ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
    โอนปัจจัยร่วมบุญประจำเดือนเมษายนแล้ววันนี้เวลา 10.23 จำนวน1000.11บาทค่ะ
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    ธรรมะของหลวงพ่อชา อุปมา-อุปมัย ตอนที่ 1




    <TABLE id=table1 width=760><TBODY><TR><TD vAlign=top width=200>​





    </TD><TD vAlign=top width=400>[​IMG]




    ธรรมะเชิงอุปมาอุปมัย
    รวบรวมคำอุปมาของ หลวงพ่อชา สุภัทโท (พระโพธิญาณเถร)

    [​IMG] ใบไม้
    ขณะนี้เรานั่งอยู่ในป่าที่สงบ ที่นี่ไม่มีลม ใบไม้จึงนิ่ง
    เมื่อใดที่มีลมพัด ใบไม้จึงไหวปลิว
    จิตก็ทำนองเดียวกับใบไม้
    เมื่อสัมผัสกับอารมณ์มันก็สะเทือนไปตามธรรมชาติของจิต
    เรายิ่งรู้ธรรมะน้อยเพียงไร ใจก็จะรับความสะเทือนได้มากเพียงนั้น
    รู้สึกเป็นสุข ก็ตายด้วยความสุข รู้สึกเป็นทุกข์
    ก็ตายด้วยความทุกข์อีก มันจะไหลไปเรื่อย ๆ



    [​IMG] น้ำเจือสี
    ใจของเราขณะที่เป็นปกติอยู่
    เปรียบเหมือนน้ำฝนเป็นน้ำที่สะอาด มีความใสสะอาดบริสุทธิ์เป็นปกติ
    ถ้าเราเอาสีเขียวใส่ลงไป เอาสีเหลืองใส่เข้าไป
    น้ำก็จะกลายเป็นสีเขียว สีเหลืองไป
    จิตของเรานี้ก็เหมือนกัน เมื่อไปถูกอารมณ์ที่ชอบใจ ใจก็ดี
    ใจก็สบาย เมื่อถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจแล้ว ใจนั้นก็ขุ่นมัว ไม่สบาย
    เหมือนกันกับน้ำที่ถูกสีเขียวก็เขียวไป ถูกสีเหลืองก็เหลืองไป
    เปลี่ยนสีไปเรื่อย


    [​IMG] อยู่กับงูเห่า
    ขอให้โยมจำไว้ในใจ อารมณ์ทั้งหลายนั้น
    ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่พอใจก็ตาม หรืออารมณ์ที่ไม่พอใจก็ตาม
    อารมณ์ทั้งสองอย่างนี้มันเหมือนงูเห่าซึ่งมีพิษมาก ถ้ามันฉกคนแล้ว
    ก็ทำให้ถึงแก่ความตายได้ อารมณ์นี้ก็เหมือนงูเห่าที่มีพิษร้ายนั้น
    อารมณ์ที่พอใจก็มีพิษมาก อารมณ์ที่ไม่พอใจก็มีพิษมาก
    มันทำให้จิตใจของเราไม่เสรี ทำให้จิตใจไข้วเขว
    จากหลักธรรมของพระพุทธเจ้า


    [​IMG] ปล่อยพิษงูไป
    อารมณ์ทั้งหลายเหมือนกันกับงูเห่าที่มีพิษร้าย
    ถ้าไม่มีอะไรขวาง มันก็เลื้อยไปตามธรรมชาติของมัน แม้พิษมันจะมีอยู่
    มันก็ไม่แสดงออกมา ไม่ได้ทำอันตรายเรา เพราะเราไม่ได้เข้าไปใกล้มัน
    งูเห่าก็เป็นไปตามเรื่องของงูเห่า มันก็อยู่อย่างนั้น
    ถ้าหากเป็นคนที่ฉลาดแล้วก็จะปล่อยหมด
    สิ่งที่ดีก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ชั่วก็ปล่อยมันไป
    สิ่งที่ชอบใจก็ปล่อยมันไป
    เหมือนอย่างเราปล่อยงูเห่าตัวที่มีพิษร้ายนั้น
    ปล่อยให้มันเลื้อยของมันไป
    มันก็เลื้อยไปทั้งที่มีพิษอยู่ในตัวมันนั่นเอง


    [​IMG] สอนเด็ก
    ฉะนั้น การปฏิบัตินี้จึงว่านั่ง นั่นแหละปฏิบัตินั่ง
    ดูไปมันมีอารมณ์ดี อารมณ์ชั่ว สลับซับซ้อนกันไปเป็นธรรมดาของมัน
    อย่าไปสรรเสริญจิตของเราอย่างเดียว อย่าไปให้โทษมันอย่างเดียว
    ให้รู้จักกาล รู้จักเวลามัน เมื่อถึงคราวสรรเสริญ ก็สรรเสริญมันหน่อย
    สรรเสริญให้พอดีอย่าให้หลง
    เหมือนกับสอนเด็กนั่นแหละ บางทีก็เฆี่ยนมันบ้าง
    เอาไม้เรียวเล็ก ๆ เฆี่ยนมัน ไม่เฆี่ยนไม่ได้
    อันนี้บางทีก็ให้โทษมันบ้าง อย่าให้โทษมันเรื่อยไป
    ให้โทษมันเรื่อยไปมันก็ออกจากทางเท่านั้นแหละ ถ้าให้สุขมัน
    ให้คุณมันเรื่อย ๆ มันไปไม่ได้


    [​IMG] เด็กซุกซน
    เปรียบกับเด็กที่ซุกซน เล่นสนุก ทำให้รำคาญจนเราต้องดุเอา
    ตีเอา แต่เราก็ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของเด็กก็เป็นอย่างนี้เอง
    พอรู้อย่างนี้ เราก็ปล่อยให้เด็กเล่นไปตามเรื่องของเขา ความเดือดร้อน
    รำคาญของเราก็หมดไป เพราะเรายอมรับธรรมชาติของเด็ก
    ความรู้สึกของเราจึงเปลี่ยนไป
    เรายอมรับธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย เราปล่อยวางได้
    จิตของเราก็มีความสงบเยือกเย็น นี่เรามีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว
    เป็นสัมมาทิฏฐิ ทีนี้ก็หมดปัญหาที่จะต้องแก้


    [​IMG] รับแขก
    เรามาทำจิตของเราให้เป็นผู้รู้ตื่นอยู่
    คอยรักษาจิตของเราอยู่ ถ้าแขกมาเมื่อไรโบกมือห้าม มันจะมานั่งที่ไหน
    มีที่นั่งเดียวเท่านั้น เราก็พยายามรับแขกอยู่ตรงนี้ตลอดวัน
    นี่คือพุทโธ ตัวตั้งมั่นอยู่ที่นี่ ทำความรู้นี้ไว้ จะได้รักษาจิต
    เรานั่งอยู่ตรงนี้ แขกที่เคยมาเยี่ยมเราตั้งแต่เราเกิดตัวเล็ก ๆ โน้น
    มาทีไรก็มาที่นี่หมด เราจึงรู้จักมันหมดเลย พุทโธอยู่คนเดียว
    พูดถึงอาคันตุกะ แขกที่จรมาปรุงแต่งต่าง ๆ นานา
    เราให้เป็นไปตามเรื่องของมัน
    อาการของจิตที่เป็นไปตามเรื่องของมันนี่แหละเรียกว่า เจตสิก
    มันจะเป็นอะไร จะไปไหนก็ช่างมัน ให้เรารู้จักอาคันตุกะที่มาพัก
    ที่รับแขกมีเก้าอี้ตัวเดียวเท่านี้เอง
    เราเอาผู้หนึ่งไปนั่งไว้แล้ว มันก็ไม่มีที่นั่ง
    มันมาที่นี่ มันก็จะมาพูดกับเรา ครั้งนี้ไม่ได้นั่ง
    ครั้งต่อไปก็จะมาอีก มาเมื่อไรก็พบผู้ที่นั่งอยู่ ไม่หนีสักที
    มันจะทนมากี่ครั้ง เพียงพูดกันอยู่ที่นั่น เราก็จะรู้จักหมดทุกคน
    พวกที่ตั้งแต่เรารู้เดียงสาโน้น มันจะมาเยี่ยมเราหมด




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    การถวายข้าวพระพุทธ...สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
    <TABLE class=ncode_imageresizer_warning id=ncode_imageresizer_warning_1 width=307><TBODY><TR><TD class=td1 width=20></TD><TD class=td2 unselectable="on"></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]



    การถวายข้าวพระพุทธ
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)



    :: ขอกราบเท้าถามหลวงพ่อว่า ทำไมจึงมีการถวายข้าวพระพุทธ โดยมีผู้อธิบายแตกต่างไปหลายนัย

    อันการถวายข้าวพระนั้น แต่เดิมครั้งสมัยพุทธันดร ขณะที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ พระอานนท์พุทธอุปฐากแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์กตัญญู มีความเคารพนับถือองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่ง ไม่มีอย่างอื่นใดจะเปรียบได้

    เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จักเสด็จไปในที่ใดพระอานนท์พุทธอุปฐากนั้นไซร์ก็ได้ติดตามไปใกล้ชิดพระยุคลบาทมิได้ห่างเหินเลย ครั้นทรงอาพาธด้วยโรคอย่างใด พระอานนท์พุทธอุปฐากก็ได้พยายามปรนนิบัติรักษาอย่างเต็มความสามารถเสมอ

    การถวายภัตตาหารก็ดี น้ำฉันก็ดี ปูอาสนะนั่งนอนก็ดีนั้น เป็นหน้าที่ของพระอานนท์พุทธอุปฐาก และได้กระทำสม่ำเสมอมา ไม่ว่าพระพุทธองค์จะทรงเสด็จไปในที่แห่งใด เมื่อเป็นเช่นนี้พระอานนท์จึงเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดต่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่ง

    และยิ่งกว่านั้นยังเป็นผู้ที่กระทำตนให้เหมือนตู้แห่งพระธรรม ที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ ตรัสออกจากพระโอษฐ์เพื่อเทศนาสั่งสอนปุถุชนเวไนยสัตว์ทั้งหลายก็ตาม พระอานนท์ย่อมจะต้องเป็นผู้รับรู้ซึ่งธรรมอันนั้นด้วย

    ในการที่จะแก้ปัญหาธรรมและตอบแก่ผู้มาถามทุกฝ่าย การปฏิบัติต่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ ขององค์พระอานนท์พุทธอุปฐากนี้ ย่อมกระทำเป็นกิจวัตรตลอดมา โดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงและกระทำโดยสม่ำเสมอ

    เมื่อครั้งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ เสด็จดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานแล้ว พระอานนท์พุทธอุปฐากก็ยังระลึกถึงองค์สมเด็จพระบรมศาสดาอยู่มิรูวาย พระอานนท์คิดเสมอเหมือนหนึ่งว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่

    แม้ว่าพระพุทธองค์จะเป็นผู้ขันธปรินิพพานไปแล้วก็ตาม แต่การปฏิบัติของพระอานนท์พุทธอุปฐากก็หาได้ยุติลงไม่ เหตุทั้งนี้ก็เพื่อเป็นเครื่องแสดงซึงกตัญญูกตเวทิตาคุณ ต่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ

    เมื่อภายหลังประชาชนทั้งหลายได้ทราบเรื่องจึงพากันซุบซิบนินทาว่า พระอานนท์ได้ปฏิบัติการไปนั้นไม่เป็นการถูกต้องสมควร

    แต่ได้มีพระมหากัสสปเถระผู้เป็นใหญ่ แก้ปัญหาข้อนี้ว่า

    การที่พระอานนท์กระทำไปหมายถึงว่า พระอานนท์ได้ระลึกถึงพระคุณขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ อยู่ตลอดเวลา การปฏิบัติถวายข้าวพระ น้ำดื่ม ปูอาสนะนั่งนอน แม้เมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ก็ยังแสดงซึ่งกตัญญูกตเวทิตาคุณแก่ผู้มีพระคุณดังนี้

    การปูอาสนะที่นั่งนอนและภัตตาหารทั้งหลาย น้ำผลไม้หรืออัฏฐบาล น้ำดื่ม น้ำใช้ทั้งปวง เมื่อพระอานนท์เคยจัดอย่างไร เมื่อสมัยที่พระบรมศาสดาฯ ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ พระอานนท์ก็ได้จัดไว้เช่นนั้น จนตราบเท่าที่พระอานนท์ดับขันธปรินิพพานไปเช่นเดียวกัน

    การกระทำเช่นนี้เป็นการแสดงกตเวทิตาธรรม อันวิญญูชนทั้งหลายพึงทราบความเป็นจริง ตามที่กล่าวมานี้ เข้าใจหรือยัง


    : คำสั่งสอนอบรม
    : โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี).

    http://board.agalico.com/showthread.php?t=9786
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร : พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตเหนือฟ้าดิน
    <HR SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->

    [​IMG][​IMG]


    <TABLE class=ncode_imageresizer_warning id=ncode_imageresizer_warning_1 width=264><TBODY><TR><TD class=td1 width=20></TD><TD class=td2 unselectable="on">กดที่เเถบนี้เพื่อดูรูปขนาดดั้งเดิม</TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG] [​IMG]

    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

    วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร


    พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตเหนือฟ้าดิน

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ฝั้น อาจาโร พระอริยสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรมชั้นสูงสุด อุปนิสัยท่านเป็นคนเรียบร้อย อ่อนโยน นิสัยสุขุมเยือกเย็นและกว้างขวาง ปรารภความเพียรแรงกล้าเด็ดเดี่ยว ไปตามภูผาป่าเขาเพียงลำพัง แสวงหาความสงบวิเวก ยินดีต่อความสงบ เป็นผู้มักน้อยสันโดษ พอใจในปัจจัยสี่ที่ตนมีอยู่แล้วได้มาโดยชอบธรรม เป็นนักต่อสู้เพื่อเอาชนะกิเลส มีสหธรรมิกคือพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์กว่า สุมโน

    ท่านมีความเคารพเลื่อมใส ตั้งอยู่ในโอวาทของพระอาจารย์มั่นอย่างถึงใจ ทำความเพียรทั้งกลางวันกลางคืน จนจิตสว่างจ้า ที่จังหวัดเชียงใหม่ พอรุ่งเช้าท่านพระอาจารย์มั่นได้พูดกับท่านว่า
     
  5. num_mon

    num_mon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    579
    ค่าพลัง:
    +912
    สาธุ ขอน้อม อนุโมทนาอย่าง ยิ่ง

    เำพิ่งมาเจอกระทู้ ตามอ่าน กันตาแฉะเลย

    ได้ทั้งบุญ ได้ทั้งวัตถุ เจริญศรัทธา อยากได้บ้าง 555+

    ปล.ประวัติพ่อแม่ ครูอาจารย์ อ่านแล้ว ทรา้บซึ้งครับ
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096

    ไม่ต้องตามอ่านจนตาแฉะครับ มีบทคัดย่อไว้ให้แล้ว เลือกอ่านได้เลยตามนี้ครับ

    http://www.vcharkarn.com/vblog/34941
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    เมื่อพูดถึงท่านอาจารย์ฝั้นซึ่งท่านถือได้ว่าท่านได้อรหัตผลพร้อมกับมีวาสนาที่บำเพ็ญฌาณจนสำเร็จสมาบัติ 8 ไปด้วยนั้น เมื่อราว 15 ปีก่อน คือราวปี 2535 ผมไปบ้าน อาจารย์ประถม อาจสาครที่ชลบุรี ได้นำเหรียญของท่านรุ่นที่ 16 ซึ่งตอนนั้นราคาสักร้อยบาทได้ แต่เพื่อนให้มาฟรี นำไปให้ท่าน อาจารย์ฯ ตรวจ ปรากฏว่าพอวางใส่มือท่าน เกิดปาฏิหารย์คือเหรียญนี้ดูดติดมือไม่หล่น จนอาจารย์บอกแรงมาก สงสัยเจตนาการสร้างดี จึงทำให้พลังจิตของท่านสัมฤทธิ์ผลเต็มที่ สืบค้นไปเรื่อย จึงทราบว่าเหรียญนี้แม่ชีในวัดได้ทำขึ้นมาถวายท่าน แต่ประวัติมีน้อยมาก ราคาในขณะนี้ก็คงสักประมาณ พันกว่าบาทได้กระมัง หากใครยังไม่มีผมมีรูปให้ดูตามข้างล่างนี้ เป็นเหรียญขนาดเล็กเหมาะสำหรับผู้หญิง แต่แรงเหลือเกินคุ้มราคามาก ลองเสาะหากันดูก็แล้วกัน เหรียญนี้ไม่ดังเพราะไม่มีใครรู้ค่า จึงน่าจะยังเก็บได้ครับ

    เหรียญหลวงปู่ฝั้น อาจาโร รุ่น 16

    [​IMG] [​IMG]
    เอื้อเฟื้อภาพจากเวบ
    http://images.google.co.th/imgres?i...0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99+16&gbv=2&hl=th&sa=G
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    อานิสงส์ของการสวดมนต์ช่างมีคุณค่าสูงส่งยิ่งนัก
    <HR SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG]



    เทศนาโดย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
    ดังปรากฎในงานของท่านเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี จางวางมหาดเล็กในรัชกาลที่ 4 ที่ได้นิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จโตมาเทศน์ที่บ้าน

    **********************************************************

    ครั้นพลบค่ำท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต พร้อมลูกศิษย์ได้เดินทางจากวัดระฆังฯ มายังบ้านของท่านเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี ซึ่งในขณะนั้นมีอุบาสก อุบาสิกานั่งพับเพียบเรียบร้อยกันเป็นจำนวนมาก ด้วยต้องการสดับรับฟังการเทศน์ของท่านเจ้าประคุณ ณ ที่เรือนของท่านเจ้าพระยา

    เจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์เป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงกล่าวบูชาพระรัตนตรัย เมื่อจบแล้ว ท่านจึงเทศน์ “เรื่องอานิสงส์ของการสวดมนต์”ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้กล่าวว่ายังมีคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการสวดมนต์มีประโยชน์น้อยและเสียเวลามากหรือฟังไม่รู้เรื่องความจริงแล้วการสวดมนต์มีประโยชน์อย่างมากมาย เพราะการสวดมนต์เป็นการกล่าวถึงคุณงามความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าพระองค์ท่านมีคุณวิเศษเช่นไร พระธรรมคำสอนของพระองค์มีคุณอย่างไร และพระสงฆ์อรหันต์อริยะเจ้ามีคุณเช่นไร การสวดมนต์ด้วยความตั้งใจจนจิตเป็นสมาธิ แล้วใช้สติพิจารณาจนเกิดปัญญาและความรู้ความเข้าใจประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์นั่นคือ จะทำให้ท่านเป็นผล จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์


    ที่อาตมากล่าวเช่นนี้ มีหลักฐานปรากฎในพระธรรมคำสอนที่กล่าวไว้ว่าโอกาสที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มี 5 โอกาสด้วยกันคือ

    1.เมื่อฟังธรรม
    2.เมื่อแสดงธรรม
    3.เมื่อสาธยายธรรม นั่นคือ การสวดมนต์
    4.เมื่อตรึกตรองธรรม หรือเพ่งธรรมอยู่ในขณะนั้น
    5.เมื่อเจริญวิปัสสนาญาณ
    การสวดมนต์ในตอนเช้าและในตอนเย็นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายต่างพากันมาเข้าเฝ้า

    พระพุทธองค์ โดยแบ่งเวลาเข้าเฝ้าเพื่อฟังธรรมเป็น 2 เวลา นั่นคือตอนเช้าและตอนเย็น การฟังธรรมเป็นการชำระล้างจิตใจที่เศร้าหมองให้หมดไปเพื่อสำเร็จสู่มรรคผลพระนิพพาน การสวดมนต์นับเป็นการดีพร้อมซึ่งประกอบไปด้วยองค์ทั้ง 3 นั่น คือ

    1.กาย มีอาการสงบเรียบร้อยและสำรวม
    2 วาจา เป็นการกล่าวถ้อยคำสรรเสริญถึงพระคุณอันประเสริฐ
    3.ใจ มีความเคารพนบนอบต่อคุณพระรัตนตรัย
    ในพระคุณทั้ง 3 พร้อมเป็นการขอขมาในการผิดพลาดหากมีและกล่าวสักการะเทิดทูนที่สูงยิ่งซึ่งเราเรียกได้ว่าเป็นการสร้างกุศล ซึ่งเป็นมงคลอันสูงสุดทีเดียว อาตมาภาพขอรับรองแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าหากบุคคลใดได้สวดมนต์เช้าและเย็นไม่ขาดแล้ว บุคคลนั้นย่อมเข้าสู่แดนพระอรหันต์อย่างแน่นอน การสวดมนต์นี้ควรสวดมนต์ให้มีเสียงดังพอสมควร ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่จิตตนและประโยชน์แก่จิตอื่น

    * ที่ว่าประโยชน์แก่จิตตน คือเสียงในการสวดมนต์จะกลบเสียงภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนจิต ก็จะทำให้เกิดความสงบอยู่กับบทสวดมนต์นั้น ๆ ทำให้เกิดสมาธิและปัญญา เข้ามาในจิตใจของผู้สวด

    * ที่ว่าประโยชน์แก่จิตอื่น คือผู้ใดที่ได้ยินได้ฟังเสียงสวดจะพลอยให้เกิดความรู้เกิดปัญญา มีจิตสงบลึกซึ้งตามไปด้วย ผู้สวดก็เกิดกุศลไปด้วยโดยการให้ทานโดยทางเสียงเหล่าพรหมเทพที่ชอบฟังเสียงในการสวดมนต์มีอยู่จำนวนมาก ก็จะมาชุมนุมฟังกันอย่างมากมายเมื่อมีเหล่าพรหมเทพเข้ามาล้อมรอบตัวของผู้สวดอยู่เช่นนั้น ภัยอันตรายต่าง ๆ ที่ไหนก็ไม่สามารถกล้ำกลายผู้สวดมนต์ได้ตลอดจนอาณาเขตและบริเวณบ้านของผู้ที่สวดมนต์ ย่อมมีเกราะแห่งพรหมเทพและเทวดาทั้งหลายคุ้มครองภัยอันตราย ได้อย่างดีเยี่ยม

    ดูก่อน...ท่านเจ้าพระยาและอุบาสกอุบาสิกาในที่นี้การสวดมนต์เป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เมื่อจิตมีที่พึ่งคือ คุณพระรัตนตรัย ความกลัวก็ดี ความสะดุ้งกลัวก็ดี และความขนพองสยองเกล้าก็ดี ภัยอันตรายใด ๆ ก็ดี จะไม่มีแก่ผู้สวดมนต์นั่นแล...


    ขอขอบคุณ
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    คิด "บวก" ช่วยเพิ่มพลังใจ....
    <HR SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG]

    เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ

    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่ และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้ อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา

    กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิน

    หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

    1.จะต้องมีสัจจะต่อตนเอง
    2.จะต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์
    3.พยายามตัดงานในด้านสังคมออก และไม่นัดหมายใครในเวลาปฏิบัติกรรมฐาน ดังนั้นเมื่อจะเป็นนักปฏิบัติธรรมจำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเรา เพื่อฝึกจิตให้เข้มแข็ง

    ทางแห่งความหลุดพ้น

    เจ้าประคุณสมเด็จฯ มักจะกล่าวกับสานุศิษย์ทั้งหลายอยู่เสมอว่า ชีวิตมนุษย์อยู่ได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยปีก็ต้องตายและถูกหามเข้าป่าช้า ดังนั้น จึงควรประพฤติปฏิบัติอยู่ใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ ท่านเปรียบเทียบว่า มนุษย์อาบน้ำ ชำระกายวันละสองครั้ง เพื่อกำจัดเหงื่อไคลสิ่งโสโครกที่เกาะร่างกาย แต่ไม่เคยคิดจะชำระจิตให้สะอาดแม้เพียงนาที ด้วยเหตุนี้ ทำให้จิตใจของมนุษย์ ยุคปัจจุบันเศร้าหมองเคร่งเครียดและดุดัน ก่อให้เกิดปัญหาความพิการในสังคมความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน จนกระทั่งเกิดความขัดแย้ง และกลายเป็นสงครามมนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน

    แต่งใจ

    ขอให้ท่านได้พิจารณาไตร่ตรองให้จงดีเถิดว่า ร่างกายของเรานี้ไฉนจึงต้องชำระทุกวันทั้งเช้าและเย็น จะขาดเสียไม่ได้ทั้งที่หมั่นทำความสะอาดอยู่เป็นนิจ แต่ยังมีกลิ่นไม่น่าอภิรมย์ออกมา แม้จะพยายามหาของหอมมาทาทับ ก็ปกปิดกลิ่นนั้นไม่ได้ใจของเราล่ะ ซึ่งเป็นใหญ่กว่าร่างกาย เป็นผู้สั่งบัญชางาน ให้กายแท้ๆ มีใครเอาใจใส่ชำระสิ่งสกปรกออกบ้าง ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มันสั่งสมสิ่งไม่ดีไว้มากเพียงใด หรือว่ามองไม่เห็นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง ทำความสะอาดหรือ?

    กรรมลิขิต

    เราทั้งหลายเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติแล้ว ล้วนแต่มีกรรมผูกพันกันมาทั้งสิ้น ผูกพันในความเป็นมิตรบ้างเป็นศัตรูบ้าง แต่ละชีวิตก็ย่อมที่จะเดินไปตามกรรมวิบากของตนที่ได้กระทำไว้ ทุกชีวิตล้วนมีกรรมเป็นเครื่องลิขิต

    อดีตกรรม ถ้ากรรมดี เสวยอยู่
    ปัจจุบันกรรม สร้างกรรมชั่ว ย่อมลบล้าง
    อดีตกรรม กรรมแห่งอกุศล วิบากตน
    ปัจจุบัน สร้างกรรมดี ย่อมผดุง


    เรื่องกฎแห่งกรรม ถ้าเป็นชาวพุทธแล้ว เขาถือว่าเป็นกฎแห่งปัจจังตัง ผู้ที่ต้องการรู้ ต้องทำเอง รู้เอง ถึงเอง แล้วจึงจะเข้าใจ

    นักบุญ

    การทำบุญก็ดี การทำสิ่งใดก็ดี ถ้าเป็นการทำตนให้ละทิฏฐิมานะ ทำเพื่อให้จิตเบิกบาน ย่อมเสวยบุญนั้นในปรภพ มนุษย์ทุกวันนี้ทำแบบมีกิเลส ดังนั้น บางคนนึกว่าเข้าสร้างโบสถ์เป็นหลังๆ แล้วเขาจะไปสวรรค์หรือเปล่า เขาตายไปอาจจะต้องตกนรก เพราะอะไรเล่า เพราะถ้าเขาสร้างด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ เป็นการทำเพื่อเอาบุญบังหน้าในการเสวยความสุขส่วนตัวก็มี บางคนอาจเรียกได้ว่าหน้าเนื้อใจเสือ คือข้างหน้าเป็นนักบุญ ข้างหลังเป็นนักปล้น

    ละความตระหนี่มีสุข

    ดังนั้นบุญที่เขาทำนี้ถือว่า ไม่เป็นสุข หากมาจากการก่อกรรม บุญนั้น จึงมีกระแสคลื่นน้อยกว่าบาปที่เขาทำเอาไว้หากมีใครเข้าใจคำว่า บุญ นี้ดีแล้ว การทำบุญนี้จุดแรกในการทำก็เพื่อไม่ให้เรานี้เป็นคนตระหนี่ รู้จักเสียสละเพื่อความสุขของผู้อื่น ธรรมดาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เมื่อมีทุกข์ก็ควรจะทุกข์ด้วย เมื่อมีความสุขก็ควรสุขด้วยกัน

    อย่าเอาเปรียบเทวดา

    ในการทำบุญ สิ่งที่จะได้ก็คือ ระหว่างเราผู้เป็นมนุษย์ เรารู้ว่าสิ่งที่เราทำนี้จะเป็นมงคล ทำให้จิตใจเบิกบานดี นี่คือการเสวยผลแห่งบุญในปัจจุบัน ทีนี้การทำบุญเพื่อจะเอาผลตอบแทนนั้น มนุษย์นี้ออกจะเอาเปรียบเทวดา ทำบุญครั้งใด ก็ปรารถนาเอาวิมานหนึ่งหลังสองหลัง การทำบุญแบบนี้เรียกว่า ทำเพราะหวังผลตอบแทนด้วยความโลภ บุญนั้นก็ย่อมจะไม่มีผล ท่านอย่าลืมว่า ในโลกวิญญาณเขามีกระแสทิพย์รับทราบในการทำของมนุษย์แต่ละคนเขามีห้องเก็บบุญและบาปแห่งหนึ่งอันเป็นที่เก็บบุญและบาปของใครต่อใครและของเรื่องราวนั้นๆ กรรมของใครก็จะติดตามความเคลื่อนไหวของตนๆนั้น ไปตลอดระหว่างที่เขายังไม่สิ้นอายุขัย

    บุญบริสุทธิ์

    การที่สอนให้ทำบุญโดยไม่ปรารถนานั้น ก็เพื่อให้กระแสบุญนั้นบริสุทธิเป็นขั้นที่นึ่ง จะได้ตามให้ผลทันในปัจจุบันชาติ แต่ถ้าตามไม่ทันในปัจจุบันชาติ ก็ติดตามไปให้เสวยผลในปรภพ คือ เมื่อสิ้นอายุขัยจากโลกมนุษย์ไปแล้ว ฉะนั้น เขาจึงสอนไม่ให้ทำบุญเอาหน้า ทำบุญอย่าหวังผลตอบแทน สิ่งดีที่ท่านทำไปย่อมได้รับสนองดีแน่นอน

    สั่งสมบารมี

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับนักปฏิบัติธรรมแล้ว การทำบุญทำทานย่อมเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติจิตให้บรรลุธรรมได้เร็วขึ้น เป็นบารมีอย่างหนึ่ง ในบารมีสิบทัศที่ต้องสั่งสม เพื่อให้สำเร็จมรรคผลนิพพาน

    เมตตาบารมี

    การทำบุญให้ทานเพียงแต่เรียกว่า ทานบารมี หากบำเพ็ญสมาธิจิตจนได้ญาณบารมี และโดยเฉพาะการบำเพ็ญทุกอย่างนั้น ถ้าท่านให้โดยไม่มีเจตนาแห่งการให้ ให้สักแต่ว่าให้เขา ท่านก็ย่อมได้กุศลเรียกว่าไม่มากและทัศนคติของอาตมาว่าการบำเพ็ญเมตตาบารมีในภาวนาบารมีนั้นได้กุศลกรรมกว่าการให้ทาน

    แผ่เมตตาจิต

    ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิ์ผลนั้น เกิดจากกรรม 3 อย่าง คือ มโนกรรม เป็นใหญ่ แล้วค่อยแสดงออกมาทางวจีกรรม หรือกายกรรมที่เป็นรูป การบำเพ็ญสมาธิจิตเป็นกุศลดีกว่า เพราะว่า การแผ่เมตตา 1 ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้างโบสถ์ 1 หลัง ขณะจิตที่แผ่เมตตานั้น จะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพสัตว์ไม่มีโทษภัย ตัวท่านก็ไม่มีโทษภัย ฉะนั้น เขาจึงว่านามธรรมมีความสำคัญกว่า

    อานิสงส์การแผ่เมตตา

    ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จักคำว่า แผ่เมตตา คือต้องเข้าใจว่า ความวิเวกวังเวงแห่งการคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มีกระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและวิญญาณกระจายออกไป เมื่อจิตของเรามีเจตนาบริสุทธิ์ เมื่อจิตของเราเป็นมิตรกับทุกคน เมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา เสมือนหนึ่งเราให้เขากินอาหาร คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเรา หรืออีกนัยหนึ่งว่าเราผูกมิตรกับเขาๆก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา แม้แต่คนอันธพาล เราแผ่เมตตาจิตให้ทุกๆวัน สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้ เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวงวิญญาณทุกๆดวง ดวงวิญญาณทุกๆดวงย่อมรู้กระแสแห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจากสังขาร เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิจิต วิญญาณจะสงบ ธาตุทั้ง 4 นั้น จะเสมอแล้วจะเปล่งเป็นพลังงานออกไป ฉะนั้น ผู้ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จิตแน่วแน่แล้ว โรคที่เป็นอยู่มันจะหายไป ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่จะพังเต็มทีแล้ว คือไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย หรือว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหายเป็นปกติดั่งเดิมได้

    ประโยชน์จากการฝึกจิต

    ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนมีสมาธิแน่วแน่ เมื่อจิตนิ่งก็รู้ตน เริ่มพิจารณาตน รู้ตนเองได้ ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญานี้เรียกว่า ปัญญาภายในจากจิตวิญญาณ ซึ่งเราจะใช้ปัญญานี้ได้แน่นอน เมื่อเกิดมีปัญหาขึ้นในชีวิตตลอดระยะเวลาอันยาวนานข้างหน้า นี่คือประโยชน์ของการฝึกจิตแล้ว คุณของสมาธิยังเป็นพลังป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัย เจ็บป่วยได้ กล่าวคือ การบำเพ็ญจิต จนจิตสงบนิ่งแล้ว ระบบต่างๆทางประสาทจะได้รับการพักผ่อน เป็นการปรับธาตุในกายให้เกิดพลังจิตเข้มแข็ง กายเนื้อก็จะแข็งแรงกระชุ่มกระชวยด้วย โลหิตในร่างกายจะหมุนเวียนสะดวกขึ้น ความตึงเครียดตามร่างกายและประสาทต่างๆ จะผ่อนคลายเป็นปกติ โรคต่างๆจะลดน้อยลงโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หายป่วยได้ด้วยการฝึกจิตและเดินจงกรม

    คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

    __________________



    ....
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    ใส่บาตรพระใส่น้ำด้วย แต่น้ำที่ใส่ขออุทิศฝากไว้กับพระแม่ธรณี


    <HR SIZE=1>
    <!-- / icon and title --><!-- message -->

    ได้รับพระมหากรุณาจาก สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เทศนาสั่งสอนว่า ใส่บาตร ให้ใส่น้ำด้วย จึงกราบเรียนถามท่านว่า ใส่น้ำ ใส่อย่างไร
    ได้รับพระมหาเมตตา ชี้แจงว่า ภาชนะที่บรรจุโภชนาอาหารและบริวารทั้งหลาย เมื่อยกขึ้นทูนหัวอธิษฐานก่อนใส่บาตรพระนั้น ได้ลอยขึ้นไปเป็นเครื่องทิพย์แล้วนับแต่บัดนั้น ถ้าเอาน้ำสักแก้วหนึ่ง หรือขวดหนึ่ง ใส่ในภาชนะนั้นด้วยก็เท่ากับได้ใส่น้ำไปแล้ว เมื่อใส่โภชนาอาหารและบริวารทั้งหลายลงในบาตร หรือวางบนฝาบาตรพระแล้ว ท่านให้เอาน้ำแก้วนั้น หรือขวดนั้น กรวดลงบนดินทันที แต่อย่าให้รดหัวพระแม่ธรณีนะ
    จึงกราบเรียนถามท่านว่า แล้วทำอย่างไรจึงจะไม่รดหัวพระแม่ธรณี
    ได้รับพระมหาเมตตา ชี้แจงว่า ให้หาใบไม้ที่หล่นลงบนดินแล้ว มารองรับน้ำที่เราหยาด อย่าหยาดลงบนดินโดยตรงจนเป็นรู และบริเวณนั้นไม่ควรมีต้นไม้ใบหญ้าอยู่ด้วย มิเช่นนั้นรากไม้ก็จะดูดน้ำไปหมด ควรให้ซึมลงสู่พื้นดินทั้งหมด
    ดังนั้นจึงเรียนมา ถ้าท่านสาธุชนจะใส่บาตร เนื่องในวันสงกรานต์นี้ จะเป็นกุศลมหากุศลอย่างยิ่ง
    ขอโมทนา สาธุ ด้วย......

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2009
  11. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    เมื่อวันเสาร์ที่4/04/09เวลา 10.14น ผมได้ฝากเงินจำนวน 500.00บาท เข้าบัญชี 3481232459 pratom f. เพื่อร่วมทำบุญสงฆ์อาพาธประจำเดือน เมษายน09 ขอบคุณครับ
     
  12. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    หลังจากหายไปนาน จึงขอนำพุทธประวัติมานำเสนอต่อ โดยวันนี้จะนำเสนอในตอนที่ 110 คงเหลืออีก 2-3 ตอน ก็จะเลิกนำเสนอแล้วครับ

    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 30 กันยายน 2551 11:34:42 น.-->พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๑๑๐ | นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระพุทธเจ้า
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๑๑๐ : นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระพุทธเจ้า

    นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระพุทธเจ้า
    ได้ว่าจ้างเหล่าชนมิจฉาทิฏฐิติดตามด่าว่าเยาะเย้ย


    ครั้งหนึ่ง ณ แคว้นปัญจาละที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นโกศล มีกรุงโกสัมพีเป็นเมืองหลวง เมื่อพระพุทธองค์เข้าไปในเมือง ทรงถูกเหล่าชนมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งได้รับสินจ้างจากพระนางมาคันทิยาผู้ผูกอาฆาตในพระพุทธองค์ ติดตามด่าว่าเยาะเย้ยด้วยประการต่างๆ จนท่านพระอานนท์ทนฟังไม่ไหว ได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่าควรจะเสด็จหนีไปเมืองอื่นเสีย แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงเห็นด้วย ทรงตรัสว่า เรื่องเกิดขึ้นที่ไหนก็ควรทำให้สงบ ณ ที่นั้นเสียก่อน จึงค่อยไปที่อื่น

    มูลเหตุที่นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระพุทธเจ้า เกิดจากเมื่อตอนที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปโปรดแสดงธรรมแก่บิดาและมารดาของนางมาคันทิยา(ตอนนั้นยังเป็นเด็กรุ่น) เมื่อบิดามารดาของนางคันทิยาเห็นรูปลักษณะของพระพุทธเจ้า จึงประสงค์จะยกลูกสาวให้เป็นภรรยาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสทำนองว่า อย่าประสงค์ยกลูกสาวให้พระองค์เลย เพราะแม้แต่ปลายเล็บ พระองค์ก็ไม่พึ่งประสงค์ที่จะมองเลย นางคันทิยาได้ฟังจึงโกรธแค้นและผูกอาฆาตมาตั้งแต่นั้น แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้บิดานางคันทิยาบรรลุเป็นพระอนาคามี ส่วนมารดาบรรลุเป็นพระโสดาบัน หลังจากนั้นนางคันทิยาก็ได้มาอาศัยอยู่กับน้า ในกรุงโกสัมพีนี้ แล้วน้าของนางเห็นว่านางมีรูปสดสวยสมควรแก่พระราชา จึงยกนางคันทิยาให้กับพระเจ้าอุเทน และด้วยความหลงในรูป พระเจ้าอุเทนจึงแต่งตั้งให้เป็นมเหสีองค์หนึ่ง และเมื่อนางทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองโกสัมพี นางจึงเริ่มระบายความอาฆาตดังที่กล่าวข้างต้น

    ถึงแม้ในเมืองนี้ จะมีปัญหาดังที่กล่าวมา แต่พระพุทธองค์ ก็ทรงแสดงพระสัทธรรมต่อไป

    พระเจ้าอุเทน ยังมีมเหสีอีกองค์ คือพระนางสามาวดี พระนางสามาวดีมีข้าทาสอยู่คนหนึ่งชื่อ นางขุธชุตตรา เป็นคนที่ต้องไปจัดซื้อดอกมะลิให้กับพระนาง และก็จะแอบยักยอกเงินส่วนหนึ่งเก็บไว้ คือซื้อดอกมะลิไม่เต็มจำนวนเป็นประจำ วันหนึ่งคนขายดอกมะลิกล่าวชวนนางขุธชุตตราให้ทำบุญกับพระพุทธเจ้า นางขุธชุตตราจึงอยู่ถวายทานแก่พระพุทธเจ้า และได้ฟังธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแจกแจงอย่างละเอียด เมื่อสิ้นสุดการแสดงธรรมนั้นนางก็ได้บรรลุเป็นโสดาบัน และเมื่อนางจะกลับไปในวัง นางก็ต้องซื้อดอกมะลิกลับไปด้วย แต่คราวนี้นางละอายใจที่จะซื้อดอกมะลิไม่เต็มจำนวนเพราะเป็นพระโสดาบันแล้ว นางจึงซื้อดอกมะลิเต็มจำนวน แล้วเอาไปให้กับพระนางสามาวดี พระนางสามาวดีก็เห็นวันนี้มีดอกมะลิมากกว่าปกติ จึงถามนางขุธชุตตราว่า ทำไม่วันนี้มีดอกมะลิมากกว่าปกติ นางขุธชุตตราก็บอกตามความเป็นจริงว่า วันนางมีความละอายตัวเองที่แอบยักยอกเงิน โดยซื้อดอกมะลิไม่เต็มจำนวน แต่วันนี้ซื้อมาเต็มจำนวนเงิน พระนางสามาวดีจึงถามว่า ทำไมจึงมีความละอายละ นางขุธชุตตราตอบว่า ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้ามา ด้วยธรรมนั้นนางจึงเกิดความละอายต่อบาป และไม่ก็ทำบาปอีก

    พระนางสามาวดีมีความสนใจจึงกล่าวว่า อย่างนั้นท่านจงบอกธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงให้เราทราบสิ นางขุธชุตตรากล่าวว่า อย่างนั้นขอให้พระนางจัดสถานที่ให้เหมาะกับการกล่าวธรรม ส่วนข้าทาสบริวารถ้าประสงค์ฟังธรรมก็ให้มาประชุมรวมกัน แล้วระหว่างที่จัดที่และรวมคนกันอยู่ นางขุธชุตตราก็ขอไปอาบน้ำแต่งตัวเพื่อให้เหมาะกับการแสดงธรรม

    พระนางสามาวดีได้เรียกให้บริวารของพระนางมาฟังธรรมทั้งหมด 500 คน หลังจากนั้นนางขุธชุตตราก็แสดงธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ดีแล้ว เมื่อจบการแสดงธรรมนั้น พระนางสามาวดีและเหล่าบริวารทั้งหลายก็บรรลุเป็นพระโสดาบันทั้งหมด หลังจากนั้นเหล่าบริวารทั้งหลายของพระนางสามาวดี จึงตั้งให้นางขุธชุตตราไม่ต้องทำหน้าที่อะไร เพียงแต่ให้ไปเข้าเฝ้าพุทธเจ้าหรือมหาสาวกเป็นประจำ แล้วฟังพระธรรมที่แสดงทั้งหมด แล้วกลับมาถ่ายทอดกับพวกเขาเหล่านั้น ต่อมาภายหลังนางขุธชุตตราจึงได้เป็นเอคคทัตคะฝ่ายอุบาสิกาที่จดจำพระธรรมได้เป็นเลิศ หลังจากนั้นพระนางสามาวดีและเหล่าข้าทาสบริวารยิ่งศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า จึงทำให้พระนางมาคันทิยาพุ่งความอาฆาตต่อพระนางสามาวดีมากยิ่งขึ้น เพราะไปศรัทธาและบูชากับบุคคลที่นางเกลียด และแถมยังมีสวามีคนเดียวกัน ส่วนมเหสีอีกคนหนึ่งของพระเจ้าอุเทน(พระเจ้าอุเทน มีมเหสีถึง 3 คน) คือพระนางวาสุลทัตตา ซึ่งเป็นราชธิดาของพระเจ้าปัทโชต แห่งกรุงอุเชน แคว้นอวันตี ซึ่งอยู่ติดกับแคว้นวังสะทางทิศตะวันตกเฉียงไต้ พระนางวาสุลทัตตาเมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าก็บรรลุเป็นโสดาบัน แต่หาได้มีบทบาทที่นางคันทิยาต้องชิงดีชิงเด่นกับพระนางวาสุลทัตตามากมายไม่

    พระนางมาคันทียาใส่ร้ายพระนางสามาวดีโดยเอางูเห่าใส่ตะกร้า(หรือพิณ) ของพระเจ้าอุเทน เมื่อพระเจ้าอุเทนไปประทับอยู่กับพระนางสามาวดี เมื่อพระเจ้าอุเทนเห็นงูออกมาจากตะกร้าก็ตกใจกลัว พระนางมาคันทิยาจึงทูลยุว่า พระนางสามาวดีและเหล่าบริวารของพระนางสามาวดี หวังจะปรงพระชนม์พระเจ้าอุเทน

    พระเจ้าอุเทนจึงสั่งจับพระนางสามาวดีและเหล่าบริวารไปประหาร โดยใช้ลูกธนูอาบยาพิษเพื่อประหาร พระนางสามาวดีจึงบอกกับเหล่าบริวารให้แผ่เมตตาแก่พระเจ้าอุเทนและทหารเหล่านั้น เมื่อพระเจ้าอุเทนยกศรขึ้นง้างเพื่อยิงลูกธนูไปยังพระนาสามาวดี แต่ไม่สามารถง้างหรือปล่อยธนูไปได้ ค้างเกร็งสั่นอยู่อย่างนั้น จนพระเจ้าอุเทนเกิดความกลัวขึ้นมาอย่างสุดกำลัง ต้องเอ่ยปากขอให้พระนางสามาวดียกโทษให้กับพระองค์ด้วย พระนางสามาวดีจึงเข้ามาใกล้พระเจ้าอุเทน แล้วจึงกล่าวยกโทษให้ พระเจ้าอุเทนจึงขยับตัวเองและลดธนูลงได้ และในตอนหลัง พระนางสามาวดีได้พาพระเจ้าอุเทนเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระเจ้าอุเทนเมื่อได้ฟังธรรม ก็มีความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าแสดงตนเป็นอุบาสก(ยังเป็นปุถุชน) ต่อมาในภายหลังพระนางสามาวดีเป็นเอคคทัคคะฝ่ายอุบาสิกาผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาเป็นเลิศ เป็นอันว่าพระนางมาคันทิยาไม่สามารถปลงพระชนม์พระนางสามาวดีได้ แต่ก็จ้องหาโอกาสที่จะทำเพราะความอาฆาต (ความอาฆาต ความพยาบาท ความผูกโกรธ เป็นสิ่งที่น่ากลัวมากสำหรับผู้ประสงค์สร้างบุญบารมีทั้งหลาย เพราะจะนำความทุกข์มาสู่ตนเองอย่างมากและพลาดโอกาสในการบรรลุธรรม เมื่อพยาบาทต่อผู้มีคุณใหญ่)

    พระนางมาคันทิยาได้เห็นโอกาสเมื่อ พระนางสามาวดีสร้างปราสาทหลังใหม่ ซึ่งพระนางสามาวดีและบริวารไปอยู่ยังปราสาทนั้น พระนางมาคันทิยาจึงให้น้าและเหล่าญาติพร้อมทั้งนักเลงที่จ้างมา ทำการปิดประตูปราสาทไม่ให้ออกมาได้ แล้วทำการวางเพลิงเผาปราสาทนั้นในเวลากลางคืน พระนางสามาวดีและเหล่าบริวารจึงถูกไฟเผาจนสิ้นชีพ เมื่อพระเจ้าอุเทนได้ทราบก็บังเกิดความเสียใจและเศร้าโศกเป็นอย่างยิ่ง เพราะพระองค์เห็นคุณของพระนางสามาวดีและศรัทธาในพระพุทธเจ้า แต่ต้องข่มใจไว้เพราะประสงค์หาผู้ที่วางเพลิง พระเจ้าอุเทนจึงประกาศออกไปว่า ผู้ใดที่วางเพลิงปลงพระชนม์พระนางสามาวดี จะได้รับรางวัล เพราะพระนางสามาวดีประสงค์จะปลงพระชนม์พระองค์หลายครั้ง พระนางคันทียาพอได้ทราบดังนั้นจึงกล่าวว่า พระนางเองพร้อมทั้งญาติช่วยกันวางเพลิง พระเจ้าอุเทนจึงให้พระนางมาคันทิยารวบรวมญาติและนักเลงทั้งที่ช่วยกันวางเพลิงมาเฝ้าพระองค์ แล้วพระเจ้าอุเทนก็จับทั้งหมดไว้ แล้วสั่งประหารจนหมดสิ้น
    [/SIZE]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ทั้งหลายทั้งปวงที่นำเสนอนี้ ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับเวบ

    http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=30-09-2008&group=37&gblog=29
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    ประสบการณ์อภินิหารของหลวงปู่ขาว1
    <!-- Main -->[SIZE=-1][​IMG]

    ผู้เขียน และเรียบเรียง : คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต
    ขอขอบคุณแหล่งที่มา:
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13451

    เจ้าประคุณท่านพระอาจารย์ขาว อนาลโย หรือที่เป็นที่เคารพสักการะเลื่อมใสกันในนามสั้นๆ ว่า “หลวงปู่ขาว” แห่งวัดถ้ำกลองเพล ตำบลโนนทัน อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ อรัญญวาสี สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ท่านเป็นชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิดเช่นเดียวกับอาจารย์ของท่าน เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2431 อุปสมบทแล้วตั้งใจปฏิบัติฝ่ายสมถวิปัสสนาอย่างเดียว จนถึงเวลามรณภาพ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2526 สิริชนมายุ 96 พรรษา

    ชีวประวัติของท่านระหว่างดำรงชนมายุ ถ้าใช้สำนวนของนักเขียนก็ต้องกล่าวว่า เป็นประวัติที่โลดโผน “มีรส” ที่สุดประวัติหนึ่งในทางโลก...ช่วงจังหวะที่ทำให้ชีวิตของท่านหักเหออกจากเพศฆราวาสออกบวชก็เป็นชีวิตที่ “มีรส” ส่วนในทางธรรม เมื่อท่านออกบวชแล้ว การปฏิบัติธรรมของท่านก็ดำเนินไปอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว พอใจออกท่องเที่ยวธุดงค์เพลิดเพลินอยู่แต่ในป่าลึก พักปฏิบัติบำเพ็ญความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ เฉพาะตามถ้ำตามเงื้อมหิน บนเขาสูงอันสงัดเงียบอยู่ตลอดเวลา เหมือนพญาช้างสารที่พอใจละโขลงบริวารออกท่องเที่ยวไปอย่างเดียวดายในไพรพฤกษ์ ทำให้ท่านได้เห็นธรรมอย่างแท้จริง พร้อมทั้งประสบพบเห็นสิ่งอัศจรรย์ต่างๆ อย่างมากมาย สิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้ชีวประวัติของท่าน เป็นชีวิตที่โลดโผน “มีรส” เหลือจะพรรณนา ชวนให้เคารพเลื่อมใสศรัทธา เป็น “เนติ” แบบอย่างให้บรรดาศิษย์ปรารถนาจะเจริญรอยตามท่านเป็นอย่างดี

    ท่านผู้สนใจใคร่จะศึกษา อาจจะหาอ่านได้โดยละเอียดจากจากประวัติของท่าน ที่มีท่านผู้รู้ได้เขียนเอาไว้หลายสำนวน โดยเฉพาะที่ “เจ้าพระคุณท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน” เป็นผู้เขียน ทั้งในหนังสือ “ประวัติอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ” ของท่าน และในหนังสือ “ปฏิปทาของพระธุดงค์สายพระอาจารย์มั่น” หรืออีกสำนวนหนึ่งของนายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ในหนังสือ “อนาลโยวาท”

    ข้อเขียน “อนาลโยคุโณ” ชิ้นนี้ ไม่ใช่ประวัติของท่าน เป็นเพียงบันทึกของผู้ที่เป็นประหนึ่งผงธุลีชิ้นเล็กๆ ที่มีโอกาสถูกลมพัดพาให้ได้ปลิวไปใกล้ท่านบ้างเป็นบางขณะ ได้กราบนมัสการ ได้เห็น ได้เข้าไป ได้นั่งใกล้ ได้ฟังธรรมที่ท่านเมตตาสั่งสอน ก็ใคร่ที่จะบันทึกเหตุการณ์ที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้สึก ได้พบเห็นด้วยตาตนเองไว้เท่านั้น อย่างน้อยก็เพื่อเป็นดังหนึ่งดอกไม้ป่าช่อเล็กๆ ที่ขอกราบวางไว้แทบเท้า เป็นเครื่องสักการบูชาพระสงฆ์พระสาวกของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้ว ปฏิบัติถูกต้องแล้ว ปฏิบัติชอบแล้ว เป็นผู้ทรงคุณควรบูชา ควรกระทำอัญชุลี หากการเขียนครั้งนี้เป็นการผิดพลาด เป็นความเขลา เป็นความหลง ที่ทำให้กระทบกระเทือนเมตตาธิคุณ กรุณาธิคุณ และบริสุทธิ์คุณของหลวงปู่ขาว อนาลโย แต่ประการใด แม้เพียงภัสมธุลี ผู้เขียนก็ใคร่ขอกราบขอขมา ขอประทานอภัย ไว้ ณ ที่นี้

    ผู้เขียนเพิ่งมีโอกาสได้กราบนมัสการหลวงปู่ เมื่อไม่นานมานี้ในช่วงเวลาเพียง 6-7 ปี หลังนี้เอง (เมื่อเขียนอนาลโยคุโณ พ.ศ.2527) แต่ยังโชคดีอยู่บ้าง ที่ได้มีโอกาสติดตามหลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ไปวัดถ้ำกลองเพล นับครั้งไม่ถ้วน จึงมีโชคได้เห็นท่านแสดงคารวธรรม สนทนาธรรม แสดงธรรมสากัจฉาซึ่งกันและกันอย่างรื่นเริง ทำให้นึกถึงความในมงคลสูตรอยู่เสมอในบทหนึ่งที่ว่า

    “สมาณานญฺจ ทสฺสนํ กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ”
    ความหมายคือ การเห็นสมณะทั้งหลาย 1 การเจรจาธรรมโดยกาล 1 ข้อนี้เป็นมงคลสูงสุด

    ยิ้มของหลวงปู่สว่างนัก สว่างเจิดจ้าเข้าไปในหัวใจของผู้ที่พบเห็น ทำให้เรารู้สึกสงบ สบายใจอย่างบอกไม่ถูก ยิ่งได้ฟังท่านเล่าหรือปรารภกันถึงเรื่องที่ท่านเคยธุดงค์ผ่านกันมาอย่างโชกโชน เรื่องเสือ เรื่องช้าง เรื่องงู เรื่องพญานาค เรื่องยักษ์ ฯลฯ เราก็จะพลอยตาโต ลืมวันเวลาที่จะต้องกราบลาท่านหมดสิ้น ไม่ประหลาดใจที่ทำไมเวลาเราจะกราบลาท่านแต่ละครั้ง จะต้องกราบเป็นครั้งที่ 4 ที่ 5 จึงจะตัดใจกราบลาท่านได้จริงๆ

    การพูดถึงสิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรม อย่างเสือ ช้าง หรืองู ผู้อ่านคงจะผ่านเลยไป แต่เมื่อเอ่ยถึงพญานาค หรือจิตที่จะหยั่งรู้ใจคน บางท่านอาจจะหัวเราะ แต่ผู้เขียนก็ใคร่ขอร้องที่จะให้หยุดระลึกกันก่อน สิ่งที่เราไม่ได้เห็นเอง รู้เองนั้น ไม่ใช่ว่าจะไม่มีจริงในโลกนี้ เราจะเชื่อว่ามีจริงเฉพาะสิ่งที่เราเห็นเท่านั้นหรือ ถ้าเป็นเช่นนั้นท่านที่ยังไม่เคยเห็นขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ หรือโลกพระจันทร์ ก็ยังไม่ควรเชื่อว่า มีขั้วโลกเหนือ มีขั้วโลกใต้ มีโลกพระจันทร์จริง (เพราะเรายังไม่เห็นด้วยตาของตนเอง)

    ในการนำเสนอบทความคราวนี้ ได้นำคาถาบทที่หลวงปู่ได้มาจากในคราวที่ท่านถอดจิตไปเที่ยวเมืองพญานาคมารวมนำเสนอไว้ด้วย ท่านเล่าว่า เมืองพญานาคสวยงามมาก คราวนั้นท่านได้พบลูกสาวพญานาคด้วย นางได้มาคารวะ และกล่าวบทคาถาว่า

    “อะหันนะเม นะเมนะวะ ชาตินะวะ” คาถานี้ไม่มีในบาลี ท่านกำหนดจิตถามก็ได้ความแปลว่า “ชาติใหม่ของเราไม่มี” อันหมายความว่า นางได้มากล่าวยืนยันถึงชาติใหม่ของหลวงปู่ไว้ว่า ท่านจะไม่มีชาติใหม่อีก ภพชาติของท่านสิ้นแล้ว (คาถานี้ป้องกันภูตผีปีศาจได้ด้วย)

    เรื่องการที่ท่านผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ ทรงคุณธรรม จะสามารถถอดจิตไปเที่ยวสวรรค์ นาคพิภพ พรหมโลก ได้จริงหรือไม่ประการใดนั้น ใคร่ขอยกไว้ก่อน และถ้าจะวิจารณ์สงสัยต่อไป ผู้เขียนก็ใคร่ขอเล่าเหตุการณ์อันได้ประสบมา ไว้ ณ ที่นี้

    วันนั้นเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปในงานทรงบรรจุอัฐิ และทรงเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร จำได้ว่าเป็นวันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ.2525

    หลังจากทรงบรรจุอัฐิ และทรงเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกราบนมัสการสมเด็จพระสังฆราช และครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ฝ่ายกรรมฐานในปะรำพิธี สมเด็จพระนางเจ้าฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ประทับบนพื้นสนามห่างออกมานอกปะรำพิธี โดยมีพวกเราเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ใกล้ๆ ระหว่างนั้นคณะผู้ตามเสด็จ และพวกเราต่างได้กลิ่นหอมอ่อนๆ คล้ายกลิ่นบุหงาร่ำโชยมาตลอดเวลา ปรารภกันและคิดว่าคงจะเป็นกลิ่นดอกไม้ในพวงมาลัยบุหงาที่ทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อรับเสด็จตอนเสด็จพระราชดำเนินมาถึง ขณะนั้นเราประหลาดใจกันแต่ว่า ผู้เชิญพวงมาลัยบุหงานั้นอยู่ไกลอีกฝากหนึ่งของสนาม กลิ่นหอมทำไมโชยมาไกลนัก...แต่เราก็ไม่ได้นึกอะไรมากนัก จนกระทั่งถึงเวลาจะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฏรที่มาเฝ้าเรียงรายในบริเวณวัด ขณะเสด็จผ่านพระเจดีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ผินพระพักตร์กลับมาหาผู้เขียน และรับสั่งว่า

    “หลวงปู่ขาวก็มาด้วย”

    พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าฯ พระสุรเสียงนั้นดูเหมือนทรงปลื้มปีติจนทอดพระกรมาทรงจับมือผู้เขียนไว้ด้วย แม้รับพระราชกระแสนั้นไว้เหนือเกล้าแล้ว แต่ผู้เขียนก็ยังงงๆ อยู่ กราบบังคมทูลถามไปว่า “หลวงปู่มาหรือเพคะ ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นท่าน หลวงปู่ท่านนั่งอยู่ตรงไหนเพคะ”

    พระองค์ทรงรับสั่งว่า “ได้กลิ่นชานหมากของท่าน”

    ผู้เขียนขนลุกซู่ นึกถึงกลิ่นหอมคล้ายบุหงาที่พวกเราคุยถึงกันอยู่ตลอดเวลาเมื่อสักครู่นี้ ชานหมากของหลวงปู่ขาวนั้น ในบรรดาหมู่ลูกศิษย์ทราบกันดีว่าหอมอย่างไร ผู้จัดถวายจะจัดใบเนียม พิมเสน ฯลฯ สารพัดใส่ไปในหมากด้วย กำลังกราบหลวงปู่เราจะได้กลิ่นหอมของเหล่านี้ ซึ่งคล้ายกับกลิ่นบุหงาโชยอยู่ตลอดเวลา และเราเองหลายต่อหลายครั้งที่หากนึกถึงหลวงปู่ นึกห่วงใย จะได้กลิ่นหอมของพิมเสน ใบเนียม ชานหมากของท่านอยู่เสมอๆ เลยกราบบังคมทูลว่า พวกเราและหลายท่านในคณะตามเสด็จ ก็ได้กลิ่นหอมกันทั้งนั้น รวมทั้งสมเด็จพระเทพฯ ก็ยังทรงออกพระโอษฐ์ด้วย เพียงแต่มิใดมีใครนึกเฉลียวใจเท่านั้น ว่าเป็นกลิ่นชานหมากของหลวงปู่

    เช้าวันรุ่งขึ้นได้มีโอกาสนำหนังสือ “อาจาราภิวาท” ที่พวกเราจัดพิมพ์แจกในงานนั้น ไปกราบคารวะ ท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ที่วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย ท่านก็ถามถึงเรื่องเสด็จพระราชดำเนินและงานเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์ ผู้เขียนเล่าถวายเรื่องเหตุการณ์โดยทั่วไป และขณะกำลังคิดว่าควรจะเล่าถวายเรื่องที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ มีรับสั่งเรื่องกลิ่นชานหมากของหลวงปู่ขาวดีไหมหนอ เดี๋ยวท่านพระอาจารย์ก็จะดุว่าเราสนใจแต่เรื่อง “ฤทธิ์” มากเกินไป สมควรเล่าหรือไม่หนอ...? กำลังคิดอยู่ขณะนั้นเอง ก็กลับได้กลิ่นหอมตลบขึ้นมา เป็นกลิ่นชานหมากอันหอมกรุ่นของหลวงปู่นั้นเอง

    ผู้เขียนคิดว่า ท่าน (หลวงปู่ขาว) เห็นว่าสมควรแน่แล้ว จึงกล้าเล่าเรื่องถวาย รวมทั้งเรื่องกลิ่นหอมที่บังเกิดใหม่ในขณะกำลังคิดลังเลว่า สมควรจะเล่าถวายท่านพระอาจารย์เทสก์ ดีหรือไม่ดีด้วย ท่านพระอาจารย์แห่งวัดหินหมากเป้ง ยิ้มอย่างเมตตา และรับว่ากลิ่นหอมเช่นนี้เป็นได้เมื่อจิตของผู้รับ “เข้าถึง” ท่านบอกว่า นี่เป็นนิมิตอย่างหนึ่ง นิมิตมีทั้งภาพ ทั้งเสียง และทั้งกลิ่นหอม จิตของสมเด็จพระนางเจ้าฯ “เข้าถึง” และ “รับ” หลวงปู่ขาว ได้อย่างสนิทใจ

    บ่ายวันนั้น ผู้เขียนก็ได้เดินทางมากราบหลวงปู่ขาว ที่วัดถ้ำกลองเพล ได้มีโอกาสก็กราบเรียนรายงานท่านว่า เราเพิ่งกลับมาจากการรับเสด็จฯ ที่วัดป่าอุดมสมพร และไปกราบท่านพระอาจารย์เทสก์ มาด้วย

    หลวงปู่ท่านก็ว่า...ดี

    กราบเรียนท่านต่อไปถึงเรื่องแม่เจ้าทรงรับสั่ง

    งานหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วานนี้ หลวงปู่ไปด้วยหรือเปล่าเจ้าคะ

    ท่านบอกว่า ไป...ไปหลายคนเนาะ

    เอ๊ะ ! หลวงปู่อยู่นี่ หลวงปู่ไปได้อย่างไงเจ้าคะ

    ไปด้วยนี่...ไปด้วยจิต ท่านตอบ พลางเอามือชี้ไปที่ตรงอกของท่าน

    คงมีเทพมามากใช่ไหมเจ้าคะ ตอนพ่อเจ้าทรงชักโกศบรรจุอัฐิของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร จะให้ขึ้นไปบรรจุบนยอดเจดีย์ มีแสงรัศมีปรากฏงามมากเจ้าคะ งานนี้คงมีเทพมาอนุโมทนามากเหมือนกันใช่ไหมเจ้าคะ

    ท่านว่า มาก...หลาย...เต็มไปหมด ถือพานดอกไม้มาบูชา...อนุโมทนา

    เรื่องนี้เคยเล่าถวาย สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ก่อน แห่งวัดราชบพิธ ท่านรับสั่งว่า ผู้เขียนควรจะบันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ มิฉะนั้นนานไปจะลืม คนสมัยใหม่ไม่ค่อยเชื่อเรื่องพรรค์นี้ จะได้รู้จักกันไว้บ้าง
    [/SIZE]
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    ประสบการณ์อภินิหารของหลวงปู่ขาว 2
    <!-- Main -->[SIZE=-1][​IMG]

    ผู้เขียน และเรียบเรียง : คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต
    ขอบคุณแหล่งที่มา

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13451

    หลวงปู่ท่านเทศน์เสมอถึงอานิสงส์ของการเดินจงกรม ซึ่งข้อหนึ่งมีอยู่ว่า เทพยดาจะถือพานดอกไม้มาอนุโมทนา...สาธุ รวมทั้งเล่าด้วยว่า ระหว่างท่านเดินจงกรมจะมีกลิ่นหอม...หอมหลาย กราบเรียนถามว่า หอมอย่างไร...หอมเหมือนดอกอะไร

    ท่านจะว่าหอมอีหยัง มันหอมบ่เหมือนดอกไม้บ้านเรา มันแม่นเทพยดาท่านมาอนุโมทนา ถือพานดอกไม้มาอนุโมทนา...สาธุ

    ใครฟังแล้ว จะเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง อย่างไรผู้เขียนไม่สนใจ แต่ผู้เขียนเชื่อและศรัทธาอย่างสนิทใจ และเต็มหัวใจ ก็อย่าว่าแต่เทพยดาจะมาอนุโมทนาให้หลวงปู่ผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ได้กลิ่นหอมเลย แม้อย่างปุถุชนคนธรรมดาผู้เต็มไปด้วยกิเลสหนาปัญญาหยาบอย่างเรา บางครั้งก็ยังได้สัมผัสกลิ่นหอมของดอกไม้ประหลาดบ่อยๆ เลย

    ถ้าเมื่อใดจิตใจเต็มตื้นด้วยศรัทธา และความปรารถนาดี จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดถวายครูบาอาจารย์ ก็มักจะมีกลิ่นหอมเกิดขึ้นให้เราชื่นหัวใจ

    บางทีสงสัยว่า กลิ่นดอกอะไรหนอ ไม่เคยได้กลิ่น ไม่ใช่มะลิ ไม่ใช่พุทธชาด ไม่ใช่จำปีหรือจำปา จะมีเสียงตอบชัดแจ้ง แจ่มแจ้ง เข้าไปในใจว่า ดอกไม้นั้นไม่มีในโลกนี้ บางทีกำลังคุยกันถึงเรื่องกลิ่นหอมที่เกิดขึ้นนี้ ถ้าในเวลานั้นมีดอกไม้อะไรอยู่ “กลิ่นพิเศษ” ที่เกิดขึ้น จะเป็นกลิ่นดอกไม้อีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีใน ณ ที่นั้น...ให้อัศจรรย์เล่นเช่นนั้นแหละ

    วันหนึ่งกำลังนั่งอยู่ในรถยนต์บนถนนแถวๆ จังหวัดสกลนคร มีบางคนในรถที่ได้ข่าวเรื่องนิมิตดอกไม้หอมนี้ อยากทราบรายละเอียดก็ถามผู้เขียนขึ้นมา ขณะกำลังเล่ามาถึงว่า ถ้าเรามีดอกมะลิก็จะไปหอมดอกจำปี ถ้ามีดอกจำปีก็จะไปหอมจำปา และถ้ามีดอกจำปาก็จะไปหอมดอกกุหลาบ ขาดคำว่าดอกกุหลาบ ทั้งรถก็หอมตลบอบอวนด้วยกลิ่นดอกกุหลาบไปหมด ได้กลิ่นกันทุกคนในรถยนต์ รวมทั้งพระคุณเจ้าพระภิกษุ 3 รูป ที่นั่งมาในรถด้วย อย่าว่าแต่ดอกกุหลาบเลย แม้แต่ดอกไม้อื่นดอกเดียวก็ไม่มี และสองข้างทางก็เป็นทุ่งนา ไม่มีต้นไม้ใหญ่อยู่เลย

    บ่อยครั้ง เมื่อเตรียมจะไปกราบหลวงปู่ขาว พอรถเราแล่นออกจากเมืองอุดรธานี ขึ้นไปวิ่งบนถนนสายอุดร-เลย อันเป็นทางมุ่งไปยังวัดถ้ำกลองเพล จะได้กลิ่นดอกไม้พิเศษหอมปรากฏขึ้น ครั้งแรกๆ พอได้กราบท่าน ก็เล่าถวายเรื่องกลิ่นดอกไม้ที่ปรากฏในรถ ท่านบอกว่า ตั้งใจดี ตั้งใจมาทำบุญ เทวดาเขาก็รัก เขาก็ไปต้อนรับพวกหนู

    เป็นปรกติวิสัยมากขึ้น ครั้งหลังๆ เราก็ไม่ค่อยกราบเรียนท่านนัก และบางทีกำลังเล่าเรื่องกลิ่นหอมในรถระหว่างจะมากราบหลวงปู่ ที่ในห้องที่หลวงปู่นั่งอยู่นั้นเอง จะมีกลิ่นหอมเช่นเดียวกับที่ปรากฏในรถยนต์เกิดขึ้นอีก เป็นพยานการได้กลิ่นของพวกเรา ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

    “แน่ะหอมอีกแล้ว หลวงปู่เจ้าคะ กำลังหอมเดี๋ยวนี้แหล่ะ”

    ท่านจะ “หวัว” ยิ้มอย่างสว่าง เปิดโลกทั้งโลกให้แจ่มใส เบิกบานด้วยความสุขความสงบ

    “เทพยดาเขากำลังถือพานดอกไม้ มาสาธุ...บูชาอยู่” ท่านบอก

    “เดี๋ยวนี้หรือเจ้าคะ” ผู้เขียนกราบเรียนถาม

    ท่านพยักหน้า และยิ้ม ชี้มือมาข้างพวกเรา “มื้อนี่แหล่ะ”

    เราอดนึกนึกรำพึงในใจไม่ได้ โอ้...อย่าว่าแต่มนุษย์จะมากราบบูชาหลวงปู่เลย แม้เทพเจ้าก็ยังปรารถนามาคารวบูชาท่าน ด้วยถือเป็นมงคลอันสูงสุด เป็นนาบุญอันประเสริฐ ยากจะหานาบุญใดมาเทียบได้ เราช่างมีบุญจริงหนอ ที่ได้มีโอกาสมากราบนมัสการ ได้เห็น ได้เข้าใกล้ ได้ฟังธรรมจากคำสั่งสอนของท่าน ได้สัมผัสจิตอันเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรมของท่าน

    เรื่องของการที่ท่านจะ “รู้ใจ” พวกเรานั้น อันที่จริงก็เป็นเรื่อง “หญ้าปากคอก” ของครูบาอาจารย์เกือบทุกรูป ผู้เขียนถูกทรมานมาเสียนักต่อนักแล้ว แรกๆ ก็ลังเลบ้าง อัศจรรย์ใจบ้าง แต่ระยะหลังก็มีศรัทธาโดยแน่นแฟ้น โดยเฉพาะการรู้ใจของหลวงปู่นั้น อยู่เหนือการสงสัยใดๆ ของผู้เขียน

    ปกติพวกเราชาวการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ จะไปทอดผ้าป่าวัดถ้ำกลองเพลกันเกือบทุกปี เริ่มมาตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา ท่านจะออกมาชักผ้าเอง ให้พรเอง จนกระทั่งปีหลังๆ มานี้ จึงเห็นว่าจะเป็นภาระแก่ท่านอย่างมาก เพียงแค่ให้เราได้กราบ ได้เห็นหน้าท่าน ก็น่าจะเพียงพอแล้ว โดยที่ท่านมีอายุมากแล้ว เสียงของท่านจึงค่อนข้างเบา ดังนั้น วันหนึ่งเมื่อผู้เขียนพาเพื่อนคณะใหญ่หลายร้อยคนไปทำบุญ เต็มล้นกุฏิที่ท่านพำนัก ก็แอบนึกในใจว่า น่าเสียดายที่หลวงปู่จะไม่อาจให้พร ให้พวกน้องๆ ได้ยินกันทั่วได้ ท่านมีอายุมากแล้ว น่าสงสารท่าน แต่ถ้าทุกคนได้ยินเสียงของหลวงปู่ให้พร เขาจะชื่นใจกันสักเพียงไหนหนอ วิสัยปุถุชนอดคิดละล้าละลัง กลับไปกลับมาไม่ได้

    จะอย่างไรก็ดี ขณะนั้นเอง โดยไม่ได้ถวายไมโครโฟนเลย หลวงปู่ก็ยิ้มอย่างเมตตา ยิ้มอย่างสว่างหัวใจ ที่ผู้เขียนเรียกว่า “ยิ้มเปิดโลก” ชำเลืองมองมาที่ผู้เขียน แล้วก็ตั้งต้นให้พร เสียงของท่านแจ่มใส ดังกังวานไปทั่วระเบียงหน้าห้องอันกว้างใหญ่ ทุกคนได้ยินชัด แม้แต่บางคนที่ต้องนั่งล้นลงมาตามขั้นบันได ก็คุยว่าได้ยินกันถนัดชัดเจนดี พรของท่านครั้งนี้ยาวมาก ทุกคนชื่นอกชื่นใจไปตามๆ กัน เฉพาะผู้เขียนนั้น...อดน้ำตาคลอไม่ได้

    บางเวลาจัดอาหารไปถวายท่าน เห็นอาหารที่ศิษย์แต่ละคนพยายามบรรจงจัดถวาย วางเรียงรายอยู่ตรงหน้าท่านแล้ว เราก็ท้อใจ ท่านจะฉันของเราได้อย่างไร โดยเฉพาะเมื่อท่านฉันอาหารไม่ค่อยได้อย่างนี้ แต่พอนึกเสียใจ สงสารท่าน หลวงปู่จะเหลือบตามอง นัยน์ตาของท่านแจ่มใสบริสุทธิ์ เปี่ยมด้วยรอยยิ้ม และเมตตาอย่างที่สุด

    แล้วท่านก็จะพยักหน้าให้พระผู้ปรนนิบัติ ตักอาหารที่เป็นของผู้เขียนให้ป้อนให้ท่าน ถึงแม้ผู้เขียนจะเพิ่งได้มากราบท่านในช่วงเวลาที่ท่านมีชนย์มายุรวมได้เก้าสิบปีแล้วก็ตามที แต่ข่าวคราวเรื่องที่ท่านผ่านชีวิตธุดงค์มาอย่างทรหดอดทน ก็ยังเป็นที่กล่าวขวัญ นำมายกย่องให้เป็นตัวอย่างแก่ศิษย์รุ่นหลังๆ อยู่เสมอ

    หลวงปู่ออกธุดงค์ทุกปีจนอายุเจ็ดสิบกว่าปี จึงยั้งอยู่กับที่บ้าง แต่ก็ยังออกวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพรอยู่เสมอ

    บางเวลาที่ไปกราบท่าน ถ้าไม่มีหลวงปู่หลุย จันทสาโร หรือท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ นำไป เราก็ไปกันเอง บางครั้งท่านอาจจะเหนื่อย จะไม่ค่อยพูด ซึ่งอาจเป็นเพราะต้องรับแขกศิษย์กลุ่มอื่นๆ อยู่นาน แต่จะอย่างไรก็ตามที ถ้าผู้เขียนกราบเรียนถามถึง “ถิ่นธุดงค์” เก่าของท่าน ที่ท่านเคยสร้างบารมี และเราก็เคยทราบประวัติของหลวงปู่มาจากท่านพระอาจารย์จวนอยู่บ้างแล้ว อย่างเช่นที่ถ้ำค้อ ที่ดงหม้อทอง ที่ถ้ำแก้ว และที่ภูวัว เป็นต้น

    ลักษณะของป่าเขาลำเนาไพรที่ผ่านมา เสือ ช้าง งูใหญ่ ฯลฯ ท่านทรมานมาแล้วทั้งนั้น

    นัยน์ตาของท่านจะแจ่มใสเป็นประกายวาว ถ้านอนอยู่ก็จะลุกขึ้นนั่ง ถ้านั่งอยู่ก็อาจจะลุกขึ้น ทำท่าเสือหมอบ เสือย่าง ให้ดู หลวงปู่ไม่เพียงแค่ทำท่าทางเท่านั้น แต่ก็ทำเสียงด้วย เสือคราง ช้างร้องโกญจนาทอย่างไร ฟังแล้วก็นึกวาดภาพตามท่านไป และพลอยสนุก อยากตามไปลิ้มรสชีวิตธุดงค์อย่างท่านบ้าง

    เราพูดกันอยู่ว่า อย่างพวกเรานี้ ถ้าเข้าป่า เผชิญหน้าเสือ เผชิญหน้าช้าง ก็คงถูกมันขบกัด เหยียบตายแน่ เพราะความที่ฟังแต่ว่า สัตว์เหล่านั้นถูกท่านทรมาน อ่อนศิโรราบไปตามๆ กันแต่อย่างเดียว ก็อาจจะลืมตัวกลัวตายไป เห็นมันก็ไม่วิ่งหนี ลืมนึกไปว่า สัตว์เหล่านั้น “ยอมแพ้” เฉพาะท่านผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ทรงคุณธรรม อย่างหลวงปู่ ต่างหาก...!

    เวลาหลวงปู่เล่า ท่านจะตบเข่า ตบพื้น ชวนให้นึกสนุกตามท่านไปด้วย จนบางครั้งต้องขออาราธนาว่า พอเถิดเจ้าค่ะ เดี๋ยวหลวงปู่จะเหนื่อย จะเจ็บ ท่านจะหยุด และก็ “หวัว” อย่างพอใจ ที่เราแพ้ท่าน

    ปีหลังๆ ท่านไม่ค่อยจะมีแรงที่จะคุยให้สนุกมากนัก ด้วยสุขภาพของท่านถดถอยลง แต่ไม่ว่าท่านจะแสดงท่าเหนื่อยหน่าย นิ่งเฉย ไม่ยิ้มแย้มอย่างไรก็ตามที แต่ถ้าเมื่อผู้เขียนไปกราบนมัสการ กราบเรียนเรื่องที่พวกเราตามท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ไปธุดงค์ถึงถิ่นที่ท่านเคยพำนัก เช่น ที่ดงหม้อทอง ตรงกระท่อมหลังเล็ก ข้างหลังกุฏิหลวงปู่ ที่ตาผ้าขาวอยู่ และช้างยื่นงวงเข้าไปกวาดหาข้าวของในกระท่อม จนเจ้าของต้องไปนั่งตัวลีบ แอบอยู่ที่มุมกระท่อม ที่ถ้ำยาว บนตาดปอ ที่มีพญานาคเกเร มาปรากฏให้ท่านทรมาน ท่านจะแสดงอาการสดชื่น พูดคุยด้วยอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส พอถึงตอนสนุก ผู้เขียนทำท่านเลียนเสียงที่ท่านเคยเล่า ซึ่งคงเพี้ยนจนน่าขบขัน ท่านก็จะหัวเราะอย่างขันเต็มที่

    ผู้เขียนเคยตัวกับการที่มากราบหลวงปู่ และได้เห็นหลวงปู่ยิ้มแย้มแจ่มใสให้เห็นอยู่ตลอดมา จะมีข่าวอาพาธอย่างไรก็ตาม แต่ถ้าเข้ากราบ กราบเรียน และให้เสียงว่าเป็นใครมากราบท่าน (ระยะหลัง นัยน์ตาของท่านแทบมองไม่เห็นเลย) ท่านก็จะยิ้มด้วยยิ้มที่สว่างหัวใจดังเดิม ผู้เขียนเคยตัวอยู่เช่นนั้น จนกระทั่งวันสุดท้ายที่ได้กราบท่าน จำได้ว่า เราเพิ่งกลับจากการรับเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานรูปหล่อท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ที่ภูทอก เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2526 รุ่งขึ้นก็ชวนกันว่า ขากลับกรุงเทพฯ ควรจะแวะมากราบหลวงปู่ขาว อนาลโย ด้วย

    วันนั้นมีครูบาอาจารย์นำเรามาหลายท่าน เช่น หลวงปู่หลุย ท่านพระอาจารย์เหรียญ ท่านพระอาจารย์บัวพา เป็นต้น หลวงปู่อาพาธ มีอาการหลอดลมอักเสบอย่างรุนแรง ท่านนอนสงบนิ่ง หลับลึกอยู่บนเตียง แต่มองแล้วก็น่าใจหาย ด้วยสุขภาพของท่านดูทรุดโทรมมาก ผอมจนแทบเห็นกระดูกใสเป็นแก้วเลย

    ปกติถ้าหลวงปู่หลุยมา อย่างน้อยท่านจะลืมตาขึ้นคุยด้วย เพราะท่านสนิทสนมกันมาก ท่านเล่าว่า ท่านบวชวันเดียวกัน หลวงปู่หลุย บวชก่อนท่าน 15 นาที เป็นนาคขวา ส่วนท่านเป็นนาคซ้าย

    วันนั้นท่านไม่ลืมตา รอกันอยู่พักใหญ่ หลวงปู่หลุย ก็กล่าวว่า ควรปล่อยให้ท่านนอนพักต่อไป อย่าไปรบกวนท่านเลย เราทุกคนจึงออกมาจากห้อง พร้อมทั้งรูดม่านปิดด้วย

    ขณะที่ทุกคนกลับลงไปจากกุฏิหมดแล้ว ผู้เขียนกลับทรุดตัวลงนั่งหน้าห้อง กราบท่านอีกครั้ง อธิฐานจิตขอให้ท่านหายทุกข์เถิด ที่ท่านบอกรับอาราธนาเราไว้ ว่าจะอยู่ให้จนอายุครบ 100 ปีนั้น ลูกไม่ต้องการแล้ว หลวงปู่ดูทรมานเหลือเกิน ถ้าหลวงปู่จะอยู่ให้ลูกหลานชื่นใจ ก็ขอให้อยู่อย่างเป็นสุขเถิด โปรดอย่าอยู่อย่างในสภาพที่น่าเศร้าสลดใจอย่างนี้เลย

    ผู้เขียนก้มหน้าลงกับพื้นหน้าห้อง...นิ่งอยู่ ใจหนึ่งก็เผอนึกรำพันขึ้นมาว่า หลวงปู่เจ้าขา วันนี้ลูกไม่ได้เห็นหลวงปู่ยิ้ม ดูเหมือนจะหายใจไม่ออก น่าประหลาด ผู้เขียนรู้สึกเหมือนว่า ได้เห็นภาพที่หลวงปู่ที่นอนสงบนิ่ง ไม่ไหวติงนั้น เหมือนจะเริ่มกระดุกกระดิก นัยน์ตาท่านขยับเหมือนจะกระพริบถี่ อันแสดงว่าท่านเริ่มที่จะรู้สึกตัว

    ผู้เขียนขยับตัวจากที่หมอบกราบ และเงยหน้าขึ้นมองไปข้างหน้า ม่านข้างหน้าก็ยังรูดปิดสนิท แต่ “ใจ” เราก็มองผ่านผ้าม่านเข้าไปได้ เห็นนัยน์ตาหลวงปู่กระพริบถี่ แขนขยับ ขณะนั้นผู้เขียนไม่ได้นึกถึงความอัศจรรย์อะไร ที่ว่าทำไมเมื่อเราก้มหน้าอยู่กับพื้น เราจึงเห็น ทำไมผ้าม่านปิดอยู่ เราจึงเห็นภาพภายในห้องหลวงปู่ได้ ใจเราคิดแต่เพียงอย่างเดียวว่า หลวงปู่ตื่นแล้ว และเดี๋ยวหลวงปู่ก็จะยิ้มแล้ว ผู้เขียนให้คนเข้าไปกราบเรียนหลวงปู่หลุย และท่านพระอาจารย์เหรียญ ท่านพระอาจารย์บัวพา และตัวเองก็รีบเข้าไปกราบท่านข้างในห้อง ท่านกระพริบตาซ้ำๆ แล้วก็ลืมตา ตาท่านคงใสบริสุทธิ์อย่างเดิม แม้จะมีท่าทางระโหยอยู่มากก็ตามที

    ท่านฟังผู้เขียนเล่าเรื่องรับเสด็จแม่เจ้า การจัดตั้งที่บูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ และพระธาตุครูบาอาจารย์ ให้แม่เจ้าสักการบูชา อย่างเช่น พระธาตุของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ พระธาตุของหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระธาตุของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ พร้อมทั้งพระธาตุของท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม พระธาตุของท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร และพระธาตุของท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ด้วย

    พอแม่เจ้ารับสั่งที่ภูทอกว่า คิดถึงหลวงปู่ขาว ทางขบวนเสด็จก็เตรียมตัว และวิทยุมาทางอุดรฯ แล้วว่าอาจจะเสด็จฯ มายังวัดถ้ำกลองเพล แต่บังเอิญ พระองค์ท่านต้องเสด็จฯ เยี่ยมราษฏรอยู่นานจนสองทุ่มกว่า พระองค์จึงเสด็จมายังวัดถ้ำกลองเพลไม่ได้

    พระที่ปรนนิบัติหลวงปู่ก็รับสั่งว่า เมื่อคืนนี้ทางบ้านเมืองมารอรับเสด็จฯ อยู่จนถึงสามทุ่ม แน่ใจว่าพระองค์ไม่เสด็จแล้วจึงกลับ พอคุยไป สีหน้าท่านแจ่มใสขึ้น ข้อไหนเป็นคำถามต่อท่านโดยตรง ท่านก็ตอบ

    ในที่สุด...แม้จะยังมีท่าทางเหนื่อยเพลียอยู่มาก แต่ยิ้มของท่านก็เป็นยิ้มที่เปิดโลก สว่างเข้าไปในหัวใจดังเดิม เมตตาธรรมของท่านยังเปี่ยมล้น แม้ในวาระที่สังขารของท่านล่วงไปเกือบจะถึงปลายทางอยู่แล้ว

    ในวันพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาว อนาลโย เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2527 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นั้นปรากฏว่าวัดถ้ำกลองเพล ซึ่งมีอาณาบริเวณหลายพันไร่ กลับแคบเล็กไปถนัดใจ ประชาชนจากทั่วทุกทิศานุทิศ ได้หลั่งไหลกันมาถวายสักการะสรีระร่างของท่านผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ เป็นคำรบสุดท้าย นับจำนวนหลายแสนคน เป็นประวัติการณ์สูงสุดของประเทศ

    ในคืนวันถวายพระเพลิงนั้น ได้มีศิษย์ผู้หนึ่งถ่ายภาพเหตุการณ์วันนั้นไว้ หลังจากนำฟิล์มมาล้าง และอัดภาพ ปรากฏว่ามี ภาพ “ปาฏิหาริย์” เกิดขึ้นชุดหนึ่ง ภาพชุดนี้คุณวิรัช ผู้ถ่ายภาพ ยืนยันว่าเป็นภาพที่ถ่ายในคืนถวายพระเพลิงจริง เวลาประมาณ 22.30 น. ขณะถ่ายภาพมองด้วยตาเปล่า จะเห็นเพียงเปลวไฟ และกลุ่มควันขาวกระจายเท่านั้น แต่เมื่อล้างฟิล์ม และอัดแล้ว จึงเห็นเป็นภาพปาฏิหาริย์ เจ้าของภาพได้นำมาถวายให้ท่านพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต เจ้าอาวาสวัดถ้ำกลองเพล ด้วยเห็นเป็นอัศจรรย์เหมือนกัน กล้องสามารถจับแสง และรังสี อันพิสดารไว้ได้ โดยที่ตาเปล่าไม่อาจจะมองเห็นได้...อย่างงดงาม และบางภาพแม้จะดูมีลักษณะคล้ายกัน และถ่ายในมุมใกล้เคียงกัน แต่ลำแสงหรือรังสีที่ปรากฏนั้นก็แตกต่างกันไป

    ก่อนจะกล่าวต่อไป ผู้เขียนเห็นสมควรจะต้องเอ่ยถึงภาพปาฏิหาริย์ ที่เคยปรากฏในกรณีของ ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ศิษย์เอกของหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่มรณภาพไปก่อนแล้วด้วย ภาพชุดนั้นถ่ายที่ภูทอก มีทั้งหมด 7 ภาพ ด้วยกัน ลักษณะมีรังสีในทำนองเดียวกันกับภาพชุดนี้ของหลวงปู่

    ผู้ถ่ายภาพปาฏิหาริย์ของภูทอก ครั้งแรกเข้าใจว่าภาพของตนเสีย มาบ่นกับเพื่อนว่าฟิล์มม้วนเดียวกัน ถ่ายมาทุกวัดดีหมด (ผู้ถ่ายภาพร่วมไปในขบวนที่เดินทางไปทอดผ้าป่าหลายวัดด้วยกัน) ทำไมมาเสียที่ภูทอกแห่งเดียว เจ้าของจะโยนภาพทิ้ง แต่เพื่อนขอนำมาให้ผู้เขียนดู ผู้เขียนพิจารณาแล้ว ก็เห็นประหลาดอยู่ด้วย มีลำแสงแปลกๆ พุ่งจากพระประธานบ้าง จากองค์ท่านพระอาจารย์จวนบ้าง และมีลำแสงฉวัดเฉวียงในอากาศบ้าง แสงเป็นสีฟ้าบ้าง สีเหลืองนวลบ้าง บางทีภาพถ่ายในเวลาติดกัน โดยสังเกตจากภาพบุคคลในรูปเหล่านั้น เกือบจะอยู่ในท่าเดียวกัน แต่แสงก็มีลักษณะต่างกันอยู่มาก

    ผู้เขียนจึงนำภาพชุดนั้นไปถวายองค์ท่านพระอาจารย์จวน ท่านถามก่อนว่า เราคิดเช่นไร ผู้เขียนพิจารณาอยู่ครู่หนึ่งก็เรียนท่าน ภาพที่ภูทอกคิดว่าคงเป็นการถ่ายภาพ “ศักดิ์สิทธิ์” หรือภาพ “เทวดา” โดยท่านคงจะมี “รังสี” ซึ่งเราไม่อาจจะเห็นได้ด้วยตาเปล่า นอกจากนั้นความเคลื่อนไหวของเทพคงจะรวดเร็วยิ่งนัก ภาพที่ถ่ายในเวลาใกล้เคียงกัน ลักษณะแสงรังสี (อันแสดงถึงการเคลื่อนไหว) ถึงต่างกันไปมาก ท่านพระอาจารย์จวน พยักหน้ารับว่า ความเข้าใจของผู้เขียนถูกต้องแล้ว

    ต่อมาเมื่อได้มีโอกาสนำภาพไปถวายครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆ รวมทั้งหลวงปู่ขาว ดูด้วย ท่านก็รับว่าเป็นภาพถ่ายรังสีของเทพเช่นกัน

    ดังนั้น ครั้งนี้เมื่อภาพที่ถ่ายในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เอง เป็นไปในทำนองเดียวกันกับภาพปาฏิหาริย์ที่ภูทอก จึงเป็นไปได้ไหมว่ารังสีที่ปรากฏในภาพต่างๆ กัน จะเป็นการถ่ายภาพ “เทพ” ได้เช่นเดียวกัน เป็นไปได้ไหมว่า ในคืนถวายเพลิงสรีระร่างของหลวงปู่นั้น ได้มี “ปวงเทพ” จากทิพย์วิมาน สวรรค์ รวมทั้งพรหมโลกเบื้องบน ลงมาถวายสักการหลวงปู่ และแสดงภาพปาฏิหาริย์ให้ปรากฏ

    ภาพปาฏิหาริย์ชุดนี้ผู้เขียนได้ไปเห็นครั้งแรกที่วัดถ้ำกลองเพล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2527 ทางวัดจัดใส่กรอบตั้งให้บูชา มีทั้งหมด 6 ภาพด้วยกัน โดยใส่กรอบ 2 กรอบ กรอบละ 3 ภาพ เมื่อขออนุญาตจะนำมาลงพิมพ์ทำ หนังสือ “อนาลโยปูชา” ท่านเจ้าอาวาสก็แกะออกจากกรอบมอบให้ผู้เขียน

    รุ่งขึ้นวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2527 เมื่อนำภาพเหล่านี้ไปถวายให้ท่านพระอาจารย์แยง สุขกาโม และท่านพระอาจารย์เติมศักดิ์ ยุตติธัมโม ดูที่วัดภูทอก และกำลังวิจารณ์กันว่า อาจจะมีผู้สงสัยในพระบารมี และพระคุณานุคุณของหลวงปู่ขาว อนาลโย คิดว่ามีการอาศัยเทคนิคการถ่ายภาพ ล้างอัดจัดทำกันขึ้นจะได้หรือไม่ ระหว่างนั้นเราจึงสังเกตเห็นว่าภาพชุดนี้กลับกลายเป็นมี 7 ภาพ มีภาพเกินขึ้นมาอีก 1 ภาพ แทนที่จะเป็น 6 ภาพ ดังที่ได้รับมาจากท่านพระอาจารย์ที่วัดถ้ำกลองเพลเมื่อวันวาน และน่าสังเกตด้วยว่า ภาพทั้งหมดไม่มีภาพใดเหมือนหรือซ้ำกันเลย หากจะว่าเมื่อรับมาจากท่านพระอาจารย์บุญเพ็ง เราอาจจะนับผิด อาจจะมี 7 ภาพตั้งแต่ครั้งแรกแล้วก็เป็นได้ แต่...แกะภาพจากกรอบ 2 กรอบ และแต่ละกรอบก็มีภาพอยู่กรอบละ 3 ภาพ เช่นนี้จะไม่เรียกว่าภาพหลวงปู่แสดงปาฏิหาริย์ ก็ไม่ทราบว่าจะคิดอย่างอื่นอย่างใดได้

    เราอดนึกรำพึงอีกครั้งไม่ได้ โอ...อย่าว่าแต่มนุษย์เราจะมีความชื่นชมปีติที่ได้มากราบบูชาหลวงปู่เลย แม้เทพเจ้าก็ยังปรารถนามาคารวบูชาท่าน ด้วยถือเป็นมงคลอันสูงสุด เป็นนาบุญอันประเสริฐ ยากจะหาบุญใดเปรียบปานได้เลย “เราช่างมีบุญจริงหนอ ที่ได้มีโอกาสมากราบนมัสการ ได้เห็น ได้เข้าใกล้ ได้ฟังคำสั่งสอนของท่าน ได้สัมผัสจิตใจอันเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรมของท่าน แม้สังขารของท่านจะแตกดับไปแล้วตามธรรมดาของโลก แต่พระบารมีและพระคุณานุคุณ ‘อนาลโยคุโณ’ ย่อมจะดำรงอยู่เป็นที่ระลึกนึกถึง เป็นที่เคารพบูชา เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาต่อบรรดาศิษย์ ตลอดกาลนาน”
    [/SIZE]
     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    ที่ยกตัวอย่างเรื่องของหลวงปู่ขาว ดังข้างต้นมาให้ได้อ่านนั้น หลายคนได้เคยผ่านตามาแล้ว แต่ผมก็มีเหตุผลในตัวเองเช่นกัน ว่าจิตของพระอริยเจ้านั้น ท่านปราถนาจะรู้สิ่งใดสิ่งนั้นก็จะผุดให้รู้เองเหมือนดั่งเปิดโทรทัศน์ปุ๊บภาพก็มาปั๊บฉันนั้น เรื่องจิตไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ผมเองก็เคยได้ลอง และได้รู้ด้วยตนเองมาแล้ว จึงนำมาลงให้อ่านกันอีก เพราะหลายคน พอไปกราบพระดี แทนที่จะทำจิตให้ดี กลับไปส่งส่ายคิดไม่ดีกับท่าน ก็พาลจะเป็นบาปกรรมกันตนเอง เช่นกัน พระพิมพ์ที่ท่านเสกด้วยกำลังจิตที่แก่กล้า ย่อมมีเทวดารักษาอยู่ตามปกาศิตของท่าน หมั่นสวดมนต์ให้เทวดาประจำองค์พระท่านฟังบ้าง ถึงเวลาท่านก็จะช่วยเราเอง หากไม่ใส่ใจท่านแล้ว ท่านก็หมดหน้าที่ที่จะพิทักษ์รักษาองค์พระนั้น หากทิ้งไว้นานๆ ก็จะทำให้กระแสพลังนั้นอ่อนไป อุทาหรณ์นี้เกิดมาจากเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาได้ไปงานแสดงมุทิตาจิตต่อท่าน อ.ประถม อาจสาคร ที่บ้าน จ.ชลบุรี เนื่องในเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่ไทย ร่วมกับกลุ่มของกระทู้พระวังหน้าในเวบพลังจิต พบว่าพระพิมพ์ที่นำมาแจกในงาน รวมถึงผงพุทธคุณบางอย่างที่มีผู้ติดตัวมา หากมีจิตกำลังดี พอพระตกถึงมือปั๊บ หลายคนที่จิตดีอยู่แล้ว จะออกอาการร้องออกมาเบาๆ เพราะทั้งองค์ท่านผู้เสกที่ท่านยังอยู่ในรูปของอทิสมานกาย และจิตของผู้เสกที่เข้มขลังตั้งแต่ต้นเช่นของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ (โต) นั้นไม่ธรรมดา จึงทำให้ต้อง "มือชา" ทันทีที่สัมผัสพระพิมพ์ของท่าน ส่วนท่านผู้ไม่รู้หรือสัมผัสไม่ได้ ก็นั่งกันเฉยๆ ได้พระมาก็ใส่กระเป๋า นับว่าเสียดายของจริงๆ ก็ต้องขอเล่าสู่กันฟังมา ณ โอกาสนี้ สำหรับรายชื่อผู้ที่มีสิทธิได้รับพระ "กำลังใจ 2" หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า "พระปิยบารมี" นั้น กำลังรวบรวมคาดว่าจวนจะเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนรายละเอียดปฐมเหตุการสร้างและเรื่องอื่นๆ ที่คณะกรรมการฯ ต้องการให้ท่านได้รู้ไว้ ขณะนี้ได้รวบรวมไว้แล้วในรูปของแผ่นซีดี ที่จะมีพร้อมทั้งเนื้อหา และรูปภาพบางอย่างที่เชื่อได้ว่าเป็นปาฏิหารย์ขณะทำพิธี ที่ไม่เคยเผยแพร่ให้ผู้ใดได้รับรู้มาก่อนก็จะนำมาลงด้วย โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะแจกพร้อมกันไปกับพระฯ หากดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อใด คณะกรรมการฯ จะติดต่อท่านที่มีสิทธิผ่านทาง pm. เพื่อขอให้ท่านส่งที่อยู่มาให้อย่างเดียว โดยค่าจัดส่งพระ คณะกรรมการฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมดครับ

    พันวฤทธิ์
    7/4/52
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096

    ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ร่วมทำบุญมาด้วยครับ สำหรับน้องแมวหลวง ผงหินขาวนั้นพรหมชั้นสูงท่านส่งกำลังมาให้ พี่ใหญ่บอกว่าผู้ใดมีไว้รับรองไม่จน จะมีกินมีใช้ตลอดเพราะท่านปกาศิตไว้อย่างนั้น ฝากแบ่งให้พี่ด้วยสักถุงเล็กๆ น๊ะ ขอจองก่อนหมดจ๊ะ


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2009
  18. nathaphat

    nathaphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +750
    วันนี้โอนเงินร่วมทำบุญ 200 บาทครับ อนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • slip070452.gif
      slip070452.gif
      ขนาดไฟล์:
      14.9 KB
      เปิดดู:
      39
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096

    ขอขอบคุณมากสำหรับสมาชิกขาประจำอย่างคุณ nathaphat ครับ ที่บริจาคอย่างสม่ำเสมอมาทุกๆ เดือน สงกรานต์ปีนี้ร้อนมาก ไปไหนก็ได้ให้เค้าสาดน้ำบ้างก็ยังไหว แต่หากมีเวลา วันที่ 26/4 นี้ จะมารับ "ปิยบารมี" ด้วยตนเองที่ รพ.สงฆ์ด้วยก็ขอเชิญ จะได้รู้จักกันไว้ครับ


    [​IMG]


     
  20. ไชยชุมพล

    ไชยชุมพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +1,873
    วันนี้ ได้ร่วมทำบุญกับทุนนิธิประจำเดือนนี้จำนวน 500 บาทครับ โอนไปเวลาประมาณเที่ยงครับ ขออนุโมทนากับทุกท่านครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...