ขอเชิญสนทนาธรรมครับ ท่านยมยักษ์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 16 มกราคม 2012.

  1. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    เมื่อก่อนผมก็เคยคิดแบบประมาณนี้นะ คิดแทนให้พระอีก ถ้าพระ ป่วยมาทำไง เดินทางทำไง ใส่บาตรเป็นของไปเดี่ยวก็เน่า กินไม่หมดก็ให้คนอยู่ดี ให้เป็นเงินดีกว่า พระเอาเงินไปสร้างนี่สร้างนั่นช่วยเหลือคนก็ได้บุญอีกต่อ ไหยจะค่าใช้
    จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าซ่อมแซม บลาๆๆๆ อะไรก็แล้วแต่ความโง่เขลาจะอ้างไป
    ยิ่งแล้วไปอ่านของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เรื่องพระกับการรับเงิน แล้วยังมีการบอกว่าได้พบพระพุทธเจ้า ถามพระพุทธเจ้า ยิ่งทำให้ผมโง่เชื่อเข้าไปใหญ่คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีสิ่งที่ควร

    แหมแล้วก็เห็นอ้างกันว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนไป ทั้งที่ท่องๆกันว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก
    ความจริงแล้วจะทำให้ถูกต้องมันก็ได้ให้ ไวยาวัจกร ไม่ก็คนวัดอะไรคอยจัดการเรื่องเงินทองไป ในเมื่อถ้าไม่ยินดีในเงินทองจริงๆอยู่แล้ว จะให้คนอื่นเขาจัดการให้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
    แล้วพระพุทธเจ้ายังบอกเลยว่า ธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว ขอให้ธรรมวินัยอันนั้น จงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไป เธอทั้งหลายจงมีธรรมวินัยเป็นที่พึ่งเถิด ส่วนมากก็ปากท่องๆ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิๆๆๆๆ

    เรื่องนี้เถียงกันผมก็ว่าไม่จบหรอก เพราะท้ายที่สุดแล้วต่างคนก็ต่างว่าคนว่าสิ่งที่ตนเองคิดเป็นสิ่งที่ถูกต้อง อยู่ที่ว่าจะเชื่ออะไรเชื่อใคร
     
  2. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ส่วนอันนี้ copy ๆ มา

    อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ ยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

    คำอธิบายจากพระไตรปิฎกมีดังนี้

    บทว่า รับ คือ รับเอง เป็นนิสสัคคีย์.

    บทว่า ให้รับ คือ ให้คนอื่นรับแทน เป็นนิสสัคคีย์.

    บทว่า หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ความว่า หรือยินดี ทองเงินที่เขาเก็บไว้ให้ด้วยบอกว่า ของนี้จงเป็นของพระคุณเจ้า ดังนี้ เป็นต้น เป็นนิสสัคคีย์ ทอง เงิน ที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละในท่าม กลางสงฆ์

    --------------------------
    วิธีแก้คือ สละเงินทองนั้นเสียก่อนแล้วจึงปลงอาบัติ
    ส่วนการที่มีผู้มอบเงินไว้แก่ไวยาวัจจกรณ์ พระภิกษุยินดีในเงินก็เป็นอาบัติ
    แต่ถ้ายินดีในสิ่งของ มีจีวร เป็นต้น ตามมูลค่าที่เขาฝากไว้ไม่เป็นอาบัติครับ
     
  3. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    <center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒</center></pre> <table width="90%" align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" width="100%" bgcolor="darkblue">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘ </center><center>เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร </center> [๑๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่ พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็น กุลุปกะของสกุลหนึ่ง รับภัตตาหารอยู่เป็นประจำ ของเคี้ยวของฉันอันใดที่เกิดขึ้นในสกุลนั้น. เขาย่อมแบ่งส่วนไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร. เย็นวันหนึ่งในสกุลนั้นมีเนื้อเกิดขึ้น เขาจึง แบ่งส่วนเนื้อนั้นไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร. เด็กของสกุลนั้นตื่นขึ้นในเวลาเช้ามืด ร้อง อ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า. บุรุษสามีจึงสั่งภรรยาว่า จงให้ส่วนของพระแก่เด็ก เราจัก ซื้อของอื่นถวายท่าน. ครั้นแล้วเวลาเช้าท่านอุปนันทศากยบุตร นุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปสู่สกุลนั้น แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย. ทันใด บุรุษนั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร กราบแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง, ได้กราบเรียนว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อเย็นวานนี้มีเนื้อเกิดขึ้น, ผมได้เก็บไว้ถวายพระคุณเจ้าส่วนหนึ่ง, จากนั้นเด็กคนนี้ตื่นขึ้นแต่เช้ามืดร้องอ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า ผมจึงได้ให้เนื้อส่วนของ พระคุณเจ้าแก่เด็ก, พระคุณเจ้าจะให้ผมจัดหาอะไรมาถวายด้วยทรัพย์กหาปณะหนึ่ง ขอรับ. ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถามว่า เธอบริจาคทรัพย์กหาปณะหนึ่งแก่เรา แล้วหรือ? บุ. ขอรับ ผมบริจาคแล้ว. อุ. เธอจงให้กหาปณะนั้นแหละแก่เรา. บุรุษนั้นได้ถวายกหาปณะแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ในทันใดนั้นเอง แล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ รับรูปิยะเหมือนพวกเรา. ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงได้รับรูปิยะเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. <center>ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม </center> ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่า เธอรับรูปิยะจริงหรือ? ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. <center>ทรงติเตียน </center> พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า? การกระ ทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว. <center>ทรงบัญญัติสิกขาบท </center> พระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้วตรัส โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำ นาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบัง- *เกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:- <center>พระบัญญัติ </center> ๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. <center>เรื่องพระอุปนันทศากยบุตรจบ. </center><center>สิกขาบทวิภังค์ </center> [๑๐๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม, นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด. บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถ ว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว. ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา. ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะว่าอรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ, ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียง กันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์ พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ, นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ทอง ตรัสหมายทองคำ. ที่ชื่อว่า เงิน ได้แก่กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วย- *ครั่ง ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้. บทว่า รับ คือรับเอง เป็นนิสสัคคีย์. บทว่า ให้รับ คือให้คนอื่นรับแทน เป็นนิสสัคคีย์. บทว่า หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ความว่า หรือยินดี ทอง เงินที่เขาเก็บ ไว้ให้ด้วยบอกว่า ของนี้จงเป็นของพระคุณเจ้า ดังนี้เป็นต้น, เป็นนิสสัคคีย์ทองเงินที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละรูปิยะนั้น อย่างนี้:- <center>วิธีเสียสละรูปิยะ </center> ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ารับรูปิยะไว้แล้ว. ของนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้า สละรูปิยะนี้แก่สงฆ์. ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ, ถ้าคนผู้ทำการวัด หรืออุบาสก เดินมาในสถานที่เสียสละนั้น พึงบอกเขาว่า ท่านจงรู้ของสิ่งนี้, ถ้าเขาถามว่า จะให้ผมนำของสิ่งนี้ไปหาอะไรมา อย่าบอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา. ควรบอกแต่ของ ที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย, ถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะ มาถวาย เว้นภิกษุผู้รับรูปิยะ, ภิกษุนอกนั้นฉันได้ทุกรูป, ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี; ถ้าไม่ได้, พึงบอกเขาว่า โปรดช่วยทิ้งของนี้, ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี; ถ้าเขาไม่ทิ้งให้, พึงสมมติภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ. <center>องค์ ๕ ของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ </center> องค์ ๕ นั้น คือ ๑ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ, ๒ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะ เกลียดชัง, ๓ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย ๔ ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว; และ ๕ รู้จักว่าทำ อย่างไรเป็นอันทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุนั้น อย่างนี้:- <center>วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ </center> พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน, ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:- <center>คำสมมติ </center> ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงสมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ, การสมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ, ชอบแก่ท่านผู้ใด; ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง. ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว ชอบแก่สงฆ์. เหตุนั้นจึงนิ่ง, ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงทิ้งอย่าหมายที่ตก, ถ้าทิ้งหมายที่ตก, ต้องอาบัติทุกกฏ. <center>บทภาชนีย์ </center><center>ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์ </center> [๑๐๗] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ รับรูปิยะ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. รูปิยะ ภิกษุสงสัย รับรูปิยะ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ รับรูปิยะ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. <center>ทุกกฏ </center> ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ. ต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ. <center>ไม่ต้องอาบัติ </center> ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ ... ไม่ต้องอาบัติ. <center>อนาปัตติวาร </center> [๑๐๘] ทองเงินตกอยู่ภายในวัดก็ดี ภายในที่อยู่ก็ดี, ภิกษุหยิบยกเองก็ดี ใช้ให้หยิบ- *ยกก็ดี, แล้วเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่า เป็นของผู้ใด, ผู้นั้นจักนำไปดังนี้ ๑, ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุ อาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล. <center>โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ. </center><center class="l">----------------------------------------------------- </center></pre>
     
  4. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ๑๐. มณิจูฬกสูตร



    ว่าด้วยทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร


    [๖๒๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร
    เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์. ก็สมัยนั้นแล เมื่อราช
    บริษัทนั่งประชุมกันในพระราชวังสนทนากันว่า ทองและเงินย่อมควร
    แก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมยินดีทองสละเงิน ย่อมรับทอง
    และเงิน.

    [๖๒๔] ก็สมัยนั้นแล นายบ้านนามว่ามณิจูฬกะนั่งอยู่ในบริษัท
    นั้น นายบ้าน นามว่ามณิจูฬกะได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญย่อมไม่
    กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่
    ยินดีทองและเงิน ย่อมไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทอง
    ปราศจากทองและเงิน นายบ้านมณิจูฬกะไม่อาจให้บริษัทนั้นยินยอมได้.

    [๖๒๕] ครั้งนั้น นายบ้านมณิจูฬกะจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-
    เจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง
    หนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    เมื่อราชบริษัทนั่งประชุมกันในพระราชวังสนทนากันว่า ทองและเงิน
    ย่อมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน เมื่อ
    ราชบริษัทกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญ
    อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินย่อมไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณ-
    ศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน ย่อมไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตร
    ห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
    ไม่อาจให้บริษัทนั้นยินยอมได้ เมื่อข้าพระองค์พยากรณ์อย่างนี้ เป็นอัน
    กล่าวตามคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า
    ด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกไร ๆ
    คล้อยตามวาทะ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้แลหรือ พระเจ้าข้า.


    [๖๒๖] พระผู้มีพระภาค จ้าตรัสว่า ดีละ นายคามณี เมื่อท่าน
    พยากรณ์อย่างนี้ เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำ
    ไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกไร ๆ คล้อย
    ตามวาทะ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้. เพราะว่าทองและเงิน
    ไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน สมณ
    ศากยบุตรห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน.
    ดูก่อนนายคามณี
    ทองและเงินควรแก่ผู้ใด เบญจกามคุณก็ควรแก่ผู้นั้น
    เบญจกามคุณควร
    แก่ผู้ใด ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น ดูก่อนนายคามณีท่านพึงทรงจำความ
    ที่ควรแก่เบญจกามคุณนั้นโดยส่วนเดียวว่า ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่
    ธรรมของศากยบุตร
    อนึ่งเล่า เรากล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวง
    หาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน
    ผู้ต้องการบุรุษพึงแสวงหาบุรุษ เรามิได้กล่าวว่า สมณศากยบุตรพึงยินดี
    พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายอะไรเลย.

    จบ มณิจูฬกสูตรที่ ๑๐


    อรรถกถามณิจูฬกสูตรที่ ๑๐


    ในมณิจูฬกสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.
    บทว่า ตํ ปริสํ เอตทโวจ ความว่า ได้ยินว่า นายบ้านนามว่า
    มณิจูฬกะนั้นได้มีความคิดว่า กุลบุตรทั้งหลายเมื่อบวช ย่อมละบุตรและ
    ภรรยา ทองและเงินก่อนแล้วจึงบวช แลเขาเหล่านั้นครั้นละแล้วบวช จึง
    ไม่อาจรับทองและเงินนั้นได้. นายบ้านนั้นมีความยึดถือเป็นพิเศษ จึงได้
    กล่าวคำเป็นต้นว่า มา อยฺยา ดังนี้. บทว่า. เอกํเสเนตํ ความว่า
    ท่านพึงทรงจำความที่ควรแก่กามคุณห้านั้น โดยส่วนเดียวว่า ไม่ใช่ธรรม.
    ของสมณะ ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตร. บทว่า ติณํ ได้แก่หญ้ามุงเสนาสนะ.
    บทว่า ปริเยสิตพฺพํ ความว่า เมื่อเรือนที่มุงด้วยหญ้า หรือมุงด้วยอิฐพัง
    พึงไปยังสำนักของผู้ที่ทำเรือนนั้น บอกว่า เสนาสนะที่ท่านทำ ฝนรั่ว.
    เราไม่อาจอยู่ในเสนาสนะนั้นได้. มนุษย์ทั้งหลายเมื่อทำได้ก็จักทำให้ เมื่อ
    ทำไม่ได้ก็จักบอกว่า พวกท่านจงหานายช่างให้ทำ พวกเราจักให้สัญญากะ
    นายช่างเหล่านั้น ครั้นให้นายช่างที่บอกไว้อย่างนั้นทำเสร็จแจ้ว พึงบอก
    แก่มนุษย์เหล่านั้น พวกมนุษย์จักให้ค่าจ้างแก่พวกนายช่าง. ถ้าไม่มี
    เจ้าของที่อยู่อาศัย ภิกษุผู้ประพฤติภิกขาจารวัตร ควรบอกแม้แก่คนอื่น ๆ
    ให้ทำ. บทว่า ปริเยสิตพฺพํ ตรัสหมายข้อความดังนี้. บทว่า ทารุ
    ความว่า เมื่อไม้กลอนหลังคาเป็นต้นในเสนาสนะพัง พึงแสวงหาไม้เพื่อ
    ซ่อมแซมสิ่งนั้น. บทว่า สกฏํ ได้แก่เกวียนชั่วคราวเท่านั้น ทำให้แปลก
    จากของคฤหัสถ์ มิใช่แต่เกวียนอย่างเดียวเท่านั้น แม้อุปกรณ์อื่น ๆ มีมีด
    ขวานและจอบเป็นต้น ก็ควรแสวงหาอย่างนี้. บทว่า ปุริโส ความว่า
    ควรแสวงหาคนมาช่วยงาน คือ พูดกะคนใดคนหนึ่งว่า ท่านจักช่วยงาน
    ได้ไหม เมื่อเขาบอกว่า กระผมจักช่วยขอรับควรให้เขาทำสิ่งที่ต้องการว่า
    ท่านจงทำสิ่งนี้ ๆ. บทว่า น เตฺววาหํ คามณิ เกนจิ ปริยาเยน ความว่า
    แต่เรามิได้กล่าวถึงทองและเงิน ว่าสมณศากยบุตรพึงแสวงหา ด้วยเหตุ
    อะไร ๆ เลย.
    จบ อรรถกถามณิจูฬกสูตรที่ ๑๐
     
  5. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ขอเสือกนะครับ
    แล้วมันมีกิจธุระสำคัญอันใดที่จะทำให้พระ ตจว ต้องเดินทางมายัง กทม หละครับ อย่าบอกนะว่ามาปลุกเสกของขลัง

    และผมคิดว่าพระท่านนี้คงเดินมาครับ เพราะว่าถ้าท่านขนาดถึงกับไม่รับเงินทั้งที่รู้ว่าอาจจะต้องใช้ในการเดินทาง ไหนๆบวชมาในศาสนาแล้วพร้อมที่จะยอมตายเพื่อพระพุทธศาสนาแล้ว เดินมาแค่นี้คงไม่ลำบากมั้งครับ สะพายย่ามแบกกลดมาเรื่อยๆ เดี่ยวเจอคนใจดีๆเขาก็เรียกให้ขึ้นรถเองแหละ

    ไม่ก็อาจจะมีญาติโยมคอยอุปฐาก ช่วยเหลือขับรถรับส่งแหละ ถ้าธุระที่ว่านั้นสำคัญจริงๆผมว่าก็ต้องมีคนที่พร้อมที่จะช่วยเหลือสนับสนุนพระองค์นั้นแหละครับ


    แต่ไหนๆเข้ามาบวช แล้วน่าจะทำและหาวิธีทำให้ถูกต้องมันก็ทำได้นะครับ ถ้าจำเป็นที่จะต้องเก็บเงินไว้ยามจำเป็น แต่คนมันหาข้ออ้างนั้นข้ออ้างนี่มาอ้างกัน คิดแทนพระกันไปซะหมด

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2012
  6. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    เดี๋ยวคุยกันยาวบางคนเขาเข้าใจไปแล้ว. แต่บางคนไม่ยอมทำความเข้าใจส่วนนี้. ยังเช้าอยู่แสดงว่าให้ความสำคัญขอบคุณที่ห่วงใยศาสนาพุทธ. แต่กรณีของคุณใจให้ตอบจินตนาการก็ยังบอกว่าเดินทางมาเป่าเสกเลขยันต์. สงสัยต้องคุยกันยาวผมเรียกว่าตรึกตามอาการชั้นสูงไปแล้วครับยังไงขอไปอาบนำ้ทำงานก่อนนะเดี๋ยวมา.
     
  7. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    เหตุผลของคุณสุริยะ

    รับเองกับให้ลูกศิษย์ฆราวาสรับแทนมันก็ไม่ต่างกัน แค่เลี่ยงบาลี
    มันอยู่ที่เจตนาว่ารับเงินมาเพื่ออะไร
    วัดยังต้องเสียค่าน้ำ-ค่าไฟเลย
    ถ้าไปอยู่ตามป่า ตามเขา ตามถ้ำคงทำได้ตามอักษรเป๊ะๆ
    และถ้าเป็นอย่างนั้นหมด ใครจะมาเผยแผ่ สั่งสอนธรรม

    ลองไปบวชสักปีสิ อย่ามัวแต่นึกเอา

    ค่าเวปไซด์ ค่าโดเมน ค่ากล้องเอามาถ่ายลงยูทูป เอามาจากไหนละ
    ลูกศิษย์ถวาย ถวายให้ใครละ? เพื่อกิจของใคร?
    ต้องใช้เงินไหม? ก็แค่ไม่ได้เอามือจับเงินเอง?
    เลี่ยงบาลี แต่ชอบอ้างบาลี

    พระสงฆ์รับได้ไหมรับได้แต่ ไม่สะสม.เก็บเป็นของตน
     
  8. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    จะพยายามทำความเข้าใจให้นะครับว่าทำไมเพราะอะไร.
    และมีบทในพระไตรคุณยังไม่ได้อ่าน อย่าอ้างตำรา ถูกไหมอย่าตรึกตามอาการ น่าจะเป็นยาแก้ให้คุณได้
     
  9. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    เอาแบบหลวงปูมั่นสิครับจะไปไหนท่านก็ใช้สองเท้าเดินไป ไม่เห็นต้องใช้เงินเลย ถ้าจะใช้เงินแล้วมาอ้างว่าเป็นค่าใช้ในการเดินทางไม่ถูก พระสงฆ์รับเงินผิดพระธรรมวินัยต้องอาบัติทันที แล้วพระสงฆ์มีกิจอะไรต้องเดินทาง เป็นนักบวขก็ไม่ควรทำกิจทางโลก

    มีศีลก็มีศีลขาดแต่ต้องดูที่เจตนา พระสงฆ์รับเงินยังไงก็ผิดไม่ใช้กิจของสงฆ์ ในสมัยพุทธกาลมีภิกษุรูปหนึ่งนำมารดามาเลี้ยงดู ปลูกกระท่อมอยู่ใก้ลๆ กุฏิ เมื่อบิณฑบาตมาก็นำอาหารไปให้มารดากินก่อน มารดาเจ็บป่วยก็ดูแลค่อยปรนิบัติ ซักผ้านุงให้ เช็ดตัวให้มารดา เรื่องถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงเรียกภิกษุรูปนั้นมาสอบถาม พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ความกตัญญรู้คุณบิดามารดาเป็นมงคลสูงสุด พระภิกษุรูปนั้นก็เห็นธรรมบรรลุเป็นพระอรหันต์
     
  10. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระสงฆ์บวชเพื่ออะไรเพื่อเดินทางงั้นหรือ มีกิจอะไรต้องเดินทางอีกเป็นพระสงฆ์ต้องปล่อยวางเรื่องทางโลก กิจของพระสงฆ์มีแค่บิณฑบาตเลี้ยงชีวิต ศึกษาธรรม เวลาส่วนใหญ่ของพระสงฆ์คือนั่งสมาธิเดินจงกรรมปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริงตามธรรม เรียนรู้เรื่องทุกข์หาหนทางพ้นทุกข์ ไปงานบุญ งานบวช งานแต่งงาน งานศพ ทำพิธีกรรมต่างๆ ไม่ใช้กิจของสงฆ์ ถ้าบวชแล้วยังต้องมาทำเรื่องทางโลกก็อย่าไปบวชเลย พระสงฆ์ทำผิดพระธรรมวินัยต้องรับโทษมากกว่าฆราวาส อย่ามาอ้างว่ารับเงินเพื่อทำกิจของสงฆ์ พระสงฆ์ไม่มีกิจอะไรต้องทำ ก่อนบวชต้องทำเรื่องทางโลกให้เรียบร้อย ทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่ก็ยกให้บุคคลที่สมควรให้ เมื่อบวชแล้วพระสงฆ์จะมีได้ก็แค่ บาตรกับจีวร อยู่โค่นไม้หรือเรือนว่าง หรือเสนาสนะตามที่ชาวบ้านจัดไว้ให้ เป็นพระสงฆ์ต้องเป็นคนเลี้ยงง่าย พอใจในสิ่งที่ชาวบ้านถวายให้ ท่านไปดูกุฏิพระสงฆ์ทุศีลทั้งหลายที่ไม่ได้นุ่งห่มผ้ากาสาวพัตร์มีหมด ทีวี ตู้เย็น ฯลฯ ส่วนพระสงฆ์ที่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมในกุฏิจะมีแต่กาน้ำ เทียนไข
     
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๙๕/๒๗๘
    เมื่อเมณฑกะคหบดีอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหาร
    อันประณีต และด้วยน้ำนมสดรีดใหม่ด้วยมือของตนจนยังพระผู้มีพระภาคผู้เสวยเสร็จ ทรงนำ
    พระหัตถ์ออกจากบาตรให้ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมณฑกะคหบดีนั่งอยู่
    ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า หนทาง
    กันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียงจะเดินทางไป ทำไม่ได้ง่าย ขอประทานพระ
    วโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตเสบียงเดินทางแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
    เมณฑกานุญาต
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เมณฑกะคหบดีเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง
    ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับไป หลังจากนั้นพระองค์ทรงทำธรรมีกถา
    ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโครส ๕ คือ นมสด นมส้ม เปรียง เนยข้น เนยใส.
    มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย หนทางกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัตอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียงจะเดินทางไป
    ทำไม่ได้ง่าย เราอนุญาตให้แสวงหาเสบียงได้ คือ ภิกษุต้องการข้าวสาร พึงแสวงหาข้าวสาร
    ต้องการถั่วเขียว พึงแสวงหาถั่วเขียว ต้องการถั่วราชมาส พึงแสวงหาถั่วราชมาส ต้องการเกลือ
    พึงแสวงหาเกลือ ต้องการน้ำอ้อย พึงแสวงหาน้ำอ้อย ต้องการน้ำมัน พึงแสวงหาน้ำมัน
    ต้องการเนยใส ก็พึงแสวงหาเนยใส.
    มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการก
    สั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจากกัปปิยภัณฑ์นั้นได้ แต่เรา
    มิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายไรๆ เลย.
     
  12. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    สงสัยคุณจะเป็นเอามาก ๆ ที่พูดมันก็ถูกแต่มันถูกไม่หมด ขนาดงานแบบนี้คุณยังไม่ให้ท่านไปเลยหรือ อือ แสดงว่าค่อนข้างจะผูกปมไว้แยะคงจะคุยหลายวันหน่อยถึงจะเข้าใจ แล้วคุณเคยบวชไหม คุณศึกษาธรรมแค่ไหน คือผมอยากรู้ปัญญา ไม่ใช่ปัญญาเรียนจำนะ อายุ ศึกษาธรรมอ่านผ่าน หรือเรียนเพื่อจำ
    เรียนรู้เรื่องทุกข์หาหนทางพ้นทุกข์ ไปงานบุญ งานบวช งานแต่งงาน งานศพ ทำพิธีกรรมต่างๆ ไม่ใช้กิจของสงฆ์ ค่อนข้างจะคุยยากมิน้อยเลย คุณจะคุยกับฉันเพื่อเอาชนะ หรือเพื่อเอาความรู้ ตอบด้วยนะ วันนี้ช้าหน่อยงานเพียบเลย ช่วยทำความเข้าใจที่พิมพ์ให้ด้วยอย่าอ่านผ่านตาละ
     
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    กัปปิย- , กัปปิยะ [กับปิยะ] ว. สมควร. (ป.).
    กัปปิยการก [-การก] น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค.
    กัปปิยภัณฑ์ น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.

    พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับเงิน แต่ชาวบ้านเอาเงินไปมอบให้กัปปิยการกเพื่อซื้อของที่จำเป็นถวายแก่ภิกษพระสงฆ์ในระหว่างเดินทางได้
    แต่พระสงฆ์ทุศีลสมัยนี้ทำอะไร บิณฑบาตรก็เพราะต้องการซองขาว ไปทำพิธีกรรมทั้งที่ไม่ใช่กิจของสงฆ์เพราะต้องการซองขาว ไปเทศนาธรรมเพราะต้องการซองขาว มีเงินก็ไปเดินห้างใช้จ่ายเงินทองกระทำผิดศีลเพื่มอีกสองข้อ
     
  14. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    ไม่ใช่ ตอบในสิ่งที่ผมถามก่อนสิ ไปทีละอย่าง อย่าไปเรื่องอื่น ไปทีละข้อไปสิคุณ คุณจะได้เข้าใจง่ายขึ้นคุณต้องฟังเหตุผลคนอื่นด้วยไม่ใช่ตัวเองถูกทั้งหมดสิ
     
  15. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ก็ที่ผมบอกไปก็น่าจะเข้าใจนะครับ ถ้าไม่เข้าใจเอามาให้อ่านอีกรอบอย่าตัดเปะ ธรรมของผมต้องอ่านและทำความเข้าใจทั้งหมด ไม่ใช้ตัดเปะ

    พระสงฆ์บวชเพื่ออะไรเพื่อเดินทางงั้นหรือ มีกิจอะไรต้องเดินทางอีกเป็นพระสงฆ์ต้องปล่อยวางเรื่องทางโลก กิจของพระสงฆ์มีแค่บิณฑบาตเลี้ยงชีวิต ศึกษาธรรม เวลาส่วนใหญ่ของพระสงฆ์คือนั่งสมาธิเดินจงกรรมปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริงตามธรรม เรียนรู้เรื่องทุกข์หาหนทางพ้นทุกข์ ไปงานบุญ งานบวช งานแต่งงาน งานศพ ทำพิธีกรรมต่างๆ ไม่ใช้กิจของสงฆ์ ถ้าบวชแล้วยังต้องมาทำเรื่องทางโลกก็อย่าไปบวชเลย พระสงฆ์ทำผิดพระธรรมวินัยต้องรับโทษมากกว่าฆราวาส อย่ามาอ้างว่ารับเงินเพื่อทำกิจของสงฆ์ พระสงฆ์ไม่มีกิจอะไรต้องทำ ก่อนบวชต้องทำเรื่องทางโลกให้เรียบร้อย ทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่ก็ยกให้บุคคลที่สมควรให้ เมื่อบวชแล้วพระสงฆ์จะมีได้ก็แค่ บาตรกับจีวร อยู่โค่นไม้หรือเรือนว่าง หรือเสนาสนะตามที่ชาวบ้านจัดไว้ให้ เป็นพระสงฆ์ต้องเป็นคนเลี้ยงง่าย พอใจในสิ่งที่ชาวบ้านถวายให้ ท่านไปดูกุฏิพระสงฆ์ทุศีลทั้งหลายที่ไม่ได้นุ่งห่มผ้ากาสาวพัตร์มีหมด ทีวี ตู้เย็น ฯลฯ ส่วนพระสงฆ์ที่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมในกุฏิจะมีแต่กาน้ำ เทียนไข
     
  16. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    โอ เค คุณไปสงบ สติอารมณ์คุณสักพักก่อนไหม แล้วเดี๋ยวเรามาเสวนาธรรมกัน ไม่อยากให้เป็นคนโกหกอีกหน้าหนึ่งเดี๋ยวก็ทำเอ๋อไปอีกมันเสียเวลา
     
  17. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ก็ที่ผมบอกไปก็น่าจะเข้าใจนะครับ ถ้าไม่เข้าใจเอามาให้อ่านอีกรอบอย่าตัดเปะ ธรรมของผมต้องอ่านและทำความเข้าใจทั้งหมด ไม่ใช้ตัดเปะ

    พระสงฆ์บวชเพื่ออะไรเพื่อเดินทางงั้นหรือ มีกิจอะไรต้องเดินทางอีกเป็นพระสงฆ์ต้องปล่อยวางเรื่องทางโลก กิจของพระสงฆ์มีแค่บิณฑบาตเลี้ยงชีวิต ศึกษาธรรม เวลาส่วนใหญ่ของพระสงฆ์คือนั่งสมาธิเดินจงกรรมปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริงตามธรรม เรียนรู้เรื่องทุกข์หาหนทางพ้นทุกข์ ไปงานบุญ งานบวช งานแต่งงาน งานศพ ทำพิธีกรรมต่างๆ ไม่ใช้กิจของสงฆ์ ถ้าบวชแล้วยังต้องมาทำเรื่องทางโลกก็อย่าไปบวชเลย พระสงฆ์ทำผิดพระธรรมวินัยต้องรับโทษมากกว่าฆราวาส อย่ามาอ้างว่ารับเงินเพื่อทำกิจของสงฆ์ พระสงฆ์ไม่มีกิจอะไรต้องทำ ก่อนบวชต้องทำเรื่องทางโลกให้เรียบร้อย ทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่ก็ยกให้บุคคลที่สมควรให้ เมื่อบวชแล้วพระสงฆ์จะมีได้ก็แค่ บาตรกับจีวร อยู่โค่นไม้หรือเรือนว่าง หรือเสนาสนะตามที่ชาวบ้านจัดไว้ให้ เป็นพระสงฆ์ต้องเป็นคนเลี้ยงง่าย พอใจในสิ่งที่ชาวบ้านถวายให้ ท่านไปดูกุฏิพระสงฆ์ทุศีลทั้งหลายที่ไม่ได้นุ่งห่มผ้ากาสาวพัตร์มีหมด ทีวี ตู้เย็น ฯลฯ ส่วนพระสงฆ์ที่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมในกุฏิจะมีแต่กาน้ำ เทียนไข
     
  18. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมตอบคุณไปห้าบรรทัด คุณตัดมาแค่ประโยชน์เดียวแล้วจะคุยกันต่อยังไงครับ
     
  19. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    โอ เค คุณไปสงบ สติอารมณ์คุณสักพักก่อนไหม แล้วเดี๋ยวเรามาเสวนาธรรมกัน ไม่อยากให้เป็นคนโกหกอีกหน้าหนึ่งเดี๋ยวก็ทำเอ๋อไปอีกมันเสียเวลา
     
  20. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    คุยกันมาตั้งนานยังมาถามว่าผมเคยบวชไหม กลับไปอ่าน #39 ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...