ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ อธิบายในส่วนที่สามเรื่อง "สัญญา"

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ชัยบวร, 1 มิถุนายน 2012.

  1. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    ขันธ์ 5หรือ เบญจขันธ์ อธิบายในส่วนที่สามเรื่อง "สัญญา"
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ลงไว้เพื่อการศึกษาทางพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์ เพื่อเป็นหนทางในการเข้าใจและเข้าถึง เพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังต่างประเทศ (มีภาษาอังกฤษประกอบ) รายละเอียดจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวมซึ่งบัญญัติเรียกว่าบุคคลสัตว์ตัวตนเรา-เขาเป็นต้นส่วนประกอบห้าอย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต (The Five Groups of Existence; Five Aggregate)

    สัญญาขันธ์ กองสัญญา ส่วนที่เป็นความกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้น ๆ ได้ ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่น ขาว ละเอียด หอม เป็นต้น (perception) แบ่งได้เป็น สัญญา 6

    สัญญา 6 ความกำหนดได้หมายรู้ ความหมายรู้อารมณ์ ความจำได้หมายรู้ แบ่งได้คือ

    1. รูปสัญญา ความหมายรู้รูป เช่น เขียว ขาว เป็นต้น (perception of form)
    2. สัททสัญญา ความหมายรู้เสียง เช่น ดัง เบา ทุ้ม เป็นต้น (perception of sound)
    3. คันธสัญญา ความหมายรู้กลิ่น เช่น หอม เหม็น เป็นต้น (perception of smell)
    4. รสสัญญา ความหมายรู้รส เช่น หวาน เค็ม กลมกล่อม เป็นต้น (perception of taste)
    5. โผฏฐัพพสัญญา ความหมายรู้สัมผัสทางกาย เช่น อ่อน แข็ง ละเอียด เย็น เป็นต้น (perception of tangible objects)
    6. ธัมมสัญญา ความหมายรู้อารมณ์ทางใจ เช่น งาม เที่ยง ไม่เที่ยง เป็นต้น (perception of mind - objects)

    สัญญาขันธ์นี้ มีความสำคัญนอกจากจะแสดงถึงความหมายรู้ทั้ง 6 อย่างแล้ว ยังเกี่ยวเนื่องกับ "วิญญาณขันธ์" ซึ่งเป็นเบญจขันธ์ในส่วนที่ 5 อีก แต่เนื่องจาก วิญญาณขันธ์มีรายละเอียดที่มาก จึงขอนำมาลงไว้ในสัญญาขันธ์นี้แทน ในทางธรรมของพระพุทธศาสนาจะเรียกว่า วิญญาณฐิติ 7

    วิญญาณฐิติ 7 ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ (abodes or supports of consciousness) แบ่งได้คือ

    1. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า วินิปาติกะ (เปรต) บางเหล่า (beings different in body and in perception)
    2. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหมผู้เกิดในภูมิปฐมฌาณ (beings different in body, but equal in perception)
    3. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสรา (beings equal in body, but different in perception)
    4. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ (beings equal in body, and in perception)
    5. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ (beings reborn in the sphere of Boundless Space)
    6. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ (beings reborn in the sphere of Boundless Consciousness)
    7. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ (beings reborn in the sphere of Nothingness)

    ตั้งแต่ข้อ 5 , 6 , และข้อ 7 เรียกว่า อรูป 4 ฌาณ [​IMG] มีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ คือ อรูปฌาณ ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาณ ภพของอรูปพรหม (absorptions of the Formless Sphere; the Formless Spheres; immaterial states) ธรรมะของพระพุทธศาสนา แบ่งได้ดังนี้

    1. อากาสานัญจายตนะ ฌาณอันกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌาณนี้ (sphere of Infinity of Space)

    2. วิญญาณัญจายตนะ ฌาณอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌาณนี้ (sphere of Infinity of Consciousness)

    3. อากิญจัญญายตนะ ฌาณอันกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌาณนี้ (sphere of Nothingness)

    4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฌาณอันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หรือภพของผู้เข้าถึงฌาณนี้ (sphere of Neither Perception Nor Non - Perception)[​IMG] [​IMG]


    ธรรมะของพระพุทธศาสนา [​IMG]
     
  2. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    เนื่องจากธรรมข้อนี้จะมีความละเอียด เพื่อน ๆ พี่น้องสามารถขอความกระจ่างในข้อธรรมได้จากท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบท่านหนึ่งครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...