ความคิด ทางออกเดินของปัญญา ? ใครไม่คิดเลยผมไม่อยากเชื่อ !!

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 8 ตุลาคม 2011.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
     
  2. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023

    ยังไงคือหลงคิด ?
    ดับที่ต้นเหตุ ของพี่เจ๋ง คืออุปทาน และสักกายทิฐิ ใช่รึป่าวครับ หรือว่ายังไง ?
    และ วิธีแก้ คือ ให้รู้ลงในลักษณะของรูป นาม ในความเป็นธรรมที่ปรากฏ หรือครับ ?

    แหม๋ เข้าใจยากครับ มีง่ายกว่านี้ป่าวครับ :cool:
     
  3. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023

    สรุปว่าต้องคิดใช่รึป่าวครับ
    แต่ ให้คิดให้เป็นประโยชน์ ตนและผู้อื่น
    ถ้าผมเข้าใจความหมายผิดเพิ่มเติมด้วยครับ
     
  4. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ต้องคิด...
    แต่..ให้คิดในวงกาย เพื่อแยกขันธ์5 เพื่อตัดอุปทาน เป็นเหตุให้ละสักกายทิฐิ ตามตำราและลัดับธรรมแบบนี้ใช่รึป่าวครับพี่สับสน

    ปฏิเวธนี่ ถ้าถามความคิดผม
    คาดเอาจากตำราว่า... สักว่ารู้ ไม่เกาะเกี่ยว ยึดเหนี่ยว ยินดี ยินร้าย น่าจะผลมาจาก ความคิด..จนรู้...ลงใจ....ยอมรับสัจจะความจริงทุกแง่ทุกมุม.....ไม่ว่าผัสสะเดิมที่เคยเกิดมาแล้ว ผัสสะใหม่ ใจก็รับกันทันที ไม่คิด ไม่ยึดถือเป็นอารมณ์ เพราะเข้าใจยอมรับได้แล้ว

    เช่นถ้าผมเคยคิดเรื่องเวทนากายจบ...ก็เมื่อโดนเวทนากายเสียดแทงแง่ไหน มุมไหน ก็ไม่เห็นว่าไง...ก็เวทนากาย จิตก็ไม่ว่าไง..รู้อยู่..แยกจากกันเป็นปรกติแบบนี้ รึป่าวครับ ? งงครับ พี่สับสนแนะนำต่อด้วย :'(
     
  5. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ขอบคุณที่แนะนำครับ
    รับไปพิจารณาครับ

    ไม่ทราบว่าเข้าใจวิธีการพี่ออมศีลถูกรึป่าว
    ความคิดเป็นปรกติอยู่แล้ว แต่ให้ฝึกหยุดคิดให้ได้ด้วยสติ ก่อนเป็นการซ้อมรบเพื่อการรับมือและไม่ให้เผลอ เพื่อการคิดแบบมีสติ
    ถ้าเข้าใจไม่ตรงที่ต้องการสื่ออธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ
     
  6. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ต้องเรียกว่าเข้าใจมากกว่าครับ เพราะเป็นการไม่ต้องคิดครับ

    เหมือนคนที่ทำงานมานานย่อมทำได้เลยไม่ต้องคบคิดให้มากความครับ
     
  7. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    สรุปแว่

    คิดให้รู้ว่าคิด แต่อย่าไปหลงเรื่องราวของความคิด

    รู้ที่เหตุเกิดคิด เพื่อคลายความยึดมั่น เห็นผิด

    หมายถึง ขณะนี้อารมณ์กระทบเกิดจากทวารใด อายตนะใด

    เช่น "นึกถึงเหตุการณ์ ตอนที่รักกัน มันยังอินในหัวใจ "

    กรณีนี้เกิดทางมโนทวาร ก็รู้ที่ความรู้สึกมโนทวาร

    ขณะรู้ กับขณะคิดเป็นคนละขณะ

    ความรู้สึกคิดมีจริง แต่ เรื่องราวในความคิดไม่มีจริง

    เป็นปัญญา นามแยกนาม

    ที่จำได้เป็นเรื่องราว ลักษณะคน สัตว์ สถานที่ เป็นกิจ หน้าที่ของ สัญญาขันธ์ เกิดมาแว็บนึงแล้วดับไป

    ทีนี้ สังเกตุความรู้สึก ชอบไหม อยากไหม พอใจไหม เป็นลักษณะโลภะ

    รู้สึกตัวไหม หลงไหม ไม่รู้ว่าคิดไหม เป็นลักษณะโมหะ

    รู้สึกเสียใจ รู้สึกหดหู่ ไม่พอใจ เป็นลักษณะโทสะ

    เป็นปัญญา รู้ลักษณะกิเลสสังขารปรุงแต่ง

    ปัญญาเกิด จะเห็นเป็นปัจจัยเกิดดับ ของขันธ์๕

    ในแต่ละกิจ หน้าที่ของขันธ์๕นั้น สังเกตุดีๆมีใครเป็นเจ้าของธรรม หรือ มีความเป็นเราจริงหรือไม่

    ที่กล่าวทั้งหมดเป็นเพียงสัญญานะครับ ฟังเหมือนยากๆ

    แต่ถ้าค่อยๆรู้ลงลักษณะที่ปรากฏในปัจจุบัน ก็จะเข้าใจทีละนิด
     
  8. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ความคิด ก็คือ จิตสังขาร

    จิตสังขาร เกิดจากอะไร

    เกิดจากเราปรุง หนะใช่ แต่ อย่าโง่ คิดว่า การปรุงนั้น มีเฉพาะในปัจจุบัน
    เท่านั้นที่ทำให้จิตสังขารเกิด

    คือ หากบุญทำกรรมแต่งมาแต่ไหนแต่ไร หรือแม้แต่ คนอื่นเขาทำบุญทำกรรมแต่ง
    ของเขาอยู่แต่ วาสนามันเนื่องกัน ไอ้แบบนี้เป็น จิตสังขาร ที่เกิดจาก "วิบาก"

    ไม่มีใครห้ามการให้ผลของวิบากได้

    ดังนั้น

    มึงทำสมาธิให้ตายยังไง แต่หาก จิตสังขาร หรือ สังขาร มันจะให้ผล
    ก็หนีไม่รอด ทำสมาบัติ8ได้ ความคิดหยุดหมด แต่ นู้น ไปเดินเล่นใน
    ป่าหิมพานต์นู้น แล้วความคิดมันหยุดตรงไหน ในสมาธิความคิดมันหยุด
    ที่ไหนกันเล่า !!?

    แปลว่า สมาธิแนบแน่นแค่ไหน ความคิด ความฝัน นิมิต ห่าเหวอะไร
    มันก็เกิดในสมาธิได้

    แล้วมันมาจากไหนหละ ไหนหละ หยุดคิดด้วยสมาธิ อย่าโง่ คิดว่าอะไร
    ควบคุมได้อยู่เลย

    มารู้ทุกขสัจจของจิต ให้มันชัดๆ ดูให้ชัดๆ ดูให้เห็นว่า "หนีไม่ได้" ไอ้ที่
    ว่าหยุดคิดหนะ เขาทำเพื่อเข้าไปเห็นว่า ท้านที่สุดมันจะมี "คิด" ที่มาจาก
    ไหนไม่รู้

    จะมาจากไหนเล่า ก็มาจาก วิบากในอดีต หรือไม่ก็มาจาก คนอื่นเขาทำ
    แล้ววาสนามันเนื่องกันได้ หากโง่ ไปคว้าเป็นตน ออกจากสมาธิมา

    โอย... มีกองปราสาทใหญ่ มีวิมาน มีผ้าสาดก มีเทวดาองค์นั้นเป็นบริวาณ
    มีเทพบุตรองค์นี้เป็นสหาย นั่นแหละ ยกเป็นทุกขสัจจให้หมด เห็นเป็นภพ
    ที่รอให้ผลให้หมด แล้วทำไงจะรอด ให้หาอุบายนำออก

    ดังนั้น คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ จะรู้เมื่อตนหยุดคิด เพื่อไปเห็นความคิดที่เป็น
    จิตสังขาร(ความคิด) เป็นกองวิบากที่ให้ผล หยุดไม่ได้ เพราะมัน
    เป็นของกลาง ของโลก ที่งามดั่งราชรถ คนไม่รู้เท่านั้นที่นิยมชมชอบอยู่

    * * * *

    ถ้าชาตินี้ ทำสมาธิหยุดคิดได้แค่ไหน แต่หาก ไม่เจริญสติ แยกรูปแยกนาม ให้ได้
    อย่ามาคุยเลยว่า รู้ทันคิด มีปัญญา เป็นไปไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2011
  9. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    :cool::cool::cool::cool::cool::cool::cool::cool::cool::cool::cool:
     
  10. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    คัต..คัด..เข็มยาวเกินตัวนาฬิเก..ตัดทิ้งด่วน..!:':)':)':)@
     
  11. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ...แลกเปลี่ยนกันนะครับ ผมมีประสบการณ์ปฏิเวธ..อย่างน้อย 2 ครั้ง โดยการเคยยกเอาหัวข้อธรรมขึ้นมาพิจราณา..จิตเกิดสมาธิเมื่อใดไม่รู้..รู้อีกทีปฎิเวธเกิดแล้ว จึงเข้าใจครับ
    .. มันเข้าใจลึกซึ้ง เกินตัวหนังสือธรรมดาที่นำมากล่าว.. มันไม่ใช่การรับรู้แบบตำรา เข้าใจ ..แบบทำโจทก์เลขคณิตได้ วิธีทำถูก ได้คำตอบถูกแล้วดีใจ หรือสอบได้ที่1 เข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้ ก็ยังห่างไกลจากอาการ"เข้าใจ"..ในปฏิเวธนี้สัก 100 เท่า ..อาการที่เกิด มันรุนแรงกว่านั้นมากมหาศาลครับ ..ไม่ต้องถามใครอีก รู้ชัดเจนด้วยความรู้สึกตนเอง มันรุนแรงถึงขนาดเปลี่ยน "นิสสัย" เกิดความเห็นใหม่ที่ถูกต้องแน่นอน..ตนเองจะรับรองตนเองได้เลยในเวลานั้นเราเห็นจะจะขณะนั้น ในบัดดลที่คิดได้เข้าใจทันที..เป็นเรื่องๆไป เป็นเรื่องๆไปทีเดียว
    ..มันเกิด ปิติ ซาบซึ้ง ขนลุก ขนพอง น้ำตาไหล หมดความกลัว ความไม่เข้าใจ ในเรื่องนั้นๆทีเดียว บางครั้ง "สารแอนดรานาลีน"..ก็หลั่งมาให้เรารู้สึกตัวเกิดความสุขใจอย่างมหาศาลขึ้นทันทีว่าเราเข้าใจแล้ว.. เราคิดถูกแล้ว..จิตจะหดตัว เชื่องลง ช้าลง สงบสงัดใจทันตาเห็น..เมตตาจะเกิดขึ้น ตามมาทุกครั้งที่คิดจบแบบไม่มีประมาณ ในเรื่องที่เราคิดตกในธรรมที่ยกมา..ประมาณนี้แหละครับ นึกว่าอ่านเล่นสนุกๆนะครับ
    อย่างไรก็ตาม พี่เสขะ ต้องยังก่อน รอก่อน รอผมด้วยครับ:':)':)':)@
    สรุป..จิตต้องมีกำลัง จึงต้องสะสมกำลังจิตจากการดูกายก่อน..หรือค่อยๆพิจราณาธรรมไปพร้อมกับจดจ่อในธรรมนั้นๆ คิดจนเพลินเข้าเขตสมาธิเอง เขาจะดึงกันเองด้วยกำลังสติที่ใช้คิด ก็เป็นได้ ..ไปตามลำดับครับ อนุโมทนากับธรรมของพี่เสขะ:cool:
     
  12. หวันเที่ยง

    หวันเที่ยง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    123
    ค่าพลัง:
    +7
    คุณพี่ น้าสับสน ยังจำรสได้ไหมครับ
    แล้ว ยังอยากไหมครับ
    อิ่มป่ะ
     
  13. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    อ่านคำแนะนำของพี่ๆแล้ว เห็นแง่มุมในการออกเดินของความคิด ในหลายทัศนะและวิธีการปฏิบัติ ทั้งที่เป็นผลเป็นประโยชน์ เป็นที่ระลึกของสติ เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม..... ได้ชัดเจนมากทีเดียวครับ ขอบคุณพี่ๆทุกคนมากครับ


    เท่าที่อ่านคำแนะนำ สรุปตามความเข้าใจเองว่า..ความคิดนี่มีทั้งการหยุด และการออกเดิน และหนำซ้ำยังเป็นคุณและประโยชน์ต่อตนได้อีก ....แต่ แต่ละคนที่แนะนำ ก็มีวิธีการบริหาร และจัดการกับความคิด ไม่เหมือนกันเลยครับ ได้มุมมองหลายแง่มุมไปพิจารณาในแนวทางต่อครับ


    ใครมีทัศนะเพิ่มเติมช่วยแนะนำต่อด้วยครับ
     
  14. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    นึกขึ้นได้ครับ เคยอ่านในตำรา เรื่องโพชฌงค์ 7 เลยเกิดความสงสัยขึ้นมาอีกว่า..
    ธัมมวิจยะ กับความคิด เหมือนกันไม๊และธัมมวิจยะ อย่างไรถึงจะครบองค์ของโพฌงค์ จะเอามาปฏิบัติจริงๆได้อย่างไร ?

    (ใครเคยอ่านและทำความเข้าใจ หรือเคยฟังครูบาอาจารย์เทศนา หรือมีสติใช้ความคิดพิจารณาธรรมกันอย่างไร แนะนำด้วยครับ)
     
  15. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    พี่เสขะ..โพชงค์7..มีอะไรบ้างครับ สงสารน้องด้วย บอกหน่อย..
    ..อีกอย่างครับ ยังก่อน รอก่อน รอน้องด้วยคนครับ..พี่เสขะ แห่งกองทัพธรรม.
     
  16. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    โพชฌังโคปริตร

    โพชฌังโค สะติสังขาโต
    โพชฌงค์ ๗ ประการคือ สติสัมโพชฌงค์

    ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
    ธรรมะวิจะยะสัมโพชฌงค์

    วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ
    ปีติสัมโพขฌงค์

    โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

    สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
    สมาธิ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

    สัตเตเต สัพพะทัสสินา
    เหล่านี้ อันพระมุนีเจ้า

    มุนินา สัมมะทักขาตา
    ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง ตรัสไว้ชอบแล้ว

    ภาวิตา พะหุลีกะตา
    อันบุคคลเจริญและทำให้มากแล้ว

    สังสวัตตันติ อะภิญญายะ
    ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง

    นิพพานายะ จะ โพธิยา
    เพื่อความตรัสรู้และเพื่อพระนิพพาน

    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    ด้วยการกล่าวคำสัจนี้

    โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทา
    ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

    เอกัสมิง สะมะเย นาโถ
    ในสมัยหนึ่งพระโลกนาถเจ้า

    โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง
    ทอดพระเนตร พระโมคคัลลนะและพระกัสสะปะ

    คิลาเน ทุกขิตา ทิสวา
    เป็นไข้ได้รับความลำบากถึงทุกขเวทนาแล้ว

    โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
    ทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการให้ท่านทั้งสองฟัง

    เต จะ ตัง อะภินันทิตวา
    ท่านทั้งสองก็เพลิดเพลินพระธรรมเทศนานั้น

    โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
    หายโรคในบัดดล

    เอ เต นะ สัจจะวัชเชนะ
    ด้วยการกล่าวคำสัจนี้

    โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทา
    ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

    เอกะทา ธัมะราชาปิ
    ครั้งหนึ่งแม้พระธรรมราชาเอง

    เคลัญเญนาภิปีฬิโต
    ทรงประชวรเป็นไข้

    จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ
    รับสั่งให้พระจุนทเถระ

    ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
    แสดงโพขฌงค์นั้นถวายโดยความเคารพ

    สัมโมทิตวา จะ อาพาธา
    ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย

    ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
    หายจากพระประชวรนั้นโดยพลัน

    เอ เต นะ สัจจะวัชเชนะ
    ด้วยการกล่าวคำสัจนี้

    โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทา
    ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

    ปะหีนา เต จะ อาพาธา
    ก็อาพาททั้งหลายนั้น

    ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
    อันพระมหาฤาษีทั้งสามองค์หายแล้วไม่กลับเป็นอีก

    มัตคาหะตะกิเลสาวะ
    ดุจดังกิเลสอันมรรคกำจัดแล้ว

    ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
    ถึงซึ่งความไม่เกิดอีก เป็นธรรมดาฉะนั้น

    เอ เต นะ สัจจะวัชเชนะ
    ด้วยการกล่าวคำสัจนี้

    โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทา
    ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อเทอญ






    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


    [281] โพชฌงค์ 7 (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ — enlightenment factors)
    1. สติ (ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง — mindfulness)
    2. ธัมมวิจยะ (ความเฟ้นธรรม, ความสอดส่องสืบค้นธรรม — truth-investigation)
    3. วิริยะ (ความเพียร — effort; energy)
    4. ปีติ (ความอิ่มใจ — zest)
    5. ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ — tranquillity; calmness)
    6. สมาธิ (ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์ — concentration)
    7. อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง — equanimity)

    แต่ละข้อเรียกเต็มมีสัมโพชฌงค์ต่อท้ายเป็น สติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น.

    D.III.251, 282;
    Vbh.277 ที.ปา. 11/327/264; 464/310;
    อภิ.วิ. 35/542/306

    โพชฌงค์ 7



    (ยกมาเป็นหัวข้อตามตำรานะครับ ส่วนวิธีการปฏิบัติให้เป็นไป..นั้น..คงต้องให้นักปฏิบัติมาอธิบายให้เป็นแนวทางอีกทีครับ
    ใครพอจะอธิบายให้ฟังเป็นแนวทางได้ หรือ ปฏิบัติมีสติพิจารณาธรรมกันอย่างไรแชร์ให้ฟังเป็นธรรมทานมั่งครับ สาธุ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 ตุลาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...