ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    รายงานการใช้เงินของทุนนิธิฯ จาก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ในเดือน ก.ย. 53 ที่ผ่านมาเห็นแล้วน่าชื่นใจมั๊ยครับ มีตั้งแต่ปวดฟัน จนถึงขั้นนอนพักรักษาตัวใน รพ.รวมเป็นพระและเณรกว่า 11 รูป นำรายงานมาลงให้อนุโมทนากัน

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  3. benyapa

    benyapa ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,088
    ค่าพลัง:
    +5,431
    สาธุค่ะพี่เสือ ตอนนี้ปูขอให้ทางชมรมมหาบารมี ที่น้องทางธรรมคนนึงดูแลอยู่ จัดสรรเงินที่จะช่วยทางพระอาพาธของพีเสือทุกเดือนค่ะ
     
  4. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    ผมรวบรวมปัจจัยที่เพื่อนๆร่วมทำบุญรับพระพิมพ์วังหน้ากับผมมา
    และได้โอนเงินเข้า บช. ตามรายนามสถานที่ทำบุญรวม 6,000 บาทดังนี้

    - กองทุนหาพระถวายวัด ชมรมรักษ์พระวังหน้า 1,000-
    - ทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร 1,000-
    - ร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง จ.ชัยภูมิ 1,000-
    - ร่วมถวายสังฆทานยาแด่พระอาจารย์ทั้งสองรูป ชมรมรักษ์พระวังหน้า 1,000-
    - ร่วมทอดกฐิน ณ.วิเวกสถาน ถ้ำระฆังทองฯ จ.เพชรบูรณ์ 1,000-
    - ร่วมทอดกฐิน,สร้างพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม ณ.สนส.บ่อเงินบ่อทอง จ.ฉะเชิงเทรา 1,000-

    ขอส่งบุญการชำระหนี้สงฆ์ถึง
    ...รายนามผู้ร่วมทำบุญกับผมดังนี้
    นายบุญช่วย หาญฟ้าเขียว
    พ่อแฝง พันใจ
    แม่แก้ว พันใจ
    แม่จันทร์ศรี กลิ่นฟุ้ง
    นายดาวรุ่ง พันใจ
    นางมลทิวา กลิ่นฟุ้ง
    นายเฑติกร ตุ้ยปัน
    น.ส.กัญญ์ณพัชญ์ ศรีใจติ๊บ
    นายประเสริฐ ศุภเลิศตระกูล
    น.ส.ศศิธร พันธุ์วัฒนสกุล

    หมายเหตุ: ที่ปิดเลขที่ บช. บางจุดเพราะเป็นการทำบุญใน บช. ส่วนตัวของคณะ

    โมทนาสาธุทุกประการ<!-- google_ad_section_end -->

    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG]

    </FIELDSET>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2010
  5. sira

    sira เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    239
    ค่าพลัง:
    +1,331
    วันที่ 13/10/10 เวลา 13.25 น.
    1.ผมโอนเงินทำบุญเข้าบัญชีสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธจำนวน 200บาท
    2.ผมได้โอนเงินไปทำบุญกฐินเข้าบัญชี เลขที่ 7680051410 จำนวน 200 บาท เรียบร้อยแล้วครับ

    โมทนาบุญกับทุกๆๆท่านด้วยครับ
     
  6. duangkamol

    duangkamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    348
    ค่าพลัง:
    +2,083
    1. โอนเงินร่วมทำบุญกับทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร เข้าบัญชี ธ. กรุงศรีฯ เลขที่ 348-1-23245-6 จำนวน 509.- บาท
    2. โอนเงินบุญกฐินสำนักสงฆ์ถ้ำระฆังทอง เข้าบัญชี ธ. กรุงไทย เลขที่ 768-0-05141-0 จำนวนเงิน 309.- บาท
    โอนแล้วในวันนี้ (13 ต.ค. 53 เวลา 7.51 น. ) ขอโมทนาบุญทุกประการตั้งแต่ต้นจวบจนปัจจุบันนี้ด้วยค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    ธรรมะดีๆ จากหลวงพ่อชา อ่านไปคิดไป เดี๋ยวได้เรื่อง (ดี) เอง



    <TABLE border=0><TBODY><TR vAlign=bottom><TD>[​IMG] </TD><TD vAlign=bottom align=middle width=350>[​IMG] <HR width=350 color=#ff3300 SIZE=2></TD><TD>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top width=170>[​IMG] </TD><TD>ท่านทั้งหลายได้นับถือพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานาน เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับธรรมในพระพุทธศาสนามาจากครูบาอาจารย์มาก็มาก ซึ่งบางท่านก็สอนอย่างพิสดารกว้างเกินไป จนไม่ทราบว่าจะกำหนดเอาไปปฏิบัติได้อย่างไร บางท่านก็สอนลัดเกินไป จนผู้ฟังยากที่จะเข้าใจ เพราะว่ากันตามตำรา บางท่านก็สอนพอปานกลาง ไม่กว้างและไม่ลัด เหมาะที่จะนำไปปฏิบัติจนตัวเองได้รับประโยชน์จากธรรมนั้นๆ พอสมควร
    อาตมาจึงใคร่อยากจะเสนอข้อคิดและการปฏิบัติ ซึ่งเคยดำเนินมา และได้แนะนำศิษย์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำให้ท่านทั้งหลายได้ทราบบางทีอาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจอยู่บ้างก็เป็นได้
    ผู้ที่จะเข้าถึงพุทธธรรมนั้น เบื้องต้นจะต้องทำตนให้เป็นคนมีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่เป็นประจำ และเข้าใจความหมายของคำว่าพุทธธรรมต่อไปว่า

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    • พุทธะ หมายถึงท่านผู้รู้ตามเป็นจริง จนมีความสะอาด สงบ สว่างในใจ
    • ธรรม หมายถึงตัวความสะอาด สงบ สว่าง ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนั้นผู้ที่เข้าถึงพุทธธรรม ก็คือ คนเข้าถึงศีลสมาธิ ปัญญา นี่เอง
    [​IMG]

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรม</TD></TR></TBODY></TABLE>ตามธรรมดาการที่บุคคลจะไปถึงบ้านถึงเรือนได้นั้น มิใช่บุคคลที่มัวนอนคิดเอา เขาเองจะต้องลงมือเดินทางด้วยตนเอง และเดินทางให้ถูกทางด้วย จึงจะมีความสะดวก และถึงที่หมายได้ หากเดินผิดทาง เขาจะได้รับอุปสรรค เช่น พบขวากหนามเป็นต้น และยังไกลที่หมายออกไปทุกที หรือบางทีอาจจะได้รับอันตรายระหว่างทาง ไม่มีวันที่จะเข้าถึงบ้านได้ เมื่อเดินไปถึงบ้านแล้วจะต้องขึ้นอยู่อาศัยพักผ่อนหลับนอนเป็นที่สบายทั้งกายและใจ จึงจะเรียกว่าคนถึงบ้านได้โดยสมบูรณ์

    ถ้าหากเป็นแต่เพียงเดินเฉียดบ้าน หรือผ่านบ้านไปเฉยๆ คนเดินทางผู้นั้นจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลยจากการเดินทางของเขา ข้อนี้ฉันใด การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรมก็เหมือนกัน ทุกๆ คนจะต้องออกเดินทางด้วยตนเอง ไม่มีการเดินแทนกัน และต้องเดินไปตามทางแห่งศีล สมาธิ ปัญญา จนถึงซึ่งที่หมาย ได้รับความสะอาด สว่าง สงบสว่าง นับว่าเป็นประโยชน์เหลือหลายแก่ผู้เดินทางเอง แต่ถ้าหากผู้ใดมัวแต่อ่านตำรา กางแผนที่ออกดูอยู่ตั้งร้อยปีร้อยชาติ ผู้นั้นไม่สามารถไปถึงที่หมายได้เลย เขาจะเสียเวลาไปเปล่าๆ ปล่อยประโยชน์ที่ตนจะได้รับให้ผ่านเลยไป ครูบาอาจารย์เป็นผู้บอกให้เท่านั้น เราทั้งหลายได้ฟังแล้วจะเดินหรือไม่เดิน และจะได้รับผลมากน้อยเพียงใด นั้นมันเป็นเรื่องเฉพาะตน
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>อย่ามัวอ่านสรรพคุณยาจนลืมกินยา


    </TD></TR></TBODY></TABLE>อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนหมอยายื่นขวดยาให้คนไข้ ข้างนอกขวดเขาเขียนบอกสรรพคุณของยาไว้ว่า แก้โรคชนิดนั้นๆ ส่วนตัวยาแก้โรคนั้นอยู่ข้างในขวด ที่คนไข้มัวอ่านสรรพคุณของยาที่ติดไว้ข้างนอกขวด อ่านไปตั้งร้อยครั้งพันครั้ง คนไข้ผู้นั้นจะต้องตายเปล่า โดยไม่ได้รับประโยชน์จากตัวยานั้นเลย และเขาจะมาร้องตีโพยตีพายว่าหมอไม่ดี ยาไม่มีสรรพคุณ แก้โรคอะไรไม่ได้ เขาจึงเห็นว่ายาที่หมอให้ไว้ไม่มีประโยชน์อะไร ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่เคยเปิดจุกขวดรินยาออกกินเลย

    เพราะมัวแต่ไปติดใจอ่านฉลากยา ซึ่งติดอยู่ข้างขวดเสียจนเพลินแต่ถ้าหากเขาเชื่อหมอจะอ่านฉลากครั้งเดียวหรือไม่อ่านก็ได้ แต่ลงมือกินยาตามคำสั่งของหมอ ถ้าคนไข้เป็นน้อย เขาก็หายจากโรค แต่ถ้าหากเป็นมาก อาการของโรคก็จะทุเลาลง และถ้าหากกินบ่อยๆ โรคก็จะหายไปเอง ที่ต้องกินยามากและบ่อยครั้ง ก็เพราะโรคเรามันมาก เรื่องนี้เป็นธรรมดาเหลือเกิน ดังนั้นท่านผู้อ่านจงใช้สติปัญญาพิจารณาให้ละเอียดจริงๆ จึงจะเข้าใจดี

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>สรีรโอสถและธรรมโอสถ</TD></TR></TBODY></TABLE>พวกแพทย์พวกหมอเขาปรุงยาปราบโรคทางกาย จะเรียกว่าสรีรโอสถ ก็ได้ ส่วนธรรมของพระพุทธเจ้านั้นใช้ปราบโรคทางใจ เรียกว่า ธรรมโอสถ ดังนั้นพระพุทธองค์จึงเป็นแพทย์ผู้ปราบโรคทางใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โรคทางใจเป็นได้ไวและเป็นได้ทุกคน ไม่เว้นเลย เมื่อท่านรู้ว่าท่านเป็นไข้ใจ จะไม่ใช้ธรรมโอสถรักษาบ้างดอกหรือ


    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>เข้าถึงพุทธธรรมด้วยใจ</TD></TR></TBODY></TABLE>พิจารณาดูเถิด การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรมมิใช่เดินด้วยกายแต่ต้องเดินด้วยใจจึงจะเข้าถึงได้ ได้แบ่งผู้เดินทางออกเป็น 3 ชั้น คือ
    1. ชั้นต่ำ ได้แก่ ผู้รู้จักปฏิญาณตนเองเอาพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งอาศัย ตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนด้วยดี ละทิ้งประเพณีที่งมงายและเชื่อมงคลตื่นข่าว จะเชื่ออะไรต้องพิจารณาเหตุผลเสียก่อน คนพวกนี้เรียกว่า สาธุชน
    2. ชั้นกลาง หมายถึง ผู้ปฏิบัติจนเชื่อต่อพระรัตนตรัยอย่างแน่นแฟ้นไม่เสื่อมคลาย รู้เท่าทันสังขาร พยายามสละความยึดมั่นถือมั่นให้น้อยลง มีจิตเข้าถึงธรรมสูงขึ้นเป็นขั้นๆ ท่านเหล่านี้เรียกว่าพระอริยบุคคล คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี
    3. ชั้นสูง ได้แก่ผู้ปฏิบัติจนกาย วาจา ใจ เป็นพุทธะ เป็นผู้พ้นจากโลก อยู่เหนือโลก หมดความยึดถืออย่างสิ้นเชิง เรียกว่า พระอรหันต์ ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุด
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>การทำตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์</TD></TR></TBODY></TABLE>ศีลนั้น คือระเบียบควบคุมรักษากายวาจาใจให้เรียบร้อย ว่าโดยประเภทมีทั้งของชาวบ้านและของนักบวช แต่เมื่อกล่าวโดยรวบยอดแล้วมีอย่างเดียว คือ เจตนา ในเมื่อเรามีสติระลึกได้อยู่เสมอเพื่อควบคุมใจให้รู้จักละอายต่อการทำชั่วเสียหาย และรู้สึกตัวกลัวผลของความชั่วจะตามมา พยายามรักษาใจให้อยู่ในแนวทางแห่งการปฏิบัติที่ถูกที่ควรเป็นศีลอย่างดีอยู่แล้ว ตามธรรมดา เมื่อเราใช้เสื้อผ้าที่สกปรกและตัวเองก็สกปรก ย่อมทำให้จิตใจอึดอัดไม่สบาย แต่ถ้าหากเรารู้จักรักษาความสะอาดทั้งร่างกายและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ย่อมทำให้จิตใจผ่องใสเบิกบาน ดังนั้นเมื่อศีลไม่บริสุทธิ์เพราะกายวาจาสกปรก ก็เป็นผลให้จิตใจเศร้าหมอง ขัดต่อการปฏิบัติธรรม และเป็นเครื่องกั้นใจมิให้บรรลุถึงจุดหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจิตใจที่ได้รับการฝึกมาดีหรือไม่เท่านั้น เพราะใจเป็นผู้สั่งให้พูดให้ทำ ฉะนั้นเราจึงต้องมีการฝึกจิตใจต่อไป
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>การฝึกสมาธิ</TD></TR></TBODY></TABLE>การฝึกสมาธิ ก็คือการฝึกจิตของเราให้ตั้งมั่นและมีความสงบเพราะตามปกติ จิตนี้เป็นธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง ห้ามได้ยาก รักษาได้ยาก ชอบไหลไปตามอารมณ์ต่ำๆ เหมือนน้ำชอบไหลสู่ที่ลุ่มเสมอ พวกเกษตรกรเขารู้จักกั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ในการเพาะปลูกต่างๆ มนุษย์เรามีความฉลาดรู้จักเก็บรักษาน้ำ เช่น กั้นฝาย ทำทำนบทำชลประทาน เหล่านี้ก็ล้วนแต่กั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ทั้งนั้น พลังงานไฟฟ้าที่ให้ความสว่างและใช้ทำประโยชน์อื่นๆ ก็ยังอาศัยน้ำที่คนเรารู้จักกั้นไว้นี่เอง ไม่ปล่อยให้มันไหลลงที่ลุ่มเสียหมด ดังนั้นจิตใจที่มีการกั้นการฝึกที่ดีอยู่ ก็ให้ประโยชน์อย่างมหาศาลเช่นกัน ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า "จิตที่ฝึกดีแล้ว นำความสุขมาให้ การฝึกจิตให้ดีย่อมสำเร็จประโยชน์" ดังนี้เป็นต้น

    เราสังเกตดูแต่สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ก่อนที่เราจะเอามาใช้งานต้องฝึกเสียก่อน เมื่อฝึกดีแล้วเราจึงได้อาศัยแรงงานมันทำประโยชน์นานาประการ

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>จิตที่ฝึกดีแล้วมีคุณค่ามากมาย</TD></TR></TBODY></TABLE>ท่านทั้งหลายก็ทราบแล้ว จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมมีคุณค่ามากมายกว่ากันหลายเท่า ดูแต่พระพุทธองค์และพระอริยสาวก ได้เปลี่ยนภาวะจากปุถุชนมาเป็นพระอริยบุคคล จนเป็นที่กราบไหว้ของคนทั่วไปและท่านยังได้ทำประโยชน์อย่างกว้างขวางเหลือประมาณที่เราๆจะกำหนด ก็เพราะพระองค์และสาวกได้ผ่านการฝึกจิตมาด้วยดีแล้วทั้งนั้น
    จิตที่เราฝึกดีแล้วย่อมเป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพทุกอย่าง ยังเป็นทางให้รู้จักทำงานด้วยความรอบคอบ ไม่เป็นคนหุนหันพลันแล่น ทำให้ตนเองมีเหตุผล และได้รับความสุขตามสมควรแก่ฐานะ
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>การฝึกอานาปานสติภาวนา</TD></TR></TBODY></TABLE>การฝึกจิตมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่เห็นว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่สุด ใช้ได้กับบุคคลทั่วไป วิธีนั้นเรียกว่า อานาปานสติ-ภาวนา คือ มีสติจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าและหายใจออก ที่สำนักนี้ให้กำหนดลมที่ปลายจมูกโดยภาวนาว่าพุทโธ ในเวลาเดินจงกรม และนั่งสมาธิ ก็ภาวนาบทนี้ จะใช้บทอื่น หรือจะกำหนดเพียงการเข้าออกของลมก็ได้ แล้วแต่สะดวก ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าพยายามกำหนดลมเข้าออกให้ทันเท่านั้น การเจริญภาวนาบทนี้จะต้องทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ จึงจะได้ผล ไม่ใช่ว่าทำครั้งหนึ่งแล้วหยุดไปตั้งอาทิตย์สองอาทิตย์ หรือตั้งเดือนจึงทำอีก อย่างนี้ไม่ได้ผล พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า ภาวิตา พหุลีกตา อบรมกระทำให้มาก คือทำบ่อยๆ ติดต่อกันไป
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ใช้สติกำหนดลมหายใจเพียงอย่างเดียว</TD></TR></TBODY></TABLE>การฝึกจิตใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผล ควรเลือกหาที่สงบ ไม่มีคนพลุกพล่าน เช่น ในสวนหลังบ้าน หรือต้นไม้ที่มีร่มเงาดีๆ แต่ถ้าเป็นนักบวชควรแสวงหาเรือนว่าง (กระท่อม) โคนไม้ ป่า ป่าช้า ถ้ำ ตามภูเขา เป็นที่บำเพ็ญ เหมาะที่สุด เราจะอยู่ที่ใดก็ตาม ใช้สติกำหนดลมหายใจอย่างเดียว แม้จิตใจจะคิดไปเรื่องอื่น ก็พยายามดึงกลับมาทิ้งเรื่องอื่นๆทั้งหมด โดยไม่พยายามคิดถึงมัน รู้ให้ทันกับความคิดนั้นๆ เมื่อทำเข้าบ่อยๆ จิตจะสงบลงเรื่อยๆ เมื่อจิตสงบตั้งมั่นแล้ว ถอยจิตนั้นมาพิจารณาร่างกาย ร่างกายคือขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หาตัวตนไม่ได้ มีแต่ธรรมชาติไหลไปตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น สิ่งทั้งปวงตกอยู่ในลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งนั้น ความยึดมั่นต่างๆ จะน้อยลงๆ เพราะเรารู้เท่าทันมัน เรียกว่าเกิดปัญญาขึ้น

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ปัญญาเกิดเมื่อจิตดีแล้ว</TD></TR></TBODY></TABLE>เมื่อเราใช้จิตที่ฝึกดีแล้วพิจารณารูปนามอยู่อย่างนี้ ให้รู้แจ้งแน่ชัดว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปัญญารู้เท่าทันสภาพความเป็นจริงของสังขารที่เกิด เป็นเหตุให้เราไม่ยึดถือหรือหลงใหล เมื่อเราได้อะไรมาก็มีสติ ไม่ดีใจจนเกินไป เมื่อของสูญหายไป ก็ไม่เสียใจจนเกิดทุกขเวทนา เพราะรู้เท่าทัน เมื่อประสบความเจ็บไข้หรือได้รับทุกข์อื่นๆ ก็มีการยับยั้งใจ เพราะอาศัยจิตที่ฝึกมาดีแล้ว เรียกว่ามีที่พึ่งทางใจเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้เรียกได้ว่าเกิดปัญญารู้ทันตามความเป็นจริง ที่จะเกิดปัญญาเพราะมีสมาธิ สมาธิจะเกิดเพราะมีศีล มันเกี่ยวโยงกันอยู่อย่างนี้ ไม่อาจแยกออกจากกันไปได้

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ลมหายใจกับศีล สมาธิ ปัญญา</TD></TR></TBODY></TABLE>สรุปได้ความดังนี้ อาการบังคับตัวเองให้กำหนดลมหายใจ ข้อนี้เป็นศีล การกำหนดลมหายใจได้และติดต่อกันไปจนจิตสงบ ข้อนี้เรียกว่าสมาธิ การพิจารณากำหนดรู้ลมหายใจว่าไม่เที่ยง ทนได้ยากมิใช่ตัวตน แล้วรู้การปล่อยวาง ข้อนี้เรียกว่า ปัญญา การทำอานาปานสติภาวนา จึงกล่าวได้ว่าเป็นการบำเพ็ญทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ไปพร้อมกัน และเมื่อทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้ครบ ก็ชื่อว่าได้เดินทางตามมรรคมีองค์แปด ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทางสายเอกประเสริฐกว่าทางทั้งหมด เพราะจะเป็นการเดินทางเข้าถึงพระนิพพานเมื่อเราทำตามที่กล่าวมานี้ ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงพุทธธรรมอย่างถูกต้องที่สุด

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ผลจากการปฏิบัติสมาธิภาวนา</TD></TR></TBODY></TABLE>เมื่อเราปฏิบัติตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ย่อมมีผลปรากฏตามระดับจิตของผู้ปฏิบัตินั้นๆ ซึ่งแบ่งเป็น 3 พวก ดังต่อไปนี้
    1. สำหรับสามัญชนผู้ปฏิบัติตาม ย่อมทำให้เกิดความเชื่อในคุณพระรัตนตรัย ถือเอาเป็นที่พึ่งได้ ทั้งเชื่อตามผลกรรมว่า ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว จะทำให้ผู้นั้นมีความสุขความเจริญยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนได้กินขนมที่มีรสหวาน
    2. สำหรับพระอริยบุคคลชั้นต่ำ ย่อมมีความเชื่อในคุณพระรัตนตรัยแน่นแฟ้นไม่เสื่อมคลาย เป็นผู้มีจิตใจผ่องใส ดิ่งสู่นิพพานเปรียบเหมือนคนได้กินของหวาน ซึ่งมีทั้งรสหวานและมัน
    3. สำหรับท่านผู้ได้บรรลุอรหัตตผล ย่อมมีความหลุดพ้นจากห้วงทุกข์ทั้งปวง เพราะเป็นพุทธะแล้ว พ้นจากโลก อยู่จบพรหมจรรย์เปรียบเหมือนได้กินของหวาน ที่มีทั้งรสหวาน มัน และหอม
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>จงรีบสร้างบารมีด้วยการทำดี</TD></TR></TBODY></TABLE>เราท่านทั้งหลายได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา เป็นการยากแท้ที่สัตว์ทั้งหลายล้านตัวไม่มีโอกาสอย่างเรา จงอย่าประมาท รีบสร้างบารมีให้แก่ตนด้วยการทำดี ทั้งชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง อย่าปล่อยให้เวลาเสียไปโดยเปล่าปราศจากประโยชน์เลย
    ฉะนั้น ควรจะทำตนให้เข้าถึงพุทธธรรมเสียแต่วันนี้

    ขอฝาก ภาษิตว่า "เที่ยวทางเวิ้งเหิงนานมันสิค่ำ เมานำต่าบักหว้ามันสิช้าค่ำทาง"

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.isangate.com/dhamma/teach_dhamma.html
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    เปิดอ่านดูมีประโยชน์แท้.. นำมาฝากกันเมื่อเจอสิ่งที่ดี


    [​IMG]



    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE width="95%" background=images/bgbody.jpg><TBODY><TR><TD align=middle>
    [​IMG]
    </TD><TD width=400>พิธีกรรมประจำชีวิต
    [​IMG]

    โบราณได้กำหนดชีวิตขั้นสำคัญไว้ 4 ครั้ง คือ
    เกิดครั้งหนึ่ง
    บวชครั้งหนึ่ง
    กินดอง (แต่งงาน) ครั้งหนึ่ง
    และตายอีกครั้งหนึ่ง
    เมื่ออายุผ่านมาถึงขั้นหนึ่งๆ นั้น
    จะต้องมีการกระทำพิธี
    พิธีที่กระทำในระยะนั้นเรียกว่า
    พิธีกรรมประจำชีวิต

    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

     
  9. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    วันนี้เวลาประมาณ 16.00 น. คุณภรรยาและลูก ๆ ได้โอนเงินร่วมทำบุญกับทุนนิธิ

    สงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร เข้าบัญชี ธ. กรุงศรีฯ จำนวน 500.- บาท



    .
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    วันนี้ขอแตกแถวหน่อย พอดีได้พบในเวบพระเครื่องเวบหนึ่ง เรื่องพระพิมพ์สมเด็จที่มี 2 หน้า แต่มีกริ่งในตัว เพราะเมื่อวันก่อนได้พบเจอองค์จริงของท่าน โดยปิดทองล่องชาดเรียบร้อยต่างจากในภาพ(ซึ่งเข้าใจว่าตามภาพที่นำมาลงเป็นการล้างคราบชาดที่ฉาบไว้เรียบร้อยแล้ว) เจอพร้อมกันทีเดียว 6 องค์ที่ท่าพระจันทร์ ถามแม่ค้าว่ามีแค่นี้รึ แม่ค้าบอกว่ามีแค่นี้จริงๆ เลยเหมาหมด ตอนนี้แบ่งกันไปบางส่วนแล้ว พอนำมาให้ฌาณลาภีระดับสูงได้ตรวจพร้อมกัน 2 ท่าน พบว่ามีทั้งรังสีจิตของท่านหลวงปู่อุตตระ หัวหน้าคณะพระธรรมฑูตโลกอุดร หลวงปู่โสณะ และหลวงปู่อิเกสาโร (ส่วนหลวงปู่ในคณะอีก 2 รูป อยู่ด้วยแต่ไม่พบรังสีจิต) พร้อมทั้งของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ อยู่ด้วย จึงนับว่าไม่เสียเที่ยว หากท่านพบเจอพระพิมพ์สมเด็จประเภทนี้ อย่าเพิ่งวาง พระพิมพ์สมเด็จพิมพ์มาตรฐานนิยมหน้าเดียวปลอมทำง่ายกว่า แต่นี่มีสองหน้า และมีกริ่งในตัว สันนิษฐานไว้ก่อนว่าน่าจะใช่ ยังไงลองนำมาเทียบเนื้อกันดูก็แล้วกัน หรือส่งรูปมาถามทาง pm. ก็ได้ หากไม่เหลือบ่ากว่าแรงแล้ว จะพยายามหาคำตอบมาให้ครับ (การตรวจข้างต้น เป็นผลพลอยได้เฉพาะบุคคล ผมเองไม่มีความสามารถในการตรวจรังสีในระดับสูงเช่นนี้ได้ เพียงแต่รับรู้ถึงกระแสจิตแห่งท่านเท่านั้น ส่วนการลงลึกในรายละเอียดต้องเป็นผู้ที่มีของเก่าระดับอภิญญา 3 ขึ้นไปติดตัวมาถึงตอบได้ละเอียดครับ)


    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2010
  11. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284

    ประเพณีการทอดกฐิน

    เรื่องการทอดกฐิน

    เป็นประเพณีไทยที่สำคัญมาก เป็นพระราชพิธีใหญ่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและอยุธยา ภาพเขียนพิธีกฐินมีการแห่ทั้งชลมารคและสถลมารคอยู่ที่ตู้พระไตรปิฎก วัดอนงคาราม และยังปรากฏในที่อีกหลายแห่ง

    ในจดหมายเหตุของบาดหลวงเดอชัวลี ได้พรรณนาถึงกฐินหลวง ซึ่งงดงามโอ่อ่าที่สุด ในบรรดาพระราชพิธีทั้งหลายของกษัตริย์อยุธยา


    [​IMG]


    [​IMG]

    ความหมายของกฐิน

    ๑ คำว่า "กฐิน" เป็นชื่อของสังฆกรรมชนิดหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่ต้องใช้พระสงฆ์ร่วมเป็นพยานในการทำ ๕ รูปเป็นอย่างน้อย คือ ๔ รูป เป็นองค์สงฆ์หรือพยาน และอีก ๑ รูปเป็นองค์ครองผ้ากฐิน รวมเป็น ๕ รูป ภาษาสังฆ์กรรมของพระเรียกว่า "ปัญจวรรค"

    ๒. กฐิน แปลว่า สุก หมายความว่าผู้ที่จะรับกฐินได้ต้องบ่มตัวให้สุกเสียก่อน เมื่อถึงเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษา คือเดือน ๘ แรม ๑ ค่ำ พระภิกษุทั้งหลายจะต้องลงไปประชุมพร้อมเพรียงกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ แล้วทำพิธีอธิษฐานพรรษา ว่าข้าพเจ้าเข้าจำพรรษาตลอดไตรมาศ ๓ เดือน ในอาวาสหรือกุฎีหลังนี้ ตามคำอธิษฐานพรรษาทั้งสองประเภทนี้ หมายความว่าต้องตั้งใจไว้อย่างแน่วแน่ว่าจะไม่หนีไปค้างคืนวัดอื่นเลยตลอด ๓ เดือน และจะต้องนอนค้าง คือเฉพาะกุฏิของตัวเองเท่านั้นตลอด ๓ เดือน จะไปค้างคืนที่อื่นไม่ได้เป็นอันขาด ถ้าไปก็ต้องขาดพรรษา และต้องอาบัติทุกกฏ เว้นไว้แต่มีกิจจำเป็นตามพระวินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ เรียกว่า สัตตาหะ คือให้ไปกลับได้ภายใน ๗ วัน เหตุจำเป็นนั้นคือ

    ๑) สหธรรมิก หรือมารดาบิดาเจ็บไข้ ไปเพื่อรักษาพยาบาล
    ๒) สหธรรมิก กระสันจะสึก ไปเพื่อระงับ
    ๓) มีกิจสงฆ์เกิดขึ้น เช่น วิหารชำรุดลงในเวลานั้น ไปเพื่อหาเครื่อง สัมภาระ มาปฏิสังขรณ์ซ่อมแซม
    ๔) ทายกต้องการจะบำเพ็ญบุญกุศล ส่งมานิมนต์ไปเพื่อบำรุงศรัทธา แม้ธุระอื่นนอกจากนี้ที่เป็นกิจลักษณะก็อนุโลมตามนี้ได้

    ถ้าพระภิกษุรูปใด ไปด้วยเหตุที่ควรไปดังกล่าวมานั้นเกิน ๗ วันไปก็ดี หรือไปโดยไม่มีเหตุก็ดี พระภิกษุรูปนั้นขาดพรรษา ไม่ได้อานิสงส์พรรษาและไม่ได้อานิสงส์กฐิน ทั้งยังห้ามนับพรรษานั้นอีกด้วย
    เพราะฉะนั้นคำว่า กฐิน จึงได้แปลว่า สุก เพราะผู้ที่เข้าจำพรรษาตลอดไตรมาศ เท่านั้นจึงจะรับกฐินได้ ถ้าพรรษาขาดก็รับไม่ได้ ผู้ที่เข้าจำพรรษา ชื่อว่าได้บ่มตัวให้สุกด้วยปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ตามสมควร แก่สติปัญญา และวาสนาบารมีของตนๆ เมื่อบ่มตัวให้สุกโดยทำนองนี้แล้ว จึงจะสมควรจะรับกฐิน ดังนั้นกฐินจึงได้แปลว่าสุก ดังกล่าวมา

    ๓. กฐิน แปลว่า แก่กล้า หมายความว่า พระสงฆ์ที่จะรับกฐิน กรานกฐินนั้นต้องแก่กล้าด้วยสติปัญญา มีความฉลาดสามารถที่จะรับผ้ากฐินได้ ต้องประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ

    ๑) รู้จักบุพกร คือ ธุระอันจะพึงทำในเบื้องต้นแห่งการกรานกฐิน ๗ อย่าง คือ ซักผ้า๑ กะผ้า๑ ตัดผ้า๑ เนาหรือด้นผ้าที่ตัดแล้ว๑ เย็บเป็นจีวร๑ ย้อมจีวรที่เย็บแล้ว๑ ทำกัปปะคือ พินทุ๑
    ๒) รู้จักถอนไตรจีวร
    ๓) รู้จักอธิษฐานไตรจีวร
    ๔) รู้จักการกราน
    ๕) รู้จักมาติกา คือ หัวข้อแห่งการเดาะกฐิน
    ๖) รู้จักปลิโพธิกังวล เป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน
    ๗) รู้จักการเดาะกฐิน
    ๘) รู้จักอานิสงส์กฐิน

    และทายกทายิกา ผู้เป็นเจ้าภาพ ที่จะถวายกฐินก็ต้องมีศรัทธาแก่กล้าด้วยจึงจะทำได้ เพราะต้องลงทุนมากอยู่ คือจะต้องซื้อเครื่องอัฏฐบริขาร และเครื่องบริวารอีกมากมาย เพื่อถวายพระสงฆ์สามเณร ผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาศ และถวายปัจจัยบำรุงวัดตามสมควร เพราะเหตุดังนี้ กฐินจึงได้แปลว่า แก่กล้า คือต้องแก่กล้าด้วยกันทั้งทายก และปฏิคาหก

    ๔. กฐิน แปลว่า แข็ง หมายความว่า ใจแข็ง คือพระสงฆ์ต้องมีกำลังใจอันเข้มแข็ง อดทน ต้องช่วยกันจัด ช่วยกันทำให้สำเร็จภายในวันนั้น และทายกก็ต้องมีใจแข็งระวังมิให้กิเลสครอบงำได้แก่ ละความตระหนี่ยินดีในทานการกุศล ให้ใจของตนแข็งแกร่ง อยู่ในเจตนาทั้งสามกาล คือ

    ๑) ก่อนแต่จะถวายก็ให้มีความดีใจ
    ๒) กำลังถวายอยู่ก็ให้มีความดีใจ
    ๓) ถวายเสร็จแล้วก็ให้มีความดีใจ ถึงแม้ว่าของจะแตกของจะหายก็จงระวังใจให้ดี อย่าให้ใจขุ่นได้แม้แต่น้อย ต้องพยายามรักษาเจตนาทั้งสามนี้ให้บริบูรณ์ จึงจะได้บุญมาก ได้อานิสงส์มาก ถูกต้องตามทำนองครองธรรมแท้ อาศัยเหตุดังนี้ กฐินจึงแปลว่า แข็ง

    ๕. นอกจากนี้คำว่า "กฐิน" เป็นชื่อของไม้ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ขึงในเวลาเย็บจีวร ภาษาไทยเรียกว่า "ไม้สดึง" ภาษาบาลีใช้คำว่า "กฐิน" ขณะเดียวกันภาษาไทยได้ยืมภาษาบาลีมาเป็นภาษาของตัวเองโดยการเรียกทับศัพท์ไปเลยว่า ผ้ากฐินหรือบุญกฐิน

    ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)

    บุญกฐิน มีกำหนดทำกันในระหว่างแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ สำหรับจุดประสงค์หลักของการทำบุญกฐินนั้น เพื่อที่จะให้พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาแล้วได้ผลัดเปลี่ยนผ้าใหม่ โดยได้มีมูลเหตุของบุญกฐินปรากฎในกฐินขันธะแห่งพระวินัยปิฎก และฎีกาสมันตปาสาทิกา ไว้ว่า:-

    สมัยหนึ่ง ได้มีพระภิกษุชาวเมืองปาฐาจำนวน ๓๐ รูป พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี ขณะนั้นวันจำพรรษาได้ไกล้เข้ามา พวกภิกษุเหล่านั้นจึงได้พากันจำพรรษาที่เมืองพระเชตวันมหาวิหาร ตลอดระยะเวลาสามเดือนที่จำพรรษาภิกษุเหล่านั้นมีความตั้งใจอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องไปเฝ้าพระพุทธเจ้าให้ได้ ครั้นพอ ออกพรรษาแล้ว พากันออกเดินทางกรำฝนทนแดดร้อนไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

    ขณะฤดูฝนยังไม่ทันจะล่วงพ้นสนิท ทำให้พวกภิกษุชาวเมืองปาฐาเหล่านั้นมีจีวรเปียกชุ่มและเปื้อนด้วยโคลนตม พอไปถึงพระเชตวันมหาวิหารได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเห็นใจในความยากลำบากของภิกษุเหล่านั้น จะไม่เอาไตรจีวรไปครบชุดก็ผิดวินัย เมื่อเอาไปก็ไม่สะดวกในการเดินทาง พระองค์จึงทรงประชุมสงฆ์ จึงทรงบัญญัติเรื่องกฐินขึ้น ความว่า ภิกษุอยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนแล้ว ทรงอนุญาตให้กรานกฐิน (รับกฐิน) เมื่อได้กรานกฐินแล้ว ให้ได้รับอานิสงส์ยกเว้นจากพระวินัย ๕ ข้อ คือ

    ๑) อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ จะไปค้างคืนที่ไหน ไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับก็ได้ ไม่ต้องอาบัติ
    ๒) จะไปไหนมาไหน ไม่ต้องบอกลาก็ได้ ไม่ต้องอาบัติ
    ๓) ฉันคณะโภชน์ได้ ไม่ต้องอาบัติ
    ๔) เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
    ๕) จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอทั้งได้โอกาสขยายเขตจีวรกาล ให้ยาวออกไปอีกจนถึงกลางเดือน

    จึงอนุญาตให้หาผ้ากฐินหรือผ้าที่ขึงเย็บด้วยไม้สะดึงมาใช้เปลี่ยนถ่ายแทนผ้าเก่า ฝ่ายนางวิสาขามหาอุบาสิกาเมื่อได้ทราบถึงพุทธประสงค์แล้ว นางก็ได้นำผ้ากฐินไปถวายแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และนางได้เป็นคนแรกที่ได้ถวายผ้ากฐินในพระพุทธศาสนา


    [​IMG]

    ประเภทของกฐิน โดยทั่วไปจะเป็นที่เข้าใจว่ากันว่ากฐินมี ๒ แบบ คือ "จุลกฐิน" และ "มหากฐิน"

    ๑. จุลกฐิน แปลว่า กฐินน้อย กฐินด่วน กฐินแล่น กฐินวัง คือใช้เวลาตระเตรียมน้อย ได้แก่ มีจำกัดเวลาว่า ต้องรีบทำในวันนั้นทอดวันนั้น ไม่มีเวลาให้ตระเตรียมล่วงหน้าไว้ และการตระเตรียมนั้นโดยมากนิยมเริ่มต้นตั้งแต่กรอเส้นด้ายบ้าง ตั้งแต่ทอเป็นผืนบ้าง ตั้งแต่การปลูกฝ้ายเก็บฝ้ายบ้าง เช่น เอาดอกฝ้ายที่เก็บไว้นานแล้วไปติดตามต้นฝ้ายที่สมมติขึ้น นำมากรอให้เป็นเส้น ทอให้เป็นผืน ตลอดจนให้ได้ถวายทันกำหนดเวลาในวันนั้น อย่างนี้เรียกว่า จุลกฐิน กฐินชนิดนี้นานๆ จะมีคนทำ เพราะความยุ่งยากและต้องใช้คนมาก ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจกันจริงๆ ส่วนใหญ่จะนิยมทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการทอดกฐิน

    วิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาวกรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวงทำในวันกลางเดือน ๑๒ คือ ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน ถึงวันกลางเดือน ๑๒ อันเป็ฯที่สุดของพระบรมพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุลกฐินไปทอด มูลเหตุของจุลกฐินคงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้ทัน เห็นจะเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นชั้นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้องทอใหม่ไม่" (จากวิธีทำบุญ ฉบับหอสมุด หน้า ๑๑๙)
    ๒. มหากฐิน แปลว่า กฐินใหญ่ คือ กฐินที่ใช้เวลาตระเตรียมไว้นาน หมายความว่า ทายกผู้เป็นเจ้าภาพนั้นจะเริ่มตระเตรียมจัดแจงแสวงหาสิ่งของมารวบรวมไว้ล่วงหน้านานเท่าไรก็ได้ มีของดีมีของมาก อย่างนี้เรียกว่า มหากฐิน แต่ก็เป็นที่นิยมทำกันเพราะมีความสะดวกพอสมควร


    ประเภทของกฐินอีกอย่างหนึ่งคือ

    ๑. กฐินหลวง ได้แก่ กฐินอันเป็นส่วนของพระมหากษัตริย์ ที่ทรงพระราชศรัทธาถวายแด่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาถ้วนไตรมาศ ในพระอารามหลวงทั้งมวล


    [​IMG]

    ๒. กฐินราษฎร์ ได้แก่ กฐินที่เป็นส่วนของข้าราชการ พ่อค้า ประชาราษฎร์ทั่วไป ซึ่งนำไปทอดถวายแด่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน ในวัดราษฎร์นั้น
    กฐินหลวงก็ดี กฐินราษฎร์ก็ดี เมื่อว่าโดยความมุ่งหมายทางพระวินัยแล้ว ก็ให้สำเร็จประโยชน์แด่พระสงฆ์เป็นอย่างเดียวกัน คือได้รับอานิสงส์ ๕ เท่ากัน

    ใครเป็นผู้ทอดกฐิน?

    ทายกผู้ทอดกฐินนั้น จะเป็นเทวดาก็ได้ มนุษย์ก็ได้ คฤหัสถ์ก็ได้ สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรีก็ได้ ผู้เดียวทอดก็ได้ หลายคนรวมกันเป็นเจ้าภาพทอด ซึ่งเรียกว่า กฐินสามัคคีก็ได้ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่สงฆ์ผู้รับเหมือนกันหมด

    องค์กฐินได้แก่อะไร? เพราะเหตุไร?

    ได้แก่ ผ้าที่จัดขึ้นเพื่อเป็นผ้ากฐิน เพราะเป็นตัวการสำคัญกว่าบริขารอย่างอื่นๆ ในเครื่องกฐินนั้น ผ้ากฐินนั้นใช้ผ้าอย่างไหน ชนิดไหน ใช้ผ้าที่ยังไม่ได้ย้อมคือผ้าขาวก็ได้ ผ้าที่ย้อมแล้วก็ได้ ผ้าตัดสำเร็จรูปแล้วก็ได้ ผ้าที่ยังไม่ตัดสำเร็จรูปก็ได้ แต่ต้องพอที่จะทำไตรจีวร ผืนใดผืนหนึ่งได้

    ในสมัยนี้ โดยมากใช้ผ้าที่สำเร็จรูปแล้วย้อมสีได้ที่ดีแล้ว ที่ใช้ผ้าขาวซึ่งไม่ได้ตัดให้สำเร็จรูปก็มี แต่น้อย แม้กฐินหลวงก็ใช้กันอยู่ทั้งสองอย่าง

    กฐินมีอานิสงส์มาก เพราะได้อานิสงส์ทั้งภิกษุผู้ได้รับกฐินก็ได้อานิสงส์ ๕ คือได้รับยกเว้นจากพระวินัย ๕ ข้อ ยืดเวลาออกไปอีก ๔ เดือน คือ ไปถึงกลางเดือน ๔

    ๑. เป็นสังฆทาน คือต้องถวายแก่พระสงฆ์อย่างน้อย ๕ รูป และต้องเป็นสงฆ์ที่จำพรรษาครบ ๓ เดือนด้วย ต่ำ่กว่า ๕ รูป รับกฐินไม่ได้

    ๒ เป็นสังฆกรรม พระสงฆ์ได้รับแล้วต้องนำผ้ากฐินเข้าไปในสีมา ( อุโบสถ) พระคู่สวดต้องสวดมอบผ้าให้แก่องค์ครอง ตามที่ปรึกษากันไว้แล้ว จึงจะสำเร็จเป็นผ้ากฐิน

    ๓. เป็นกาลทาน ต้องทอดให้ตรงกับเวลาตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้กฐินจะทอดได้เริ่มตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ก่อนนี้หรือหลังนี้ทอดไม่ได้

    ๔. แม้พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภ์ ก็ทรงถือเป็นราชประเพณีเสด็จไปบำเพ็ญกุศลพระราชทานผ้ากฐิน ณ พระอารามหลวง เป็นประจำทุกปี เรียกว่า กฐินหลวง บางครั้งก็เสด็จไปบำเพ็ญกุศล พระราชทานผ้ากฐินต้น ณ วัดราษฎร์

    สรุปการทอดกฐินมีอานิสงส์มากมายหลายอย่าง หลายประการทั้งภพนี้และภพหน้า

    ๑. ในภพนี้ได้อานิสงส์ ดังนี้คือ

    ๑. ได้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาไว้ ให้ดำรงค์เสถียรภาพอยู่ตลอดกาลนาน
    ๒. ได้เพิ่มกำลังกายใจให้แก่พระสงฆ์ผู้เป็นศาสนทายาท สืบอายุพระพุทธศาสนาต่อไป
    ๓. ได้ถวายอุปการะ อุปถัมภ์บำรุงแก่พระภิกษุสามเณรเป็นมหากุศลอันสำคัญยิ่ง
    ๔. ได้สร้างต้นเหตุของความสุขไว้
    ๕. ได้สร้างรากเหง้าแห่งสมบัติทั้งหลายไว้
    ๖. ได้สร้างเสบียงสำหรับเดินทางอันกันดาลในวัฏฏสงสารไว้
    ๗. ได้สร้างเกาะสร้างที่พึ่งที่อาศัยอันเกษมแก่ตัวเอง
    ๘. ได้สร้างเครื่องยึดเหนี่ยวแห่งใจไว้
    ๙. ได้สร้างเครื่องช่วยให้พ้นจากความทุกข์นานาประการ
    ๑๐. ได้สร้างกำลังใจอันยิ่งใหญ่ไว้ เพื่อเตรียมตัวก่อนตาย
    ๑๑. ได้จำกัดมลทินคือ มัจฉริยะออกไปจากขันธสันดาน
    ๑๒. ได้บำเพ็ญสิริมงคลให้แก่ตน
    ๑๓. ได้สร้างสมบัติทิพย์ไว้ให้แก่ตน
    ๑๔. เป็นที่รักใคร่ชอบใจของคนทั้งหลาย
    ๑๕. มีจิตใจผ่องใสเบิกบาน
    ๑๖. ได้บริจาคทานทั้งสองอย่างควบกันไปคือ อามิสทาน และธรรมทาน
    ๑๗. ให้ได้อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ เป็นทาน
    ๑๘. ได้ฝังทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนา คือทำทรัพย์ภายนอกให้เป็นทรัพย์ภายใน ซึ่งเรียกว่าอริยทรัพย์ คือทรัพย์อันประเสริฐ ๗ ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีล หิริ โอตัปปะ เสตะ จาคะ ปัญญา
    ๑๙. ชื่อว่ายึดถือไว้ได้ซึ่งประโยชน์ ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้ ๑ ประโยชน์ภพหน้า ๑

    ๒. อานิสงส์ในภพหน้านั้นคือ

    ๑. เป็นคนมั่งคั่งสมบูรณ์มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
    ๒. เป็นคนสวยน่าดู น่าเลื่อมใส
    ๓. มีบุตรภรรยา บ่าวไพร่ เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย
    ๔. มีประโยชน์เต็มเปี่ยมในเวลาจะตายและตายไปแล้ว
    ๕. ได้ประสบพบเห็นแต่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ล้วนแต่ดีๆ
    ๖. ไม่มีภัยแก่โภคทรัพย์
    ๗. มีชื่อเสียงดี
    ๘. มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
    ๙. เป็นพลาปัจจัยให้ได้สมบัติ ๓ ประการคือ มนุษย์สมบัติ ๑ สวรรค์สมบัติ ๑ นิพพานสมบัติ ๑

    ข้อมูลจาก
    http://www.geocities.com/piyapani/K00052.html
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1111.jpg
      1111.jpg
      ขนาดไฟล์:
      67.5 KB
      เปิดดู:
      928
    • 2222.jpg
      2222.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.7 KB
      เปิดดู:
      889
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ตุลาคม 2010
  12. Pinkcivil

    Pinkcivil เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    425
    ค่าพลัง:
    +1,644
    สวัสดีครับ

    ได้รู้จักทุนนิธิฯ นี้จากคุณหนุ่ม(Sithiphong) อ่านมาได้ซักพักนึงแต่ยังไม่มีโอกาสไปร่วมงานเรยครับ

    วันนี้ 16/10/10 เวลา 20:27 น. ผมได้โอนเงินร่วมทำบุญกับทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อาจารย์ประถม อาจสาคร (BAY348-123-2459)

    จำนวน 6,009 บาท ครับ

    ขออนุโมทนาสาธุกับทุกท่านด้วยครับ
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    ประชาสัมพันธ์เรื่องหนังสือคำสอนของหลวงปู่เคราฯ นิดนึงครับ วันนี้ได้ไปรับหนังสือมาจาก โรงพิมพ์เรียบร้อยแล้วตามจำนวนที่สั่งจอง ทั้งรูปโปสการ์ดที่เตรียมแจก พร้อมกับพระพิมพ์สมเด็จสกุลปัญจสิริ ดังนั้น ในวันทำกิจกรรมคือวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ ทุกคนที่จองหนังสือฯ ผ่านทุนนิธิฯ จะได้รับของดี ที่ควรค่าแก่ตัวท่าน 3 สิ่งคือ

    1. หนังสือคำสอนของหลวงปู่เคราฯ
    2. รูปโปสการ์ด ขนาด 4X6" 1 ใบ โดยทั้งหนังสือฯ และรูป ไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว เพราะหลวงปู่ฯ ท่านทำไว้ให้เรียบร้อย และ
    3. พระพิมพ์สมเด็จ สกุลปัญจสิริ ที่ผมชอบเรียกว่าเป็นสีแบบ "บูรพาพยัคฆ์" เพราะสีขององค์พระจะออกเขียวขี้ม้าเหมือนชุดพรางทหาร ที่ผมนำมาให้ครูอาจารย์ของผมขอบารมีจากท่านข้างบนเพิ่มให้อีก 7 วัน จนท่านบอกว่าสุดๆ แล้วอัดไม่เข้าแล้ว นอกเหนือจากการเสกทางจิตของท่านหลวงปู่พระธรรมฑูตโลกอุดรทั้ง 5 พระองค์ อีกจำนวน 1 องค์ เก็บไว้เป็นสมบัติของตนเองและลูกหลานสืบไป

    จึงแจ้งให้ท่านที่ได้จองหนังสือกับผมไว้ ได้ทราบและโปรดไปรับหนังสือฯ และวัตถุมงคลข้างต้นด้วยตนเอง ได้ที่ รพ.สงฆ์ในวันอาทิตย์หน้า วันที่ 24/10 ตั้งแต่เวลา 7.30-9.30 ครับ

    พันวฤทธิ์
    16/10/53

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4788-1.JPG
      IMG_4788-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      235.8 KB
      เปิดดู:
      117
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2010
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมากลับจากประชุมที่เชียงใหม่ ตอนผ่านเข้า จว.ลำปาง แวะเข้าไปกราบสรีระหลวงปู่เกษม ที่สุสานไตรลักษณ์ พร้อมกับร่วมทำบุญกับท่านโดยถวายผ้าไตรพร้อมกับดอกไม้ที่ทางสุสานฯ จัดให้ 1 ชุด สรีระท่านในโลงตามภาพนอนอย่างสงบนิ่ง เมื่อถวายผ้าไตรและดอกไม้ต่อหลวงปู่ฯ เสร็จสิ้น ทางวัดได้มอบภาพที่แนบมาพร้อมกับผ้าไตรมาให้ 1 ภาพ เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก ตอนนั่งในรถลองนำภาพดังกล่าวมาระลึกถึงบารมีท่าน และขออนุญาตชมบารมีท่าน ลูบคลำไปสักพัก พบว่าภาพใบนี้มีพลังมากมาย เลยนั่งนึกถึงท่านมาตลอด เช่นเดียวกับภาพใบน้อยของหลวงพ่อกวยที่ผมเคยอธิษฐานขอให้ท่านทำให้เหมือนกับตอนทีท่านมีชีวิตอยู่ต่อหน้าโลงศพท่านที่ จ.ชัยนาท และพบปรากฏการณ์เช่นเดียวกันกับภาพของหลวงปู่เกษมฯ วันนี้มีโอกาสจึงได้ลองถามพี่ที่เคารพถึงเรื่องนี้ จึงได้ความว่า ทุกวันนี้พลังจิตของท่านยังอยู่ และวัตถุมงคลทั้งหลายที่ทำขึ้นมาภายหลัง หากมีผู้ขอบารมีให้ท่านมาอธิษฐานจิตให้ หากเจตนาดี พิธีการดี ท่านมาทำให้อย่างแน่นอน บารมีธรรมท่านสูงมาก อย่างรูปที่ผมถาม ท่านก็มาทำให้เช่นกัน ดังนั้น หากใครผ่านไปทางลำปาง อย่าลืมไปกราบไหว้ท่าน พร้อมกับทำบุญและขอรูปท่านที่กำลังสนทนากับในหลวงไว้ด้วยครับ รูปนี้ท่านทำให้ทั้งๆ ที่ได้ละสังขารไปแล้ว ดีจริงๆ และต้องบอกว่าดีทั้งหลวงปู่ฯ และในหลวงครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ขอยืมภาพมาจาก
    ��ǧ������ ��� ���ҹ���ѡɳ� �.�ӻҧ
     
  15. pinkpink

    pinkpink เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,246
    ค่าพลัง:
    +11,631
    มีพระป่วยต้องการความช่วยเหลือ แต่ก็ไม่ทราบว่าจะตรงวัตถุประสงค์ของ

    กองทุน หรือเปล่าน่ะคะ

    http://palungjit.org/posts/3916366"][B]8[/B] </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->พระขันติโก<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3916366", true); </SCRIPT>
    นักบวช

    [​IMG]





    16-10-2010, 10:21 PM

    </TD><TD class=alt1 id=td_post_3916366 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- google_ad_section_start -->รายนามผู้บริจาคช่วยเหลือพระอาพาธ

    ๑. คุณpaintkiller ร่วมบริจาค ๓๐๐ บาท
    ๒. คุณkamonthuds ร่วมบริจาค ๑๐๐ บาท
    ๓. คุณsuppysuppy ร่วมบริจาค ๑๐๐ บาท
    ๔. คุณlowprofile ร่วมบริจาค ๑๕๐ บาท

    รวม ๖๕๐ บาท<!-- google_ad_section_end -->

    </TD></TR></TBODY></TABLE>[/COLOR]
    วันนี้ได้จ่ายค่ารักษาพยาบาล แล้ว 19,500 บาท

    รวมค่ารักษาพยาบาล ตั้งแต่ วันที่ 11 - 16 103,255 บาท

    หักแล้วคงเหลือ 83,755 บาท


    ขออนุโมทนาบุญแก่ผู้ใจบุญทุกท่าน พระอาจารย์ภานุ เป็นองค์หนึ่งในจำนวน
    พระสงฆ์ ที่อาพาธหลายพัน รูป ที่กำลังอาพาธอยู่ทั้วประเทศ ก็มีโครงการของ
    โยมสมบูรณ์ glassbuddha2009 ที่มีโครงการเกี่ยวกับพระอาพาธอยู่ แม้พระ
    ท่านกำลังอาพาธอยู่ท่านก็กำลังทำหน้าที่เผยแผ่ ธรรมะของพระพุทธองค์อยู่
    ท่านเป็นตัวอย่างให้เราเห็นว่า เรานั้นมีโรคภัยเป็นธรรมดาไม่สามารถล่วงพ้น
    ความเจ็บไข้ไปได้ ร่างการเราเป็นรังของโรค ซึ่งทำให้เราได้เห็นไตรลักษณ์ ได้
    เห็นธรรมะ ให้เราเห็นความเป็นธรรมดา ของสังขารร่างกายนี้ไม่ควรหลงไหล
    และยึดถือเลย<!-- google_ad_section_end -->
     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096

    ผมได้โทร.ปรึกษากันทางโทรศัพท์ทั้งกรรมการทุนนิธิฯ และที่ปรึกษาของทุนนิธิฯ แล้ว เห็นว่า ค่าใช้จ่ายของท่านมากโขอยู่ แต่เนื่องจากภารกิจของทุนนิธิฯ ยังมีอีกไกลจึงจำเป็นที่ต้องสงวนสิทธิ์ในบางประการอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้เห็นว่า ท่านมีภาระในเรื่องค่าใช้จ่ายมาก รวมทั้งอาการและสภาพของท่านอยู่ในขั้นที่ควรช่วยเหลือเป็นอย่างยิ่ง ที่ประชุมในครั้งนี้จึงมีมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ที่จะใช้เงินบริจาคจากผู้บริจาคที่อยู่ในบัญชีของทุนนิธิฯ ช่วยเหลือท่านเป็นจำนวนเงิน 5,000.- บาท โดยผมจะได้สำรองเงินส่วนตัวโอนเข้าบัญชีตามที่ปรากฏในเวบลิงค์ต่อไปครับ พร้อมนี้ ขอให้พวกเราที่ได้เข้ามาอ่านโพสท์นี้ ได้โปรดอนุโมทนาในกุศลผลบุญในครั้งนี้ด้วยกันทุกคนอย่างน้อยก็ถือว่าได้มีโอกาสได้ช่วยเหลือพุทธบุตรรูปหนึ่งที่อาพาธหนักตามที่มีผู้ร้องขอมาด้วยเทอญ..นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ


    พันวฤทธิ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2010
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    ขอประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมประจำเดือนตุลาคม ดังนี้ กิจกรรมที่ รพ.สงฆ์ ประจำเดือนนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม 2553 โดยนัดพบเพื่อจัดเตรียมสังฆทานอาหารที่โรงอาหารด้านข้าง รพ.สงฆ์ในเวลา 7.30 น.-8.30 น. จึงขอแจ้งให้ผู้ที่สนใจได้ทราบทั่วกัน โดยผมและนายสติได้เบิกเงินจากบัญชีของทุนนิธิฯ มาแล้ว เพื่อเตรียมบริจาค ตามประมาณการดังนี้


    1 รพ.สงฆ์

    - ถวายค่าสังฆทานอาหาร 6,000.- (ประมาณการพระสงฆ์ไว้ 200 รูป)
    - ถวายค่าเวชภัณฑ์ส่วนกลาง 5,000.-
    - ถวายค่าโลหิต 5,000.-
    รวม 16,000.-

    2 รพ.ภูมิภาค

    - รพ.แม่สอด จ.ตาก 8,000.- (เดิมบริจาคเดือนละ 6,000.- แต่เนื่องจากได้รับแจ้งจากทาง รพ.แม่สอดว่า ขณะนี้ ยอดการรักษาพยาบาลมีค่าใช้จ่ายติดลบทุกเดือน จึงได้หารือกันในที่ประชุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีมติให้เพิ่มอีก 2,000.- รวมเป็นเงินบริจาคทั้งสิ้นสำหรับ รพ.แม่สอดในขณะนี้ 8,000.- ซึ่งเป็นการบริจาคเต็มพิกัดแล้วและจะคงที่จนกว่ารายงานการเจ็บป่วยของสงฆ์อาพาธจะน้อยลงจึงจะลดระดับมาเท่าเดิม)
    - รพ.สมเด็จพระยุพราช (ปัว) 5,000.-
    จ.น่าน
    - รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย 8,000.-
    จ.เลย
    - รพ.มหาราช จ.เชียงใหม่ 5,000.-
    - รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น 8,000.-
    - รพ.50 พรรษาฯ จ.อุบล 5,000.-
    - รพ.สงขลา จ.สงขลา 8,000.-
    - รพ.ปัตตานี จ.ปัตตานี 5,000.-
    รวม 52,000.-


    3. เงินบริจาคพิเศษ

    เงินบริจาคพิเศษสำหรับพระภิกษุภานุ มหาวีโร วัดคุ้งวารี ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 5,000.-

    รวมเป็นค่าใช้จ่าย 1+2+3 ทั้งสิ้น 73,000.-(เจ็ดหมื่นสามพันบาทถ้วน)

    ส่วนกิจกรรมพิเศษนั้นก็คงเป็นเรื่องของการแจกหนังสือตามการสั่งจองในช่วงเวลาประมาณ 9.30 น. ที่บริเวณที่ห้องศาสนพิธีด้านหน้าของ รพ.สงฆ์และนัดหมายกันไปร่วมงานกฐินของทุนนิธิฯ ตอนสิ้นเดือนนี้ที่ จ.เพชรบูรณ์ ส่วนผ้าอังสะของหลวงปู่ศรี ตอนนี้ตัดแบ่งไว้เรียบร้อยแล้ว รอเพียงการลงยันต์นะโภคทรัพย์เพิ่มเติม ไว้เดือนหน้าค่อยแจกจ่ายกัน คราวนี้ขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบเพียงแค่นี้ก่อนครับ

    พันวฤทธิ์
    18/10/53


     
  18. lowprofile

    lowprofile เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,391
    ค่าพลัง:
    +6,023
    ขอกราบอนุโมทนาในกุศลกรรมกุศลจิตของท่านทั้งหลายและท่านจขกท
    ที่ได้ร่วมสร้างกุศลในหลายๆๆรายการ ด้วยครับสาธุ สาธุ สาธุ สาธุ
    ผมจะโอนเงินค่ากฐินวัดถำระฆังทอง 100 บาทในวันพร่งนี้ครับ 19/10/53
    สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ
    ส่วนงานบุญอื่นๆๆจะทอยๆไปครับ
     
  19. พุทธนิรันดร์

    พุทธนิรันดร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,641
    ค่าพลัง:
    +5,039
    วันนี้(19 ต.ค.53) ผมได้โอนเงินจำนวน 1,000 บาทเข้าบัญชี"ศ. ทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร" (pratom foundation) บัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาถนนวิภาวดีรังสิต (ซันทาวเวอร์ส) บัญชีออมทรัพย์ หมายเลข 348-1-23245-9
    เป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ(โดยโอนจากบัญชีธ.กรุงไทย)เพื่อร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ


    กราบโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ สาธุ
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    อ้างอิง

    กิจกรรมที่ รพ.สงฆ์ ประจำเดือนนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน 2553 โดยนัดพบเพื่อจัดเตรียมสังฆทานอาหารที่โรงอาหารด้านข้าง รพ.สงฆ์ในเวลา 7.30 น.-8.30 น.


    จึงขอแจ้งให้ผู้ที่สนใจได้ทราบทั่วกัน โดยผมและนายสติได้เบิกเงินจากบัญชีของทุนนิธิฯ มาแล้ว เพื่อเตรียมบริจาค ตามประมาณการดังนี้


    1 รพ.สงฆ์

    - ถวายค่าสังฆทานอาหาร 6,000.- (ประมาณการพระสงฆ์ไว้ 200 รูป)
    - ถวายค่าเวชภัณฑ์ส่วนกลาง 5,000.-
    - ถวายค่าโลหิต 5,000.-
    รวม 16,000.-

    2 รพ.ภูมิภาค

    - รพ.แม่สอด จ.ตาก 6,000.-
    - รพ.สมเด็จพระยุพราช (ปัว) 5,000.-
    จ.น่าน
    - รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย 8,000.-
    จ.เลย
    - รพ.มหาราช จ.เชียงใหม่ 5,000.-
    - รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น 8,000.-
    - รพ.50 พรรษาฯ จ.อุบล 5,000.-
    - รพ.สงขลา จ.สงขลา 8,000.-
    - รพ.ปัตตานี จ.ปัตตานี 5,000.-
    รวม 50,000.-

    3. เงินช่วยกิจกรรมพิเศษ

    สำหรับ เงินช่วยเหลือพิเศษในเดือนนี้ เป็นเงินช่วยเหลือพิเศษสำหรับการดำเนินการในส่วนของเครื่องกฐินที่จะถวายที่ สำนักสงฆ์ถ้ำระฆังทองฯ ที่ทุนนิธิฯ รับเป็นเจ้าภาพกฐินเอก และมีกำหนดการทอดกฐินในวันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2553 ณ สำนักสงฆ์ถ้ำระฆังทอง ต.นาสนุ่น อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ สำหรับรายละเอียดของกำหนดการ จะได้นำมาโพสท์ให้ทราบในภายหลัง โดยเงินช่วยกิจกรรมพิเศษ มีรายละเอียดดังนี้

    1. จัดซื้อเครื่องกฐิน 10,000.-
    2. จัดพิมพ์ซองกฐิน 4,000.- (ประมาณ 1,000 ซอง)

    รวม 14,000.-


    และรวมเป็นยอดเงินบริจาค ตามประมาณการฯ ในข้อ 1.+2.และ 3. เป็นเงินทั้งสิ้น 80,000.-
    "


    ใบอนุโมทนาบัตรของเดือน ก.ย. 53 เพิ่มเติมครับ โดยบาง รพ.ที่บริจาคไปผู้ที่มีอำนาจลงนามติดเดินทางไปต่างประเทศหรือยังไม่กลับจากส่วนกลาง อย่างเช่นที่ รพ.ปัตตานีและ รพ.แม่สอด เป็นต้น


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...