@@..คำครู ผู้ชี้-นำ-อุปถัมภ์ สู่พระโพธิญาณ & เรื่องเล่าจากกัลยาณมิตร.@@

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 10 กรกฎาคม 2015.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ?temp_hash=31f9a8b5fe18f52fd3f10b83f450b8e8.jpg


    มีญาติโยมอยู่จำนวนหนึ่ง ท่านทั้งหลายเหล่านี้ในสายตาของอาตมาถือว่าน่าสงสารมาก เพราะมาที่นี่ตั้งใจจะมาดูว่าพระอาจารย์เล็กเก่งจริงหรือเปล่า ? หลายรายถึงขนาดอธิษฐานมาจากบ้านเลย "ถ้าพระอาจารย์เล็กเก่งจริง ต้องบอกได้ว่าเราคิดอะไรอยู่ในใจ"
    นั่นเป็นการตั้งกำลังใจที่ผิด เราไปดูเศรษฐีว่ามีสมบัติเท่าไรจะมีประโยชน์อะไร ? มีอยู่อย่างเดียวคือต้องทำตัวเราให้เป็นเศรษฐี จึงจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ไม่ใช่เอาแต่มานั่งนินทาอาตมาว่า ไม่เห็นเก่งจริงอย่างที่เขาลือกัน แม้แต่คนที่อาตมารับรองว่าสามารถรู้ใจคนอื่นได้ ก็ยังไปนั่งนินทาอยู่ข้าง ๆ เขา ว่าอาตมาไม่เห็นจะเก่งจริงอย่างที่คนว่ากัน แล้วก็ปล่อยให้คนที่รู้ความคิดของเรานั่งสมเพชเวทนากันต่อไป
    โดยปกติการรู้ใจคนอื่นแทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย การระมัดระวังใจตนเองไม่ให้กิเลสกินต่างหากที่สำคัญที่สุด
    ....................................
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
    www.watthakhanun.com
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ++ วิธีต่ออายุใหญ่ ++
    "..ตามวิธีโบราณาจารย์ท่านสอนไว้อย่างนี้นะว่าวิธีต่ออายุใหญ่ คือถึงปีหนึ่งถ้าเป็นวันเกิดหรือเป็นวันสำคัญของเรา วันไหนก็ได้ทำกับข้าว ทำอาหารพิเศษตามที่เราพอใจ เท่าที่ทุนจะพึงมี จัดการใส่บาตรแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา แล้วก็ถ้าหากว่ามีสตางค์ก็สร้างพระพุทธรูปสัก ๑ องค์
    พระพุทธรูปนี่จะเป็นพระดินเหนียวก็ได้ เป็นพระปูนซีเมนต์ก็ได้ เป็นปูนปลาสเตอร์ก็ได้ หรือพระโลหะก็ได้ไม่จำกัด เพราะเป็นรูปพระแล้ว มีอานิสงส์เสมอกัน แต่ต้องมีหน้าตักไม่น้อยกว่า ๔ นิ้ว ถวายไว้เป็นสมบัติของสงฆ์
    หลังจากนั้นก็เอาสัตว์ที่จะพึงถูกฆ่าตาย อย่างที่เขานำเอามาขายเพื่อแกงหรือที่เขาทอดแหสุ่มปลาได้ ถ้ามีสตางค์ก็ไปซื้อเขาสักตัว ๒ ตัว ตามกำลัง แล้วปล่อยไป และก็อุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร และเทวดาผู้รักษาชีวิต
    ท่านบอกว่าถ้าทำอย่างนี้เป็นนิจ คำว่า อุปฆาตกกรรม คือกรรมที่เข้ามาริดรอนก่อนอายุขัยก็ดี และ อกาลมรณะ การที่จะตายก่อนอายุขัยก็ดี จะไม่มีสำหรับผู้ที่ทำแบบนี้ แต่ทว่าถ้ากรรมอย่างนี้เข้ามาถึงแค่ป่วยไม่มากก็เป็นของธรรมดา..."
    .
    จากหนังสือ โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๒ หน้า ๑๗๘
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ปัจจัตตัง

    วันนี้เพิ่งเข้าใจคำว่า #ปัจจัตตัง จริงๆตอนได้มีโอกาสโทรปรึกษาธรรมะกับปู่โพธิสัตว์
    ผม - ปู่ครับ ผมภาวนาแล้ว จิตเหมือนมันหายไป มันเหลือแต่ความว่างสว่างอยู่ แต่ก็มีอะไรไม่รู้เป็นผงดำๆลอยปะปนอยู่ในนั้นเต็มไปหมด เราต้องกำหนดยังไงดีครับ
    ปู่ - อื้อ มันเป็นขั้นของสัญญาเวทยิตนิโรธ การดับเวทนา ดับสัญญา
    ผม - คล้ายๆกับการเข้าอรูปฌานในเนวสัญญานาสัญายตนะใช่ไหมครับ
    ปู่ - เอ้อ แบบนั้นละ ดูมันอยู่่ระหว่างสัญญากับวิญญาณ วิญญาณก็ไม่เอา สัญญาก็ไม่เอา
    ผม - อ้อ ครับ แสดงว่าไอ้ตัวที่ลอยไปมาในจิต เป็นสัญญาเก่า ผมไปจับมันเข้า จิตมันเลยไปต่อไม่ได้
    ปู่ - ใช่ ให้ดูมันกลางๆ เอาสติเข้าคุม ให้เป็นมหาสติ ให้มันเข้าในอินทรีย์ 22
    ผม - อ้อ ครับ คือไล่ไปแบบพละห้า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา นะครับ
    ปู่ - เอ้อ มันก็อันเดียวกันนั่นละ ไล่ไปจนถึง สุขขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ด้วย มันจะไปถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ดับหมด
    ผม - แต่อันนั้นมันเลยไปถึงการดับทุกข์ของพระอรหันต์แล้วนี่ครับ เรายังศึกษาอยู่ในโพธิญาณ ต้องฝึกด้วยเหรอครับ
    ปู่ - ใช่สิ โพธิญาณต้องรู้หมด ไม่งั้นจะไปสอนเขาได้ยังไง
    ผม - อ้อ ครับ ถ้าเอาแค่สำเร็จอรหันต์ธรรมดา ไม่ต้องเล่นละเอียดขนาดนี้
    ปู่ - ไม่ต้อง อรหันต์ท่านตัดเข้าดับทุกข์เลย แต่เราจะเป็นครูเขา ต้องรู้หมด ไม่ งั้นใครมาถามจะตอบได้ไง
    ผม - ที่ปู่ตอบมามันลึกมากเลยนะครับ ผมมานั่งย้อนนึกดูว่า ถ้าเป็นผมเมื่อปีก่อน ฟังปู่ตอบแบบนี้ก็ไม่รู้เรื่องแน่ๆ แต่พอมาตอนนี้ มันฟังรู้เรื่อง แปลกดีครับ มันเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตนจริงๆนะครับธรรมะ ไปเล่าให้ใครฟังต่อ ก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน
    ปู่ - ใช่สิ ถ้าปฏิบัติไม่ถึงจุดนั้น มันก็คุยกันไม่รู้เรื่องหรอก
    ผม - ใครมาฟังเราคุยกันก็คงงงนะครับ ว่าพูดอะไรกันก็ไม่รู้ นี่ยังดีว่าผมมีโอกาสได้ปรึกษาปู่ ไม่งั้นก็ไม่รู้จะไปถามใครเหมือนกัน อธิบายสภาวะไม่ถุกเลย
    ปู่ - 555 เอ้อ มวยมันก็ต้องมีคู่ปรับที่ถูกคู่กัน ถ้าทำเองก็เป๋แน่ ไม่รู้จะแก้ยังไง
    ผม - ใช่ครับ อย่างผมทำได้ตอนนี้ จิตมันเบาลงมาก แต่กลายเป็นเมื่อคืนนี้เวลาฝัน ฝันอะไรก็ไม่รู้เละเทะเลย ไปเที่ยวไปเล่นเกมมั่วซั่วไปหมด ไม่เคยเป็น ถ้าคนทั่วไปคงเป๋ไปว่าเรามาผิดทางแล้ว ทำไมอาการเป็นแบบนี้ แต่พอฟังปู่แล้วเข้าใจเลย เราลงไปคุ้ยสัญญาลึกๆมันขึ้นมา มันก็เลยตีขึ้นใช่ไหมครับ
    ปู่ - อื้อ ก็เราเล่นเจาะลงไปคุ้ยมันขึ้นมาหมด มันก็ต้องฟุ้งละ ของเก่าที่เคยๆเก็บไว้ ก็ต้องคุ้ยต่อให้สุด
    ผม - อ้อ ครับ เหมือนเราไปเก็บขยะ เราก็ต้องคุ้ยต้องเปื้อนมันก่อน ถึงจะเก็บมันได้หมดนะครับ ยิ่งทำแบบโพธิญาณยิ่งคุ้ยลึกกว่าคนอื่นเค้าเลย
    ปู่ - ใช่ ดร.ก็ดูไว้ละกัน ตรงระหว่างสัญญากับวิญญาณ
    ผม - ครับ ผมนึกภาพออกแล้ว เดิมที่ผมเข้าไป ผมเพิ่งเข้าได้ไม่นาน มันเลยอยากดูนั่นนี่ไปหมด จิตมันเลยส่ายไปมา มันเลยไปต่อไม่ถูก คราวนี้ต้องเปลี่ยนกลับมาดูใหม่ ดูให้ชัดจนทะลุได้เป็นจุดๆไปนะครับ
    ปู่ - ถูกแล้วล่ะดร. อะไรมาก็ดูตัวนั้น ตั้งสติดูให้ชัด เลยวิญญาณ เลยสัญญาไป อะไรเป็นจิต อะไรเป็นเจตสิก ดูให้ชัด เป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ
    ผม - เดี๋ยวจะพยายามลองฝึกดูครับปู่ วันนี้ได้การบ้านใหม่มาอีกแล้ว ขอบพระคุณปู่มากครับ

    รอบทิศ ไวยสุศรี
    https://web.facebook.com/robtis
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    .
    #ทำบาปมากจะไปนิพพานอย่างไร
    ตามปกติคนที่เกิดมาแล้วทุกคนไม่มีใครไม่ทำบาป พระอรหันต์ที่นิพพานไปแล้วเกือบทุกองค์ ชาติปัจจุบันท่านก็ทำบาปเหมือนกัน แต่วาระสุดท้ายของอารมณ์ไม่ใช่วาระสุดท้ายของชีวิต ท่านตัดสินใจเด็ดขาดว่า
    "เราจะไม่ทำละ เรื่องบาปอกุศล เราจะทำดีเพื่อเปลื้องความทุกข์ และพ้นจากความเกิดต่อไป คือหวังพระนิพพาน"
    การทำบาปอาจจะเป็นความจำเป็นเพราะการจองเวรจองกรรมกันก็ได้ เพราะเราเกิดทุกชาติก็มีการฆ่าสัตว์ทุกชาติ บางชาติเราอาจจะเป็นสัตว์ถูกเขาฆ่าและอาจจะจองเวรไว้ก็ได้อย่าง "ท่านองคุลิมาล" ขอเล่าโดยย่อ
    ก่อนจะเกิดมาเป็นคน ท่านเกิดเป็นควายป่าที่มีความเก่งกล้าสามารถมาก ปราบสัตว์ป่าได้ทุกประเภท และควายที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ได้ราบคาบ ชาวบ้านเขาก็โกรธ ก็รวมตัวกันทั้งหมดพันคนเศษ ร่วมมือกันตีราชสีห์ควายจนตาย คนที่ลงมือจริงๆ ไม่กี่คนนัก แต่เป็นคนที่ร่วมกันคิดร่วมทุนร่วมจัดทำคอก และร่วมใจว่าเจ้าควายตัวนี้เราต้องฆ่าให้ตายขืนปล่อยไว้สัตว์เลี้ยงเราจะตายหมด
    ก่อนจะตายเจ้าควายราชสีห์ มันลืมตาดูคนที่รุมฆ่ามัน คิดว่า
    "ชาติหน้ากูขอฆ่ามึงบ้าง ชาตินี้กูคนเดียวมึงรุมฆ่ากู ชาติหน้ากูคนเดียวจะรุมฆ่ามึงทั้งหมด"
    เป็นการจองเวรกันชัดๆ คนที่รุมฆ่าควายตัวนั้น ในชาตินี้เกิดมาเป็นคนในเมืองพาราณสี และในเมืองใกล้เคียง แม่ของท่านองคุลิมาลก็อยู่ในกลุ่มที่ฆ่าท่านมาในชาติก่อน
    ที่นำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง ก็เพื่อจะให้เข้าใจว่า
    "การทำบาปอาจจะเป็นความจำเป็นเพราะการจองเวรจองกรรมกันก็ได้"
    เพื่อความมั่นใจ ขอให้ทุกคนตั้งใจเวลาทำบุญจงอย่านึกถึงบาป เมื่อเจริญภาวนาจงอย่านึกถึงบาป หลังจากทำบุญแล้วให้อุทิศส่วนกุศลถึงสัตว์ที่ฆ่ามาแล้ว ขอให้เธออโหสิกรรม จนกว่าจะเข้านิพพาน
    ทำอย่างนี้เสมอๆ ใจนึกถึงบุญจนชินที่ท่านเรียกว่า "ฌาน" จะเป็นบุญประเภทใดก็ได้ ทางที่ดีภาวนานึกถึงพระพุทธเจ้าไว้เป็นปกติ ท่านที่ไปสวรรค์ พรหม นิพพานได้ ใช้กำลังใจจับอยู่ที่สถานที่เราชอบมากที่สุดไว้ทุกเช้าเย็น และคิดว่าถ้าเราตายขอมาที่นี้แห่งเดียว ถ้าทำอย่างนี้เป็นปกติ ก่อนจะตายอารมณ์ก็จะจับกุศลก่อน จิตออกจากร่างเมื่อไหร่ ก็จะไปตามที่เราต้องการทันที และถ้าหากขณะที่ไปเป็นเทวดา หรือพรหม พบพระศรีอริยเมตตรัยเมื่อไหร่ ฟังเทศน์จบเดียวก็จะบรรลุมรรคผล สามารถไปนิพพาน พ้นจากการกลับมาเสวยทุกข์ต่อไปอีก
    _______
    จากหนังสือ "พระคุณพ่อ" ครบรอบ ๑๐๐ ปีเกิด พระราชพรหมยาน หน้า ๑๑๕- ๑๑๗
    คัดลอกโดย คณะบุญสุประวีณ์
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ⚜️อุปสรรคของการเจริญพระกรรมฐานและการฝึกอานาปานุสสติ ๓ ฐานของจริตคนไม่ชอบคิดและคนชอบคิด⚜️๑/๒
    เราคิดว่าพวกเธอคงพร้อมกันแล้วนะ เวลานี้เธอก็ตั้งใจสดับสิ่งที่เราพูดต่อไปนี้ ก็ขอแนะนำในเรื่องของกองลมละเอียด ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนกันมาตามโบราณจารย์สืบ ๆ กันมา มีหลวงปู่ปานและพระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นที่สุด
    กองลมละเอียด ก็คือ การเดินลมอานาปา ๓ ฐาน แต่ก่อนที่จะอรรถธิบายเรื่องกรรมฐาน ๓ ฐานจากอานาปา ก็ต้องพูดเรื่องอุปสรรคของการเจริญกรรมฐานซะก่อน เธอจะได้เข้าใจไว้ก่อนว่า การเจริญกรรมฐานเป็นบุญหนัก ไม่ใช่บุญเล็กน้อย เขาเรียกเป็นบุญสูงสุด มีความสำคัญกับผู้ปฏิบัติอย่างมาก
    แล้วด้านอุปสรรคของการเจริญกรรมฐาน หลักใหญ่ ๆ ก็มีอยู่ ๒ ประการ
    ประการหนึ่ง ก็คือ ผลของวิบาก ถ้าเธอขาดความระมัดระวังในการสำรวมพิจารณา ไม่เห็นโทษของการเบียดเบียนผู้อื่นในระหว่างที่เขาต้องการความสงบ จะมีเจตนาหรือไม่มีเจตนา แต่สิ่งหนึ่งที่เธอไม่ได้ทำ คือ ไม่ได้คิด ไม่ได้มอง ไม่ได้สังเกตว่า รอบ ๆ ตัวของเธอเขากำลังทำอะไรอยู่กันบ้าง
    ถ้าหากเขาเจริญกรรมฐานอยู่ก็ดี เขากำลังสดับรับรสพุทธพจน์คำสั่งสอนอยู่ก็ดี เราควรจะห่างไปให้ไกลเสีย ไปทำกิจของเราที่ไกลซะ อย่าเบียดเบียนสร้างความรำคาญใจแก่เขาหรือว่าส่งเสียงสิ่งใด ๆ เป็นเครื่องรบกวนในการทำความเพียรของเขา
    เพราะนั่นเป็นกรรมที่มีกรรมหนัก คำว่า “กรรมหนัก” ไม่ได้หมายความว่า เธอจะตกนรกหรอกนะ แต่กรรมหนัก หมายความว่า เวลาเธอจะเอาดีเหมือนอย่างที่เขาเอาดี เธอก็เอาดีได้ยาก ถึงได้ยาก มีอุปสรรคมาก
    อันนี้ คือ วิบากของเธอที่ต้องรับ
    ทุกคนต้องจำไว้ให้ดีนะ การงานมันทำได้แต่ไม่ใช่ในที่ที่เขาปฏิบัติ หรือระหว่างที่เธอเห็นอยู่ รู้อยู่ว่าเขามีการเจริญพระกรรมฐานปฏิบัติ เขากำลังนั่งกันสงบในที่ใดที่หนึ่ง เขากำลังปฏิบัติเจริญกรรมฐานอยู่ เธอต้องห่างไกลเสีย ว่างเว้นเสีย
    หรือไม่ในที่ปฏิบัติ เธอก็ควรหยุดซะ หลวงพ่อเคยสอนอย่างนั้น พระต้องหยุด เวลาเขาเจริญกรรมฐานต้องหยุด หลังกรรมฐานเราค่อยทำงานต่อ ท่านเคยพูดไว้อย่างนี้เหมือนกัน
    นั่นคือเรื่องที่เธอต้องตระหนักไว้ให้ดีนะทุกคน เราต้องคิดบ้าง สำรวจดูบ้าง มองไปบ้าง อย่าทำอะไรโดยไม่คิดอะไรเลย … ไม่ได้ มันเป็นโทษกับเราโดยไม่รู้ตัว นั่นคือ เรื่องที่สำคัญสำหรับเธอ ข้อที่ ๑
    ส่วนอุปสรรคอีกประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคใหญ่ เขาเรียก “อารมณ์ฟุ้ง”
    อารมณ์ฟุ้งนี่มันเกิดจากการฝืนใจตัวของเธอในการปฏิบัติที่ไม่ถูกแนวถูกทาง ไม่ถูกจริต ไม่ถูกนิสัย ไม่คุ้นเคยมาก่อน มันทำให้เราไม่สามารถทำความเพียรได้ปรากฎเป็นผล อารมณ์จิตมันก็เลยฟุ้งขึ้นมา
    ข้อสำคัญเธอต้องรู้ว่า แนวทางของเธอเป็นแบบไหน ในการเจริญอานาปานุสสติ ๓ ฐานนี่มันทำได้ ๒ แนวทาง
    ทางของคนชอบสงบแล้วค่อยคิด
    ทางของคนชอบคิดแล้วค่อยสงบ
    มันจะไม่เหมือนกันนะทุกคน เพราะความคุ้นเคยของใจแต่ละคนโดยจริตนิสัยมันถูกฝึกกันมาแตกต่างกันไป เธอเคยเริ่มต้นแบบไหน จิตใจสงบแบบไหน เธอก็ต้องรู้จักตัวของเธอเป็นหลักก่อนที่จะปฏิบัติเจริญพระกรรมฐาน โดยเฉพาะการรู้กองลมอย่างนี้มันมีผลใหญ่
    ผลใหญ่ ก็คือว่า ยิ่งเราสงบละเอียดมากเท่าไหร่ การระงับความชั่วของเราก็ละเอียดตามมากเท่านั้น อันนี้คือข้อดี
    ถ้าเราละเอียดน้อย มีสมาธิอ่อน แค่ขณิกสมาธิ เราก็ระงับความชั่วได้ยาก
    แค่อุปจารสมาธิก็ระงับความชั่วได้หยาบ ๆ มันต้องถึงขั้นปฐมฌานเป็นอย่างน้อย ถึงจะระงับความชั่วได้ดียิ่งขึ้น จนถึงขั้นทรงถึงฌานละเอียดมากกว่านี้ คือ ฌาน ๔ จึงจะสามารถระงับความชั่วละเอียดได้ทุกอย่างตามความปรารถนา
    รวมความแล้ว ก็คือ พระกรรมฐานมีความสำคัญต่อจิตใจของเธอทุกคน เพราะยิ่งระงับความชั่วได้ดีเท่าไหร่ เธอก็สามารถพ้นอบายภูมิ
    งั้นการศึกษาอานาปานุสสติกรรมฐาน หลวงพ่อจึงสอนเอาไว้เยอะ แต่เราจะแยกแยะให้ฟัง เพื่อไปในทางได้โดยง่ายในการลงมือปฏิบัติ ไม่ยกตำราขึ้นมาเป็นข้อปฏิบัตินะ
    เอาบุคคลที่มีอุปนิสัยที่ไม่ชอบคิดก่อนนะ กองลม ๓ ฐานนี่ ก็ถูกแยกเป็น ๒ อย่างแยกออกจากกัน คือ กายกับจิต
    กาย เขาเรียก กายคตานุสสติ
    จิต คือ เรื่องของเรา
    การระลึก ๒ อย่างมีความเนื่องซึ่งกันและกัน แต่เน้นไปที่จิต ไม่ใช่เน้นไปที่กาย กายมีลมเป็นที่ตั้ง จิตมีเราผู้รู้ควบคุมอยู่ เขาเรียกมีสติตั้งมั่น สัมปชัญญะ - รู้ตัวอยู่ว่าเรากำลังทำเพื่อจิตของเราสงบ ไม่ใช่ทำให้ร่างกายสงบหรือมัวแต่สนใจลมหายใจอย่างเดียวให้มันสงบ อันนี้ไม่ใช่
    เพียงเราอาศัยกองลมเป็นเครื่องช่วยในบันทัดฐานเบื้องต้น
    งั้นระหว่างกายกับจิต เธอต้องแยกความเข้าใจออกจากกันว่า ร่างกายนี้มีเพียงแค่ลมหายใจเท่านั้นที่มันอยู่ได้ การจะเข้าจะออกมันเป็นเรื่องปกติของมันเพราะมันยังไม่ตาย
    มันจะเข้าช้า เข้าเร็ว เข้าสั้น เข้ายาว แต่ในกองลมละเอียดมันจะต้องผ่านกระทบจมูก กระทบหน้าอกแล้วไปกระทบศูนย์เหนือสะดือ อันนั้นเป็นหลักของกองลมละเอียด จะต้องผ่านอย่างนี้ขึ้นลงเป็นปกติของเขา
    แต่บางคนอาจจะทำไม่ได้ ก็ไม่จำเป็นจะต้องอาศัยกองลม ๓ ฐาน อันนี้เราพูดเฉพาะบางคนที่ทำได้นะ บางคนก็แค่ลมหายใจเข้าออกปลายจมูกก็พอ แต่เมื่อบุคคลพอทำได้ก็จะพูดเอาไว้ เพราะมีประโยชน์กับคนที่ทำได้
    งั้นระหว่างกายกับจิต ท่านจึงแยกออกจากกันตั้งแต่เบื้องต้น ทำความเข้าใจว่า ร่างกายอาศัยลมหายใจเข้าออกเพียงเท่านี้ที่อยู่ได้ จิตอาศัยเราจึงจะพ้นจากความทุกข์ ไม่ได้อาศัยใคร
    เวลากำหนด เราก็กำหนดด้วยการพิจารณาไปที่ร่างกายของเราซะก่อน อย่ายึดถือร่างกายนี้เป็นเรื่องสำคัญ มันอนิจจัง มันเอาแน่นอนไม่ได้ แล้วแต่บางวาระ บางวัน บางเวลา
    อาจจะหายใจดีก็ได้ถ้าร่างกายมันดี อาจจะหายใจไม่ดีก็ได้ถ้าร่างกายมันเหนื่อยล้าเกินไป อันนี้เธอก็ต้องพิจารณาเสียด้วย ไม่ใช่เอาแต่ใจของเธออย่างเดียวบังคับ ถ้าเธอฝืนก็ไม่มีประโยชน์อะไรในการเจริญพระกรรมฐาน
    พระจึงสอนให้พิจารณาซะก่อน อย่างน้อยอนิจจัง คิดเอาไว้ ร่างกายเป็นของอนิจจัง อย่ายึดถืออะไร ๆ เท่าที่เราได้ ไม่จำเป็นต้องฝืน บังคับมันมากเกินไป ค่อย ๆ ฝึกไป ไม่จำเป็นต้องทำมากอะไร ทำทีน้อย ๆ
    ทำบางเวลาที่มันเหมาะสม ร่างกายพร้อมเราถึงค่อยทำ พักผ่อนดีแล้ว ร่างกายไม่บีบคั้นเรา เราค่อยเดินลมหายใจเข้า หายใจออก ๓ ฐาน นี่คือ หลักปฏิบัติพิจารณาเสียก่อนเป็นอันดับแรก
    หลังจากนั้นเธอก็ตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น เพราะถ้ากายเธอไม่ตรง การเคลื่อนลมหายใจก็จะเป็นไปด้วยความลำบาก เคลื่อนตัวยาก อึดอัด ลมก็จะบังคับตัวมันเองได้ยาก เราก็จะรู้สึกว่ามันฝืนเกินไป
    บางคนจะต้องเดินซะก่อน บางคนก็ต้องหายใจลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ เพื่อคลายลมหยาบเสียก่อน แต่ที่แน่ ๆ คือ ต้องตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น จะใช้เวลาน้อย ๆ อย่าใช้เวลามาก แรก ๆ นะ ฝึกนะ
    ทีนี้เมื่อเธอตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่นดีแล้ว พิจารณาเพียงเล็กน้อย อนิจจังเอาไว้ก่อน ยอมรับความจริงเสียก่อนก่อนที่จะทำต่อไป
    คนใหม่ ๆ อย่าเพิ่งภาวนา มันหนักเกินไปในอารมณ์ใจเรา การจับลม ๓ ฐาน มันมีตั้งแต่รู้ลมหายใจเข้าออกอย่างเดียวกับการที่มีนิมิตตั้งเป็นกสิณ มีคำภาวนาควบคู่ อันนี้เป็นส่วนเมื่อคล่องดีแล้ว เขาก็จะขยับทำอย่างนั้นต่อไปในเบื้องหน้า
    แต่เบื้องต้นเขาก็ทำเฉพาะลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว ฝึกให้คล่องซะก่อน ทิ้งทุกอย่าง ไม่มีคำภาวนา ไม่มีนิมิตตั้งมั่น ละตรงนั้นไปซะก่อน เอาลมหายใจอย่างเดียวแล้วก็นับ
    พอลมกระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ แล้วก็ย้อนจากเหนือศูนย์สะดือกระทบหน้าอกถึงปลายจมูก เราก็นับ ๑ ครั้งที่ ๒ เราก็นับ ๒ แล้วเราก็กลับมานับ ๑ ใหม่ นับ ๒ … นับ ๑ ใหม่ นับ ๒
    อย่านับมาก มันฟุ้ง เพราะนับมากเราจะกังวลกับเรื่องที่เรานับ อันนี้มันจะทำให้เราฟุ้งเปล่า ๆ เอาน้อย ๆ ไปก่อนนะทุกคน ใหม่ ๆ
    ทีนี้เมื่อทรงตัวได้ดีสำหรับคนไม่ชอบคิดนะ จำไว้ก่อนนะ พอเธอทรงตัวได้ดีนับมากกว่า ๒ เป็น ๓ นับมาเป็น ๓ เป็น ๔ ถึง ๑๐ ย้อนกลับมา ๑ เป็น ๒๐ ทำอย่างนี้ให้คล่องตัวไปถึง ๑๐๐
    จำไว้นะ อย่าเพิ่งภาวนา อย่าเพิ่งมีนิมิตอะไรปรากฎ ยังไม่ใช้กสิณตั้งอะไรขึ้นมา ยังไม่ใช้ ถ้าเธอใช้ เธอจะฟุ้งเร็ว เขาเรียกว่า เธอทำเกินจิตที่มันยังไม่ถึงความพร้อม
    พอเราฝึกอานาปาของเราคล่องตัวใน ๓ ฐานดีแล้ว เธอค่อยตั้งนิมิตของเธอที่ตามความพึงพอใจ
    หลวงปู่ปานท่านสอนว่า พุทธานุสสติกรรมฐานเป็นสำคัญ อย่าทิ้ง อาศัยภาพพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งที่เธอสามารถจับแล้วติดตาติดใจของเธอได้ดี เธอค่อยฝึกมองพระในใจเธอ แล้วก็ไม่ต้องสนใจว่าลมหายใจมันจะเกิดขึ้นแบบไหน เพราะเราคล่องตัวตั้งแต่ต้นแล้ว ลมมันจะเดินเอง เป็นของมันเองโดยอัตโนมัติ จับภาพพระ เราก็จะค่อยอิ่มใจเราขึ้นไปเรื่อย ๆ
    ที่ถือเหตุนี้ ก็เพราะว่าพระพุทธเจ้าจะเป็นที่พึ่งของเธอ เธอก็หาที่พึ่งของเธอเสียก่อน เพราะเป็นกำลังใจของเธอตั้งมั่น หลังจากนั้นภาพพระพุทธเจ้า เธอจับได้ดีแล้ว เธอก็ภาวนาสั้น ๆ อย่าภาวนาบทยาวนะ เอาสั้นไว้ก่อน
    หลวงปู่ปานท่านแนะนำว่า พุทเข้า พุทออกโธ
    พุทโธมีความหมายสำคัญมาก เพราะหมายถึง ความเป็นพระพุทธเจ้าทั้งหมด ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เวลาภาวนาสั้น ๆ ความฟุ้งของเราก็จะน้อยลงตาม เพราะว่ามันควบคู่กับลมหายใจของเราได้ดีกว่า
    สั้นแล้วก็หยุด จบได้ไว ต่อเนื่องได้ง่าย ท่านจึงเลือกภาวนาว่า “พุทโธ” เป็นหลัก
    เมื่อกำลังสมาธิของเธอทรงตัวมากกว่านี้ ภาพพระของเธอชัดเจนแจ่มใส ลมหายใจเริ่มละทิ้งไปเอง สนใจคำภาวนากับพุทโธเป็นหลัก จนภาวนาหายไป เหลือภาพนิมิตเป็นหลัก ความสว่างไสวขององค์พระจะเป็นเครื่องวัดสมาธิของเธอไปโดยลำดับลำดา
    จนนิมิตของเธอนั้นตั้งอยู่ในโพลงสว่างเป็นประกายผลึก เขาเรียกว่า เต็มของสมาธิ คนที่ทำเขาจึงไม่หยุดที่จะเอาเพียงเท่านี้แล้วพอใจแล้ว ถือว่าหลงเกินไป นี่เป็นแค่เริ่มต้นเฉย ๆ จิตยังไม่ทรงตัวดีหรอก อย่าประมาท
    จนกว่าเธอจะสามารถย่อ ขยายได้ บังคับภาพได้ ย้อนกลับมาต้นได้ ขึ้นปลายได้ คือ เริ่มต้นกลับมานับ ๑ ใหม่ได้แล้วกลับไปที่สูงใหม่ได้ เต็มที่ของเธอได้ สลับกันไปสลับกันมาอย่างนี้ได้ทุกอิริยาบถ
    จะลืมตาหลับตาเมื่อไหร่ก็ได้ จะอยู่กับคน ไม่อยู่กับคนก็ได้ จึงจะถือว่าเริ่มคล่องเป็นนวสี
    คนที่ไม่ชอบคิด หลังจากสมาธิดีแล้ว มันจะคิดเองได้ เพราะว่าสมาธิจะเป็นตัวทำให้เธอมีปัญญา สมาธิจะช่วยยับยั้งความชั่วของเธอได้ดี งั้นทุกวันเมื่อสมาธิทรงตัวดี ความคิดมันก็จะดีตาม เพราะว่าถึงเวลาอารมณ์เราจะปล่อยออกมาปกติ แต่ความทรงตัวของสมาธิยังทรงตัวอยู่ จึงทำให้ควบคุมความชั่วของเธอได้
    เมื่อเธอต้องการจะระงับความชั่วอะไร เช่น ความโลภ เธอก็ระงับความโลภของเธอได้ดี เช่น ความโกรธ เธอก็ระงับความโกรธของเธอได้ดีในการรักษาศีล เช่น ความหลง เธอก็ระงับตัวของเธอได้ดีเพราะเธอมีปัญญา มันจะพิจารณาได้ไวขึ้น เวลาฟังธรรมเธอก็จะเข้าใจกระจ่างยิ่งขึ้น
    อันนั้น คือ ผลดีตามมาของคนที่ไม่ชอบคิดในเบื้องต้น แต่คิดเบื้องปลาย
    เอาพอประมาณแค่นี้ก่อนนะ เป็นแนวทาง แล้วฉันจะค่อย ๆ อรรถธิบายส่วนละเอียดต่อไป
    จบช่วง ๑/๒
    ๑๓ มกราคม ๒๕๖๑
    คำสอนของครูบาอาจารย์⚜️ท่านจิตโต⚜️
    ถอดความเสียง By Dhipya
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    25 – 11 - 64
    "อาจารย์พิเศษของหลวงพ่อ"
    ขอปัญญากับพระสารีบุตร เวลาบูชาพระนึกถึงพระพุทธเจ้าท่านแล้ว นึกถึง "พระสารีบุตร" ขอปัญญาจากท่าน เพราะท่านมีปัญญาดี ให้ท่านช่วย
    ถ้าอยากจะมีฤทธิ์ก็ขอจาก "พระโมคคัลลาน์" ขอให้ท่านช่วย คำว่ามีฤทธิ์ไม่ได้หมายถึงเหาะ หมายถึงการคล่องตัวในการงานใช่ไหม มีการคล่องตัวดีก็ถือว่ามีฤทธิ์ ผิดธรรมดา อย่างนี้ใช้ได้เลย
    เมื่อก่อนนี้ฉันมีอาจารย์พิเศษอยู่ ๔ องค์
    (๑) พระสารีบุตร
    (๒) พระโมคคัลลาน์
    (๓) พระอนุรุทธ
    (๔) พระมหากัจจายนะ
    พระมหากัสสป ท่านคุมเป็นอาจารย์ใหญ่
    ・เวลาต้องการจะคิดอะไร (ปัญญา) ฉันนึกถึง "พระสารีบุตร"
    ・ถ้าต้องการจะใช้ ปฏิภาณ ฉันนึกถึง "พระมหากัจจายนะ" เวลาเทศน์นะ
    ・แต่ว่าเวลาที่ฉันจะต้องใช้กำลังขึ้นมา ฉันก็นึกถึง "พระโมคคัลลาน์"
    ・เวลาฉันจะต้องการรู้ผี รู้เทวดา ใช้ทิพจักขุญาณ ฉันนึกถึง "พระอนุรุทธ" หมดเรื่องกันไป ขอให้ท่านช่วย ไม่ใช่ขอของท่านมานะ ขอให้ท่านช่วย มันก็จะมีการคล่องตัว
    พระราชพรหมยาน,ธัมมวิโมกข์ (2554),367,38-39
    Facebook : นิตยสารธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง
    สมัครสมาชิกนิตยสารธัมมวิโมกข์ได้ที่ ID line : thammavimok2021

    ±++++++++++++++++++++

    screenshot_20211126-013138_facebook-jpg.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    จริยาเล็ก ๆ น้อย ๆ หลายอย่างหลายประการ บางทีเราก็ไม่รู้ว่าเป็นการแสดงออกถึงความไม่เคารพ เป็นการปรามาสพระรัตนตรัย เป็นต้น อย่างเช่นว่าการนั่ง แม้ว่าเราจะถนัดนั่งขัดสมาธิก็ตาม แต่ถ้าในระหว่างที่ฟังธรรม หรือว่าสอบถามธรรมะ สนทนาปัญหาธรรมะ ควรที่จะนั่งพับเพียบ เพื่อแสดงออกถึงความเคารพในธรรม
    ถ้าหากว่าเราเห็นว่าไม่จำเป็น ก็แปลว่าสภาพจิตของเรายังหยาบเกินไป จนกระทั่งไม่เห็นว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นเป็นโทษ ถ้าเป็นเช่นนั้นโอกาสที่เราจะเข้าถึงธรรมก็ยาก
    ในเรื่องของการประนมมือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการไหว้พระ กราบพระ รับศีลก็ตาม ให้ประนมมืออย่างเป็นทางการสักนิดหนึ่ง ถ้าหากว่าตามที่อาตมาเรียนมา ท่านบอกว่าให้ประนมมือยกชิดหน้าอก ปลายมือหันขึ้นประมาณ ๘๐ องศา ถ้าหากว่าต้องการที่จะให้มือที่ประนมอยู่ดูเหมือนดอกบัวตูม ก็ให้เอาหัวแม่มือทั้งสองยัดใส่เข้าไปในฝ่ามือของตน ถ่างกว้างออกไปประมาณเท่าไร ก็ให้กะระยะนั้นเอาไว้แล้วยกหัวแม่มือออกมาแนบชิดกับนิ้วชี้ ก็จะได้การประนมมือที่สวยงามน่าดู
    แต่ว่าส่วนหนึ่งการประนมมือของเราเหมือนกับขาดความเคารพ สักแต่ว่าทำไปเท่านั้น บางท่านก็เอามือที่ประนมค้ำคาง บางท่านก็ประนมมือในลักษณะสักแต่ว่าประนมมือ แทบจะออกไปในลักษณะเจ๊กไหว้เจ้าก็มี บางท่านเอานิ้วมือประสานกันในลักษณะเหมือนกับหางปลาก็มี บางท่านประนมมือแต่ปลายมือตกห้อยลงเหมือนกับดอกบัวเหี่ยวก็มี
    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้แสดงให้เห็นชัดว่า สติ สมาธิของเรายังไม่ทรงตัวพอ จึงทำให้มีอาการแปลกประหลาดต่าง ๆ นานาออกไป และขณะเดียวกันความละเอียดของจิตก็มีน้อย จึงทำให้การแสดงออกซึ่งความเคารพในพระรัตนตรัยนั้น ออกมาในลักษณะครึ่ง ๆ กลาง ๆ ทำเหมือนกับไม่เต็มใจที่จะทำ เป็นต้น
    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้นั้นเป็นแค่ส่วนเล็กน้อยของการปฏิบัติเท่านั้น แต่ว่าส่วนเล็ก ๆ นี้แหละที่จะชี้ให้เห็นว่ากำลังใจที่แท้จริงของเราเป็นอย่างไร ทำให้นึกถึงการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรก พระอานนท์บอกต่อสงฆ์ทั้งหลายว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ก่อนที่จะปรินิพพานว่า ในกาลต่อไปข้างหน้า สิกขาบทใดที่เป็นสิกขาบทเล็กน้อย ไม่เหมาะสมกับยุคสมัย หากสงฆ์ทั้งหลายพึงหวัง สามารถที่จะสวดถอนสิกขาบทนั้นได้
    ปรากฏว่าพระมหากัสสปะผู้เป็นประธานสงฆ์ในการสังคายนามีมติว่า ให้คงสิกขาบททั้งหลายเหล่านั้นเอาไว้ พระอรหันต์ทั้งหลายอีก ๔๙๙ องค์ที่เข้าร่วมพิธีสังคายนาพระไตรปิฎกก็เห็นด้วย แต่ว่าครูบาอาจารย์รุ่นหลัง ๆ มาถกเถียงกันว่า สิกขาบทเล็กน้อยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้านั้นคืออะไร ?
    บางท่านก็ว่า นอกจากอาบัติปาราชิก ๔ ข้อแล้ว ที่เหลือเป็นสิกขาบทเล็กน้อยทั้งหมด บ้างว่านอกจากอาบัติปาราชิก ๔ ข้อและอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ ข้อแล้ว ที่เหลือจัดว่าเป็นอาบัติเล็กน้อยทั้งหมด บางท่านก็บอกว่าเสขิยวัตร ๗๕ ข้อและอาบัติทุกกฎจัดเป็นอาบัติเล็กน้อย เป็นต้น
    ถกเถียงกันมาจนไม่สามารถตกลงปลงใจกันได้ว่า อาบัติเล็กน้อยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคืออะไร ? และพลอยสงสัยไปว่า ทำไมพระมหาเถระที่เริ่มการสังคายนาพระไตรปิฎก จึงไม่กำหนดลงไปให้ชัดเจนว่าอาบัติเล็กน้อยคืออะไร ?
    ตรงจุดนี้แหละที่อยากจะชี้ให้ญาติโยมทั้งหลายได้เห็นว่า ในความรู้สึกของพระอรหันต์นั้น ด้วยความที่เคารพในพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างสุดจิตสุดใจ และความละเอียดในสภาพจิตของทุก ๆ องค์ ทำให้เห็นชัดเจนว่า อาบัติทุกอย่างไม่มีอะไรเล็กน้อย อาบัติแม้จะเล็กน้อยเพียงไหนก็ตาม อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ล่วงละเมิดอาบัติที่ยิ่งใหญ่ไปกว่านั้นได้
    ดังนั้น..ในความรู้สึกของพระอรหันต์ทั้ง ๕๐๐ รูปที่มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน จึงไม่มีอาบัติสิ่งใดเล็กน้อย ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นพุทธบัญญัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ที่ได้กล่าวตรงนี้ก็เพื่อที่จะเชื่อมโยงไปว่า จริยาเล็ก ๆ น้อย ๆ ของพวกเราที่แสดงออกด้วยการขาดความเคารพในพระรัตนตรัยนั้น จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องใหญ่มาก ถ้าเราไปยังสถานที่อื่นที่เขาถือสาในเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ เขาก็จะว่ากล่าวติเตียนมาถึงครูบาอาจารย์ได้ ตลอดจนกระทั่งติเตียนตัวผู้ปฏิบัติได้ว่า ขาดการอบรม ขาดการศึกษามา ก็จะกลายเป็นทุกข์เป็นโทษแก่บุคคลอื่นเขาขึ้นมาอีกส่วนหนึ่ง
    และโดยเฉพาะว่า ถ้าเรายังเห็นว่าการกระทำทั้งหลายเหล่านี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ก็แปลว่าความหยาบของจิตของเรามีอยู่มาก เมื่อความหยาบของจิตเรามีอยู่มาก โอกาสที่จะเข้าถึงธรรมก็น้อย พูดง่าย ๆ ว่าเป็นปฏิภาคผกผันกัน ถ้าจิตหยาบมากโอกาสเข้าถึงธรรมก็น้อย ถ้าจิตละเอียดมากโอกาสเข้าถึงธรรมก็มาก เป็นต้น
    ดังนั้นจึงอยากให้พวกเราทุกคน ระมัดระวังการแสดงออกด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ต่อหน้าพระรัตนตรัย ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธก็ดี พระธรรมก็ดี พระสงฆ์ก็ดี ให้แสดงออกด้วยความเคารพอย่างจริงใจ ระมัดระวังจริยาของตนเองเอาไว้ ว่าเราเองทำอะไรเป็นที่ตำหนิติเตียนจากคนอื่นได้หรือไม่ ? หรือว่าแม้เราระมัดระวังแล้ว บุคคลที่ท่านรู้ สามารถว่ากล่าวติเตียนเราได้หรือไม่ ?
    ถ้าเรารู้จักพัฒนาแก้ไขตนเองอย่างนี้ได้ ถึงจะสมกับการเป็นนักปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง เพราะเรามีความละเอียดของกาย ของวาจา ของใจมากขึ้น สามารถนำเอาหลักธรรมทั้งหลายเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นการปฏิบัติธรรมของท่านทั้งหลายก็ถือว่าได้ผล ไม่เป็นหมัน สามารถที่จะก้าวขึ้นไปสู่ภูมิธรรมที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปตามลำดับได้
    ถัดจากนี้ไปก็ให้ทุกท่านตั้งใจ กำหนดดู กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกของตนเอง ใช้คำภาวนาหรือพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
    วันเสาร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
    #ชุมชนคุณธรรม
    #วัดท่าขนุน
    #watthakhanun
    #ig: wat.thakhanun
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    #หลวงพ่อให้พรตลอดชีวิต

    ขอทุกท่านโปรดทราบว่า พรอันนี้เป็นพรตลอดชีวิต ฟังเมื่อไรได้พรนี้เมื่อนั้น หรือว่าอ่านเมื่อไรก็เป็นอันว่าท่านได้พรนี้เมื่อนั้นเช่นเดียวกัน

    ในฐานะที่อาตมาเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์สัมมาสัมพุทธเจ้า ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย มีพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ทั้ง ๓ ประการ ขอจงอภิบาลบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ที่กล่าวนามมาแล้วทั้งหมด ให้มีแต่ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผล
    และจงเจริญไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการมีอายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ ปรารถนาสิ่งใดขอให้ได้สิ่งนั้นสมความปรารถนา แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้ขอบรรดาท่านทั้งหลาย ทุกคน จงเป็นคนมีความปลอดภัยด้วยประการทั้งปวง และจงมีความร่ำรวย ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรารถนา ให้ปรารถนาสมหวัง ด้วยประการทั้งปวง เทอญ
    ก็ต้องขออนุโมทนาในด้านความดีของบรรดาท่านทั้งหลาย คือว่า พรนี้ขอให้สำเร็จแก่บรรดาท่านพุทธบริษัททุกคน จะอยู่ที่ไหน จะฟังที่ไหน จะอ่านเมื่อไร ขอให้มีความปรารถนาสมหวังตามพรทุกประการเมื่อนั้น เทอญ
    หลวงพ่อพระราชพรหมยานให้พร ลูกศิษย์มาแสดงมุทิตาจิต ในโอกาส พระสุธรรมยานเถระ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชพรหมยาน
    อ้างอิง - หนังสืออ่านเล่น โดย ส. สังข์สุวรรณ เล่มที่ ๑๑
    ++++++++++++++++
    สาธุ สาธุ สาธุ ลูกน้อมกราบอุโมทนาบุญกับหลวงพ่อตลอดจนศิษยานุศิษย์คณะหลวงพ่อทุกๆท่านทุกๆประการขอพรที่หลวงพ่อให้ไว้จงสำเร็จแก่ลูกๆและคณะตามที่หลวงพ่ออธิฐานจิตเปล่งวาจาให้พรลูกน้อมจิตรับพรทุกๆประการครับ
    ++++++++++++++++
    -4Ev-hAHg-NO_z&_nc_ohc=YX2gBqLgn2gAX8xbwfo&tn=ntkX8_79axLjp9Cm&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk2-4.jpg
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ?temp_hash=6073662d8bb8ca478c78aff6b7e7a8c1.jpg

    #เหมือนพยับแดด

    อย่าไปยึดมั่นอะไรให้มากนักเลย
    ทุกอย่างต้องเผาทิ้งอยู่แล้ว
    แม้แต่ร่างกายของเราเอง
    สิ่งทั้งหลายปรากฏเหมือนมีรูปร่าง
    มีตัวตนให้ยึดมั่นถือมั่น
    เอาเข้าจริงมันเป็นมายา
    เหมือนพยับแดดเหมือน ภูเขา เมฆ
    ลมพัดผ่านทีเดียวก็กระจาย
    เหมือนดวงดาวในบ่อน้ำหรือแม้ในถ้วยแก้ว
    ดูได้แต่จับฉวยไม่ได้
    ความหลงใหลเพลิดเพลิน
    เข้ามาปิดบังทุกข์เสียหมด
    สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์
    และเป็นของร้อน มองให้ดีๆ เถิด

    ==================

    #คติชีวิต- เพื่อสิ่งที่เติบโตและเข้มแข็ง
    #เพจอาจารย์วศิน อินทสระ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ทรงฌาน


    โอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ได้พากันสมาทานพระกรรมฐานและสมาทานอุโบสถศีลแล้ว ต่อแต่นี้ไปก็เป็นโอกาสที่ท่านทั้งหลายจะพากันเจริญสมาธิจิตในอันดับแรกของการเจริญสมาธิจิต สิ่งที่ต้องตั้งไว้เป็นอารมณ์รักษาไว้ด้วยดี นั่นก็คือลมหายใจเข้าออก พยายามรักษากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก เวลาหายใจเข้านึกว่าพุท เวลาหายใจออกนึกว่าโธ อาราณ์นี้อย่าทิ้งเป็นอันขาด ให้มันทรงอยู่เป็นปกติ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะการฝึกสมาธิการรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ความรู้คำว่าพุทโธ นี้เป็นอาการของสมาธิ แล้วก็จงอย่าสนใจกับภาพและแสงสีต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นแก่จิต ถ้าภาพแสงสีใดๆ ปรากฏขึ้นแกจิตเพิกเฉยต่ออาการของภาพนั้นเสีย รักษาอารมณ์เดิมให้เป็นปกติ อย่างนี้จึงจะชื่อว่าเป็นไปตามความมุ่งหมายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาการอย่างนี้ขอทุกท่านจงทรงไว้ตลอดชีวิต
    แล้วอีกประการหนึ่งสำหรับการที่เราเจริญพระกรรมฐาน ก็ต้องใคร่ครวญอยู่เสมอว่า เราเจริญพระกรรมฐานเพื่อต้องการความรู้เป็นเครื่องพ้น พ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เพราะความเกิดเป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ ถ้าเรายังต้อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่แบบนี้ เราก็มีแต่ความทุกข์ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ การเจริญสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐาน เราทำเพื่อสิ้นความเกิด เพราะเราไม่ต้องการความทุกข์ต่อไป จงพิจารณาหาทุกข์ให้พบในอริยสัจ
    ต่อแต่นี้ไปก็จะขอพูดต่อเมื่อคืนที่แล้ว เมื่อคืนที่แล้วได้พูดถึงอารมณ์ปฐมฌานโดยย่อ ก็ให้สังเกตอารมณ์หรือว่าเท่าที่เราภาวนาว่าพุทโธ หรือกำหนดรู้ลมหายเข้าออก ถ้าอารมณ์จิตของเราได้ยินเสียงภายนอกชัดเจนแจ่มใส รู้เรื่องทุกอย่าง แต่เราไม่รำคาญในเสียง สามารถจะควบคุมอารมณ์ใจของเราให้เป็นปกติ หรือรู้ลมหายใจเข้าออก รู้คำภาวนาได้เสียงจะสอดแทรกเข้ามาเพียงใดก็ตามที่ เราไม่รำคาญ จิตใจไม่กระสับกระส่ายไปตามเสียง อาการอย่างนี้เป็นอาการของปฐมฌาน
    การที่เราจะควบคุมอารมณ์ให้ทรงอยู่ตลอดได้นานหรือไม่ได้นานนั้นก็เป็นเรื่องของการฝึกจิต ฝึกวิธีทรงสมาธิ วิธีที่ฝึกทรงสมาธินั่นนะ ในอันดับแรก พระพุทธเจ้าใช้การนับเป็นสำคัญ คือนับตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๐ ของลมหายใจเข้าออก นับเป็นคู่ เราจะบังคับให้อารมณ์ของเราทรงอยู่ตามนี้ ว่าในขณะที่ ๑ ถึง ๑๐ นี่ เราจะไม่ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามาแทรกเป็นอันขาด แล้วจิตก็ทรงอยู่ใดอย่างนั้นจริงๆ พอมาถึง ๑๐ แล้วเราก็ปล่อยเลยหรือเริ่มต้นใหม่ ถ้าจิตยังสบาย คือเราจะทรงอารมณ์ให้ได้ ๑ ถึง ๑๐ อีก ถ้าถึง ๑๐ แล้วก็ยังทรงได้ อย่างนี้เรียกว่าเป็นการฝึกจิตทรงสมาธิ เมื่อฝึกอาการอย่างนี้จนคล่องแล้วเราก็สามารถจะใช้วิธีนับ ๑ ถึง ๒๐ หรือกำหนดให้นับ ๑ ถึง ๓๐ ถึง ๕๐ ถึง ๑๐๐ ก็ได้
    วิธีการฝึกการทรงฌานทรงสมาธิที่ทรงได้แน่นอน สมัยโบราณท่านทำแบบนี้ ท่านใช้เทียนปักเข้าข้างหน้า วิธีใช้เทียนนี่ต้องปักในขันหรือว่าปักในสถานที่อย่างใดอย่างหนึ่งกันเทียนล้มไปไหม้บ้านไหม้วัด นี่ต้องเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีความฉลาด ไม่ใช่ทำอะไรแบบโง่ๆ ปล่อยให้อันตรายเกิดขึ้นอย่างนี้ ไม่สรรเสริญ แล้วไม่ใช่ทางดีดีไม่ดีมันจะไหลลงนรกไป การทำอะไรต้องมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ นิสสัมมะ กรณัง เสยโย ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำดีกว่า การทำอะไรไม่ใคร่ครวญไม่พิจารณา ไม่ใช่หนทางแห่งความดี มันเป็นหนทางแห่งความเลว ก่อนการเจริญกสิณ เตโชกสิณ เป็นต้น ถือว่าการทรงสมาธิจิต หัดวิธีทรงอารมณ์ เราต้องใช้ความระมัดระวังไม่ใช่สักแต่ว่าทำส่งเดช จุดธูปจุดเทียนบูชาพระก็เหมือนกัน จุดแล้วก็ต้องระมัดระวังว่าธูปเทียนจะไปไหม้อะไรหรือเปล่า เสร็จแล้วก็เอาก้านธูปขี้เทียนทิ้งไป ไม่ให้เป็นเชื้อสายอันตรายแก่ทรัพย์สิน
    การทดลองการทรงสมาธิ การฝึกทรงสมาธิของพระโบราณ ท่านใช้เทียนขี้ผึ้ง แล้วก็เอาสตางค์หรือเหรียญบาทไปติดเข้าไว้จุดใดจุดหนึ่ง โดยคิดว่าถ้าจิตเรายังไม่ถึงจุดนี้เพียงใด เราจะไม่ยอมให้จิตเคลื่อนไปสู่อารมณ์อื่น เวลานั่งภาวนาไปก็ตั้งใจเฉพาะภาวนาอย่างเดียว พอเทียนไหม้ลงไปถึงสตางค์หรือเหรียญบาทที่ติดไว้ สตางค์ก็หล่นเป้งลงไป แสดงว่าเราควบคุมจิตเราได้แบบสบายโดยจิตไม่เคลื่อน จิตของเราทรงฌานถึงระดับนั้น ทรงสมาธิทรงเวลาได้ตามที่เราต้องการ
    การฝึกสมาธิจิตหรือการฝึกอารมณ์ให้ทรงตัวนี้มีความสำคัญมาก มิฉะนั้นอารมณ์จิตของเราจะไม่สามารถควบคุมได้เป็นปกติ นี่เป็นวิธีการคุมอารมณ์ให้ทรงตัวอยู่ เรียกว่า ทรงฌาน แบบนี้บรรดท่านทั้งหลายต้องฝึกให้เป็นปกติ ถ้ามานั่งอยู่ตรงนี้ (บนหอพระกรรมฐาน)ไม่แน่นัก เพราะเราใช้เวลาจำกัดเพียง ๓๐ นาที แล้วควรจะไปฝึกที่กุฏิด้วย การทรงสมาธิอารมณ์มันถึงจะได้ดี ถ้าเราสักแต่เพียงว่าทำไปชั่วขณะที่มาทำที่นี่ กลับไปกุฏิก็ปล่อยไปตามอารมณ์ อันนี้แสดงว่าเรายังขาดทุนอยู่มาก การทรงสมาธิ ถ้าเราไม่สามารถจะทรงสมาธิได้นาน วิปัสสนาญาณมันก็แย่ การที่เราจะมีวิปัสสนาญาณดีเพียงไร ก็ดูจริยาที่เราปฏิบัติในงาน ฝึกในงาน ประกอบการงาน ถ้ามีความละเอียดลออเพียงไหนหรือไม่ ถ้าขาดการระมัดระวังนั่นก็แสดงว่า เรายังห่างจากอารมณ์ของสมาธิ คือ สติสัมปชัญญะอยู่มาก การทำกิจการงานทุกอย่างต้องใช้อารมณ์พระกรรมฐานเข้าไปช่วย ไม่ใช่สักแต่เพียงว่าทำ ทำด้วยการพินิจพิจารณา ทำด้วยการใคร่ครวญ ทำด้วยการใช้ปัญญาเอาเป็นเครื่องพิจารณาว่าอะไรมันจะดี อะไรมันจะเสียไม่เสีย อย่างนี้เขาเรียกว่าเราทำงานด้วยแล้วเอาจิตช่วยเป็นสมถะเป็นวิปัสสนาทุกฝีก้าว หรือทุกอิริยาบถที่เราขยับไปให้มันเป็นสมาธิแล้วเป็นวิปัสสนาควบไปทุกขณะ นี่ถ้าหากว่ากิจการงานใดๆ ถ้ามีการพลั้งพลาด ยังมีความหยาบก็จงรู้ถึงจิตใจของตัวว่ามันยังห่างจากมรรคผลมากนัก ยังห่างกว่าฌานสมาบัติ
    เมื่อคืนนี้ได้พูดถึงฌานที่ ๑
    ฌานที่ ๑ มีองค์ห้า คือ มีวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตา
    วิตก แปลว่า นึก นึกว่าเราจะหายใจ นึกว่าเราจะภาวนา
    วิจารณ์ตัวนี้ก็รู้อยู่ ว่าการหายใจเราหายใจอยู่หรือเปล่า หายใจสั้นหรือหายใจยาว ภาวนาอยู่หรือเปล่า คำภาวนาถูกหรือผิด เรียกว่า วิจารณ์
    ปีติ ก็ตามที่กล่าวมาแล้ว ปีติมีอาการห้าอย่าง
    สุข มีอารมณ์สบาย ทรงจิตสบายมีความชื่นอกชื่นใจ
    เอกัคตา คือมีอารมณ์เป็นอันเดียว มีการทรงอารมณ์ไว้ ภาวนาก็ภาวนาอยู่อย่างนั้น จับลมหายใจเข้าออก รู้แต่ว่าจับลมหายใจเข้าออกอยู่อย่างนั้น อาการอย่างนี้เรียกว่า ปฐมฌาน
    ต่อนี้ไปก็จะขอพูดถึงฌานที่ ๒
    ฌานที่ ๒ ตัดวิตกวิจารณ์ออกเสียได้ เหลือแต่ปีติ สุข เอกัคตา วิธีที่ตัดวิตกวิจารณ์นี่ ส่วนมากนักปฏิบัติมักจะเข้าใจพลาด เหมือนกันทุกคนนักปฏิบัติตอนใหม่ๆ คือว่าเวลาภาวนาหรือจับลมหายใจเข้าออกไป ภาวนาไป ภาวนาไป จิตใจมันสบายมีความชุ่มชื่นมากขึ้นไป คำภาวนามันหยุดลงมาเสียเฉยๆ แต่ลมหายใจยังคงอยู่ แต่ว่าลมหายใจเบาไปเล็กน้อย มีความชุ่มชื่น มีความเอิบอิ่ม มีจิตทรงสมาธิได้ดี คำภาวนาไม่มีอาการอย่างนี้เรียกว่า ทุติฌาน คือ ฌานที่ ๒
    บางรายหรือทั่วๆ ไป เห็นจะเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เท่าที่ผ่านกันมาเองก็ดี พบกันมาเองก็ดี ขณะที่จิตอยู่ฌานที่ ๑ พอเข้าถึงฌานที่ ๒ พอรู้สึกตัวลงมา จิตตกจากฌานที่ ๒ มารู้สึกว่าเอ๊ะนี่ตายจริง เราลืมภาวนาไปเสียแล้วนี่ น่ากลัวจะหลับไปหรือจะเผลอไป แล้วก็เลยจับต้นชนปลายไม่ใคร่จะถูก คว้าคำภาวนาไม่ใคร่จะถูก ที่มีความรู้สึกเป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า เราเข้าใจผิดคิดว่า เราทิ้งคำภาวนาลืมภาวนา เคลิ้มไปหรือหลับไป อาการอย่างนั้นเป็นการเข้าใจพลาด แต่มันก็เป็นเหมือนกันทุกคนนั่นแหละ ถ้าเคยผ่านมาแล้วก็โดนเหมือนกันทุกคน นี่เราก็จงเข้าใจว่า ถ้าบังเอิญอาการอย่างนั้นปรากฏ คือ ภาวนาไปภาวนาไปปรากฏว่าคำภาวนาหายไป มีจิตใจชุ่มชื่น มีอารมณ์ดิ่งสบาย ที่นี่เวลาจิตมันตกลงมา รู้สึกว่านี่เราลืมภาวนาไปแล้วนี่ ถ้าอย่างนี้ก็จงรู้ว่าขณะที่ตกมานึกว่าเราลืมภาวนาไขว่คว้าคำภาวนาเกือบจะไม่ถูก มันเป็นอาการของจิตที่ตกลงมาจากทุติยฌาน ฌานที่ ๒
    ฌานที่ ๒ นี่ถ้าเราทรงได้ พอตายแล้วก็ไปเป็นพรหมชั้นที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ตามกำลังของฌาน ฌานอย่างหยาบก็เป็นพรหมชั้นที่ ๕ อย่างละเอียดเป็นพรหมชั้นที่ ๖
    การทรงสมาธินี่มีความสำคัญ การเจริญสมาธิ ถ้าเราจะมีแต่สมาธิธรรมดา รู้สึกว่ากำลังใจของเราไม่มั่น เมื่อทรงสมาธิแบบสบายๆ สบายใจพอสมควร เราก็น้อมเข้าไปหาวิปัสสนาญาณ โดยใช้อย่างย่อ คือ
    ประการที่ ๑ พิจารณาร่างกายว่า อัตภาพร่างกายนี่มันไม่ใช่เรามันไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เรามีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วก็มีการสลายตัวไปในที่สุดอย่างนี้ก็ชื่อว่า ร่างนี้มันไม่ใช่เรา มันเป็นเรือนร่างที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเราจะคิดกันให้สั้นๆ ก็เรียกว่า ร่างกายของเรานี่มันตายแน่ เมื่อเราจะตายเราก็คิดไว้ว่า ถ้ามันตายแล้วก็แล้วกันไป ขึ้นชื่อว่าความตายวาระต่อไปไม่มีสำหรับเรา เพราะร่างกายเต็มไปด้วยความทุกข์ ที่เรามามีทุกข์ต่างๆ ก็เพราะอาศัยร่างกายเป็นสำคัญ ในเมื่อร่างกายเต็มไปด้วยความทุกข์อย่างนี้นั้น ต่อไปเราไม่ต้องการความทุกข์อย่างนี้อีก คือไม่ต้องการร่างกาย นี่เป็นกำลังใจข้อที่ ๑ คิดเอาไว้
    ประการที่ ๒ เราจะไม่สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราแน่ใจในผลแห่งคำสอนที่พระพุทธเจ้าสอนแล้ว พระพุทธเจ้าเองก็ทรงเป็นพระอรหันต์ แล้วท่านผู้ปฏิบัติตามอย่างเรา ท่านก็เป็นอรหันต์มานับไม่ถ้วน ไม่มีอะไรเป็นเครื่องน่าสงสัย
    ประการที่ ๓ ตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ฆราวาสก็มีศีล ๕ บริสุทธิ์ ให้มั่นคง ถึงพระเณร ก็รักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์
    ประการที่ ๔ จิตใจเรารักพระนิพพานเป็นอารมณ์
    ถ้าอารมณ์จิตของเราคิดอยู่อย่างนี้ ปฏิบัติได้อย่างนี้เป็นอัตโนมัติโดยไม่ต้องมีการระมัดระวังอย่างนี้เขาเรียกว่า พระโสดาบัน
    ถ้าอารมณ์ใจของเราก้าวขึ้นไปสูงมากกว่านี้อีกหน่อยหนึ่ง จะเป็นพระอนาคามี ก็ต้องพิจารณาสักกายทิฏฐิ หรือว่าอสุภกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง พิจารณาให้เห็นว่า ร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหมดไม่ใช่แท่งทึบ มีอาการ ๓๒ ประกอบขึ้น มีตับ ไต ไส้ ปอด อาหารใหม่ อาหารเก่า อุจจาระปัสสาวะ ร่างกายเต็มไปด้วยความโสโครก เต็มไปด้วยความสกปรก ไม่มีอะไรที่น่ารักน่าปรารถนา ไม่มีความสะอาด เรารังเกียจร่างกาย จนกระทั่งจิตใจของเรามีความเบื่อหน่าย เห็นคนก็ดี เห็นสัตว์ก็ดี บุคคลอื่นก็ดี ตัวเราก็ดี รู้สึกว่ามันเต็มไปด้วยความสกปรก เห็นว่าร่างกายที่ประกอบไปด้วยธาตุสี่ของแต่ละบุคคคลสกปรกน่าเกลียด ไม่ถึงปรารถนาในการร่วมควบคู่อยู่ด้วย จนกระทั่งจิตใจของเรามีความสุขปราศจากความรักในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย การสัมผัสที่นิ่มนวล แล้วหลังจากนั้นไปก็เจริญเมตตาพรหมวิหารสี่เป็นเครื่องตัดความโกรธ ความพยาบาท จนกระทั่งเห็นใครเขาทำอะไรเคยไม่ชอบใจ ใจมันก็มีอารมณ์สบาย แทนที่จะโกรธ แทนที่จะพยาบาทประทุษร้ายเขา ก็กลับมีเมตตาความรัก กรุณามีความสงสาร ว่าคนที่ทำความชั่วอย่างนี้นั้นเป็นบุคคลที่น่าสงสารอย่างยิ่ง เพราะว่าเป็นการทำลายตัวเอง นี่ค่อยๆลูบคลำกันไป
    สำหรับอารมณ์วิปัสสนาญาณจะพึงยกไว้เฉพาะในด้านอนาคามี เพราะเวลานี้ เวลากาลที่จะพูดก็มากเกินไปแล้ว เพราะสัญญาณบอกเวลาปรากฏแล้ว อันดับแรกก็ขอให้จับลมหายใจเข้าออกกับคำภาวนา พยายามตั้งอารมณ์เข้าไว้ว่า ต่อแต่นี้ไปเวลา ๓๐ นาที เราจะไม่ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามายุ่งกับใจของเราเป็นอันขาด นอกจากว่าเราจะทรงสติสัมปชัญญะรู้ลมหายใจเข้าออก รู้คำภาวนาว่า พุทโธ ไว้เป็นปกติ นี่ต้องทำใจให้เข้มแข็ง ทรงอารมณ์อยู่ให้ได้ ถ้าเผอิญพอใจสบายแล้ว เมื่อจิตมันกลับไปคิดก็คิดว่าร่างกายของเรานี่มันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เดี๋ยวมันก็พัง เดี๋ยวมันก็ตาย เราจะยึดถือมันไว้เพื่อประโยชน์อะไร เมื่อร่างกายของเราจะพัง ร่างกายของคนอื่นเราจะปรารถนาเพื่อประโยชน์อะไร แล้วในเมื่อนอกจากร่างแล้วทรัพย์สินทั้งหลายมันก็ไม่มีประโยชน์ แต่ว่าเราต้องทำต้องหาในเมื่อยังต้องกินต้องใช้ ถ้าหากว่าเราจะพึงต้องตายก็ตายไป ไม่เสียดายทรัพย์สิน ไม่เสียดายร่างกาย เราเชื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา แล้วก็พยายามควบคุมศีลให้บริสุทธิ์ เรื่องศีลนี่จะถือว่าจำเป็นขอหลีกเลี่ยง จำเป็นอย่างนั้น จำเป็นอย่างนี้ อันนี้ไม่มีสำหรับนักเจริญสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐาน ต้องถือว่าเป็นปกติของเราเท่านั้นที่เราจะต้องพึงปฏิบัติ ถ้าอย่างนี้อารมณ์ของท่านพุทธบริษัทก็จะเข้าถึงอารมณ์ของพระโสดาบัน อันนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในตอนต้นถ้าเราปฏิบัติไม่ถึงจุดนี้แล้ว ก็เสียทีที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา
    เอาละต่อแต่นี้ไป ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า จงพยายามตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
    คำสอน พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
    S4_Si8N1GD0ZbROiAvZ85ihgaTV-NmoFC&_nc_ohc=z7YmOIxcX9cAX8Cr2ug&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk22-6.jpg
    =AZVPYC3HN2GeBuQlppCwJgfnWm-EZxbXFUeFr6EGs8C2ZldHe8dxfhFlCteV9B2smtGR-FS_3pOgd__DCnTVr_lpWBaFhrXzUYtCji-cwyeujPFI3aVXcOhgl7i8XcHDt3OHCsc4iC83BDKKtDoOWAZfngi-j_1Os5RZ1Nf3E39_KIQtK9Ls6DaTc2KsTsMQB5c&__tn__=EH-R']
    =AZVPYC3HN2GeBuQlppCwJgfnWm-EZxbXFUeFr6EGs8C2ZldHe8dxfhFlCteV9B2smtGR-FS_3pOgd__DCnTVr_lpWBaFhrXzUYtCji-cwyeujPFI3aVXcOhgl7i8XcHDt3OHCsc4iC83BDKKtDoOWAZfngi-j_1Os5RZ1Nf3E39_KIQtK9Ls6DaTc2KsTsMQB5c&__tn__=EH-R']
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    S1u18_hj879xpExb5tFTGlHTStGRl7Smy&_nc_ohc=Q8Ug5jfJRcQAX-69Dgl&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk22-8.jpg


    #ว่าด้วยวิวาทกันเพราะทิฏฐิ

    #ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน
    #และกล่าวอ้างว่านี้เท่านั้นจริง

    #เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่ากิเลสที่เป็นข้าศึกกัน
    #เมื่อวาทะเกิดไม่มีในธรรมวินัยนี้

    ......

    คำว่า ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน อธิบายว่า ชนเหล่าใด จับ ยึด ถือ
    ยึดมั่น ถือมั่น ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิ ๖๒ แล้ว ย่อมวิวาทกัน คือ ย่อมก่อ
    การทะเลาะกัน ก่อการบาดหมางกัน ก่อการแก่งแย่งกัน ก่อการวิวาทกัน ก่อการ
    มุ่งร้ายกัน โดยพูดว่า

    #ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ #เรารู้ธรรมวินัยนี้

    #ท่านจักรู้ธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร

    #ท่านปฏิบัติผิด #เราปฏิบัติถูกต้อง

    #คำของเรามีประโยชน์ #คำของท่านไม่มีประโยชน์

    คำที่ควรพูดก่อนท่านก็พูดทีหลัง คำที่ควรพูดทีหลังท่านกลับพูดก่อน

    #คำที่ท่านใช้เสมอกลับติดขัด #วาทะของท่านเราหักล้างได้แล้ว เราปราบปรามท่าน
    ได้แล้ว ท่านจงเที่ยวไปเพื่อเปลื้องวาทะ หรือหากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด”

    #รวมความว่าชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน

    คำว่า และกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง อธิบายว่า กล่าวอ้าง คือ พูด บอก
    แสดง ชี้แจงว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ ... โลกไม่เที่ยง” ...
    กล่าวอ้าง คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
    จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า และกล่าว
    อ้างว่า นี้เท่านั้นจริง
    คำว่า เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน เมื่อวาทะเกิด ไม่มี
    ในธรรมวินัยนี้ อธิบายว่า เธอจงพูดกับเจ้าลัทธิเหล่านั้น คือ ตอบโต้วาทะด้วยวาทะ
    ตอบโต้การข่มด้วยการข่ม ตอบโต้การเชิดชูด้วยการเชิดชู ตอบโต้ความพิเศษด้วย
    ความพิเศษ ตอบโต้ความพิเศษให้ยิ่งขึ้นไปด้วยความพิเศษให้ยิ่งขึ้นไป ตอบโต้ความ
    ผูกมัดด้วยความผูกมัด ตอบโต้ความผ่อนคลายด้วยความผ่อนคลาย ตอบโต้การตัด
    รอนด้วยการตัดรอน ตอบโต้การขนาบวาทะด้วยการขนาบวาทะ เพราะคนเหล่านั้น
    เป็นผู้กล้าฝ่ายตรงข้าม เป็นคนฝ่ายตรงข้าม เป็นศัตรูฝ่ายตรงข้าม เป็นนักปล้ำฝ่าย
    ตรงข้ามของเธอ รวมความว่า เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า ... ไม่มีในธรรมวินัยนี้
    คำว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน เมื่อวาทะเกิด อธิบายว่า เมื่อวาทะเกิด คือ
    เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏแล้ว กิเลสที่เป็นข้าศึก คือ ที่ขัดแย้งกัน ที่เป็น
    เสี้ยนหนามกัน ที่เป็นปฏิปักษ์กันเหล่าใด พึงก่อการทะเลาะกัน ก่อการบาดหมางกัน
    ก่อการแก่งแย่งกัน ก่อการวิวาทกัน ก่อการมุ่งร้ายกัน กิเลสเหล่านั้น ไม่มี คือ

    ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ แก่พระอรหันต์ ได้แก่ กิเลสเหล่านั้นพระอรหันต์
    ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผา
    ด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน
    เมื่อวาทะเกิด ไม่มีในธรรมวินัยนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
    #ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน
    #และกล่าวอ้างว่านี้เท่านั้นจริง

    #เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่ากิเลสที่เป็นข้าศึกกัน
    #เมื่อวาทะเกิดไม่มีในธรรมวินัยนี้

    [๖๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
    พระอรหันต์เหล่าใด กำจัดเสนาได้แล้ว
    ไม่เอาทิฏฐิไปกระทบทิฏฐิ เที่ยวไป
    พระอรหันต์เหล่าใดในธรรมวินัยนี้
    ไม่มีความถือมั่นสิ่งนี้ว่า ยอดเยี่ยม
    ปสูระเอ๋ย เธอจะพึงได้อะไร ในพระอรหันต์เหล่านั้น

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ขุททกนิกาย มหานิทเทส
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    #พระผู้ทรงฤทธิ์ หลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร
    แห่งวัดถ้ำสหาย จ.อุดรธานี สืบนิสัยทายาทธรรมขององค์ท่านหลวงปู่ชอบ
    พ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปู่ชอบท่านเอ่ยยกย่อง
    ท่านหลวงปู่จันทร์เรียนให้ลูกศิษย์รุ่นน้องฟังว่า
    “ท่านจันทร์เรียนเป็นลูกธรรมเกิดจากอาจารย์อ่อน
    (หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ) เบ่งออกมาในศาสนา
    เฮาเป็นผู้ป้อนนม ป้อนข้าวไห่ใหญ่ (ความหมายคือสอนธรรมให้)
    ลูกศิษย์เฮาฝึกฝนมา ท่านจันทร์เรียนฮู้ธรรมได้เร็วกว่าหมู่
    พระฮู้ธรรมเร็วตอนพรรษาน้อยๆ บ่ถึงสิบ
    มีท่านเจ๊กเจี๊ยะ (หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท) กับท่านจันทร์เรียน”
    _______________________________________________
    หลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร เมตตาบอกถึงการปฏิบัติของท่านให้ฟังว่า
    “เฮาบวชใหม่ๆ ภาวนาพุทโธๆ ในใจเจ้าของ
    พอจิตเฮาลงมีแสงวาบพุ่งเข้ามาทางหน้าต่าง ตำหน่าเฮา (ชนหน้าเรา)
    จากนั่นมาเฮาเห็นเบิ่ดสู่อย่าง (จากนั้นมาเราเห็นหมดทุกอย่าง)
    เปรต ผี นรก สวรรค์ เทวดา หยั่งรู้จิตใจผู้คน ในธรรมสมาบัติ”
    _____________________________________________
    หลวงปูจันทร์เรียนท่านบอกว่า ตอนจำพรรษาแรกกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๖
    หลังหลวงปู่อ่อน ท่านพาพระเณรทำวัตรสวดมนต์เสร็จแล้ว
    หลวงปู่อ่อนท่านจะเทศน์อบรมพระเณรในพรรษา
    หลวงปู่จันทร์เรียนท่านจะเข้าสมาธิกำหนดรู้ว่า
    หลวงปู่อ่อนท่านจะเทศน์เรื่องอะไรในแต่ละวัน
    หลวงปู่จันทร์เรียนท่านจะกำหนดดูหลวงปู่อ่อนอย่างนี้ทุกวันๆ
    วันที่หลวงปู่จันทร์เรียนถูกองค์ท่านหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
    ดักจิตรู้ใจในผู้ทรงภูมิ “พระอรหันต์”
    เตือนสติในความรู้สมาบัติแปดยอดโลกีย์ฌาณของท่าน
    “เรียน เฮาบ่แม่นครูบาอาจารย์ท่านเด้อ จริตโลดโผนอย่างท่าน
    ไห่ไปอยู่กับอาจารย์ท่านอยู่เมืองเลย
    ไห่ท่านไปหาอาจารย์ชอบ บ้านโคกมนเด้อ
    อาจารย์ชอบเพิ่นเป็นอาจารย์สอนธรรมไห่ท่านได้
    จริตโลดโผนอย่างท่านต้องไปอยู่กับผู้โลดโผนอย่างอาจารย์ชอบ
    อาจารย์ชอบเป็นอาจารย์ของท่าน”
    หลังออกพรรษาปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ หลวงปู่จันทร์เรียนท่านกราบลา
    องค์ท่านหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ แห่งวัดป่านิโครธาราม
    เดินทางด้วยเท้าสองวันจากวัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน
    มาที่วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
    ท่านบอก เราเดินทางมาถึงบ้านโคกมนตอนเวลาเย็นๆ
    เห็นองค์ท่านหลวงปู่ชอบปัดตาดกวาดลานวัด เราก้มคุกเข่าพนมมือไหว้ท่าน
    หลวงปู่ชอบพูดกับเราคำแรก “จันทร์เรียนมาแล้วบ้อ
    เฮาว่าสิไปเที่ยววิเวกทางภูเรือ เฮาคอยท่านอยู่สองวัน”
    _______________________________________________
    วันหนึ่งท่านตั้งสัจจะว่า “มึงอยากนอนหลาย กูสิพามึงนอนตายในสมาธิ
    กูสิบ่มามึงพิกคีง (กูจะไม่พามึงพลิกกลับตัว) มึงอยากนอน กูสิพามึงนอนให้สาสม
    กูพลิกโตตอนใด๋ไห่ธรณีสูบกูลงจมแผ่นดินไปอยู่อเวจี กับเทวทัต”
    หลวงปู่จันทร์เรียนบอก ท่านนอนตะแคง
    ในท่า “สีหไสยาสน์” อยู่เจ็ดชั่วโมงโดยไม่กระดิกพลิกตัว
    ท่านว่า หลังผ่านเจ็ดชั่วโมงไปแล้ว
    เวทนาในธาตุขันธ์ของท่านพุ่งขึ้นตั้งแต่ปลายเท้าจรดหัว
    ดั่งไฟเผาร่างทั้งเป็น หรือไม่ต่างอะไรกับภูหลวงทับร่าง
    ท่านว่า เวทนาในกายธาตุของท่านตอนนั้นแทบแตกออกเป็นเสี่ยงจุละผุยผง
    พอเวทนาในกายธาตุแสดงทุกข์ในตัวตน ท่านหมุนจิตเข้าข้างในโดยไม่ออกนอก
    จิตละวางในอุปาทานธาตุขันธ์ทุกอย่าง ปัญญาของจิตไล่ตามนามธรรม
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จนไปพบอวิชชาปัจจยาการ
    จักรพรรดิผู้พาถืออุปาทาน หลงเกิด หลงตาย
    มหาสติ มหาปัญญาของท่านก็ตัดสิ้นในภพชาติกันลงทันที
    จิตแสดงภูมิสว่างไสวในธรรมธาตุ มีอภิญญาเป็นเครื่องประดับจิต
    หลวงปู่จันทร์เรียนท่านสำเร็จธรรมเป็น “พระอรหันต์ดอกบัวบานผู้เลิศฤทธิ์”
    สืบนิสัยทายาทธรรม “พระอรหันต์ผู้ทรงฤทธิ์” ขององค์ท่านหลวงปู่ชอบ
    ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ อย่างไม่มีลูกศิษย์ท่านใดเสมอเหมือน
    ในบรรดาสายทายาทธรรมขององค์ท่านหลวงปู่ชอบ
    ^
    ^
    ^
    (บันทึกโดย อดีตครูบากล้วย - พระวีระศักดิ์ ธีรภัทโท พ.ศ.๒๕๓๖)
    oYOaFOBxsddx1t710dVrg4VvQcFk8IM_ir&_nc_ohc=AsAF0i-NxFQAX-DRkpt&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk2-3.jpg
    =AZVrQlJxbn3n-9_ujrk7aeG7iE2Me2luWgqG4CLcsASwTVE6JeX-7aIOp1CYvC4E-2UmLJMTpIhyNUrrpOY9JyBqMR784AkWqS6H7heJar9aLxXPRZhvwdp2m_rpgTk5Wevvwxgo4Kw6L4yovyou1rjNf15AcgD8SmTXLwm4dhVMVvLxrI4jFdXuvgBUx3y3uCA&__tn__=*bH-R']
    =AZVrQlJxbn3n-9_ujrk7aeG7iE2Me2luWgqG4CLcsASwTVE6JeX-7aIOp1CYvC4E-2UmLJMTpIhyNUrrpOY9JyBqMR784AkWqS6H7heJar9aLxXPRZhvwdp2m_rpgTk5Wevvwxgo4Kw6L4yovyou1rjNf15AcgD8SmTXLwm4dhVMVvLxrI4jFdXuvgBUx3y3uCA&__tn__=*bH-R']

    cv3O6EY0F_5RB7Lz5mR7eWRiZrZA3MesFG&_nc_ohc=VLlhsDbH1s4AX_0BaIm&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk2-3.jpg
    =AZVrQlJxbn3n-9_ujrk7aeG7iE2Me2luWgqG4CLcsASwTVE6JeX-7aIOp1CYvC4E-2UmLJMTpIhyNUrrpOY9JyBqMR784AkWqS6H7heJar9aLxXPRZhvwdp2m_rpgTk5Wevvwxgo4Kw6L4yovyou1rjNf15AcgD8SmTXLwm4dhVMVvLxrI4jFdXuvgBUx3y3uCA&__tn__=*bH-R']
    =AZVrQlJxbn3n-9_ujrk7aeG7iE2Me2luWgqG4CLcsASwTVE6JeX-7aIOp1CYvC4E-2UmLJMTpIhyNUrrpOY9JyBqMR784AkWqS6H7heJar9aLxXPRZhvwdp2m_rpgTk5Wevvwxgo4Kw6L4yovyou1rjNf15AcgD8SmTXLwm4dhVMVvLxrI4jFdXuvgBUx3y3uCA&__tn__=*bH-R']

    =AZVrQlJxbn3n-9_ujrk7aeG7iE2Me2luWgqG4CLcsASwTVE6JeX-7aIOp1CYvC4E-2UmLJMTpIhyNUrrpOY9JyBqMR784AkWqS6H7heJar9aLxXPRZhvwdp2m_rpgTk5Wevvwxgo4Kw6L4yovyou1rjNf15AcgD8SmTXLwm4dhVMVvLxrI4jFdXuvgBUx3y3uCA&__tn__=*bH-R'] p05SBRnZt3nFyq&_nc_ohc=kXtIQUoPTsQAX-_pHWx&tn=6cH58Tvc5DnXEYO9&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk2-4.jpg
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    อักขระ เลขยันต์รอยสัก บนแผ่นหลัง
    พระเกจิรัตตัญญู หลวงปู่ อายุยืน 115 ปี
    แห่งอิสานใต้
    เป็นยันต์ตารางยันต์ เฉพาะครูบา ญาท่าน ทางฝั่งลาว ยันต์บนแผ่นหลังหลวงปู่ นี้คือ อักขระพระ
    ยันต์ ตรีนิสิงเห 2 ชั้น พิศดาร คล้ายยันต์ เกราะเพชร ตามสายวิชา พระเวทย์ลุ่มแม่น้ำโขง ฝั่งลาว
    เป็นตัวธรรมล้านช้าง
    ซึ่งแกะยากพอสมควร แต่แปลเป็นไทยได้
    สุดยอดวิชานี้ไม่ธรรมดาแน่นอน เป็นยันต์ที่มีพลังพุทธคุณ อานุภาพสูงมาก เพราะ พระยันต์ตรีนิสิง
    ตัวยันต์ส่วนมากเป็นตัวเลข แทนคุณพระพุทธเจ้า
    เป็นยันต์ครูใหญ่ แห่งยันต์ทั้งปวง มีคุณทางด้าน
    เมตตามหานิยม แคล้วคลาด ปัดป้อง สิ่งอัปมงคล
    เสนียดจัญไร ที่สำคัญยังช่วยหนุนนำดวงชะตา มิให้ตกต่ำอีกด้วย
    เมื่อมียันต์แล้วนี้ ต้องเป็นคนมีศีล5 ประพฤติตนเป็นคนดี
    ความศักดิ์สิทธิ์ อยู่ที่ ทาน ศีล ภาวนา
    พุทธคุณแห่งพระยันต์แสดงนี้ จะให้เห็น
    เด่นชัดขึ้น เป็นประจักษ์

    หลวงปู่ทอง ปภากโร วัดบ้านคูบ อายุ115 ปี
    อ.น้ำเกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ

    Cr:เจ้าของภาพ

    ?temp_hash=b8bad8242317a2f27310b5f0e69da11d.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    *สมาธิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แปลกและพิสดารมาก **
    ทั้งขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ
    คือขณะจิตรวมเป็น "ขณิกสมาธิ" แล้วตั้งอยู่ได้ขณะเดียว.แต่มิได้ถอนออกมาเป็นจิตธรรมดาหากแต่ถอนออกมาสู่ "อุปจารสมาธิ" แล้วออกรู้สิ่งต่าง ๆ ไม่มีประมาณ
    "บางครั้ง" เกี่ยวกับพวกภูตผี เทวบุตร เทวธิดา พญานาคต่าง ๆ นับภพนับภูมิได้ที่มาเกี่ยวข้องกับสมาธิประเภทนี้
    ซึ่งท่านใช้รับแขกจำพวก มีรูปไม่ปรากฏด้วยตามีเสียงไม่ปรากฏด้วยหู มาเป็นประจำ
    บางครั้งจิตก็เหาะลอยออกจากกายแล้วเที่ยวชมสวรรค์วิมานและพรหมโลกชั้นต่าง ๆ และลงไปเที่ยวดูภพภูมิของสัตว์นรกที่กำลังเสวยกรรมมีประเภทต่างกันอยู่ที่ที่ทรมานต่าง ๆ กันตามกรรมของตน
    "ส่วนอุปจารสมาธิ" ของท่านรู้สึกเริ่มเกี่ยวพันกันกับขณิกสมาธิมาแต่เริ่มแรกปฏิบัติ เพราะจิตท่านเป็นจิตที่ว่องไวผาดโผนมาดั้งเดิม เวลารวมลงเพียงขณะเดียวที่เรียกว่าขณิกสมาธิ ก็เริ่มออกเที่ยวรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในวงของอุปจาระ จนกระทั่งท่านมีความชำนาญและบังคับให้อยู่กับที่หรือให้ออกรู้ รู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ก็ได้แล้ว จากนั้นท่านต้องการจะปฏิบัติต่อสมาธิประเภทใดก็ได้สะดวกตามต้องการ คือจะให้เป็น "ขณิกะ" แล้วเลื่อนออกมาเป็น "อุปจาระ" เพื่อรับรู้สิ่งต่าง ๆ หรือจะให้ "รวมสงบลงถึงฐานสมาธิ" อย่างเต็มที่. ที่เรียกว่า "อัปปนาสมาธิ" แล้ว "พักอยู่ในสมาธินั้น" ตามต้องการก็ได้
    "อัปปนาสมาธิ" เป็นสมาธิที่สงบละเอียดแนบแน่นและเป็นความสงบสุขอย่างพอตัว ผู้ปฏิบัติจึงมีทางติดสมาธิประเภทนี้ได้ ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเล่าว่า ท่านเคยติดสมาธิประเภทนี้บ้างเหมือนกัน แต่ท่านเป็นนิสัยปัญญาจึงหาทางออกได้ ไม่นอนใจและติดอยู่ในสมาธิประเภทนี้นาน ผู้ติดสมาธิประเภทนี้ทำให้เนิ่นช้าได้เหมือนกัน ถ้าไม่พยายามคิดค้นทางปัญญาต่อไป นักปฏิบัติที่ติดอยู่ในสมาธิประเภทนี้มีเยอะแยะ เพราะเป็นสมาธิที่เต็มไปด้วยความสุข ความเยื่อใยและอ้อยอิ่งน่าอาลัยเสียดายอยู่มาก. ไม่คิดอยากแยกตัวออกไปทางปัญญา. อันเป็นทางถอนกิเลสทั้งมวล ถ้าไม่มีผู้ฉลาดมาตักเตือนด้วยเหตุผลจริง ๆ จะไม่ยอมถอดถอนตัวออกมาสู่ทางปัญญาเอาเลย
    เมื่อจิตติดอยู่ในสมาธิประเภทนี้นานไป อาจเกิดความสำคัญตนไปต่าง ๆ ได้ เช่น สำคัญว่านิพพานความสิ้นทุกข์ ก็ต้องมีอยู่ใน "จุดแห่งความสงบสุขนี้" หามีอยู่ในที่อื่นใดไม่ดังนี้
    ความจริง "จิตที่รวมตัวเข้าเป็นจุดเดียว" จนรู้เห็น "จุดของจิตได้" อย่างชัดเจนและรู้เห็นความสงบสุขประจักษ์ใจในสมาธิขั้นอัปปนานี้ เป็นการ "รวมกิเลสภพชาติอยู่ในจิตดวงนั้นด้วย"
    ในขณะเดียวกันถ้าไม่ใช้ปัญญาเป็นเครื่องบุกเบิกทำลาย ก็มีหวัง "ตั้งภพชาติอีกต่อไปโดยไม่ต้องสงสัย"
    ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติในสมาธิขั้นใดก็ตาม ปัญญาจึงควรมีแอบแฝงอยู่เสมอตามโอกาสที่ควร เฉพาะอัปปนาสมาธิด้วยแล้ว ควรใช้ปัญญาเดินหน้าอย่างยิ่ง ถ้าไม่อยากรู้อยากเห็นจิตที่มีเพียงความสงบสุขอยู่อย่างเดียว ไม่มีความฉลาดรอบตัวเลยเท่านั้น
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถร
    วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร
    จากบันทึก หลวงปู่หลุย จันทสาโร

    https://web.facebook.com/JD.PHADANG/
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ถาม : สามีเป็นชาวต่างชาติย้ายกลับมาอยู่เมืองไทย ครั้งแรกที่เขาฝัน คือ เห็นเรือสำเภาหลังใหญ่ มีคนสี่คนอยู่บนเรือมาชวนเขาไป เขาตกใจ เขาไม่ไป ?
    ตอบ : เขาทำอะไรด้วยตัวเองได้ไหม ? หรือว่าต้องช่วยเขาตลอด ? (ช่วยตัวเองไม่ได้) ไม่ได้ใช่ไหม ? ยังต้องประคับประคองไป มีอยู่รายหนึ่งเกิดมาก็นอนติดพื้นอยู่ตลอด เหมือนเกิดมาเขาเป็นอย่างนั้นเลย สมองทำงานไม่สมบูรณ์ พ่อแม่เลี้ยงดูอยู่ ป้อนข้าวป้อนน้ำอยู่ ๑๗ ปีถึงจะไป ใจของพ่อแม่เขาสุดยอดเลย พ่อแม่เขาคิดว่า เขาเกิดมาก็ลำบากพอแล้ว ฉะนั้น...#เราสามารถช่วยอำนวยความสะดวกอะไรเขาได้ก็ทำไป #บุญกุศลเป็นของเราด้วย
    ถาม : ครั้งที่สองเขาฝันว่า มีชายมาสี่คนหอบตะกร้ามา แล้วชวนเขาไปด้วย ชายในฝันบอกว่าจะหาบไป เขาก็บอกว่า "พอดีเมียฉันบอกว่า ถ้ามีใครชวนไปอยู่ด้วยไม่ให้ไป" รอบที่สามเขาก็ฝันว่า มีคนร้อยกว่าคนมาเล่นอยู่ตรงหน้า มาชวนเขาไปอยู่ด้วย เขาก็บอกว่า "เมียสั่งไม่ให้ไป"
    ตอบ : ต้องบอกว่าคุณูปการยังมีอยู่ #ถ้าไม่มีอาจจะตายไปหลายรอบแล้ว ถ้าไปกับเขาก็คือไปเลย #บอกเขาว่าให้ปล่อยชีวิตสัตว์ #โดยเฉพาะที่เขาขายให้ฆ่า อย่างพวกปลาในตลาด เป็ดไก่ก็ได้ ถ้ามีเงินหน่อยหมูหรือวัวควายก็ได้ #เป็นการต่อชีวิต #ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเขาก็มาอีก
    ถาม : จำเป็นต้องหลายตัวไหมคะ ?
    ตอบ : ไม่จำเป็น ครั้งละตัวสองตัวก็ได้ อย่างเช่นปล่อยปลา แต่ให้เขาปล่อย #ถ้าเป็นไปได้พาเขาไปปล่อยเองเลย อุตส่าห์รอดมาได้รอบสองรอบเพราะความเชื่อเมีย สุดยอดจริง ๆ ต้องให้รางวัลสามีดีเด่น มีคนมาชวนไปอยู่ด้วย ๓ ครั้ง ๔ ครั้งก็ไม่ไป #เพราะว่าเชื่อเมียก็เลยรอดมาได้ ต้องบอกว่าน่ารักสุด ๆ สามีแบบนี้เกิดใหม่ก็หาไม่ได้อีกแล้ว
    เก็บตกจากบ้านเติมบุญ ต้นเดือนเมษายน ๒๕๖๑
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    #การจิตแยกจากอารมณ์

    การแสดงบทบาทออกไปนี่ (แสดงอาการโกรธแต่ภายนอก แต่จิตภายในไม่ได้กระเพื่อมด้วยความโกรธ) มันคล้ายๆ กับว่ามารยา ของจิต เช่นอย่างเราสอนคนที่มันปัญญาทื่อหน่อย มันไม่จำ มัน ไม่เข็ด มันไม่หลาบ ก็อย่างที่เขาว่าหลวงปู่มหาบัวดุนั่นแหละ แบบเดียวกัน(อาการปีติในสมาธิ) บางทีมันน้ำตาไหล มันร้องไห้เป็น เสียงออกมาจริงๆ แต่ว่าตัวร้องไห้มันก็ร้องไป ตัวนิ่งมันก็นิ่ง ลักษณะของมันจะเป็นอย่างนั้น อันนี้เรียกว่า จิตมันรู้ทันปีติ รู้ทันอารมณ์ ปีติก็คืออารมณ์ ทีนี้ในเมื่อมีอะไรรุนแรงขึ้นมา มันก็แยกตัวพั้บ คล้ายๆ กับว่ามันท้าทายว่า อยากร้องก็ร้องไปสิ ไม่ใช่เรื่องของฉัน ทีนี้ตัวจิตใต้สำนึกมันก็นิ่งเฉย
    อันนี้หลวงพ่อเคยร้องไห้มาแล้ว ไปสวดมนต์ในวังครั้งแรก พอไปถึงแก่งคอย ก็ไปนึกถึงว่าพ่อตายอยู่ที่ไหน จะกำหนดจิตอุทิศส่วนกุศลให้พ่อสักหน่อย พอกำหนดไปพั้บ มองไปข้างหน้าสายตามันพร่า แล้วก็เห็นตาแก่คนหนึ่งแบกเด็กน้อยลอยผ่านหน้าไป พอลับสายตาไป จิตสำนึกก็คิดว่า พ่อแบกเรามาตั้งแต่เด็ก แล้วมันก็ร้องไห้สะอึกสะอื้นขึ้นมาทันที คนที่นั่งมาในรถเขาก็ถามว่า หลวงพ่อเป็นอะไร ก็ตอบเขาว่าเฉยๆ เดี๋ยวก็รู้ พออาการ
    อย่างนั้นหายไป ก็เล่าให้เขาฟัง
    ปีติมันเกิดจากกายต่างหากเล่า เช่นอย่างเรามีเรื่องขำขันนี่ เราหัวเราะจนไส้ขดไส้แข็ง เราเมื่อยเกือบตาย เราไม่อยากหัวเราะ แต่มันก็อดไม่ได้
    นั่นคือความเป็นเองของร่างกาย อันนี้มันได้หลักมาจากว่า ภายในตัวของเรานี่ สมองเป็นผู้สั่งกาย กองบัญชาการในสมองที่มันสั่งการออกมานี่ ให้ร่างกายมันเตี้ย ให้ร่างกายมันโต ให้ร่างกายมันสูงโย่งอย่างพระสูงที่วัดสะพานสูง อันนี้เป็นเรื่องของสมองทั้งนั้น ทีนี้สมองอันนี้ คำสั่งของสมองอยู่ที่จิตดวงนี้ ทางหลักของการสะกดจิตเขาเรียกว่า " จิตอิสระ "
    จิตอิสระดวงนี้คอยบังคับดูแลและใช้เครื่องจักรกลไกต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานให้แก่เราอย่างตรงไปตรงมา
    ถ้าพูดถึงเรื่องจิตและสรีรศาสตร์ ฝรั่งเขาศึกษาได้ละเอียดกว่าเรา ของเราศึกษาแต่ด้านจิตด้านเดียว แต่เรื่องสรีรศาสตร์ไม่ได้ศึกษา ก็เพียงแต่เพ่งอาการ ๓๒ แต่ไม่ได้ตีความหมายว่าอะไรเป็น อะไรมีประโยชน์อย่างไร ความคิดอะไรนี่ เราก็ถือว่ามาจากจิตอย่างเดียว แต่จิตอย่างเดียวมันคิดไม่เป็น ต้องอาศัยประสาททางสมอง เราจะรู้แจ้งเห็นชัดต่อเมื่อเราเข้าสมาธิแล้วร่างกายตัวตนหายไป จิตมันก็ได้แต่นิ่งอยู่เฉยๆ จิตที่นิ่งอยู่เฉยๆ นี่มันรู้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้เหมือนกัน แต่มันพูดไม่เป็น แต่พอมาสัมพันธ์กับ
    ร่างกายพั้บ พอรู้เห็นอะไร มันจะพูดออกมาทันทีว่าอะไรเป็นอะไร
    เทศนาธรรม ท่านเจ้าคุณพระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
    วัดวะภูแก้ว อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
    FB : หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    Fmu8GFoCGB-Vku6Wi66zoMEY_uQFAStqE&_nc_ohc=Nupr-euvHLQAX_mwWfr&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk22-6.jpg
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    #คนไทยเป็นบุคคลที่โชคดีที่สุดในโลก
    เรื่องอริยบุคคลนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นปรารภไว้หลายสถานที่ หลายวาระ ต่างๆ กัน แล้วแต่เหตุ ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า ชาวพุทธมีหลายประเทศ แต่จะขอกล่าวเฉพาะใกล้เคียง เขมร ลาว เวียดนาม และพม่า นอกนี้ไม่กล่าว
    ท่านพระอาจารย์มั่นบอกว่า “เราไม่ได้ว่าเขาเหล่านั้นแต่ได้พิจารณาแล้ว ไม่มีก็ว่าไม่มี มีก็ว่ามี”
    ท่านพระอาจารย์มั่นหมายถึง พระอริยบุคคลในประเทศเหล่านี้ มีที่ประเทศพม่าเพียงคนเดียว คือ หมู่บ้านที่ท่านไปจําพรรษา เป็นผ้าขาว ที่ผู้เล่าเคยเล่าว่า บุตรสาว บุตรเขย และบุตรชายของตาผ้าขาวคนนั้นละ ที่มาจัดเสนาสนะของบิดาเขาถวายท่านพระอาจารย์มั่น และท่านเจ้าคุณบุญมั่น มนฺตาสโย ครั้งจําพรรษาที่ประเทศพม่า ท่านพระอาจาย์มั่นว่า “ยกเว้นสยามประเทศแล้วนอกนั้นไม่มี”
    “สําหรับสยามประเทศ ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน มีติดต่อมาโดยไม่ขาดสาย ทั้งคฤหัสถ์ชายหญิงและบรรพชิต แต่มรรคขั้นต้นคฤหัสถ์มากกว่า ทั้งปริมาณและมีสิกขาน้อยกว่า”
    ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าต่อไปว่า เราไม่ได้ว่าเขา เราไม่ได้ดูหมิ่นเขา เพราะประเทศเหล่านั้น ขาดความพร้อม คือคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น เรื่องอักขระ ที่ไม่เป็นพุทธภาษา คือ ฐานกรณ์วิบัติ และ องค์ประกอบอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ องค์พระมหากษัตริย์ของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนานี้ก็สําคัญ ขาดไม่ได้ ถ้าขาดไป อริยบุคคลก็ขาดไปด้วย
    ท่านพระอาจารย์มั่นว่า เมื่อพระพุทธเจ้าจะทรงประกาศพระศาสนา ทรงหาหลักค้ำประกันอันมั่นคง คือ มุ่งไปที่พระเจ้าพิมพิสาร ความสําคัญอันนี้มีมาตลอด หากประเทศใด ไม่มีองค์ประกอบนี้ ซึ่งเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก ก็ปฏิเสธได้เลย
    เปรียบเหมือนกับก้อนเส้า ๓ ก้อน
    ก้อนที่ ๑ คือ ความเป็นชาติ
    ก้อนที่ ๒ มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
    ก้อนที่ ๓ มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก
    หากขาดไปก้อนใดก้อนหนึ่ง ก็จะขาดความสมบูรณ์ไป ไม่สามารถจะใช้นึ่งต้มแกง หุงหาอาหารได้
    #ความสมบูรณ์พร้อมของประเทศไทย
    ท่านพระอาจารย์มั่นว่า “ความเป็นคนไทยพร้อม” พร้อมอย่างไร ท่านจะอ้างอิงตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงสมัยปัจจุบัน ทั้งภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ พระไตรปิฎกพร้อมมูล ประเทศไทย ไม่เคยอดอยากหิวโหยตาย ตั้งแต่ยุคสุโขทัยถึงปัจจุบัน ประเทศไทยไม่เคยว่างเว้นจากพระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ไทย ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก ทุกยุค ทุกสมัย ชาวไทยศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ถวายจตุปัจจัยพระสงฆ์ทุกวัน นับมูลค่าไม่ได้
    ทําไมคนไทยจึงมีกินมีใช้ มิใช่บุญหรือ บุญมีจริงไหม มีข้าวกล้าในนางาม ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ในป่ามีไม้ มีปลาในน้ำ มีสัตว์บนบก มีนกในอากาศ มิใช่บุญเกิดจากการถวายทานพระสงฆ์ในแต่ละวันหรือ
    ความเป็นคนไทย นับถือพระพุทธศาสนา เข้าสู่พุทธวงศ์ (หรือเข้าสู่วงจรชาวพุทธ) มิใช่เป็นของได้ง่ายๆ ท่านพระอาจารย์มั่นเลย ยกพุทธภาษิตที่มาจากคัมภีร์พระธรรมบท ขุททกนิกายว่า
    กิจฺโฉ มนุสสปฏิลาโภ กิจฺจํ มจฺจานชีวิตํ
    ภาษิตที่ยกมานั้น ท่านเอามงคลสูตรมากล่าว ตั้งแต่ อเสวนาเป็นต้นไป จนถึง ผุฎฐสฺส โลกธมฺเมหิ ฯลฯ เป็นอวสาน มงคลที่ท่านเป็นพิเศษ คือ บท ๒ ปฏิรูป เทสวาโส ฯลฯ บท ๓ และ บท ๔ ทานญฺจ ฯลฯ อนวชฺชานิ กมฺมานิ เพราะ ๔ บทนี้ เป็นพื้นฐาน ของมงคลทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องปฏิรูปเทสนี้ สําคัญมาก ท่านดูจะหมายเอาประเทศไทย โดยเฉพาะ
    พอท่านอธิบายจบแต่ละมงคล ก็จะเป็นบาลี ว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ถึง ๓ ครั้ง และเป็นภาษาไทยว่า เป็นความเจริญอันอุดมเลิศ เป็นความเจริญอันอุดมเลิศ เป็นความเจริญอันอุดมเลิศ ถึง ๓ ครั้ง
    ครั้งสุดท้าย พอขึ้น ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ นั่นละ ถึงเป็นมงคลถึงที่สุด คือ พระนิพพานเลย
    ธรรมเทศนาของท่านพระอาจารย์มั่น มักจะยกการทํานามาเป็นเครื่องอุปมาอุปไมย เปรียบเทียบเกือบจะไม่ว่างเว้นเลย และอธิบายเรื่องการทํานาได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนมาก คงจะได้พบในมุตโตทัย
    ผู้เล่า(หลวงตาทองคำ จารุธมฺโม) จะนํามาเล่าเท่าที่จําได้ เช่น การปฏิบัติธรรมถูกก็ถูกมาแต่ต้น ท่านพระอาจารย์มั่น หมายถึง ผู้ปฏิบัติคือ ไม่ลืมคําสอนที่พระอุปัชฌาย์สอนไว้แต่วันบวช การทํานาก็เหมือนกัน ถูกมาตั้งแต่ต้น ฮวงเม่าจึงมี ผิดมาตั้งแต่ต้น ฮวงเม่าบ่มี คําเหลือง สร้อยซิเป็นฮอยหิห่ำ ข้าวก่ำ เป็นข้าวพั้ว งัวสิให้ต่อควาย คํานี้ท่านเปรียบผู้เรียนรู้มาก แล้วลาสิกขาออกไป เปรียบด้วยข้าวในนาจวนจะสุกอยู่แล้ว เลยถูกหนอนคอรวง กัดกินเสียหายหมด เลยไม่ได้กินสูญเปล่า
    #การเกิดในแผ่นดินไทยโชคดีที่สุด
    ความเป็นคนไทย และได้เกิดในผืนแผ่นดินไทยโชคดีที่สุด เพราะว่า การพลัดเข้ามา สู่วงศ์พระพุทธศาสนา จะต้องอยู่ในมนุสสธรรมหรือเทวธรรม ท่านว่าอย่างนั้น
    คําว่า โชคดีที่สุด หมายความว่า ตราบใดที่ประเทศไทยยังมีพระอริยบุคคล ตราบนั้น จะไม่ฉิบหายด้วยภัยแห่งสงคราม ตามที่ปรากฏมาแล้ว ในสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ไทยชนะ ครั้งที่ ๒ ไทยก็ชนะ สู้กับคอมมิวนิสต์ เพื่อนบ้านเป็นคอมมิวนิสต์ไปหมด แต่ไทยชนะ ท่านพระอาจารย์มั่น ยังเล่าอีกว่า ทีนี้ทําไมคนทั้งหลาย ทั้งฆราวาสและบรรพชิต จึงไม่ค่อยจะได้บรรลุเป็นโสดาบัน สกิทาคามี ก็เพราะความปรารถนาไม่พอ
    ท่านพระอาจารย์มั่นว่า เราอยู่อย่างนี้มีพอได้กินได้ใช้ คนบ้านนอกบ้านนา เขาก็มีข้าวในยุ้ง ไม่มีปัญหาอะไร กับข้าวก็พากันไปหาปลาตามหนองคลองบึง ผู้อยู่ในบ้านในเมืองใหญ่ เขาก็มีการมีงาน มีเงินมีทอง คนเหล่านี้ล่ะ ติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เท่าที่ตนได้รับในแต่ละวัน ๆ ถึงแม้จะไม่ร่ำไม่รวย แต่เรียกว่าอยู่ได้ไปได้
    การนับถือพระพุทธศาสนานั้น ก็มีทั้งนับถือภายนอกบ้าง ภายในบ้าง การบํารุงศาสนาภายนอก เช่น ในสมัยพุทธกาลก็มี พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น ฝ่ายฆราวาสก็มี ท่านอนาถบิณฑิกะ และนางวิสาขา เป็นต้น ท่านได้เสียสละทรัพย์สร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า ทนุบํารุงพระสงฆ์สาวกทั้งปวง
    การบํารุงศาสนาภายในก็คือ การทำทานให้เป็นทานเลิศ ทำศีลให้เป็นศีลเลิศ ทำสมาธิให้เป็นสมาธิยิ่ง ทำปัญญาให้เป็นปัญญายิ่ง เมื่อทำได้อย่างนี้แล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นบอกว่า อะไรจะเกิด ก็คุณวิเศษในพระพุทธศาสนาน่ะซี ไม่ใช่ของยาก และก็ไม่ใช่ของง่าย เราทําได้ อานิสงส์ของทาน ศีล ภาวนา และสติปัญญาของเราน่ะ จะเป็นพลังเสริมสร้างจิตของเรา ให้เป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาได้
    คัดลอกจากหนังสือ รำลึกวันวาน เกร็ดประวัติ ปกิณกธรรมและพระธรรมเทศนา ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร โดย หลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ (อดีตพระอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น) ; หน้า ๒๕๕ – ๒๕๘ ; พิมพ์เมื่อ พฤษภาคม ๒๕๔๗ (หนังสือเล่มนี้ถูกนำมาตีพิมพ์ใหม่เพื่อแจกเป็นธรรมทาน สามารถขอรับได้ที่วัดป่าดานวิเวก จ.บึงกาฬ)
    #๑๕๐ปีชาตกาลท่านพระอาจารย์มั่น_ภูริทตฺตเถร
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...