอยู่นิ ถ้าเราขวางมันไม่อยู่ จะไปขวางมันทำไม ถ้าขืนขวางมากเท่าไหร่มันทุกข์เท่านั้น มันเดือดร้อนเท่านั้น ตามใจมันซะเลย เพราะถึงไม่ตามใจมัน มันก็ต้องเป็นแบบนั้น มีอุปมาเหมือนกับน้ำ น้ำย่อมไหลจากที่สูงลงไปที่ต่ำ

    ถ้าเราอยู่ว่างๆ เราจะดันน้ำจากที่ต่ำขึ้นไปที่สูง มันเป็นไปไม่ได้ด้วย มันก็เหนื่อยหนัก ถ้าเราตั้งใจเอาเต็มที่ เอาจริงๆ ความลำบากใจมันก็เกิดขึ้น คือ ความทุกข์ มันไม่สำเร็จผล นี่ร่างกายของเราก็เหมือนกันมันเป็นอนิจจัง มันไม่เที่ยง มันก็เคลื่อนลงไป เคลื่อนลงไป ในที่สุดก็เป็นอนัตตา สลายตัว

    นี้พอพิจารณาถึงความสกปรกของร่างกายแล้ว ก็จับวิปัสสนาญาณ คือ นิพิทาญาณ อันนี้ ข้ามขั้นไปเลย ไม่ต้องไปไล่เบี้ยกันญาณต้ง ญาณต้น นั่งไล่เบี้ยตามแบบ มันช้า จิตมันเข้าถึงไหนเอาถึงนั้น ให้เห็นว่าร่างกายสกปรก เอานิพิทาญาณเข้ามาจับ ไอ้ของสกปรกนี่เราควรจะทิ้งมันไปหรือว่าควรจะเก็บมัน ถ้าเห็นจริงๆ ความเบื่อหน่ายมันจะปรากฏ มันเบื่อ มันเบื่อก็ควรทิ้ง ไอ้ตัวทิ้งตัวนี้ ไม่ใช่ ไม่ใช่นิพิทาญาณแล้ว เป็นญาณที่ 8 คือ สังขารุเปกขาญาณ วิปัสสนาญาณมาจบที่ สังขารุเปกขาญาณ ญาณที่ 8 วามจริงๆมันมี 9

    ตัวทิ้งขันธ์5 ได้แก่อะไร ก็เฉยมันเสียซิ ช่างมัน อยากแก่ก็เชิญแก่ อยากป่วยก็เชิญป่วย ถ้ามันยังไม่ถึงเวลาตาย กินยาระงับเวทนาเข้าไว้ มันตายเมื่อไหร่ก็เลิกกิน ถ้าเราตายแล้วจะทำยังไง สังขารุเปกขาญาณ มันวางเฉย นี่ตัวอุเบกขา ในพรหมวิหาร4แล้วนะ ถ้าเข้าไปถึงจุดวิปัสสนาญาณ มันเป็นสังขารุเปกขาญาณเลย ผมบอกแล้วนี่ว่า พรหมวิหาร 4 มันมีทั้งศีล สมาธิ และปัญญา

    วางเฉย แก่ก็แก่ ป่วยก็ป่วย ตายก็ตาย มีกินก็มี ไม่มีเฉยไว้ ตายก็ช่างหัวมัน อะไรมันจะมากระทบกระทั่งภายนอก ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา

    พอเฉย ช่างมัน ช่างมัน ช่างมัน หมดเรื่อง "ไอ้ตัวอุเบกขา คือ ตัวช่างมัน" ถ้าพูดกันในภาษาไทย เราไม่ยินดียินร้ายกับมันเสียก็หมดเรื่อง นี่ตัวนี้ทรงให้หนัก ช่างมันเนี่ย ทรงให้หนัก เพราะว่า ทรงตัวช่างมันได้เต็มที่ละก็ ผมไม่บอกหรอกว่า ท่านจะเป็นพระโสดาบัน ถ้าเราทรงช่างมันได้เต็มที่ละก็ เดี่ยวเดียวจะเป็นพระอรหันต์
    พระอรหันต์นั้นไม่มีอะไรมาก ก็มีตัวช่างมันเท่านั้น ช่างมันเป็นปกติ ช่างมันในเรื่องของขันธ์ 5 น่ะ ถ้าใครทำผิดในเรื่องของพระธรรมวินัย อรหันต์ช่างไม่ได้ ต้องขวางทันที เพื่อรักษาความดีของพระพุทธเจ้าไว้

    นี้พอตัวช่างมัน มันเกิดขึ้น แต่เรามีอารมณ์ชื่นใจ ชุ่มชื่นใจ ตรงนี้นี่ก็เป็น วิปัสสนาญาณอารมณ์นิพิทาญาณ เป็นญาณ 9 วิปัสสนาญาณอารมณ์นิพิทาญาณ เขาพิจารณาอริยสัจ วนไปวนมา คือ ทุกข์ ได้แก่ความทนได้ยาก เหตุให้เกิดทุกข์มาจากตัณหา นิโรธ ถ้าเราดับทุกข์ได้เมื่อไหร่ เราก็มีความสบาย ไอ้ตัวที่จะดับทุกข์ได้ คือ มรรค ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ไปๆ มาๆ ก็มาทิ้ง ศีล สมาธิ ปัญญา ไปไม่ได้

    ศีลก็ศีล สมาธิ คือ ตัวสมถะ ปัญญา คือ ความเห็นจริงได้แก่วิปัสสนาญาณ
    นี่วนไปวนมา วนมาวนไป อยู่พักนึง พอเข้าถึงจุดนี้แล้ว พอวนไปวนมาจิตมันยังตัดสังโยชน์ไม่ได้ ก็จับเอาบารมี 10 ประการเข้ามา

    ในบุญบารมี 10 ประการก็นั่งนับ ว่าบุญบารมี 10 ประการเราบกพร่องตรงไหนบ้าง ดูที่อารมณ์ใจของเรา ตรงไหนมันยังไม่จุใจบ้าง มันต้องมีตัวใดตัวหนึ่งที่มันพลาดอยู่ เพราะบารมี 10 ประการ นี่มันตัวควบคุมใจให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า อย่างเลวที่สุดเป็นพระโสดาบัน เรียกว่าเลว เลว เลวอะไรดี เลวหมาเลยก็แล้วกันถ้าเรามีบารมี 10 นี่ ครบถ้วน ไล่เบี้ยนะ ทานบารมี ศีลบารมี ว่าไป บารมี นี่แปลว่า เต็ม ทำกำลังใจให้เต็มพร้อมมูล ในการปฏิบัติงานตามอำนาจของบารมี ไม่ยากหรอก พระเจ้า คนในวัดเราสังเกตุได้ ถ้าคนมีบารมีครบถ้วน เขาเดินเลยกิจที่จะต้องเดินผ่าน ภาระอันใดที่ปรากฏมันจะเสียหายก็ตาม กิจที่ควรจะทำก็รีบทำทันที นี่บารมีมันติด เป็นวิริยะบารมี เมื่อบารมีมันก็ต้องพร้อมต้องเต็ม นั่งเอาบารมีมาไล่เบี้ยให้ครบ ถ้าอันไหนไม่ครบ สร้างกำลังใจให้มันครบ พร้อมเสมอที่จะปฏิบัติ พอเหตุนั้นเข้ามาถึง จับจิต จับได้ เอาเข้าไปรับทันที นี่แสดงว่าบารมีของเราสมบูรณ์ ถึงปรมัตหรือยัง มันต้องเข้าถึงปรมัต หากปรมัตเต็มที่แล้ว เป็นอรหันต์ทันที

    เพราะเราพิจารณาสัจจานุโลมมิกญาณ คือ จิตมีนิพิทาญาณ กับสังขารุเปกขาญาณ อย่างนี้เป็นอรหันต์ได้สบายแล้ว แต่ว่ายังนะ ถ้าบารมีพร่อง มันขัดที่บารมี ก็จับที่บารมีให้อยู่ ตรงไหนหนอมันพร่อง ต้องไล่เบี้ยบารมีให้หนัก เอาบารมี 10 มากางอ่านมันทุกวัน อ่านแล้วก็วัดใจลงไปทุกวัน ถ้าใจมันครบถ้วนบริบูรณ์เมื่อไหร่ เราก็อย่างเลวที่สุด เราเป็นพระโสดาบัน ไม่ยากเลย แล้วก็เผลอ ๆ พลั้บเดียว 7 วัน หรือ ว่า 7 เดือน หรือว่า 7 ปี 7 ปีว่าเลวมาก อย่างเร็วภายใน 7 วันก็เป็นพระอรหันต์ อย่างกลางภายใน 7 เดือนเป็นพระอรหันต์ อย่างเลวหมูเลย ไหนที่บอกว่าเลวหมาไม่หยาบ เลวหมาดีกว่า เลวหมาไม่กินใน 7ปี เป็นพระอรหันต์ นี่เราปฏิบัติตามที่เราปฏิบัติมานี่ มันเข้าจุดหมายปลายทาง ตรงทาง ตามจุด ทว่าอย่าอวดตัวเป็นคนฉลาด ถ้าทำตัวเป็นคนฉลาดแวะนู่นแวะนี่ สงสัยนั่น สงสัยนี่ นั่นนะ ไปเลย ไปอยู่กับลุงพุฒิ ไม่ต้องไปมันแล้ว ไอ้สวรรค์นิพพาน พรหมโลก อะ

    นี่พุดวันนี้ก็พูดเพื่อให้เข้าใจ จะได้ไม่ประมาท คำว่าประมาทนี่ อย่าให้มันมีในใจ คำว่า "ไม่เป็นไร" จงอย่าใช้ ขึ้นชื่อว่า ความชั่วนิดนึง ถ้าทำแล้วไม่เป็นไร อย่า !!! ทีนี้ไอ้ความดีที่เราจะทำก็เหมือนกัน " เดี่ยวก่อน " เดี่ยวก่อน เดี่ยวค่อยทำ อีกสักครู่แล้วถึงค่อยทำ ถ้าลองสักเดี่ยวหนึ่งก็แปลว่าเราประมาท ดูวัตถุเป็นของสงฆ์สังเกตุได้กะคน ถ้าของสงฆ์มันจะเสียหาย ถ้าเราเดินผ่านไปผ่านมาแบบไม่สงสัยนะ โหยยยยยย ยังไกลสวรรค์เยอะเลย เพราะอะไร เพราะบารมีไม่ได้ติดมาเลย แม้แต่เสี้ยวหนึ่ง แม้แต่หยดหนึ่งของบารมีสิบ ไม่ได้มีเลยแม้แต่น้อย ยังจะให้ใครเขาเข็น ยังไม่ยอมรู้ว่าอะไรมันจะดีมันจะชั่ว มันจะเสียมันจะไม่เสีย เราเป็นพระ เราเป็นคนในวัด กิจที่จะต้องพึงทำคือช่วยกันรักษาของพระศาสนา ไอ้นี่ผมไม่ได้เคี่ยวเข็ญท่านนะ ผมสังเกตุดูตามนี้ แล้วผมก็สังเกตุตัวของบุคคลที่เขาจะบรรลุง่ายๆ พวกนี้เดินไม่ ไม่เดินไปไม่ไกลละ เจอะนู่นจะเสีย เจอะนี่จะเสีย รู้ของมันจะเสีย รู้ค่า รู้ของอะไรควรไม่ควรอยู่ที่ไหน เห็นท่ามันอยู่ในสถานที่ไม่ควร เขาทำทันที นี่พวกบารมีครบถ้วนเขาเป็นอย่างนี้

    นี่คุยให้ฟัง เดี่ยวลืมในตอนต้นนะ ควบคุมกำลังจิต ให้เป้นสมาธิ ตัวสมาธินี่สำคัญ สมาธิอยู่ที่อานาปานนุสติเป้นตัวใหญ่ เพราะว่าเราจะพอใจในกรรมฐานกองไหน ทำได้ตามสบาย แต่ถ้าว่าอย่าทิ้งอานาปานนุสติ เอาตัวใหญ่ขึ้นต้นไว้ก่อน ไม่งั้นกรรมฐานกองนั้นจะไปไม่รอด

    เอาละวันนี้พุดเยอะ แต่ไอ้ที่พูดไม่ค่อยสำคัญ ถ้าพวกท่านไม่เข้าใจเสียอย่างเดียวนะ ต่อให้เจิรญกรรมฐานอีกแสนชาติก็ไม่ได้อะไรเลย แต่หากว่าท่านมีความเข้าใจ
    ซะจริงๆแล้ว เอ้ กรรมฐานมันง่ายนิดเดียว ทั้งสมาธิและวิปัสสนาญาณ ไม่ใช่ของยากเลย ของง่ายๆ เราจะเห็นว่าสมัยก่อนๆ เขาปฏิบัติกัน ฟังพระพุทธเจ้าเทศน์จบเดียวเป็นพระอรหันต์ ฟังพระพุทธเจ้าเทศน์จบเดียวเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี นั่นเป็นเพราะเขาเข้าใจ แล้วไปบอกบารมีเขาเต็ม บารมีเขาเต็มได้ บารมีเราก็เต็มได้ ทำไมมันจะเต็มไม่ได้ มันเป็นของสร้างขึ้นมาใหม่ได้ ไม่ใช่ขนของเก่าเสมอไปมะไหร่ เราก็ยังเห็นได้ เมื่อคนที่บารมีป้อแป้ อย่างพระราทัศพรหม(ชื่อฟังไม่แน่ใจ) มีบารมีป้อแป้ก็จริง แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แนะนิดเดียวบารมีเต็ม ปฏิบัติตามไปเท่านั้นเองไม่ฝ่าฝืน ไม่ใช่ไปนั่งอวดตัวเป็นศาสดา ภายนอกละ แหม ใครมาละคุยฟุ้ง รู้นั่นรู้นี้รู้นู่น ที่ไหนได้เอาจริงเอาจัง แหม ข้อวินัยข้อเล็ก ๆ ยังไม่รู้เลย สมาธิก้ไม่ได้ได้อะไร ทำอารมณ์เฝือไปคุยกับชาวบ้านเขา ถ้าเรามันเฝือแล้ว ไอ้คนรับฟังมันก็เฝือด้วย

    ถ้าเขาเข้าใจผิดเรา กลายเป็นคนทำให้เขาเกิดเป็นมิจฉาทิฐิ เราลงนรกสบายไปอยู่กับเทวทัต อย่า นักปฏิบัติเขาไม่ฝืนมาก ถ้าเราไม่รู้จริง อย่าไปคุยเด็ดขาด ถ้าไม่เข้าใจบอกตำรามี ไปอ่านดิ ถ้าเขาถามท่านทำไม ถึงไม่อธิบาย ฉันยังไม่ได้อ่านเหมือนกัน ขี้เกียจเหมือนกัน ถ้าถามว่าท่านอยู่ในสำนักงานปฏิบัติพระกรรมฐาน ทำไมถึงขี้เกียจ ก้บอกฉันเป็นคนไม่เอาถ่าน บอกอาศัยกินเฉยๆ ตะหาก เขาจะได้รู้ เขาจะไม่ได้ว่าเราต่อไป

    เอ้าต่อไป ขอให้ทุกท่านพยายามตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธนาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา วันนี้ตั้งเวลาไว้แค่ 20 นาทีเท่านั้น

    ถอดเทปบางส่วน จาก ๐๙.คำสอนที่วิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร ม้วน ๙ หน้า B
    ถอดเทปบางส่วน จาก ๑๐.คำสอนที่วิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร ม้วน ๙ หน้า A

    เทป ครึ่งหลัง ม้วน ๙ หน้า B กับเทป ครึ่งหน้า ม้วน ๙ หน้า A
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2015
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    ;aa44. .(deejai)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มีนาคม 2015
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    166 เหตุให้เกิดในภพ

    ปัญหา อะไรเป็นเหตุให้สัตว์เกิดในภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ?

    พุทธดำรัส ตอบ “..... ดูก่อนอานนท์ เมื่อกรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุ.... ในรูปธาตุ.... ในอรูปธาตุจักไม่มีแล้ว กามภพ... รูปภพ.... อรูปภพ พึงปรากฏบ้างหรือหนอ (เมื่อพระอานนท์ทูลตอบว่า ไม่พึงปรากฏเลย ได้ตรัสต่อไปว่า) ดูก่อนอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณ.... เจตนา ความปรารถนาประดิษฐานแล้วเพราะธาตุอย่างเลว... อย่างกลาง... อย่างประณีต... ของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดใหม่ในภพต่อไปอีก.

    นวสูตร ติ. อํ. (๕๑๖)
    ตบ. ๒๐ : ๒๘๗-๒๘๘ ตท. ๒๐ : ๒๕๒-๒๕๓
    ตอ. G.S. I : ๒๐๓-๒๐๔
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    สองหน้าของสัจจธรรม
    ระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

    ผู้หญิงก็มีผู้ชายเป็นอุปสรรค
    ผู้ชายก็มีผู้หญิงเป็นอุปสรรค มันพอปานกัน
    ในชีวิตของเรา มีทางเลือกอยู่สองทาง คือ คล้อยไปกับโลก หรือพยายามปฏิบัติให้อยู่เหนือโลก พระพุทธเจ้านั้นท่านทรงปฏิบัติจนพระองค์เองทรงพ้นโลกด้วยการตรัสรู้สัมมา สัมโพธิญาณ

    ในทำนองเดียวกัน ปัญญาก็มีสอง คือ ปัญญาโลกีย์ กับปัญญาโลกุตตระ หากเราไม่ภาวนาฝึกปฏิบัติอบรมตนเองถึงจะมีปัญญาปานใด ก็เป็นเพียงปัญญาโลกีย์ เป็นโลกีย์วิสัย จะหลุดพ้นโลกไปไม่ได้ เพราะโลกีย์วิสัยนั้นมันเวียนไปตามโลก เมื่อเวียนคล้อยไปตามโลกจิตก็เป็นโลก คิดอยู่แต่จะหามาใส่ตัว อยู่ไม่เป็นสุข หาไม่รู้จักพอ วิชาโลกีย์ก็เลยกลายเป็นอวิชชา หาใช่วิชชาความรู้แจ้งไม่ มันจึงเรียนไม่จบสักที เพราะมัวไปตามลาภ ตามยศ ตามสรรเสริญ ตามสุข พาใจให้ติดข้อง เป็นกิเลสกองใหญ่

    เมื่อ ได้มาก็หึงก็หวง เห็นแก่ตัว สู้ด้วยกำปั้นไม่ได้ ก็คิดสร้างเครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องกลไก สร้างศาสตราอาวุธ สร้างลูกระเบิดขว้างใส่กัน นี่คือโลกีย์ มันไม่หยุดสักที เรียนไปก็เพื่อจะเอาโลก จะครองโลก ได้อะไรก็หวงอยู่นั่นแหละ นี่คือโลกีย์วิสัย เรียนไปแล้วก็จบไม่ได้

    มา ฝึกทางโลกกุตตระ โลกุตตระนี้อยู่ได้ยาก ผู้ใดหวังมรรค หวังผล หวังนิพพาน จึงจะทนอยู่ได้ จงทำตนให้เป็นคนมักน้อย สันโดษ กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ทำให้มันหมดโลกีย์

    ถ้าเชื้อโลกีย์ไม่หมด มันก็ยาก มันยุ่ง ไม่หยุดสักที แม้มาบวชแล้วก็ยังคอยดึงให้ออกไป มันมาคอยปรุงคอยแต่งความรู้อยู่นั่นแล้ว ทำให้ใจติดข้องอยู่ในกามคุณทั้งห้า คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อารมณ์ของใจเป็นกาม คือ ความใคร่ในความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว สารพัดอย่าง มีแต่กามทั้งนั้น
    ในเรื่องของ กาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น รูปอะไรก็ไม่จับใจเท่ารูปผู้หญิง ผู้หญิงรูปร่างบาดตา ก็ชวนมองอยู่แล้ว ยิ่งเดินซอกแซกๆ ก็ยิ่งมองเพลิน

    เสียงอะไรจะมาจับใจเท่าเสียงผู้หญิง เป็นไม่มี มันบาดถึงหัวใจ กลิ่นก็เหมือนกัน กลิ่นอะไรก็ไม่เหมือนกลิ่นผู้หญิง ติดกลิ่นอื่นก็ไม่เท่าติดกลิ่นผู้หญิง มันเป็นอย่างนั้น

    รสอะไรก็ไม่เหมือน รสข้าว รสแกง รสสารพัดก็ไม่เทียบเท่ารสผู้หญิง หลงติดเข้าไปแล้วถอนได้ยาก เพราะมันเป็นกาม โผฏฐัพพะก็เช่นกัน จับต้องอะไรก็ไม่ทำให้มึนเมาปั่นป่วน จนหัวชนกันเหมือนกับจับต้องผู้หญิง
    ผู้หญิงก็มี ผู้ชายเป็นอุปสรรค ผู้ชายก็มีผู้หญิงเป็นอุปสรรค มันพอปานกัน ถ้าผู้ชายอยู่กับผู้ชายด้วยกัน มันก็ไม่มีอะไร หรือผู้หญิงอยู่กับผู้หญิงด้วยกัน มันก็อย่างนั้นแหละ แต่พอผู้ชายไปเห็นผู้หญิงเข้า หัวใจมันเต้นติ๊กตั๊กๆ ผู้หญิงเห็นผู้ชายเข้าก็เหมือนกัน หัวใจก็เต้นติ๊กตั๊กๆ เพราะมันดึงดูดซึ่งกันและกัน


    นี่ก็เพราะไม่เห็นโทษของมัน หากไม่เห็นโทษแล้ว ก็ละไม่ได้ ต้องเห็นโทษในกามและเห็นประโยชน์ในการละกามแล้ว จึงจะทำได้ หากปฏิบัติยังไม่พ้น แต่พยายามอดทนปฏิบัติต่อไป ก็เรียกว่าทำได้ในเพียงระดับของศีลธรรม แต่ถ้าปฏิบัติได้เห็นชัดแล้ว จะไม่ต้องอดทนเลย ที่มันยากมันลำบากก็เพราะยังไม่เห็น
    ถ้าจิตเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันก็วาง ไม่เป็นเจ้าของสุข ไม่เป็นเจ้าของทุกข์อีกแล้ว ถ้าเห็นชัดได้อย่างนี้ มันก็ได้ความเท่านั้นแหละ จะทำอะไรๆ อยู่ก็สบาย ไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว มีแต่การภาวนาจะเจริญยิ่งขึ้นเท่านั้น

    ถ้า ทำอย่างนี้อยู่ด้วยความระมัดระวัง ก็เป็นการที่เราจะพ้นจากวัฏสารได้ ที่เรายังไม่พ้นจากวัฏสงสาร ก็เพราะยังปรารถนาอะไรๆ อยู่ทั้งนั้น การไม่ทำผิด ไม่ทำบาปนั้น มันอยู่ในระดับศีลธรรม เวลาสวดมนต์ก็ว่า ขออย่าให้พลัดพรากจากของที่รักที่ชอบใจ อย่างนี้มันเป็นธรรมของเด็กน้อย เป็นธรรมของคนที่ยังปล่อยอะไรไม่ได้ นี่คือความปรารถนาของคน ปรารถนาให้อายุยืน ปรารถนาไม่อยากตาย ปรารถนาไม่อยากเป็นโรค ปรารถนาไม่อยากอย่างนั้นอย่างนี้ นี่แหละความปรารถนาของคน

    ยัมปิจฉัง นะละภะติ ตัมปิ ทุกขัง ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ นี่แหละมันสับหัวเข้าไปอีก มันเป็นเรื่องปรารถนาทั้งนั้น ไม่ว่าใครก็ปรารถนาอย่างนั้นทุกคน ไม่เห็นมีใครอยากหมด อยากจนจริงๆ สักคน

    การ ปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งละเอียด ผู้มีกิริยานุ่มนวล สำรวม ปฏิบัติไม่เปลี่ยนแปลง สม่ำเสมออยู่เรื่อยนั่นแหละ จึงจะรู้จัก มันจะเกิดอะไร ก็ช่างมันเถิด ขอแต่ให้มั่งคงแน่วแน่เอาไว้ อย่าซวนเซหวั่นไหว.

    ที่มา แสดงกระทู้ - รวมคำสอน “หลวงพ่อชา สุภัทโท” • ลานธรรมจักร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    "แกไม่ปฏิบัติวันหนึ่ง เสียหายหลายแสน วันนึงก็มีความหมาย
    ข้าฝากให้แกไปคิดเป็นการบ้าน"

    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    ยศและลาภ หาบไป ไม่ได้แน่
    มีเพียงแต่ ต้นทุน บุญกุศล
    ทรัพย์สมบัติ ทิ้งไว้ ให้ปวงชน
    แม้ร่างตน เขาก็เอา ไปเผาไฟ ฯ

    เมื่อเจ้ามา มีอะไร มาด้วยเจ้า
    ใยมัวเมา โลภลาภ ทำบาปใหญ่
    มามือเปล่า แล้วจะ เอาอะไร
    เจ้าก็ไป มือเปล่า เหมือนเจ้ามา ฯ

    ควรเร่งสร้าง กรรมดี หนีกรรมชั่ว
    ไม่พาตัว พาใจ ใฝ่ตัณหา
    หมั่นเจริญศีล สมาธิ และปัญญา
    จึงจะพา ให้พ้นทุกข์ สุขนิรันดร์ ฯ

    กลอนหลวงปู่มั่น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    ส้วมเคลื่อนที่
    ภายใต้หนังกำพร้าของคนเรามีแต่ความโสโครก น่าเกลียดน่าสะอิดสะเอียน มีอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ไส้น้อย ไส้ใหญ่ กระเพาะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำดี อุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อไคล ขังอยู่ภายในร่างกายโดยมีหนังกำพร่าห่อหุ้มอยู่
    ถ้าลอกหนังออกจะเห็นร่างมีเลือดไหลโซมกาย เนื้อที่ปราศจากผิวหนังห่อหุ้มจะมองไม่เห็นความสวยสดงดงามเลย มองแล้วอยากจะอาเจียนมากกว่าน่ารัก ที่พอจะมองเห็นว่าสวยงามก็ตรงผิวหนังห่อหุ้มเท่านั้น ผิวหนังนี้ก็ใช่ว่าจะเกลี้ยงเกลาเสมอไปไม่ คนเราต้องคอยอาบน้ำชำระล้างทุกวันเพราะสิ่งโสโครกเหงื่อไคลภายในหลั่งไหลออก มาลบเลือนความผุดผ่องของผิวกายอยู่ตลอดวัน
    ถ้าไม่คอยชำระล้างก็จะสกปรกเหม็นสาบน่ารังเกียจ ทางช่องทวารขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ก็หลั่งไหลออกมาตามกำหนดเวลาของมันทุกวัน น่ารังเกียจ เลอะเทอะโสมม ซึ่งเจ้าของไม่ปรารถนาจะแตะต้องทั้งๆ ที่เป็นของในกายของตัวเอง
    ยิ่งพิจารณาไปคนเราก็คือส้วมเคลื่อนที่ หรือป่าช้าที่บรรจุซากศพเคลื่อนที่ และเป็นผีเน่าที่เดินได้ดีๆ นี่เอง

    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LpVanBoon.jpg
      LpVanBoon.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56.4 KB
      เปิดดู:
      304
    • LpVanword.jpg
      LpVanword.jpg
      ขนาดไฟล์:
      48.5 KB
      เปิดดู:
      91
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    คนที่มีศีล มีทาน แต่ไม่มี "ภาวนา" ก็เท่ากับถือศาสนาเพียงครึ่งเดียว เหมือนคนที่อาบน้ำแค่บั้นเอว ไม่ได้รดลงมาแต่ศีรษะก็ย่อมจะไม่ได้รับความเย็นทั่วตัว เพราะไม่เย็นถึงจิตถึงใจ

    ...ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    "..พุทโธ พุทโธ หมายความว่า ให้ใจยึดเอาพุทโธเป็นอารมณ์
    เพื่อป้องกันไม่ให้จิตออกไปสู่อารมณ์ภายนอก
    เพราะอารมณ์ภายนอกมันชอบไปจดจ่ออยู่กับ
    รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความถูกต้องทางกาย
    หากทุกสิ่งทุกอย่าง มันไปจดจ่ออยู่ที่นั่น

    จิตมันจะไม่รวมลง นี่แหละ เรียกว่า มาร คือ ไม่มีสติ
    อย่าให้จิตไปจดจ่ออย่างนั้น ให้มาอยู่กับผู้รู้
    ให้น้อมเอา พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอารมณ์
    จะอยู่ในอิริยาบถใด ก็ให้มีความเพียร ผู้ที่ภาวนา
    จิตสงบลงชั่วช้างพับหู งูแลบสิ้น ชั่วไก่กินน้ำ
    นี่ อานิสงส์อักโข ให้ตั้งใจทำไป.."

    หลวงปู่ขาว อนาลโย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มีนาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...