ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 86


    ปราบพระยาละแวก (ต่อ)

    พระราชมานูนำทัพไปถึงลำน้ำโตนด พอใกล้ลำพาดชายป่าระนามที่เคยถูกซุ่มโจมตีมาครั้งหนึ่ง ก็จัดพลใหม่เป็นทัพตี ครั้นถึงป่าระนามเห็นกองทัพเขมรแล้วก็ยกเข้าไป พระยามโนไมตรีปรึกษาแม่ทัพนายกองว่า ครั้งก่อนไทยยกมาน้อยกว่าครั้งนี้ เสบียงอาหารไทยก็ตั้งยุ้งฉางรายทางไว้ ศึกเหลือกำลังนัก ตกลงตั้งเมืองพระตะบองมั่นไว้

    พระราชมานูเคยเกือบหัวขาดเพราะความเลินเล่อ คราวนี้แต่งกองเสือป่าแมวเซาสามหอกเจ็ดหอกเล็ดลอดมาก่อน ทางอีกสามร้อยเส้นจะถึงพระตะบอง ก็เกิดยิงกับกองลาดตระเวน ไทยจับเขมรได้สามคนเอามาถามดูรู้ว่าเขมรไม่ออกมารบกลางแปลง ก็ให้ยกเข้าตีค่ายที่ตั้งรับต้นสะพานได้ทั้งหกค่าย เขมรที่แตกจากค่ายบ้างลงน้ำบ้าง ข้ามสะพานไปคั่งกันอยู่ที่ประตูเมือง พระราชมานูให้ทหารไล่ข้ามสะพานไปฆ่าฟันตาย ทั้งบนบกในน้ำ เลยหักเข้าเมืองได้ จุดไฟเผาเมืองขึ้น ชาวเมืองแตกตื่นกันใหญ่ไหนจะหนีไฟ ไหนจะหนีคน ทหารจับพระยามโนไมตรีกับครอบครัวได้ นำตัวมาถวายเมื่อทัพหลวงยกมาตั้งที่ปราสาทเอก พระนเรศวรตรัสถามว่าพระยะละแวกให้กองทัพใดมาตั้งรับตรงไหนบ้าง พระยามโนไมตรีกลัวตายก็ทูลถวายหมดสิ้น

    พระนเรศวรถามว่า ถ้าเมืองโพธิสัตว์และเมืองบริบูรณ์สองตำบลนี้แตกแล้ว เห็นว่ากรุงกัมพูชาจะเสียหรือไม่ พระยามโนไมตรีทูลว่า ซึ่งเมืองจะเสียมิเสียนั้น จะกราบทูลกลัวจะเป็นเท็จ สุดแต่พระราชดำริเป็นต้น แต่ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่า ซึ่งกองทัพตั้งรับอยู่สองตำบลนี้ อุปมาเหมือนหน้าเรือสำเภา กรุงกัมพูชาเป็นท้ายสำเภา ถ้าหน้าสำเภาต้องคลื่นและพายุใหญ่แตกหักชำรุดรั่วอัปปางลงแล้ว และท้ายสำเภาจะรักษาไว้นั้น เป็นอันยากนัก พระนเรศวรกับพระอนุชาได้ฟังก็ทรงพระสรวลตรัสว่า พระยาเขมรคนนี้พูดจาหลักแหลมให้เอาตัวไว้ใช้ เป็นอันว่ารอดตายไปเพราะปากดี แล้วสั่งให้พระยานครนายกคุมพลอยู่รักษาเมืองพระตะบอง ให้เกลี้ยกล่อมชาวเขมรเก็บเกี่ยวข้าวในท้องนาใส่ยุ้งฉางไว้
     
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 87

    ปราบพระยาละแวก (ต่อ)

    เมื่อเมืองพระตะบองแตก คนเร็วม้าใช้และนายทัพนายกองที่หนีทันก็ไปยังเมืองโพธิสัตว์ พระยาสวรรคโลกก็ส่งข่าวต่อไปเมืองหลวง แล้วปรึกษากันว่าเราจะเอาอย่างพระยามโนไมตรีไม่ได้ คราวนี้เราจะยกออกไปรับกลางทาง แล้วตัวพระยาสวรรคโลกก็ผ่อนครอบครัวออกจากเมืองไปก่อน แล้วตนเองยกออกไปตั้งรับที่ลำน้ำลงกูบ เอาลำน้ำไว้หลังหวังจะมิให้ถูกตีด้านหลังได้ แล้วแต่งกองโจรขึ้นหกกอง กองละ 500 สั่งไว้ว่า ถ้าได้ทีก็ทำ ถ้ามิได้ทีก็หนีเข้าป่า ถ้าเป็นศึกเหลือกำลังก็ล่าถอยคำสั่งแบบนี้เป็นวิธีรบของเขมรตลอดมา คือไม่มีกล้าปะทะให้แตกหักลงไป

    พระราชมานูยกต่อขึ้นมาเมืองโพธิสัตว์ ถึงตำบลหนองจอกพบกองโจรเขมรออกรบก็ตีแตกไป เขมรตั้งรับแบบนี้เข้าไปถึงหกตำบล พลเขมรถูกอาวุธบาดเจ็บล้มตายเหลือจะนับได้ จึงถอยหนีเข้าหาทัพใหญ่ ทัพพระราชมานูก็หนุนเนื่องเข้าไป พระยาสวรรคโลกได้ยินเสียงปืนรบอยู่ครู่หนึ่ง ก็เห็นเขมรแตกทัพวิ่งหนี และทหารไทยไล่ติดๆมา พระยาสวรรคโลกก็ให้ตีฆ้องกลองสัญญาณและโบกธงยกทหารออกไปรับ ได้รบกับทัพหน้าของไทยถึงตลุมบอน พระราชมานูแยกทหารแผ่ออก แล้วตีประดาเข้าไป เขมรรับไม่อยู่ ก็แตกฉานล้มตาย ตัวพระยาสวรรคโลกขึ้นช้างหนีข้ามน้ำไปได้

    ทัพไทยยกตามไปเมืองโพธิสัตว์ ยึดเมืองได้ ทัพหลวงจึงเข้าตั้งในเมืองโพธิสัตว์ พระนเรศวรให้พระยาปราจีนบุรีกับทหารสามพันรักษาเมือง แล้วตรัสกับพระเอกาทศรถว่า เราได้เมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์แล้ว แต่เมืองบริบูรณ์นั้นพระยาละแวกให้น้องชายมาตั้งรับรี้พลก็มาก เห็นจะพร้อมทั้งสามประการ ทั้งอาญาก็กล้า ทหารก็จะแข็งมือ เครื่องอาวุธก็จะพร้อม ถึงกระนั้นก็ดีพระยานาคราชถึงมาทว่ามีอานุภาพมากหรือจะอาจทานกำลังพระยาครุฑได้ เราจะหักเอาให้ได้แต่ในพริบตาเดียว ตรัสแล้วก็ให้ทัพหน้าเร่งยกเข้าไป อย่าให้พลทหารคับคั่งกัน
     
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 88



    ปราบพระยาละแวก (ต่อ)

    ครั้นเวลาตีสามได้เพชรฤกษ์ จันทร์ทรงกลดส่องสว่าง พระนเรศวรกับพระอนุชาก็ยกทัพออกจากเมืองโพธิสัตว์ฝ่ายพระยาสวรรคโลกกับทหารซึ่งแตกหนีมานั้น ก็เข้าไปเฝ้าพระศรีสุพรรมาธิราช ณ เมืองบริบูรณ์ ทูลความทั้งปวงที่ต้องแตกหนีมา พระศรีสุพรรมาธิราชให้แต่งกองตระเวนเป็นเสือป่าผลัดเปลี่ยนกันออกไปลาดตระเวนให้จุดเผาต้นข้าวในนาเสียด้วย แล้วบอกไปกรุงกัมพูชา พระยาละแวกทราบก็เสียพระทัย ให้พระยาราชนเรศคุมพลหนึ่งหมื่นรีบไปช่วยเมืองบริบูรณ์

    ทัพไทยเดินทัพมาสามคืนก็ถึงป่าทุ่งนาเมืองบริบูรณ์ กองหน้าพบหมู่ลาดตะเวนเขมรก็ยิงกัน ฝ่ายเขมรแตกหนีเข้าเมืองพระศรีสุพรรมาธิราชตรัสว่า ครั้นจะแต่งกองทัพออกไปสู้ เผื่อรับมิอยู่ ทหารจะเสียใจอีกประการหนึ่ง ข้าศึกก็ยังประชุมกันอยู่ ต่อเมื่อข้าศึกแผ่บางออกไปแล้ว เราจึงจะออกตีทีเดียว ครั้นแล้วก็ให้แต่ตรวจตรารักษาหน้าที่เชิงเทินไว้ให้มั่นคง

    ฝ่ายพระนเรศวรเห็นทัพเขมรมิได้ออกมารบ ก็สั่งให้เข้าล้อมเมือง รบหักเอาให้ได้ในเวลานั้น ทหารไทยจึงแบ่งกันเป็นด้านๆ ยกโอบล้อมรุกเข้าไป เขมรก็ยิงธนูหน้าไม้ปืนไฟออกมา ทหารไทยก็ไม่ถอย ขุดมูลดินเป็นสนามเพลาะ บังตัวรุกเข้าไป พอเวลาพลบค่ำก็บรรจบกันทุกด้าน ที่เข้าชิดก่อนก็ถอนขวากหนามปีนค่าย เย่อค่าย ฟันค่าย จนถึงกับได้ฟันแทงกันถึงตัว พระศรีสุพรรมาธิราชเห็นศึกหนักเหลือกำลังจะรับมิอยู่แล้ว ก็ขึ้นช้างให้ทหารหมื่นหนึ่งตีหักแหกหนีออกจากเมืองไป ทัพไทยจึงเข้าเมืองได้ไล่ฟันแทงทหารเขมรล้มตายมาก ทหารเขมรหนีระบาดออกจากหน้าที่ ไทยจับได้พระยาเสนาบดีเจ้าเมืองบริบูรณ์กับข้าราชการได้เกือบหมด

    พระศรีสุพรรมาธิราชแหกค่ายหนีไปถึงบ้านพังรอ ก็พบกับพระยาราชนเรศที่กำลังยกมาช่วย จึงพากันถอยไปเมืองละแวก พระยาละแวกรู้ว่าพระศรีสุพรรมาธิราชทิ้งเมืองหนีมาก็โกรธ ตรัสคาดโทษไว้ แล้วให้ตรวจตรารักษาป้อมค่ายเชิงเทินอย่างเข้มแข็ง เอาปืนใหญ่ขึ้นตั้งบนป้อมและประตูเมือง ทุกระยะสิบวามีปืนใหญ่กระบอกหนึ่ง ถัดเชิงเทินเข้ามามีกองหนุน กองละสามร้อยทุกระยะสามสิบเส้น เชิงเทินชั้นกลางมีสี่กอง กองละสามพัน มีคนสำคัญชั้นแม่ทัพรับผิดชอบทั้งสี่ทิศ ทิศละคน เชิงเทินชั้นในมีกองใหญ่สี่กอง กองละห้าพันอยู่ในขบวนทัพหลวง การเตรียมรับอย่างเข้มแข็งเช่นนี้ ก็ดูว่าทหารไทยจะตีได้อย่างไร
     
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระราชมนู นายกองเลือดเดือดแห่งกองทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    พระราชมนู ทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้ร่วมกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยากลับคืนมาเป็นคนของคนไทย ทำการรบอย่างห้าวหาญ ไม่กลัวตายสู้อย่างไม่ยอมถอยแต่ยอมเอาชีวิตเข้าแลก จนเกือบต้องต้องโทษประหาญชีวิต ด้วยความดีความชอบทำให้ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็น เจ้าพระยามหาเสนาบดีศรีสมุหพระกลาโหม

    กรุงศรีอยุธยาถูกตีแตก ในครั้งแรกโดยพม่าสมัยของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง อยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ทรงขึ้นครองราชย์กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.2112 พระนเรศวรดำรงพระอิสริยศเป็นพระมหาอุปราชขึ้นเมืองพิษณุโลกเมื่ออายุ 16 ปี หลังจากพระเจ้าบุเรงนองสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง

    สมเด็จพระนเรศวรมีรับสั่งให้ พระราชมนู คุมกองทัพไปตรวจดูข้าศึกและได้ปะทะกับกองทัพของเชียงใหม่ สมเด็จพระนเรศวรวางกลศึกเพื่อรับกองทัพของเชียงใหม่และรับสั่งให้พระราชมนูถอยทัพ แต่พระราชมนู เห็นว่ากองกำลังมีใกล้เคียงกับเชียงใหม่จึงยังไม่ถอยทัพแต่สุดท้ายเมื่อรู้ว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงวางกลจึงยอมถอยทัพ

    พระราชมนูเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วยบุคลิกที่มีความกล้าหาญ มีจิตใจมุ่งมั่นกับการทำศึกโดยไม่หวั่นเกรงข้าศึก แม้ว่าประวัติชีวิตในช่วงต้นของพระราชมนูจะไม่ปรากฏ แต่เนื่องจากเป็นแม่ทัพที่คุมกำลังพลออกต่อสู้ศึกกับหงสาวดีและขอมดังนั้น เมื่อเสร็จจากศึกเมือง ขอม (ละแวก) แล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็มีการปูนบำเหน็จรางวัลแก่เหล่าอำมาตย์นายกองที่โดยเสด็จไปราชสงครามในครั้งนั้นโดยถ้วนหน้าลดหลั่นกันไปตามความดีความชอบมากน้อย

    สำหรับพระราชมนูนั้นมีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็น เจ้าพระยามหาเสนาบดีสมุหพระกลาโหม พระราชทานพานทอง น้ำเต้าทอง เจียดทองซ้ายขวา กระบี่ ฝักทองและเครื่องอุปโภคต่าง ๆ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคต ที่เมืองหางอยู่ริมแม่น้ำสาละวินข้างเหนือเมืองเชียงใหม่ พระชันษา 50 พรรษา เสด็จอยู่ในราชสมบัติ 15 พรรษา โดยสมเด็จพระเอกาทศรถทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อ


    คัดลอกจาก

    จากความเห็นเดิมหน้า 26 ออกญา คืออะไรนั้น ราชทินนามเต็มของเจ้าพระยามหาเสนาบดีสมุหพระกลาโหม เป็นดังนี้

    เจ้าพระยามหาเสนา (สมุหพระกลาโหม) ราชทินนามเต็มคือ...เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิรียภักดีบดินทรสุรินทรฤๅไชยอะไภยพีริยปรากรมภาหุ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2009
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    คุณพี่ชาวสุรินทร์ (ทำงานโรงพยาบาลจังหวัดค่ะ) โทรมาบอกว่า ช่วงนี้จิตของคุณพี่นึกถึงเรื่องของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วยใจเคารพอยู่ตลอดเวลา

    ระลึกถึงพระองค์ท่านด้วยความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง เที่ยงวันนี้คุณพี่เธอไปทานข้าว แล้วได้รับธนบัตรแบงค์ร้อยทอนกลับมาหลายใบ หนึ่งในแบ็งค์ที่ได้รับทอนกลับมานั้นเป็นรูปนี้

    ภาพประธานด้านหลังธนบัตร ชนิดราคา 100 บาท แบบ 12


    [​IMG][​IMG]

    เป็นภาพพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคธาธารชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพ ประดิษฐาน ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พระบรมราชานุสาวรีย์นี้เป็นอนุสรณ์ที่พระองค์ ทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ครั้งสงครามยุทธหัตถี ที่หนองสาหร่ายเขตเมืองสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2135 พระมหาอุปราชาแม่ทัพพม่าที่ยกมารุกรานไทยถูกพระแสงของ้าวสิ้นพระชนม์ และกองทัพพม่า ต้องแตกพ่ายกลับไป

    คุณพี่เธอว่าไม่ได้เห็นแบ็งค์ด้านหลังเป็นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยุทธหัตถีนานแล้ว ในดวงจิตที่ระลึกถึงพระองค์ท่าน ก็ได้รับแบ็งค์ที่มีด้านหลังเป็นรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยุทธหัตถีมาหนึ่งใบ เสมือนพระองค์เสด็จมาตามห้วงแห่งความระลึกของคนไทยผู้รักชาติคนหนึ่ง ที่รักและเทิดทูนพระองค์ท่านเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม คุณพี่เธอจึงเก็บแบ็งค์ใบนี้ไว้บูชา อนุโมทนาในความจงรักภักดีของคุณพี่ด้วยคนค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2009
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    การเตรียมรับของเขมรเข้มแข็งขนาดนี้ แล้วทหารไทยจะรับมืออย่างไร

    ถ้าพวกเราลองหลับตาจินตนาการว่าตัวเราเป็นทหารไทย เจอกำลังข้าศึกที่เตรียมตัวดีเต็มอัตราศึก

    จิตของทหารไทยอย่างเราจะเป็นอย่างไรหนอ ถ้าหล่อหลอมจากสภาพแวดล้อมปัจจุบันแบบนี้ คิดว่า กลัว คือคำตอบสุดท้าย ทิ้งธง ชนธง ^^*

    แต่จิตของนักรบไทยโบราณที่หล่อหลอมจากการถูกพม่าข่มแหงมานาน คงไม่เป็นอย่างพวกเราในปัจจุบัน ทางสายธาตุว่าพวกท่านเหล่านี้สู้จนขาดใจแน่นอน เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์

    เพราะพวกเราเกิดในสมัยที่ห่างจากสมัยนั้นตั้ง 400 ปีคง พวกเราก็คงไม่เข้าใจว่าพระราชมนู เลือดเดือด นั้นเพราะความรู้สึกใดในใจของท่านพระราชมนู

    ทางสายธาตุคิดว่า ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถรู้สึกได้เท่าคนโบราณ แต่พวกเราก็สามารถแสดงความเคารพในความเสียสละของบรรพบุรุษไทย ด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์และรับรู้เรื่องราวต่างๆด้วยความเคารพ และด้วยจิตระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษไทยทุกท่านที่เสียสละ คิดว่าท่านเหล่านั้นจะรับรู้ถึงจิตอันมีกตัญญูของพวกเราได้ค่ะ




    หมายเหตุ* ^^ แทน ยิ้ม แต่ไม่ถึงกับหัวเราะ และ ไม่มีเลศนัย ^^
    อิอิ แทน หัวเราะน้อยๆอย่างมีเลศนัย จำจากตัวการ์ตูนสุนัขที่ชอบโผล่หัวออกมานอกวงกลม เอาเท้าหน้าปิดปาก แล้วหัวเราะ เสียงอิอิ เมื่อเช้าฟังรายการเพลง Retro เขียนถูกหรือเปล่านะ ผู้จัดรายการเป็นนักจัดรายการยุคเก่า เพลงก็จะเป็นเพลงของวงชาตรี ดิอินโนเซ้นต์ นูโว ไมโคร แกรนด์เอ็กซ์ คลื่น 107.5 FM คือมีนักจัดรายการคนหนึ่ง ใช้คำนี้ อิอิ ซึ่งคราวนี้ทางสายธาตุฟังคนอายุ 50 พูด อิอิ เกิดได้คิด อิอิ มันไม่ดีนะ อาจทำให้ภาษาไทยวิบัติก็ได้นะ ขนาดคนระดับ 50 ขึ้นไปก็ยังเอาไปใช้ ซึ่งมันไม่เหมาะสมแล้ว คิดได้ดังนี้จึงจะเลิกใช้ อิอิ ในภาษาเขียนแล้วค่ะ ขอเป็นแค่ ^^ สัญลักษณ์ว่ายิ้มอย่างเป็นมิตรแทน
     
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 89


    ปราบพระยาละแวก (ต่อ)

    ครั้นเวลาเช้าพระนเรศวรกับพระอนุชาก็ยกเข้าเมืองบริบูรณ์ เอาตัวพระยาเสนาบดีเจ้าเมืองกับข้าราชการผู้ใหญ่มาสอบถาม เชลยบรรดาศักดิ์ทั้งหลายก็บอกสิ้นทุกประการ พระองค์จึงให้พระวิเศษ เจ้าเมืองฉะเชิงเทราเป็นพระยาวิเศษคุมพลสามพันอยู่รักษาเมืองบริบูรณ์ปลูกยุ้งฉางรวบรวมเสบียงอาหารไว้ เดินทัพต่ออีกสองคืนก็ถึงกรุงกัมพูชา ทัพหลวงตั้งไกลเมือง 40 เส้น ให้นายทัพนายกองตั้งค่ายล้อมประชิดเมือง มีแม่ทัพใหญ่รับผิดชอบทั้งสี่ทิศ ทิศละคน

    ฝ่ายทางด้านทะเลนั้น เมื่อขณะทัพหลวงเข้าเมืองโพธิสัตว์นั้น ทัพพระยาราชวังสันก็เข้าตีได้เมืองพุทไธมาส พระยาจีนจันตุแม่ทัพเขมรตายในที่รบ แล้วยกเข้ามาป่ากะสัง ได้รบกับกองทัพพระยาพิมุขวงศา

    ฝ่ายกองทัพพระยาเพชรบุรีก็เข้าตีเมืองป่าสัก ได้รบกับกองทัพเรือเขมร ทัพพระยาวงศาธิราชถูกตีแตก รี้พลเขมรจมน้ำตายมาก ตัวพระยาวงศาธิราชถูกกระสุนปืนใหญ่ตาย กองทัพไทยเข้าเมืองป่าสักได้ ได้เรือสำเภา 15 ลำ เรือสลุบฝรั่งสองลำ เรือรบเรือไล่ ใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก

    ทัพพระยาเพชรบุรียกรุดขึ้นมาถึงปากกะสัง เห็นกองทัพพระยาราชวังสันรบกันอยู่ จึงตีขนาบเข้าไป ทัพเขมรก็แตก กองทัพไทยทั้งสองจึงสมทบกันยกเข้าตีได้เมืองจัตตุรมุข แล้วยกขึ้นบกไปบรรจบทัพหลวง ณ เมืองละแวก

    ฝ่ายพระยานครราชสีมา ตีเมืองเสียมราฐได้แล้ว ก็ยกมาตั้งค่ายมั่นที่กำปาสวาย กองทัพทั้งหลายต่างส่งแม่ทัพมาเฝ้าพระนเรศวร ณ ค่ายเมืองละแวก ครั้นพระองค์เห็นว่าทุกกองทัพมาพร้อมกันแล้วจึงสั่งให้ค่ายที่ตั้งประชิดเมืองทุกค่าย เร่งขยับค่ายชิดเข้าไปให้ใกล้เมืองหนึ่งเส้นและสามสิบวา แล้วพูนดินขึ้นทั้งสี่มุม มุมละสองด้าน เอาปืนใหญ่ทัพเรือขึ้นไปตั้งจังก้า ยิงกราดทหารที่รักษาเชิงเทินและประตูเมืองนั้นก็ตั้งป้อมเอาปืนใหญ่ยิงถล่มเข้าไปทุกประตู ทางด้านไหนทหารบางอยู่ ก็เอาทหารกองทัพเรือ และทัพนครราชสีมาเข้าเสริมให้หนาแน่น ให้ทุกกองทัพเร่งทำการให้เสร็จพร้อมบริบูรณ์ภายในสามวัน ถ้าผู้ใดทำไม่เสร็จตามกำหนดจะตัดศีรษะเสียบเสีย นายทัพนายกองจึงต้องเร่งทำงานทั้งกลางวันกลางคืน

    อาญาทัพเข้มงวดมาก ไม่เสร็จในสามวันต้องถูกตัดศีรษะ คนโบราณลำบากลำบนกว่าจะทำงานสักชิ้นสำเร็จ แลกกันด้วยชีวิตทีเดียว

    สำหรับพระยาจีนจันตุที่ลงเรือหนีสมเด็จพระนเรศวรพ้นเมื่อปี พ.ศ. 2121 ก็ต้องมาสิ้นชีพในที่สุด ในปี พ.ศ. 2137 ด้วยฝีมือของพระราชวังสัน
     
  8. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 90



    ปราบพระยาละแวก (ต่อ)

    ครั้นแล้วก็ให้แต่งหนังสือส่งเข้าไปเกลี้ยกล่อมชี้แจงให้เห็นผิดและชอบและเตือนสติพระยาละแวกว่า การรบนี้จะแพ้หรือชนะนั้น พระยาละแวกน่าจะเข้าใจแล้ว ให้ออกมาถวายบังคมและถวายเศวตรฉัตรเสีย ชีวิตจึงจะยืนยาวไปได้ ถ้าไม่ออกมาภายในสามวัน จะให้ทหารเข้าพลิกแผ่นดินเสีย ครั้นแล้วก็ให้พระยาเสนาบดีเจ้าเมืองบริบูรณ์กับพระยาเขมรที่ทัพเรือจับได้ถือเข้าไปให้พระยาละแวกและชี้แจงให้ทราบถึงผลของการรบทั้งทัพบกทัพเรือ พระยาละแวกกลับตวาดว่า "อ้ายเหล่านี้ให้ออกไปรบศึก กลับไปเป็นพวกปัจจามิตร เป็นทูตถือหนังสือเข้ามา" ครั้นแล้วจึงให้เอาทูตจำเป็นเหล่านั้นไปจำคุกไว้แล้วเสด็จเลียบพระนคร ครั้นเห็นทัพไทยเดินค่ายประชิดเข้ามา ก็สั่งให้เอาปืนใหญ่น้อยยิงออกไป แม่ทัพไทยที่กำกับสี่ด้านจึงให้ขุดดินเป็นคันสูงกว่าค่ายในเมือง เอาปืนใหญ่ขึ้นจังก้าสองวันสองคืนก็เสร็จ

    พระยาละแวกก็ตั้งค่ายในเมืองสูงขึ้นไป เป็นค่ายบังตาข้าศึกหลังเชิงเทินนั้นสูงสามสี่วา ชักปีกกาถึงกัน แล้วทำเป็นประตูลับแลเป็นช่องสำหรับเดิน ทั้งสองฝ่ายต่างใช้ปืนใหญ่เล็กยิงโต้ตอบกันทั้งกลางวันกลางคืน ทหารเขมรที่รักษาเชิงเทินก็ถูกยิงตายลงทุกที

    พระนเรศวรเห็นการทุกอย่างพร้อมแล้วจึงให้แม่ทัพใหญ่ๆ หกคนคุมพลคนละสามพัน ขี่ช้างใส่หน้าร่าห์เกือกเหล็ก ทหารหมื่นสองพันใส่เกือกหนัง เสื้อหนัง หมวกหนัง ค่ายประชิดทั้งหลายก็ระดมยิงปืนใหญ่เข้าไป กลาดเชิงเทินไปจนถึงเวลาได้ฤกษ์บุก อย่าให้ไพร่พลเขมรออกมาช่วยกันได้ ให้คอยดูฤกษ์จุดพลุ และฟังเสียงฆ้องกลองแตรสังข์เป็นสำคัญ พอได้ฤกษ์ให้ยกเข้าหักเอาเมืองให้ได้จงทุกด้าน ถ้าผู้ใดทำมิได้จะตัดศีรษะเสียบเสีย
     
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 91


    ปราบพระยาละแวก (จบ)

    [​IMG]

    ครั้นเวลาสามยามเจ้าหน้าที่ทั้งหลายก็ระดมยิงปืนเข้าไปในเมือง พอได้เพชรฤกษ์ ประโคมฆ้องกลองแตรสังข์ จุดพลุขึ้น ทหารไทยทั้งสี่ด้านก็โห่ร้องขึ้น แล้วแม่ทัพใหญ่หกคนนั้นก็ขับช้างเข้าทำลายประตูเมืองทุกด้าน ทหารเขมรที่ประตูเมืองก็ยิงปืนใหญ่ต่อต้าน พอรุ่งเช้าประตูเมืองก็พังลง ทหารไทยตรูเข้าเมืองได้ไล่ฆ่าฟันทหารเขมรตายลงมากมาย พวกทหารเขมรที่ตั้งไว้เป็นชั้นเพื่อต่อสู้นั้นมิได้ต่อสู้ ต่างหนีกระจัดกระจายเอาตัวรอด หนีออกจากเมืองบ้าง ไปหาครอบครัวบ้าง พระราชบุตรของพระยาละแวกก็พลอยหนีออกจากเมืองไปด้วย พระยาละแวกกับพระศรีสุพรรมาธิราชกับญาติวงศ์สนมกรมนัย ถูกจับได้รวมทั้งท้าวพระยาเขมรกับครอบครัวก็ถูกจับด้วย

    พระนเรศวรตรัสถามพระยาละแวกว่า ท่านเป็นกษัตริย์ดำรงแผ่นดินกัมพูชา ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาก็มีประจันตคามชนบทในแว่นแคว้น และสองพระนครนี้ก็เป็นราชธานีใหญ่ ถ้าจะใคร่ได้ราชสมบัติในกรุงศรีอยุธยาแผ่อาณาเขตให้กว้างขวาง เหตุไฉนไม่ยกทัพไปทำสงครามตามทำนองขัตติยราชรณยุทธ แต่กลับเป็นว่า เมื่อมีศึกหงสาวดีมาดิดพระนครครั้งใด ก็ยกพลไปคอยซ้ำเติมเอาเมืองชนบทกวาดต้อนอพยพผู้คนมาทุกครั้ง ทำศึกเหมือนลักฟองไข่นก

    พระนเรศวรตรัสว่า เราได้ออกปากไว้แล้วว่า ถ้าชนะแก่ท่าน เราจะทำพิธีประถมกรรม เอาโลหิตท่านล้างบาทาเสียให้ได้ ท่านอย่าอาลัยแก่ชีวิตเลย จงตั้งหน้าหาความชอบใหม่ในปรโลกนั้นเถิด บุตร ภรรยา ญาติประยูรวงศ์ของท่านนั้น เราจะเลี้ยงไว้ให้มีความสุขดุจแต่ก่อน

    แล้วก็ตั้งพิธีตามศาสตร์ พระโหราธิบดี ชีพ่อพราหมณ์เชิญพระนเรศวรขึ้นบนเกย เอาตัวพระยาละแวกไว้ใต้เกย ตัดศีรษะเอาถาดทองรองโลหิตขึ้นไปชำระพระบาท พระโหราธิบดีลั่นฆ้อง ชีพ่อพราหมณ์เป่าสังข์ประโคมดุริยดนตรี ถวายมุรธาภิเศกเศียรพาทโดยศาสตร์

    รุ่งขึ้นพระนเรศวรกับพระเอกาทศรถ ก็ทรงม้าเสด็จเลียบเมืองต่อมาเจ็ดวันก็เลิกทัพกลับพระนคร ให้กองหลังนำครอบครัวพระยาละแวกกับไพร่พลสามหมื่นเศษ อพยพมาไว้ในพระนครและจัดแจงบ้านเรือนที่ทางให้อยู่อย่างปกติสุข
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ตอนต่อไปคือ ปราบกบฏเมืองตะนาวศรี

    เรื่องน่าเศร้าอีกเรื่องที่จะต้องสูญเสียพระยาศรีไสยณรงค์ไป ในหนังสือ ลัทธิชาตินิยมฯ นั้นมีรายละเอียดเรื่องนี้ไม่มาก

    เห็นมีมากจากลิงค์นี้ค่ะ ˅ҡ˅҂?ш?Ѐwww.nana-ideas.com

    เอาบางตอนที่เกี่ยวข้องกับพระยาศรีไสยณรงค์มาลงไว้ก่อนนะคะ


    ในพงศาวดารเขมรว่าเมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงตีเมืองเขมรได้แล้ว โปรดให้พระมหามนตรีอยู่รักษากัมพูชา ถ้าเช่นนั้นก็เป็นชั่วคราว ในเวลาบ้านเมืองกำลังเป็นจลาจล ด้วยปรากฏต่อมาว่า ไม่ช้าก็โปรดให้ราชบุตรนักพระสัฏฐาทรงพระนามว่า พระศรีสุธรรมราชา ครองกรุงกัมพูชา แต่นั้นเมืองเขมรก็กลับเป็นประเทศราชขึ้นกรุงศรีอยุธยาเหมือนแต่ก่อนมา เมื่อสมเด็จพระนเรศวรตีเมืองเขมรได้แล้ว ต่อมาในไม่ถึงปีพระยาศรีไสยณรงค์เจ้าเมืองตะนาวศรีก็เป็นกบฏ ดูเป็นการใหญ่โต ถึงสมเด็จพระเอกาทศรถต้องเสด็จยกกองทัพลงไปปราบปราม พิเคราะห์ดูน่าพิศวง ด้วยพระยาศรีไสยณรงค์เป็นข้าหลวงเดิมของสมเด็จพระนเรศวร ได้ทรงชุบเลี้ยงและเคยรบศัตรูเป็นคู่พระราชหฤทัยมาแต่แรก ไฉนจึงมาคิดทรยศเป็นกบฏต่อเจ้านายของตนเอง อีกประการหนึ่งพระยาศรีไสยณรงค์เป็นแต่เจ้าเมืองๆหนึ่ง จะเอากำลังที่ไหนมาต่อสู้กองทัพในกรุงกับหัวเมืองอื่นที่จะยกไปปราบปราม จะหมายพึ่งต่างประเทศ เมืองตะนาวศรีก็มิได้อยู่ติดต่อกับประเทศไหน ที่ตั้งแข็งเมืองเป็นกบฏก็เหมือนวางบทโทษประหารชีวิตตนเอง แม้พระยาศรีไสยณรงค์สิ้นความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระนเรศวร ก็ต้องคิดถึงความปลอดภัยของตนเองก่อน ที่ว่าเป็นกบฏลอยๆจึงน่าสงสัยจะไม่ตรงกับความจริง พิจารณาดูเรื่องประวัติของพระยาศรีไสยณรงค์ที่ปรากฏในพงศาวดาร ประกอบกับรายการที่ปรากฏเมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จลงไปตีเมืองตะนาวศรีครั้งนั้น ความยุติต้องกัน เห็นว่าเรื่องที่จริงน่าจะเป็นดังต่อไปนี้


    พระยาศรีไสยณรงค์เป็นทหารรุ่นแรกของสมเด็จพระนเรศวร คู่กันกับพระยาชัยบูรณ์มาแต่ยังทรงครองพิษณุโลก เมื่อพระยาชัยบูรณ์เป็นที่พระชัยบุรี และพระยาศรีไสยณรงค์เป็นที่พระศรีถมอรัตน ได้ไปรบชนะเขมรที่เมืองนครราชสีมาด้วยกันทั้ง ๒ คนครั้งหนึ่ง ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพของเมืองไทยแล้ว โปรดให้คุมพลไปขับไล่กองทัพพม่าไปจากเมืองกำแพงเพชรด้วยกันทั้ง ๒ คน ได้รบกับข้าศึกถึงชนช้างมีชัยชนะอีกครั้งหนึ่ง คงเป็นเมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสวยราชย์ โปรดให้เลื่อนยศพระชัยบุรีขึ้นเป็นพระยาชัยบูรณ์ และเลื่อนยศพระศรีถมอรัตนเป็นพระยาศรีไสยณรงค์

    ต่อมาถึงครั้งสมเด็จพระนเรศวรรบพระเจ้าเชียงใหม่ที่บ้านสระเกศ มีชื่อทหารเอกปรากฏขึ้นอีกคนหนึ่ง พระราชมนูซึ่งคุมกองทัพหน้าในครั้งนั้นเห็นจะเป็นคนรุ่นหลัง และบางทีจะได้เคยเป็นตัวรองอยู่ในบังคับบัญชาของพระยาศรีไสยณรงค์มาแต่ก่อน ทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรที่ถึงขึ้นชื่อในพงศาวดารจึงมี คนด้วยกัน

    เมื่อครั้งพระมหาอุปราชาหงสาวดีมาตีเมืองไทยคราวชนช้าง พอได้ข่าวว่าข้าศึกยกเข้าแดนเมืองกาญจนบุรี สมเด็จพระนเรศวรก็โปรดให้พระยาศรีไสยณรงค์ยกกองทัพหน้ารุกออกไปตั้งสกัดข้าศึกที่ตำบลดอนระฆัง ตรัสสั่งพระยาศรีไสยณรงค์ไปว่า ให้สืบกำลังข้าศึกและกระบวนทัพที่ข้าศึกยกมา บอกกราบทูลเป็นสำคัญ ถ้าเห็นข้าศึกยกมามาก ให้พระยาศรีไสยณรงค์ถอยมาหาทัพหลวงอย่าให้รบ

    แต่พระยาศรีไสยณรงค์จะเข้าใจกระแสรับสั่งผิด หรืออุกอาจโดยนิสัยของตนอย่างใดอย่างหนึ่ง พอกองทัพหน้าของข้าศึกยกมาใกล้ก็สั่งให้เข้าระดมตี ไม่ล่าถอยตามรับสั่ง ข้าศึกมีกำลังมากกว่าก็ตีกองทัพพระยาศรีไสยณรงค์แตกพ่าย เป็นเหตุให้สมเด็จพระนเรศวรต้องทรงเปลี่ยนกระบวนรบในปัจจุบันทันด่วนจนโกลาหลอลหม่าน พระยาศรีไสยณรงค์อยู่ในพวกนายทัพนายกองที่ทำความผิดต้องระวางโทษถึงตาย แต่สมเด็จพระวันรัตนทูลขอชีวิตไว้ได้ด้วยกันทั้งหมด เมื่อโปรดให้ข้าราชการที่มีความผิดครั้งนั้นไปตีเมืองทะวายและเมืองตะนาวศรีแก้ตัว พระยาศรีไสยณรงค์ไปในกองทัพเจ้าพระยาจักรีซึ่งไปตีเมืองตะนาวศรี แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีตำแหน่งหน้าที่อย่างใดในกองทัพสมกับคุณวิเศษซึ่งเคยมีมาแต่ก่อน จนเมื่อเจ้าพระยาจักรีตีได้เมืองตะนาวศรีแล้ว จะยกกองทัพไปช่วยพระยาพระคลังที่เมืองทะวาย จึงให้พระยาศรีไสยณรงค์อยู่รักษาเมืองตะนาวศรี


    ครั้นเสร็จสงคราม สมเด็จพระนเรศวรก็เลยทรงตั้งให้เป็นเจ้าเมืองตะนาวศรี เพราะได้รักษาเมืองอยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่ยกความชอบอย่างใด พระยาศรีไสยณรงค์คงจะเสียใจ แต่ยังพอคิดเห็นว่าเป็นเพราะตัวมีความผิดติดอยู่เมื่อแต่ก่อน

    แต่ต่อมาถึงคราวพูนบำเหน็จเมื่อเสร็จศึกเขมร สมเด็จพระนเรศวรทรงตั้งพระราชมนูเป็นเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดีที่สมุหกลาโหม คราวนี้พระยาศรีไสยณรงค์เห็นจะเสียใจมาก ถึงเกิดโทมนัสแรงกล้าสาหัส ด้วยรู้สึกว่าคนรุ่นหลังได้เลื่อนยศข้ามหัวขึ้นไปเป็นใหญ่กว่าตน อันได้ทำความชอบความดัมาก่อนช้านาน แต่ก็คงมิได้คิดจะเป็นกบฏ น่าจะเป็นแต่แสดงความโทมนัสออกนอกหน้าตามประสาคนมุทะลุ เช่นพูดว่า "เห็นจะไม่ทรงชุบเลี้ยงแล้ว ไปอยู่กับพม่าเสียได้จะดีกว่า" ดังนี้เป็นต้น คนคงได้ยินกันมากก็มีกรมการที่ไม่ชอบพระยาศรีไสยณรงค์หรือที่ตกใจจริงๆ ลอบเข้ามาบอกเจ้าเมืองกุย เจ้าเมืองกุยจึงมีใบบอกเข้ามากราบทูล สมเด็จพระนเรศวรไม่ทรงเชื่อ ก็เป็นธรรมดาเพราะพระยาศรีไสยณรงค์เป็นข้าหลวงเดิม ทรงชุบเลี้ยงอย่างสนิทสนมมาแต่ก่อน ไม่เห็นว่าจะเป็นกบฏได้ แต่เมื่อถูกฟ้องต้องหาเช่นนั้นก็จำต้องไต่ถาม จึงตรัสสั่งให้มีท้องตราให้หาตัวเข้ามาแก้คดี


    ข้างฝ่ายพระยาศรีไสยณรงค์ไม่ได้คาดว่าคำที่ตัวพูดโดยกำลังโทสะจะรู้เข้าไปถึงพระกรรณสมเด็จพระนเรศวร ได้เห็นท้องตราก็ตกใจเพราะได้พูดเช่นนั้นจริง จะเข้ามาเฝ้าสมเด็จพระนเรศวรก็เกรงถูกประหารชีวิต จึงมีใบบอกบิดพลิ้วเช่นว่ายังป่วยเป็นต้น โดยหมายว่าจะรอพอให้คลายพิโรธแล้วจึงจะเข้ามาเฝ้า แต่ทำเช่นนั้นกลับเป็นอาการขัดรับสั่งสมข้อหาว่าเป็นกบฏ สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงพระพิโรธตรัสสั่งให้ยกกองทัพออกไปปราบพระยาศรีไสยณรงค์

    คิดดูถึงกองทัพที่จะยกไปครั้งนั้น แม้แต่กองทัพขุนนางเช่นเมื่อเจ้าพระยาจักรีไปตีเมืองตะนาวศรี ก็คงจะพอปราบพระยาศรีไสยณรงค์ได้ ไฉนจึงถึงโปรดให้สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จเป็นจอมพลลงไปเอง ข้อนี้ส่อให้เห็นเหตุว่าคงเป็นเพราะสมเด็จพระเอกาทศรถก็ไม่ทรงเชื่อว่าพระยาศรีไสยณรงค์เป็นกบฏ ด้วยได้ทรงทราบอุปนิสัยของพระยาศรีไสยณรงค์มาแต่ก่อนว่าเป็นคนมุทะลุดุร้าย ถ้าผู้อื่นยกกองทัพลงไปอาจจะถึงต้องรบพุ่งฆ่าฟันกัน จึงทูลรับอาสาเสด็จไปเอง เพื่อจะไปว่ากล่าวในพระยาศรีไสยณรงค์สารภาพรับผิดโดยดี ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรในเวลานั้น ก็ยังไม่สิ้นพระกรุณาพระยาศรีไสยณรงค์ จึงโปรดให้สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จไปตามประสงค์ แต่เมื่อพระยาศรีไสยณรงค์รู้ว่าสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จยกกองทัพลงไป ก็กลับหวาดหวั่นหนักขึ้น เกรงจะไม่รอดชีวิต มิรู้ที่จะทำอย่างไรก็สั่งให้ปิดประตูเมืองตะนาวศรี เกณฑ์คนขึ้นรักษาหน้าที่เชิงเทินตามประสาเข้าตาจน พระยาศรีไสยณรงค์จึงกลายเป็นกบฏจริงๆในตอนนี้ ความคิดเห็นเช่นว่ามานี้สมกับที่กล่าวในหนังสือพงศาวดารว่า เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถให้ล้อมแล้ว มีหนังสือรับสั่งเข้าไปถึงพระยาศรีไสยณรงค์ว่ายังทรงระลึกถึงความชอบความดีที่ได้มาแต่หนหลัง ให้ออกมาสารภาพผิดเสียโดยดี จะทูลขอโทษให้ แต่พระยาศรีไสยณรงค์นิ่งเสียไม่ออกมาเฝ้าตามรับสั่ง

    จึงโปรดให้กองอาสาเข้าปล้นเมืองในเวลาดึก ก็ได้เมืองตะนาวศรีโดยง่าย เพราะพวกชาวเมืองไม่ต่อสู้ พอรุ่งเช้าก็จับได้ตัวพระยาศรีไสยณรงค์มาถวาย สมเด็จพระเอกาทศรถตรัสสั่งให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยน ๓๐ ทีแล้วจำไว้


    แม้ในตอนนี้คิดดูก็เห็นว่า สมเด็จพระเอกาทศรถยังทรงหวังจะช่วยพระยาศรีไสยณรงค์ จึงไม่ตรัสสั่งให้ประหารชีวิตเสีย ถ้าหากมีพระประสงค์จะเอาตัวพระยาศรีไสยณรงค์มาถวายให้สมเด็จพระนเรศวรลงพระราชอาญา ก็คงเป็นแต่ให้จำไว้ ที่ลงพระราชอาญาเฆี่ยนพระยาศรีไสยณรงค์นั้น ชวนให้เห็นว่าเพื่อจะลงโทษในข้อที่ไม่ออกมาเฝ้าโดยดีให้เสร็จสิ้นเรื่องเสียแต่เพียงนั้น เมื่อเสด็จกลับจะได้ทูลขอชีวิตพระยาศรีไสยณรงค์ไว้ แต่สมเด็จพระนเรศวร ทรงสิ้นเยื่อใยในข่ายพระกรุณาพระยาศรีไสยณรงค์เสีย แต่เมื่อทรงทราบว่าตั้งแข็งเมืองเอาสมเด็จพระเอกาทศรถแล้ว จึงตรัสสั่งออกไปให้ประหารชีวิตพระยาศรีไสยณรงค์เสียที่เมืองตะนาวศรี อย่าให้พาตัวเข้าในกรุงฯ เพื่อมิให้มีโอกาสที่สมเด็จพระเอกาทศรถจะทูลขอให้ลดหย่อนโทษ พระยาศรีไสยณรงค์จึงต้องถูกประหารชีวิต เรื่องที่จริงจะเป็นดังกล่าวมานี้
     
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระยาศรีไสยณรงค์ ไม่ได้ครองหัวเมืองชั้นเอกเหมือนพระยาชัยบูรณ์ แต่ได้ไปครองหัวเมืองชั้นโทคือเมืองตะนาวศรี ไม่รู้ว่าเรื่องความสำคัญของชั้นหัวเมืองจะทำให้พระยาศรีไสยณรงค์น้อยใจหรือเปล่านะคะ



    การปกครองหัวเมืองในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


    [SIZE=+2]การเสียกรุงครั้งที่1 ให้แก่พม่าในปีพุทธศักราช 2112 เป็นอุทาหรณ์แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอ[/SIZE][SIZE=+2]ของการจัดระบบการปกครองหัวเมืองชั้นนอก เป็นแบบเมืองเจ้าพระยามหานคร ข้าศึกจึงสามารถยึดเอาเมือง[/SIZE][SIZE=+2]เจ้าพระยานคร อย่างเช่น เมืองพิษณุโลกเอาไว้เป็นกำลังได้ ดังนั้นเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกู้เอกกราช[/SIZE][SIZE=+2]จากพม่าได้และทรงมีอำนาจยิ่งใหญ่พอ จึงลดอำนาจหัวเมืองชั้นนอก ทรงยกเลิกระบบการปกครองแบบให้อำนาจ[/SIZE][SIZE=+2] กึ่งอิสระนั้นเสีย จัดให้มีการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง รวบรวมอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน [/SIZE][SIZE=+2]แล้วจัดระบบการปกครองเป็น หัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้[/SIZE]





    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    [SIZE=+2]หัวเมืองชั้นใน คือ หัวเมืองที่อยู่รายรอบใกล้ชิดพระนครหรือหัวเมืองในมณฑลราชธานี จัดรูป[/SIZE][SIZE=+2]การปกครองเหมือนเดิม คือ ให้ขึ้นโดยตรงต่อเมืองหลวง ไพร่พลในเมืองเหล่านี้ ก็สังกัดกรมกองที่เมืองหลวง [/SIZE][SIZE=+2]ผู้ปกครองเมือง เป็นเพียงตำแหน่ง "ผู้รั้ง" เมื่อจัดระบบการปกครองใหม่ หัวเมืองเหล่านี้ ก็เป็นหัวเมืองชั้นจัตวา [/SIZE]


    [SIZE=+2]หัวเมืองชั้นนอก คือ หัวเมืองที่อยู่ห่างไกลออกไป ซึ่งได้แก่ เมืองเจ้าพระยามหานครเดิม [/SIZE][SIZE=+2]การปรับปรุงการปกครองที่สำคัญ คือ ยกเลิกการส่งเจ้านายเชื้อพระวงศ์ออกไปปกครอง แต่แต่งตั้งขุนนาง[/SIZE][SIZE=+2] เป็นเจ้าเมืองทั้งหมด หัวเมืองชั้นนอก ประกอบด้วย [/SIZE]


    [SIZE=+2] หัวเมืองชั้นเอก ได้แก่ เมืองขนาดใหญ่มีความสำคัญ[/SIZE][SIZE=+2]ทางยุทธศาสร์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามี 2 เมือง คือ เมืองพิษณุโลกและนครศรีธรรมราช [/SIZE][SIZE=+2]เจ้าเมืองเป็นขุนนางมียศเป็นเจ้าพระยา [/SIZE][SIZE=+2]ถือศักดินาสูงถึง 10,000 ไร่ เท่ากับตำแหน่งเสนาบดีในเมืองหลวง [/SIZE]


    [SIZE=+2] หัวเมืองชั้นโท เป็นเมืองที่มีความสำคัญ[/SIZE][SIZE=+2]รองลงมา เจ้าเมืองมียศเจ้าพระยา ถือศักดินา 10,000 ไร่ เท่ากับเจ้าเมืองชั้นเอก ในสมัยอยุธยามี 6 เมือง [/SIZE][SIZE=+2]คือ สวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครราชสีมาและเมืองตะนาวศรี [/SIZE]


    [SIZE=+2] หัวเมืองชั้นตรี เป็นเมือง[/SIZE][SIZE=+2]เล็กและสำคัญน้อยกว่าหัวเมืองชั้นโท เจ้าเมืองมียศเป็นพระยา ถือศักดินา 5,000 ไร่ มีอยู่ 7 เมือง คือ พิชัย [/SIZE][SIZE=+2]พิจิตร นครสวรรค์ จันทบูรณ์ ไชยา พัทลุงและเมืองชุมพร หัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี เหล่านี้ไม่ขึ้นแก่กัน[/SIZE][SIZE=+2] แต่ขึ้นต่อเมืองหลวงโดยตรงและแต่ละเมืองจะมีเมืองเล็กๆ ชั้นจัตวาขึ้นอยู่ในสังกัดมากน้อยแตกต่างกันออกไป[/SIZE]

    นำบทความมาจาก http://www.edu.nu.ac.th/techno/Production_student/project/naresuan/six.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2009
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ

    พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง

    ศุภมีศดุ ๑๒๙๘..... พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนารถ ฯ..... เจ้าพญาธรรมาธิบดี ฯ กราบบังคมทูลพระกรุณาว่าตำแหน่งศักดิ์นาหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา ปากใต้ฝ่ายเหนือนั้น จะทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานเป็นประการใด..... มีพระบรมราชโองการเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า เจ้าพญาแลพญาพระหลวงเมืองผู้รั้งกรมการบรรดารับราชการอยู่ ณ หัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา ปากใต้ฝ่ายเหนือทั้งปวงให้ถือศักดิ์นาตามพระราชประหยัติดังนี้

    เจ้าพญาสุรศรี ฯ เมืองพิศณุโลก เอก อุ นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
    พระราชฤทธาบนพหลภักดี พระยาไชยบูรณ ปลัด นา ๓๐๐๐ ฯลฯ เมืองขึ้นพิศณโลกญ เจ้าเมือง นา คนละ ๑๖๐๐

    เจ้าพญาศรีธรรมราช ฯ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองเอก นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดงอินปัญญาซ้าย
    พระศรีราชสงคราม ปลัด นา ๓๐๐๐ ฯลฯ เมืองขึ้นเมืองนครศรีธรรมราช นา คนละ ๑๖๐๐

    ออกญากระเสตรสงคราม ฯ พญาสวรรคโลกย เมืองโท นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
    ออกญาศรีธรรมศุภราช ฯ เจ้าเมืองศุกโขไท เมืองโท นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดง จุลาเทพซ้าย
    ออกญารณรงคสงคราม ฯ เมืองกำแพงเพช เมืองโท นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
    ออกญาเพชรัตนสงคราม ฯ เมืองเพชบูรรณ เมืองโท นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
    ออกญากำแหงสงคราม ฯ เมืองนครราชศรีมา เมืองโท นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
    ออกญาไชยยาธิบดี ฯ เมืองตะนาว เมืองโท นา ๑๐๐๐๐ ขึ้นประแดงอินปัญญาซ้าย
    ปลัด นา ๑๒๐๐ เมืองขึ้นเมืองโท นา คนละ ๑๐๐๐

    ออกญาศรีสุริยะราชาไชย ฯ เจ้าเมืองพิชัย เมืองตรี นา ๕๐๐๐ ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
    ออกญาเทพาธิบดี ฯ เมืองพิจิตร เมืองตรี นา ๕๐๐๐ ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
    ออกญาไกรเพชรรัตนสงคราม เมืองนครสวรรค์ เมืองตรี นา ๕๐๐๐ ประแดงจุลาเทพซ้าย
    ออกญาไชยธิบดีศรีณรงคฤาไชยา เมืองจันทบูรรณ เมืองตรี นา ๕๐๐๐ ขึ้นประแดงอินปัญญาซ้าย
    ออกพระวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม พระไชยา เมืองตรี นา ๕๐๐๐ ขึ้นอินปัญญาซ้าย
    ออกญาแก้วการพยพิไชย ฯ ออกญาพัตะลุง เมืองตรี นา ๕๐๐๐ ขึ้นอินปัญญาซ้าย
    ออกญาเคาระทราธิบดี ฯ พระชุมภอร เมืองตรี นา ๕๐๐๐ ขึ้นอินปัญญาซ้าย
    ปลัด นา ๑๐๐ เมืองขึ้นเมืองตรี นา คนละ ๘๐๐

    ออกพระศรีสุรินทฤาไชย เมืองเพชบุรี ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
    ออกพระสุรบดิน ฯ พระไชยนาถ ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
    ออกเมืองอินทบุรีย เมืองอินท ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
    ออกเมืองพรหมบุรีย เมืองพรหม ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
    ออกพระญี่สารสงคราม พระสิงคบุรีย ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
    ออกพระนครพราหมณ พระลบบุรีย ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
    ออกพระพิชัยรณรงค พระสรบุรีย ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
    ออกพระพิไชยสุนทร เมืองอุไทยธานี ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
    ออกพระศรีสิทธิกัน เมืองมโนรมย
    ออกพระวิเสศไชยชาญ เมืองอ่างทอง ขึ้นประแดงษารภาษขวา
    ออกพระสรรคบุรี เมืองสรรคบุรี ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
    ออกพระพิไชยภักดี ฯ เมืองการบุรีย ขึ้นประแดงเสนาฏซ้าย
    ออกเมืองพลคบุรีย เมืองไทรโยค ขึ้นประแดงอินปัญญาซ้าย
    ออกพระสุนทรสงคราม ฯ พระสุพันทบุรีย ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
    ออกพระศรีสวัดบุรีย เมืองศรีสวัด ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
    ออกพระสุนธรบุรีย เมืองนครไชยศรี
    ออกพระอมรินทฤาไชย เมืองราชบุรีย ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
    ออกพระวิเสศฤาไชย เมืองฉะเชิงเทรา ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
    ออกพระพิบูรสงคราม เมืองนครนายก ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
    ออกพระอุไทยธานี เมืองปราจีนบุรีย ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย
    พระนนทบุรีศรีมหาสมุท เจ้าเมืองนนทบุรีย ขึ้นประแดงอินทปัญญาซ้าย
    พระสมุทสาคร เมืองท่าจีน
    พระสมุทสงคราม เมืองแม่กลอง
    พระสมุทประการ เมืองปากน้ำ
    พระธนบุรีย เมืองชน ขึ้นประแดงอินปัญญาซ้าย
    พระปรานบุรีย เมืองปรานบุรีย ขึ้นประแดงอินปัญญาซ้าย
    ออกพระพิไชยภักดี ฯ เมืองกุย ขึ้นประแดงอินปัญญาซ้าย
    ออกพระราชภักดี ฯ เมืองระยอง ขึ้นประแดงอินปัญญาซ้าย
    เมืองบางละมุง พระศรีสมอรัตน ฯ
    เมืองท่าโรง พระนครไชยสินนรินท เมืองบัวชุม พระจันบูรรราชภักดิ์
    เมืองกำพราน เมืองไชยบาดาน


    เมืองจัตวาขึ้นมหาดไท กระลาโหม กรมท่า ถือศักดินา ดังนี้

    เจ้าเมือง นา ๓๐๐๐
    ปลัดนา ๖๐๐
    ยุกระบัด นา ๕๐๐
    แพ่ง จ่าเมือง สุพมาตรา สัศดี แขวง นาคนละ ๔๐๐
    รอง ฯลฯ นาคนละ ๓๐๐
     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจ้าพญาศรีธรรมราช ครองหัวเมืองนอกชั้นเอก เป็นใครบ้าง

    ตัดมาเฉพาะสมัยใกล้เคียงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนะคะ

    ๓๐. พระยาพลเทพราช

    ตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “…..เมื่อศักราช ๒๐๓๙ ปี โปรดให้พระยาพลเทพราชมาเป็นเจ้าเมือง เกนให้ตกแต่งทำกำแพงกำชับไว้ แล้วเข้าไปกรุงไปทางเมืองสระ….” ผู้แต่งตั้งให้พระยาพลเทพราชมาครองนครฯ น่าจะเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พระเชษฐาธิราช) ในสมัยของพระยาพลเทพราชนี้ ได้ก่อทำกำแพงเมืองให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

    ๓๑ ขุนอินทรเทพ

    สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ( พระเทียรราชา ) เป็นผู้แต่งตั้งขุนอินทรเทพให้มาเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ใน พ.ศ.๒๐๒๗ ขุนอินทรเทพเป็นอดีตทหารเอกของพระไชยราชาธิราช และขุนอินทรเทพนี้เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเป็นอย่างมาก เพราะครั้งหนึ่งเคยร่วมกับพระมหาธรรมราชา ช่วยกันกำจัดขุนวรวงษาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ แล้วถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

    คุณสงบ ส่งเมือง ได้สันนิษฐานว่าเนื่องจากระยะเวลาที่หัวเมืองมลายูได้เปลี่ยนไปนับ ถือศาสนาอิสลามหลายเมืองแล้ว ทำให้มีศาสนาต่างกัน (แสดงว่าเดิมหัวเมืองมลายูเคยนับถือศาสนาพุทธมาก่อน) และมีชาวยุโรปมาทำการค้าขายทางหัวเมืองแถบนั้นมากขึ้นด้วย ซึ่งต่อมาทางอยุธยาก็ได้อนุญาตให้ชาวยุโรปเหล่านั้น เข้ามาทำการค้าขายในราชอาณาจักรได้ ซึ่งใน พ.ศ.๒๑๕๗ ได้อนุญาตให้บริษัทฮอลันดาเข้ามาตั้งโกดังสินค้าที่เมืองปัตตานี และในปี พ.ศ.๒๑๖๔ ได้อนุญาตให้บริษัทฮอลันดาเข้ามาทำการค้าขาย ติดต่อกับเมืองนครศรีธรรมราชได้

    หลังจากที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้ขึ้นครองกรุงศรีอยุทธยาแล้ว ก็ได้แต่งตั้งให้ขุนอินทรเทพเป็น เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช มาครองนครศรีธรรมราชองค์ต่อมา และได้พระราชทานลูกของพระสนมเอก ๑ องค์มาเป็นภรรยา เจียดทอง ๑ คู่ พานทอง ๑ คู่ เต้าน้ำทอง ๑ คู่ กระบี่ กั้นหยัน เสลี่ยงงา เสลี่ยงกลีบบัว และเครื่องสูงพร้อม นับว่าขุนอินทรเทพ ได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเป็นอย่างสูง และได้ให้เกียรติอย่างสูงด้วย แสดงว่าราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ได้มีความสัมพันธ์กับสุโขทัยและศรีอยุธยาตลอดมา

    ๓๒. พระยาศรีธรรมราชเดช

    ตามตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ตอนหนึ่งกล่าวว่า “…. เมื่อศักราช ๒๑๔๑ โปรดให้พระยาศรีธรรมราชเดชมาเป็นเจ้าเมือง อุชงคนะให้ลักปหม่าเป็นแม่ทัพเรือมารบ เสียขุนคำแหงปลัดณรอบปากพระญา ข้าศึกรุกเข้ามาถึงตีนกำแพงฝ่ายอุดร พระยาศรีธรรมราชออกไปรบข้าศึกหนีไป ……”


    ผู้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้พระยาศรีธรรมราชเดชมาเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช น่าจะเป็นสมเด็จพระนเรศวรมาราช ในสมัยพระยาศรีธรรมราชเดชนี้มีโจรสลัดได้ซ่องสุมผู้คนขึ้นจนเป็นกองทัพเรือที่เมืองตุยงทานา ซึ่งอยู่ระหว่างเนกรีเซมบิลันกับรัฐมะละกา แล้วไปตั้งกองทัพเรือขึ้นที่เกาะแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ทางใต้คือเกาะสิงคโปร์ จากนั้นได้เคลื่อนกองทัพเรือมาตีนครศรีธรรมราช แม่ทัพเรือชื่อลักปหม่า โดยคุมทัพเรือเข้ามาทางคลองปากพญา ทหารเอกของในขณะนั้นคือขุนคำแหง คุมทหารออกไปรบป้องกันเมือง ขุนคำแหงสู้กับโจรสลัดจนเสียชีวิตพร้อมกับปลัดเมือง ทัพของนครฯต้องแตกกระจาย ข้าศึกเข้ามาทางคลองปากพญาเรื่อยๆจนมาขึ้นบกที่บ้านท่าโพธิ์ และรุกเข้าไปถึงบ้านท่าวัง แล้วยกทัพเข้าประชิดกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ เจ้าเมืองคือพระยาศรีธรรมราชเดชได้ระดมพลต่อสู้ จนสามารถขับไล่ข้าศึกให้แตกหนีออกไปได้ นครศรีธรรมราชจึงพ้นจากอำนาจของโจรสลัดได้อีกวาระหนึ่ง

    ๓๓. พระรามราชท้ายน้ำ

    ตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “…เมื่อศักราช ๒๑๔๔ปี โปรดพระรามราชท้ายน้ำมาเป็นเจ้าเมืองเอาขุนเยาวราชมาเป็นปลัด รู้ข่าวศึกอุชงคนะ จึงพระยาให้ขุดฝ่ายบูรรพ์ แต่ลำน้ำท่าวังมาออกลำน้ำฝ่ายทักษิณ ….เมื่อศักราช ๒๑๗๑ ปศึกอุชงคนะยกมาพระญาก็ให้ตั้งค่ายฝ่ายอุดรแลแต่งเรือคุม เรือพายพลประมาณ ๕๐,๐๐๐เศษ รบกันเจ็ดวันเจ็ดคืน ขุนปัญจาออกหักทัพกลางคืน ศึกแตกลงเรือ ศึกเผาวัดท่าโพธิ์เสียพระยาแก้วผู้หลานก่อพระเจดีย์ บรรจุธาตุไว้ในพระธรรมศาลา ……”

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้แต่งตั้งให้พระรามราชท้ายน้ำ มาครองเมืองนครศรธรรมราช ในปี พ.ศ.๒๑๔๔ โดยมีขุนเยาวราชเป็นปลัดเมือง เหตุการณ์ในสมัยของพระรามราชท้ายน้ำคือ เมื่อพระรามราชท้ายน้ำครองเมืองแล้ว ก็รู้ข่าวมาว่าพวกโจรสลัดจะมาตีนครศรีธรรมราช อีก จึงได้เตรียมตัวรับศึกในครั้งนี้ โดยให้ขุดคู (สนามเพลาะ) ทางด้านทิศ ตะวันออก โดยตั้งต้นจากลำน้ำท่าวังผ่านทุ่งหยามไปทางทิศเหนือ ไปบรรจบกับคู้เมือง ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นคลองปากนคร ที่บ้านโคกข่อยยังปรากฎอยู่ทุกวันนี้ เมื่อพวกโจรสลัดรู้ว่ามีการเปลี่ยนผู้ครองเมืองและคงคิดว่าเจ้าเมืองนครฯองค์นี้อ่อนแอ ซึ่งพวกโจรพวกนี้ได้ถูกตีแตกไปแล้วตั้งแต่สมัยของพระยาศรีธรรมราชเดชเจ้านครองค์ก่อน และได้คิดมาตีนครฯอีกโดยได้ซ่องสุมพวกโจรและมาตีนครในปี ๒๑๗๑ อีก การรบในครั้งนี้ รบกันเป็นสามารถ

    โดยรบกันถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน โดยเจ้าเมืองคุมพลออกโจมตีข้าศึก และได้บีบกองทัพข้าศึกให้เป็นรูปปลายหอก ถอยร่นไปทางทิศเหนือเพื่อให้ไปจนมุมที่คลองท่าซัก แล้วได้ส่งทหารอีกกองหนึ่งออกไปทางประตูชุมพล(เดี๋ยวนี้คือที่ตั้งของวิมานไนท์คลับ) ไปต่อสู้กับข้าศึกโดยไปตั้งอยู่บริเวณวัดนาวงเดี๋ยวนี้ เพื่อกันมิให้ข้าศึกยกพลขึ้นณจุดนั้น ทางฝ่ายข้าศึกได้ทำการต่อสู้จนสุดความสามารถ และได้ยกพลขึ้นบกที่ใกล้วัดท่าโพธ์ทางด้านตะวันออกของวัดแล้วรุกคืบหน้าเข้าสู่ตัวเมืองทางด้านทิศตะวันตก ส่วนทหารข้าศึกที่ยกพลขึ้นที่ปากน้ำปากนคร ก็ถูกตีกระหนาบจากทหารของนครฯที่มาแอบซุ่มคอยอยู่ และทางฝ่ายนครก็สั่งพลทุกกองเข้าทำการปะทะกับข้าศึกอย่างไม่คิดถึงชีวิต โดยมีพระรามราชท้ายน้ำเจ้าผู้ครองนครฯ

    เป็นแม่ทัพนำทัพออกรบเอง ศึกครั้งนี้เป็นศึกที่ใหญ่มากครั้งหนึ่งของชาวนคร ทั้งข้าศึกและทัพชาวนครเองก็ผลัดกันรุกผลัดกันรับ จนพอถึงวันที่เจ็ดตอนพลบค่ำพระรามราชท้ายน้ำ ซึ่งอยู่ในวัยชราแล้วเป็นลมล้มลงเสียชีวิต ทำให้ทหารของนครฯเกิดเสียขวัญ ข้าศึกเกิดฮึกเหิมรุกไปจนถึงวัดท่าโพธิ์ แล้วทำการเผาวัดท่าโพธิ์รวมทั้งชุมชนแห่งนั้นจนเสียหายยับเยิน ส่วนขุนปัญจาซึ่งเป็นทหารเอกของนครฯ ได้พยายามรวบรวมผู้คนและนำทหารซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ ยกกำลังมาโจมตีข้าศึกอีกแนวหนึ่งจนพวกสลัดแตกพ่าย หนีลงเรือไปทางเดิมที่มา เป็นอันว่านครฯได้พ้นจากเงื้อมมือของโจรสลัดได้อีกวาระหนึ่ง

    ต่อมาพระยาแก้วซึ่งเป็นหลานของพระรามราชท้ายน้ำ ได้นำอัฐิของท่านมาบรรจุไว้ในวิหารธรรมศาลาวัดพระมหาธาตุ และในปี พ.ศ.๒๕๐๓ ทางเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช ได้ให้เกียรติแก่ท่าน โดยได้ตั้งชื่อถนนสายหนึ่งว่า “ถนนพระรามราชท้ายน้ำ“อยู่แถวหน้าวัดมุมป้อมพุ่งตรงไปทางทิศตะวันออกสู่ทุ่งหยาม เป็นอนุสรณ์ทางวีรกรรมของท่านตลอดไป

    ๓๔. พระยาแก้ว

    เจ้าพระยานครศรีธรรมราชองค์นี้น่าจะได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมหรือไม่ก็สมเด็จพระเชษฐาธิราชเพราะเป็นสมัยที่ต่อเนื่องกัน ปีที่ขึ้นครองนครฯก็ไม่ปรากฎแน่ชัดว่าขึ้นครองในปีใด หลังจากได้ขึ้นครองนครศรีธรรมราชแล้ว ทางกรุงศรีอยุธยาได้มีสารเรียกตัวท่านไปถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่เมืองหลวง ท่านไม่ยอมไปทำพิธีดังกล่าว ทางกรุงศรีอยุธยาถือท่านเป็นกบฎ เลยส่งออกญาเสนาภิมุขออกมาปราบปรามตัวท่าน พอออกญาเสนาภิมุขไปถึงนครศรีธรรมราชแล้ว เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ก็ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาทันที เพราะไม่มีใครคอยขัดขวางนอกจากออกญาเสนาภิมุขคนเดียวเท่านั้น เมื่อเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ขึ้นครองราชย์แล้ว ทรงพระนามว่าพระเจ้าปราสาททอง

    เมื่อออกญาเสนาภิมุขไปถึงนครฯแล้วประกาศให้ทุกคนออกมาสามิภักดิ์ ถ้าใครไม่ยอมอ่อนน้อมจะฆ่าเสียทุกคน และได้ฆ่าผู้คนที่ไม่ยอมสามิภักดิ์เสียเป็นจำนวนมาก ส่วนพระยาแก้วเจ้าเมืองนครฯยอมอ่อนน้อมและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษา เมื่อออกญาเสนาภิมุขครองนครฯอยู่นั้นได้ยกทัพไปปราบกบฎปัตตานี แต่เสียทีต้องกลับเสียชีวิตที่นครฯ

    ต่อมาออกขุนเสนาภิมุขซึ่งเป็นลูกของออกญาเสนาภิมุขซึ่งมีอายุเพียง ๑๘ ปีได้รวบรวมสมัครพรรคพวกคิดการใหญ่โดยตั้งตนเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเสียเอง ซึ่งไม่มีใครกล้าขัดขวางเพราะมีอำนาจอยู่ในมือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช(พระยาแก้ว) จึงได้ยุยงส่งเสริมให้ออกขุนศรีวี(เป็นทหารเอกคนหนึ่งของญี่ปุ่น) ให้ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองนครฯเสียเองแทนออกญาเสนาภิมุข ด้วยอ้างว่าออกญาเสนาภิมุขยังเป็นเด็กมากเกินไปมาเป็นเจ้าเมืองไมีมีใครยำเกรงและเชื่อฟัง ออกขุนศรีวีเห็นด้วย เลยทำให้เกิดการรบพุ่งกันขึ้นในระหว่างหมู่ชาวญี่ปุ่นด้วยกันเอง แต่ในที่สุดออกขุนศรีวีรู้ตัวว่าตนถูกหลอกและเป็นเหตุให้ชาวญี่ปุ่นฆ่ากันเอง โดยการยุยงส่งเสริมจากเจ้าเมืองคนเก่าคือพระยาแก้ว จึงจับพระยาแก้วฆ่าเสียและมีการรบพุ่งกันต่อไป ในที่สุดออกขุนศรีวีก็ตายในที่รบ

    ๓๕. ออกญาเสนาภิมุข (ยามาด้านามากาซา )

    ออกญาเสนาภิมุขได้รับการแต่งตั้งจากพระอาทิตยวงศ์ให้ไปครองนครศรีธรรมราช เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ตามความต้องการของเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เป็นการกำจัดอำนาจของออกญาเสนาภิมุขซึ่งมีอำนาจมากอยู่ในกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น

    ด้วยในปี พ.ศ.๒๑๗๓ ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระอาทิตยวงศ์ครองกรุงศรีอยุธยา แต่พระอาทิตยวงศ์ทรงเป็นกษัตริย์ผู้เยาว์ และประกอบกับเกิดการแตกแยกกันในกรุงศรีอยุธยา ทำให้ชาวฮอลันดาที่มาทำการค้าขายที่เมืองปัตตานีเกิดความไม่พอใจ จึงยุยงส่งเสริมให้ชาวเมืองปัตตานีเป็นกบฎและยกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายใต้ นครศรีธรรมราชจึงถือโอกาสร่วมเป็นกบฎไปด้วย

    ฝ่ายเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์(เดิมเป็นพระยาศรีวรวงษ์)ต้องการที่จะเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา แต่เกรงอำนาจของออกญาเสนาภิมุข(ยามาด้านามากาซา) ซึ่งเป็นเจ้ากรมทหารญี่ปุ่น เป็นผู้มีอำนาจมากในกรุงศรีอยุธาในสมัยนั้นจะทำการขัดขวาง จึงได้ออกอุบายโดยการมีราชสารไปเรียกตัวเจ้าพระยานครศรีธรรมราช(พระยาแก้ว) ให้เข้ามาราชสำนักเพื่อทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาต่อกรุงศรีอยุธยา ผลคือเป็นไปตามความคาดหมายของ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เจ้าเมืองนครฯไม่สามารถเข้าไปยังเมืองหลวงได้ โดยอ้างว่ามีปัญหายุ่งยากภายใน เพราะกำลังจะมีศึกฮอลันดารบติดพันกันอยู่ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จึงได้โอกาสในการกำจัดออกญาเสนาภิมุขให้พ้นไปเสียจากกรุงศรีอยุธยา จึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องส่งคนไปปราบปรามนครศรีธรรมราชในฐานะเป็นกบฎ และมองไม่เห็นว่ามีใครที่จะเหมาะสมมากไปกว่าออกญาเสนาภิมุขในขณะนั้น จึงได้แต่งตั้งออกญาเสนาภิมุขให้ไปจับตัวเจ้าพระยานครศรีธรรมราช และให้ออกญาเสนาภิมุขเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชแทน โดยพระบรมราชโองการของพระอาทิตยวงศ์

    ออกญาเสนาภิมุขเองเองเมื่อโดนเข้าไม้นี้ย่อมมีความพอใจเป็นอย่างยิ่ง จึงไปนครศรีธรรมราชตามบัญชาของกรุงศรีอยุธยา เมื่อออกญาเสนาภิมุขไปนครศรีธรรมราชแล้ว เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ก็จับพระอาทิตยวงศ์กษัตริย์ผู้เยาว์ทำการสำเร็จโทษเสียโดยไม่มีใครกล้าขัดขวาง และขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาแทนทรงพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

    ฝ่ายออกญาเสนาภิมุขเมื่อไปถึงนครศรีธรรมราชแล้ว ได้สั่งประหารชีวิตข้าราชการที่ไม่ยอมสามิภักดิ์เสียหลานคนจนในที่สุดไม่มีใครกล้าขัดขืน ส่วนพระยาแก้วเจ้าเมืองนครฯคนเดิมยอมสามิภักดิ์จึงไม่ถูกฆ่าและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาราชการเมือง แล้วออกญาเสนาภิมุขจึงได้ส่งใบบอกไปยังกรุงศรีอยุธยาว่าทำการเรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงได้ปูนบำเหน็จความดีโดยได้พระราชทานสตรีรูปงามนางหนึ่งชื่อจันทรามาเป็นภรรยาของออกญาเสนาภิมุข

    เมื่อเสร็จศึกภายในนครฯแล้วออกญาเสนาภิมุขจึงออกไปปราบกบฎที่ปัตตานีต่อไป แต่เสียทีที่ถูกยิงเข้าที่ขาต้องกลับมารักษาแผลที่นครฯ ถูกพระยามะริดซึ่งไปช่วยราชการอยู่ที่นครฯใช้ผ้าพันแผลอาบยาพิษพันปิดแผลให้ ทำให้ออกญาเสนาภิมุขต้องถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ.๒๑๗๓นั่นเอง เป็นอันว่าแผนการของพระเจ้าปราสาททองซึ่งได้คาดคะเนไว้ล่วงหน้าได้อย่างถูกตองได้สำเร็จผลลงได้อย่างสมบูรณ์

    ๓๖. ออกขุนเสนาภิมุข ( โอนิน เป็นลูกของออกญาเสนาภิมุข )

    หลังจากที่ออกญาเสนาภิมุข(ยามาดานามากาซา) ได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ.๒๑๓๗ ลูกชายของออกญาเสนาภิมุขคิดการใหญ่ยกตนเองขึ้นเป็นเจ้าเมืองนครฯ ด้วยเหตุว่ามีพรรคพวกมากโดยชาวนครฯไม่มีใครยอมรับ แต่ไม่มีใครกล้าทำอะไรออกขุนเสนาภิมุขได้ เมื่อยกตนขึ้นเป็นเจ้าเมืองแล้ว ออกขุนเสนาภิมุขจึงคิดจะฆ่าเจ้าเมืองคนเดิมที่เป็นที่ปรึกษาของพ่อ (คือพระยาแก้ว) โดยเชื่อว่าพระยาแก้วเป็นผู้วางแผนฆ่าพ่อของตน ฝ่ายพระยาแก้วรู้ทันจึงใช้เล่ห์เททุบายจนเป็นที่ไว้วางใจของออกขุนเสนาภิมุข แล้วยังยกลูกสาวของตนให้เป็นภรรยาของออกขุนเสนาภิมุขด้วย ทำให้เจ้าพระยานครคนเก่ากลับมีอำนาจในด้านกิจการบ้านเมืองขึ้นมาได้ดังเดิมอีก และได้ทำการยุยงส่งเสริมให้ชาวญี่ป่นรบกันเอง โดยยุยงให้ “ออกขุนศรีวี”ซึ่งเป็นทหารเอกคนหนึ่งของญี่ปุ่น ให้ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองนครฯแทนออกขุนเสนาภิมุข โดยอ้างว่าออกขุนเสนาภิมุขเป็นเด็กอ่อนอาวุโสด้วยมีอายุเพียง ๑๘ ปี คิดการอะไรย่อมไม่มีใครยอมรับและไม่มีใครเห็นด้วย ออกขุนศรีวีคล้อยตามเลยเกิดการแย่งตำแหน่งเจ้าเมืองในหมู่ชาวญี่ปุ่นด้วยกันเอง ชาวญี่ปุ่นเลยแบ่งเป็นสองพวกรบกันเองในหมู่ชาวญี่ปุ่นด้วยกัน แต่ในที่สุดออกขุนศรีวีรู้ตัวว่าถูกหลอกจึงได้จับเจ้าพระยานครฆ่าเสีย และออกขุนศรีวีก็ยังรบกับชาวญี่ปุ่นด้วยกันเองต่อไป จนตนเองถูกฆ่าตายในที่รบ ออกขุนเสนาภิมุขพยายามยกทัพขึ้นไปจับสมเด็จพระเจ้าปราสาททองที่กรุงศรีอยุธยา โดยถือว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาทททองเป็นกษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์อย่างไม่ถูกต้องตามราชประเพณี และได้ออกคำสั่งให้ทหารของนครฯไปร่วมรบกับกรุงศรีอยุธยาด้วย แต่ทางนครฯไม่เอาด้วยเพราะเห็นว่าแม้ออกขุนเสนาภิมุขเองก็เป็นเจ้าเมืองที่ไม่ถูกต้องตามราชประเพณด้วยเช่นกัน และทางฝ่ายอยุธยาเองก็เกรงว่าทหารชาวญี่ปุ่นที่กรุงศรีอยุธยาจะเข้าข้างออกขุนเสนาภิมุข จึงได้ทำการเข้ายึดหมู่บ้านชาวญี่ปุ่น จับตัวฆ่าเสียบ้าง ยึดเอาไว้เป็นตัวประกันบ้าง และได้ทำการขับไล่ชาวญี่ปุ่นออกไปจากประเทศไทย จนทำให้เกิดการรบพุ่งกันขึ้นอย่างรุนแรงและถึงขั้นแตกหัก และทางฝ่ายนครศรีธรรมราชเองเมื่อทราบข่าว่า เจ้าพระยานครศรีธรรมราชถูกญี่ปุ่นฆ่าตาย เลยเกิดความไม่พอใจต่อการกระทำของออกขุนเสนาภิมุขเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้เกิดการต่อสู้หนักยิ่งขึ้นระหว่างญี่ปุ่นกับชาวนครศรีธรรมราช แต่ชาวญี่ปุ่นมีความสามารถในการรบมากกว่าชาวนครฯ จึงทำให้ชาวนครฯสู้ไม่ได้ต้องอพยพหนีออกไปจากเมือง จนทำให้เมืองนครฯเกือบกลายเป็นเมืองร้าง ชาวญี่ปุ่นเห็นว่าไมมีประโยชน์อะไรอีกแล้วที่ต้องอาศัยอยู่ในเมืองนครฯอีกต่อไป จึงได้แยกตัวออกเป็นสองฝ่ายๆหนึ่งไปกัมพูชาและอีกฝ่ายหนึ่งไปกรุงศรีอยุธยา

    ฝ่านทหารชาวญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุธยาก็ไม่มีความยำเกรงต่อข้าราชการในกรุงศรีอยุธยาแต่อย่างใดอีกต่อไป สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงตัดสินใจโจมตีหมู่บ้านชาวญี่ปุ่นและได้จุดไฟเผาเสียจนราบคาบ เป็นเหตุให้ชาวญี่ปุ่นต้องอพยพไปจากกรุงศรีอยุธยาเสียเกือบหมดในครั้งนั้น และออกขุนเสนาภิมุขเองที่ยกตนขึ้นเป็นเจ้าเมืองก็หมดอำนาจลงในเวลาเพียงไม่กี่วัน และไม่แน่ใจว่าจะตายในที่รบหรือหนีออกไปจากประเทศไปได้หรือไม่


    คัดบางส่วนจาก ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ประวัติศาสตร์ในสายหมอก
     
  14. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ".....พระยาศรีไสยณรงค์ ไม่ได้ครองหัวเมืองชั้นเอกเหมือนพระยาชัยบูรณ์ แต่ได้ไปครองหัวเมืองชั้นโทคือเมืองตะนาวศรี ไม่รู้ว่าเรื่องความสำคัญของชั้นหัวเมืองจะทำให้พระยาศรีไสยณรงค์น้อยใจหรือเปล่านะคะ....."


    -เรื่องนี้น่าจะมีส่วนสำคัญอยู่ไม่น้อย วิสัยทหารหรือนักรบนอกจากจะอุทิศ

    เลือดเนื้อและชีวิต เพื่อชาติบ้านเมืองและเพื่อเจ้าเหนือหัวแล้ว ความต้องการ

    ในลาภ ยศ สรรเสริญ ก็เป็นสิ่งที่ควบคู่กัน จึงเป็นประเพณีที่จะต้องมีการปูนบำ


    เหน็จความดีความชอบกันโดยไม่ชักช้าเมื่อเสร็จศึกสงครามในแต่ละครั้งกัน

    ครับ

    -แต่สมเด็จพระนเรศวรผู้เป็นเจ้า ในครั้งกระโน้น พระองค์ท่านทรงรู้จักฝีมือและ

    นิสสัยใจคอของขุนพลคู่พระทัยของพระองค์ดี พระองค์ท่านจึงน่าจะทรงวาง

    ตำแหน่งของแต่ละคนไว้ในจุดยุทธศาสตร์ที่เกื้อกูลต่อการปฎิบัติในอนาคต พูด

    กันง่ายๆก็คือเพื่อแผนการศึกสงครามในภายหน้า ผมได้เคยอ่านข้อเขียนของ

    พี่ภาวิโตจำได้ว่า พี่ภาวิโตวิเคราะห์ไว้ว่า ยุทธศาสตร์ของชาติในสมัยสมเด็จ

    พระนเรศวรมหาราชเจ้านั้น คือการยึดครองพม่า ถึงได้เสด็จยกทัพใหญ่เพื่อไป

    ตีอังวะ (เผอิญพระองค์ท่านไปสิ้นพระชนม์เสียก่อน) และเมื่อยึดครองพม่าได้

    แล้ว พระองค์ท่านก็น่าจะสถาปนาเมืองมอญหรือประเทศมอญขึ้นมาใหม่ ด้วย

    พระราชประสงค์ที่หลายๆท่านคงจะคาดเดากันได้ เพราะฉะนั้นการที่พระองค์

    ท่านทรงวางตำแหน่งพระยาศรีไสยณรงค์ ไว้ที่เมืองตะนาวศรีจึงน่าจะเป็นสิ่งบ่ง

    บอกว่าเมืองตะนาวศรีนี้น่าจะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่เกื้อกูลต่อการสงคราม

    ในอนาคต พูดกันชัดๆพระองค์ท่านทรงวางหมากตัวขุนไว้บนกระดานนี้เรียบ

    ร้อยแล้วนั่นเอง (ความคิดเห็นส่วนตัวครับ )
     
  15. Fort_GORDON

    Fort_GORDON เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +488
    "...เพราะฉะนั้นการที่พระองค์

    ท่านทรงวางตำแหน่งพระยาศรีไสยณรงค์ ไว้ที่เมืองตะนาวศรีจึงน่าจะเป็นสิ่งบ่ง

    บอกว่าเมืองตะนาวศรีนี้น่าจะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่เกื้อกูลต่อการสงคราม

    ในอนาคต พูดกันชัดๆพระองค์ท่านทรงวางหมากตัวขุนไว้บนกระดานนี้เรียบ

    ร้อยแล้วนั่นเอง (ความคิดเห็นส่วนตัวครับ ) ..."



    -สาธุ หมากกระดานนี้ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว โมหะเข้าครอบงำทำให้นักรบผู้

    เกรียงไกรต้องมาสังเวยชีวิตด้วยอาญาศึกและอาญาแผ่นดินแทนที่จะได้มี

    โอกาสพลีชีพเพื่อชาติเยี่ยงวีรบุรุษ
     
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ท่านพี่จงรักภักดีเขียนไว้ดังนี้

    คุณ Fort_GORDON เขียนไว้ดังนี้
    ดวงวิญญาณของท่านพระยาศรีไสยณรงค์คงรับทราบถึงเป้าหมายของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว
    ที่วางท่านพระยา ณ ตำแหน่งนั้นแล้วเพราะอะไร ขอให้ดวงวิญญาณของท่านเจริญในธรรมสูงยิ่งๆขึ้นไปด้วยเถิด

    อีกอย่างหัวเมืองนครศรีธรรมราชขณะนั้น คือปี พ.ศ. 2137 นั้น ขุนอินทรเทพยังครองอยู่

    ขุนอินทรเทพนี้ในเบื้องต้นที่มาครองเมืองนครฯมีศักดิ์และศรีเกือบเทียบเท่าขุนพิเรนทรเทพที่ครองเมืองพิษณุโลกทีเดียว

    เพราะเหตุที่ร่วมกันปราบกบฏกรณีท้าวศรีสุดาจันทร์กับขุนวรวงศา มาด้วยกันนั่นเอง
     
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขุนอินทรเทพนี้ถูกยกขึ้นเป็นชั้นเจ้าด้วย ดังนั้นจึงได้รับพระราชทานลูกพระสนมเอกของพระมหาจักรพรรดิมาเป็นอัครชายา

    บุตรีอันเกิดจากท่านนี้มีสิทธิ์ที่จะถูกแต่งตั้งเป็นพระสนมแห่งกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาได้ด้วย

    อันจะทรงอยู่ในตำแหน่ง ท้าวอินทรเทวี จากราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช

    ถ้าคำนวณคร่าวๆดูแล้ว ขุนพิเรนทรเทพ พระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงอภิเษกกับพระราชธิดาของพระมหาจักรพรรดิ คือพระวิสุทธิกษัตรีย์ มีพระโอรสและพระธิดาด้วยกัน 3 พระองค์

    อันขุนอินทรเทพก็ได้รับพระราชทานพระธิดาอันเกิดจากพระสนมเอกของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็น่าจะมีพระโอรสและพระธิดาแห่งสายราชวงศ์ ศรีธรรมาโศกราช ที่มีพระชนม์รุ่นราวคราวเดียวกันกับ สมเด็จพระนเรศวร สมเด็จพระเอกาทศรถ

    ก็อาจจะมีพระธิดาสักองค์ของขุนอินทรเทพเข้ารับราชการฝ่ายในเป็นพระสนม อาจจะขององค์ใดองค์หนึ่งก็เป็นได้ (มองมุมวิเคราะห์เจาะลึก สักหน่อยนะคะ ^^)

    ตำแหน่งพระสนม
    ท้าวศรีสุดาจันทร์ จากราชวงศ์อู่ทอง
    ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ จากราชวงศ์พระร่วง
    ท้าวอินทรสุเรนทร์ จากราชวงศ์สุพรรณภูมิ
    ท้าวอินทรเทวี จากราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช

    ดังนั้น พระยาศรีไสยณรงค์จะไปรั้งตำแหน่งเจ้าเมืองนครฯก็คงจะต้องรอสักหน่อย แต่ก็แปลกเหมือนกันว่า ชั้นลูกของขุนอินทรเทพไม่ได้ครองเมืองต่อจากบิดา แต่เป็นพระยาศรีธรรมราชเดชแทน จากข้อความนี้

    ผู้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้พระยาศรีธรรมราชเดชมาเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช น่าจะเป็นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    พระราชบุตรของขุนอินทรเทพไปไหน หรือเข้ามารับราชการในกรุงศรีฯแบบขุนนางชั้นเจ้านาย ประมาณเป็นออกญาศรีธรรมาธิราชหรือเปล่า ส่วนพระธิดาของขุนอินทรเทพทรงเป็นพระสนม ซึ่งพระราชบุตรอันเกิดจากพระสนมในตำแหน่งท้าวอินทรเทวี ก็อาจจะใช้ชื่อว่า พระอินทรราชา ก็ได้นะคะ

    พระอินทรราชา (พระเจ้าทรงธรรม) ที่มีพระราชบิดาเป็นกษัตริย์สายราชวงศ์พระร่วงแต่ไม่มีใครทราบสายทางพระราชมารดา ดังนั้นพระองค์ท่านอาจจะมีสายพระโลหิตจากราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชจากทางพระราชมารดาก็ได้นะคะ อันนี้สันนิษฐานค่ะ ไม่มีข้อมูลสนับสนุน...ทางสายธาตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2009
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย

    หนังสือ : ลัทธิชาตินิยมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เทพเจ้าแห่งความรักชาติของคนไทย
    ผู้เขียน : เอื้อ บุษปะเกศ หงสกุล
    เนื้อหา : บทที่ 3 ผลงานของลัทธิชาตินิยมที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำมาใช้ ..หน้า 92


    ปราบกบฏเมืองตะนาวศรี

    [​IMG]

    กรมการเมืองกุยบุรีบอกมาว่า พระยาศรีไสยณรงค์ที่ให้ไปรั้งตำแหน่งพระยาเมืองตะนาวศรีเป็นกบฏ พระนเรศวรไม่ทรงเชื่อจึงมีตราให้หาตัวมาเฝ้า แต่พระยาศรีไสยณรงค์ไม่มา พระนเรศวรทรงพิโรธ ให้พระเอกาทศรถยกไปปราบ ถือพลสามหมื่นกับมีเมืองอื่นๆมาสมทบอีกหมื่นห้าพัน ยกไปทางด่านสิงขร

    พระยาตะนาวศรีรู้ว่าพระเอกาทศรถเสด็จมา ก็เกรงกลัวมาก นิ่งรักษาเมืองเฉยไว้ พระเอกาทศรถไปถึงก็ให้ล้อมเมืองไว้ห่าง 50 เส้น และส่งหนังสือเข้าไปเกลี้ยกล่อมชี้ผิดถูก และบอกให้ออกมาหาจะช่วยทูลขอโทษให้ แต่พระยาตะนาวศรีไม่เชื่อ คิดว่าถึงตายก็จะฝากชื่อไว้

    พระเอกาทศรถให้ทำบันไดร้อยบันได ปลายบันไดผูกพลุไฟพะเนียง พอตีสิบเอ็ดทุ่มก็จุดพลุสัญญาณสามครั้ง ทหารก็เอาบันไดพาดกำแพงจุดพลุไฟพะเนียง ทหารบนเชิงเทินออกยืนรบพุ่งก็ทนไฟพะเนียงมิได้ พากันทิ้งหน้าที่ ทหารกรุงก็ปีนเข้าเมืองได้ พอสว่างก็จับตัวพระยาตะนาวศรีได้ จึงบอกเข้ามายังกรุง พระนเรศวรให้ประหารชีวิตเสีย แล้วตั้งพระยาราชฤทธานนท์เป็นพระยาตะนาวศรีต่อไป

    พระยาราชฤทธานนท์คนนี้คือขุนพลที่เคยออกรบคู่กับพระยาศรีไสยณรงค์มาด้วยกันในครั้งการศึกสงครามยุทธหัตถี ตามเนื้อความที่กล่าวถึงพระยาทั้งสองดังนี้


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    บ้านเกิดเมืองนอน

    <CENTER></CENTER>[SIZE=+1]ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ พระราชอาณาจักรไทยนั่นเอง มีหัวเมืองขึ้นอยู่ ๔๗๔ หัวเมือง อันเป็นผลมาจากพระบรมบุรพกษัตริยาธิราช และบรรดาบรรพบุรุษของไทย ได้พลีเลือดเนื้อและชีวิต รวบรวมเอาไว้เป็นเวลาหลายชั่วชีวิตคน นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ จนพระราชอาณาจักรไทย แผ่ออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล เป็นชาติมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในสุวรรณภูมิและภูมิภาค อาเซียอาคเณย์ คู่เคียงกับชาติใหญ่อีกสองชาติ คือจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นใหญ่อยู่ในเอเซียตะวันออก และเอเซียใต้ พระราชอาณาจักรไทยในครั้งนั้น มีความยิ่งใหญ่เจริญรุ่งเรืองสมดังบทเพลง บ้านเกิดเมืองนอน ที่ว่า[/SIZE]






    <CENTER></CENTER><CENTER>[SIZE=+1]บ้านเกิดเมืองนอน[/SIZE]</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
    บ้านเมืองเรารุ่งเรืองพร้อมอยู่ หมู่เหล่า พวกเราล้วนพงศ์เผ่า ศิวิไลซ์


    เพราะฉะนั้นชวนกันยินดี เปรมปรีดิ์ดีใจเรียกตนว่า ไทย แดนดินผืนใหญ่มิใช่ทาสเขา

    ก่อนนี้มีเขตแดนนับว่ากว้างใหญ่ ได้ไว้พลีเลือดเนื้อแลกเอา

    รบ รบ รบ ไม่หวั่นใคร มอบความเป็นไทยให้พวกเรา
    แต่ครั้งนานกาลเก่า ชาติเราเขาเรียก ชาติไทย

    บ้านเมืองควรประเทืองไว้ดั่งแต่ก่อน แน่นอนเนื้อและเลือดพลีไป
    <DL><DD>
    เพราะฉะนั้นเราควรยินดีมีความภูมิใจ แดนดินถิ่นไทยรวบรวมไว้ได้แสนจะยากเข็ญ
    <DD>
    ยากแค้นเคยกู้แดนไว้อย่างบากบั่น ก่อนนั้นเคยแตกฉานซ่านเซ็น
    <DD>

    แม้กระนั้นยังร่วมใจ ช่วยกันรวมไทยให้ร่มเย็น บัดนี้ไทยดีเด่นร่มเย็นสมสุขเรื่อยมา
    <DD>


    <DD>
    อยู่กินบนแผ่นดินท้องถิ่นกว้างใหญ่ ชาติไทยนั้นเคยใหญ่ในบูรพา

    ทุกทุกเช้าเราดู ธงไทยใจจงปรีดา ว่าไทยอยู่มาด้วยความผาสุกถาวรสดใส


    <DD>


    <DD>
    บัดนี้ไทยเจริญวิสุทธิ์ผุดผ่อง พี่น้องจงแซ่ซ้องชาติไทย
    รักษาไว้ให้มั่นคง เทิดธงไตรรงค์ให้เด่นไกล ชาติเชื้อเรายิ่งใหญ่


    </DD></DL>

    ชาติไทย บ้านเกิดเมืองนอน


    <DL><DD>

    </DD></DL><DD>หมายเหตุ บันทึกเสียงขับร้องโดยนักร้องหญิง 4 คนของวงสุนทราภรณ์คือ ศรีสุดา รัชชตวรรณ, มาริษา อมาตยกุล, บุษยา รังสี และวรนุช อารีย์





    </DD>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2009
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    หลักฐานที่ได้จากจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ที่ได้จารึกไว้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้จารึกไว้ที่คอสอง เฉลียงพระระเบียงล้อมพระอุโบสถทั้งสี่ด้าน ได้เขียนภาพหัวเมืองขึ้นกรุงเทพมหานคร ๔๗๔ หัวเมือง แต่ปัจจุบัน ภาพดังกล่าวลบหมดแล้ว ยังเหลือแต่จารึกบอกชื่อหัวเมืองเหล่านั้น กับเจ้าเมืองบางเมืองอยู่ราวครึ่งหนึ่ง ตรวจได้ศิลาจารึก ๗๗ แผ่น ทำเนียบเมือง ๑๙๔ เมือง แบ่งออกตามทิศได้ดังนี้




    <CENTER>ทิศตะวันออก</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]




    </TD><TD>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>

    เมืองพระตะบอง เจ้าเมืองชื่อพระยาอภัยภูเบศร ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองตะโหนด เขมร เมืองพนมศก เขมร ขึ้นเมืองพระตะบอง

    เมืองนครเสียมราฐ เจ้าเมืองชื่อพระยานุภาพไตรภพสบสรรพยุทธฤทธิ ขึ้นเมืองพระตะบอง

    เมืองระสือ เขมร ขึ้นเมืองพระตะบอง สิ้นอาญาเขตต์เพียงนี้

    เมืองพุทไธสมัน เขมร ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองจงกน เขมร เจ้าเมืองชื่อพญาสุรินทภักดีศรีประภัยสุมล ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองพิมาย อยู่ทิศตะวันออกลำพิมูล เมืองประโคนไชย เมืองนางรอง อยู่หนตะวันออก ขึ้นนครราชเสมา

    เมืองปักธงไชย อยู่หนใต้นครราชเสมา เมืองพุทไธสงฆ์ อยู่หนเหนือนครราชเสมา ขึ้นนครราชเสมา

    เมืองชนบท เจ้าเมืองชื่อพญาจันตประเทศ ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองจตุรัศ อยู่ใต้ลำปะชี เมืองไชยภูมิ์ ขึ้นนครราชเสมา

    เมืองภูเขียว เจ้าเมืองชื่อพระไกรสีหนาท อยู่หนตะวันออก ลำปะชี ๒ เมือง ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองสังขะ เจ้าเมืองชื่อพญาสังขบุรีศรีนครอัจ ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองบุรีรำ หนตะวันออกนครราชเสมา ขึ้นนครราชเสมา

    เมืองสุวรรณภูมิ เจ้าเมืองชื่อพระรัตนวงษา ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองขอนแก่น เจ้าเมืองชื่อพระนคร ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองกาฬสินธุ์ เจ้าเมืองชื่อพญาไชยสุนทร ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองหนองหารน้อย เจ้าเมืองชื่อพระพิทักษ์เขตต์ขันธ์ ขึ้นกรมมหาดไทย

    เมืองเพ็ง อยู่ลำน้ำสายบาต ขึ้นเมืองกาฬสินธุ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...