คุณของพระพุทธเจ้าโดยละเอียดที่สุดมีกี่ประการ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย (-*-), 26 พฤศจิกายน 2014.

  1. (-*-)

    (-*-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +1,060
    ไม่ทราบว่าใครเคยเจอบทสาธยายคุณของพระพุทธเจ้าโดยละเอียดหรือไม่ครับ
    พอดีว่าอยากทราบครับ

    และแบบละเอียดที่สุดของผม หมายถึง การแบ่งย่อยเป็นข้อๆ ไม่ใช่การอธิบายขยายความเป็นน้ำ 3 วัน 3 คืนไม่จบ ใส่ drama แบบนี้ไม่เอานะครับ
     
  2. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814


    :cool:({) ผมเกิดมา ตั้งแต่ได้จำความได้ เขาตั้ง นะโม ๓ จบ แล้วสวด สาธยาย มนต์ บท พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ อิติปิโส ๓ ห้อง ไม่ว่า พระอรหันต์ ทั้งหลาย พระอริยเจ้าทั้งหลาย พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย แม้ อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย ท่านเหล่านั้น ไม่เคยทิ้ง มนต์ ๓ บทนี้เลย อัปมาโนพุทธโธ คุณของพระพุทธเจ้า หาประมาณมิได้ อัปมาโนธัมโม คุณของพระธรรมหาประมาณมิได้ อัปมาโนสังโฆ คุณของพระอริสงฆ์หาประมาณมิได้ ต่อให้นายเกิดมาเป็นทั้ง นายและ บ่าว เต็มทั้งโลก ไม่อาจพรรณา คุณของพระพุทะเจ้าได้หมดแน่นอนครับ:cool:
     
  3. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
  4. (-*-)

    (-*-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +1,060
  5. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,631
    พระพุทธคุณร้อยบท[มหาพุทธโถมนาการ]

    เตนะหิ ภัณเต สุโณหิ,
    ยัสสาหัง สาวะโก,
    ธีรัสสะ,
    วิคะตะโมหัสสะ,
    ปะภินนะขีลัสสะ,
    วิชิตะวิชะยัสสะ,
    อะนีฆัสสะ ,
    สุสะมะจิตตัสสะ ,
    พุทธะสีสัสสะ ,
    สาธุปัญญัสสะ ,
    เวสะมันตารัสสะ ,
    วิมะลัสสะ,
    ภะคะวะโต ตัสสะ สาวะโกหะ มัสฺมิ

    อะกะถังกะถิสสะ ,
    ตุสิตัสสะ ,
    วันตะโลกามิลัสสะ ,
    มุทิตัสสะ,
    กะตะสะมะณัสสะ,
    มะนุชัสสะ,
    อันติมะสะรีรัสสะ,
    นะรัสสะ,
    อะโนปะมัสสะ
    วิระซัสสะ ,
    ภะคะวะโต ตัสสะ สาวะโกหะมัสฺมิ ,

    อะสังสะยัสสะ ,
    กุสะสัสสะ ,
    เวนะยิกัสสะ ,
    สาระถิวะรัสสะ ,
    อะนุตตะรัสสะ,
    รุจิระธัมมัสสะ,
    นิกกังขัสสะ ,
    ปะภาสะกะรัสสะ ,
    มานัจฉิทัสสะ ,
    วีรัสสะ ,
    ภะคะวะโตตัสะ สาวะโกหะมัสฺมิ ,

    นิสะภัสสะ ,
    อัปปะเมยยัสสะ ,
    คัมภีรัสสะ,
    โมนัปปัตตัสสะ,
    เขมังกะรัสสะ,
    เวทัสสะ,
    ธัมมัฎฐัสสะ,
    สุสังวุตตัสสะ ,
    สังคาติคัสสะ ,
    มุตตัสสะ ,
    ภะคะวะ โตตัสสะ สาวะโกหะมัสฺมิ ,

    นาคัสสะ,
    ปันตะเสนัสสะ,
    ขีณะสัญโญชะนัสสะ,
    วิมุตตัสสะ,
    ปะฏิมันตะกัสสะ,
    โมนัสสะ,
    ปันนะธะชัสสะ,
    วีตะราคัสสะ,
    ทันตัสสะ,
    นิปปะปัญจัสสะ,
    ภะคะวะโตตัสสะ สาวะโกหะมัสฺมิ,

    อิสิสัตตะมัสสะ,
    อะกุหัสสะ,
    เตวิชชัสสะ,
    พรัมมะสัตตัสสะ,
    นหาตะกัสสะ,
    ปะทะกัสสะ,
    ปัสสัทธัสสะ,
    วิทิตะเวทัสสะ,
    ปุรินทะทัสสะ,
    สักกัสสะ,
    ภะคะวะโตตัสสะ สาวะโกหะมัสฺมิ,

    อะริยัสสะ,
    ภาวิตัตตัสสะ,
    ปัตติปัตตัสสะ,
    เวยยากะระณัสสะ,
    สะติมะโต,
    วิปัสสิสสะ,
    อะนะภิณะตัสสะ,
    โน อะปะณะตัสสะ,
    อาเนชัสสะ,
    วะสิปปัตตัสสะ,
    ภะคะวะโตตัสสะ สาวะโกหะมัสฺมิ,

    สัมมัคคะตัสสะ,
    ฌายิสสะ,
    อะนันคะตันตะรัสสะ,
    สุทธัสสะ,
    อะสิตัสสะ,
    อัปปะภีตัสสะ,
    ปะวิวิตตัสสะ,
    อัคคัปปัตตัสสะ,
    ติณณัสสะ,
    ตาระยันตัสสะ,
    ภะคะวะโตตัสสะ สาวะโกหะมัสฺมิ,

    สันตัสสะ,
    ภูริปัญญัสสะ,
    มะหาปัญญัสสะ,
    วีตะโลภัสสะ,
    ตะถาคัสสะ,
    สุคะตัสสะ,
    อัปปะฏิปุคคะลัสสะ,
    อะสะมัสสะ,
    วิสาระทัสสะ,
    นิปุณัสสะ,
    ภะคะวะโตตัสสะ สาวะโกหะมัสฺมิ,

    ตัณหัจฉิทัสสะ,
    พุทธัสสะ,
    วีตะธูมัสสะ,
    อะนุปะลิตตัสสะ,
    อาหุเนยยัสสะ,
    ยักขัสสะ,
    อุตตะมะปุคคะลัสสะ,
    อะตุลัสสะ,
    มะหะโต,
    ยะสัคคัปปัตตัสสะ,
    ภะคะวะโตตัสสะ สาวะโกหะมัสสะมิ,
    อิติ.

    อุปาลิวาทสูตร ม.ม ๑๓/๗๗/๘๒

    ดูก่อนท่านผู้เจริญ ! ขอท่านจงฟังซึ่งคำของข้าพเจ้าเถิด : ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :-
    1. เป็นนักปราชญ์ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญา
    2. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากโมหะ
    3. เป็นผู้มีเสาเขื่อนเครื่องตรึงจิตอันหักแล้ว
    4. เป็นผู้มีชัยชนะอันวิชิตแล้ว
    5. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากสิ่งคับแค้นสะเทือนใจ
    6. เป็นผู้มีจิตสม่ำเสมอด้วยดี
    7. เป็นผู้มีปรกติภาวะแห่งบุคคลผู้เป็นพุทธะ
    8. เป็นผู้มีปัญญาเครื่องยังประโยชน์ให้สำเร็จ
    9. เป็นผู้ข้ามไปได้แล้วซึ่งวัฏฏะสงสารอันขรุขระ
    10. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากมลทินทั้งปวง

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    11. เป็นผู้ไม่มีการถามใครว่าอะไรเป็นอะไร
    12. เป็นผู้อิ่มแล้วด้วยความอิ่มในธรรมอยู่เสมอ
    13. เป็นผู้มีเหยื่อในโลกอันทรงคายทิ้งแล้ว
    14. เป็นผู้มีมุทิตาจิตในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
    15. เป็นผู้มีสมณภาวะอันทรงกระทำสำเร็จแล้ว
    16. เป็นผู้ถือกำเนิดแล้วแต่กำเนิดแห่งมนูโดยแท้
    17. เป็นผู้มีสรีระอันมีในครั้งสุดท้าย
    18. เป็นผู้เป็นนรชนคือเป็นคนแท้
    19. เป็นผู้อันใครๆ กระทำอุปมามิได้
    20. เป็นผู้ปราศจากกิเลสอันพึงเปรียบได้ด้วยธุลี

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    21. เป็นผู้หมดสิ้นแล้วจากความสงสัยทั้งปวง
    22. เป็นผู้นำสัตว์สู่สภาพอันวิเศษ
    23. เป็นผู้มีปัญญาเครื่องตัดกิเลสดุจหญ้าคาเสียได้
    24. เป็นสารถีอันประเสริฐกว่าสารถีทั้งหลาย
    25. เป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่าโดยคุณธรรมทั้งปวง
    26. เป็นผู้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความชอบใจของสัตว์ทั้งปวง
    27. เป็นผู้มีกังขาเครื่องข้องใจอันทรงนำออกแล้วหมดสิ้น
    28. เป็นผู้กระทำซึ่งความสว่างแก่ปวงสัตว์
    29. เป็นผู้ตัดแล้วซึ่งมานะเครื่องทำความสำคัญมั่นหมาย
    30. เป็นผู้มีวีรธรรมเครื่องกระทำความแกล้วกล้า

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    31. เป็นผู้เป็นยอดมนุษย์ แห่งมนุษย์ทั้งหลาย
    32. เป็นผู้มีคุณอันใครๆ กำหนดประมาณมิได้
    33. เป็นผู้มีธรรมสภาวะอันลึกซึ้งไม่มีใครหยั่งได้
    34. เป็นผู้ถึงซึ่งปัญญาเครื่องทำความเป็นแห่งมุนี
    35. เป็นผู้กระทำความเกษมแก่สรรพสัตว์
    36. เป็นผู้มีเวทคือญาณเครื่องเจาะแทงซึ่งโมหะ
    37. เป็นผู้ประดิษฐานอยู่ในธรรม
    38. เป็นผู้มีพระองค์อันทรงจัดสรรดีแล้ว
    39. เป็นผู้ล่วงกิเลสอันเป็นเครื่องข้องเสียได้
    40. เป็นผู้หลุดรอดแล้วจากบ่วงทั้งปวง

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    41. เป็นผู้เป็นดังพระยาช้างตัวประเสริฐ
    42. เป็นผู้มีการนอนอันสงัดจากการรบกวนแห่งกิเลส
    43. เป็นผู้มีกิเลสเครื่องประกอบไว้ในภพสิ้นสุดแล้ว
    44. เป็นผู้พ้นพิเศษแล้วจากทุกข์ทั้งปวง
    45. เป็นผู้มีความคิดเหมาะเจาะเฉพาะเรื่อง
    46. เป็นผู้มีปัญญาเครื่องทำความเป็นแห่งมุนี
    47. เป็นผู้มีมานะเป็นดุจธงอันพระองค์ทรงลดลงได้แล้ว
    48. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากระคะ
    49. เป็นผู้มีการฝึกตนอันฝึกแล้ว
    50. เป็นผู้หมดสิ้นแล้วจากกิเลสเครื่องเหนี่ยวหน่วงให้เนิ่นช้า

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    51. เป็นผู้แสวงหาพบคุณอันใหญ่หลวง องค์ที่เจ็ด
    52. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากความคดโกง
    53. เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งวิชชาทั้งสาม
    54. เป็นผู้เป็นพรหมแห่งปวงสัตว์
    55. เป็นผู้เสร็จจากการอาบการล้างแล้ว
    56. เป็นผู้มีหลักมีเกณฑ์ในการกระทำทั้งปวง
    57. เป็นผู้มีกมลศันดานอันระงับแล้ว
    58. เป็นผู้มีญาณเวทอันวิทิตแล้ว
    59. เป็นผู้ทำลายซึ่งธานีนครแห่งกิเลสทั้งหลาย
    60. เป็นผู้เป็นจอมแห่งสัตว์ทั้งปวง

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    61. เป็นผู้ไปพ้นแล้วจากข้าศึกคือกิเลส
    62. เป็นผู้มีตนอันอบรมถึงที่สุดแล้ว
    63. เป็นผู้มีธรรมที่ควรบรรลุอันบรรลุแล้ว
    64. เป็นผู้กระทำซึ่งอรรถะทั้งหลายให้แจ่มแจ้ง
    65. เป็นผู้มีสติสมบูรณ์อยู่เองในทุกกรณี
    66. เป็นผู้มีความรู้แจ้งเห็นแจ้งเป็นปรกติ
    67. เป็นผู้มีจิตไม่แฟบลงด้วยอำนาจแห่งกิเลส
    68. เป็นผู้มีจิตไม่ฟูขึ้นด้วยอำนาจแห่งกิเลส
    69. เป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหวด้วยอำนาจแห่งกิเลส
    70. เป็นผู้บรรลุถึงซึ่งความมีอำนาจเหนือกิเลส

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    71. เป็นผู้ไปแล้วโดยชอบ
    72. เป็นผู้มีการเพ่งพินิจทั้งในสมาธิและปัญญา
    73. เป็นผู้มีศันดานอันกิเลสตามถึงไม่ได้แล้ว
    74. เป็นผู้หมดจดแล้วจากสิ่งเศร้าหมองทั้งปวง
    75. เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้แล้ว
    76. เป็นผู้ไม่มีความหวาดกลัวในสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกลัว
    77. เป็นผู้สงัดแล้วจากการรบกวนแห่งกิเลสทั้งปวง
    78. เป็นผู้บรรลุแล้วซึ่งธรรมอันเลิศ
    79. เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งโอฆกันดาร
    80. เป็นผู้ยังบุคคลอื่นให้ข้ามซึ่งโอฆะนั้น

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    81. เป็นผู้มีศันดานสงบรำงับแล้ว
    82. เป็นผู้มีปัญญาอันหนาแน่น
    83. เป็นผู้มีปัญญาอันใหญ่หลวง
    84. เป็นผู้ปราศจากแล้วจากโลภะ
    85. เป็นผู้มีการไป การมาอย่างพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    86. เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
    87. เป็นบุคคลผู้ไม่มีบุคคลใดเปรียบ
    88. เป็นบุคคลผู้ไม่มีบุคคลใดเสมอ
    89. เป็นบุคคลผู้มีญาณอันแกล้วกล้า
    90. เป็นผู้มีปัญญาละเอียดอ่อน

    ข้าพเจ้านั้น เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์ใด; พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น :
    91. เป็นผู้เจาะทะลุข่ายคือตัณหาเครื่องดักสัตว์
    92. เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานเป็นปรกติ
    93. เป็นผู้มีกิเลสดุจควันไฟไปปราศแล้ว
    94. เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่ฉาบทาได้อีกต่อไป
    95. เป็นผู้เป็นอาหุเนยยบุคคลควรแก่ของที่เขานำไปบูชา
    96. เป็นผู้ที่โลกทั้งปวงต้องบูชา
    97. เป็นบุคคลผู้สูงสุดแห่งบุคคลทั้งหลาย
    98. เป็นผู้มีคุณอันไม่มีใครวัดได้
    99. เป็นผู้เป็นมหาบุรุษ
    100. เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเลิศด้วยเกียรติคุณ ;
    ข้าพเจ้า เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น; ดังนี้ แล.

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2014
  6. (-*-)

    (-*-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +1,060
    ขอบคุณ คุณศนิวาร สำหรับพระพุทธคุณร้อยบทนี้ .. ผมไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยครับ :cool:
     
  7. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,631
    ที่มาของบทสวด ( อยู่ช่วงท้าย ๆ ของพระสูตรนี้ )

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
    มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์


    ๖. อุปาลิวาทสูตร
    เรื่องทีฆตปัสสีนิครนถ์
    [๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน ใกล้เมืองนาลันทา. สมัยนั้นนิครนถ์นาฏบุตรอาศัยอยู่ ณ เมืองนาลันทาพร้อมด้วยบริษัทนิครนถ์เป็นอันมาก ครั้งนั้นแล.นิครนถ์ชื่อว่าทีฆตปัสสี เที่ยวบิณฑบาตไปในเมืองนาลันทา เวลาภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงปาวาริกัมพวัน ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ กะทีฆตปัสสีนิครนถ์ว่า ดูกรทีฆตปัสสี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ก็จงนั่งเถิด เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆตปัสสีนิครนถ์ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่งนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
    กรรม ๓ ของนิครนถ์นาฏบุตร
    [๖๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กะทีฆตปัสสีนิครนถ์ว่า ดูกรทีฆตปัสสีก็นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติกรรม ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม ไว้เท่าไร?ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้ทูลว่า ท่านพระโคดม นิครนถ์นาฏบุตร จะบัญญัติว่ากรรมๆ ดังนี้เป็นอาจิณหามิได้ ท่านพระโคดม นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติว่า ทัณฑะๆ ดังนี้แล เป็นอาจิณ. พ. ดูกรทีฆตปัสสี ก็นิครนถ์นาฏบุตรย่อมบัญญัติทัณฑะ ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้เท่าไร? ที. ท่านพระโคดม นิครนถ์นาฏบุตรย่อมบัญญัติทัณฑะในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้ ๓ ประการ คือ กายทัณฑะ ๑ วจีทัณฑะ ๑ มโนทัณฑะ ๑. ดูกรตปัสสี ก็กายทัณฑะอย่างหนึ่ง วจีทัณฑะอย่างหนึ่ง มโนทัณฑะอย่างหนึ่งหรือ? ท่านพระโคดม กายทัณฑะอย่างหนึ่ง วจีทัณฑะอย่างหนึ่ง มโนทัณฑะอย่างหนึ่ง. ดูกรตปัสสี ก็บรรดาทัณฑะ ๓ ประการนี้ ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้ ทัณฑะไหน คือ กายทัณฑะ วจีทัณฑะ หรือมโนทัณฑะ ที่นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม? ท่านพระโคดม บรรดาทัณฑะทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้ นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติว่า กายทัณฑะมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม จะบัญญัติวจีทัณฑะ มโนทัณฑะ ว่ามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะหามิได้. ดูกรตปัสสี ท่านกล่าวว่ากายทัณฑะหรือ? ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าว่ากายทัณฑะ. ดูกรตปัสสี ท่านกล่าวว่ากายทัณฑะหรือ? ท่านพระโคดม ข้าพเจ้ากล่าวว่ากายทัณฑะ. ดูกรตปัสสี ท่านกล่าวว่ากายทัณฑะหรือ? ท่านพระโคดม ข้าพเจ้ากล่าวว่ากายทัณฑะ. พระผู้มีพระภาคทรงให้ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ยืนยันในเรื่องที่พูดนี้ถึง ๓ ครั้ง ด้วยประการฉะนี้. [๖๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม พระองค์เล่าย่อมบัญญัติทัณฑะ ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้เท่าไร? ดูกรตปัสสี ตถาคตจะบัญญัติว่ากรรมๆ ดังนี้เป็นอาจิณ. ท่านพระโคดม ก็พระองค์ย่อมบัญญัติกรรม ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม ไว้เท่าไร? ดูกรตปัสสี เราย่อมบัญญัติกรรม ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้ ๓ประการ คือ กายกรรม ๑ วจีกรรม ๑ มโนกรรม ๑. พระโคดม ก็กายกรรมอย่างหนึ่ง วจีกรรมอย่างหนึ่ง มโนกรรมอย่างหนึ่งมิใช่หรือ? ดูกรตปัสสี กายกรรมอย่างหนึ่ง วจีกรรมอย่างหนึ่ง มโนกรรมอย่างหนึ่ง. ท่านพระโคดม ก็บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้ กรรมไหน คือ กายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมที่พระองค์บัญญัติว่ามีโทษมากกว่าในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม? ดูกรตปัสสี บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้ เราบัญญัติมโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมเราจะบัญญัติกายกรรม วจีกรรมว่ามีโทษมากเหมือนมโนกรรมหามิได้. ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ? ดูกรตปัสสี เรากล่าวว่ามโนกรรม. ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ? ดูกรตปัสสี เรากล่าวว่ามโนกรรม. ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ? ดูกรตปัสสี เรากล่าวว่ามโนกรรม. ทีฆตปัสสีนิครนถ์ให้พระผู้มีพระภาคทรงยืนยันในเรื่องที่ตรัสนี้ถึง ๓ ครั้ง ด้วยประการฉะนี้ แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่. [๖๕] ก็สมัยนั้น นิครนถ์นาฏบุตรนั่งอยู่พร้อมด้วยคิหิบริษัทเป็นอันมาก ผู้มีความเขลามีอุบาลิคฤหบดีเป็นประมุข. ได้เห็นทีฆตปัสสีนิครนถ์มาแต่ไกล ได้กล่าวกะทีฆตปัสสีนิครนถ์ว่าดูกรตปัสสี ดูเถอะ ท่านมาจากไหนแต่ยังวันเทียวหนอ? ทีฆตปัสสีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาจากสำนักพระโคดมนี้เอง. นิ. ดูกรตปัสสี ก็ท่านได้เจรจาปราศรัยกับพระสมณโคดมเรื่องอะไรบ้างหรือ? ที. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้เจรจาปราศรัยกับพระสมณโคดมมาบ้าง. ดูกรตปัสสี ก็ท่านได้เจรจาปราศรัยกับพระสมณโคดมมาอย่างไร? ลำดับนั้น ทีฆตปัสสีนิครนถ์บอกเรื่องการเจรจาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคจนหมดสิ้นแก่นิครนถ์นาฏบุตร. เมื่อทีฆตปัสสีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์นาฏบุตรได้กล่าวกะทีฆตปัสสีนิครนถ์ว่า ดูกรตปัสสี ดีละๆ ข้อที่ทีฆตปัสสีนิครนถ์พยากรณ์แก่พระสมณโคดม ตรงตามที่สาวกผู้ฟังผู้รู้ทั่วถึงคำสอนของศาสดาโดยชอบ มโนทัณฑะอันต่ำทราม จะงามอะไรเล่า เมื่อเทียบกับกาย-*ทัณฑะอันยิ่งใหญ่อย่างนี้ โดยที่แท้ กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรมในการเป็นไปแห่งบาปกรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่. [๖๖] เมื่อนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว อุบาลีคฤหบดีได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทีฆตปัสสีพยากรณ์ดีแล้วๆ ข้อที่ท่านทีฆตปัสสีพยากรณ์แก่พระสมณโคดมตรงตามที่สาวกผู้ฟัง ผู้รู้ทั่วถึงคำสอนของศาสดาโดยชอบ มโนทัณฑะอันต่ำทรามจะงามอะไรเล่าเมื่อเทียบกับกายทัณฑะอันยิ่งใหญ่อย่างนี้ โดยที่แท้ กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่ ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ ข้าพเจ้าจะไป จักยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม ถ้าพระสมณโคดมจักยืนยันแก่ข้าพเจ้า เหมือนอย่างที่ยืนยันกับท่านตปัสสีไซร้ ข้าพเจ้าจักฉุดกระชากลากไปมา ซึ่งวาทะด้วยวาทะกะพระสมณโคดม เหมือนบุรุษมีกำลังพึงจับแกะมีขนยาวที่ขนแล้วฉุดกระชากลากไปมา ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักฉุดกระชากลากไปมา ซึ่งวาทะด้วยวาทะกะพระสมณโคดมเหมือนบุรุษมีกำลังผู้ทำการงานโรงสุรา พึงทิ้งกระสอบเครื่องประกอบสุราใหญ่ไว้ในห้วงน้ำลึกแล้วจับที่มุมฉุดกระชากลากไปมา ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักขจัด ขยี้ บด ซึ่งวาทะด้วยวาทะกะพระสมณ-*โคดม เหมือนบุรุษที่มีกำลังเป็นนักเลงสุรา พึงจับถ้วยสุราที่หูถ้วยแล้ว พลิกลง พลิกขึ้นไสไป ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักเล่นดังเล่นล้างเปลือกป่าน กะพระสมณโคดม เหมือนช้างแก่อายุ ๖๐ ปีลงไปยังสระลึกเล่นล้างเปลือกป่าน ฉะนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ ข้าพเจ้าจะไป จักยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม. นิ. ดูกรคฤหบดี ท่านจงไป จงยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม ดูกรคฤหบดีเราก็ได้ ทีฆตปัสสีนิครนถ์ก็ได้ ท่านก็ได้ พึงยกวาทะแก่พระสมณโคดม. [๖๗] เมื่อนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวกะนิครนถ์-*นาฏบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย ด้วยว่า พระสมณโคดมเป็นคนมีมายา ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์. นิ. ดูก่อนตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีเป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรคฤหบดี ท่านจงไป จงยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดมเราก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้ ท่านก็ได้ พึงยกวาทะแก่พระสมณโคดม. ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวเตือนนิครนถ์นาฏบุตรเป็นครั้งที่ ๒ ว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย ด้วยพระสมณโคดมเป็นคนมีมายา ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์. นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีเป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรคฤหบดี ท่านจงไป จงยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดมเราก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้ ท่านก็ได้ พึงยกวาทะแก่พระสมณโคดม. ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวเตือนนิครนถ์นาฏบุตรเป็นครั้งที่ ๓ ว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย ด้วยพระสมณโคดมเป็นคนมีมายา ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์. นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีเป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรคฤหบดี ท่านจงไป จงยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม เราก็ได้ทีฆตปัสสีก็ได้ ท่านก็ได้ พึงยกวาทะแก่พระสมณโคดม. [๖๘] อุบาลีคฤหบดีรับคำนิครนถ์นาฏบุตรแล้ว ลุกจากอาสนะไหว้นิครนถ์นาฏบุตรทำประทักษิณแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงปาวาริกัมพวัน ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้มา ณ ที่นี้หรือ? พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า ดูกรคฤหบดี ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้มา ณ ที่นี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระองค์ได้เจรจาปราศรัยเรื่องอะไรๆ กับทีฆตปัสสีนิครนถ์บ้างหรือ? ดูกรคฤหบดี เราได้เจรจาปราศรัยกับทีฆตปัสสีนิครนถ์บ้าง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระองค์ได้เจรจาปราศรัยกับทีฆตปัสสีนิครนถ์อย่างไรบ้าง? ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสบอกเรื่องการเจรจาปราศรัยกับทีฆตปัสสีนิครนถ์จนหมดสิ้นแก่อุบาลีคฤหบดี. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสบอกอย่างนี้แล้ว อุบาลีคฤหบดีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆตปัสสีพยากรณ์ดีแล้วๆ ข้อที่ทีฆตปัสสีพยากรณ์แก่พระผู้มีพระภาคนั้น ตรงตามที่สาวกผู้ฟัง ผู้รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยชอบ มโนทัณฑะอันต่ำทรามนั้นจะงามอะไรเล่า เมื่อเทียบกับกายทัณฑะนี้ อันยิ่งใหญ่อย่างนี้ โดยที่แท้กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม วจีทัณฑะมโนทัณฑะ หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่. ดูกรคฤหบดี ถ้าแลท่านจะพึงมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน เราทั้งสองพึงเจรจาปราศรัยกันได้ในเรื่องนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน ขอเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด.
    พระผู้มีพระภาคทรงย้อนถามปัญหากรรม
    [๖๙] ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญในความข้อนั้นเป็นไฉน นิครนถ์ในโลกนี้เป็นคนอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ห้ามน้ำเย็น ดื่มแต่น้ำร้อน เมื่อเขาไม่ได้น้ำเย็นจะต้องตายดูกรคฤหบดี ก็นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติความเกิดของนิครนถ์ผู้นี้ในที่ไหนเล่า? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดาชื่อว่ามโนสัตว์มีอยู่ นิครนถ์นั้นย่อมเกิดในเทวดาจำพวกนั้นข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนิครนถ์ผู้นั้นเป็นผู้มีใจเกาะเกี่ยวทำกาละ. ดูกรคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้ว จงพยากรณ์คำหลังกับคำก่อนก็ดี คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่าน ไม่ต่อกันเลย ดูกรคฤหบดี ก็ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจาต่อกัน ของเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้นกายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรมในการเป็นไปแห่งบาปกรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่. [๗๐] ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นิครนถ์ในโลกนี้พึงเป็นผู้สำรวมด้วยการสังวรโดยส่วน ๔ คือห้ามน้ำทั้งปวง ประกอบด้วยการห้ามบาปทั้งปวง กำจัดบาปด้วยการห้ามบาปทั้งปวง อันการห้ามบาปทั้งปวงถูกต้องแล้ว เมื่อเขาก้าวไป ถอยกลับ ย่อมถึงการฆ่าสัตว์ตัวเล็กๆ เป็นอันมาก ดูกรคฤหบดี ก็นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติวิบากเช่นไรแก่นิครนถ์ผู้นี้? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครนถ์นาฏบุตรมิได้บัญญัติกรรม อันเป็นไปโดยไม่จงใจว่ามีโทษมากเลย. ดูกรคฤหบดี ก็ถ้าจงใจเล่า? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นกรรมมีโทษมาก. ดูกรคฤหบดี ก็นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติเจตนาลงในส่วนไหน? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติเจตนาลงในส่วนมโนทัณฑะ. ดูกรคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้ว จงพยากรณ์ คำหลังกับคำก่อนก็ดี คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่าน ไม่ต่อกันเลย ดูกรคฤหบดี ก็ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน ขอเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะหามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่. ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บ้านนาลันทานี้เป็นบ้านมั่งคั่ง เป็นบ้านเจริญ มีชนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น? อย่างนั้น พระเจ้าข้า บ้านนาลันทา เป็นบ้านมั่งคั่ง เป็นบ้านเจริญ มีชนมากมีมนุษย์เกลื่อนกล่น. ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ในบ้านนาลันทานี้ พึงมีบุรุษคนหนึ่งเงื้อดาบมา เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะสามารถทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่งได้หรือ? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษ ๑๐ คนก็ดี ๒๐ คนก็ดี ๓๐ คนก็ดี ๔๐ คนก็ดี ๕๐ คนก็ดีไม่สามารถจะทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึงได้ พระเจ้าข้า บุรุษผู้ต่ำทรามคนเดียว จะงามอะไรเล่า. ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิต พึงมาในบ้านนาลันทานี้ สมณะหรือพราหมณ์นั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่าเราจักทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยใจคิดประทุษร้ายดวงเดียว ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิตนั้น จะสามารถทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยใจประทุษร้ายดวงหนึ่งได้หรือหนอ? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บ้านนาลันทา ๑๐ บ้านก็ดี ๒๐ บ้านก็ดี ๓๐ บ้านก็ดี ๔๐ บ้านก็ดี๕๐ บ้านก็ดี สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิตนั้น สามารถจะทำให้เป็นเถ้าได้ด้วยใจประทุษร้ายดวงหนึ่ง บ้านนาลันทาอันต่ำทรามบ้านเดียวจะงามอะไรเล่า. ดูกรคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้วจงพยากรณ์ คำหลังกับคำก่อนก็ดี คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่าน ไม่ต่อกันเลย ดูกรคฤหบดี ก็ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน ขอเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ก็จริงถึงอย่างนั้น กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะหามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่. ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไป ท่านได้ฟังมาแล้วหรือ? อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะ ป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไปข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว. ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไป ท่านได้ฟังมาว่าอย่างไร เกิดเป็นป่าไปเพราะเหตุอะไร? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังมาว่า ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไปนั้น เพราะใจประทุษร้าย อันพวกเทวดาทำเพื่อฤาษี. ดูกรคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้วจงพยากรณ์ คำหลังกับคำก่อนก็ดี คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่าน ไม่ต่อกันเลย ดูกรคฤหบดี ก็ท่านได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน ขอเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด.
    อุบาลีคฤหบดีแสดงตนเป็นอุบาสก
    [๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าชื่นชมยินดีต่อพระผู้มีพระภาคด้วยข้ออุปมาข้อแรก แต่ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะฟังปฏิภาณการพยากรณ์ปัญหาอันวิจิตร ของพระผู้มีพระภาคนี้ ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงยังแกล้งทำเป็นดุจถือตรงกันข้ามอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนที่หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป. [๗๒] ดูกรคฤหบดี ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำ การที่มนุษย์ผู้มีชื่อเสียงเช่นท่านใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำเป็นความดี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ด้วยเหตุที่พระผู้มีพระภาคตรัสกะข้าพระพุทธเจ้าอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำ การที่มนุษย์ผู้มีชื่อเสียงเช่นท่านใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำเป็นความดีนี้ ข้าพระพุทธเจ้ายิ่งชื่นชมยินดีต่อพระผู้มีพระภาคมากขึ้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าพวกอัญญเดียรถีย์ได้ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวกแล้ว จะพึงยกธงปฏากเที่ยวไปตลอดบ้านนาลันทาทั้งสิ้น ซึ่งเป็นเหตุจะได้รู้กันว่า อุบาลีคฤหบดี ถึงความเป็นสาวกของพวกเราดังนี้แต่พระผู้มีพระภาคตรัสกะข้าพระพุทธเจ้าอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำ ด้วยว่ามนุษย์ผู้มีชื่อเสียงเช่นท่าน ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำเป็นความดี ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะเป็นครั้งที่ ๒ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป. [๗๓] ดูกรคฤหบดี ตระกูลของท่านเป็นดุจบ่อน้ำของพวกนิครนถ์มานานแล้ว ท่านพึงสำคัญบิณฑบาตอันท่านพึงให้แก่นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปถึง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสกะข้าพระพุทธเจ้าอย่างนี้ว่าดูกรคฤหบดี ตระกูลของท่านเป็นดุจบ่อน้ำของพวกนิครนถ์มานานแล้ว ท่านพึงสำคัญบิณฑบาตอันท่านพึงให้แก่นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปถึงนี้ ข้าพระพุทธเจ้ายิ่งชื่นชมยินดีต่อพระผู้มีพระภาคมากขึ้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้มาว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่าควรให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่ควรให้ทานแก่คนเหล่าอื่น ควรให้ทานแก่สาวกทั้งหลายของเราเท่านั้นไม่ควรให้ทานแก่สาวกของผู้อื่น ทานที่บุคคลให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ทานที่บุคคลให้แก่สาวกของผู้อื่นไม่มีผลมาก แต่ความจริง พระผู้มีพระภาคยังทรงชักชวนข้าพระพุทธเจ้าในการให้ทานแม้ในพวกนิครนถ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แต่ว่าข้าพระพุทธเจ้าจักทราบกาลอันควรในการให้ทานนี้ ข้าพระพุทธเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เป็นครั้งที่ ๓ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
    ทรงแสดงอนุบุพพิกถา
    [๗๔] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสอนุบุพพิกถาแก่อุบาลีคฤหบดีคือ ทรงประกาศทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษแห่งกามอันต่ำทราม เศร้าหมอง อานิสงส์ในเนกขัมมะเมื่อใดพระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบอุบาลีคฤหบดีว่ามีจิตควร มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์มีจิตสูง มีจิตผ่องใส เมื่อนั้น จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากดำควรได้รับน้ำย้อมด้วยดี ฉันใด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อุบาลีคฤหบดีที่อาสนะนั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน. ลำดับนั้น อุบาลีคฤหบดีมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันบรรลุแล้ว มีธรรมอันรู้แจ้งแล้วมีธรรมอันหยั่งลงมั่นแล้ว ข้ามวิจิกิจฉาแล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระพุทธเจ้าขอทูลลาไป ณ บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่จะต้องทำมาก. ดูกรคฤหบดี ท่านจงรู้กาลอันสมควร ณ บัดนี้เถิด. [๗๕] ครั้งนั้นแล อุบาลีคฤหบดีชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณ แล้วเข้าไปยังนิเวศน์ของตน เรียกนายประตูมาว่า ดูกรนายประตูผู้สหาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราปิดประตูแก่พวกนิครนถ์ แก่พวกนางนิครนถ์และเปิดประตูเพื่อพระผู้มีพระภาค เพื่อสาวกของพระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา ถ้านิครนถ์คนใดคนหนึ่งมา ท่านพึงว่ากะนิครนถ์คนนั้นอย่างนี้ว่า จงหยุดท่านผู้เจริญ อย่าเข้าไปเลยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว ท่านปิดประตูแก่พวกนิครนถ์ แก่พวกนางนิครนถ์ ท่านเปิดประตูเพื่อพระผู้มีพระภาค สาวกของพระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านมีความต้องการด้วยอาหารท่านจงหยุดอยู่ที่นี่แหละ ชนทั้งหลายจักนำมาเพื่อท่านในที่นี้ นายประตูรับคำอุบาลีคฤหบดีแล้ว. [๗๖] ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้ฟังข่าวว่า อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณ-*โคดมแล้ว ลำดับนั้น จึงเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่ ได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ฟังข่าวนี้มาว่า อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว. นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้. ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ฟังข่าวนี้มาว่า อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว. นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้. ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญข้าพเจ้าได้ฟังข่าวนี้มาว่า อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว. นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้. ที. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ ข้าพเจ้าจะไป เพียงจะทราบว่าอุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว หรือหาไม่? นิ. ดูกรตปัสสี ท่านจงไป จงรู้ว่า อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดม หรือหาไม่?
    ห้ามพวกเดียรถีย์เข้าบ้าน
    [๗๗] ครั้งนั้น ทีฆตปัสสีนิครนถ์ จึงเข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาลีคฤหบดี นายประตูได้เห็นทีฆตปัสสีนิครนถ์มาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วจึงกล่าวว่า จงหยุดเถิดท่านผู้เจริญ อย่าเข้ามาเลย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้วท่านปิดประตูแก่พวกนิครนถ์ แก่พวกนางนิครนถ์เปิดประตูเพื่อพระผู้มีพระภาคและสาวกของพระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านมีความต้องการอาหารจงหยุดอยู่ที่นี้แหละ ชนทั้งหลายจักนำมาเพื่อท่าน ณ ที่นี้. ทีฆตปัสสีกล่าวว่า ผู้มีอายุ เรายังไม่ต้องการอาหารดอก แล้วกลับจากที่นั้น เข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระโคดมนั้น เป็นความจริงทีเดียว ข้าพเจ้าไม่ได้คำที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า ข้อที่อุบาลีคฤหบดีพึงยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย ด้วยว่า พระสมณโคดมเป็นคนมีมายา ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์ ดังนี้ จากท่าน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อุบาลีคฤหบดีของท่านถูกพระสมณโคดม กลับใจด้วยมายาอันเป็นเครื่องกลับใจเสียแล้ว. นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้. ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ได้กล่าวเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้น เป็นความจริงทีเดียว ข้าพเจ้าไม่ได้คำที่ข้าพเจ้ากล่าวว่าข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย ด้วยว่าพระ-*สมณโคดมเป็นคนมีมายา ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์ ดังนี้ จากท่านข้าแต่ท่านผู้เจริญ อุบาลีคฤหบดีของท่านถูกพระสมณโคดมกลับใจ ด้วยมายาอันเป็นเครื่องกลับใจเสียแล้ว. นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ และกล่าวต่อไปว่า เอาเถอะ ตปัสสี เราจะไปเพียงจะรู้เองทีเดียวว่า อุบาลีคฤหบดี เข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมจริงหรือไม่? [๗๘] ลำดับนั้น นิครนถ์นาฏบุตร พร้อมด้วยนิครนถ์บริษัทเป็นอันมาก เข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาลีคฤหบดี นายประตูได้เห็นนิครนถ์นาฏบุตรมาแต่ไกล ได้กล่าวว่า จงหยุดเถิดท่านผู้เจริญ อย่าเข้ามา ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระ-*สมณโคดมแล้ว ท่านปิดประตูแก่พวกนิครนถ์ แก่พวกนางนิครนถ์แล้ว ท่านเปิดประตูเพื่อพระผู้มีพระภาคและสาวกของพระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ท่านผู้เจริญถ้าท่านต้องการอาหาร จงหยุดอยู่ที่นี่แหละ ชนทั้งหลายจักนำมาเพื่อท่าน ณ ที่นี้. นิ. นายประตูผู้เป็นสหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเข้าไปหาอุบาลีคฤหบดี แล้วจงกล่าวอย่างนี้ว่า นิครนถ์นาฏบุตรพร้อมด้วยนิครนถ์บริษัทเป็นอันมาก มายืนอยู่ที่ซุ้มประตูข้างนอกเขาอยากจะพบท่าน นายประตูรับคำนิครนถ์นาฏบุตรแล้ว เข้าไปหาอุบาลีคฤหบดี แล้วได้เรียนว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครนถ์นาฏบุตรพร้อมด้วยนิครนถ์บริษัทเป็นอันมาก มายืนอยู่ที่ซุ้มประตูข้างนอก เขาอยากจะพบท่าน. อุ. ดูกรนายประตูผู้เป็นสหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงปูลาดอาสนะไว้ที่ศาลาประตูกลาง.นายประตูรับคำอุบาลีคฤหบดีแล้ว ปูลาดอาสนะไว้ที่ศาลาประตูกลาง แล้วเข้าไปหาอุบาลีคฤหบดีแล้วได้เรียนว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปูอาสนะไว้ที่ศาลาประตูกลางแล้ว ท่านย่อมสำคัญกาลอันควร ณ บัดนี้. ลำดับนั้น อุบาลีคฤหบดี เข้าไปยังศาลาประตูกลาง แล้วนั่งบนอาสนะอันเลิศประเสริฐอุดม และประณีต อันมีอยู่ ณ ที่นั้นเสียเอง แล้วเรียกนายประตูมาว่า นายประตูผู้เป็นสหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตร จงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญอุบาลีคฤหบดีกล่าวอย่างนี้ว่า เชิญท่านเข้าไปเถิด ถ้าท่านจำนง. นายประตูรับคำอุบาลีคฤหบดีแล้วเข้าไปนิครนถ์นาฏบุตร แล้วได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ อุบาลีคฤหบดีกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญเชิญท่านเข้าไปเถิด ถ้าท่านจำนง. ลำดับนั้น นิครนถ์นาฏบุตรพร้อมด้วยนิครนถ์บริษัทเป็นอันมาก เข้าไปยังศาลาประตูกลาง. [๗๙] ครั้งนั้นแล ได้ยินว่า แต่ก่อนอุบาลีคฤหบดีเห็นนาฏบุตรมาแต่ไกลเท่าใด แล้วต้อนรับแต่ที่เท่านั้น เอาผ้าห่มกวาดอาสนะที่เลิศ ประเสริฐอุดม และประณีต อันมีอยู่ ณ ที่นั้นแล้วกำหนดให้นั่ง บัดนี้ ท่านอุบาลีคฤหบดีนั่งบนอาสนะที่เลิศ ประเสริฐ อุดม และประณีตอันมีอยู่ ณ ที่นั้นเสียเอง แล้วได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรว่า ท่านคฤหบดีผู้เจริญ อาสนะมีอยู่ถ้าท่านหวังเชิญนั่งเถิด. เมื่ออุบาลีคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์นาฏบุตรได้กล่าวว่า ท่านเป็นบ้าเสียแล้วหรือ คฤหบดี ท่านเป็นคนเขลาเสียแล้วหรือ คฤหบดี ท่านกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะไป จักยกวาทะแก่พระสมณโคดม ครั้นไปแล้ว กลับถูกวาทะดุจไม้ขื่ออันใหญ่สวมมาแล้วหรือ ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษผู้นำอัณฑะไป ถูกควักอัณฑะออกกลับมา ฉันใด ดูกรคฤหบดี อนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษนำดวงตาไป ถูกควักดวงตากลับมาฉันใด ดูกรคฤหบดี ท่านก็ฉันนั้นแล กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะไป จักยกวาทะแก่พระสมณโคดม ครั้นไปแล้ว กลับถูกวาทะดุจไม้ขื่ออันใหญ่สวมมาแล้ว ท่านถูกพระสมณ-*โคดมกลับใจ ด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจเสียแล้วหรือ.
    มายาเครื่องกลับใจ
    [๘๐] อุ. ท่านผู้เจริญ มายาอันเป็นเครื่องกลับใจนี้ดี ท่านผู้เจริญ มายาอันนี้เป็นเครื่องกลับใจนี้งาม ท่านผู้เจริญ ญาติสาโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้าจะพึงกลับใจได้ด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่ญาติสาโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า สิ้นกาลนาน ท่านผู้เจริญ แม้ถ้ากษัตริย์ทั้งปวงจะพึงกลับใจได้ด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่กษัตริย์แม้ทั้งปวง สิ้นกาลนาน ท่านผู้เจริญ แม้ถ้าพราหมณ์ทั้งปวงจะพึงกลับใจได้ด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่พราหมณ์แม้ทั้งปวง สิ้นกาลนาน ท่านผู้เจริญแม้ถ้าแพศย์ทั้งปวงจะพึงกลับใจได้ด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่แพศย์แม้ทั้งปวง สิ้นกาลนาน ท่านผู้เจริญแม้ถ้าศูทรทั้งปวงจะพึงกลับใจได้ด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ศูทรแม้ทั้งปวง สิ้นกาลนาน ท่านผู้เจริญ แม้ถ้าโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ จะพึงกลับใจได้ด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แก่หมู่สัตว์พร้อมสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ สิ้นกาลนาน ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้นข้าพเจ้าจักทำอุปมาแก่ท่าน วิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้อรรถแห่งภาษิตได้ แม้ด้วยการเปรียบเทียบ. [๘๑] ท่านผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว นางมาณวิกาสาว เป็นภริยาของพราหมณ์แก่ผู้เฒ่าผู้ใหญ่คนหนึ่ง มีครรภ์ใกล้จะคลอด. ครั้งนั้น นางมาณวิกานั้นได้กล่าวกะพราหมณ์นั้นว่าท่านพราหมณ์ ท่านจงไปซื้อลูกวานรจากตลาดมาไว้ จักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกเรา ท่านผู้เจริญ.เมื่อนางมาณวิกากล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์นั้นได้กล่าวว่า นางผู้เจริญ จงรอจนกว่าเธอจะคลอดเสียก่อนเถิด ถ้าเธอคลอดลูกเป็นชาย ฉันจักซื้อลูกวานรตัวผู้จากตลาดมาให้เธอ จักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกชายของเธอ แต่ถ้าเธอคลอดลูกเป็นหญิง ฉันจักซื้อลูกวานรตัวเมียจากตลาดมาให้เธอ จักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกหญิงของเธอ. ท่านผู้เจริญ นางมาณวิกานั้นได้กล่าวเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปซื้อลูกวานรจากตลาดมาไว้ จักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกเรา ท่านผู้เจริญ. พราหมณ์ก็ได้กล่าวเป็นครั้งที่ ๒ ว่า นางผู้เจริญ จงรอจนกว่าเธอจะคลอดเสียก่อนเถิด ถ้าเธอคลอดลูกเป็นชายฉันจักซื้อลูกวานรตัวผู้จากตลาดมาให้เธอ จักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกชายของเธอ แต่ถ้าเธอคลอดลูกเป็นผู้หญิง ฉันจักซื้อลูกวานรตัวเมียจากตลาดมาให้เธอ เพื่อจักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกหญิงของเธอ. ท่านผู้เจริญ นางมาณวิกาได้กล่าวเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปซื้อลูกวานรจากตลาดมาไว้ จักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกเรา ท่านผู้เจริญ. ลำดับนั้น พราหมณ์ผู้นั้นกำหนัดมาก มีจิตปฏิพัทธ์ในนางมาณวิกานั้น จึงซื้อลูกวานรมาจากตลาด แล้วได้กล่าวว่านางผู้เจริญ ฉันซื้อลูกวานรจากตลาดมาให้เธอแล้ว จักเป็นเพื่อนเล่นของลูกเธอ. เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว นางมาณวิกานั้นได้กล่าวว่า ท่านพราหมณ์ ท่านจงไป จงอุ้มลูกวานรตัวนี้เข้าไปหาบุตรช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อม แล้วจงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อนผู้ชำนาญการย้อมฉันอยากจะให้ท่านย้อมลูกวานรตัวนี้ให้เป็นสีน้ำย้อม ให้น้ำย้อมจับดี ทุบแล้วทุบอีกให้เกลี้ยงดีทั้งสองข้าง. ลำดับนั้น พราหมณ์นั้นกำหนัดมาก มีจิตปฏิพัทธ์ในนางมาณวิกานั้น จึงอุ้มลูกวานรเข้าไปหาบุตรช่างย้อม ผู้ชำนาญการย้อม แล้วได้กล่าวว่า แน่ะเพื่อนผู้ชำนาญการย้อม ฉันอยากจะให้ท่านย้อมลูกวานรนี้ให้เป็นสีน้ำย้อม ให้น้ำย้อมจับดี ทุบแล้วทุบอีกให้เกลี้ยงดีทั้งสองข้าง.เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้ บุตรช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อมได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ลูกวานรของท่านตัวนี้ ควรแต่จะย้อมเท่านั้น แต่ไม่ควรจะทุบ ไม่ควรจะขัดสี ฉันใด. ท่านผู้เจริญวาทะของนิครนถ์ผู้เขลา ก็ฉันนั้น ควรเป็นที่ยินดีของคนเขลาเท่านั้น ไม่ควรเป็นที่ยินดีไม่ควรซักไซร้ ไม่ควรพิจารณาของบัณฑิตทั้งหลาย. ท่านผู้เจริญ ครั้นสมัยต่อมา พราหมณ์นั้นถือคู่ผ้าใหม่เข้าไปหาบุตรช่างย้อม ผู้ชำนาญการย้อม แล้วได้กล่าวว่า แน่ะเพื่อนผู้ชำนาญการย้อม ฉันอยากจะให้ท่านย้อมคู่ผ้าใหม่นี้ให้เป็นสีน้ำย้อม ให้น้ำย้อมจับดี ทุบแล้วทุบอีกให้เกลี้ยงดีทั้งสองข้าง. เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้วบุตรช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อมได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ คู่ผ้าใหม่ของท่านนี้ ควรจะย้อม ควรจะทุบควรจะขัดสี ฉันใด. ท่านผู้เจริญ วาทะของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ฉันนั้น ควรเป็นที่ยินดีของบัณฑิตทั้งหลายเท่านั้น แต่ไม่ควรซักไซร้ และไม่ควรพิจารณาของคนเขลาทั้งหลาย. นิ. ดูกรคฤหบดี บริษัทพร้อมทั้งพระราชา รู้จักท่านอย่างนี้ว่า อุบาลีคฤหบดีเป็นสาวกของนิครนถ์นาฏบุตร ดังนี้ เราทั้งหลายจะทรงจำท่านว่าเป็นสาวกของใครเล่า?
    อุบาลีคฤหบดีประกาศตนเป็นสาวก
    [๘๒] เมื่อนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว อุบาลีคฤหบดี ลุกจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับ แล้วได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟังพระคุณของพระผู้มีพระภาคที่ข้าพเจ้าเป็นสาวก ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นนักปราชญ์ ปราศจากโมหะ ทรงทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจได้ ทรงชำนะมาร ไม่มีทุกข์ มีจิตเสมอด้วยดี มีมารยาทอันเจริญ มีพระปัญญาดี ทรงข้ามกิเลสอันปราศจากความเสมอได้ ปราศจากมลทิน ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ไม่มีความสงสัย มีพระทัยดี ทรงคายโลกามิสได้แล้ว ทรงบันเทิง ทรงมีสมณธรรมอันทำสำเร็จแล้วทรงเกิดเป็นมนุษย์ มีพระสรีระเป็นที่สุด เป็นพระไม่มีผู้เปรียบได้ ปราศจากธุลี ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ไม่มีความสงสัย ทรงเฉียบแหลม ทรงแนะนำสัตว์ เป็นสารถีอันประเสริฐ ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า มีธรรมอันงามหมดความเคลือบแคลง ทรงทำแสงสว่างทรงตัดมานะเสียได้ ทรงมีพระวิริยะ ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้องอาจ ไม่มีใครประมาณได้ มีพระคุณลึกซึ้ง บรรลุถึงญาณ ทรงทำความเกษม ทรงมีพระญาณ ทรงตั้งอยู่ในธรรมทรงสำรวมพระองค์ดี ทรงล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้อง ผู้พ้นแล้ว ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ประเสริฐ ทรงมีเสนาสนะอันสงัด มีสังโยชน์สิ้นแล้ว ผู้พ้นแล้ว ทรงมีพระปัญญาเครื่องคิดอ่าน ทรงมีพระญาณเครื่องรู้ ผู้ลดธงคือมานะเสียได้ ปราศจากราคะผู้ฝึกแล้ว ผู้ไม่มีธรรมเครื่องหน่วง ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระฤาษีที่ ๗ผู้ไม่ลวงโลก ทรงไตรวิชชา เป็นสัตว์ประเสริฐ ทรงล้างกิเลสแล้ว ทรงฉลาด ประสมอักษรให้เป็นบทคาถา ทรงระงับแล้ว มีพระญาณอันรู้แล้ว ทรงให้ธรรมทานก่อนทั้งหมด ทรงสามารถข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอริยะ มีพระองค์อบรมแล้ว ทรงบรรลุคุณที่ควรบรรลุ ทรงแสดงอรรถให้พิสดาร ทรงมีสติ ทรงเห็นแจ้ง ไม่ทรงยุบลง ไม่ทรงฟูขึ้นไม่ทรงหวั่นไหว ทรงบรรลุความเป็นผู้ชำนาญ ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้เสด็จไปดีทรงมีฌาน ไม่ทรงปล่อยจิตไปตาม ทรงบริสุทธิ์ ไม่ทรงสะดุ้ง ปราศจากความกลัว สงัดทั่วทรงบรรลุธรรมอันเลิศ ทรงข้ามได้เอง ทรงยังสัตว์อื่นให้ข้ามได้ ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้สงบแล้ว มีพระปัญญากว้างใหญ่เสมอด้วยแผ่นดิน มีพระปัญญาใหญ่หลวงปราศจากโลภ ทรงดำเนินปฏิปทาเหมือนพระพุทธเจ้าในปางก่อน เสด็จไปดีแล้ว ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีผู้เสมอเหมือน ทรงแกล้วกล้า ผู้ละเอียดสุขุม ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้ตัดตัณหาได้ขาด ทรงตื่นอยู่ ปราศจากควัน ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่ฉาบทาได้ ผู้ควรรับการบูชาทรงได้พระนามว่ายักขะ ๑- เป็นอุดมบุคคล มีพระคุณไม่มีใครชั่งได้ เป็นผู้ใหญ่ ทรงถึงยศอย่างยอดเยี่ยม. [๘๓] นิ. ดูกรคฤหบดี ท่านประมวลถ้อยคำสำหรับพรรณนาคุณของพระสมณโคดมไว้แต่เมื่อไร? อุ. ดูกรท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนช่างดอกไม้ หรือลูกมือช่างดอกไม้คนขยัน พึงร้อยกรองดอกไม้ต่างๆ กองใหญ่ ให้เป็นพวงมาลาอันวิจิตรได้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ฉันนั้น ทรงมีพระคุณควรพรรณนาเป็นอเนก ทรงมีพระคุณควรพรรณนาตั้งหลายร้อย ก็ใครจักไม่ทำการพรรณนาพระคุณของพระองค์ผู้ควรพรรณนาพระคุณได้เล่า. ครั้นเมื่อนิครนถ์นาฏบุตรทนดูสักการะของพระผู้มีพระภาคไม่ได้ โลหิตอันอุ่นได้พลุ่งออกจากปากในที่นั้นเอง ดังนี้แล.
    จบ อุปาลิวาทสูตร ที่ ๖.
     
  8. J47

    J47 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    500
    ค่าพลัง:
    +3,405
    พระผู้ทรงพระคุณอันหาประมาณมิได้
    (ไม่สามารถอธิบาย แค่ 3 วัน 3 คืน ได้ครับ คงเข้าใจคำว่า แค่ นะครับ)

    พระพุทธคุณ
    อิติปิ โส ภะคะวา ( เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น )
    อะระหัง ( เป็นผู้ไกลจากกิเลส ) สัมมาสัมพุทโธ ( เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง )
    วิชชาจะระณะสัมปันโน ( เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ )
    สุคะโต ( เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ) โลกะวิทู ( เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง )
    อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ ( เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า )
    สัตถาเทวะมนุสสานัง ( เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย )
    พุทโธ ( เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ) ภะคะวาติ. ( เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ )

     
  9. weerachai_12@ho

    weerachai_12@ho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,022
    แบบไหนก็สมควรจะศึกษาให้รู้ให้ทราบไว้ กำลังใจขนาดไหนพิมพ์ให้อ่านละเอียดขนาดนั้นน่าจะอนุโมทนามากกว่านะครับคนดีเขาไม่ตีใครครับสาธุ
     
  10. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,751
    ค่าพลัง:
    +1,919
    สรุปง่ายๆ (หลายคนน่าจะรู้อยู่แล้ว)

    พระปัญญาธิคุณ
    พระบริสุทธิคุณ
    พระมหากรุณาธิคุณ
     

แชร์หน้านี้

Loading...