ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    ปลายทางของรถฉุกเฉิน


    <!-- Main --><CENTER>[​IMG]</CENTER>

    วันนี้เลิกงานดึก ซึ่งก็เป็นปกติของทุกคืนอยู่แล้ว สายฝนตกกระหน่ำมาอย่างไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเลย ข้าพเจ้าเปิดที่ปัดน้ำฝนเบอร์ที่แรงที่สุด แต่ก็ยังไม่อาจจะควบคุมน้ำฝนที่หน้ากระจกให้มองถนนได้ชัดเจนมากนัก ได้แต่ภาวนาให้ฝนหยุดตกเสียที เพราะการขับรถในสถานการณ์เช่นนี้ เสี่ยงต่ออุบัติเหตุอยู่มาก

    เมื่อมาถึงที่พักฝนก็หยุดตกพอดี จึงเดินออกไปกินข้าวรอบดึก เกือบ ๑๑ ชั่วโมงแล้ว ที่ทำงานอย่างไม่หยุดพักเลย ข้าวมื้อนี้จึงเป็นข้าวมื้อที่ ๒ ของวัน ซึ่งอีกไม่กี่นาที นาฬิกาข้อมือก็เปลี่ยนวันที่ใหม่อีกครั้ง

    เสียงรถร่วมกตัญญู แว่วมาแต่ไกล คำประกาศขอทางทางฉุกเฉินดังขึ้น ทำให้จินตนาการได้ว่าคงมีอุบัติเหตุร้ายแรงเป็นแน่ ท่ามกลางฝนตกหนักเช่นนี้ การเดินก็ลำบาก แถมรถก็ยังติดอีก คนที่ประสบอุบัติเหตุคงจะทุกข์ยากน่าดู

    ช่วงที่เรามีความสุขนั้น เราเคยนึกบ้างไหมว่าอนาคตเราก็จะต้องประสบความทุกข์เหมือนกัน เราคงจะไม่คิดกันล่วงหน้าหรอกใช่ไหม จนกว่าความทุกข์ยากเหล่านั้น มันจะมาเคาะประตูเรียกชื่อเรา นั่นแหละน้ำตาแห่งความทุกข์จึงได้หลั่งออกมาอย่างไม่รู้ตัว

    สมัยที่ข้าพเจ้ายังเป็นเด็กประถม เวลาไม่สบาย ข้าพเจ้ามักจะนึกตัวการ์ตูนเสมอ ก็จะเป็น มิกกี้เมา้ส์ โดนันดั๊ก อะไรประมาณนั้น การ์ตูนพวกนี้ช่างสบายจริงหนอ ใครทำอะไรก็ไม่มีวันตาย ใครแกล้งยังไงก็ลุกขึ้นมาเดินต่อไปได้อีก ตัวการ์ตูนจึงเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าอิจฉาที่สุดเมื่อคราวที่ตัวเองเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา

    แต่ปลายทางของรถฉุกเฉินนั้น คงมีน้ำตา มีความเศร้าเสียใจอย่างแน่นอน ข้าพเจ้าถามตัวเองว่า ตอนนี้เราเป็นยังไง ทำงานหนักแต่ก็ยังมีความสุขดีใช่ไหม
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    แม้จะยามใด "คุณพระ" ก็ยังเป็นที่พึ่งทางใจของเรานับแต่ครั้งอดีตที่ผ่านมา จากบทประพันธ์ "นางคอย" ในบล๊อกที่สวยงาม เพรง-เพยีย... อย่าลืมเข้าไปเยี่ยมชมให้ได้ บล๊อกนี้ขอแนะนำครับ






    <CENTER>...นางคอย ๒ (คืนนคร)...</CENTER>



    ๏ กลิ่นเทียนธูปในห้องพระยังคละคลุ้ง
    ผสมปรุงกลิ่นไอมาลัยร่ำ
    เสียงสวดมนต์เพียงแผ่วพอยินคำ
    แต่หัวค่ำ..ของคนอยู่บนเรือน



    ๏ จากข่าวล่วงสู่หลังเมื่อครั้งบ่าย
    ก็วุ่นวายอกใจหาใดเหมือน
    เมื่อฟ้าพรุ่งกองทัพจะกลับเยือน
    ประกาศชัยให้สะเทื้อนไปทั่วแดน

    ๏ โอ้พี่เอย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2009
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    พรุ่งนี้คณะกรรมการทุนนิธิฯ จะประชุมการจัดกิจกรรมทำบุญประจำเดือนในวันอาทิตย์หน้า คือวันที่ 22 มีนาคม 2552 โดยมีรายละเอียดการประชุมคร่าวๆ ดังนี้

    1. การบริจาคเงิน

    บริจาคเข้า รพ.สงฆ์
    - ค่าสังฆทานอาหารเช้า ประมาณการ 5,000.- (พระสงฆ์ 200 รูป)
    - บริจาคซื้อเลือดถวายพระ 7,500.-
    - บริจาคซื้อเวชภัณฑ์ส่วนกลาง 7,500.-
    รวมบริจาคที่ รพ.สงฆ์ 20,000.-

    บริจาคไปยัง รพ.ที่สงเคราะห์สงฆ์ตามภูมิภาคต่างๆ
    - รพ.มหาราช จ.เชียงใหม่ 5,000.-
    - รพ.ยุพพราช (ปัว) จ.น่าน 6,000.- (เป็น รพ.ชายแดนลาว)
    - รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น 5,000.-
    (ผ่านกองทุนหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
    - รพ.50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ 5,000.-
    จ.อุบลฯ
    - รพ.แม่สอด จ.ตาก 6,000.- (เป็น รพ.ชายแดนพม่า)
    - รพ.สงขลา จ.สงขลา 8,000.-
    (เป็น รพ.ที่ได้ทราบว่ามีพระสงฆ์และแม่ชี มารักษามาก รพ.หนึ่งในภาคใต้)
    รวม รพ.ในส่วนภูมิภาค 35,000.-

    2. บริจาคเครื่องดูดเสมหะ

    มีพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ ที่รอการบริจาคเครื่องนี้อยู่ โดยจะบริจาคให้ รพ.ศรีนครินทร์ จำนวน 1 เครื่อง ในราคา 5,000.-

    โดยรวมเป็นเงินบริจาคให้กับสงฆ์อาพาธในเดือนมีนาคมนี้ ตามข้อ 1 และ 2 เป็นเงินทั้งสิ้น 60,000.- (-หกหมื่นบาทถ้วน)

    3. กิจกรรมเสริมประจำเดือน

    - คอร์สการอบรมการเรียนรู้และดูพระเครื่องวังหน้า พิมพ์ทรงพระประธานที่ผ่านการวิเคราะห์ทางนามโดยพี่ใหญ่แล้วว่าท่านหลวงปู่ใหญ่ และท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านได้เมตตาอธิษฐานจิตไว้ให้ ตามที่มีผู้ลงทะเบียนไว้ 4 ท่าน อบรม โดยนายสติ พร้อมกับการแจกพระพิมพ์ข้างต้นให้กับผู้อบรม ฟรีคนละ 1 คู่ (เป็นพระพิมพ์สมเด็จในสกุลกรมท่าที่ผ่านการคัดสวยแล้ว และสกุลปัญจสิริที่มีความงามราว 70-80%)
    - เรื่องอื่นๆ (เปิดตัวพระ "ปิยบารมี" ที่ผสมทองคำแท้ จำนวนกว่า 8 บาท และแผ่นยันต์จากพระอภิญญาจารย์ทั้งหลายท่านได้อธิษฐานจิต และจารเลขยันต์ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยดำเนินการควบคุมการหล่อองค์พระโดยคณะกรรมการของทุนนิธิฯ เอง จนท่านอาจารย์ประถมถึงกับบอกว่า "ใครจะทำได้อย่างนี้")

    ประชุมเสร็จแล้วได้เรื่องอย่างไร จะมาประชาสัมพันธ์ให้ทราบอีกครั้งหนึ่งครับ

    พันวฤทธิ์
    14/3/52
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2009
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
  5. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    พูดถึงทองที่ผสมลงในพระที่ทุนนิธิฯสร้างจำนวน 8 บาท ว่ามากไหมในการหล่อพระไม่กี่ร้อยองค์ผมจะเทียบให้ฟังด้งนี้ครับ

    [​IMG]

    พระกริ่งปวเรศปี2530ที่โด่งดังเนื่องจากในหลวงทรงเททอง และ พระสังฆราชทรงเททองต่อจนเสร็จทุกองค์ ทำกันที่วัดบวรฯไม่ทำที่โรงงาน มีจำนวนการสร้างมากถึง 25300ชุด หมายถึงทั้งพระกริ่งบวกพระชัยวัฒน์ รวม 40600 องค์ พระกริ่งปวเรศนี้เล่าลือกันว่ามีเนื้อหาที่สวยมีเนื้อกลับดำมีทองคำลอยอยู่ตามผิวของพระเนื่องจากผสมทองคำถึง80บาท พิจารณาแล้วตก พระจำนวน500องค์มีทองคำเป็นส่วนผสมอยู่ประมาณ1บาท แต่พระทุนนิธิฯถ้า500องค์จะมีทองคำผสมอยู่ถึงประมาณ7บาทครับ แถมยังใส่โลหะเงินที่บริสุทธิ์เกือบ100%อีกเป็นกิโล ทำทั้งหมดเพียงหลักร้อยปลาย นำเข้าบรรจุในเจดีย์และในพระพุทธรูปองค์ใหญ่ๆไปมากแล้ว คงเหลือแจกกันในเมษานี้อีกไม่มากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 มีนาคม 2009
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096

    เมื่อวานประชุมเสร็จในช่วงเย็น เลยไม่ได้แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ให้ทราบ แต่ผลการประชุมก็เป็นไปอย่างข้างต้นในเรื่องการบริจาค โดยเมื่อวานได้ทยอยโอนเงินบริจาคไปยัง รพ.ภูมิภาคแล้ว 4 ที่ คือ รพ.มหาราช รพ.แม่สอด รพ.ศรีนครินทร์ (ผ่านกองทุนหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) และ รพ.สงขลา ในส่วนของ รพ.50 พรรษาฯ และ รพ.สมเด็จพระยุพพราช (ปัว) นั้น จะได้ธนาณัติไปให้ในสัปดาห์นี้เช่นกัน

    ส่วนเครื่องดูดเสมหะนั้น ทางผู้ขายได้จัดส่งไปยัง รพ.ศรีนครินทร์แล้วตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ โดยคาดว่าจะถึง รพ.ในวันอังคารนี้ ซึ่งเมื่อถึงแล้ว ผมถึงจะโอนเงินให้ผู้ขายโดยผ่านธนาคารที่ได้รับแจ้งไว้ต่อไป

    จำนวนพระที่จะถวายสังฆทานนั้น คาดว่าจะทราบยอดได้ไม่เกินวันเสาร์นี้

    ส่วนพระ "ปิยบารมี" นั้น ผมจะนำไปเป็นตัวอย่างให้ชมกันทั้งหมด 5 องค์ โดยคาดว่าผู้ที่จะมีสิทธิได้รับพระพิมพ์นี้ไปบูชาฟรีๆ ตามกติกาที่ตั้งไว้ ไม่น่าจะเกิน 50 คน โดยจะให้เป็นครอบครัวไป เพราะพระนี้อย่างที่บอกผสมทองคำไว้เยอะ คงไม่มีทุนในการทำแจกฟรีบ่อยๆ หรืออาจจะไม่มีการทำอีกก็ได้ เพราะส่วนผสมที่เป็นแผ่นยันต์ หรือเครื่องรางต่างๆ พระในสมัยนี้ กำลังอภิญญาท่านดูจะน้อยกว่าในสมัยก่อนเป็นไหนๆ อย่างของหลวงปู่หมุน ที่ท่านเมตตาปลุกเสกวัตถุดิบ (ดูในกระทู้เก่า) ไว้ให้บางส่วน ใครจะเก่งเกินท่าน หายากเต็มทนครับ

    พันวฤทธิ์
    16/3/52
     
  7. keh

    keh เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +505
    ขอร่วมอนุโมทนาบุญกับทุก ๆ ท่านค่ะ ขอไปบอกบุญเพื่อน ๆ ในกลุ่ม แล้วจะโอนเงินไปตามบัญชีธนาคารที่ให้ไว้นะคะ

    ป.ล. วันนี้เพิ่งโอนเงินค่าผ่าตัดเส้นเลือดในสมอง เพื่อถวายช่วยหลวงปู่ถม จ.ลพบุรี จำนวน 700 บาทค่ะ
     
  8. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    "บริกรรม"แก้"จิตเสื่อม"


    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    การฝึกจิตทุกคนให้ใช้ปัญญานะ อย่าสักแต่ว่าทำสุ่มสี่สุ่มห้า ให้ใช้สติปัญญาพิจารณาเหตุผลของตัวเองที่บำเพ็ญไปเป็นยังไงต่อยังไงให้เทียบ นี้ได้พิจารณามาตลอดดังที่เคยพูดให้ฟัง จิตเจริญแล้วเสื่อมๆ มันเป็นยังไง ปีกับห้าเดือนเราก็ไม่ลืม คือมันเป็นอย่างนั้นแล้วมันสดๆ ร้อนๆ นะ ทุกข์ที่สุดผู้ที่มีสมาธิภาวนาแล้วจิตเสื่อมลงไปนี้ ทุกข์มากยิ่งกว่าคนที่เขาไม่เคยภาวนานะ คือมันเห็นผลเป็นที่พอใจแล้ว เหมือนว่าเราได้เงินเป็นล้านๆๆ นะ ทีนี้มาเสื่อมไปหมดเลยไม่มีอะไรติดเนื้อติดตัว เหมือนเขามีเงินเป็นล้านๆ ล่มจมไปด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง แม้จะมีเงินอยู่ในบ้านในเรือนเป็นหมื่นเป็นแสนก็ไม่มีความหมาย จิตมันไปเกาะอยู่กับสมบัติที่ล่มจมไปนั้นเป็นกองทุกข์มาก
    ทีนี้ภาวนาของเราก็เหมือนกัน เวลาจิตเสื่อมนี้ไม่มีอะไรในตัว หมดเนื้อหมดตัว มีแต่กองทุกข์สุมอยู่ทั้งวันทั้งคืน พยายามตั้งขึ้นๆ ๑๔-๑๕ วัน ตั้งขึ้นได้เพียงสองคืนแล้วเสื่อมลงต่อหน้าต่อตา เสื่อมลงอย่างอุตลุดเลยไม่ได้ฟังเสียงใคร จึงเอามาทดสอบดู เอ๊ะ มันเป็นยังไง เราก็พยายามดันขึ้น ไปถึงนั้นแล้วเสื่อมลงต่อหน้าต่อตา เป็นอย่างนี้มาได้ปีกับห้าเดือน ทุกข์มากที่สุดนะ คนผู้มีจิตเจริญแล้วเสื่อมนี้ทุกข์มากที่สุด ยิ่งกว่าเขาไม่เคยภาวนานะ คือมันเคยเห็นรายได้มาแล้ว มันไปล่มจมเอาเสียด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังที่กล่าวตะกี้นี้ว่าเหมือนเขามีเงินล้านนั่นละ ไปล่มจมเอาเสียทุกข์มากนะ คนนี้ทุกข์มากยิ่งกว่าตาสีตาสาหากินอยู่ตามท้องนาเป็นไหนๆ
    คือเวลาจิตมันเจริญแล้ว มันเห็นความแปลกประหลาดอัศจรรย์อยู่ในใจประจำตลอด แต่เสื่อมลงไปแล้วมีแต่ฟืนแต่ไฟเผาไหม้มันทุกข์มาก จึงได้มาทดสอบมันเป็นเพราะเหตุไร เราก็ตั้งสติพยายามทั้งวันทั้งคืนมันก็เจริญขึ้นไป ถึง ๑๔-๑๕ วันเจริญ ถึงนั้นแล้วอยู่เพียงสองคืน คืนสามนี้เสื่อม เหมือนกลิ้งครกลงมาจากภูเขาอะไรห้ามไม่อยู่ ผึงเลย ไม่มีอะไรติดตัว หมดกำลัง เอ้า เอาอีกๆ อยู่อย่างนั้น เป็นอย่างนั้นตลอดมา พอถึงสองคืนสามคืนแล้วไม่อยู่ เสื่อม ทีนี้จึงมาพิจารณาทดสอบเหตุผลกลไก เอ๊ นี่จะเป็นเพราะเราขาดคำบริกรรมภาวนา สติอาจจะเผลอไปตอนนั้นก็ได้จิตถึงได้เสื่อม เอ้า ทีนี้ตั้งใหม่ มีข้องใจอยู่จุดนี้เท่านั้นแหละ ทีนี้จะเอาคำบริกรรมติดกับใจ
    เพราะไม่มีงานอะไรมีแต่งานภาวนาอย่างเดียว แล้วอยู่คนเดียวเสียด้วย เอาละที่นี่พิจารณาลงตัวแล้ว คือจะเป็นเพราะขาดคำบริกรรม สติอาจจะขาดไปตรงนั้นก็ได้จิตถึงได้มีเวลาเสื่อมได้ คราวนี้จะเอาคำบริกรรมให้ติดกับจิต และสติให้ติดแนบอยู่กับคำบริกรรมไม่ยอมให้เผลอเลย เอา ทีนี้มันจะเสื่อมไปทางไหนให้รู้กันตรงนี้ พอลงใจแล้วก็เอาละที่นี่ แต่มันจริงจังมากนะเรา เหมือนระฆังดังเป๋งนี้ต่อยกันแล้วนักมวย คำบริกรรมกับคำไม่ให้เผลอ พอเอาละที่นี่ระฆังเป๋งก็ใส่ปุ๊บเลย ไม่ให้เผลอ ตั้งแต่เริ่มปั๊บไม่ให้เผลอเลย ทั้งวันไม่ยอมให้เผลอไปไหน ให้อยู่กับคำบริกรรมคือพุทโธ เราชอบพุทโธ ติดอยู่กับคำบริกรรม โลกนี้เหมือนไม่มี มีแต่คำบริกรรมติดกับหัวใจอยู่อย่างนั้นตลอดทั้งวัน

    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    มันอยากคิดอยากปรุงนี้เหมือนอกจะแตกนะ ถึงรู้ได้ชัดว่าสังขารนี้สำคัญมากมันดันออกมา สังขารเป็นสังขารสมุทัย อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สังขารสมุทัยมันดันออกอยากคิด พอมันคิดมันปรุงมันไปกว้านเอาฟืนเอาไฟมาเผาเรา นั่นละเสื่อมตรงนั้น ทีนี้ไม่ยอมให้คิด มันอยากจะคิดอกจะแตก เอ้า แตก ไม่ยอมให้คิดเลย ให้คิดแต่คำว่าพุทโธอันเป็นงานของธรรมเท่านั้น วันแรกเหมือนอกจะแตก วันหลังรู้สึกจะเบาลง แต่ไม่เผลอเหมือนกัน ความเผลอไม่ให้มีเลย ทั้งวันนี้ไม่ให้เผลอเลย ทุกข์มากไหม ตั้งสติไม่ให้เผลอทั้งวันไปเลยเชียว เรื่องเผลอไม่ให้เผลอเลย กี่วันก็ตามไม่ให้เผลอ
    พอสามวันไปแล้วค่อยอ่อน ความดันอยากปรุงอยากคิดอะไรนี้ค่อยอ่อนลงๆ ๓-๔ วัน ๕ วัน ทีนี้สงบ นั่น ทีนี้เปลี่ยนละที่นี่เป็นใจสงบละ เรื่องสังขารไม่กวน สังขารความคิดความปรุงไม่กวน ต่อไปจิตก็ค่อยก้าวขึ้นๆ ละเอียดเข้าไปๆ จนกระทั่งไปถึงที่ที่มันเคยเสื่อม มันจะเสื่อมที่นี่ เอ้าๆ เสื่อมไปบอกเลย ได้หักห้ามกันพอแล้ว ยังไงมันก็ไม่อยู่คราวนี้ปล่อยเลย เอา อยากเสื่อมเสื่อมไป แต่คำบริกรรมกับสตินี้จะไม่ยอมปล่อย มันจะเสื่อมที่ตรงไหนให้รู้กัน พอไปถึงนั้นแล้วก็ปล่อยเลย แต่พุทโธกับสติไม่ยอมปล่อย
    พอถึงนั้นแล้วจะเสื่อม เอ้า เสื่อม พอถึงขั้นมันแล้วนะ ถึงนั่นแล้วมันจะเสื่อม ทุกครั้งๆ เป็นอย่างนั้น ทีนี้ปล่อยเลย เอ้าๆ เสื่อมไป แต่คำบริกรรมกับสตินี้จะไม่ยอมปล่อย ติดกับคำบริกรรมเลย พอไปถึงนั้นแล้วว่ามันจะเสื่อมไม่ห่วงใย ปล่อยเลย เอ้า จะเสื่อมให้เสื่อมไป พอถึงนั้นแล้วทีนี้ไม่เสื่อมนะ เอ้า เสื่อมบอกเลย มึงอยากเสื่อมมึงเสื่อมไป กูไม่ยอมเสื่อมกับคำบริกรรมกับสติซัดขึ้นไป ทีนี้ไม่เสื่อม แล้วขึ้นไปเรื่อยๆ แทนที่ไปถึงนั้นแล้วจะลงไม่ลง ขึ้นเรื่อยๆ ขึ้นไปจนกระทั่งจิตแนบสนิทๆ จนกระทั่งที่ว่าจิตเรานี้ภาวนาๆ พุทโธๆ อยู่นี้ เวลาจิตละเอียดจิตอิ่มตัวแล้วคำว่าพุทโธหายนะ พอไปถึงนั้นแล้วพุทโธหายเงียบเลย ปรุงไม่ขึ้น คิดอะไรก็ไม่มี เหลือแต่ความรู้ที่ละเอียดแน่วกับสติ
    อ้าว ทำไมเป็นอย่างนี้ล่ะ สงสัยนะ ก็พุทโธๆ ติดกันมาตลอดตั้งแต่วันตั้งคำบริกรรม แล้วนี้มันหายไปไหนเงียบเลย ตั้งไม่ขึ้น จิตมันละเอียดเต็มที่ เรียกว่ามันอิ่มตัว อิ่มคำบริกรรมเข้าพัก พูดง่ายๆ พัก ไม่ปรุงอะไรเลย คิดอะไรก็ไม่ออก อย่าว่าแต่พุทโธ จะคิดเรื่องใดก็ไม่ออก หมดความปรุง เอ้า อยู่นี้ก่อน คำว่าหมดคำบริกรรมนี้จิตมันละเอียดนะ ให้สติจับอยู่กับนั้น จับอยู่กับความรู้ที่ละเอียด ส่วนสตินี้ไม่ให้เผลอ ทีนี้พอมันได้จังหวะนี้มันก็คลี่คลายออกมา คือจิตสงบเหมือนเราตื่นนอน พอมันคลี่คลายออกมานึกคำบริกรรมได้ นึกพุทโธได้พุทโธต่อเรื่อยเลย
    ทีนี้ก็เลยรู้จักวีธี พอถึงขั้นจิตอิ่มตัวจิตสงบมันจะปล่อยคำบริกรรม นึกก็ไม่ออก ปล่อยเสียเวลานั้น แต่ความรู้นั้นกับสติให้ติดกันไปเรื่อย มันเลยไม่เสื่อม นี่ละวิธีการปฏิบัติต้องทดสอบตัวเอง นี่เราได้ทดสอบอย่างนั้น แล้วก็ไม่เสื่อมตั้งแต่นั้นมาเรื่อยเลย ไม่เสื่อม ขาดสตินี่จับได้ชัดเจน อ๋อ สติสำคัญมาก พอขาดสติจิตเสื่อมได้ๆ เมื่อไม่ขาดสติแล้วไล่มันเสื่อมมันก็ไม่เสื่อม เราเป็นแล้วนี่ จึงบอกว่า เอ้า เสื่อมไป อยากเสื่อมไปไหนเสื่อม เราหึงหวงห่วงใยมันพอแล้วมันไม่ได้ฟังเสียงเรา คราวนี้ปล่อยเลย เอ้า เสื่อม แต่คำบริกรรมกับสติจะไม่ยอมปล่อย มันก็เลยได้กับอันนี้ไปเรื่อยๆ เจริญเรื่อย นี่เราพูดแต่ต้นไปถึงขั้นไม่เสื่อม ทีนี้ก้าวหน้าละที่นี่ เรียกว่าตั้งรากตั้งฐานได้เพราะสติดี
    ใครมีสติดีแล้วตั้งได้ ถ้าขาดๆ วิ่นๆ เผลอๆ เผลๆ อะไรไป นึกได้เมื่อไรถึงมาระลึกไม่เป็นท่านะ ถ้าลงได้เอาจริงเอาจังพ้นมือเราไปไม่ได้ละ เราทำแล้ว ตั้งแต่นั้นมาจิตเราก็ไม่เคยเสื่อมอีกเลย ทะลุไป จนกระทั่งนั่งหามรุ่งหามค่ำ นั่นเห็นไหมล่ะเมื่อไม่เสื่อมแล้วมันก็ก้าวใหญ่ เอาใหญ่เลย จากนั้นมาก็ก้าวทางวิปัสสนาพิจารณาทางด้านปัญญา แยกธาตุแยกขันธ์ทุกสัดทุกส่วนในสกลกาย ของสัตว์ของบุคคลของเขาของเรา ของหญิงของชายพิจารณากระจายออกไป ตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน หนังละที่นี่ ถลกออกไปหนังน่ะ มันสวยมันงามอยู่ที่หนัง ถลกหนังออกแล้ว เอ้า ดู นั่นน่ะปัญญา เข้าใจไหม ดูเป็นหญิงเป็นชายที่ไหน น่ารักน่าชอบใจที่นี่มันเป็นเพราะหนัง
    จากหนังดูเข้าไปกระดูกสวยอะไร ดูเข้าไปข้างในเท่าไรสวยที่ไหนงามที่ไหน มันก็เห็นชัดด้วยปัญญาละซิ เมื่อเห็นชัดแล้วมันก็ค่อยปล่อยของมันไปเองๆ นี่วิปัสสนาทางด้านปัญญา เมื่อพิจารณาทางด้านปัญญาเห็นผลแล้วมันเพลินนะ ทางด้านปัญญานี้มันจะไม่เข้าพักสมาธิ มันเพลิน หมุนติ้วๆ เลย จนกระทั่งเจ้าของเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ให้หยุดพักทางปัญญาเสีย เข้าสู่สมาธิ เวลามันเพลินทางปัญญามันไม่สนใจสมาธินะ ไม่สนใจก็ตาม เอาคำบริกรรมติดเข้าไปให้มันเข้าสู่สมาธิได้ จิตเป็นหนึ่งได้ ใครบริกรรมคำไหนก็เอาคำนั้น บริกรรมพุทโธก็เอาพุทโธๆ ให้อยู่กับพุทโธๆ จิตก็แน่วลงไปสู่สมาธิ มีกำลังวังชาเหมือนถอดเสี้ยนถอดหนาม นี่ละพักเอากำลังเป็นอย่างนั้น
    พอได้โอกาสแล้วรู้ว่าจิตนี้แน่นหนามั่นคงได้กำลังพอแล้ว ก้าวออกทางวิปัสสนานี้มันพุ่งเลยเทียว มันอยากออกยิ่งกว่าอะไร มันไม่สนใจกับสมาธิ มันหาว่าสมาธิไม่ใช่ธรรมแก้กิเลส ตีกิเลสให้ตะล่อมเข้ามาต่างหาก แก้กิเลสคือปัญญา นั่นมันไปอย่างนั้น มันก็จะเห็นคุณของปัญญาโดยถ่ายเดียวไม่เห็นโทษของสมาธิ เพราะฉะนั้นจึงให้รู้วาระ วาระนี้เราทำงานเพื่อผลประโยชน์ด้วยปัญญา วาระนี้เราจะพักจิตของเราเพื่อจะเอากำลังวังชาเพื่อวิปัสสนาต่อไป ให้พัก พักมันไม่อยากพัก
    ลำพังจะบังคับไว้เฉยๆ ไม่อยู่นะ มันจะพุ่งๆ ทางปัญญาตลอด ต้องเอาคำบริกรรมให้ติดกับนั้นปั๊บเลย เอ้า บริกรรมพุทโธๆ ถี่ยิบเข้าไปลง ที่นี่จิตลง ลงแน่วมีกำลังวังชากระปรี้กระเปร่าแล้วก็เหมือนถอดเสี้ยนถอดหนาม โอ๋ ทีนี้สบายเบาหมดเลย นี่จิตพักงาน พอได้กำลังเต็มที่แล้ว พอรามือเท่านั้นมันจะพุ่งออกทางด้านปัญญา ให้ทำอย่างเก่านี้ต่อไปเรื่อยๆ นี้เรียกว่าปฏิปทาที่ถูกต้องดีงาม พากันจำเอาไว้นักปฏิบัติ
    มีใครจะสอนที่ว่าถูกต้องแม่นยำ นี้แน่ใจการสอนว่าไม่ผิดเพราะเราผ่านมาแล้ว ทายผิดทายถูกอะไรเราผ่านมาหมด คัดเลือกมาหมดแล้วมาสอน ตั้งแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงาม ให้นำไปปฏิบัติ ไม่เช่นนั้นไม่ได้เรื่อง ภาวนากี่ปีกี่เดือนไม่มีหลักมีเกณฑ์ไม่ได้เรื่องนะ ต้องให้มีหลักมีเกณฑ์ ตั้งได้จิตขอให้มีหลักเกณฑ์เถอะ การภาวนาๆ ท่านพูดกว้างๆ นี่สอนกันก็สอนทั่วโลกเรื่องภาวนา ไม่ทราบภาวนายังไงตั้งหลักตั้งเกณฑ์ยังไง ไม่มีหลักมีเกณฑ์มันก็ไม่ได้เหตุได้ผลได้อรรถได้ธรรม ให้มีหลักมีเกณฑ์อย่างที่ว่าซิ เอาทำอย่างนี้ละ ตั้งได้ๆ ขึ้นได้ไม่สงสัย ที่สอนนี้ไม่ผิด ดังที่ว่าคำบริกรรมเป็นสำคัญ สติเป็นพื้นฐานสำคัญมากทีเดียว ต่อจากนั้นจิตก็สงบๆ เรื่อยๆ ควรพักพัก ควรจะออกทางวิปัสสนาออก จำให้ดีเหล่านี้ดำเนินมาแล้วไม่ผิด ได้ผลมาแล้วจึงมาสอน สอนด้วยความได้หลักได้เกณฑ์นี้ ผู้ยึดก็ยึดได้หลักได้เกณฑ์ ที่สอนสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้หน้าได้หลัง ผู้ปฏิบัติก็ไม่ทราบจะยึดเอาตรงไหนๆ เป็นหลักเป็นเกณฑ์ ไม่ได้เรื่อง เหลวไหลทั้งนั้น จำให้ดี เอาละเท่านี้

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.phuttawong.net
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2009
  9. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    แผนผังมหากุศล


    อันว่า "สพฺเพ ธมฺมา" หรือ "ธรรมทั้งหลายทั้งปวง" นั้น สามารถจำแนกออกได้เป็นปรมัตถธรรม (ธรรมที่มีเนื้อความไม่ผันแปรเปลี่ยน) และบัญญัติธรรม (ธรรมที่สมมติขึ้นเพื่อเรียกขาน)และ "ปรมัตถธรรม" ก็จำแนกออกได้อีกเป็น จิ - เจ - รุ - นิ หรือ จิต - เจตสิก - รูป - นิพพาน

    จิต สามารถจำแนกออกได้ 89 ประเภท เช่น มหากุศลจิต 8 โลภมูลจิต 2, โทสมูลจิต 2, โมหมูลจิต 2 และ จิตอื่นๆที่เหลือ 69

    เจตสิก คือธรรมที่เกิดร่วมกับจิต มีทั้งหมด 52 ประเภท เช่น เจตนา, วิริยะ, โทสะ, มานะ, สติ, กรุณา, ปัญญา ฯลฯ

    ต่อไปจะขอยกตัวอย่างขณะจิตหนึ่งของ "มหากุศลจิต" ขึ้นมาเพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ จิต และเจตสิก


    [​IMG]

    ในหนึ่งขณะจิต ที่"มหากุศลจิต" เกิดขึ้นและดับลงนั้นเจตสิกประมาณสามสิบกว่าดวงก็เกิดขึ้นพร้อมกันและดับพร้อมกับจิตนั้นๆด้วย

    ในภาพข้างบนนี้"วงกลมวงใหญ่" สื่อให้เห็นถึง "จิต" ในขณะหนึ่งๆ และ"วงกลมวงเล็ก 38 วง" สื่อให้เห็นถึง "เจตสิก" ต่างๆที่เกิดขึ้นร่วมกับ "มหากุศลจิต" นี้
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.phuttawong.net
     
  10. kratium

    kratium เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2007
    โพสต์:
    484
    ค่าพลัง:
    +3,670
    เมื่อวานนี้ 16 มีนาคม 2552 เวลา 18.35.39 น.โอนเงินร่วมทำบุญ 500 บาทค่ะ ขอบคุณทางทุนนิธิฯ ที่ให้โอกาสได้ร่วมบุญอย่างสม่ำเสมอ

    อนุโมทนาบุญกับทุกท่านค่ะ
     
  11. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    คนโง่...คนฉลาด...คนเจ้าปัญญา
    <!-- InstanceEndEditable --><!-- InstanceBeginEditable name="EditRegion4" -->
    [​IMG]'




    [​IMG]

    ว่าด้วยความคิด
    คนโง่ : ทำก่อนแล้วจึงคิด จึงผิดพลาดอยู่เนืองๆ ต้องเปลืองเวลาและความรู้สึก ตามแก้ปัญหาไม่สิ้นสุด
    คนฉลาด : คิดมากก่อนแล้วจึงทำ จึงเพ้อเจ้ออยู่เป็นประจำ แม้ประสงค์จะทำดีทากแต่ทำได้น้อย เพราะเขม่าความคิดปิดกั้นความกล้าหาญ
    คนเจ้าปัญญา : คิดไปทำไป จึงทำได้อย่างที่คิด และคิดพอดีที่ทำประหยัดพลังงานและบริหารเวลาได้เหมาะสม ลดความหลอนป้องกันความผิดพลาดขื่นขมและประสบความสำเร็จโดยไม่เหน็ดเหนื่อย

    ว่าด้วยทัศนคติ
    คนโง่ : ดูหมิ่นความดี มองโลกในแง่ร้ายด้านเดียว จึงได้รับแต่สิ่งชั่วร้ายมาพาชีวิตตกต่ำ กลายเป็นทาสสถานการณ์ ยามพบสิ่งดีจะไม่เข้าใจจึงพลาดโอกาสใหญ่
    คนฉลาด : ชอบทำดีและคิดดี มักมองโลกในแง่ดีด้านเดียว จึงได้แต่สิ่งดีโดยมาก ครั้นพบสิ่งชั่วร้าย จะทนไม่ได้ ทำใจไม่เป็น ต้องถอยหนีสถานการณ์ดวงใจแตกร้าว ชีวิตจึงมีแต่ความระคายเคืองและปฏิฆะเร้นลึก
    คนเจ้าปัญญา : ละชั่วเด็ดขาด และทำดีเป็นนิสัย โดยไม่ติดดี แล้วละแม้ความดีเข้าสู่ความบริสุทธิ์ จึงเห็นที่สุดแห่งความเป็นจริงแท้แห่งโลกว่าทุกสิ่งในโลกมีทั้งคุณ โทษ และความเป็นกลางอยู่ จึงบริหารสถานการณ์ได้ และทำใจได้ในทุกภาวการณ์

    ว่าด้วยความโง่และความฉลาด
    คนโง่ : ชอบคิดว่าตนฉลาดแล้ว จึงดักดานอยู่กับความโง่ของตนตามที่เป็น
    คนฉลาด : ชอบคิดว่าตนโง่ จึงชอบแกล้งโง่ และมักโง่ได้สมปรารถนาในที่สุด
    คนเจ้าปัญญา : ย่อมเห็นความโง่และความฉลาด ที่ซ้อนกันอยู่ และวิธีที่จะยกจิตสู่ปัญญายิ่งๆขึ้นไป จึงค่อยๆ หายโง่ และเลิกฉลาดโดยลำดับ

    ว่าด้วยการพูดจา
    คนโง่ : ชอบเถียง เขาจึงได้การทะเลาะ และความบาดหมางแทนความรู้
    คนฉลาด : ชอบถาม เขาจึงได้ความรู้ และมิตรภาพมากกว่าความแตกแยก
    คนเจ้าปัญญา : ชอบเฉยสังเกตลึก เข้าใจสิ่งต่าง อย่างลึกซึ้งแล้วจึงนำเสนออย่างเหมาะสม

    ว่าด้วยการจัดการกับปัญหา
    คนโง่ : พอพบกับปัญหาอะไรก็โวยวาย ก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์และความสัมพันธ์อีกหลายชั้น จึงยิ่งเสียหาย......
    คนฉลาด : พอพบปัญหาก็วิเคราะห์ เป็นการใช้ความคิดแก้ปัญหา จึงมักติดบ่วงความคิด วนไปวนมา......
    คนเจ้าปัญญา : พอพบปัญหาอะไรก็วางก่อน พอเป็นอิสระมีอำนาจเหนือกว่าปัญหาแล้ว จึงจัดการกับปัญหานั้นอย่างเหนือชั้น.......

    ว่าด้วยการบริหารและการปกครอง
    คนโง่ : พยายามบริหารคน จึงวุ่นวายสับสนตามธรรมชาติของคน
    คนฉลาด : พยายามบริหารประโยชน์สัมพันธ์ จึงยุ่งยากซับซ้อนตามปรารถนาอันไม่สิ้นสุด
    คนเจ้าปัญญา : พยายามบริหาระบบธรรม จึงสงบลงตัว ณ จุดพอดี.....

    ว่าด้วยความคิด!!!
    คนโง่ : เห็นแต่ความชั่วร้ายของคนอื่น และโยนความผิดให้ผู้อื่นอยู่เรื่อย เป็นการทำมิตรให้กลายเป็นศัตรู ชีวิตจึงอยู่ในท่ามกลางอันตราย
    คนฉลาด. : เห็นแม้ความชั่วร้ายในตนเอง จึงกล้ายอมรับความจริงและแก้ไขตัว ทำให้ตนดีขึ้น ทำให้แม้ศัตรูก็ยอมรับได้มากขึ้น ชีวิตจึงเจริญและผาสุกโดยลำดับ
    คนเจ้าปัญญา : เห็นความชั่วร้ายสากล จึงเข้าใจทุกคนในทุกสถานการณ์ เห็น***ส่วนการบริหารคนที่เหมาะสม โดยไม่ทำร้ายคน แต่จะทำลายความชั่วสากลให้สิ้นไป จึงสนุกสนานในการบริหารเรื่อยไป......

    ว่าด้วยการบริหารธรรม
    คนโง่ : ดูหมิ่นธรรมะ ชีวิตจึงหายนะ
    คนฉลาด : ศึกษาธรรมะ จึงรู้ลึก และดำเนินชีวิตด้วยดี
    คนเจ้าปัญญา : ใช้ธรรมะ จึงดำเนินชีวิตอย่างเหนือชั้น!!.......

    ว่าด้วยการทำงาน
    คนโง่ : ทำงานเพื่อเงิน จึงได้เงินมาอย่างยากเย็นและมักไม่ได้คุณค่าอื่นๆของงาน
    คนฉลาด : ทำงานเพื่องาน จึงได้ผลงานที่ยิ่งใหญ่และได้เงินตามมาโดยง่าย
    คนเจ้าปัญญา :.ทำงานเพื่อหยิบยื่นคุณค่าแก่สังคม เขาจึงได้ผลงานที่น่าชื่นชม เงิน ชื่อเสียงและมิตรมหาศาลย่อมตามมาเสมอ......

    ว่าด้วยการสนองตอบผู้มีพระคุณ
    คนโง่ : เนรคุณผู้มีบุญคุณ จึงไม่มีใครอยากทำดีกับเขาอีก
    คนฉลาด : กตัญญูผู้มีพระคุณ จึงมีคนอยากทำดีกับเขามากมาย ซึ่งต้องตามชดใช้บุญคุณกันไม่รู้จบ
    คนเจ้าปัญญา : ยกระดับผู้มีบุญคุณให้สูงส่งขึ้น จึงทดแทนบุญคุณกันได้หมด และผู้มีพระคุณกลายเป็นหนี้บุญคุณ และพร้อมที่จะให้พระคุณที่ยิ่งกว่า เกิดวงจรการให้ และการรับที่พัฒนาต่อเนื่องทุกฝ่ายจึงได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง

    ว่าด้วยความเพียร
    คนโง่ : มัวขยันในเรื่องไร้สาระ จึงมักพบปะแต่เรื่องไร้ประโยชน์ แล้วมักตัดพ้อว่า ทำไมทำดีแล้วไม่ได้ดี
    คนฉลาด : มักขยันในเรื่องที่มีคุณมากมีโทษน้อย จึงได้ประโยชน์มากและมีโทษแทรกบ้าง แล้วมักบ่นว่าอุตส่าระวังอย่างสุดแล้วยังพบเรืองร้ายๆ อีก
    คนเจ้าปัญญา : ขยันทำตนให้เหนือคุณและโทษ จึงบริหารสถานการณ์อย่างอิสระ ไม่ปรากฏเสียงตัดพ้อหรือบ่นว่าอีกต่อไป

    ว่าด้วยความจริงจัง
    คนโง่ : เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตเป็นเรื่องจริงจัง จึงเครียดแทบบ้า
    คนฉลาด : เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตเป็นเรื่องเล่นๆ จึงสนุกสนานจนไร้สาระ
    คนเจ้าปัญญา : เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตเป็นตัวเร่งวิวัฒนาการ จึงรุ่งเรืองรวดเร็ว

    ว่าด้วยความประสบความสำเร็จ
    คนโง่ : รอให้ความสำเร็จมาหา อาจต้องรอหลายชาติกว่าจะพบซักครั้ง
    คนฉลาด : เดินไปหาความสำเร็จ จึงอาจมีโอกาสพบบ้างแม้เหนื่อยยาก
    คนเจ้าปัญญา : ปักหลักสร้างความสำเร็จ หากสร้างความสำเร็จแน่ๆ และเหนื่อยน้อยกว่า

    --------------------------------------------------------------------------------

    คิดทุกคำที่พูด แต่อย่าพูดทุกคำที่คิด






    จาก : http://www.dhammadelivery.com/story-detail.php?sto_id=23
     
  12. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    สมาธิ จุดเริ่มต้นของ
    การพัฒนาสมอง ของ ลูก
    <!-- InstanceEndEditable --><!-- InstanceBeginEditable name="EditRegion4" -->

    [​IMG]'

    ใครจะเชื่อว่า "สมาธิ" สามารถปลูกฝังได้ตั้งแต่เด็กยังเล็ก แล้วพื้นฐานการเรียนรู้ของเด็กก็มีจุดเริ่มต้นจากการเสริมสร้างสมาธิให้แก่ล ูกน้อยตั้งแต่เยาว์วัย จึงเปรียบเสมือนการวาง "รากฐานแห่งชีวิต" ให้กับเด็ก


    [​IMG]
    " มี้ด จอห์นสัน" ผู้ผลิตภัณฑ์นมผงเอนฟาโกร เปิดตัวแคมเปญล่าสุดกับ "แคมเปญสมาธิ" จัดเสวนาในแนวคิด "สมาธิ คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดี" กระตุ้นคุณพ่อคุณแม่รู้จักเรียนรู้ เข้าใจ และส่งเสริมสมาธิลูกผ่านการเรียนรู้จากการทำกิจกรรมที่ถนัด

    วิทยากรภายในงาน น.พ.อุดม เพชรสังหาร ผอ.ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กและเยาวชน สถาบันรักลูก ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสร้างเสริมพัฒนาการของเด็ก กล่าวว่า "สมาธิมีความสัมพันธ์กับสมอง เพราะสมองสั่งการระบบต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งการรับรู้และเรียนรู้การพัฒนาสมองให้ใช้เต็มประสิทธิภาพ โดยคลื่นสมองที่สงบจะช่วยในการเรียนรู้ที่ดี โดยเฉพาะการเรียนรู้ของเด็ก โดยปกติแล้ว สิ่งที่ผ่านเข้ามาในสมองของคนเรา 100 ส่วน จะมีสิ่งที่ทำให้เราสนใจขณะนั้นได้แค่ 1 ส่วน ส่วนอีก 99 ส่วนจะถูกทิ้งไป เมื่อเด็กมีความสุขและใจจดจ่อกับการทำกิจกรรมแล้ว จะเกิดการกระตุ้น วงจรแห่งความปีติ (Reward Circuit) ให้ทำงานมากขึ้น เมื่อเด็กทำสิ่งใดได้ ควรต้องให้กำลังใจ ชื่นชม และเขาจะรู้สึกดี แล้วเริ่มทำกิจกรรมนั้นๆ ซ้ำอีก สมองมนุษย์จะฉลาดหรือไม่อยู่ที่การเชื่อมต่อของเซลล์สมอง ซึ่งการเชื่อมต่อกันจะเกิดได้ดีในสองปีแรกของชีวิต ฉะนั้นหากขาดการกระตุ้นที่เหมาะสมในช่วงเวลาดังกล่าว จะมีผลต่อระดับสติปัญญา สมาธิและการเรียนรู้ของเด็ก"

    นอกจากนี้ น.พ.อุดม เสริมถึง ดนตรีต่อการพัฒนาสมองและสมาธิว่า "ดนตรีหรือเพลงจังหวะช้า มีผลต่อการทำงานของก้านสมองทำให้จิตใจมีความสงบเยือกเย็น และความใจจดใจจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เกิดคลื่นสมองที่เรียกว่า คลื่นอัลฟา (Alpha Wave) ซึ่งภาวะสมองที่เกิดคลื่นอัลฟา คือภาวะที่มีสมาธิและเหมาะในการเรียนรู้"

    วิทยากรอีกคนเป็นผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็ก ดร.วรนาท รักสกุลไทย แนะเคล็ดลับเรื่องสมาธิของเด็กว่า "สมาธิในเด็กไม่ใช่ Meditation (เข้าฌาน) แต่หมายถึง Better Attention หรือความสนใจความจดจ่อและความมุ่งมั่น ซึ่งเด็กจะมีสมาธิอย่างไร ขึ้นอยู่กับปัจจัยเรื่องอายุด้วย เช่น เด็กอายุ 3 ขวบ จะมีสมาธิอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ 5 นาที ส่วนเด็ก 3 ขวบขึ้นไปจะมีสมาธิได้ประมาณ 12-15 นาที การเรียนรู้ของเด็กควรผ่านจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น ศิลปะกับเด็กเป็นของคู่กัน เด็กเล็กจะชอบระบายสีน้ำมากเพราะไม่ต้องออกแรงกดและใช้งานได้ง่าย หรือเด็กโตขึ้นมาหน่อยจะสอนให้มีการพับกระดาษ เด็กญี่ปุ่นจะมีทักษะการใช้มือที่ดีมาก เพราะกิจกรรมการพับกระดาษเป็นที่นิยมกันมากในญี่ปุ่น ดังนั้น เราสามารถจัดและออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับเด็กซึ่งก็ควรเป็นกิจกรรม ที่กระตุ้นให้เด็กคิด แล้วเด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชายก็มีความสนใจต่างกันเพราะมีประสบการณ์เรียนรู้ ที่ต่างกัน หน้าที่ของพ่อแม่คือโยนประเด็นคำถามแล้วให้เด็กตอบ ทำกิจกรรมเล่นกับลูก และจดบันทึกไว้"

    ดร.วรนาท กล่าวเสริมว่า "ทั้งนี้พฤติกรรมเด็กจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับคุณแม่ด้วย เด็กบางคนอาจไม่ได้มีสมาธิสั้น แต่คุณแม่เป็นคนเร็ว คิดเร็ว ทำเร็ว ทำให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรม และไม่นิ่ง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้จะเรียกว่าสมาธิสั้นเทียม เพราะมาจากสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดูเด็กจึงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในการปลูกฝังให้กับเด็กด้วย ถ้าอยากให้ลูกมีสมาธิต้องพูดกับลูกช้าๆ ค่อยๆ พูด และให้คำชมกับเขาบ้าง เพื่อจุดประกายให้ลูกมีความสนใจและอยากรู้อยากเห็น เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญ คือ การเล่นกับลูก และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก"

    ปิดท้ายการเสวนา น.พ.อุดม สรุปว่า "ปัจจุบันลูกหลานของเราเริ่มมีปัญหา เรื่องสมาธิมากขึ้น เด็กๆ อ่านหนังสือนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ไม่ได้ จิตแพทย์เด็กประสบปัญหาหนัก เด็กวิเคราะห์และตีความแปลความไม่ได้ ปัญหาคือผู้ใหญ่ไม่ได้เป็นแบบอย่างให้เห็น เราต้องเป็นแบบอย่างในการอดทน อดกลั้น มีความมานะพยายามให้เด็กเห็น บางอย่างต้องพาเด็กทำโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วยเพื่อให้เด็กได้ซึมซับเอาค วามมีสมาธิ มานะอดทนเข้าไปและเมื่อเด็กทำได้เราก็ต้องให้คำชมเชย เพื่อให้พฤติกรรมนั้นๆ มีความคงทนถาวรจนเป็นนิสัยของเขาต่อไป

    [SIZE=+0][/SIZE]


    จาก : http://www.thaihealth.net/h/article608.html
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096

    หากมีโอกาสขอเชิญไปร่วมถวายสังฆทานให้พระสงฆ์ที่อาพาธถึงเตียงท่านเลยก็ได้ครับ ไปกันหลายคนยิ่งดี เพราะจะได้ช่วยกันถือ บางทีแค่การโอนเงินอาจเป็นปิติแค่ชั่วขณะหนึ่ง แต่การได้ไปถวายของหรือประเคนท่านกับมือตนเอง จิตจะจับในบุญ และได้พิจารณาถึงเวทนาขันธ์ที่เจ็บป่วย จะได้ทั้ง สมถะ และฝึกวิปัสสนาไปในตัวด้วย ยิ่งไปบ่อย ได้เห็นเยอะ ได้พบปะกับกลุ่มบุญ และผู้ที่มีของเก่าเยอะ บางทีสิ่งที่ของดีติดตัวเรามาแต่เราไม่รู้ อาจจะเข้าถึงได้เร็วขึ้นก็ได้ครับ ในนามคณะกรรมการทุนนิธิฯ ขออนุโมทนา และสาธุบุญที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    ขอบุญนั้นส่งผลให้เทียมน้องรัก "พบพานแต่สิ่งที่ดีในชีวิต ตราบเท่าจนถึงอายุขัยของน้องเช่นเดียวกัน"

    พี่เสือ

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    จงเตือนตนไว้เสมอ...หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    จงอย่าคิดว่าคนอื่นจะต้องมาลงโทษเรา
    ก่อนที่คนอื่นจะลงโทษ
    กรรมที่เราทำความชั่ว
    มันก็ทำความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่เรา
    ใครเขาพูดความชั่วคราวใด
    เราก็สะดุ้งเพราะเรามันเลว

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า
    อัตตนา โจทยัตตานัง
    จงเตือนตนไว้เสมอ และจงโจทตน
    กล่าวโทษตนไว้เป็นปกติ
    หาความชั่วของตัว
    อย่าไปหาความชั่วของบุคคลอื่น

    ถ้าเลวมากเมื่อไหร่
    เราก็เพ่งเล็งความเลวของบุคคลอื่นมากเท่านั้น
    ถ้าเราดีมากเท่าไหร่
    เราก็ไม่มองเห็นความเลวของบุคคลอื่น
    เพราะยอมรับนับถือกฎของกรรม

    ที่เรายังไปหาความเลวของบุคคลอื่น
    เสียดสีเขาบ้าง พูดกระทบกระเทียบเขาบ้าง
    ทำลายความสุขใจเขาบ้างนั่น
    แสดงว่า เรามันเลวที่สุดของความเลว
    คือความเลวมันไม่ได้ ขังอยู่ เฉพาะในใจ
    มันไหลออกมาทางกายไหลออกมา
    ทางวาจา เพราะมันล้น เลวจนล้น
    นี่ขอทุกท่านจงจำไว้
    อย่าไปมองดูความเลวของคนอื่น
    มองดูความเลวของตน
    ไม่ต้องไปปรับปรุงบุคคลอื่น
    ปรับปรุงเราเองให้มันดีที่สุด


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    คัดลอกจาก...
    http://www.sitluangpor.com
     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    สะสมปัญญา...หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

    ปัญญาเราสะสมในหน่วยกิตเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
    ไม่รู้ว่าอะไรคือปัญญา
    เวลานี้ปัญญามันจะมาช่วยแก้
    เราถึงได้รู้ตัวว่าเรามีปัญญา
    ไม่ใช่บ่นว่า มานั่งหลายวันปัญญาไม่เกิดสักที
    อย่าไปบ่น มันสะสมไว้ อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
    เวลามีทุกข์มันจะออกมาแก้เองโดยอัตโนมัติ
    นี่ซิถึงเรียกว่าปัญญา

    ไม่ใช่มานั่งแล้วบอกว่า ไม่เห็นอะไรเลย
    มันจะไปเห็นอะไรเล่า คนละเรื่องกัน
    เรามา สร้างบุญก็เอาแต่บุญซิ
    แต่บุญนี้ช่วยได้แน่ มีเรื่องอะไร
    จะแผ่เมตตาให้ใครก็ตามเอาบุญใส่ตัวก่อน
    ถ้าบุญมีมากแล้วค่อยแผ่ไปทีหลัง
    ไม่ใช่ยังไม่มีบุญวาสนาเลยแผ่ไปแล้ว
    เปรียบเสมือนขายของยังไม่ได้
    ยังไม่มีใครมาซื้อ แล้วจะเอากำไรไปให้ใครคะ
    เอาทุนไปให้เขาหมดได้หรือ

    นี่บอกเหตุผลให้โยมตั้งใจปฏิบัติกัน
    หายใจยาว ๆ เข้าไว้
    หายใจเข้ายาว ๆ หายใจออกยาว ๆ ให้เสมอ
    ค่อย ๆ ทำไป โยมจะใจเย็นลงเยอะ
    และจะมีปัญญาแก้ไขปัญหาได้เยอะ
    ไม่ต้องไปหาหมอดู
    ไม่ต้องไปหาใครมาแก้ปัญหา
    เพราะเราเป็นเจ้าของปัญหา ต้องแก้เอง
    จะให้คนอื่นเขาแก้ให้เราได้อย่างไร
    ขอฝากทุกคนไปคิดให้มี สติปัญญาในการแก้ปัญหา

    ญาติโยมจงตั้งใจปฏิบัติธรรม ดีที่สุดแล้ว
    ไม่ต้องใช้เงินทองแต่ประการใด
    อย่ากังวลใจ กังวลนี้ไม่ดีเลย
    ทำอะไรก็ไม่มีความสุข
    มันมีแต่กังวลวุ่นวายสับสนอลหม่าน
    เหมือนพระอาทิตย์พระจันทร์ผลัดกันลงผลัดกันขึ้น
    เดี๋ยวก็คืนเดี๋ยวก็วัน ไม่ได้อะไรติดตัวท่านไป

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    คัดลอกจาก:
    http://www.jarun.org
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,096
    เรารีบเดินก็...ยิ่งถึง ยิ่งหยุด...ก็ไม่ถึง


    โดย...หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    เรารีบเดินก็ยิ่งถึง ยิ่งหยุดก็ไม่ถึง
    ญาติโยมทั้งหลาย ไม่มีอะไรยากที่สุดในโลก
    ถ้าเราสร้างความเพียรปฏิบัติได้
    มันก็เกิดเป็นของง่ายและสำเร็จได้

    ถ้าใจเราหดหู่เหี่ยวแห้ง ขาดสติสัมปชัญญะแล้ว
    ใจก็ไม่สู้ งานก็ไม่เสร็จ อุปสรรคก็มีมาก
    เรียกว่าปัญหาเกิดขึ้นแก่ญาติโยมเป็นส่วนใหญ่
    เรามีปัญหาด้วยกันทุกคน
    ไม่ต้องถามว่าไปทำงานมีปัญหาไหม
    เลิกถามได้ เพราะงานดีต้องมีปัญหา
    เข้าในหลักที่ว่า มารไม่มีบารมีไม่เกิด
    ชีวิตคือการต่อสู้ทุกกระเบียดนิ้ว
    ต้องต่อสู้ไปเถิดจะประเสริฐในอนาคต


    การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเพื่อมาฝึกจิต
    ให้มีขันติ ความอดทน ฝึกให้ได้กุศล
    ฝึกให้เห็นความจริงผุดออกมาจากจิตใจของตน
    เรียกว่า ชีวิตจริงในสังคมของผู้ปฏิบัติธรรม
    จะเกิดประโยชน์มาก
    คนที่เขาปฏิบัติได้ดีแล้ว
    เขาจะไม่พูดไร้เหตุผล จะพูดแต่สิ่งที่เป็นกุศล
    จะพูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อกันเท่านั้น
    การเจริญสติปัฏฐานสี่ไม่มีอะไรยาก
     
  18. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    ธรรมโอวาทหลวงปู่ เทสก์ เทสรํสี
    หลวงปู่ เทสก์ เทสรํสี

    พระราชนิโรธรังสี
    สถิต ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
    [​IMG]
    ธรรมโอวาท
    หลวงปู่ให้ธรรมโอวาทแก่พุทธศาสนิกชนมากมาย เช่น

    ๑. ธรรม คือ ของจริงของแท้ เป็นแก่นของโลก ธรรม แปลว่า ของเป็นอยู่ทรงอยู่สภาพตามเป็นจริง เป็นอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น เรียกว่า ธรรม ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ เป็นธรรมทั้งนั้น เรียก ชาติธรรม ชราธรรม พยาธิธรรม มรณธรรม ทำไมจึงเรียกว่า ธรรม คือทุกๆ คน จะต้องเป็นเหมือนกันหมด(ธรรมเทศนาเรื่อง ธรรมะ)
    ๒. สมบัติที่มนุษย์ต้องการ ไม่ทราบว่าจะกอบโกยเอาไปถึงไหน ได้มาก็เพียงแต่เอาเลี้ยงชีวิตเท่านั้น เลี้ยงชีวิตให้นานตายหน่อย นั่นละ ประโยชน์ของมนุษย์สมบัติเพียงแค่นั้นแหละ
    ๓. เราเกิดมาในโลกนี้ จะเป็นมนุษย์หรือเป็นสัตว์ต่างๆ ก็ตามเถอะ เรียกว่าอยู่ในแวดวงของมัจจุราชทั้งนั้น หรือเปรียบเสมือนกับ อยู่ในคุกในตะราง (รอความตาย) ด้วยกันทุกคน จะทำอะไรอยู่ก็ตาม จะเป็นผู้ดีวิเศษวิโสเท่าไรก็ช่าง แม้แต่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า สรีระร่างกายของพระองค์ยังปล่อยให้พญามัจจุราชทำลายได้ แต่ตัวจิตของพระองค์เป็นผู้พ้นแล้ว ไม่ยอมให้มัจจุราชข่มขี่ได้เลย (ธรรมเทศนาเรื่อง มัจจุราช)
    ๔. ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นธาตุสี่เท่านั้น แต่คนเราไปสมมติแล้วหลงสมมติตนเองต่างหาก มันก็ต้องยุ่ง และเดือดร้อนด้วยประการทั้งปวง (อัตตโนประวัติฯ)
    ๕. มนุษย์เราพากันสมมติ เรียกเอาตามความชอบใจของตนว่านั่นเป็นคน นั่นเป็นสัตว์เป็นนั่นเป็นนี่ต่างๆ นานาไป แต่ก้อนธาตุนั้น มันก็หาได้รู้สึกอะไรตามสมมติของคนไม่ มันมีสภาพเป็นอยู่อย่างไรก็เป็นอยู่อย่างนั้นตามเดิม สมมติว่า หญิง ว่าชาย ว่าหนุ่ม ว่า แก่ ว่าสวย ไม่สวย ก้อนธาตุอันนั้นก็ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย หน้าที่ของมันเมื่อมาประชุมกันเข้าเป็นก้อนแล้ว อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่ง แล้วมันก็แปรไปตามสภาพของมัน ผลที่สุดมันก็แตกสลายแยกกันไปอยู่ตามสภาพเดิมของมันเท่านั้นเอง (ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์)
    ๖. เมื่อเรามาฝึกหัดปฏิบัติธรรมจนเห็น เรื่องโทษของตนเองแล้ว ค่อยชำระสะสางให้มันหมดไปๆ ก็จะเป็นคุณแก่ตนในอนาคต ข้างหน้า ได้ชื่อว่าไม่เสียชาติเกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์ แล้วยังมาพบพระพุทธศาสนา และยังมาพบครูบาอาจารย์ที่สอนให้เราละกิเลส อีกด้วย (ธรรมเทศนาเรื่องแก่นของการปฏิบัติ)
    ๗. แท้ที่จริงธรรมะคือตัวของเรานี้ทุกคนก็มีแล้วครบมูลบริบูรณ์ทุกอย่าง แต่เราไม่ได้สร้างสมอบรมให้เห็นธรรมะที่มันมีในต้นของ ตน ธรรมะแทรกอยู่ในขันธโลกอันนี้ หากใช้อุบายปัญญาพิจารณากลั่นกรองด้วยวิธี ๓ อย่าง มีศีล สมาธิ ปัญญา ดังอธิบายแล้ว ธรรมะจะปรากฏในตัวของตนๆ (ธรรมเทศนาเรื่องวิจัยธรรมออกจากโลก)
    ๘. การศึกษาพระพุทธศาสนา ถ้าจะให้เข้าใจถูกต้องแล้ว ต้องให้มีทั้งปริยัติคือ การศึกษาและปฏิบัติตามความรู้ที่ได้ศึกษามานั้นให้ ถูกต้อง โดยเฉพาะการปฏิบัติ ถ้าไม่ยืนตัวอยู่ในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว จะไม่มีการถูกต้องอันจะให้เกิดความรู้ในสัจ ธรรมได้เลย มรรคปฏิปทาอันจะให้ถึงสัจธรรมนั้น ก็ต้องรวมศีล สมาธิ ปัญญา ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วปฏิเวธธรรมจึงจะ เกิดขึ้นได้ (ธรรมเทศนา เรี่อง พุทธบริษัทพึงปฏิบัติตนเช่นไร)
    ๙. คนที่จะข้ามโอฆะได้ต้องมีศรัทธาเสียก่อน ถ้าไม่มีศรัทธาเสียอย่างเดียวก็หมดทางที่จะข้ามโอฆะได้ ศรัทธาจึงเป็นของสำคัญที่ สุด เช่น เชื่อมั่นในกรรม เชื่อผลของกรรม ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว แต่ว่าศรัทธาอันนั้น เป็นเบื้องต้นที่จะทำทาน ถ้ามีศรัทธาแล้วไม่ อดเรื่องการทำทาน อยู่ที่ไหนก็ทำได้ ทำมากก็ได้ ทำน้อยก็ได้ ไม่ต้องเลือก วัตถุในการทำงาน จะเป็นข้าว น้ำ อาหาร หมากพลู บุหรี่ ฯลฯ สารพัดสิ่งเป็นทาน ได้ทั้งหมด แม้แต่ใบไม้ ใบตอง ใบหญ้า ก็เป็นทานได้เราทำด้วยความเชื่อมั่นว่า สิ่งนี้ทำไปแล้วจะ เป็นประโยชน์แก่ผู้นั้นๆ ก็อิ่มอกอิ่มใจขึ้นมาเป็นบุญ นั่นแหละ ศรัทธา มันทำให้อิ่มอกอิ่มใจ ทำให้เกิดบุญซาบซึ้งถึงใจทุกอย่างไม่ ลืมเลย อันนั้นจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ข้ามโอฆะ (ธรรมเทศนา เรื่องหลักการปฏิบัติธรรม)
    ๑๐. กายและจิตอันนี้เป็นบุญกรรมและกิเลสนำมาตกแต่งให้ เมื่อนำมาใช้โดยหาสาระมิได้ถึงแม้จะมีอายุยืนนาน ก็ปานประหนึ่งว่า หาอายุมิได้ (คือไม่มีประโยชน์) สมกับพุทธพจน์ที่พระองค์ตรัสว่า โย จ วสฺสสตํ ชีเว อปสฺสํ อุทยพฺพยํ เอกาหํ ชีวิตํ เสยุโย ปสฺสโต อุทยพฺพยํ
    แปลว่า บุคคลใดมีชีวิตอยู่ร้อยปี แต่เขามิได้พิจารณาเห็นความเกิดดับ (ของอัตภาพนี้) ผู้นั้นสู้ผู้เขามีชีวิตอยู่วันเดียว แต่พิจารณา เห็นความเกิดความดับไม่ได้ (ธรรมเทศนาเรื่องวันคืนล่วงไปๆ)
    ๑๑. คนที่จะพ้นจากทุกข์ได้ พ้นจากโลกนี้ได้ พ้นจากกรรมได้ ก็เพราะใจอันเดียว จงยึดใจ ถือใจเป็นสำคัญ จะมาเกิดก็เพราะใจ เกิดแล้วจะมาสร้างกิเลสขึ้นก็เพราะใจ เป็นทุกข์ก็เพราะใจถ้าใจไม่เป็นทุกข์ ใจไม่ยึดถือ ปล่อยทิ้งเสีย กายอันนี้ก็ไปตามเรื่องของ กาย ใจก็เป็นตามเรื่องของใจหมดเรื่องหมดราวกันที (ธรรมเทศนาเรื่องกรรม)
    ๑๒. หิริ โอตฺตปฺป นี้เป็นธรรมที่สำคัญ เพราะเป็นพื้นฐานของศีล เป็นต้นของศีล ผู้จะมีศีลได้ ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือ ศีล ๒๒๗ ก็ตาม ต้องมีหิริ และโอตฺตปฺป ๒ อย่างนี้ เนื่องจากได้เห็นจิตของคน เห็นความนึกความคิดความปรุงของจิตของตน แล้ว ก็กลับบาปละอายบาป จึงไม่อาจจะทำความชั่วได้ ฉะนั้น ศีลก็บริสุทธิ์เท่านั้นเอง (ธรรมเทศนาเรื่อง เทวตานุสฺสติ)
    ๑๓. การภาวนา คือ การอบรมจิตให้มีความสงบ เป็นการชำระจิตใจให้สงบจากอารมณ์ต่างๆ ยิ่งเป็นการละเอียดไปกว่าการรักษา ศีลอีก จิตของเราถ้ายังไม่สงบตราบใดแล้วมันก็จะต้องยุ่งวุ่นวายอยู่ตราบนั้น เมื่อมาฝึกหัดภาวนา เห็นโทษ เห็นภัย ของความยุ่ง ยากไม่สงบด้วยตันเองแล้ว เราก็จะพยายามทุกวิถีทางที่จะละความไม่สงบ เมื่อสิ่งใดที่ละได้แล้ว อารมณ์ใดที่วางได้แล้วเราก็จะ ต้องรักษาไม่ให้สิ่งนั้น มันเกิดขึ้นมาอีก ไม่ใช่ว่าเราละได้แล้วก็แล้วไปเลยไม่ต้องคำนึงถึงมันอีก อย่างไม่ถูกต้อง เพราะมันอาจ สามารถที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีก ถ้ามันเกิดมาทีหลังจะยิ่งร้ายกว่าเก่า(ธรรมเทศนาเรื่อง มาร)
    ๑๔. ฝึกหัดจิตให้เข้าถึงใจ วิธีปฏิบัติฝึกหัดกรรมฐานมีเท่านี้แหละ ใครจะฝึกหัดปฏิบัติอย่างไรๆ ก็เอาเถอะ จะภาวนาพุทโธ สัมมา อรหัง ยุบหนอพองหนอ หรืออานาปานสติ ก็ไม่เป็นปัญหา คำบริกรรมเหล่านั้นก็เพื่อล่อให้จิตเข้ามาอยู่ในคำปริกรรม แต่คนที่เข้า ใจผิดถือว่าตนดีวิเศษโอ้อวดเพื่อนว่าของเขาถูกของเอ็งละผิด อย่างนั้นอย่างนี้อะไรต่างๆ นานา พุทธศาสนาแท้ไม่เป็นอย่างนั้น หรอก มันต้องเป็นอันเดียวกัน ไม่มีใครผิดใครถูก เมื่อปฏิบัติถึงจิตรรวมแล้ว จิตรวมเข้าไปเป็นอัปปนาแล้วปมเรื่อง จิตรวมเข้าถึง อัปปนาแล้วถึงที่สุดของการทำสมาธิเท่านั้น ไม่มีอะไรแตกต่างกัน (ธรรมเทศนาเรื่อง การปฏิบัติเบื้องต้น)
    ๑๕. การหัดภาวนาเบื้องต้น คือ หัดให้เข้าถึงจิตเป็นหนึ่ง หัดเบื้องต้นก็จริง แต่มันถึงที่สุดได้ คือ จิตที่สงบนิ่งเป็นหนึ่ง มันก็ถึงที่สุด แล้ว การฝึกหัดจิต หัดมากหัดน้อยเท่าไรก็ตาม ต้องการให้จิตเข้าถึงที่สุด คือ จิตเป็นหนึ่งเท่านั้น การฝึกหัดจิตไม่นอกเหนือไปจาก จิตเป็นหนึ่ง ส่วนอุบายปัญญาที่จะเกิดขึ้น มันเป็นของเฉพาะบุคคล (ธรรมเทศนาเรื่อง แก่นของการปฏิบัติ)
    ๑๖. ขอจงตั้งใจทำให้จริงจัง และทำความเลื่อมใสพอใจในกัมมัฏฐานของตนให้แน่วแน่เต็มที่ ทำนิดเดียวก็จะเป็นผลยิ่งใหญ่ ไพศาล เมื่อทำไปทุกๆ วัน วันละนิดวันละหน่อย มันหากจะมีวันหนึ่งโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็น มันหากเป็นเอง คราวนี้ละเรา จะประสบโชคลาภอย่างยิ่งอย่าบอกใครเลย ถึงบอกก็ไม่ถูกเป็นของรู้และซาบซึ้งเฉพาะตนเอง คำว่าภาวนาขี้เกียจและปวดเมื่อย แข้งขาจะหายไปเองอย่างปลิดทิ้ง จะมีแต่อยากทำภาวนาสมาธิอยู่ร่ำไป (ธรรมเทศนาเรื่อง ทุกข์)
    ๑๗. สติตัวนี้ควบคุมจิตอยู่ได้ ถ้าเผลอเวลาใดไปเวลานั้น ทำชั่วเวลานั้น จึงให้รักษาจิตตรงนั้นแหละ ควบคุมจิตตรงนั้นแหละ ให้ มันอยู่นิ่งแน่วเป็นสมาธิภาวนา เข้าถึงในสงบนิ่งแน่วเฉยอยู่ให้หัดตรงนี้แหละ พระพุทธศาสนาไม่ให้หัดอื่นไกล หัดตรงนี้แหละ ปฏิบัติศาสนาก็ปฏิบัติตรงนี้แหละ จะถึงศีล สมาธิ ปัญญา ก็ตรงนั้นแหละ...(ธรรมเทศนาเรื่อง เบื้องต้นของการปฏิบัติกัมมัฏฐาน)
    ๑๘. แก่นสารคือ จิตที่เป็นหนึ่ง จับเอาจิตที่เป็นหนึ่งให้ได้ ครั้งจับเอาจิตที่เป็นหนึ่งได้แล้วรักษาเอาไว้ให้มั่น ไม่ต้องเอาอื่นใดอีก เอาอันเดียวนั้นเท่านั้นเป็นพอแล้ว (ธรรมเทศนาเรื่อง แก่นของการปฏิบัติ)
    ๑๙. จิตเป็นสมาธิแล้ว นั่นจึงจะมองเห็นธรรม คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ และความตายได้ชัดเจน (ธรรมเทศนาเรื่อง ธรรมะ)
    ๒๐. จิตมันต้องเป็นหนึ่ง ถ้าไม่ใช่หนึ่งแล้วก็ไม่ใช่จิต จิตเป็นหนึ่งกลายเป็นใจละ คราวนี้ตัวจิตนั่นแหละกลายเป็นใจ อันที่นิ่งเฉย ไม่คิดไม่นึก ไม่ปรุงไม่แต่ง ความรู้สึกเฉยๆ นั่นแหละมันกลายเป็นใจ จิตมันกลายเป็นใจ (ธรรมเทศนาเรื่อง วิธีหาจิต)
    ๒๑. ใครๆ ก็พูดถึงจิตถึงใจ จิตเป็นทุกข์ จิตเดือดร้อน จิตยุ่งวุ่นวาย จิตกระวนกระวาย จิตกระสับกระส่าย มันเรื่องของจิตทั้งนั้น แหละ แต่ยังไม่เคยเห็นจิตสักที จิตแท้เป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ เมื่อไม่เห็นจิตไม่เห็นใจ มันก็ไม่มีโอกาสที่จะชำระได้ ต้องเห็นตัวมัน เสียก่อน รู้จักตัวที่เราพูดถึงเสียก่อน พอเราเดือดร้อนเรายุ่งเหยิงหรือส่งส่ายเราก็แก้ตรงนั้นเอง (ธรรมเทศนา เรื่องความโง่ของคน โง่)
    ๒๒. นักฝึกหัดจิตทำสมาธิให้แน่วแน่ เป็นอารมณ์หนึ่งแล้ว จะมองเห็นกิเลสในจิตของตนเองทุกกาลทุกเวลาว่า มีกิเลสหยาบและ ละเอียดหนาบางขนาดไหนเกิดขึ้นที่จิต เกิดจากเหตุอะไรและจะต้องชำระด้วยวิธีอย่างไร จิตจึงบริสุทธิ์ผ่องใส ค้นหากิเลสของตน เองอยู่ทุกเมื่อกิเลสจะหมดสิ้นไป (ของดีมีในศาสนาพุทธ)
    ๒๓. การฝึกหัดสมาธิภาวนา คือ การตั้งสติอันเดียว ให้รู้ตัวอยู่เสมอ มันคิดมันนึกอะไรก็ให้รู้ตัวอยู่เสมอ ยิ่งรู้ตัวชัดเจนเข้ามันยิ่ง เป็น เอกัคคตารมณ์ นั่นแหละตัวสมาธิ (อนุสสติ ๑๐)
    ๒๔. รู้สิ่งอื่นไม่สามารถจะชำระจิตของตนได้ รู้จิตของเรานี่แหละจึงจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ (อนุสสติ ๑๐)
    ๒๕. การฝึกหัดจิตนี้ ถ้าอยากเป็นเร็วๆ มันก็ไม่เป็น หรือไม่อยากให้เป็นมันก็ประมาทเสียไม่เป็นเหมือนกัน อยากเป็นก็ไม่ว่า ไม่ อยากเป็นก็ไม่ว่า ทำใจให้เป็นกลางๆ แล้วตั้งใจให้แน่วแน่ใจกัมมัฏฐานที่เรายึดมั่นอยู่นั้น แล้วภาวนาเรื่อยไปก็จะถึงซึ่งความ อัศจรรย์ขึ้นมาในตัวของตน แล้วจะรู้ชัดขึ้นมาว่าอะไรเป็นอะไร (อนุสสติ ๑๐)
    ๒๖. การเห็นจิตของเรานี่แหละดี มันคิดดี คิดชั่ว คิดหยาบ คิดละเอียด ก็รู้ดูจนกระทั่งมันวางลง ถ้าเห็นอยู่เสมอๆ แล้ว ก็วางหมด (อนุสสติ๑๐)
    ๒๗. ปหานปธาน ให้เพียรดูที่จิตของเรานั่นแหละ การกระทำสิ่งใดๆ ก็เกิดจากจิตเป็นคนบัญชา ถ้าจับจิตเห็นจิตอันนี้แล้ว จะรู้ได้ดี เห็นได้ชัด กายจะทำอะไรผิดหรือถูก ดีหรือชั่ว เป็นบุญหรือเป็นบาป รู้ได้ดีทีเดียว เอาสติไปตั้งไว้ที่จิต คิดค้นอยู่ที่จิต เห็นใจเป็นผู้ สั่งกายทำอะไรๆ เห็นอยู่ตลอดเวลา (ธรรมเทศนาเรื่อง เพียรละความชั่ว)
    ๒๘. ผู้ใดชนะข้าศึกคือ ตัวของเราคนเดียวได้แล้ว เป็นผู้ประเสริฐว่าการชนะชนหมู่มากนับเป็นพันล้าน เพราะข้าศึกอันเกิดจากคน อื่นภายนอก เมื่อพ่ายแพ้ก็เลิกกันไปที่ แต่ข้าศึกภายในนี้จะแพ้หรือชนะอย่างไร ก็ยังต้องอาศัยกันอยู่อย่างนี้จนกว่าจะแตกดับจาก กันไป ถึงแม้อายตนะภายในมีตาเป็นต้นที่เราเห็นๆ กันอยู่นี้ เมื่อหลับเสียแล้วก็ไม่เห็น แต่อายตนะของใจอีกส่วนหนึ่งนั้นซีตาบอด แล้ว หูหนวกแล้ว มันยังได้เห็นได้ยินอยู่ กายแตกดับแล้วใจยังมีอายตนะได้ใช้บริบูรณ์ดีทุกอย่างอยู่ และนำไปใช้ได้ทุกๆ สถาน ตลอดภพภูมินั้นๆ ด้วย ฉะนั้น เมื่อเราจะเอาชัยชนะข้าศึกภายในจึงเป็นการต่อสู้อย่างยิ่ง (ธรรมเทศนาเรื่อง พละ ๕)
    ๒๙. ผู้ที่ยอมตัวมารับเอาศีลไปไว้เป็นเครื่องปฏิบัติ จะเป็นศีล ๕-๘-๑๐-๒๒๗ ก็ตามได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มต้นปฏิบัติศาสนะ พรหมจรรย์ เข้าไปทำลายบ่อนรังข้าศึกอันมีอยู่ในภายในใจของตนแล้ว (ธรรมเทศนาเรื่อง สติปัฏฐานภาวนา)
    ๓๐. หากจะเรียกกายใจของคนเรานี้ว่า ตู้พระธรรมก็จะไม่ผิด (ธรรมเทศนาเรื่อง สติปัฏฐานภาวนา)
    ๓๑. ธรรมเทศนาที่ท่านพูดที่ท่านสอนธรรมะนั้น ท่านสอนตรงนี้ คือสอนให้พิจารณากายกับใจตรงนี้ ไม่ได้สอนที่อื่น สอนเข้าถึงตัว สอนให้เห็นของจริงในกายตนที่จะพ้นทุกข์ได้ก็เพราะเห็นของจริงตรงนี้ จะถึงมรรคผลนิพพาน ฌาน สมาบัติ ก็ตรงนี้แหละ ไม่ใช่ อื่นไกลเลย เห็นเฉพาะในตัวของเรา ถ้าไปเห็นของอื่นละไม่ใช่ (ธรรมเทศนาเรื่อง ธรรม)
    ๓๒. ตัวจิตหรือตัวใจอันนี้แหละไม่มีตนมีตัว ถ้าเรารู้เรื่องจิตเรื่องใจเสียแล้ว มันง่ายนิดเดียวฝึกหัดปฏิบัติกันมัฏฐานก็เพื่อชำระใจ หรือต่อสู้กับกิเลสของใจนี้ ถ้าไม่เห็นจิตหรือใจแล้วก็ไม่ทราบว่าจะไปต่อสู้กับกิเลสตรงไหน เพราะกิเลสที่ใจสงครามไม่มีนาม เพลาะ ไม่ทราบว่าจะรบอย่างไรกัน ต้องมีสนามเพลาะสำหรับยึดไว้เป็นที่ป้องกันข้าศึก- มันจึงค่อยรู้จักรบ รู้จักแพ้ รู้จักชนะ ขอให้ พากันพิจารณาทุกคนๆ เรื่องใจของตน เวลานี้เราเห็นใจแล้วหรือยัง ใจหรือจิตของเรานั้นมันอยู่ที่ไหนมีอาการอย่างไร (ธรรม เทศนาเรื่อง กิเลส)
    ๓๓. ความจริงกิเลสไม่มีตนมีตัว ไม่ได้เอาไปละที่ไหน หรือเอาไปทิ้งให้ใคร เป็นการละออกจากใจของตนเอง (ธรรมเทศนาเรื่อง เพียงละความชั่ว)
    ๓๔. บ่วงของมารได้แก่อะไร อาการของจิตที่เที่ยวไปตามอารมณ์นั้น ย่อมมีทั้งอารมณ์ดีและอารมณ์ร้าย จึงต้องมีความสุขบ้างทุกข์ บ้างเป็นธรรมดา ตามวิสัยของปุถุชนจิตที่เที่ยวไปนั้นจะต้องประสบของ ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ซึ่งเรียกว่า กามคุณ ๕ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นบ่วงของมาร
    จิตของปุถุชนทั้งหลายเมื่อเที่ยวไปประสบอารมณ์ทั้ง ๕ นั้นหรือเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้เกิดความยินดีพอใจก็ดี หรือเกิด ความเสียใจเป็นทุกข์ดี เรียกว่าเข้าไปติดบ่วงของมารแล้ว คำว่า "ติด" ในที่นี้ หมายความว่า สลัดไม่ออก ปล่อยวางไม่ได้ บ่วงของ มารผูกหลวมๆ แต่แก้ไม่ได้ ถ้าดิ้นก็ยิ่งแต่จะรัดแน่นเข้า
    จิตที่สำรวมได้แล้วจะพ้นจากบ่งของมารได้อย่างไร ปุถุชน เบื้องต้นเมื่อเห็นโทษภัยในการเข้าไปติดบ่วงของมารแล้ว จึงต้องพึง สำรวมในอายตนะทั้งหลาย มีตา หู เป็นต้น พระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ใครสำรวมจิตได้แล้ว จักพ้นจากเครื่องผูกของ มารดังนี้
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นโคจรที่เที่ยวแสวงหาอารมณ์ของจิต เมื่อเราปิดคือ สำรวมมีสติระวังอย่าให้จิตหลงไปในอารมณ์ทั้ง ๖ นั้นได้แล้ว เป็นอันว่ามารผูกมัดเราด้วยบ่วงไม่ได้ (ธรรมเทศนา เรื่องสังวรอินทรีย์)
    ๓๕. ผู้ฝึกหัดปฏิบัติรู้เข้าใจเรื่องเหล่านี้ตามเป็นจริงว่า วิสัยของอายตนะทั้งหกนั้น มีชอบกับไม่ชอบเท่านั้น แล้วปล่อยวางเสียง ไม่ ไปยึดเอามาเป็นอารมณ์ จิตก็จะกลายมาเป็นเฉยอยู่กลางๆ นั่นแหละจึงเป็นธรรมเห็นธรรม ไม่เป็นโลกอยู่เหนือโลกพ้นจากโลก (ธรรมเทศนาเรื่อง จิตเหนือโลก)
    ๓๖. การทำจิตไม่ให้หมุนไปตามอายตนะหก คือ ปรุงแต่งส่งส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆ นั้นเป็นการหักกงกำแห่งล้อของวัฏจักร นัก ปฏิบัติผู้ฝึกหัดได้อย่างที่อธิบายมานี้ ถึงหักกงกำแห่งวัฏจักรไม่ได้อย่างเด็ดขาด ได้เพียงชั่วครู่ชั่วคราว ก็นับว่าดีอักโขแล้ว ดีกว่าไม่ รู้วิธีหักเสียเลย (ธรรมเทศนาเรื่อง จิตเหนือโลก)
    ๓๗. ผู้ฝึกจิต ถ้าทำจิตให้มีอารมณ์หลายอย่าง ก็จะสงบไม่ได้ และไม่เห็นสภาพของจิตตามเป็นจริง ถ้าทำให้จิตดิ่งแน่วแน่อยู่ใน อารมณ์อันเดียวแล้ว จิตก็มีกำลังเบ่งรัศมี แห่งความสว่างออกมาเต็มที่ มองสภาพของจิตตามเป็นจริงได้ว่า อะไรเป็นจิต อะไรเป็น กิเลส อะไรเป็นของควรละ (ธรรมเทศนาเรื่อง สมบัติอันล้ำค่า)
    ๓๘. ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้นผู้ถือว่าเราถึงธรรมได้ ธรรมชั้นนั้นชั้นนี้ ผู้นั้นยังมีความอยากอยู่ จะได้ชื่อวาเป็นผู้ถึงธรรมได้ อย่างไร (ของดีมีในศาสนาพุทธ)
    ๓๙. คนเราเกิดมาเหมือนกับไปยืมของคนอื่นเขามาเกิด ตายแล้วก็ส่งกลับคืน มาเกิดอีกก็ยืมมาใหม่ ดังนั้นอยู่ไม่รู้จบรู้สิ้นสักที ขอ อย่าลืมผู้ไปยืมของเขามาเกิดยังมีอยู่ จึงต้องยืมของเขาร่ำไปไม่มีที่สิ้นสุด (ของดีมีในศาสนาพุทธ)
    ๔๐. ความสละเด็ดเดี่ยว ปล่อยวางสิ่งสารพัดทั้งปวงหมดเหลือแต่ใจ อันนั้นเป็นของดีนักความสละความตายเลยไม่ตายซ้ำ เลยมี อายุยืนนาน ถึงเจ็บไข้ได้ป่วยอะไรต่างๆ ก็ทอดทิ้งหมด เลยกลับเป็นของดีซ้ำ ที่เป็นห่วงทั้งนั้นอยู่ในเรื่องความเจ็บป่วย อันนั้นป่วย ก็ไม่หาย สมาธิก็ไม่เป็น นั่นแหละเป็นเหตุที่ไม่เป็นสมาธิ เราจะทำอะไรต้องทำให้จริงๆ ซี (อนุสสติ ๑๐)
    ๔๑. จิตของคนเราเป็นของใสสะอาดมาแต่เดิม เหตุนั้นขัดเกลากิเลสออกหมด มันจึงเห็นความใสสะอาด จึงเรียก ปภสฺสรมิท จิตฺต (ธรรมเทศนาเรื่องวิธีหาจิต)
    ๔๒. วิปัสสนาจริงแล้วไม่ต้องคิดต้องนึกไม่ต้องปรุงแต่ง มันเป็นเอง มันเกิดของมันต่างหาก เมื่อมันเกิดแล้วจะต้องชัดแจ้งประจักษ์ ในพระไตรลักษณญาณด้วยตัวของตนเองต่างหาก
    ๔๓. เมื่อปัญญาวิปัสสนาเกิดขึ้นในขณะจิตเดียวนั้นสิ้นสงสัยในธรรมทั้งหลาย เห็นสรรพสัตว์ในโลกเป็นสภาพอันเดียวกันหมดเลย ไม่มีต่ำ ไม่มีสูง ไม่มีน้อย ไม่มีใหญ่ ไม่มีหญิง ไม่มีชาย มีแต่ธาตุ ๔ เกิดขึ้นแล้วดับไปเท่านั้น (ธรรมเทศนาเรื่อง ธัมมจักกัปปวัต รนสูตร)
    ๔๔. ปัญญาวิปัสสนา คือเห็นสิ่งทั้งปวงหมด เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งเหล่านั้นเป็นของไร้สาระ เป็นโทษเป็นทุกข์ เป็นภัย อันตรายแก่จิตใจ จึงปล่อยวางทอดธุระในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น อันนี้เป็นปัญญาอันวิเศษสูงสุด เพราะคนจะพ้นจากโลกได้ก็เพราะ เห็นที่สุดของโลก คือ ได้แก่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา-- (ธรรมเทศนาเรื่อง หลักการปฏิบัติธรรม)
    ๔๕. ขอให้มีศรัทธา ทำทานไปเรื่อย ทั้งทานภายนอก ทานภายใน รักษาศีล คือรักษากาย วาจา และใจ ให้มันเป็นปกติ หรือรักษา จิตนั่งเอง คอยมีสติปกครองจิตใจ สิ่งใดไม่ควรคิดก็ไม่คิดสิ่งใดไม่ควรพูดก็ไม่พูด สิ่งใดไม่ควรทำก็ไม่ทำ เพราะเรามีสติรู้อยู่ว่าเรา เป็นผู้มีศีล (ธรรมเทศนาเรื่อง สติควบคุมจิต)
    ๔๖. ผู้มีศรัทธา มีความเพียรด้วย และมีความอดทน กล้าหาญ ประกอด้วยปัญญาประกอบด้วยความเพียร รักษาความดีนั้นๆ ไว้ ติดต่อกันอย่าให้ขาด นั่นแลจึงสามารถขจัดกิเลสสานสัยให้หมดสิ้นไปได้ (อัตตโนประวัติฯ)
    ๔๗. ท่านผู้ที่หายจากโรคอันเกิดจากใจได้แก่ผู้สิ้นกิเลสแล้ว ถึงแม้โรคในกายของท่านจะยังปรากฏอยู่ ก็เป็นแต่อาการความรู้สึก หา ได้ทำใจของท่านให้กำเริบไม่ เพราะโรคใจของท่านไม่มีแล้วสมุฏฐานคืออุปาทานของท่านได้ถอนหมดแล้ว ฉะนั้นท่านจึงมีความสุข และได้ลาภอย่างยิ่งในความไม่มีโรค (ธรรมเทศนาเรื่อง โรค)
    ๔๘. ทำทานมีมากน้อยก็ต้องทำด้วยตนเอง รักษาศีลก็โดยเฉพาะส่วนตัวแท้ๆ ใครรักษาศีลให้ไม่ได้ ทำสมาธิยิ่งลึกซึ้งหนักแน่นเข้า ไปกว่านั้นอีก แต่ละคนก็ต้องรักษาจิตใจของตนๆ ให้มีความสงบหยุดวุ่นวายแส่ส่าย ถ้าเราไม่รู้จักวิธีทำสมาธิแล้วก็ทำสมาธิไม่ เป็น จิตใจก็เดือดร้อนดิ้นรนเป็นทุกข์ เหตุนั้นจึงว่า การทำทาน รักษาศีล ทำสมาธินี่เป็นกิจเฉพาะส่วนตัว ทุกๆ คนจะต้องทำให้ เกิดมีขึ้นในตน (ธรรมเทศนาเรื่อง หลักศาสนา)
    ๔๙. ความเป็นเศรษฐีมีจนคนอนาถา ก็มิได้เป็นอุปสรรคแก่การจับจ่ายอริยทรัพย์ของผู้มีศรัทธาปัญญา ฉะนั้นอริยทรัพย์จึงเป็น ของมีคุณค่าเหนือกว่าทรัพย์ทั้งปวง (อัตตโนประวัติฯ)
    ๕๐. บุญกุศลที่สร้างสมถึงที่แล้วมันจะหมดเรื่อง ไม่มีอะไรอีก และไม่เอาไปด้วย บาปก็ไม่เอา บุญก็ไม่เอา ผู้ที่ยังเอาอยู่จึงได้บุญได้ บาป เป็นภพเป็นชาติขึ้น ผู้ทอดธุระแล้ว ไม่มีบุญและบาปแล้ว จึงได้เรียกว่า โลกุตระ เหนือโลก (ธรรมเทศนาเรื่องจิตที่ควรข่ม- ควรข่มขี่-ควรละ)



    ที่มา http://www.manager.co.th/dhamma/viewnews.aspx?NewsID=1700440758466
     
  19. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    มองปัญหาด้วยปัญญา
    ทุกคนที่จะเข้าไปสู่พระนิพพาน
    ต้องมีบารมีสั่งสม


    [​IMG]



    ทุกคนที่จะเข้าไปสู่พระนิพพาน ต้องมีบารมีสั่งสม
    ทุกอย่างมีเหตุปัจจัย อยู่ดีๆจะขอทางลัดไปนิพพานไม่ได้

    ปุจฉา
    เรื่องทุกข์กับสุข

    นมัสการหลวงปู่ที่เคารพ ผมชอบอ่านที่หลวงปู่ตอบ และผมก็มีเรื่องที่อยากถามด้วย ผมจะไม่รบกวนมากหรอกครับ ผมขอถามเป็นข้อๆ นะครับ

    1. ชีวิตคนเราทำไมต้องมีความทุกข์ และจะมีวิธีแก้อย่างไร

    2. ความสุขที่แท้จริงคืออะไร

    3. คุณค่าของชีวิตคืออะไร และจะต้องทำอะไรบ้างให้เกิดคุณค่าที่แท้จริง

    วิสัชนา

    1. มีชีวิตก็ต้องมีทุกข์ คุณไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นทำให้คุณมีทุกข์ ตัวคุณเองก็มีทุกข์อยู่แล้ว ปวดท้องก็เป็นทุกข์ หิวก็เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นความทุกข์มันมีทั้งทุกข์ในและทุกข์นอก ทุกข์ของเราและทุกข์ของเขา มันไม่จำเป็นว่าคนอื่นต้องให้ทุกข์แก่เรา บางครั้งเราก็เป็นคนสร้างความทุกข์ให้แก่ตัวเอง เราเป็นคนรับเอง และเราก็ไปบ่นว่าคนอื่นเอง สุดท้ายเราก็เป็นคนที่ทรมานเอง

    วิธีแก้ทำอย่างไร ทุกข์เกิดจากการมีชีวิต ทุกข์เกิดจาก การมีอวิชชา ถ้าจะแก้ทุกข์ดับทุกข์ก็ต้องสร้างวิชชา เช่น ถ้าคุณรู้ว่าปากจะเป็นเหตุให้เกิดนรก คุณก็อย่าไปทำให้ปากเป็น เหตุให้เกิดนรก คือหยุดวจีทุจริต ได้แก่ ไม่พูดเท็จ ไม่พูด ส่อเสียด นินทาว่าร้าย ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดคำหยาบ แค่นี้สวรรค์ก็เกิดขึ้นจากปากคุณแล้ว

    2. ฉลาดและสงบ นั่นแหละสุข ที่แท้จริง

    3. พึ่งตัวเองได้ และเป็นที่พึ่งให้แก่คนอื่นได้

    ปุจฉา
    จะทำอย่างไรกับคนเอาเปรียบ

    นมัสการหลวงปู่ที่เคารพอย่างสูง ผมเคยอ่านหรือฟังที่หลวงปู่บอกว่าจงเอาชนะความ โลภด้วยการให้ แต่สิ่งที่ผมเจอกับตัวก็คือพวกที่โลภมาก และชอบเอาเปรียบ (หรือว่าเอาเปรียบเพราะโลภมาก) ผมจะทำอย่างไรดีครับกับคนที่ชอบทั้งเอาเปรียบทั้งโลภมาก ผมควรจะหยุดให้ดีหรือไม่ เพราะดูเหมือนให้ไปแล้วก็ไม่หยุดโลภ อ้อ...ถามอีกข้อครับ ทำบุญอย่างไรจึงจะรวยครับ (ข้อนี้เพื่อนชอบถามบ่อย ผมก็ตอบไม่ได้)

    วิสัชนา

    1. ถ้าเจอคนเอาเปรียบก็รู้จักให้ อภัย ให้น้ำใจ เพราะการให้ไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุสิ่งของเสมอไป บางครั้งให้น้ำใจก็เป็น การให้เหมือนกัน เอาเป็นว่า คุณเลือกให้ที่คุณสบายใจก็แล้วกัน

    2. ทำบุญด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส ทำบุญด้วยหัวใจที่เปี่ยมไปด้วยการให้ โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เพราะนอกจากเราจะรวยทรัพย์แล้ว เรายังรวยปัญญา รวยบริวาร เพราะเรามีน้ำใจ รู้จักให้อภัย ไม่เห็นแก่ตัว นั่นแหละคือความหมายของคำว่ารวยบริบูรณ์ รวยแล้วมีความสุข

    ปุจฉา
    ขอวิธีลัดไปนิพพาน

    กราบนมัสการพระคุณเจ้า ดิฉันเพิ่งจะหันมาสนใจธรรมะเมื่ออายุขึ้นเลข 5 แล้ว ก็อาศัยฝึกปฏิบัติเองตามที่ได้อ่านมา เพราะยังไม่กล้าไปปฏิบัติธรรมที่สำนักไหน เลยมีหลายเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ ก็ได้อ่านจากที่พระคุณเจ้าวิสัชนาใน หนังสือธรรมลีลา ก็ได้ความรู้ เข้าใจง่ายดี ครั้งนี้ดิฉันมีปุจฉา มาถามบ้างค่ะ

    1. วิธีที่จะทำให้ตนเองมีสติอยู่ตลอดเวลา หรือว่ามากที่สุด ควรทำอย่างไรคะ

    2. อยากทราบว่าจะมีวิธีลัดในการปฏิบัติไหมคะ ที่จะถึงความ หลุดพ้นได้เร็วที่สุด (เพราะดิฉันเริ่มอายุมากขึ้นแล้ว กลัวอยู่อีกไม่นาน) กราบขอบคุณที่ท่านกรุณาวิสัชนาให้ค่ะ

    วิสัชนา

    1. ตั้งใจ จดจ่อ และจับจ้องกับสิ่งที่คุณกำลังเป็นอยู่หรือว่าทำอยู่ในปัจจุบัน นั่นแหละคือการฝึกให้มีสติอยู่ตลอดเวลา

    2. ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัยอันพร้อมมูล ปลูกต้นไม้ ครั้งเดียวจากเมล็ด แล้วจะให้มันงอกออกต้นเป็นดอกเป็นผลเลยไม่ได้ มันต้องใช้เวลาสะสม ทุกคนที่จะเข้าไปสู่พระนิพพาน มันต้องมีคำว่าบารมี เหมือนกับต้นไม้ที่มันจะผลิดอกออกผลได้ มันก็ต้องมีสารอาหาร มีการสั่งสม ทุกอย่างมีเหตุปัจจัย อยู่ดีๆ จะบอกขอทางลัดไม่ได้



    http://www.agalico.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2009
  20. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    คิด "บวก" ช่วยเพิ่มพลังใจ....
    <HR SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG]

    เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ

    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่ และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้ อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา

    กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิน

    หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

    1.จะต้องมีสัจจะต่อตนเอง
    2.จะต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์
    3.พยายามตัดงานในด้านสังคมออก และไม่นัดหมายใครในเวลาปฏิบัติกรรมฐาน ดังนั้นเมื่อจะเป็นนักปฏิบัติธรรมจำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเรา เพื่อฝึกจิตให้เข้มแข็ง

    ทางแห่งความหลุดพ้น

    เจ้าประคุณสมเด็จฯ มักจะกล่าวกับสานุศิษย์ทั้งหลายอยู่เสมอว่า ชีวิตมนุษย์อยู่ได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยปีก็ต้องตายและถูกหามเข้าป่าช้า ดังนั้น จึงควรประพฤติปฏิบัติอยู่ใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ ท่านเปรียบเทียบว่า มนุษย์อาบน้ำ ชำระกายวันละสองครั้ง เพื่อกำจัดเหงื่อไคลสิ่งโสโครกที่เกาะร่างกาย แต่ไม่เคยคิดจะชำระจิตให้สะอาดแม้เพียงนาที ด้วยเหตุนี้ ทำให้จิตใจของมนุษย์ ยุคปัจจุบันเศร้าหมองเคร่งเครียดและดุดัน ก่อให้เกิดปัญหาความพิการในสังคมความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน จนกระทั่งเกิดความขัดแย้ง และกลายเป็นสงครามมนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน

    แต่งใจ

    ขอให้ท่านได้พิจารณาไตร่ตรองให้จงดีเถิดว่า ร่างกายของเรานี้ไฉนจึงต้องชำระทุกวันทั้งเช้าและเย็น จะขาดเสียไม่ได้ทั้งที่หมั่นทำความสะอาดอยู่เป็นนิจ แต่ยังมีกลิ่นไม่น่าอภิรมย์ออกมา แม้จะพยายามหาของหอมมาทาทับ ก็ปกปิดกลิ่นนั้นไม่ได้ใจของเราล่ะ ซึ่งเป็นใหญ่กว่าร่างกาย เป็นผู้สั่งบัญชางาน ให้กายแท้ๆ มีใครเอาใจใส่ชำระสิ่งสกปรกออกบ้าง ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มันสั่งสมสิ่งไม่ดีไว้มากเพียงใด หรือว่ามองไม่เห็นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง ทำความสะอาดหรือ?

    กรรมลิขิต

    เราทั้งหลายเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติแล้ว ล้วนแต่มีกรรมผูกพันกันมาทั้งสิ้น ผูกพันในความเป็นมิตรบ้างเป็นศัตรูบ้าง แต่ละชีวิตก็ย่อมที่จะเดินไปตามกรรมวิบากของตนที่ได้กระทำไว้ ทุกชีวิตล้วนมีกรรมเป็นเครื่องลิขิต

    อดีตกรรม ถ้ากรรมดี เสวยอยู่
    ปัจจุบันกรรม สร้างกรรมชั่ว ย่อมลบล้าง
    อดีตกรรม กรรมแห่งอกุศล วิบากตน
    ปัจจุบัน สร้างกรรมดี ย่อมผดุง


    เรื่องกฎแห่งกรรม ถ้าเป็นชาวพุทธแล้ว เขาถือว่าเป็นกฎแห่งปัจจังตัง ผู้ที่ต้องการรู้ ต้องทำเอง รู้เอง ถึงเอง แล้วจึงจะเข้าใจ

    นักบุญ

    การทำบุญก็ดี การทำสิ่งใดก็ดี ถ้าเป็นการทำตนให้ละทิฏฐิมานะ ทำเพื่อให้จิตเบิกบาน ย่อมเสวยบุญนั้นในปรภพ มนุษย์ทุกวันนี้ทำแบบมีกิเลส ดังนั้น บางคนนึกว่าเข้าสร้างโบสถ์เป็นหลังๆ แล้วเขาจะไปสวรรค์หรือเปล่า เขาตายไปอาจจะต้องตกนรก เพราะอะไรเล่า เพราะถ้าเขาสร้างด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ เป็นการทำเพื่อเอาบุญบังหน้าในการเสวยความสุขส่วนตัวก็มี บางคนอาจเรียกได้ว่าหน้าเนื้อใจเสือ คือข้างหน้าเป็นนักบุญ ข้างหลังเป็นนักปล้น

    ละความตระหนี่มีสุข

    ดังนั้นบุญที่เขาทำนี้ถือว่า ไม่เป็นสุข หากมาจากการก่อกรรม บุญนั้น จึงมีกระแสคลื่นน้อยกว่าบาปที่เขาทำเอาไว้หากมีใครเข้าใจคำว่า บุญ นี้ดีแล้ว การทำบุญนี้จุดแรกในการทำก็เพื่อไม่ให้เรานี้เป็นคนตระหนี่ รู้จักเสียสละเพื่อความสุขของผู้อื่น ธรรมดาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เมื่อมีทุกข์ก็ควรจะทุกข์ด้วย เมื่อมีความสุขก็ควรสุขด้วยกัน

    อย่าเอาเปรียบเทวดา

    ในการทำบุญ สิ่งที่จะได้ก็คือ ระหว่างเราผู้เป็นมนุษย์ เรารู้ว่าสิ่งที่เราทำนี้จะเป็นมงคล ทำให้จิตใจเบิกบานดี นี่คือการเสวยผลแห่งบุญในปัจจุบัน ทีนี้การทำบุญเพื่อจะเอาผลตอบแทนนั้น มนุษย์นี้ออกจะเอาเปรียบเทวดา ทำบุญครั้งใด ก็ปรารถนาเอาวิมานหนึ่งหลังสองหลัง การทำบุญแบบนี้เรียกว่า ทำเพราะหวังผลตอบแทนด้วยความโลภ บุญนั้นก็ย่อมจะไม่มีผล ท่านอย่าลืมว่า ในโลกวิญญาณเขามีกระแสทิพย์รับทราบในการทำของมนุษย์แต่ละคนเขามีห้องเก็บบุญและบาปแห่งหนึ่งอันเป็นที่เก็บบุญและบาปของใครต่อใครและของเรื่องราวนั้นๆ กรรมของใครก็จะติดตามความเคลื่อนไหวของตนๆนั้น ไปตลอดระหว่างที่เขายังไม่สิ้นอายุขัย

    บุญบริสุทธิ์

    การที่สอนให้ทำบุญโดยไม่ปรารถนานั้น ก็เพื่อให้กระแสบุญนั้นบริสุทธิเป็นขั้นที่นึ่ง จะได้ตามให้ผลทันในปัจจุบันชาติ แต่ถ้าตามไม่ทันในปัจจุบันชาติ ก็ติดตามไปให้เสวยผลในปรภพ คือ เมื่อสิ้นอายุขัยจากโลกมนุษย์ไปแล้ว ฉะนั้น เขาจึงสอนไม่ให้ทำบุญเอาหน้า ทำบุญอย่าหวังผลตอบแทน สิ่งดีที่ท่านทำไปย่อมได้รับสนองดีแน่นอน

    สั่งสมบารมี

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับนักปฏิบัติธรรมแล้ว การทำบุญทำทานย่อมเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติจิตให้บรรลุธรรมได้เร็วขึ้น เป็นบารมีอย่างหนึ่ง ในบารมีสิบทัศที่ต้องสั่งสม เพื่อให้สำเร็จมรรคผลนิพพาน

    เมตตาบารมี

    การทำบุญให้ทานเพียงแต่เรียกว่า ทานบารมี หากบำเพ็ญสมาธิจิตจนได้ญาณบารมี และโดยเฉพาะการบำเพ็ญทุกอย่างนั้น ถ้าท่านให้โดยไม่มีเจตนาแห่งการให้ ให้สักแต่ว่าให้เขา ท่านก็ย่อมได้กุศลเรียกว่าไม่มากและทัศนคติของอาตมาว่าการบำเพ็ญเมตตาบารมีในภาวนาบารมีนั้นได้กุศลกรรมกว่าการให้ทาน

    แผ่เมตตาจิต

    ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิ์ผลนั้น เกิดจากกรรม 3 อย่าง คือ มโนกรรม เป็นใหญ่ แล้วค่อยแสดงออกมาทางวจีกรรม หรือกายกรรมที่เป็นรูป การบำเพ็ญสมาธิจิตเป็นกุศลดีกว่า เพราะว่า การแผ่เมตตา 1 ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้างโบสถ์ 1 หลัง ขณะจิตที่แผ่เมตตานั้น จะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพสัตว์ไม่มีโทษภัย ตัวท่านก็ไม่มีโทษภัย ฉะนั้น เขาจึงว่านามธรรมมีความสำคัญกว่า

    อานิสงส์การแผ่เมตตา

    ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จักคำว่า แผ่เมตตา คือต้องเข้าใจว่า ความวิเวกวังเวงแห่งการคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มีกระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและวิญญาณกระจายออกไป เมื่อจิตของเรามีเจตนาบริสุทธิ์ เมื่อจิตของเราเป็นมิตรกับทุกคน เมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา เสมือนหนึ่งเราให้เขากินอาหาร คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเรา หรืออีกนัยหนึ่งว่าเราผูกมิตรกับเขาๆก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา แม้แต่คนอันธพาล เราแผ่เมตตาจิตให้ทุกๆวัน สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้ เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวงวิญญาณทุกๆดวง ดวงวิญญาณทุกๆดวงย่อมรู้กระแสแห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจากสังขาร เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิจิต วิญญาณจะสงบ ธาตุทั้ง 4 นั้น จะเสมอแล้วจะเปล่งเป็นพลังงานออกไป ฉะนั้น ผู้ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จิตแน่วแน่แล้ว โรคที่เป็นอยู่มันจะหายไป ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่จะพังเต็มทีแล้ว คือไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย หรือว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหายเป็นปกติดั่งเดิมได้

    ประโยชน์จากการฝึกจิต

    ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนมีสมาธิแน่วแน่ เมื่อจิตนิ่งก็รู้ตน เริ่มพิจารณาตน รู้ตนเองได้ ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญานี้เรียกว่า ปัญญาภายในจากจิตวิญญาณ ซึ่งเราจะใช้ปัญญานี้ได้แน่นอน เมื่อเกิดมีปัญหาขึ้นในชีวิตตลอดระยะเวลาอันยาวนานข้างหน้า นี่คือประโยชน์ของการฝึกจิตแล้ว คุณของสมาธิยังเป็นพลังป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัย เจ็บป่วยได้ กล่าวคือ การบำเพ็ญจิต จนจิตสงบนิ่งแล้ว ระบบต่างๆทางประสาทจะได้รับการพักผ่อน เป็นการปรับธาตุในกายให้เกิดพลังจิตเข้มแข็ง กายเนื้อก็จะแข็งแรงกระชุ่มกระชวยด้วย โลหิตในร่างกายจะหมุนเวียนสะดวกขึ้น ความตึงเครียดตามร่างกายและประสาทต่างๆ จะผ่อนคลายเป็นปกติ โรคต่างๆจะลดน้อยลงโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หายป่วยได้ด้วยการฝึกจิตและเดินจงกรม

    คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )
     

แชร์หน้านี้

Loading...