การเยียวยาเด็กน้อยในตัว Inner Child

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย Katheryn, 18 พฤศจิกายน 2019.

  1. Katheryn

    Katheryn สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2019
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    pexels-photo-346796.jpg
    เด็กๆ ทุกคนสมควรได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับความปลอดภัย รู้สึกถึงความมั่นคง และได้รับการปกป้อง

    เด็กๆ ทุกคนสมควรได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับความปลอดภัย รู้สึกถึงความมั่นคง และได้รับการปกป้อง แต่ไม่ใช่เด็กทุกคนจะได้รับสิ่งเหล่านี้

    ในการเติบโตขึ้นมานั้น ผู้ปกครองและสมาชิกในครอบครัวมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้กับเด็ก แต่ไม่ใช่ผู้ปกครองทุกคนที่จะยอมรับความรับผิดชอบนี้ หรือตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือมีความสามารถในการเติมเต็มบทบาทความรับผิดชอบนี้

    ความปลอดภัยไม่ได้แค่หมายถึงการปกป้องเด็กๆ จากอันตรายทางร่างกาย ให้อาหารและสิ่งจำเป็นอื่นๆ แต่ความปลอดภัยนั้นรวมไปถึงการให้ความสนับสนุนด้านอารมณ์ จิตใจ และจิตวิญญาณอย่างสอดคล้องเฉกเช่นมนุษย์ทั่วไป

    จะเกิดอะไรขึ้นหากเราไม่ได้รับความรู้สึกของความปลอดภัยในวัยเด็ก? จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อความรู้สึกถึงการได้รับอันตรายนั้นเกิดขึ้นอยู่ร่ำไปและเกิดขึ้นอย่างยาวนาน คำตอบก็คือ จะเกิดบาดแผลภายในจิตใจ บาดแผลที่เจ็บปวดนี้ได้ถูกกดทับไว้อย่างไม่รู้ตัวในวัยผู้ใหญ่ แต่ผลกระทบของมันช่างลึกซึ้งและแผ่ขยายอย่างกว้างไกล

    จุดประสงค์ของบทความนี้ก็เพื่อให้คุณได้มีพื้นที่เพื่อหยุดครุ่นคิด ถ้าคุณมีความรู้สึกอยากเยียวยาเด็กน้อยในตัว จงครุ่นคิดถึงวัยเด็กของคุณ วันเวลาในช่วงแรกของชีวิต คุณรู้สึกเช่นไรเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก คุณรู้สึกปลอดภัยไหม? คุณรู้สึกว่าตนเองมีความผูกพันในครอบครัวหรือเปล่า? คุณได้รับอนุญาตให้เป็นตัวของตัวเองไหม? ตอนนี้คุณมีความสัมพันธ์อย่างไรกับเด็กน้อยในตัวคุณ? นี่เป็นคำถามที่สำคัญอย่างที่สุดที่จะต้องถูกถาม

    ทำไมเราถึงได้ยืนกรานให้คุณถามคำถามเหล่านี้และสำรวจเรื่องราวเหล่านี้ เหตุผลก็คือการเยียวยาเด็กน้อยในตัวเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวดและลึกซึ้งที่สุดในบรรดาการเยียวยาตนเองที่คุณจะสามารถทำได้ พฤติกรรมของเรา ความเกลียดชัง อาการทางประสาทในปัจจุบันสามารถรักษาได้ด้วยการสำรวจและสื่อสารกับเด็กน้อยในตัวเรา

    pexels-photo-1322611.jpg
    เด็กน้อยในตัวคืออะไรกันนะ

    เด็กน้อยในตัวคือส่วนหนึ่งของจิตใจที่ยังคงความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา มีความคิดสร้างสรรค์ ความดีงาม และสนใจในชีวิต เด็กน้อยในตัวคือเด็กที่ใช้ชีวิตอยู่ในตัวคุณ อยู่ในจิตใจของคุณ การที่เราเชื่อมต่อกับส่วนที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของเราเช่นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เมื่อเราเชื่อมต่อกับเด็กน้อยในตัว เราจะรู้สึกตื่นเต้น มีพละกำลัง และได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิต แต่ถ้าเราไม่ได้เชื่อมโยงกับสิ่งนี้เราจะรู้สึกเฉื่อยชา เบื่อ ไม่มีความสุข และรู้สึกว่างเปล่า

    แล้วความรู้สึกปลอดภัยล่ะ หมายถึงอะไร

    ความรู้สึกปลอดภัยไม่ใช่แค่เรื่องของกายภาพ มันรวมไปถึงอารมณ์ จิตใจและจิตวิญญาณ เช่น เราจะรู้สึกปลอดภัยอย่างแท้จริงเมื่ออยู่ในครอบครัวของเรา, เมื่อเราได้รับการเคารพในสิทธิของเราทั้งทางด้านกายภาพและจิตใจ, เมื่อเราได้รับการยอมรับในตัวตนที่แท้จริงของเรา, เมื่อเรารู้สึกใกล้ชิดและได้รับความรักจากสมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะจากพ่อแม่ของเรา นอกจากนี้เรายังสมควรได้รับการอนญาตให้เติบโตและเปลี่ยนแปลง และได้รับการดูแลทางด้านกายภาพอย่างครบถ้วน เช่น อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัยและเพื่อนบ้านที่ปลอดภัย

    pexels-photo-208087.jpg
    10 หนทางที่ทำให้เรารู้สึกไม่ปลอดภัยในวัยเด็ก

    ในความเป็นจริงนั้นชิวิตนั้นไม่ได้เป็นดั่งอุดมคติ ครอบครัวที่เราเกิดมาไม่ได้เหมาะสมกับเราสักเท่าไหร่ ในการเติบโตขึ้นมา อาจมีหลายอย่างที่ทำให้เรารู้สึกไม่ปลอดภัย ก่อนที่จะคุยกันเรื่องนี้ ขอออกตัวก่อนว่าเราไม่ได้กล่าวโทษพ่อแม่หรือคนที่ดูแลเรา เราต้องตระหนักว่าพ่อและแม่ของเราได้ทำทุกอย่างอย่างดีที่สุดแล้วตามระดับของข้อมูล การศึกษา การเติบโตทางอารมณ์และแนวคิดตามที่พวกเขามี การกล่าวโทษหรือผูกใจเจ็บยิ่งจะทำให้เด็กน้อยในตัวเราเจ็บปวดยิ่งขึ้น ดังนั้นจงมีสติและรู้จักลิมิตของตัวเองเมื่อเริ่มเยียวยาในกระบวนการนี้

    นี่คือสิ่งทั่วไปที่ทำให้เรารู้สึกไม่ปลอดภัย คุณว่าข้อไหนมันตรงกับคุณบ้าง?

    • คุณถูกสอนมาว่าการแสดงออกความคิดเห็นเป็นสิ่งที่ไม่สมควร
    • คุณถูกทำโทษเมื่อพูดแสดงความคิดเห็นหรือยืนกรานในสิ่งที่แตกต่างออกไป
    • คุณถูกระงับจากการเล่นหรือทำอะไรสนุกๆ
    • คุณไม่ได้รับอนุญาตให้ทำอะไรแบบฉุกละหุก
    • คุณไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงอารมณ์ที่รุนแรง เช่น โกรธ หรือความสุข
    • คุณถูกพ่อแม่หรือสมาชิกของครอบครัวทำให้คุณรู้สึกละอาย
    • คุณถูกตำหนิ หรือกระทำผิดโดยวาจาเป็นประจำ
    • คุณถูกทำโทษทางกายภาพ เช่น การตี หรือต่อย
    • คุณถูกทำให้รู้สึกว่าความสุขและการดำรงอยู่ของพ่อแม่เป็นหน้าที่ของคุณ
    • คุณไม่ได้รับการแสดงความรักทางร่างกาย เช่น การกอด การจูบ
    mother-daughter-love-sunset-51953.jpg
    ประเภทของการถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก

    ลองมาจำแนกถึงสิ่งที่ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัยและไม่ได้รับความรักในวัยเด็ก ในกรณีที่คุณได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างไม่ดี นี่คือการถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก 3 ประการที่คุณอาจเคยประสบมา

    1. การถูกทอดทิ้งทางอารมณ์
    พ่อแม่หรือผู้ปกครองของคุณไม่ได้แสดงความสนใจในความต้องการด้านอารมณ์ เช่น ความรัก การสนับสนุน การปกป้อง การแนะนำ พวกเขาไม่ได้ใส่ใจหรือกลับวิจารณ์ถึงการแสดงออกทางอารมณ์ของคุณอย่างรุนแรง ผลจากการกระทำเหล่านี้ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้

    • คุณให้คุณค่าในตัวเองต่ำ และการเคารพตัวเองต่ำ
    • คุณมองข้ามความต้องการทางอารมณ์ของตัวเอง
    • คุณเรียนรู้ที่จะซ่อน หลีกเลี่ยง เก็บกดอารมณ์ เพราะมันเกี่ยวข้องกับการถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก
    • คุณเริ่มมีการเจ็บป่วยทางจิตหรือทางร่างกายที่เชื่อมโยงกับการขาดความสามารถในการฟัง การยอมรับ หรือจัดการกับอารมณ์ของคุณ เช่น เกิดการเก็บกดทางอารมณ์
    2. การถูกทอดทิ้งทางด้านจิตใจ

    การถูกทอดทิ้งแบบนี้เกิดขึ้นจากการที่พ่อแม่และผู้ปกครองไม่ได้รับฟัง ยอมรับ และโอบอุ้มคุณในแบบที่คุณเป็น เมื่อคุณเติบโตขึ้น คุณก็จะเริ่มมีอาการเหล่านี้

    • คุณมีปัญหาเรื่องการเคารพตนเอง โดยมีเหตุผลมาจากการโดนทำร้าย เช่น ล้อเลียน กดขี่ ความคาดหวังที่สูงเกินไป โดนมองข้ามทอดทิ้ง โดนปฏิเสธ หรือโดนทำโทษเป็นประจำ
    • คุณมีอารมณ์โกรธที่ฝังรากลึก โดยมีรากฐานมาจากความเจ็บปวดในวัยเด็กที่ไม่ได้รับการแก้ไข และการที่คุณไม่สามารถรักตนเองได้
    • คุณมีปัญหาเรื่องยาเสพติดหรือความผิดปกติทางด้านอารมณ์ เพื่อทำให้ตนเองได้รับความสบายใจและความปลอดภัยในชีวิตแบบผิดๆ
    • คุณเริ่มมีความเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ
    • คุณมีปัญหาในการดำรงความสัมพันธ์ที่ดีและเปี่ยมไปด้วยการเคารพซึ่งกันและกัน
    3. การถูกทอดทิ้งทางกายภาพ

    ความปลอดภัยทางร่างกายและการได้รับการดูแลถือเป็นเนื้อแท้ของความสัมพันธ์ที่เปี่ยมไปด้วยความรัก เราสามารถมองเห็นสิ่งเหล่านี้ได้จากธรรมชาติ เช่น พ่อแม่ไก่ที่ดูแลลูกน้อยของตนด้วยอาหาร ที่พัก และการปกป้องดูแล แต่เมื่อสิ่งเหล่านี้ถูกพรากไป ก็อาจทำให้มีผลเหล่านี้ตามมา

    • มีการเคารพตัวเองต่ำจนทำให้เกิดการทอดทิ้งทางกายภาพหรือการทำร้ายตัวเอง เช่น การกินที่ผิดปกติ เช่น โรคอะนอเร็กเซีย โรคอ้วน การทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพอยู่เรื่อยๆ การทำร้ายตนเอง
    • มีพฤติกรรมมองหาความปลอดภัย เช่น มีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ OCD หรือมีพฤติกรรมชอบความเสี่ยงที่รุนแรง เช่น การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน ชอบกิจกรรมท้าความตาย
    • เสพยาเสพติด ติดเหล้า ความรุนแรง อาหาร
    • มีปัญหาทางเพศหรือชอบสำส่อนทางเพศ ส่วนมากเกิดจากโดนกระทำทางเพศมาก่อน
    ให้เวลาตัวเองหายใจสักนิด ตั้งสติหลังจากอ่านลิสต์เหล่านี้ คุณอาจจะสัมผัสได้ถึงอารมณ์ที่รุนแรง ขอให้คุณใช้เวลาอย่างช้าๆ และจงอ่อนโยนกับตัวเอง

    ขณะที่ปัญหาของเราบางอย่างหรือหลายๆ อย่างมีรากฐานมาจากการถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก การผูกใจเจ็บหรือการกล่าวโทษก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นมา คนเราเป็นเหยื่อของคนที่เป็นเหยื่อมาก่อน หมายถึง เหตุผลที่พ่อแม่และผู้ปกครองของเรามีพฤติกรรมแบบที่พวกเขาแสดงออกมา ก็อาจจะมาจากการเลี้ยงดูที่ถูกทอดทิ้งมาก่อน และพ่อแม่ของพวกเขาก็เผชิญกับบาดแผลในใจส่งต่อกันมา

    pexels-photo-1683975.jpg
    25 สัญญาณที่แสดงว่าคุณมีเด็กน้อยในตัวที่บาดเจ็บ

    ให้ความสนใจต่อสัญญาณเหล่านี้ให้ดี มันจะทำให้คุณเรียนรู้ถึงเด็กน้อยในตัวที่บาดเจ็บของคุณ และระดับที่คุณรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยต่อโลกใบนี้ คุณตอบว่า “ใช่” ต่อสัญญาณเหล่านี้มากเท่าไหร่ ก็จงใส่ใจต่อการเยียวยาเด็กน้อยในตัวมากเท่านั้น

    • ในส่วนลึกที่สุดในใจของฉัน ฉันรู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติ
    • ฉันมีความวิตกกังวลอย่างมากเมื่อไตร่ตรองถึงการเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ
    • ฉันชอบเอาใจผู้อื่น และไม่มีตัวตนที่ชัดเจน
    • ฉันชอบต่อต้าน ฉันรู้สึกมีชีวิตชีวาเมื่อขัดแย้งกับผู้อื่น
    • ฉันมีแนวโน้มบ้าหอบฟางและไม่ชอบสูญเสียมันไป
    • ฉันรู้สึกผิดที่ยืนหยัดเพื่อตัวเอง
    • ฉันรู้สึกขาดในฐานะผู้ชายหรือผู้หญิง
    • ฉันมีแรงผลักให้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จในระดับสูงกว่าปกติ
    • ฉันคิดว่าตัวเองเป็นคนบาปและกลัวการตกนรก
    • ฉันวิจารณ์ตัวเองอยู่เสมอว่าตัวเองบกพร่อง
    • ฉันเป็นคนแข็งและชอบความสมบูรณ์แบบ
    • ฉันมีปัญหาในการเริ่มลงมือทำและทำให้สำเร็จ
    • ฉันละอายในการแสดงออกถึงอารมณ์ที่รุนแรง เช่น ความเศร้า หรือความโกรธ
    • ฉันไม่ค่อยโกรธ แต่ถ้าฉันโกรธทุกอย่างจะพังพินาศ
    • ฉันมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่ฉันไม่ได้ต้องการมันจริงๆ
    • ฉันละอายเกี่ยวกับการทำงานของร่างกายฉัน
    • ฉันใช้เวลาดูภาพโป๊นานเกินไป
    • ฉันไม่เชื่อใคร รวมถึงตัวฉันเอง
    • ฉันเสพติด หรือเคยเสพติดบางอย่าง
    • ฉันเลี่ยงการปะทะทุกรูปแบบ
    • ฉันกลัวคนและชอบเลี่ยงพวกเขา
    • ฉันรู้สึกถึงความรับผิดชอบต่อผู้อื่นมากกว่าต่อตนเอง
    • ฉันไม่เคยสนิทกับพ่อหรือแม่ของตนเอง
    • ความกลัวที่ลึกที่สุดคือกลัวการถูกทอดทิ้งและฉันจะทำทุกอย่างเพื่อให้ความสัมพันธ์อยู่รอด
    • ฉันพูดคำว่า “ไม่” ลำบากจริงๆ
    ถ้าคุณตอบว่า “ใช่” มากกว่าสิบครั้ง การเยียวยาเด็กน้อยในตัวควรเป็นสิ่งแรกๆ ที่คุณจะต้องทำ

    ถ้าคุณตอบว่า “ใช่” มากกว่าห้าครั้ง คุณควรพิจารณากลับมาเชื่อมโยงกับเด็กน้อยในตัวอีกครั้ง

    pexels-photo-1166473.jpg
    เราจะสนับสนุนให้เด็กน้อยในตัวรู้สึกปลอดภัยได้อย่างไร

    พวกเราทุกคนมีเด็กน้อยในตัว คุณคุยกับเขาหรือเชื่อมต่อกับเขาครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่? คุณใช้เวลาในการจูนเข้าภายในจิตใจและฟังเสียงความต้องการของคุณบ่อยแค่ไหน? คุณสร้างพื้นที่เพื่อเล่นและสนุกกับชีวิตเป็นประจำหรือเปล่า?

    ในฐานะมนุษย์ เรามีหลายด้านและมีหลายตัวตน ลองคิดดูสิ คุณที่กำลังอ่านบทความนี้ช่างแตกต่างกับคุณที่ล้อเล่นกับเพื่อนร่วมงานใช่หรือไม่ คุณยามดึกดื่นช่างแตกต่างกับคุณที่ออกไปดูหนังกับคู่รักหรือเพื่อน คุณที่กำลังคุยอยู่กับพ่อแม่ช่างแตกต่างกับคุณที่คุยอยู่กับหัวหน้า

    เด็กน้อยในตัวคุณคือจิ๊กซอว์ตัวสำคัญในการสร้างตัวตนของคุณ เมื่อคุณมองข้ามหรือปฏิเสธเด็กน้อยในตัว เด็กน้อยคนนั้นก็จะเหี่ยวเฉาลงไปส่วนลึกของจิตไร้สำนึกของคุณ

    คำเตือน ความเจ็บปวดจะพลุ่งพล่านเมื่อคุณเยียวยาเด็กน้อยในตัว แต่มันก็มีความสุขและชีวิตชีวารอให้คุณประสบพบเจอเช่นกัน หนึ่งในสิ่งที่น่าตื่นเต้นและเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในการเยียวยาเด็กน้อยในตัวนั่นก็คือ พรสวรรค์ที่หายไปจะกลับมาอีกครั้ง ไม่เพียงเท่านั้น แต่ความสัมพันธ์จะดีขึ้น อาการเสพติดจะลดลงและหายไป ความสัมพันธ์ต่อตนเองจะลึกซึ้งยิ่งขึ้น การรักตัวเองและการยอมรับตนเองเกิดขึ้นได้ในที่สุด เราไม่ได้บอกว่าคุณจะพบเจอสิ่งเหล่านี้แบบทันทีทันใด แต่คุณจะได้พบเจอสิ่งที่มีคุณประโยชน์ตราบเท่าที่คุณทำมัน

    ตอนที่ 2

    ที่มา https://www.facebook.com/thepisces11
     

แชร์หน้านี้

Loading...