ขอประวัติพุทธสาวก จิตตคหบดี หน่อยครับจะเอาไปทำงรายงาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย champsk127, 12 มกราคม 2008.

  1. champsk127

    champsk127 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอประวัติ จิตตคหบดี อย่างละเอียดมากกกๆนะครับ และก็หลักธรรม ของ จิตตคหบดี ด้วยนะครับ แบบละเอียดเรยนะครับ ผมต้องใช้เยอะๆๆเพื่อนำไปพิมใหม่อีกรอบนะครับ และต้องรายงานด้วย กรุณา ลงแบบละเอียดเรยนะครับ


    ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
     
  2. rux

    rux เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    308
    ค่าพลัง:
    +990
  3. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,212
    ค่าพลัง:
    +23,196
  4. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    <TABLE width=300 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG] จิตตคหบดี

    จิตตคหบดีเป็นชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะแคว้นมคธ วันที่ท่านเกิดมีปรากฎการณ์ประหลาด คือมีดอกไม้หลากสีตกลงทั้งเมือง ซึ่งเป็นนิมิตหมายแห่งความวิจิตรสวยงาม ท่านจึงได้นามว่า จิตตกุมาร แปรว่า กุมารผู้น่าพิศวงหรือกุมารผู้ก่อให้เกิดความวิจิตรสวยงาม
    บิดาของท่านเป็นเศรษฐี ท่านจึงได้เป็น เศรษฐีสืบต่อมาจากบิดา ในวงการพระพุทธศาสนาเรียกท่านว่า จิตตคหบดี ก่อนที่จะมานับถือพระพุทธศาสนาท่านมีโอกาสพบพระมหานามะ (หนึ่งในปัญจวัคคีย์) เห็นท่านสงบสำรวมน่าเลื่อมใสมาก จึงมีความศรัทธานิมนต์ท่านไปฉันภัตตาหารที่คฤหาสน์ของตน และได้สร้างที่พำนักแก่ท่านในสวนชื่อ อัมพาฏการาม นิมนต์ให้ท่านอยู่เป็นประจำ พระมหานามะได้แสดงธรรมให้จิตตคหบดีฟังอยู่เสมอ
    วันหนึ่งได้แสดงเรื่อง อายตนะ ๖ (สื่อสำหรับติดต่อโลกภายนอก ๖ ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) หลังจบธรรมเทศนา จิตตคหบดีได้บรรลุอนาคามิผล
    จิตตคหบดีเอาใจใส่พิจารณาธรรมอยู่เนือง ๆ จนแตกฉาน มีความสามารถในการอธิบายธรรมได้ดี ความสามารถของท่านในด้านนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา ท่านเคยโต้วาทะกับบุคคลสำคัญของศาสนาอื่น ๆ มาแล้วหลายท่าน เช่น นิครนถ์นาฏบุตร (ศาสดาของศาสนาเชน) และอเจลกนามกัสสปะ (นักบวชชีเปลือย)
    ท่านเป็นผู้มีใจบุญได้ถวายทานอย่างประณีตมโหฬารติดต่อกันครึ่งเดือนก็เคยมี เคยพาบริวารสองพันคนบรรทุกน้ำตาล น้ำผึ้งน้ำอ้อย เป็นต้น จำนวนมากถึง ๕๐๐ เล่มเกียน ไปถวายพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์
    ครั้งหนึ่งท่านป่วยหนัก เทวดามาปรากฏให้เห็นกล่าวกับท่านว่าคนมีบุญอย่างท่านนี้ แม้ปรารถนาราชสมบัติหลังตายแล้วก็ย่อมได้ ท่านตอบเทวดาว่าถึงราชสมบัติก็ไม่จีรัง เราไม่ต้องการ บรรดาลูกหลานที่นั่งเฝ้าไข้อยู่ นึกว่าท่านเพ้อจึงกล่าวเตือนสติ ท่านบอกบุตรหลานว่ามิได้เพ้อ เทวดามาบอกให้ปรารถนาราชสมบัติ ต่อท่านปฏิเสธยังมีสิ่งอื่นที่ดีกว่า น่าปรารถนากว่า เมื่อถูกถามว่าคืออะไร ท่านกล่าวว่าคือ ศรัทธาอันแน่วแน่ มั่นคงในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
    อัมพาฏการามนั้นเป็นวัดที่ท่านสร้างถวายพระมหานามะนิมนต์ให้ท่านอยู่ประจำ แต่พระเถระพักอยู่ชั่วเวลาหนึ่งก็จาริกไปยังที่อื่น พระเถระอื่น ๆ ก็แวะมาพักอยู่เสมอๆ ต่อมามีพระรูปหนึ่งนามว่า สุธรรมเถะ ยังเป็นปุถุุชนมาพำนักอยู่เป็นประจำเป็นเวลานานจนกระทั่งนึกว่าตัวท่านเป็นสมภารวัด พระสุธรรมเป็นปุถุชน จิตตคหบดีเป็นอริยบุคคลระดับอนาคามี ถือเพศฆราวาสก็ยังแสดงความเคารพกราบไหว้พระภิกษุปุถุชน เพราะถือเพศบรรพชิตเป็น "ธงชัยแห่งพระอรหันต์" อุปถัมภ์บำรุงท่านเป็นอย่างดี
    วันหนึ่งพระอัครสาวกทั้งสอง คือ พระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะเดินทางผ่านมา ท่านจิตตคหบดีนิมนต์ให้พระอัครสาวกทั้งสองพำนักอยู่ที่อัมพาฏการาม พร้อมนิมนต์เพื่อฉันอาหารที่บ้านท่านในวันรุ่งขึ้น แล้วก็ไปนิมนต์พระสุธรรมไปฉันด้วย
    พระสุธรรมถือตัวว่าเป็นเจ้าอาวาสเห็นจิตตคหบดีให้ความสำคัญแก่พระอัครสาวกมากกว่าตนถึงกับนิมนต์ไปฉันภายหลัง จึงไม่ยอมรับนิมนต์ แม้ท่านจะอ้อนวอนอย่างไรก็ไม่ยอมรับ
    ตกเย็น ท่านจิตตคหบดีกำลังสั่งให้เตรียมภัตตาหาร พระสุธรรมก็เดินไปในคฤหาสถ์อย่างคนคุ้นเคย ดูนั้นดูนี่แล้วก็เปรยว่า "อาหารที่ท่านเตรียมถวายพระพรุ่งนี้ดีทุกอย่าง แต่ขาดอยู่อย่างเดียวที่ไม่ได้เตรียมถวาย"
    จิตตคหบดี "ขาดอะไร พระคุณเจ้า"
    พระสุธรรม "ขนมแดกงา" คำว่าขนมแดกงาเป็นคำที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับตระกูลของท่านคหบดี ท่านคหบดีก็ฉุนว่าเอาแรง ๆ เพื่อให้สำนึก พระสุธรรมไม่สำนึกแต่โกรธตอบ หนีจากวัดไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องจึงตำหนิแรง ๆ และมีพุทธบัญชาให้กลับไปขอโทษจิตตตคหบดี ท่านกลับไปขอโทษแต่คหบดีไม่ยอมยกโทษให้จึงกลับมาเฝ้าพระพุทธองค์อีก

    พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง พระสุธรรมบรรลุพระอรหันต์พระองค์จึงให้ภิกษุรูปหนึ่งเป็นอนุทูตพาพระสุธรรมไปขอขมาจิตตคหบดีใหม่ คราวนี้ท่านคหบดียกโทษให้
    ท่านจิตตคหบดีมีปฏิภาณเฉียบแหลมและมีความสามารถในการแสดงธรรมมาก จึงได้รับการยกย่องในเอตทัคคะว่าเป็นเลิศกว่าผู้อื่นในทางเป็นธรรมกถึก
    เมื่อศึกษาประวัติของจิตตคหบดีแล้วให้ความคิดได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นของชาวบ้านทุกคน คฤหัสถ์ก็ควรศึกษาพระพุทธพจน์ให้เข้าใจแจ่มแจ้ง จนสามารถสื่อสารแสดงให้คนอื่นเข้าใจได้ สามารถปกป้องพระพุทธศาสนาได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=tborder id=post913805 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 10:06 PM
    วันที่สมัคร: Nov 2006
    ข้อความ: 146 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 203 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 881 ครั้ง ใน 130 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 117 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_913805 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->http://www.dhammathai.org/sawok/sawok08.php
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    จิตตคหบดี
    ประวัติและผลงาน
    จิตตะ เกิดในตระกูลพ่อค้า ในเมืองมัจฉิกาสัณฑะ แคว้นมคธ ตอนที่จิตตะเกิดเป็นเวลาพอดีกับฤดูดอกไม้บาน บิดามารดาจึงตั้งชื่อว่า จิตตะ เมื่อเติบโตถึงวัยรับการศึกษา บิดามารดาได้ส่งให้ไปศึกษาเรียนรู้เรื่องการค้าขาย เมื่อโตเป็นหนุ่มสมควรแก่การมีครอบครัว บิดามารดาได้จัดให้แต่งงานกับหญิงสาวที่มีฐานะเท่าเทียมกัน และมอบทรัพย์สมบัติให้ปกครอง
    เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าได้ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนาในแคว้นและเมืองต่างๆโดยให้แยกย้ายกันไปแห่งละ 1 องค์ พระมหานามะซึ่งเป็นองค์หนึ่งในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ ได้เดินทางไปยังเมืองมัจฉิกาสัณฑะ จิตตคหบดีได้เห็นพระมหานามะซึ่งจาริกมายังเมืองนี้ ออกบิณฑบาตในเมืองด้วยอาการกิริยาสงบ สำรวม เรียบร้อย งดงามน่าเลื่อมใส ก็เกิดศรัทธาได้ออกไปนิมนต์ท่านเข้าไปในบ้านของตน แล้วถวายอาหาร เมื่อพระมหานามะฉันอาหารเสร็จแล้วท่านได้แสดงธรรมอนุโมทนาว่าด้วยเรื่องการสำรวมกาย วาจา ใจ
    จิตตคหบดีได้ฟังธรรมนั้นแล้วก็พิจารณาตาม จนรู้และเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งที่เรียกว่า ได้ดวงตาเห็นธรรม จากนั้นได้ประกาศตนต่อหน้าพระมหานามะเป็นอุบาสก ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคงตลอดชีวิต หลังจากนั้น จิตตคหบดี ได้ถวายสวนอัมพาฏกวันของตนให้เป็นวัดที่อาศัยแก่พระมหานามะ ด้วยการหลั่งน้ำลงในมือของพระมหานามะ พอจิตตคหบดี หลั่งน้ำเสร็จได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งเป็นเครื่องหมายบอกให้รู้ว่าพระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่น ณ ที่แห่งนี้แล้ว
    เมื่อพระมหานามะไปประกาศในเมืองอื่นๆจิตตคหบดีได้มอบหมายให้พระสุธรรมซึ่งเป็นพระภิกษุในท้องถิ่นนั้นเป็นผู้ดูแลวัด ต่อมาพระสุธรรมได้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดนี้
    ต่อมาไม่นาน พระมหาโมคคัลลานะและพระสารีบุตร ได้ยินข่าวความมีศรัทธาของจิตตคหบดีจึงเดินทางมาที่เมืองมัจฉิกาสัณฑะพร้อมด้วยพระสงฆ์จำนวนวหนึ่ง จิตตคหบดีได้ทราบข่าวก็พาบริวารพวกพ้องไปคอยต้อนรับอยู่ระหว่างทาง เมื่อพระอัครสาวกทั้ง 2 และพระสงฆ์มาถึง จิตตคหบดีก็นิมนต์ให้ไปพักที่วัดที่ตนได้สร้างถวายแล้วขอฟังธรรมจากพระสารีบุตร
    พระสารีบุตรแสดงธรรมเพียงสั้นๆเนื่องจากเดินทางมาเหน็ดเหนื่อย จิตตคหบดีหลังจากฟังธรรมจบก็ได้สำเร็จธรรมขั้นที่ 2 ที่เรียกว่า อนาคามี
    ในวันรุ่งขึ้น จิตตคหบดีได้นิมนต์พระอัครสาวกทั้ง 2 พร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้งหมดเข้าไปฉันอาหารในบ้านของตน และได้ไปนิมนต์พระสุธรรม เจ้าอาวาส แต่พระสุธรรมไม่พอใจเพราะนิมนต์ตนภายหลัง จึงปฏิเสธด้วยวาจา ไม่ยอมรับนิมนต์
    รุ่งขึ้น ขณะที่จิตตคหบดี กำลังตระเตรียมอาหารถวายพระอยู่ที่บ้านของตน พระสุธรรมเจ้าอาวาส ก็ไปที่บ้านของจิตตคหบดี ได้พูดเสียดสีกล่าวคำหยาบกระทบกระเทียบจิตตคหบดีจึงถูกจิตตคหบดีตอบโต้ว่า พระสุธรรมเหมือนอีกา(หมายถึง ปากกล้าหน้าด้าน) พระสุธรรมโกรธ ละทิ้งวัด ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ
    พระพุทธเจ้าทรงทราบแล้วกลับทรงตำหนิพระสุธรรมว่าพูดไม่เหมาะสม ทรงบังคับให้เดินทางไปขอโทษจิตตคหบดี เมื่อจิตตคหบดียอมยกโทษให้แล้ว พระสุธรรมได้กลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอีก พระพุทธเจ้าทรงเทศนาให้ฟังว่า ไม่ควรถือตนว่าเป็นเจ้าอาวาส ไม่ควรอิจฉาริษยา พระสุธรรมได้ฟังแล้วเกิดความสลดใจ ภายหลังได้ตั้งใจบำเพ็ญธรรมก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    หลังจากทำบุญถวายอาหารพระสงฆ์สาวกแล้ว จิตตคหบดีรำพึงว่าตนเองได้ฟังธรรมจากพระมหานามะได้สำเร็จโสดาบัน และเมื่อได้ฟังธรรมจากพระสารีบุตรก็ได้สำเร็จอนาคามี แต่ยังไม่เคยได้เฝ้าพระพุทธเจ้าเลย เมื่อดำริเช่นนั้นแล้ว จิตตคหบดี จึงเตรียมการวางแผนเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่เมืองสาวัตถี โดยสั่งให้พวกคนงานและบริวารจัดหาเสบียงอาหาร บรรทุกใส่เกวียนจำนวนมาก แล้วออกประกาศให้พระสงฆ์และชาวเมืองได้ทราบทั่วกันว่า ผู้ใดประสงค์จะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยก็ให้เตรียมตัว ปรากฏว่ามีพระสงฆ์และชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะติดตามไปด้วยจำนวนมาก
    ชาวเมืองซึ่งรู้ข่าวการมาของจิตตคหบดี ส่วนหนึ่งได้มาคอยดู อีกส่วนหนึ่งได้เตรียมการต้อนรับด้วยการโปรยดอกไม้ตามเส้นทางที่จิตตคหบดีเดินทางผ่าน เมื่อจิตตคหบดีเดินทางมาถึง ชาวเมืองก็โปรยดอกไม้ต้อนรับตลอดทาง
    จิตตคหบดี ได้เข้าไปที่วัดพระเชตวัน ซึ่งขณะนั้นพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์จำนวนมากคอยต้อนรับอยู่ จิตตคหบดีได้เข้าไปกราบพระบาทพระพุทธเจ้า พร้อมกับจับข้อพระบาทไว้มั่นด้วยความตื้นตันใจหาที่สุดมิได้
    ในวันทำบุญเลี้ยงพระ ชาวเมืองสาวัตถีต่างก็นำข้าวปลาอาหารมาสมทบทำบุญด้วยเป็นจำนวนมาก จนถึงเวลาจิตตคหบดีจะเดินทางกลับ ข้าวของสำหรับทำบุญก็ยังเหลืออีกมาก
    จิตตคหบดี กราบทูลเรื่องนี้กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงรับสั่งให้พระอานนท์หาสถานที่เก็บของ คือ โรงครัว(กัปปิยกุฏิ) พระพุทธเจ้าทรงอนุณาตให้พระสงฆ์มีโรงครัวในวัดได้ตั้งแต่คราวนั้นเป็นต้นมา
    จิตตคหบดี เป็นผู้มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี ชอบทำบุญ จึงเป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป ไม่ว่าไปที่ไหนประชาชนก็ได้ออกมาต้อนรับด้วยของใช้ของกิน จึงนับเป็นอุบาสกผู้มีบุญมาก นอกจากนี้ท่านยังพูดชี้แจงในเรื่องหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแก้ใครๆก็เป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้ง ด้วยเหตุดังกล่าว จิตตคหบดีจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้เก่งในการอธิบายธรรมยิ่งกว่าอุบาสกคนอื่นๆ
    คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง
    1. มีสติปัญญา สามารถเข้าใจธรรมที่พระมหานามะและพระสารีบุตรแสดงให้ฟังจนบรรลุธรรมขั้นโสดาบันและอนาคามีตามลำดับ
    2. มั่นคงในพระรัตนตรัย เมื่อประกาศตนเป็นอุบาสก ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคงตลอดชีวิตแล้ว ได้ถวายสวนอัมพาฏกวันให้เป็นวัดและเป็นที่ทำบุญของคนในท้องถิ่นนั้น
    3. มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี ชอบทำบุญ ใครๆจึงรัก ไปที่ไหนมีแต่คยให้การต้อนรับด้วยของกินของใช้
    4. เก่งในการพูดชี้แจงธรรม สามารถอธิบายหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้ยอดเยี่ยมในด้านดัง
    <!-- / message --><!-- sig -->03-จิตตคฤหบดี
    เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก
    จิตตคฤหบดี เกิดในสกุลเศรษฐี ที่เมืองมัจฉิกสัณฑะ แคว้นมคธ เมื่อบิดาล่วงลับไป
    แล้ว เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีในเมืองนั้นแทนบิดา

    สร้างวัดอัมพาตการาม
    สมัยนั้นพระมหานามเถระผู้เป็นพระภิกษุองค์หนึ่งในกลุ่มพระปัญจวัคคีย์ ได้ไปที่
    เมืองมัจฉกิสัณฑะ จิตตคฤหบดี เห็นปฏิปทาอิริยาบถของท่านสงบเสงี่ยมเรียบร้อยจึงเกิด
    ศรัทธาเลื่อมใสรับบาตรของพระเถระแล้วนิมนต์มายังเรือนของตน ถวายภัตตาหารให้ท่านฉัน
    เสร็จแล้ว นิมนต์ท่านไปยังสวนของตนชื่ออัมพาตกะ ได้ถวายสวนนั้นสร้างกุฏีถวายเป็น
    สังฆารามชื่อว่า “อัมพาตการาม” นิมนต์ให้ท่านอยู่จำพรรษา ณ ที่นั้น และอาราธนาให้ท่าน
    ไปรับอาหารบิณฑบาตที่เรือนของตนทุกวัน พระเถระได้แสดงธรรมโปรด ตามสมควรแก่
    อุปนิสัยของท่านจิตตคฤหบดี และในไม่ช้าท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอนาคามี
    เนื่องจากท่านจิตตคฤหบดี มิได้เฝ้ากราบถวายบังคมพระบรมศาสดาเป็นเวลานานแล้ว
    จึงคิดที่จะไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ได้ป่าวประกาศแก่ชนชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะว่า “ผู้
    ประสงค์จะร่วมเดินทางไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากับเรา ก็จงเตรียมเภสัชทั้งหลาย มีน้ำมัน
    น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และของเคี้ยวของฉันเป็นต้น ให้พร้อมแล้วร่วมไปด้วยกัน” ได้มีประชาชน
    เป็นจำนวนมากประมาณ ๒๐๐๐ คน ร่วมเดินทางไปกับท่านจิตตคฤหบดี


    เชี่ยวชาญในการแสดงธรรม
    จิตตคฤหบดี เมื่อเดินทางมาถึงพระอารามแล้วพาบริษัทบริวารที่ติดตามมาด้วยเข้าไป
    เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ถวายทานแด่พระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์ตลอดระยะเวลาครึ่ง
    เดือน วัตถุทานทั้งหลายที่นำมาจากบ้านเรือนของตนและของประชาชนที่ติดตามมาก็หมดไป
    เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ยังคงเหลืออีกมากกว่าครึ่ง ก่อนที่ท่านจิตตคฤหบดีพร้อมคณะ จะกราบ
    ทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกลับสู่บ้านเมืองของตนได้น้อมถวายวัตถุทานเหล่านั้นทั้งหมดแก่
    พระภิกษุสงฆ์เพื่อประโยชน์แก่การบริโภคใช้สอย
    จิตตคฤหบดี เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ถึงพร้อมด้วยศีลและ
    โภคะ มีอัธยาศัยเอื้อเฟื้อแก่คนทั่ว ๆ ไป สงเคราะห์บริษัทด้วยวัตถุและธรรมะ เป็นผู้ฉลาดใน
    การแสดงธรรม
    ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์ยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้ง
    หลาย ในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึง
    84000.org...::

    จาก
    http://www.84000.org/one/3/03.html
     
  6. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    ปฐมกามภูสูตร
    ใจความสำคัญของปฐมกามภูสูตร
    ท่านพระกามภู กล่าวกับจิตตคหบดี ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า
    “ เนลงฺโค เสตปจฺฉาโท เอกาโร
    วตฺตตี รโถ


    อนีฆํ ปสฺส อายนฺตํ ฉินฺนโสตํ อพนฺธนนฺติ ฯ ”<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    แปลความว่า
    ธงจงดูรถ ซึ่งมีส่วนประกอบอันไม่มีโทษ<O:p></O:p>
    มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์
    แล่นไป ถึงที่หมาย ตัดกระแส ไม่มีเครื่องผูก
    อธิบายความว่า

    ๑. คำว่า รถ ได้แก่ ร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เมื่อยังไม่บรรลุมรรคผล จำเป็นต้องเสวยความสุขและทุกข์ปะปนกัน ส่วนมากจะมีทุกข์มากกว่า เพราะอกุศลมูลเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ เมื่อละได้แล้วจึงจะเชื่อว่าพ้นทุกข์ได้
    ๒. คำว่า มีส่วนประกอบอันไม่มีโทษ ได้แก่ ศีล<O:p></O:p>
    ๓. คำว่า มีหลังคาขาว ได้แก่ วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลส
    มี ๕ อย่าง คือ (๑) ตทังควิมุตติ พ้นชั่วคราว (๒) วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยการข่มหรือสะกดไว้ (๓) สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยการตัดขาด (๔) ปฏิปัส
    สัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ (๕) นิสสรณวิมุตติ พ้นด้วยการออกไป ข้อ ๑-๒ เป็นโลกิยวิมุตติ ข้อ ๓-๔-๕ เป็นโลกุตตรวิมุตติ
    ๔. คำว่า มีเพลาเดียว ได้แก่ สติ คือความระลึกได้ นึกได้ ความไม่เผลอ การคุมใจไว้กับกิจ หรือคุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้ สตินั้นมีอยู่ในธรรมหลายหัวข้อ เช่น ในข้อ ๑ ของธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง , ในข้อ ๓ ของพละ ๕ , ในข้อ ๑ ของโพชฌงค์ ๗ ,
    ในข้อ ๖ ของสัทธรรม ๗ และในข้อ ๙ ของนาถกรณธรรม ๑๐
    ๕. คำว่า แล่นไป ได้แก่ การก้าวไป และ การถอยกลับ เมื่อพูดถึงรถจะต้องมีลักษณะ เดินหน้า และ ถอยหลังได้ จึงจะถือว่ารถอยู่ในสภาพพร้อมขับ มนุษย์ก็ต้องพร้อมที่จะปฏิบัติธรรมสูงๆ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่นรักษาศีล ๕ ได้ ก็ขยับขึ้นไปรักษาศีล ๘ ศีล ๑๐ เป็นต้น แม้การบรรลุฌาน ผู้บรรลุก็สามารถที่จะเข้าฌาณชั้นสูงแล้วย้อนกลับมาสู่ฌาณชั้นต่ำแล้วกลับขึ้นไปสู่ฌาณชั้นสูงได้ คือก้าวไปข้างหน้าและถอยหลังได้
    ๖. คำว่า ที่หมาย ได้แก่ พระอรหันต์<O:p></O:p>
    ๗. คำว่า กระแส ได้แก่ ตัณหา คือตัณหา ๓ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
    ๘. คำว่า ไม่มีทุกข์ ไม่มีเครื่องผูก ได้แก่ พระขีณาสพ
    พระพุทธองค์ตรัสชวนให้ดูรถที่มีหลังคาขาว มีอุปกรณ์สมบูรณ์ครบถ้วน มีล้อ (เพลา) เดียว แต่แล่นไปถึงที่หมายได้ โดยปราศจากอุปสรรคทั้งปวง ทรงเปรียบเทียบร่างกายของมนุษย์เหมือนรถยนต์ มนุษย์นั้นจะต้องเป็นคนมีสติด้วย ไม่ใช่คนวิกลจริต จึงจะสามารถรักษาศีล ปฏิบัติธรรม ไปสู่ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง คือตัดตัณหาได้ บรรลุพระอรหัตตผล เป็นพระขีณาสพ เป็นผู้ไม่มีทุกข์ ไม่มีเครื่องผูก
    จิตตคหบดี กล่าวว่า กระผมรู้เนื้อความแห่งพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอย่างย่อนี้ โดยพิสดารแล้ว
    พระกามภู กล่าวว่า คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งลงในพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้งนี้ได้

    (พระสูตรนี้ มาในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ หน้า ๓๕๙ )
     

แชร์หน้านี้

Loading...