การ “ตัดกรรม การตัดเวร” คืออะไร?

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย Dharaya, 6 มกราคม 2021.

  1. Dharaya

    Dharaya ศรัทธาอันประณีต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +51
    lhlVca.jpg
    การ ตัดกรรม คือ การหยุดทำความชั่วหยุดทำบาป ส่วนการตัดเวร คือ การหยุดการพยาบาทอาฆาตจองเวรซึ่งกันและกัน คือไม่แก้แค้นซึ่งกัน และกันรู้จักคำว่าให้อภัยซึ่งกันและกัน และผู้ที่ทำผิดก็ให้รู้จักคำว่าขอโทษ ผู้ที่ถูกขอโทษก็รู้จักคำว่าให้อภัย อันนี้เป็นอุบายตัดกรรมตัดเวร

    พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าใครทำกรรมใดไว้ ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอนหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรรมใดใครก่อไว้แล้วในเมื่อใจเป็นผู้จงใจทำลงไปแล้วเป็นกรรมอันเป็นบาป ภายหลังจึงมานึกได้และไม่ต้องการผลของบาป มันก็หลีกเลี่ยงปฏิเสธไม่ได้เพราะใจเป็นผู้สั่งให้กาย วาจา ทำลงไป พูดลงไป
    โดยคติความเชื่อ “พิธี ตัดกรรม” หรือ “การแก้กรรม” คือการชำระล้างกรรมเก่าๆ ที่แต่ละคนเคยทำไว้ในชาติก่อนๆ เพื่อชาตินี้จะได้มีชีวิตที่ดีขึ้น มีสุขภาพที่ดีขึ้น มีหน้าที่การงานที่ดีขึ้น ความรักราบรื่นและอื่นๆ เพราะจะไม่มีกรรมเก่ามารบกวนอีกต่อไป

    “พิธีตัดกรรม” เป็นประเพณีนิยมของชาวมอญรามัญ ชาวพม่า เมื่อครั้งอดีตกาลและได้สืบทอดกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน ชาวพม่าเชื่อว่ายังมีสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือกว่านี้อีก สิ่งนั้นคือ “อดีตกรรม” เชื่อในเรื่องอดีตกรรมที่ตายตัว และโชคชะตาที่อาจปรับเปลี่ยนได้ด้วยการสวดมนต์ และการประกอบพิธีกรรม จึงต้องมีบทสวดต่างๆ ไว้เพื่อป้องกันภยันตราย ประกอบพิธีกรรมขึ้นมาเพื่อการสะเดาะเคราะห์กับองค์พระเจดีย์ และพระพุทธรูป สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เหมาะกับบุคคลนั้นๆ อย่างเช่นที่ มหาเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาก โดยเชื่อกันว่าการร่วมบูชาแม่ยักษ์จะสามารถช่วยในการตัดกรรมหรือศัตรูได้ เป็นต้น

    การสะเดาะเคราะห์ หรือ “ยะดะยา-เฉ่” เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการขจัดความกลัวอันเกิดขึ้นโดยทั่วไปกับมนุษย์ และเพื่อใช้แก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต มักมีความเกี่ยวเนื่องกับโชคชะตา การดูดวงชะตา ซึ่งชาวพม่าส่วนมากยังมักต้องพึ่งพาคำทำนายของหมอดูดวงชะตาอยู่เป็นประจำ พร้อมกับคำแนะนำสำหรับการสะเดาะเคราะห์ของแต่ละคนด้วย

    วิธีการสะเดาะเคราะห์มีหลากหลายรูปแบบ เช่น ปล่อยนกปล่อยปลา เลี้ยงอาหารสัตว์ มอบสิ่งของให้ผู้อื่น กินผลไม้บางชนิด ทิ้งขยะให้พ้นจากบ้าน การถวายสังฆทาน และถวายฉัตรต่อพระเจดีย์ ในบรรดาคำแนะนำเพื่อการสะเดาะเคราะห์นั้น การถวายฉัตรต่อองค์พระเจดีย์ ดูจะเป็นข้อปฏิบัติที่กระทำกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะหากพบกับปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ ก็ตาม ชาวพม่ามักถือว่าการสะเดาะเคราะห์ด้วยวิธีดังกล่าวนั้นเป็นบุญกิริยาที่ประเสริฐสุด เชื่อว่าหากมีวาสนาได้ถวายพระฉัตรแด่องค์พระเจดีย์ ชีวิตก็จะมีแต่ความร่มเย็นและประสบแต่ความสำเร็จ


    แต่ไม่ว่าจะเป็นชาวพม่าหรือชาวไทยที่ยังมีความเชื่อเรื่องบุญ-กรรม อยู่ เราก็มักจะเห็นพิธีกรรมความเชื่อเหล่านี้หลงเหลืออยู่ในวิถีชีวิตของชาวบ้านให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจะเรียกพิธีกรรมเหล่านี้แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น พิธีสวดถอนวิบากกรรม สวดแก่บ่วงกรรม สวดปลดกรรม สวดบังสุกุลเป็น-บังสุกุลตาย
     
  2. แสง สี เสียง

    แสง สี เสียง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2018
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +3

แชร์หน้านี้

Loading...