จริงหรือไม่ ที่ชมพูทวีป สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินพพาน ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่อินเดีย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย tjs, 8 มีนาคม 2014.

  1. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    กระผม เคยมีความสงสัยในเรื่องนี้มากเช่นกัน เพราะ มีข้อมูลส่วนหนึ่งกล่าวไว้ ว่า ชมพูทวีป อันเป็นสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินพพาน ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่อินเดีย แต่กลับเห็นว่าแท้จริงคือ เขตประเทศไทย พม่า ลาว เขมร คือชมพูทวีป


    ซึ่งก่อนหน้านี้กระผมเคยเห็นด้วยเพราะมี เหตุผลบาง ประการที่ถูกข้อมูลชักนำไป แต่จากการได้ตรวจสอบเรื่องสถูปเจดีย์ต่างๆทำให้ทราบความจริงที่สำคัญยิ่งว่า

    ชมพู ทวีปหรือสถานที่ประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานนั้น คือประเทศอินเดีย จริง หาใช่ที่อื่นไม่ ส่วนสุวรรณภูมิ นั้น แท้จริงแล้ว เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองและได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาเข้ามา เมื่อปีพุทธศักราช 1100 อันเป็นต้นมา อันเป็นยุคเริ่มต้นของทราวดี นั่นเองครับ
    ดังนั้นขอให้ทุกท่านพึงทำความเข้าใจเรื่องนี้ใหม่ให้ถูกต้องครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • photo.jpg
      photo.jpg
      ขนาดไฟล์:
      70.5 KB
      เปิดดู:
      578
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มีนาคม 2014
  2. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    นี่คือข้อมูลที่ อาจารย์ท่านหนึ่ง ให้เหตุผลว่าสุวรรณภูมิคือชมพูทวีป ครับ

    แต่จากที่กระผมได้ศึกษาเรื่องนี้จึงเกิดคำถามว่า หากเราจะศึกษาหรือทราบประวัติศาสตร์เราควรทำอย่างไร ดูจากอะไร กระผมจึงได้คำตอบเรื่องนี้ว่า
    การที่เราต้องการศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ ด้านพุทธศาสนา มีสิ่งเดียวคือต้องอาศัย การศึกษาเรื่องสถูปเจดีย์ เพราะเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถอธิบายประวัติศาสตร์ได้ดีที่สุดอย่างหนึ่ง จึงเริ่มต้นศึกษาเรื่องนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 683.jpg
      683.jpg
      ขนาดไฟล์:
      70.4 KB
      เปิดดู:
      586
  3. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    ในภูมิภาคอินเดียเหนือและอินเดียใต้ ช่วงยุคก่อนพุทธกาล เอาแค่ซักประมาณ 4,000 ปี - 3,200 ปี เป็นช่วงรอยต่อของ “ยุคหินใหม่” (Stone - Neolithic age) เข้าสู่ “ยุคโลหะสำริด” (Bronze age) และช่วงระหว่าง 3,200 ปี - 2,100 ปี เป็นช่วงเวลาของ “ยุคเหล็ก” (Iron age) ที่กำลังจะเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยของ “ราชวงศ์โมริยะ” (Maurya Dynasty/Empire)

    ในช่วงกลางของยุคหินใหม่ ปรากฏหลักฐานร่องรอยที่เป็นหลุมฝังศพ (Burial) ของกลุ่มชนที่มีระดับวัฒนธรรมกลุ่มแรกที่เรียกว่า “ดราวิเดียน (Dravidian) ทราวิก (Dravida) หรือ มิลักขะ (Milakkha)“ ไปทั่วทั้งอินเดียเหนือและอินเดียใต้

    หลุมศพของกลุ่มชนดราวิเดียน เป็นหลุมศพแบบ “วัฒนธรรมหินใหญ่” (Megalithic Culture) ในรูปแบบของ “หินตั้ง” หรือ หินตั้งรูปโต๊ะ (Dolmen) หินวงล้อม (Stone circles) หินก่อเรียง (Cairns, Cist Burials) ดังที่ยังคงหลงเหลือหลักฐานมากแห่งในเขตอินเดียใต้ รอบที่ราบสูงเดคคาน (Deccan Plateau) และบางส่วนในเขตอินเดีย
    ในแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ (Indus Basin) ก็ดันปรากฏอารยธรรมปริศนาที่มีอายุอยู่ในยุคหินแต่กลับมีความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมล้ำยุคสมัยของพวกดราวิเดียน (Dravidians) รุ่นแรก ที่เรียกว่า “Proto - Australoid “ ชนบรรพกาลกลุ่มนี้มีลักษณะ ผิวดำ ผมหยิก ทั้งผู้หญิงและผู้ชายไว้ผมยาว ผู้ชายไว้เครา มีอายุกว่า 5,000 ปี ลงมาจนถึง ประมาณ 4,000 ปี ที่เมืองโมเฮนโจดาโร (Mohenjodaro) ทางทิศใต้ของลุ่มน้ำ และเมืองฮารัปปา(Harappa) ทางทิศเหนือ

    การปลงศพของอารยธรรมเริ่มแรกแห่งลุ่มน้ำสินธุ ยังคงรักษารูปแบบที่สืบทอดมาจากยุคหินใหม่เป็นสำคัญ นั่นก็คือ มีพิธีกรรมหลังความตายทั้งแบบการฝังศพพร้อมเครื่องพลีกรรมที่มีร่องรอยการมูนดินเตี้ย ๆ เหนือหลุมศพ การปลงศพแบบการเผาและนำเถ้ากระดูกบรรจุในภาชนะดินเผาไปฝังในกลุ่มหินล้อม

    ช่วงประมาณ 4,000 - 3,500 ปี กลุ่มชนอารยัน (Arayans) กลุ่มชนที่มีระดับเทคโนโลยีและวัฒนธรรมล้ำสมัย ได้เคลื่อนย้ายอพยพออกมาจากภูมิภาครอบทะเลสาบแคสเปียน (Caspian Sea) กระจายไปตามภูมิภาค ทั้งพวก“อินโด – ยูโรเปียน” (Indo – European) เช่น กรีก (Greek) อีทรัสกัน (Etruscan) ในยุโรป บางกลุ่มเข้าไปสู่ภูมิภาคเปอร์เซีย เรียกกว่าพวก “เปอร์เซียน หรือ อิเรเนียน” (Iranian) บางกลุ่มก็เข้าไปยึดครองซีเรียและเอเชียไมเนอร์

    อารยันกลุ่มใหญ่ เรียกว่าพวกอินโด - อารยัน (Indo-Arayans) เคลื่อนย้ายลงมาสู่อินเดียเหนือ เป็นกลุ่มชนที่มีระดับวัฒนธรรมสูงกว่ากลุ่มชนดราวิเดียนผู้ครอบครองแผ่นดินเดิม เป็นสังคมเกษตรกรรม ที่มีการปศุสัตว์ และเป็นกลุ่มชนเริ่มแรกที่คิดและพัฒนาภาษาและตัวอักษร ที่เรียกว่า “ภาษาสันสกฤต” (Sanskrit language)ขึ้นมาใช้

    ชาวอารยัน เป็นคนผิวขาวผ่อง มีรูปร่างสูงใหญ่ แข็งแรง มีรูปศีรษะยาว จมูกโด่งและมีร่างกายที่ได้สัดส่วน เป็นนักรบบนหลังม้าและมีรถศึก มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองเป็นกลุ่มแยกกันไป ไม่ขึ้นแก่กัน บางครั้งก็เกิดสงครามระหว่างกลุ่มอารยันด้วยกันอยู่บ่อยครั้ง (ปรากฏในเรื่องราวการสงครามระหว่างกลุ่มอารยัน “ปาณฑพ” และกลุ่มอารยัน “เการพ” ใน “มหากาพย์มหาภารตะ” (Mahabharata: The great Epic) แต่ด้วยเพราะระดับเทคโนโลยีสงครามของศาสตราวุธ (ของโลหะทองแดงและเหล็ก) ประกอบกับความเข้มแข็งที่มีเหนือกลุ่มชนดราวิเดียนหลายขุม กลุ่มชุมชนอินโด – อารยัน จึงแทรกซึมไปทั่วอินเดียเหนือ พร้อมกับขับไล่ ผลักดันให้ชนพื้นเมืองเดิมลงอพยพลงไปสู่คาบสมุทรเดคข่านในเขตอินเดียใต้ (ที่ยังคงปลงศพในรูปแบบของวัฒนธรรมหินใหญ่) จนสามารถเข้ายึดครองลุ่มน้ำสำคัญ ทั้ง สินธุ คงคา – ยมุนา ได้ทั้งหมด
     
  4. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    อาจจะกล่าวได้ว่า ในราว 3,000 ปี – 2,500 ปี ในยุคพระเวท ยุคอุปนิษัท เรื่อยมาจนถึง “ยุคมหาชนบท” (Mahajanapada Period) กลุ่มชนอารยันเกือบทั้งหมด ไม่ได้มีคติความเชื่อในเรื่องของการฝังศพ (Burial) ด้วยการสร้างสุสานเนินดิน (Burial Mound – Tumulus) แต่มีความนิยมในพิธีกรรมการปลงศพด้วยการเผา ลอยเถ้ากระดูกในแม่น้ำ หรือปลงศพโดยการทิ้งร่างไปสู่สรวงสวรรค์ผ่านสายน้ำศักดิ์สิทธิ์ โดยมีนักบวช - พราหมณ์ เป็นผู้ประกอบพิธีกรรม (ที่ยังคงมีให้เห็น สืบต่อมาจนถึงในยุคปัจจุบันเลยครับ)
    ซึ่งนั่นก็อาจเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า “เนินดินฝังศพ” (Burial Mound – Tumulus) ในยุคเก่าแก่ของอินเดียนั้น อาจไม่ใช่จุดเริ่มแรกที่แท้จริงของคติการสร้าง “สถูปเจติยะ” ในความหมายของ “เนินดินฝังศพ (พระอัฐิธาตุ) ศักดิ์สิทธิ์ที่ควรแก่การเคารพบูชาสักการะและระลึกถึงพระพุทธเจ้า” ในเวลาต่อมา !!!

    แล้ว “สถูปเจติยะ” (Stupa – Chaitya) แห่งพระศากยมุนีเจ้ามาจากไหนกัน?

    กลับมาที่ยุคเหล็กกันอีกซักนิดครับ ในช่วงเวลานี้ ถึงจะมีหลักฐานทางด้านวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ที่กล่าวถึงเรื่องราวก่อนสมัย "ราชวงศ์โมริยะ(Maurya Dynasty)" เช่น “คัมภีร์มหาวงศ์” (Mahavamsha) ที่เพิ่งถูกแต่งหรือถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 เล่าผ่านเรื่องราวเก่าแก่ของ“มหาวัสตุอวทานะ”(Mahavastu - Avadana) และ “ชาตกมาลา - ชาดก” (Jataka Tales) จำนวนมาก เช่น “อวทานศาตกะ” ที่เล่าเรื่องตอนเสวยพระชาติเป็นพ่อค้าที่ชื่อว่าไมตระกันตกะ “มหาชนกชาดก” ที่กล่าวถึงเรื่องราวของพ่อค้าจากอินเดียเดินทางออกไปติต่อค้าขายในแดนไกล “อรรถกถาชาดก” ที่กล่าวถึงสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งของทวีปต่าง ๆ การเมืองการปกครอง แว่นแคว้นทั้ง 16 ในยุค “มหาชนบท”และการค้าขายกับกับลังกา บาบิโลน (Babylon) “พาเวรุชาดก” ที่เล่าเรื่องราวการติดต่อค้าขายระหว่างชมพูทวีปกับแว่นแคว้นในแถบทะเลแดง คาบสมุทรเปอร์เซีย อารเบีย อียิปต์ กรีก ไปถึงคาบสมุทรเมดิเตอเรเนียน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 719293b3.jpg
      719293b3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.5 KB
      เปิดดู:
      125
    • 71922dc0.jpg
      71922dc0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      124.7 KB
      เปิดดู:
      256
  5. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    ในยุคก่อนสมัยราชวงศ์โมลียะ (หรือในวรรณกรรมทางพุทธศาสนาเรียกว่า “ยุคมหาชนบท 16 แว่นแคว้น”) ยังไม่มีการวางผังสร้างเมืองที่เป็นระบบ ไม่มีสังคมเมือง บ้านเรือนที่อยู่อาศัยทำด้วยไม้ ยังไม่ปรากฏการเผาอิฐหรือการใช้หินสกัดมาใช้ในการก่อสร้าง ไม่มีระบบเงินตราและเหรียญกษาปณ์ ยังไม่มีตัวอักษรใช้ และไม่ปรากฏหลักฐานการเดินทางค้าขายข้ามทะเลไปยังดินแดนที่ห่างไกล (ดังที่เล่าในวรรณกรรม)

    ขณะที่ในอินเดียใต้และดินแดนรอบที่ราบสูงเดคคาน ยังคงมีระดับสังคมและวัฒนธรรมที่ล้าหลังกว่าในอินเดียเหนือ การปลงศพยังคงนิยมการฝังแบบล้อมวงหิน แต่ก็มีร่องรอยหลักฐานของการปลงศพแบบเผาที่รับเอามาจากวัฒนธรรมของพราหมณ์ – ฮินดูจากอินเดียเหนือเข้ามา แต่ก็ยังคงนิยมนำเถ้ากระดูกไปบรรจุไว้ในภาชนะและฝังลงไว้กลางกลางวงล้อมของ “หินตั้ง” แบบ “หินวีรบุรุษ” (Hero Stones) อย่างที่เคยปฏิบัติสืบทอดมาใน“วัฒนธรรมหินใหญ่” (Megalithic
    ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 – 4 ระดับทางสังคม วัฒนธรรมธรรมและเทคโนโลยีของอินเดียเหนือเริ่มเข้าสู่ยุคเหล็กตอนปลาย ซึ่งก็ตรงกับสมัยของ “ราชวงศ์โมริยะ ศุงคะ - อานธระ” (Maurya Sunga- Andhra Period) เป็นช่วงเวลาที่เริ่มมีการจัดระเบียบสังคมขึ้นเป็นสังคมเมือง มีการสร้างกำแพงเมืองที่แข็งแรงด้วยอิฐและหิน มีระบบสาธารณสุข มีระบบการค้าและเงินตรา มีอักษรพราหมีและขโรษฐีขึ้นใช้ และเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับดินแดนที่ห่างไกลเป็นครั้งแรก ๆ

    ยุค “มหาชนบท” ในช่วงก่อนพุทธศตวรรษ – จนมาถึงพุทธศตวรรษที่ 2 ที่ปรากฏใน “วรรณกรรมทางพุทธศาสนา” นั้น เล่าเรียงกันมาว่า แบ่งการปกครองออกเป็น 16 แว่นแคว้น มี แคว้นโกศล (โกสละ – kosala) และแคว้นมคธ (Magadha) เป็นแคว้นใหญ่ มีภาษาบาลีเป็นภาษาสำคัญ ซึ่งในวรรณกรรมทางพุทธศาสนาก็ยังได้กล่าวถึงการแบ่งพระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้าแก่กษัตริย์ผู้ครองแว่นแคว้น ดังที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยมีรับสั่งถึงไว้ว่า

    “…..เมื่อเวลาพระพุทธเจ้าเข้าสู่นิพพานที่เมืองกุสินารา ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว มีการแจกพระบรมธาตุให้แก่ผู้เลื่อมใสเอาไปบรรจุลงไว้ในพระสถูป ธรรมเนียมบรรจุธาตุในสถูปนั้นมีมาก่อนพุทธกาล การแจกนั้นรวมแจกแปดแห่งด้วยกัน ตอนนี้เป็นตอนที่ควรสังเกต พวกถือพระพุทธศาสนาที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าไม่นับถือพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าเท่าบริโภคเจดีย์ (สังเวชนียสถาน) 4 แห่ง เมื่อก่อนเข้าปรินิพพานตามความใน “หนังสือปฐมสมโพธิ์” ว่า พระอานนท์กราบทูลถามว่า พวกพุทธบริษัทเคยเห็นพระพุทธองค์ขณะมีพระชนม์อยู่ หากเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วจะเปลี่ยวเปล่าเศร้าใจ ควรจะปฏิบัติสถานไรจึงจะแก้ได้ ทรงตอบว่าถ้าใครเปลี่ยวใจคิดถึงตถาคตก็จงไปปลงธรรมสังเวช ณ สังเวชนียสถานสี่ตำบล ตำบลใดตำบลหนึ่งเถิด คือที่ประสูติ “ลุมพินีวัน” กรุงกบิลพัสดุ์ ที่ “ตรัสรู้” พุทธคยาหรือโพธิคยา ที่ประกาศพระศาสนา ”อิสิปัตนมิคคทายวัน” เมืองพาราณสี หรือที่ป่าสาลวันเมืองกุสินาราที่นิพพาน ใครคิดถึงจะไปปลงยังที่แห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้

    …..ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ก็มีพุทธสาวกไปบูชาสังเวชนียสถานทั้ง 4 ตำบลนี้เสมอมาตราบเท่าทุกวันนี้ แต่ที่พระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าไปประดิษฐานอยู่ทั้งแปดแห่งนั้นเงียบหายไป จนไม่ปรากฏว่าใครได้ทำนุบำรุงอย่างไร มาถึงพุธกาลล่วงแล้ว 200 ปีเศษ พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นพุทธศาสนูปถัมภก มีพระราชประสงค์จะสร้างพระเจดียสถานเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าให้แพร่หลายไปทั่วอาณาเขต จึงได้เที่ยวรวบรวมพระธาตุที่แยกย้ายกันไปเมื่อ 200 ปีเศษมาแล้วแปดแห่ง นัยว่าเอามาได้เจ็ดแห่งด้วยกัน แต่พระบรมธาตุส่วนที่ “รามคาม” ไม่สามารถเอามาได้ ด้วยพระยานาคราชผู้เป็นเจ้าของหวงแหน ส่วนพระธาตุอีกเจ็ดแห่งที่ได้มานั้น พวกถือพระพุทธศาสนาจะสร้างวัดที่ไหนมาทูลขอ พระเจ้าอโศกก็ประทานไปส่วนละน้อยแห่งละส่วน ใน “พระบาลี” ว่าแบ่งไปเบ็ดเสร็จด้วยกัน 84,000 แห่งโดยประมาณ นี่เป็นเรื่องทางอินเดีย….”

    แต่หลักฐานของอินเดียเหนือในช่วงสมัยของ“จักรวรรดินันทะ” (Nanda Empire) แห่งแคว้นมคธราวพุทธศตวรรษที่ 2 กลับแสดงให้เห็นว่า แว่นแคว้นส่วนใหญ่ยังคงมีคติความเชื่อ ประเพณีพิธีกรรมที่สืบต่อเนื่องมาจากยุคพระเวทหรือเวทานตะ พราหมณ์ จนมาถึงยุคอุปนิษัท ทั้งสิ้น
     
  6. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    ซึ่งนั้นก็หมายความว่า ถึงแม้ในยุคหลังพุทธกาล ตั้งแต่ช่วงต้นของพุทธศตวรรษจนถึงพุทธศตวรรษที่ 3 (2,200 - 2,300 ปี ที่แล้ว) เป็นต้นมา ความนิยมในการสร้างสุสานเก็บพระอัฐธาตุในรูปแบบของ “เนินดิน” (Burial Mound – Tumulus) นั้น ก็ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนอย่างที่กล่าวถึงในวรรณกรรมทางศาสนามากนัก หรืออาจจะกล่าวได้ว่า รูปแบบของ “สถูปเจติยะ” ไม่ได้มีรากฐานมาจาก “หลุมฝังศพ” ของชาวอารยันลูกผสมหรือกลุ่มชนดราวิเดียน ที่มีคติความเชื่อในการปลงศพแบบพราหมณ์ - ฮินดูยุคเก่าแก่โดยตรง แต่น่าจะได้รับอิทธิพลหลายอย่างมาจากวัฒนธรรมของชาว “กรีก – มาซีโดเนีย” (Greek – Macedonia) ที่รุกรานแผ่ขยายอำนาจเข้ามาสู่อินเดียเหนือในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 2 ผสมผสานกับพิธีกรรมการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ – อำนาจเหนือธรรมชาติ ในรูปของเทพเจ้า ที่มีการตั้งแท่นบูชา (Altar) วางรูปสัญลักษณ์สำคัญ (เช่นหินที่มีรูปร่าง หรือศิวลึงค์) ไว้บนยอดเนินสูง ของกลุ่มชนอินโด – อารยันที่มีความเชื่อในคติของพราหมณ์ ในยุคพระเวท ต่างหากครับ

    ในช่วงยุคอิทธิพลของอินโด - กรีกของอินเดียเหนือ เป็นช่วงเวลาของการผสมผสานกับผู้คนและวัฒนธรรมแบบ “เฮเลนิสติค” (Hellenistic) ของชาวกรีก กับวัฒนธรรมแบบ “พราหมณ์ – ฮินดู” ในยุคเก่าแก่ (พระเวท – อุปนิษัท) พัฒนารูปแบบความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรมมาสู่การผสมผสานกับวัฒนธรรมในทางพระพุทธศาสนาที่เรียกกันว่า "กรีโอ-บุดดิสซึ่ม" (Greco-Buddhism) นับจากพุทธศตวรรษที่ 2 ในยุคของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เรื่อยมาถึงยุคของ “กษัตริย์ลูกผสมกรีก” (Greco-Bactrian King) อย่าง ซีเลอูคัส นิคาเตอร์ (Seleucus) ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเบคเตรีย (Bactria) อันติโอคัส เทโอส (Amtiochus Theos) และ “พระเจ้าเดเมตริอุส” (Demetrius) หรือ“พระเจ้าหัวช้าง” (ช้างหมายถึงพุทธเจ้า) ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 จนถึงยุคของ “พระเจ้าเมนันเดอร์” (Menander) ผู้สถาปนานครสาคละ(สิรกัป- Sirkap)ในตักษิลา (Taxila) ขึ้นเป็นศูนย์กลางของกรีก - โยนก ในพุทธศตวรรษที่ 4

    ถึงแม้ว่าในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 5 กลุ่มชนชาวปาเธียน (Parthians) และชาวศกะ - ซินเถียน (ไซเธียน –Sakas - Scythians) จะเข้ามาครอบครองดินแดนโยนก – คันธาระ(Gandhara) แทนชาวกรีกลูกผสม แต่กระนั้น อิทธิพลทางวัฒนธรรม ทั้งคติความเชื่อ ศิลปะวิทยาการ เช่น การเมืองการปกครองแบบเปอร์เซีย เครื่องมือเครื่องใช้อันทันสมัย การแกะสลักรูปเคารพทางศาสนา การนำเทคนิคการใช้อิฐ หินมาใช้ในการก่อสร้างศาสนสถาน ระบบเงินตรา เหรียญกษาปณ์แบบกรีก – เปอร์เซีย ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ ระบบการสื่อสาร ระบบไปรษณีย์ เครื่องประดับ และอาวุธ ของวัฒนธรรมแบบเฮเลนิสติค ก็ยังคงมีอิทธิพลเหนือสังคมและวัฒนธรรมของทั้งชาวปาเธียน และชาวซิเถียน (ไซเธียน) แถมยังผสมผสานกลืนกลายกันมาเป็น “ศิลปวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาแห่งดินแดนคันธาระ” (Gandhara Buddhist Arts)

    ซึ่งศิลปะแห่งพุทธศาสนา “คันธาระ” ที่เป็นเสมือนแหล่งรวมวัฒนธรรมของทั้ง “อินโด – กรีก” (Indo – Greeks) “อินโด – ปาร์เธียน” (Indo – Parthians) และ ”อินโด - ซินเถียน” (Indo-Scythians) ในแคว้นคันธาระนี้เอง คือจุดเริ่มต้นสำคัญที่นำไปสู่แนวคิดการสร้าง “สถูปเจติยะ”ขนาดใหญ่ เพื่อการบูชาสักการะพระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้าในอินเดียเหนือ ในช่วงยุคเริ่มแรกครับ

    การปลงศพในรูปแบบของ “สุสานมูนดินขึ้นเป็นเนินใหญ่เหนือหลุมฝังศพ” หรือที่เรียกว่า “ทูมูรัส”(Tumulus) ของชาวกรีก ปาร์เธียนและซินเถียน สืบทอดรูปแบบมาจากวัฒนธรรมของกลุ่ม “อินโด – ยูโรเปี้ยน” กลุ่มใหญ่ในครั้งแรกเริ่ม ทั้งในเอเชียกลางและยุโรปมาตั้งแต่ยุคหินใหญ่ (Megalithics) หรือในราว 3,000 – 4,000 ปี มาแล้ว
    สุสานเนินดินในรูปแบบของ “ทูมูรัส” ที่มีการฝังศพลงพร้อมกับการจัดวางของใช้ในโลกหน้า ทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ อาหาร เครื่องประดับ สิ่งของมีค่า รวมทั้งบ้านจำลองลงไปพร้อมกัน ปรากฏอยู่ทุกหนแห่งที่มีมนุษย์ไปตั้งถิ่นฐาน ทั่วทุกมุมโลก สุสานเก่าก่อาจมีอายุถึง 8,000 ปี ตั้งแต่ยุคหินใหญ่ จนมาถึงยุคประวัติศาสตร์ แตกต่างกันไปตามความเชื่อ ภูมิภาค และฐานะ

    สุสานเนินดินที่น่าจะเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมกรีก (ที่ต่อมาจะกลายเป็นต้นกำเนิดของสถูปเจตินะในยุคแรก) ก็คงเป็นสุสานทูมูรัสของกลุ่มชนชาว “ไซเธียน (Scythians) หรือ ชาว “ศกะ – ซินเถียน” ในภาษาสันสกฤต หรือที่รู้จักกันในชื่อภาษารัสเซียว่า “ครูแกน” (Kurgans) อีกทั้งสุสานทูมูรัสของกลุ่มชนอีทรัสกัน (Etruscans) ร่วมสมัยกับกลุ่มชนในวัฒนธรรมกรีกอย่างมาซีโดเนียน (Macedonia)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 71922436.jpg
      71922436.jpg
      ขนาดไฟล์:
      52.8 KB
      เปิดดู:
      88
    • 7192a80a.jpg
      7192a80a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.4 KB
      เปิดดู:
      81
    • 71926f3d.jpg
      71926f3d.jpg
      ขนาดไฟล์:
      97.9 KB
      เปิดดู:
      66
  7. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    รูปแบบของ “สถูปเจติยะ” ของพระพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้นจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมของชาวกรีก ในกระบวนการ “กรีโอ – บุดดิสซึ่ม” และคติความเชื่อแบบพราหมณ์ – อุปนิษัท ของอารยันลูกผสมในอินเดียเหนือ ที่รวมเอาการสร้างเนินดินสุสาน ที่ประกอบด้วยอาคารใหญ่โต พร้อมรูปสลักและแท่นจารึกถึงผู้วายชนม์ ด้วยอิฐและหิน พร้อมบรรจุศพหรือเถ้ากระดูกพร้อมสิ่งของมีค่าในไว้ภายในห้องกรุ (Chamber) โดยไม่ได้นำไปลอยแม่น้ำ มีการให้เกียรติและระลึกถึง ด้วยการ “สักการบูชา” รวมทั้งยังมีการเยี่ยมเยือน ไว้อาลัยด้วย “พิธีกรรมในแต่ละช่วงเวลาสำคัญของผู้ตาย” รวมเข้ากับประเพณีการฝังเถ้ากระดูกของผู้เป็นที่รัก หรือบุคคลที่ควรเคารพเทิดทูน และการจัดพิธีกรรมเซ่นสรวงบูชา ที่มีการสร้างรูปสัญลักษณ์แทนความสำคัญ - ศักดิ์สิทธิ์ไว้บนยอดเนินดิน กลายมาเป็นรูปแบบของพระสถูปเนินดินที่ฝังพระอัฐิธาตุแห่งพระพุทธองค์ในยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช (Ashoka The Great)หรือราวพุทธศตวรรษที่ 3 เป็นต้นมา
    ในช่วงต้นพุทธศตวรรษ จนถึงพุทธศตวรรษที่ 2 ก่อนเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่เรียกว่า “กรีโอ – บุดดิสซึ่ม” (Greco-Buddhism) ระหว่างวัฒนธรรมของกรีก (รวมปาร์เธียนและศกะ -ไซเธียน) กับวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในอินเดียเหนือ รูปแบบของพระสถูปยังไม่ปรากฏให้เห็นเด่นชัดนัก แต่หากนับตามวรรณกรรมทางพระพุทธศานาที่กล่าวถึงการแบ่งพระอัฐิธาตุโดย “พราหมณ์” แก่กษัตริย์ทั้ง 8 ในมัชฌิมประเทศ จาก 16 แว่นแคว้นใหญ่ทั่วอินเดียเหนือ ประกอบเข้ากับหลักฐานทางโบราณคดี ในยุค “มหาชนบท” (Mahajanapada Period) ที่ยังคงเป็นระดับของสังคมและวัฒนธรรมในช่วงยุคเหล็กตอนปลายที่มีคติความเชื่อแบบพราหมณ์ – อุปนิษัทแบบอารยันเป็นรากฐาน ผู้คนที่นับถือศรัทธาในคำสอนของพระพุทธองค์ ก็ยังคงมี”ประเพณีหรือพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวงจรชีวิต” (Traditions - rite of passage) ตามแบบแผนของพราหมณ์โดยปกติ
    พระอัฐิธาตุที่แบ่งออกไป จึงอาจถูกนำเก็บไว้บนแท่นบูชา (Altar) เหนือยอดเนินใหญ่ วางร่มปักฉัตร และมีพิธีกรรมเพื่อการบูชาสักการะ บางส่วนถูกนำไปเก็บบูชาในศาสนสถานในยุคพระเวทในฐานะพระอัฐิธาตุของพระผู้เป็น “อวตาร” (Avatar) แห่งพระวิษณุ แต่หลายส่วนก็อาจจะถูกนำไปลอยลงแม่น้ำเพื่อส่งเสด็จสู่สรวงสวรรค์ ดัง“ร่องรอย” ที่ปรากฏในวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวถึงพระอัฐิธาตุที่นครรามคาม ที่ไม่สามารถเอากลับคืนมาได้ ด้วยเพราะ “พระยานาคราช” ผู้เป็นเจ้าของหวงแหน (นาคอยู่ในแม่น้ำครับ) และอธิบายว่า “พระเจ้าอชาติศัตรู” กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ เกรงว่าหากวางพระอัฐิธาตุไว้เหนือเนินดินเช่นเดิม ก็จะถูกกระทำย่ำยีจากพวกพราหมณ์ หรือ หากเนินดินสึกกร่อนพังทลาย พระอัฐิธาตุบนแท่นสักการะก็จะร่วงหล่นลงมากปะปนกับกรวดหินที่พื้นล่าง จึงให้นำพระอัฐิธาตุที่รวบรวมกลับคืนมาได้ทั้งหมดนั้น สร้างเป็นสถูปทองแดงบรรจุฝังลงไว้ในห้องกรุใต้ดิน ลึกลงไป 80 ศอก บุพื้นด้วยแผ่นทองแดง พร้อมเครื่องบูชาและสมบัติมีค่าแห่งพระจักรพรรดิ แล้วปิดกรุด้วยแผ่นศิลา สร้างพระสถูปขนาดใหญ่ประดิษฐานทับเหนือห้องกรุนั้นไว้เป็นมั่นคง

    หากนับตามวรรณกรรม ก็อาจถือได้ว่า “พระสถูป” ในความหมายของ “เจติยสถาน” แห่งแรกของโลก คือเนินสถูปที่ถูกสร้างขึ้นโดย “พระเจ้าอชาตศัตรู” ที่ “กรุงราชคฤห์” (Rajgriha) ในช่วงเริ่มแรกของพุทธศตวรรษ !!!
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 71922dff.jpg
      71922dff.jpg
      ขนาดไฟล์:
      45.8 KB
      เปิดดู:
      128
  8. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    แต่หากจะนับหลักฐานที่ค้นพบทางโบราณคดีแล้ว “พระสถูปเจติยะ” แห่งแรกของโลก น่าจะถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในยุคสมัยของ “เทวานัมปิยติสสะ บียทัสสี” หรือ “พระเจ้าอโศกมหาราช” (Ashoka The Great)มหาจักรพรรดิหัวก้าวหน้าแห่งจักรวรรดิมคธ เนื่องจากเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการที่ “นครตักษิลา” (Taxila) นครแห่งภูมิปัญญาความรู้ ที่รวบรวมความหลากหลาย ทั้งคติความเชื่อของผู้บูชาไฟ “โซโรอัสเตอร์” (Zoroaster) พราหมณ์ฮินดู บุดดา (พุทธ)และเชน(ชิน) รวมทั้งความเชื่อแบบเทวนิยมของกรีกกำลังรุ่งเรือง ทรงได้รับการศึกษา เรียนรู้วิทยาการ ภูมิปัญญา คติความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม จากดินแดนตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลของกรีก เปอร์เซีย หรืออียิปต์ ที่ทิ้งไว้ในแคว้น “คันธาระ” (Gandhara) ทรงรับเอา “วิถีแห่งชีวิต” (Life Style) ศิลปกรรมและความเชื่อในเรื่องเทพเจ้า การสร้างเนินสุสานและพิธีกรรมแห่งความตายของชาวคันธาระ มาสู่อินเดียเหนือ

    รูปแบบของ “พระสถูปเจติยะ”องค์แรกของโลก อาจมีลักษณะเป็นเนินดินสูงแบบสุสานทูมูรัสของกรีก – ไซเธี่ยน ใต้พื้นทำเป็นห้องกรุบรรจุพระอัฐิธาตุ (Relics chamber) และของมีค่าควรแก่ “พระจักรพรรดิราชา” (Universal Emperor) ด้านบนเนินดินอัดด้วยหินกรวดและดินในรูปโดมหรือโอคว่ำ เหนือเนินดินมีรูปสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์และแท่นบูชาเพื่อใช้ในการปะกอบพิธีกรรม
    ที่ใกล้เคียงกับเนินสถูป จะมีหลักหินจารึก (Stele) ในรูปแบบของเสาหินที่มีรูปสลักของ “ราชสีห์”(lion) อันเป็นสัญลักษณ์แสดงความยิ่งใหญ่ของ “ศากยะวงศ์ – วงศ์วานแห่งพระพุทธองค์ (หรือแสดงความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิอโศก) อยู่ที่ด้านบน เรียกว่า “เสาอโศก” (Pillars of Ashoka) หรืออาจสลักเป็นราชสีห์ 4 ตัวหันหลังชนกัน หันหน้าไป 4 ทิศ ที่อาจมีความหมายถึงอำนาจแห่ง “พระจักรพรรดิแห่งโลกและธรรม” (พระเจ้าอโศก- พระพุทธเจ้า) ที่ดำรงอยู่ทุกหนแห่ง หรือในความเชื่อทางพุทธศาสนาได้อธิบายว่า เสาสลักรูปสิงห์ทั้ง 4 คือสัญลักษณ์ของคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดุจพญาราชสีห์ และแผ่ไปไกลดุจเสียง “สีหนาท”แห่งราชสีห์

    รูปแบบของเสาอโศก น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบของเสาหิน หรือแผ่นหินประดับสุสานของชาวกรีก ที่นอยมสร้างรูปสลักทางศิลปะที่งดงามและจารึกคำบรรยายกล่าวถึงคุณความดีและเรื่องราวของผู้ตาย ไว้รอบสุสาน ดังเช่นที่จารึกเสาอโศก ก็ได้กล่าวถึงคำสอนของพระพุทธองค์และเรื่องราวของพระเจ้าอโศกมหาราชผู้สร้างพระสถูป !!!
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 719200b9.jpg
      719200b9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.8 KB
      เปิดดู:
      198
    • 71924fe7.jpg
      71924fe7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      126.6 KB
      เปิดดู:
      72
  9. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    พระสถูปในยุค “ศุงคะ – อานธระ” ที่ภารหุต - สาญจี (อินเดียกลาง – เหนือ) อมราวดี (ลุ่มน้ำกฤษณา) และคันธาระ (ตอนเหนือของลุ่มน้ำสินธุ) นั้น มีรูปแบบเดียวกันกับกลุ่มสถูปสาญจี (Sanchi Stupa) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสถูปองค์แรกที่สร้างขึ้นในยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่แต่เดิมเป็นเนินดินอัดบดพร้อมกรวดรูปโดม ในภายหลังจึงนำเอาแผ่นหินมาก่อทับปิดด้านนอกแกนดิน จนดูเหมือนก่อสร้างด้วยหินทั้งองค์ ใต้เนินดินเป็นห้องกรุ (Relics chamber) บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมเครื่องพุทธบูชา (พระบรมสารีริกธาตุที่พบที่สาญจี นำไปเก็บรักษาไว้ที่บริติช มิวเซียม)

    องค์ประกอบของสถูปสาญจี ภารหุต และคันธาระจะมีโครงสร้างของฐานยกสูงแผนผังกลมล้อมรอบเนินสถูป เรียกว่า "เมธิ” ทางเดินเหนือฐานเรียกว่า “ประทักษิณ” (Pradakshina) มีบันไดทางขึ้นเรียกว่า “โสปาณ”เนินดินใหญ่ รูปโค้งเรียกว่า “อัณฑะ” (Anda) หรือ “ครรภ์” เหนือโดมมีฉัตร “วลัย” 2 – 3 ชั้น ปักบนยอดและล้อมฉัตรด้วยรั้วสี่เหลี่ยมเรียกว่า “หรรมิกา “(Harmika)
    สถูป “ธรรมราชิกาสถูป” (Dharmarajika Stupa) ใกล้นครตักษิลา มีแผนผังกลมทรงรูปโดมขนาดใหญ่ มีการค้นพบชิ้นส่วนประกอบของรั้วหรรมิกา (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์โบราณคดีเมืองตักษิลา) ที่ยังคงสลักเป็นรั้วแบบเสาตั้ง – คานนอน เลียนแบบเครื่องไม้ รวมถึงฉัตรวลีที่ยังไม่มีการซ้อนชั้นมากนักในรูปแบบศิลปะเดียวกับสถูปสาญจี จึงเชื่อได้ว่าสถูปธรรมราชิกาสถูปนี้ อาจถูกสร้างขึ้นในยุคโมริยะ – ศุงคะ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 - 4 และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมซุ้มจระนำในยุคกรีก - เบคเตรีย จนถึงยุคกุษาณะ ดังเช่นการเพิ่มลวดลายของซุ้มวงโค้งเกือกม้า (กูฑุ) สลับกับซุ้มทรงสี่เหลี่ยมคางหมูที่ส่วนฐานของเนินโดม อันเป็นความนิยมในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7
     
  10. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    แต่แทบทั้งหมดก็จะถูกบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ด้วยการก่ออิฐ ในยุคสมัย “กุษาณะ” ราวพุทธศตวรรษที่ 7 – 8 และในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9 – 10 ในสมัยของจักรรดิ “คุปตะ - วากาฏกะ (Gupta - Vakataka ruler)”ยุคทองของศิลปะอินเดีย หลายแห่งถูกเสริมฐานประทักษิณแผนผังรูปสี่เหลี่ยมที่รับอิทธิพลมาจากศิลปะคันธาระ และยังมีการแต่งเติมชั้นฐานด้วยเสาคั่นแบ่งเป็นห้อง ๆ ประดับด้วยลายดินเผา หินสลักและปูนปั้นจนมีความวิจิตรบรรจง

    ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 4 - 5 ที่เมืองอมราวดี (Amaravita) และเมืองนาคารชุณโกฑะ (Nagarjunakonda) ในลุ่มน้ำกฤษณา - แคว้นอานธระ อินเดียใต้ฝั่งทะเลเบงกอล (Bengal Sea) ก็ยังคงสร้างสถูปตามแบบสถูปสาญจี คือ ทำเป็นเนินดินรูปทรง บนฐานแผนผังทรงกลม ในยุคของราชวงศ์สาตวาหนะ (Satavahana period) ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 5 ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ โดยใช้อิฐเป็นวัสดุโครงสร้างคลุมเนินสถูปเดิม สลักลวดลายบนหินเล่าเรื่องพุทธประวัติชาดกและลวดลายมงคลบนรั้ว “เวทิกา” ล้อมรอบโดมสถูป ประตูทางเข้าทำเป็นมุขยื่นออกมาจากวงรั้ว ไม่ทำซุ้มประตู “โตรณะ” แบบสถูปสาญจี – ภารหุต แต่ทำเป็นเสาหินยอดสิงห์ข้างประตูทั้ง 4 ทิศ และเสาหินสูง 5 แท่งบนมุขของฐานที่ตั้งอยู่บนชั้นประทักษิณ แนวเดียวกับช่องประตูทั้ง 4 ด้าน
    ที่ตัวโดมของสถูป ประดับตกแต่งหินเป็นลวดลายมงคล พุทธประวัติ และชาดก ตามแบบอย่างสถูปภารหุต ที่ด้านบนของโดม(องค์อัณฑะ) สลักหินเป็นลวดลายมาลัยดอกไม้หอมร้อยพวงอุบะ คล้ายเป็นเหมือนสร้อยสังวาลล้อมรอบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7192ddec.jpg
      7192ddec.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.5 KB
      เปิดดู:
      251
    • 71921599.jpg
      71921599.jpg
      ขนาดไฟล์:
      125.3 KB
      เปิดดู:
      354
  11. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    ชิ้นส่วนที่เหลืออยู่ของซากรั้วเวทิกาล้อมรอบพระมหาสถูปอมราวดี จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ทางโบราณคดีเมืองอมราวดี

    “.....ส่วนกลุ่มสถูปอมราวดีทางอินเดียใต้นั้น น่าสังเวชที่ชาวบ้านพบก่อนเจ้าหน้าที่ รื้อแผ่นสวยงามไปขายจนกระทั่งกระจัดกระจายไปตามที่ต่าง ๆ กระทั่งในต่างประเทศ และตกเป็นของบริษัทการค้าของฝรั่งก็มิใช่น้อย แต่ในที่สุดชิ้นที่สวยงามประมาณ 200 ชิ้นก็ไปรวมกันอยู่ได้ที่บริติช มิวเซียม ในประเทศอังกฤษ โดยความพยายามของเจ้าหน้าที่ทางโบราณคดีประเทศนั้น ส่วนที่เหลืออีกมากมายถูกนำไปรวมรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งรัฐมัดราส จัดเป็นอมราวดีแกลอรี่ที่ใหญ่โตทีเดียว มีทั้งยุคที่ยังไม่มีพระพุทธรูปเลยและยุคที่มีบ้างไม่มีบ้าง กระทั่งยุคที่มีพระพุทธรูปเต็มที่ เพราะอาณาจักรอันธระแห่งยุคอมราวดีนี้ตั้งอยู่นานถึง 700 ปี จึงได้มีภาพพุทะประวัติทุกยุคและทุกแบบซึ่งน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง...”(พุทธทาสภิกขุ : 2508)
    พระสถูปเจติยะเก่าแก่ในแว่นแคว้นของอินเดียเหนือ ปากีสถาน อัฟกานิสถาน จำนวนมาก รวมไปถึงสถูปที่เมืองThoddu ประเทศมัลดีฟ ( Maldives) ก็ได้ถูกรื้อถอน ทุบทำลายจนเสียหายยับเยินไปด้วยเหตุผลต่าง ๆ ทั้งการสงคราม จากการรุกรานของชาวฮันขาว ชาวเตอร์กอิสลามิค และตอลีบัน รวมถึงความแตกต่างทางความเชื่อของผู้มีอำนาจในแต่ละยุคสมัย อีกทั้งความขัดแย้งภายในกับกลุ่มชนผู้มีอำนาจที่ยังคงมีความเชื่อความศรัทธาในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู อิสลาม ยังอีกทั้งการขุดทำลายในยุคใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาศิลปะประดับพระสถูปอันเก่าแก่งดงาม เพื่อการค้าการสะสมมาตั้งแต่ยุคอาณานิคม ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมาครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7192cc47.jpg
      7192cc47.jpg
      ขนาดไฟล์:
      85.8 KB
      เปิดดู:
      77
    • 71922723.jpg
      71922723.jpg
      ขนาดไฟล์:
      99.4 KB
      เปิดดู:
      59
  12. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    สถูปพระมหาเจดีย์รุวันเวลิ มหาเสยา (Ruwanweli Maha seya) หรือพระมหาเจดีย์สุวรรณมาลิก
    สร้างขึ้นครั้งแรกในช่วง “ศุงคะ – อานธระ" ราวพุทธศตวรรษที่ 4 - 5 เมืองโบราณอนุราธปุระ (Anuradhapura)

    แต่กระนั้น ก็ยังปรากฏร่องรอยหลักฐานรูปแบบของมหาสถูปแห่ง “มหาจักรพรรดิแห่งราชวงศ์กุษาณะ”บนแผ่นหินประดับพระสถูปที่เป็นรูปของพระสถูปฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ บนลานประทักษิณแผนผังรูปสี่เหลี่ยมแต่ละมุมประดับเป็นเสายอดสิงโต (Lion Pillars) องค์สถูปสัญฐานกลม ซ้อนขึ้นไป 2 ชั้น ฐานบนสุดทำเป็นรั้วเวทิกาล้อมโดมสถูปด้านบนยังคงทำเป็นรั้วหรรมิกาและฉัตรวลัยซ้อนลดหลั่นขึ้นไปสามชั้น พุทธศตวรรษที่ 7
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 71924c93.jpg
      71924c93.jpg
      ขนาดไฟล์:
      119.7 KB
      เปิดดู:
      65
    • 7192e736.jpg
      7192e736.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53.9 KB
      เปิดดู:
      111
    • 71927ca3.jpg
      71927ca3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56.8 KB
      เปิดดู:
      233
  13. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    สถูปประธาน“ธรรมราชิกาสถูป” (Dharmarajika Stupa) ในเมืองตักศิลา แผนผังยังคงเป็นรูปวงกลมตามแบบสถูปสาญจี มีการตกแต่งผนังชั้นฐานลานประทักษิณด้วยเสาโครินเธียนโดยรอบ ส่วนฐานชั้นมีแผนผังกลม มีการเพิ่มซุ้มจระนำขึ้นทั้ง 4 ทิศในยุคพระเจ้ากนิษกะ ประดับด้วยเสาโครินเธียนติดผนังขนาดเล็ก รองรับชั้นคานหลังคาปลอม (Entablature) ระหว่างช่องเสาทำเป็นซุ้มวงโค้ง “กูฑุ” สามวง (หมายถึงอาคารที่มีความสูง) สลับกับซุ้มทรงเหลี่ยมคางหมู โดยรอบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7192aa38.jpg
      7192aa38.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44 KB
      เปิดดู:
      76
    • 71928bc1.jpg
      71928bc1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      92.6 KB
      เปิดดู:
      50
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มีนาคม 2014
  14. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    สถูปบ้านนางสุชาดา (Sujatagarh stupa) ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา (Niranjana river) รัฐพิหาร
    อาจสร้างขึ้นครั้งแรกในพุทธศตวรรษที่ 3 แต่มีการก่ออิฐขึ้นใหม่ในพุทธศตวรรษที่ 5 –
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 719257ee.jpg
      719257ee.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63.8 KB
      เปิดดู:
      54
  15. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    มกุฏพันธนเจดียสถาน หรือ สถูปรามภาร์-กา-ดิลา (Rambha ka tila stupa) ที่ถวายพระเพลิงพุทธสรีระ เมืองกุสินารา (Kushinagar)
    รัฐอุตตรประเทศ อินเดียเหนือ อาจสร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 1 - 3 แต่มีการก่ออิฐขึ้นใหม่อีกครั้งในพุทธศตวรรษที่ 5 – 8
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7192d0ee.jpg
      7192d0ee.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.1 KB
      เปิดดู:
      75
  16. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    ธัมมราชิกสถูป (Dharmarajika stupa) เมืองสารนาถ รัฐอุตตรประเทศ สร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 - 4
    ก่ออิฐขึ้นใหม่ในภายหลัง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 71929573.jpg
      71929573.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66 KB
      เปิดดู:
      53
  17. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    สถูปกบิลพัสดุ์ (kapilavastu stupa - Sakyan Stupa) ตำบลปิปราหวะ(Piprahwa) เมืองบาสติ (Basti)
    ใกล้พรมแดนระหว่างอินเดียกับเนปาล แคว้นอุตตรประเทศ อาจสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 3
    แล้วมาสร้างใหม่ด้วยการก่ออิฐในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7 – 8
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 71923565.jpg
      71923565.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53.8 KB
      เปิดดู:
      51
  18. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    สถูปองคุลีมาล (Angulimala stupa) ใกล้กับ สถูปอนาถบิณฑิกะ แม่น้ำราปติ เมืองสาวัตถี แคว้นอุตตรประเทศ
    อาจสร้างขึ้นครั้งแรกในพุทธศตวรรษที่ 3 - 4 แต่ได้รับการต่อเต็มบูรณะมาในหลายยุคสมัย
    จนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 ก็ถูกแปลงเป็นเทวสถานฮินดู
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7192b93d.jpg
      7192b93d.jpg
      ขนาดไฟล์:
      54 KB
      เปิดดู:
      53
  19. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 9 “จักรวรรดิคุปตะ – วากาฏกะ” (Vakataka - Gupta Empire/Dynasty) อารยันลูกผสมเก่าแก่ได้กลับเข้ามาครอบครองอินเดียเหนือขึ้นไปจนถึงลุ่มน้ำสินธุอีกครั้ง ส่วน“จักรวรรดิอิกษวากุ” (Iksvaku Empire) ก็ได้เข้าปกครองแคว้นอานธระ (นาคารชุนโกณฑะ – อมราวดี) คติความเชื่อแบบมหายาน (มหาสังฆิกะ) ผสมผสานกับลัทธิพราหมณ์ฮินดู มีบทบาทสำคัญ ที่ผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนรูปแบบทางศิลปกรรมของพระสถูปเจติยะ (Stupa Chaitya) กับเทวาลัย “ปราสาท” (Prasada) แบบฮินดูที่มีการวางแผนผังอาคารจำลองหน้าบันวงโค้ง (ซุ้มกูฑุ – บัญชร) ในแผนผังที่ซับซ้อนและลดหลั่นขึ้นไปแบบทรง“ศิขระ” (Sikhara -Sikhar) มีการตกแต่งลวดลาย และเพิ่มมุมของอาคารปราสาทที่มีความหมายถึงการซ้อนทับของปราสาทหลายหลังและจำนวนระดับชั้นบนสวรรค์ กลายมาเป็น “มหาปราสาท” (Maha Prasada) ที่สถิตของเหล่าเทพเจ้า

    รูปแบบของฐานพระสถูปเจติยะหรืออาคารวิหารในยุคคุปตะ - วากาฏกะ ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากฐานที่มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีการ “ยกเก็จ” หรือทำซุ้มอาคารจำลองเป็นมุข “กระเปาะ” ยื่นออกมาจากฐานเดิม แบ่งฐานเป็นสัดส่วนที่ได้สมมาตร (Balance) ทั่วทั้งฐาน ตามแบบอย่างการเพิ่มมุมในศิลปะแบบปราสาทของฮินดู เช่นที่ปราสาท Bhitargaon Temple เมืองคานปูร์ (Kanpur) รัฐอุตตรประเทศ อายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 10
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 719271b4.jpg
      719271b4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      91.2 KB
      เปิดดู:
      54
  20. Nuntapus

    Nuntapus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2007
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +385
    ข้าพเจ้าเคยฟังเทศของหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ท่านบอกว่าในอนาคตจะมีผู้พยายามบิดเบือนคำสอนและพยายามบอกว่าอินเดียไม่ใช่ชมพูทวีปดินแดนที่พุทธองค์เผยแพร่คำสอน ซึ่งท่านเทศไว้นานแล้ว ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ว่าคลิปนั้นชื่ออะไร

    แต่ก็มาเห็นจริงตามที่ท่านบอก คือ มีผู้พยายามบิดเบือน ความจริงตอนนี้ก็ไม่ยากในการพิสูจน์เพราะประเทศอินเดียยังมีอยู่ มีหลักฐานมากมายตามพระไตรปิฎก ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ เจดีย์ ภูมิประเทศต่างๆ วัฒนธรรมหรือภาษามคธ ใครเคยไปสังเวชนียสถานคงรู้ดีว่าอินเดีย คือสถานที่ตอนพุทธองค์มีพระชนชีพอยู่

    หลักฐานที่ท่านอ้างอิงมา เป็นการบิดเบือนของนักวิชาการสมัยใหม่ และไม่เข้ากับหลักฐานในพระไตรปิฎก ไม่เข้ากับความจริงซึ่งยังมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...