การเกิดขึ้นของพระพุทธรูปครั้งแรกในโลก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Denverguy, 23 ธันวาคม 2009.

  1. ออตโต้

    ออตโต้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2009
    โพสต์:
    2,201
    ค่าพลัง:
    +2,428
    หมอนี่ยังไม่หายอีกหรือนี่สงสัยต้องเอาตัวไปบำบัดหลงทางขนาดหนัก กู่ไม่กลับแล้วมั้งนี่5555 อ่านแล้วฮาแตกง่ะ พระอรหันต์ มีปรับผิดวินัยด้วยหรือ????? 555555 แล้วฆาราวาส ปากเสีย จวบจ้วงพระอรหันต์ นี่โดนปรับกี่เด้งดีครับ 55555 ไปตั้งลักธิใหม่เหอะ ใครอยากไปก็ไป ออตโต้ข้อกราบพระพุทธรูปเหมือนเดิม ห้อยพระเครื่องเหมือนเดิม ไม่รู้ท่านเป็นบ้าไร มาพิมพ์ให้เขาด่าอยู่ได้ ไม่เห็นมีไครเห็นด้วยกับคุณเลยด้วยด้วยซ้ำ มีแต่เขามาสรรเสริญ คุณทั้งนั้นเลยนะนี่ เหอๆๆ หลวงตาท่านใครๆก็กราบไหว้ได้สนิทใจ ผมออยากให้คุณไปวัดป่าฯ ไปหาหลวงตาเลยแล้วบอกหลวงตา เอาแบบที่คุณเขียนนี่ล่ะ ไปบอกตอนที่ลูกศิษย์ท่านอยู่เยอะๆเลยนะ ผมอยากรู้เหมือนกันว่า คุณจะโดนอะไรอ่ะเหอๆๆ แล้วกลับมาเล่าให้ทุกๆคนฟัง
     
  2. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    เล่ม 9 หน้า 536

    .......พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เอาละ นายบ้าน เธอพยากรณ์ ( ตอบปัญหา )
    อย่างนี้ชื่อว่ากล่าวคล้อยตามเรา ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่า พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม
    และสหธรรมิก ( ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน ) บางรูปผู้กล่าวตามวาทะย่อมไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียน
    ดูก่อนนายบ้าน ทองและเงินไม่ควรแก่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรโดยแท้
    สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่รับทองและเงิน
    สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมีแก้วและทองอันวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน
    ทองและเงินควรแก่ผู้ใด แม้กามคุณ ( สิ่งที่น่าปราถนา ) ทั้งห้าก็ควรแก่ผู้นั้น กามคุณทั้งห้าควรแก่ผู้ใด
    เธอพึงจำผู้นั้นไว้โดยส่วนเดียวว่า มีปกติมิใช่สมณะ ( ผู้สงบ ) มีปกติมิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร
    เราจะกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้า พึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้ พึงแสวงหาไม้
    ผู้ต้องการเกวียน พึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษ พึงแสวงหาบุรุษ
    แต่เราไม่กล่าวโดยปริยายไร ๆ ว่า สมณะพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงิน.....


    แล้วยังมีระบุเอาไว้โต้งๆ ในหมวดอาบัตินิสสัคคีย์ ข้อ 18 อีก
    เรื่องเงิน - ทองกับสมณะในพุทธศาสนานี้ พระองค์เจ้ากำชับเอาไว้อย่างมากทีเดียว

    การตำหนิแบบนี้เรียกว่าตำหนิตามธรรมของพุทธองค์ จึงไม่มีบาป
    แต่กลับเป็นบุญเสียอีกเพราะรักษาและธำรงไว้ซึ่งพระธรรม - วินัยขของพระตถาคตเจ้า

    เพราะการกระทำผิดทางกาย -วาจา - ความคิด มีได้ทั้งปุถุชนและพระอรหันต์
    เมื่อมีผิดก็ต้องตำหนิ เมื่อมีถูกก็ยกย่องชมเชย

    แต่ถ้าหากมีความผิดอยู่แล้วยังไปยกย่องชมเชยกัน อันนี้ผิดจากธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน เป็นบาปไม่น้อยเลย

    ในพระไตรฯ ระบุไว้ชัดที่เล่ม 25 หน้า 165
    ผู้ใด ตำหนิผู้ที่ควรยกย่อง และ ผู้ใดยกย่องคนที่ควรตำหนิ มีโทษคือมีบาปเท่ากัน

    เพราะฉะนั้นใครจะยกย่องใคร หรือ ใครจะตำหนิใคร ก็ให้เีรียนรู้จักพระธรรมของพระพุทธเจ้าให้ดี
    จากนั้นค่อยตำหนิและยกย่องกันไปตามธรรม อย่ายกย่องหรือตำหนิใครไปตามอคติส่วนตัว
     
  3. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    เพิ่มเติมเรื่องตำหนิกันในพระพุทธศาสนาอีกหน่อย

    ผู้ที่ไม่ควรได้รับการตำหนิเลยแม้แต่น้อยนิดนึงในพระพุทธศาสนานี้ก็มีแต่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของธรรมเท่านั้นแหละ
    เพราะใครก็ไม่สามารถที่จะหาความผิดของพระองค์ได้ พระองค์เองก็ตรัสเอาไว้ว่า
    " ตถาคตมีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ – มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ – มีความประพฤติทางใจบริสุทธิ์ "
    บริสุทธิ์แบบไม่ต้องกังวลที่จะรักษาเพราะบริสุทธิ์อยู่เป็นนิจตลอดกาล
    เป็นความบริสุทธิ์โดยธรรมชาติของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเลย
    บุคคลผู้สมบูรณ์แบบสุดยอดเช่นนี้ในแต่ละยุคมีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น

    นอกจากนี้ยังเคยมีผู้ที่จะจับหาความผิดของพระตถาคตเจ้าทั้งที่เป็นมนุษย์เช่น
    อุตตรมานพลูกศิษย์ของพราหมณ์ชื่อพรหมายุและจอมเทพผู้ยิ่งยงแห่งแดนกามภพอย่างวสวัตตีมาร

    ตามหลักฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเล่ม 19 หน้า 397
    ...ได้ยินว่า แม้อุตตรมาณพ คิดว่า "เราจักเห็นโทษไรๆ ที่ไม่น่ายินดีในกายทวาร และวจีทวารของพระตถาคตเจ้า."
    แล้วติดตามอยู่ ๗ เดือน ก็ไม่ได้เห็นแม้เท่ากับเล็น หรือว่าอุตตรมาณพนี้เป็นมนุษย์
    จักเห็นโทษอะไรที่ไม่น่ายินดี ในกายทวารและวจีทวารของพระตถาคตเจ้าผู้เป็นพระพุทธเจ้า
    ถึงแม้เทวปุตตมาร ก็ติดตามตั้งแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระโพธิสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (ออกบวช)
    แสวงหาอยู่ตลอด ๖ ปี ก็ไม่ได้เห็นโทษไรๆ ที่ไม่น่ายินดี โดยที่สุดแม้เพียงความปริวิตกทางใจ.
    มารคิดแล้วว่า ถ้าว่าเราจักเห็นอกุศล (บาป) แม้เพียงเหตุที่พระโพธิสัตว์นั้นตรึก (คิด) แล้ว
    ในเพราะโทษนั้นนั่นแหละเราจักตีพระโพธิสัตว์นั้นที่ศีรษะแล้วหลีกไป."
    มารนั้นไม่ได้เห็นแล้วตลอด ๖ ปี ติดตามพระโพธิสัตว์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าอีก ๑ ปี
    ก็ไม่ได้เห็นโทษไรๆ จึงไหว้แล้วในเวลาเป็นที่ไป จึงกล่าวคาถานี้ว่า

    "ข้าแต่พระโคดมผู้เป็นมหาวีระ มีปัญญามาก ผู้รุ่งเรืองด้วยพระฤทธิ์ด้วยยศ ผู้ทรงก้าวล่วงเวรภัยทั้งปวง
    ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระบาท" ดังนี้ แล้วหลีกไป.....

    ยังมีตัวอย่างอีกในพระวินัยหมวดสังฆาทิเสส ข้อที่ 12 มีเนื้อความตอนหนึ่งว่า
    " บริษัทของพระผู้มีพรภาคเจ้า เจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วยว่ากล่าวซึ่งกันและกัน
    คือด้วยเตือนกันและกันให้ออกจากการละเมิด
    " ข้อความตอนนี้แม้จะบอกให้พระเตือนพระก็จริง

    แต่ในทางปฏิบัติโดยรวมแล้ว ทั้งพระก็ให้เตือนโยมได้เมื่อเห็นโยมทำการละเมิดธรรมที่พระพุทธเจ้าประกาศ
    และโยมก็สามารถเตือนพระได้เมื่อเห็นพระละเมิดธรรมที่พระพุทธเจ้าประกาศ
    เหมือนนางวิสาขาเตือนพระอุทายีในครั้งกระโน้น
    ต่างฝ่ายต่างเตือนกันและกันด้วยความหวังดี – ชอบธรรม เพื่อความเจริญยั่งยืนนานของพระสัทธรรมยังไงล่ะ

    *** พระอรหันต์ หมายถึง ผู้หมดกิเลสแล้ว แต่ยังคงมี ร่างกาย – ความรู้สึก – ความจำ – ความคิด – ความรู้
    หรือที่เรียกว่า ขันธ์ 5 อันนี้ยังมีผิดได้สำหรับพระอรหันตสาวกทั้งหลาย (บาลี เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน)

    *** ส่วนอรหันต์ หมายถึง ที่ไม่มีอะไรจะไม่มาเอาถูกเอาผิดกับอะไร ไม่มีอะไรที่จะมาเอาสุขเอาทุกข์กับอะไร
    อันนี้พ้นผิดพ้นถูกได้เด็ดขาดแล้ว อันนี้ไม่มีผิดไม่มีถูกอีก
     
  4. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    หลักการที่ควรใส่ใจก่อนที่จะมีการตักเตือนกัน เล่ม 22 หน้า 68

    ....พวกเธออย่าเพิ่งโจทภิกษุรูปนั้นด้วยข้อโจท (ข้อที่น่าตำหนิ) พึงสอบสวนบุคคลก่อนว่า
    ด้วยอาการนี้ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ (มีการละเมิด)
    เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มีทิฏฐิมั่น (ไม่ถือแต่ความคิดตนเป็นใหญ่)
    ยอมสละคืนได้ง่ายและเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

    อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา และความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ
    เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น (ถือแต่ความคิดตนเป็นใหญ่)
    แต่ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้
    ก็เรื่องความลำบากของเรา และความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย
    ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลนั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

    อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความไม่ขัดใจ
    จักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ แต่มีทิฏฐิมั่น
    ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบาก
    ของเรา เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล
    ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

    ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ
    เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก
    แต่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้
    ก็เรื่องความลำบากของเราและความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย
    ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

    แต่ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ (ผู้มีการละเมิด)
    เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก
    ทั้งเราก็ไม่อาจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ พวกเธอก็ต้องไม่ละเลยอุเบกขาในบุคคลเช่นนี้.

    สูตรนี้ถึงแม้จะสอนพระ แต่โยมก็สามารถนำไปปรับใช้ได้เหมือนกัน
     
  5. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    เล่ม 3 หน้า 940 เงิน - ทองห้ามถวายภิกษุ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้

    พระบัญญัติ
    " อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง - เงิน หรือ ยินดีทอง - เงิน อันเขาเก็บไว้ให้
    เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ " (เป็นการทำความดีให้ตกไป จำต้องสละ)

    1. วิธีปฏิบัติในเรื่องเงินและทองที่มีผู้ถวาย เล่ม 7 หน้า 149

    มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการก
    ( ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย 4 ) สั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วยกัปปิยภัณฑ์
    ( สิ่งของที่สมควรกับภิกษุ ) นี้.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะ ( สมควร )จากกัปปิยภันฑ์นั้นไว้
    แต่เรามิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายไร ๆ เลย.

    2. วิธีปฏิบัติในเรื่องเงินและทองที่มีผู้ถวาย เล่ม 3 หน้า 863 – 865 , 869

    ถ้าใคร ๆ นำเอาทองและเงินมากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายทองและเงินนี้แก่สงฆ์,
    ท่านทั้งหลายจงสร้างอาราม วิหาร เจดีย์ หรือหอฉันเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม,
    จะรับทองและเงินแม้นี้ ไม่ควร.
    ในมหาปัจจรี ( ชื่อคัมภีร์อรรถกถา ) ท่านกล่าวไว้ว่า


    ด้วยว่าเป็นทุกกฏ ( การกระทำที่ชั่ว ) แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งผู้รับเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น.

    ก็ถ้าเมื่อภิกษุปฎิเสธว่า ภิกษุทั้งหลายจะรับทองและเงินนี้ ไม่สมควร.
    เขากล่าวว่า ทองและเงินจักอยู่ในมือของพวกช่างไม้ หรือพวกกรรมกร,
    ท่านทั้งหลายจงรับทราบการงานที่เขาทำดี และไม่ดีอย่างเดียว ดังนี้แล้ว
    มอบไว้ในมือพวกช่างไม้ หรือพวกกรรมกรเหล่านั้นจึงหลีกไป, จะรับก็ควร,
    ถ้าแม้นเขากล่าวว่า ทองและเงินจักอยู่ในมือของพวกคนของผมเอง, หรือว่าจักอยู่ในมือของผมเอง,
    ท่านพึงส่งข่าวไปเพื่อประโยชน์แก่บุคคลผู้ที่เราจะต้องให้ทองและเงินเขาอย่างเดียว, แม้อย่างนี้ก็ควร.

    ก็ถ้าว่าพวกเขาไม่ระบุสงฆ์ คณะ หรือบุคคล กล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายเงิน และทองนี้แก่เจดีย์,
    ถวายแก่วิหาร, ถวายเพื่อนวกรรม ( การก่อสร้าง ) ดังนี้ จะปฏิเสธไม่สมควร.
    พึงบอกแก่พวกกัปปิยการก ( ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย 4 ) ว่า ชนพวกนี้กล่าวคำนี้.
    แต่เมื่อเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงรับเก็บไว้เพื่อประโยชน์แก่เจดีย์เป็นต้นเถิด
    พึงปฏิเสธว่า การที่พวกเรารับไว้ไม่สมควร.

    แต่ถ้าคนบางคนนำเอาเงินและทองมามากกล่าวว่า ข้าพเจ้าขอถวายเงินและทองนี้แก่สงฆ์,
    ท่านทั้งหลายจงบริโภคปัจจัย 4 ( อาหาร – ยารักษาโรค – เครื่องนุ่งห่ม – ที่อยู่อาศัย ) เถิด,


    ถ้าสงฆ์รับเงินและทองนั้น เป็นอาบัติ( การละเมิด ) ทั้งเพราะรับ ทั้งเพราะบริโภค.

    ถ้าบรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปหนึ่งปฏิเสธว่า สิ่งนี้ไม่ควร.
    และอุบาสกกล่าวว่า ถ้าไม่ควรจักเป็นของผมเสียเอง ดังนี้แล้วไป,
    ภิกษุนั้นอันภิกษุบางรูปไม่พึงกล่าวคำอะไร ๆ ว่า เธอทำอันตรายลาภของสงฆ์,
    เพราะภิกษุใดโจท( กล่าวหา ) เธอ, ภิกษุนั่นเองเป็นผู้มีอาบัติ ( การละเมิด ) ติดตัว.


    แต่เธอรูปเดียวกระทำภิกษุเป็นอันมากไม่ให้เป็นอาบัติ.
    ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายปฏิเสธว่าไม่ควร เขากล่าวว่า จักอยู่ในมือของพวกกัปปิยการก
    หรือจักอยู่ในมือของพวกคนของผม หรือในมือของผม,
    ท่านทั้งหลาย จงบริโภคปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น ดังนี้, สมควรอยู่.

    อนึ่ง เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่จตุปัจจัย ( อาหาร – ยารักษาโรค – เครื่องนุ่งห่ม – ที่อยู่อาศัย )
    พึงน้อมไปเพื่อปัจจัยที่ต้องการ. เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่จีวร พึงน้อมไปในจีวรเท่านั้น.
    ถ้าว่าไม่มีความต้องการจีวรนั้น, สงฆ์ลำบากด้วยปัจจัยมีบิณฑบาต ( อาหาร ) เป็นต้นพึงอปโลกน์
    ( การบอกกล่าวแก่ที่ประชุม ) เพื่อความเห็นดีแห่งสงฆ์แล้วน้อมไป แม้เพื่อประโยชน์แก่บิณฑบาตเป็นต้น.
    แม้ในอกัปปิยวัตถุ ( สิ่งของที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ ) ที่เขาถวาย
    เพื่อประโยชน์แก่บิณฑบาตและคิลานปัจจัย( ยารักษาโรค ) ก็นัยนี้.

    อนึ่ง อกัปปิยวัตถุที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ ( ที่อยู่อาศัย ) พึงน้อมไปในเสนาสนะเท่านั้น
    เพราะเสนาสนะเป็นครุภัณฑ์ ( ของหนัก ). ก็ถ้าว่า เมื่อพวกภิกษุละทิ้งเสนาสนะไป
    เสนาสนะจะเสียหาย, ในกาลเช่นนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย
    แม้จำหน่ายเสนาสนะแล้วบริโภค (ปัจจัย 4 ) ได้.

    เพราะฉะนั้น เพื่อรักษาเสนาสนะไว้ ภิกษุอย่ากระทำให้ขาดมูลค่าพึงบริโภคพอยังอัตภาพ( ชีวิต )ให้เป็นไป.
    และมิใช่แต่เงินทองอย่างเดียวเท่านั้น, แม้อกัปปิยวัตถุอื่นมีนาและสวนเป็นต้น อันภิกษุไม่ควรรับ.

    ถ้าชาวนาทั้งหลายนำกหาปณะ ( ชื่อมาตราเงินในสมัยโบราณ ) มากล่าวว่า
    กหาปณะเหล่านี้พวกผมนำมาเพื่อสงฆ์, และภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง กล่าวว่า
    ท่านจงนำผ้ามาด้วยกหาปณะเท่านี้, จงจัดข้าวยาคูเป็นต้น ด้วยกหาปณะประมาณเท่านี้
    ด้วยความสำคัญว่า สงฆ์ไม่รับกหาปณะ สิ่งของที่พวกเขานำมา เป็นอกัปปิยะ( ไม่สมควร )
    แก่พวกภิกษุทั่วไป. ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะภิกษุจัดการกหาปณะ.
     
  6. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    1. สิ่งของอันไม่สมควรแก่ภิกษุเล่ม 3 หน้า 173 – 179


    ก็มิใช่แต่ร่างกายของมาตุคาม ( ผู้หญิง ) อย่างเดียวเท่านั้น เป็นอนามาส (ไม่ควรจับต้อง )
    แม้ผ้านุ่งและผ้าห่มก็ดี สิ่งของเครื่องประดับก็ดี จนชั้นเสวียนหญ้าก็ตามแหวนใบตาลก็ตาม
    เป็นอนามาสทั้งนั้น. ก็แลผ้านุ่งและผ้าห่มนั้นตั้งไว้เพื่อต้องการใช้เป็นเครื่องประดับเท่านั้น.
    ก็ถ้าหากว่ามาตุคามวางผ้านุ่งหรือผ้าห่มไว้ในที่ใกล้เท้า เพื่อต้องการให้เปลี่ยนเป็นจีวร ผ้านั้นสมควร.
    ก็บรรดาเครื่องประดับ ภัณฑะ ( สิ่งของ ) ที่เป็นกัปปิยะ ( สมควร ) มีเครื่องประดับศีรษะ เป็นต้น
    อันมาตุคามถวายว่า ท่านเจ้าคะ ขอพระคุณท่านโปรดรับสิ่งนี้เถิด ภิกษุควรรับไว้ เพื่อเป็นเครื่องใช้
    มีฝักมีดโกนและเข็มเป็นต้น. ส่วนภัณฑะที่ทำด้วยทอง เงิน และแก้วมุกดา เป็นต้น
    เป็นอนามาส (ไม่ควรจับต้อง ) แท้ถึงแม้เขาถวาย ก็ไม่ควรรับ.

    อนึ่ง มิใช่แต่เครื่องประดับที่สวมร่างกาย ของหญิงเหล่านั้นอย่างเดียวเท่านั้น จะเป็นอนามาส.
    ถึงรูปไม้ก็ดี รูปงาก็ดี รูปเหล็กก็ดีรูปดีบุกก็ดี รูปเขียนก็ดี รูปที่สำเร็จด้วยรัตนะทุกอย่างก็ดี
    ที่เขากระทำสัณฐานแห่งหญิง ชั้นที่สุดแม้รูปที่ปั้นด้วยแป้ง ก็เป็นอนามาสทั้งนั้น.
    แต่ได้ของที่เขาถวายว่า สิ่งนี้จงเป็นของท่าน เว้นของที่สำเร็จด้วยรัตนะทุกอย่าง ทำลายรูปที่เหลือ
    น้อมเอาสิ่งที่ควรเป็นเครื่องอุปกรณ์เข้าในเครื่องอุปกรณ์ และสิ่งที่ควรใช้สอย
    เข้าในของสำหรับใช้สอยเพื่อประโยชน์แก่การใช้สอย ควรอยู่.

    อนึ่ง แม้ธัญชาติ ( พืชประเภทข้าว ) 7 ชนิด ก็เป็นอนามาส (ไม่ควรจับต้อง ) เช่นเดียวกับรูปสตรีฉะนั้น.
    เพราะฉะนั้น เมื่อเดินไปกลางทุ่งนา อย่าเดินจับต้องเมล็ดธัญชาติแม้ที่เกิดอยู่ในทุ่งนานั้นไปพลาง
    ถ้ามีธัญชาติที่เขาตากไว้ที่ประตูเรือน หรือที่หนทาง และด้านข้างมีทางเดิน อย่าเดินเหยียบย่ำไป.
    เมื่อทางเดินไม่มี พึงอธิษฐานให้เป็นทางแล้วเดินไปเถิด. คนทั้งหลายปูลาดอาสนะ ( ที่นั่ง )
    ถวายบนกองธัญชาติในละแวกบ้าน จะนั่งก็ควร. ชนบางพวกเทธัญชาติกองไว้ในโรงฉัน
    ถ้าอาจจะให้นำออกได้ ก็พึงให้นำออก ถ้าไม่อาจ อย่าเหยียบย่ำธัญชาติ
    พึงตั้งตั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว นั่งเถิด.
    ถ้าไม่มีโอกาส พวกชาวบ้านปูลาดอาสนะถวายตรงท่ามกลางธัญชาตินั้นเอง พึงนั่งเถิด.
    แม้ในธัญชาติที่อยู่บนเรือ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. แม้อปรัณชาติมีถั่วเขียวและถั่วเหลืองเป็นต้นก็ดี
    ผลไม้มีตาลและขนุนเป็นต้นก็ดี ที่เกิดในที่นั้น ภิกษุไม่ควรจับเล่น.
    แม้ในอปรัณชาติและผลไม้ที่ชาวบ้านรวมกองไว้ ก็มีนัยเช่นนี้ เหมือนกัน.
    แต่การที่ภิกษุจะถือเอาผลไม้ที่หล่นจากต้นในป่า
    ด้วยตั้งใจว่า จักให้แก่พวกอนุปสัมบัน ( ผู้ที่ไม่ใช่ภิกษุ ) ควรอยู่.

    [ว่าด้วยรัตนะ 10 ประการ]


    บรรดารัตนะ 10 ประการเหล่านี้ คือ มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง
    ทับทิม บุษราคัม มุกดาตามธรรมชาติยังไม่ได้เจียระไนและเจาะ ภิกษุจะจับต้องได้อยู่
    อาจารย์บางพวกกล่าวว่ารัตนะที่เหลือ เป็นอนามาส แต่ในมหาปัจจรี ( ชื่อคัมภีร์อรรถกถา )ท่านกล่าวว่า
    มุกดาที่เจียระไนแล้วก็ดี ที่ยังไม่เจียระไนก็ดี เป็นอนามาส และภิกษุรับเพื่อประโยชน์เป็นมูลค่าแห่งสิ่งของ
    ย่อมไม่ควร แต่จะรับเพื่อเป็นยาแก่คนเป็นโรคเรื้อน ควรอยู่.
    มณีชนิดสีเขียวและเหลืองเป็นต้น แม้ทั้งหมดโดยที่สุดจนกระทั่งแก้วผลึกธรรมชาติที่เขาขัด
    เจียระไนและกลึงแล้ว เป็นอนามาส. แต่มณีตามธรรมชาติพ้นจากบ่อเกิด
    ท่านกล่าวว่า ภิกษุจะรับเอาไว้เพื่อเป็นมูลค่าแห่งสิ่งของมีบาตรเป็นต้น ก็ควร.
    แม้มณีนั้น ท่านห้ามไว้ในมหาปัจจรี. กระจกแก้ว ที่เขาหุงทำไว้อย่างเดียวเท่านั้น ท่านกล่าวว่า ควร.
    แม้ในไพฑูรย์ ก็มีวินิจฉัยเช่นเดียวกันกับแก้วมณี. สังข์จะเป็นสังข์สำหรับเป่า (แตรสังข์) ก็ดี
    ที่เขาขัดและเจียระไนแล้วก็ดี ประดับด้วยรัตนะ (ขลิบด้วยรัตนะ) ก็ดี เป็นอนามาส.
    สังข์สำหรับตักน้ำดื่มที่ขัดแล้ว ก็ดี ยังมิได้ขัดก็ดี เป็นของควรจับต้องได้แท้.
    รัตนะที่เหลือ ภิกษุจะรับไว้ เพื่อใช้เป็นยาหยอดตาเป็นต้นก็ดี เพื่อเป็นมูลค่าแห่งสิ่งของก็ดี ควรอยู่.
    ศิลา ที่ขัดและเจียระไนแล้ว ประดับด้วยรัตนะมีสีเหมือนถั่วเขียวเท่านั้น เป็นอนามาส.
    ศิลาที่เหลือ ภิกษุจะถือเอามาเพื่อใช้เป็นหินลับมีดเป็นต้นก็ได้.
    ในคำนี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า รตนสํยุตฺตาได้แก่ ศิลาที่หลอมผสมปนกับทองคำ.

    แก้วประพาฬที่ขัดและเจียระไนแล้ว เป็นอนามาส. ประพาฬที่เหลือเป็นอามาส( ควรจับต้องได้ )
    และภิกษุจะรับไว้ เพื่อใช้จ่ายเป็นมูลค่าแห่งสิ่งของ ควรอยู่.
    แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ประพาฬที่ขัดแล้วก็ตาม มิได้ขัดก็ตาม เป็นอนามาสทั้งนั้น และจะรับไว้ไม่สมควร.

    เงินและทอง แม้เขาทำเป็นรูปพรรณทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นอนามาสและเป็นของไม่ควรรับไว้ จำเดิมแต่ยังเป็นแร่.
    ได้ยินว่า อุดรราชโอรสให้สร้างพระเจดีย์ทองส่งไปถวายพระมหาปทุมเถระ.
    พระเถระห้ามว่าไม่ควร ดอกปทุมทองและดาวทองเป็นต้น มีอยู่ที่เรือนพระเจดีย์,
    แม้สิ่งเหล่านั้นก็เป็นอนามาส แต่พวกภิกษุผู้เฝ้าเรือนพระเจดีย์ตั้งอยู่ในฐานเป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ( เงินตรา )
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ภิกษุเหล่านั้นจะลูบคลำดูก็ควร.
    แต่คำนั้น ท่านห้ามไว้ในกุรุนที ( ชื่อคัมภีร์อรรถกถา ).
    ท่านอนุญาตเพียงเท่านี้ว่าจะชำระหยากเยื่อที่พระเจดีย์ทองควรอยู่.
    ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งปวงว่า แม้โลหะที่กะไหล่ทอง ( โลหะเทียมพิเศษมีสีเหมือนทอง )
    ก็มีคติทองคำเหมือนกัน จัดเป็นอนามาส (ไม่ควรจับต้อง ).
    ส่วนเครื่องใช้สอยในเสนาสนะ ( ที่อยู่ ) เป็นกัปปิยะ ( สมควร ) ทั้งสิ้น
    เพราะฉะนั้น เครื่องบริขาร ( เครื่องใช้สอยของนักบวช ) ประจำเสนาสนะ แม้ทุกอย่างที่ทำด้วยทองและเงิน
    เป็นอามาส ( ควรจับต้องได้ ). พวกชาวบ้านสร้างมณฑปแก้ว เป็นสถานที่แสดงพระธรรมวินัยแก่ภิกษุทั้งหลาย
    มีเสาแก้วผลึก ประดับประดาด้วยพวงแก้ว.การที่ภิกษุทั้งหลาย
    จะเก็บรักษาเครื่องอุปกรณ์ทั้งหมดในรัตนมณฑปนั้นควรอยู่. ทับทิมและบุษราคัม ที่ขัดและเจียระไนแล้ว
    เป็นอนามาส ที่ยังไม่ได้ขัดและเจียระไนนอกนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นอามาส
    ภิกษุจะรับไว้เพื่อใช้เป็นมูลค่าแห่งสิ่งของ ควรอยู่. แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า
    ทับทิมและบุษราคัมที่ขัดแล้วก็ดี ที่ยังมิได้ก็ดี เป็นอนามาส
    โดยประการทุกอย่าง และภิกษุจะรับไว้ ไม่ควร.

    เครื่องอาวุธทุกชนิด เป็นอนามาส แม้เขาถวาย เพื่อประโยชน์จำหน่ายเป็นมูลค่าแห่งสิ่งของก็ไม่ควรรับไว้
    ชื่อว่า การค้าขายศัสตราย่อมไม่สมควร. แม้คันธนูล้วน ๆ ก็ดี สายธนูก็ดี ประตักก็ดี ขอช้างก็ดี
    โดยที่สุดแม้มีดและขวานเป็นต้น ที่เขาทำโดยสังเขปเป็นอาวุธก็เป็นอนามาส(ไม่ควรจับต้อง ).
    ถ้ามีใคร ๆ เอาหอก หรือโตมร ( หอกซัด ) มาวางไว้ในวิหาร เมื่อจะชำระวิหาร
    พึงส่งข่าวไปบอกแก่พวกเจ้าของว่า จงนำไปเสีย. ถ้าพวกเขาไม่นำไป อย่าให้ของนั้นขยับเขยื้อน
    พึงชำระวิหารเถิด. ภิกษุพบเห็นดาบก็ดี หอกก็ดี โตมรก็ดี ตกอยู่ในสนามรบ
    พึงเอาหินหรือของอะไร ๆต่อยดาบเสียแล้ว ถือเอาไปเพื่อใช้ทำเป็นมีดควรอยู่.
    ภิกษุจะแยกแม้ของนอกนี้ออกแล้ว ถือเอาของบางอย่างเพื่อใช้เป็นมีด
    บางอย่างเพื่อใช้เป็นไม้เท้าเป็นต้น ควรอยู่. ส่วนว่าเครื่องอาวุธที่เขาถวายว่า
    ขอท่านจงรับอาวุธนี้ไว้ ภิกษุจะรับแม้ทั้งหมดด้วยตั้งใจว่า
    เราจักทำให้เสียหายแล้วกระทำให้เป็นกัปปิยภัณฑ์ ( สิ่งของที่สมควร ) ดังนี้ควรอยู่.

    เครื่องจับสัตว์ มีแหทอดปลาและข่ายดักนกเป็นต้นก็ดี เครื่องป้องกันลูกศร
    มีโล่และตาข่ายเป็นต้นก็ดี เป็นอนามาส (ไม่ควรจับต้อง ) ทุกอย่าง.
    ก็บรรดาเครื่องดักสัตว์และเครื่องป้องกันลูกศรที่ได้มาเพื่อเป็นเครื่องใช้สอย
    ทีแรก ตาข่ายภิกษุจะถือเอาด้วยตั้งใจว่า เราจะผูกขึงไว้หรือพันเป็นฉัตรไว้เบื้องบนแห่งอาสนะ ( ที่นั่ง )
    หรือพระเจดีย์ ควรอยู่. เครื่องป้องกันลูกศรแม้ทั้งหมด ภิกษุจะรับไว้เพื่อใช้เป็นมูลค่าแห่งของ ก็สมควร.
    เพราะว่า เครื่องป้องกันลูกศรนั้น เป็นเครื่องกันการเบียดเบียนจากคนอื่น
    ไม่ใช่เป็นเครื่องทำการเบียดเบียน ฉะนี้แล,
    จะรับโล่ด้วยจงใจว่า เราจักทำเป็นภาชนะใส่ไม้สีฟัน ดังนี้ ก็ควร.

    เครื่องดนตรีมีพิณและกลองเป็นต้น ที่ขึงด้วยหนัง เป็นอนามาส. แต่ในกุรุนทีท่านกล่าวว่า
    ตัวกลอง (หนังชะเนาะขึ้นกลอง) ก็ดี ตัวพิณ(สายขึงพิณ) ก็ดี รางเปล่าก็ดี*
    หนังเขาปิดไว้ที่ขอบปากก็ดี คันพิณก็ดีเป็นอนามาสแม้ทั้งสิ้น. จะขึงเอง หรือให้คนอื่นเขาขึงก็ดี
    จะประโคมเอง หรือให้คนอื่นเขาประโคมก็ดี ไม่ได้ทั้งนั้น.
    แม้เห็นเครื่องดนตรีที่พวกมนุษย์กระทำการบูชา แล้วทิ้งไว้ทีลานพระเจดีย์
    อย่าทำให้เคลื่อนที่เลย พึงกวาดไปในระหว่าง ๆ. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า ในเวลาเทหยากเยื่อ
    พึงนำไปโดยกำหนดว่าเป็นหยากเยื่อแล้ววางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ควรอยู่.
    แม้จะรับไว้เพื่อใช้เป็นมูลค่าแห่งสิ่งของ ก็ควร. แต่ที่ได้มาเพื่อต้องการจะใช้สอย
    จะถือเอาเพื่อต้องการทำให้เป็นบริขาร ( เครื่องใช้สอยของนักบวช ) นั้นๆโดยตั้งใจอย่างนี้ว่า
    เราจักทำรางพิณและหุ่นกลองให้เป็นภาชนะใส่ไม้สีฟัน
    หนังจักทำให้เป็นฝักมีด แล้วกระทำตามที่ตั้งใจอย่างนั้น ๆ ควรอยู่.

    * สารัตถทีปนี ๓/๓๖. แก้ว่า เภรีสงฺฆาโฏติ สงฺฆาฏํตจมฺมเภรี. วีณาสงฺฆาโฏติ สงฺฆาฏิ-ตจมฺมวีณา. จมฺมวินทฺธานํ เภรีวีณานเมตํ อธิวจนํ ตุจฺฉโปกฺขรนฺติ อวินทฺธจมฺมํ เภรีโปกฺขรํ
    วีณาโปกฺขรญฺจ. แปลว่า กลองที่ขึ้นหนังแล้ว ชื่อว่า เภรีสังฆาฏะ. พิณที่ขึงสายแล้ว ชื่อว่า วีณา
    สังฆาฏะ. คำทั้งสองนี้ เป็นชื่อแห่งกลองที่ขึ้นหนังและพิณ - ที่ขึงสายแล้ว. ในที่บางแห่งว่า หนัง
    ชะเนาะขึ้นกลอง ชื่อว่า เภรีสังฆาฏะ สายขึงพิณ ชื่อว่า วีณาสังฆาฏะ ก็มี ดังในวิมติวิโนทนีฏีกา
    อ้างถึงอรรกถากุรุนที แก้ไว้ว่า เภรีอาทีนํ วินทฺโธปกรณสมุโห เภรีวีณาสงฺฆาโฏติ เวทิตพฺพํ.
    พึงทราบว่า ประชุมเครื่องอุปกรณ์ขึ้นกลองเป็นต้น ชื่อว่า เภรีวีณาสังฆาฏะ. รางกลองและ
    รางพิณที่ยังไม่ได้ขึ้นหนังและขึงสาย ชื่อว่า ตฺวฉโปกขระ. ผู้ชำระ.
     
  7. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    สิ่งของอันไม่ควรถวายภิกษุ เล่ม 11 หน้า 310 – 311

    .........13. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
    14. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหาร ( อาหารคือข้าว ) ดิบ.
    15. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
    16. เธอเว้นขาดจากการรับสตรี และกุมารี.
    17. เธอเว้นขาดจากการรับทาสี( ทาสหญิง ) และทาส.
    18. เธอเว้นขาดจากการรับแพะ และแกะ.
    19. เธอเว้นขาดจากการรับไก่ เละสุกร.
    20. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
    21. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นา และที่ดิน.
    22. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม ( การนำข้อความไปแจ้ง ) และการรับใช้.
    23. เธอเว้นขาดจากการซื้อ การขาย.........
     
  8. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    หลวงตาเป็นพระอรหันต์ หรือไม่ ไม่ใช่ปัญหา..ท่านออกมาช่วยชาตินั้น เป็นเจตนาที่ดี ทองเงินนั้นมิใช่เพื่อหลวงตานั้นก็ใช่ แต่พวกลูกศิษย์ ผู้ร่วมทำบุญต่างหากที่ควร พิจารณาให้รอบคอบ.. ไม่ควร เปิดบัญชีโดยใช้ชื่อหลวงตาเป็นเจ้าของบัญชี ถึงแม้ท่านจะไม่ได้ยุ่งกับเรื่องเงินทองในบัญชีเป็นการส่วนตัวก็เถอะ แต่การเอาชื่อบัญชีเป็นชื่อหลวงตาไม่สมควรอย่างยิ่ง ควรจะตั้งเป็นบัญชีส่วนกลางชื่อบัญชีช่วยชาติโดยคนไทยรักชาติ หรืออะไรก็ว่าไป เพราะหากนำชื่อท่านลงในบัญชีอย่างที่ทำอยู่นี่ ก็เท่ากับส่งเสริมให้ท่านผิดวินัย ทั้งที่มีผู้ทรงธรรมวินัย รู้เรื่องวินัยดีอยู่รอบๆ อย่างท่านๆ แต่กลับไม่มีใครทักท้วงแก้ไข ให้เหมาะสม เพื่อประโยชน์อันดีเพียงฝ่ายเดียวมิต้องติดบาปไปด้วย

    ไม่รู้ว่าอ่านแตกฉานหรือเปล่า เป็นแต่ยกเอาข้อความที่คิดว่าตัวเองคิดว่า ตอบโต้อีกฝ่ายให้ดิ้นตาย สะใจตัวเองเป็นอย่างเดียว เพราะหลวงตานะ หากท่านเป็นพระอรหันต์ บาปอันนี้ ทำอะไรท่านไม่ได้เพราะท่านพ้นจากวัฎฎสงสาร ดับขันธ์เมื่อใด ก็ไปสู่แดนอันเกษม เศษบาปที่ท่านได้รับก็มีเฉพาะกับสังขารท่าน ที่ต้องเจ็บป่วยอยู่
    ส่วนเราท่านที่ร่วมทำบุญกับองค์หลวงตา ด้วยเห็นว่าจะได้บุญแต่เพียงฝ่ายเดียว ก็เลยทุ่มกันเต็มกำลัง มีเจตนาดี หวังดีต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อันนี้ดี แต่ควรทำให้ถูกอย่างที่บอกไปข้างต้น ไม่ควรเอาชื่อบัญชีเป็นชื่อหลวงตา ก็แค่นั้นไปแก้ให้ถูก เป็นบัญชีที่มีคณะกรรมการเป็นชื่อส่วนกลางจะเหมาะกว่าก็เท่านั้น
    เพราะบาปกรรมอันมีนั้น ผู้ที่รับไปเต็มๆ ย่อมได้แก่ผู้ร่วมทำบุญทั้งหมด ด้วยเห็นแต่ฝ่ายกุศล จนลืมไปว่า เป็นการใช้พระอรหันต์มาหาเงินทอง ส่งเสริมให้ท่านทำผิดวินัย ทั้งที่หลวงตาท่านมีเมตตาอยู่เต็มเปี่ยมแต่ส่วนบาปอันนี้ ย่อมมีอยู่ แก้ให้ถูกก็หลุด ขอขมาพระรัตนตรัย ซะ แล้วแก้ให้ถูก บาปก็จะได้ไม่ติดตัวเราท่านเอง
    ข้อย้ำอีกที องค์หลวงตาท่านไม่ต้องรับมรดกบาปอันนี้แน่ เพราะหากท่านเป็นพระอรหันต์ก็เป็นชาติสุดท้ายของท่าน เมื่อดับขันธ์เข้าสู่นิพพานก็จบ แต่เราท่านที่ยังเป็นปุถุชน ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดนะ บาปอันนี้ก็จะตามติดไปโดยมิควรเลย ทั้งที่ทำบุญด้วยเจตนาเป็นกุศล

    นิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์ / 1 ตัว
    (โทษที่ทำความดีให้ตกไป จำต้องสละ)

    ตกโรรุวนรก 1 ชั่วอายุคือ 4,000 ปีของชั้นนี้
    1 วันในชั้นนี้ เท่ากับ 576 ล้านปีมนุษย์
    1 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 210,240 ล้านปีมนุษย์
    4,000 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 840,960,000 ล้านปีมนุษย์


    อันนี้หลวงตาท่านรอดเพราะท่านเป็นพระอรหันต์ แต่คุณๆ ทั้งหลายละ จะยกจิตพ้นได้อย่างท่านไหม ถ้าทำได้ก็รอด จะเสี่ยงดูก็เอา ผมไม่เสี่ยงด้วย ก็ได้แต่เตือน อย่างที่บอก แก้ไขให้ถูกจะได้ไม่มีส่วนบาปติดไปด้วย ทั้งที่ทำบุญด้วยเจตนาดี แต่สิ่งที่ผิดก็ผิดอยู่ดี
     
  9. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    คนที่เขาใส่พระเครื่อง เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ และเพื่อปกป้องคุ้มครองจากภัยอันตราย

    ประกอบอาชีพสุจริตให้เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน และให้อยู่ในกรอบศีลธรรม

    ไม่มีใครเขาปัญญาอ่อน เหตุที่ใส่พระเครื่อง เพราะอยากเอาทองแดงเศษอิฐปูนมาแขวนคอหรอก

    แค่รู้ว่าเป็นพระเก๊ ร้องจ๊ากแล้ว

    ผมอยากรู้ว่า หากไม่มีพระแขวนคอ แล้วจะระลึกถึงพระพุทธคุณ ไม่ได้หรือไง หากวันไหนลืมห้อยคอไป วันนั้นก็เลยระลึกอะไรไม่เป็นเลยหรือ พระพุทธคุณ มี พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิ์คุณ พระมหากรุณาธิคุณ อย่างย่อ ถ้าจะให้ลึกซึ้งก็คิดให้ละเอียดลงไป ในอีกในส่วนพระปัญญาคุณ นั้น ท่านทุ่มเทใช้สติปัญญา กาย ใจ หนักหนาแค่ไหน ถึงได้พระธรรมมาสั่งสอนเรา พิจารณาไปก็เกิดปิติ มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตัวให้อยู่ใน ศีลธรรม ที่พระองค์สั่งสอนได้แล้ว เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องมีเลยพระเครื่องนะ เห็นข้อความข้างบนของคุณใหม่ แค่รู้ว่าเป็นพระเก๊ก็ร้องจ๊ากแล้ว ดูสิ กับอิฐ หิน ปูน ทราย คุณยังมีตีค่าตีราคา ว่าอันไหนจริงปลอม แล้วนี่เขาเรียกว่ามีไว้เพื่อระลึกถึงพุทธคุณ หรือไว้โอ้อวด ว่าข้ามีของดี ของแท้นะ เมตตามหานิยม ยิงไม่เข้า มีแล้วรวย อย่างนั้นซะมากกว่ามั๊ง

    อิฐ หิน ปูน ทราย ก็หาเงินหล่อกันเอง ส่งเสริมพระให้ผิดวินัย ไปขอให้ท่านช่วยปลุกเสก แล้วก็มาตีราคา ว่ารุ่นนี้ แท้ ดี โฆษณากันเข้าไปเพื่ออะไร เพื่อเอาไปขายกินไง พวกที่เสนอหน้ามานี่ นะ มีสมาชิก premium กี่คนละ ที่สามารถแลกเปลี่ยนซื้อขาย พระเครื่องได้ หาเงินกับสิ่งที่ตัวเองตีค่า ว่าดีวิเศษ โฆษณาชวนเชื่อ เพื่อให้ได้ราคาดี นี่เหรอที่เขาเรียกว่าเคารพพระพุทธเจ้า เคารพธรรม ทั้งๆ ที่มันผิดธรรมวินัยเต็มๆ ก็อ้างเอาตัวรอดไปวันๆ ตัวอย่าง
    ภิกษุปลุกเสกเลขยันต์.....ผิด ( สามัญญผลสูตร ) เล่ม 11 หน้า 315

    มหาศีล


    1. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
    เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
    ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายฟ้าผ่าเป็นต้น
    ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน
    ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ
    ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ
    ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน
    เป็นหมองูเป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก
    เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง......



    ..........6. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
    เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
    ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล
    ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์
    ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ไห้มือสั่น
    ร่ายมนต์ให้หูไม่ได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอ
    ทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.


    7. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
    ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้
    คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน
    ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน
    ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย
    ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู
    ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด
    รักษาเด็ก ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง...........
     
  10. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    วิธีปฏิบัติตัวของภิกษุทุศีล (ละเมิดศีล) ( อัคคิขันธูปมสูตร ) เล่ม 37 หน้า 260

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
    เสด็จดำเนินไปสู่ทางไกลได้ทอดพระเนตรเห็นไฟกองใหญ่ กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่
    ในที่แห่งหนึ่ง จึงเสด็จแวะจากทางประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ใกล้โคนไม้แห่งหนึ่ง
    ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นไฟกองใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่หรือไม่
    ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.

    พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    การเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่
    กับการเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา
    บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี (ผู้ร่ำรวย)
    ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน.


    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา
    บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดีผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม นี้ประเสริฐกว่า ส่วนการที่บุคคลเข้าไป
    นั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่เป็นทุกข์.


    พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย
    การที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติสกปรกน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว
    มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์
    เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา
    บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี จะประเสริฐอย่างไร
    การเข้าไปนั่งกอดนอนกอดกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ นี้ดีกว่า
    ข้อนั้นเพราะการเข้าไปกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป
    ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาติ นรก เพราะการเข้าไปกอดกองไฟใหญ่ นั้นเป็นปัจจัย
    ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก มีความประพฤติสกปรก น่ารังเกียจ
    ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์
    แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ
    เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี
    ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่มนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์
    เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานแก่เขา และผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    การที่บุรุษมีกำลัง (ผู้ชายที่แข็งแรง) เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้างแล้วชักไปมา
    เชือกหนังพึงบาดผิว บาดผิวแล้วพึงบาดหนัง บาดหนังแล้ว พึงบาดเนื้อ บาดเนื้อแล้ว
    พึงตัดเส้นเอ็น ตัดเส้นเอ็นแล้ว พึงตัดกระดูก ตัดกระดูกแล้ว หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก
    กับการยินดีการกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล (ผู้ร่ำรวย)
    อย่างไหนจะดีกว่ากัน.


    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีการกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล
    หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษผู้มีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้าง
    แล้วชักไปชักมา เชือกหนังพึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก นี้เป็นทุกข์.


    พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย
    การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีการกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล
    พราหมณ์มหาศาล หรือ คฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร
    การที่บุรุษมีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้าง แล้วชักไปชักมา เชือกหนัง
    พึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก นั้นดีกว่า
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป
    ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะขอนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ
    เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาลนั้น
    ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น
    และบุคคลผู้ทุศีลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษที่มีกำลัง (ผู้ชายที่แข็งแรง)
    เอาหอกอันคมชะโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอก กับการยินดีอัญชลีกรรม (ประนมมือใหว้)
    ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล อย่างไหนจะดีกว่ากัน.


    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล
    หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่าส่วนการที่บุรุษมีกำลังเอาหอกอันคมชะโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอก นี้เป็นทุกข์.


    พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย
    การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล
    พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร
    การที่บุรุษกำลัง เอาหอกอันคมชะโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอก นั้นดีกว่า
    ข้อนั้นเพราะเหตุ เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้น
    เมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ
    เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
    มหาศาล (ผู้ร่ำรวย)นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
    แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    การที่บุรุษมีกำลังเอาแผ่นเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว
    กับการบริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
    พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล อย่างไหนจะดีกว่ากัน


    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคจีวรที่เขาถวายด้วย ศรัทธา
    ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า
    การที่บุรุษมีกำลัง เอาแผ่นเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้เป็นทุกข์.


    พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย
    การที่บุคคลนั้นทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อบริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
    พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร
    การที่บุรุษมีกำลังเอาแผ่นเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้ดีกว่า
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ
    แต่เขาเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย
    ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา
    ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาลหรือคฤหบดีมหาศาลนั้น
    ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
    แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้นและบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลังเอาขอเหล็กแดง
    ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง เกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
    เข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น ไหม้คอ ไหม้อก
    ไหม้เรื่อยไปถึงไส้ใหญ่ไส้น้อย แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ กับการบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา
    ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล อย่างไหนจะดีกว่ากัน.


    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา
    ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า
    การที่บุรุษมีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง เกี่ยวปากอ้าไว้
    แล้วกรอกก้อนเหล็กแดงไฟกำลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก
    ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก..... แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้เป็นทุกข์.


    พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย
    การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา
    ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร
    การที่บุรุษมีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยวปากอ้าไว้
    แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก
    ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก........ แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้ดีกว่า
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ เขา นั้นจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ
    แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย
    ส่วนการที่ บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา
    ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลนั้น
    ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
    แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง
    จับที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับนอนทับบนเตียงเหล็กหรือตั่งเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
    กับการบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล
    หรือคฤหบดีมหาศาล อย่างไหนจะดีกว่ากัน.


    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
    พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอแล้ว
    ให้นั่งทับหรือนอนทับเตียงหรือตั่งเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง นี้เป็นทุกข์.


    พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย
    การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
    พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอ
    แล้วให้นั่งทับหรือนอนทับเตียงหรือตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง นั้นดีกว่า
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นจะพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตายมีข้อนั้นเป็นเหตุ
    แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย
    ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา
    ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น
    ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
    แก่ บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง
    จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
    ผู้นั้นถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้นข้างบน
    บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวาง ๆ
    กับการบริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล
    หรือคฤหบดีมหาศาล อย่างไหนจะดีกว่ากัน.


    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
    พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง
    โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ผู้นั้นถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น
    บางครั้งลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวางๆ นี้เป็นทุกข์.


    พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย
    การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา การที่บุรุษมีกำลัง
    จับมัดเอาเท้าขึ้น เอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง
    ถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำ ในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้นข้างบน
    บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวางๆ นี้ดีกว่า
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ
    แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย
    ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา
    ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น
    ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบทายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
    แก่บุคคลผูทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปแล้ว
    ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหล่ะ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายบริโภค
    จีวร(ผ้า) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) และคิลานปัจจัยเภสัช(ยารักษาโรค)
    บริขารของชนเหล่าใด ปัจจัยของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    และการบรรพชาของเราทั้งหลายจักไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล

    อนึ่ง เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์นั้น
    ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ผู้อื่น
    ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท
    หรือเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้งสองก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์ทั้งสองนั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท.


    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
    และเมื่อกำลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ โลหิต (เลือด) ร้อนพุุ่งออกจากปากของภิกษุ 60 รูป (พวกต้น)

    ภิกษุ 60 รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ด้วยกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำได้แสนยาก

    อีก 60 รูป จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น.

    จบ อัคคิขันธูปสูตร
     
  11. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    พระอรหันต์ที่ศึกษาน้อย...ทำให้ผู้เกี่ยวข้องบาปมาก เล่ม 16 หน้า 302 , 308

    ...พระขีณาสพ (อรหันต์) ที่ฟังมาน้อย ย่อมไม่ต้องอาบัติ ( ละเมิด )
    ที่เป็นโลกวัชชะ ( การละเมิดที่มีโทษทางโลก ) ก็จริงอยู่

    แต่เพราะไม่ฉลาดในพุทธบัญญัติ ก็ย่อมจะต้องอาบัติในกายทวาร ( ทางกาย )
    ประเภททำวิหาร ทำกุฏิ ( ให้คลาดเคลื่อนไปจากพุทธบัญญัติ )
    อยู่ร่วมเรือน นอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน ( ผู้ไม่ใช่ภิกษุ ) เป็นต้น

    ย่อมต้องอาบัติในวจีทวาร ( ทางคำพูด ) ในประเภทชักสื่อ
    หรือกล่าวธรรมโดยบท หรือพูดเกินกว่า 5 – 6 คำ หรือบอกอาบัติที่เป็นจริง เป็นต้น

    ย่อมต้องอาบัติเพราะรับเงินรับทอง
    ในทางมโนทวาร ( ความคิด ) ด้วยอำนาจยินดีเงินทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน.

    แม้พระขีณาสพ (พระอรหันต์)
    ขนาดพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรก็ยังเกิดมโนทุจริต (ความคิดชั่ว) ขึ้นได้
    ด้วยอำนาจที่นึกตำหนิ ในมโนทวาร. เมื่อศากยะปาตุเมยยกะ
    ขอขมาพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อประโยชน์แก่พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ
    ในคราวที่ทรงประณามพระเถระทั้งสองนั้น พร้อมกับภิกษุประมาณ 500 รูป.....

    ส่วนในคำว่า ทกฺขิเณยฺยคฺคิ ( ไฟอันเกิดจากผู้ควรรับของทำบุญ ) นี้ คำว่า ทกฺขิณา
    ( ของทำบุญ ) คือปัจจัย 4. ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่า ทักขิไณยบุคคล ( ผู้สมควรรับของทำบุญ ).
    ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่า มีอุปการะมากเเก่คฤหัสถ์ ( โยม ) ด้วยการชักนำ
    ให้ประพฤติในกัลยาณธรรม ( ธรรมอันดีงาม ) ทั้งหลายเป็นต้นว่า
    สรณะ 3 ศีล 5 ศีล 10 การเลี้ยงดูมารดาบิดา การบำรุงสมณพราหมณ์ผู้มีธรรม.

    คฤหัสถ์ (โยม) ที่ปฏิบัติผิดในภิกษุสงฆ์ บริภาษด่าทอภิกษุสงฆ์
    ย่อมไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ดังนั้น แม้ภิกษุสงฆ์ท่านก็เรียกว่า ทักขิเณยยัคคิ
    ด้วยอรรถว่า ตามเผาไหม้โดยนัยก่อนเช่นกัน.
    และเพื่อจะให้ความข้อนี้กระจ่าง
    ควรจะแถลงเรื่องเวมานิกเปรต (เปรตที่ได้รับสุขและทุกข์สลับกันไป) โดยละเอียดด้วย

    พระอานนท์ถูกสงฆ์ปรับอาบัติ
    หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วไม่นาน พระมหากัสสปซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ได้ประชุมสงฆ์ทำสังคายนาพระธรรมและวินัย โดยอาศัยมูลเหตุที่พระสุภัททะ ได้เป็นผู้กล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัย เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๗ วัน
    ก่อนทำปฐมสังคายนาเล็กน้อย พระเถระทั้งหลายได้พร้อมใจกัน ปรับอาบัติพระอานนท์ ซึ่งสำเร็จพระอรหันต์แล้ว รวม ๕ ข้อด้วยกันคือ
    • ถือว่าพระอานนท์มีความผิด ที่ไม่กราบทูลถาม ถึงเรื่องสิกขาบทเล็กน้อย ที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์ถอนได้ ถ้าสงฆ์ จำนงจะถอน
    พระอานนท์แก้ว่า เพราะระลึกไม่ได้ว่า สิกขาบทเหล่าไหนเป็นสิกขาบทเล็กน้อย จึงมิได้ทูลถาม แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย จึงยอมแสดงอาบัติทุกกฎนั้น
    • ถือว่าพระอานนท์มีความผิด ที่เหยียบผ้าวัสสิกสาฎกของพระพุทธเจ้า ในเวลาเย็บผ้าผืนนั้น
    พระอานนท์แก้ว่า ที่เหยียบผ้าวัสสิกสาฎกเวลาเย็บนั้น จะไม่มีความเคารพในพระพุทธเจ้าก็หามิได้ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย จึงยอมแสดงอาบัติทุกกฎนั้น
    • ถือว่าพระอานนท์มีความผิดที่ยอมให้สตรีถวายบังคมพระสรีระของพระพุทธเจ้าก่อน พระสรีระเปื้อนน้ำตาของพวกนางที่ร้องไห้อยู่
    พระอานนท์แก้ว่า ที่ทำดังนั้นเพราะเกรงว่า สตรีเหล่านี้จะกลับบ้านค่ำ จึงให้ถวายบังคมพระสรีระก่อน ไม่ถือว่าเป็นความผิด แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลายจึงยอมแสดงอาบัติทุกกฎนั้น
    • ถือว่าพระอานนท์มีความผิด ที่ไม่ทูลอ้อนวอนพระพุทธเจ้า เมื่อทรงทำนิมิตโอภาสอันหยาบอยู่ ไม่ทูลอ้อนวอนให้ทรงอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
    พระอานนท์แก้ว่า ที่ไม่ทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้า ทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพราะมารดลใจ ไม่เห็นว่าเป็นความผิดแต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย จึงยอมแสดงอาบัติทุกกฎนั้น
    • ถือว่าพระอานนท์มีความผิด ที่ท่านขวนขวายให้สตรีเข้ามาบวชในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
    พระอานนท์แก้ว่า ที่ทำเช่นนั้น เพราะเห็นว่า พระนางมหาปชาบดีพระน้านาง ทรงเป็นผู้ประคับประคองเลี้ยงดู ทรงประทานขีรธาราแก่พระสิทธัตถะ หลังจากที่พระพุทธมารดาทิวงคต ไม่เห็นว่าจะเป็นความผิด แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลายจึงยอมแสดงอาบัติทุกกฎนั้น
    ปัญจสติกขันธกะ วินัย ๗/๓๑๐ ​
    ขยายความ พระอานนท์ได้เป็นแบบอย่างดีเลิศในการที่ไม่มีทิฐิมานะ ท่านยอมรับความเห็นของสงฆ์ส่วนรวม ทั้ง ๆ ที่ท่านไม่เห็นว่าจะเป็นความผิด แต่เมื่อเป็นมติสงฆ์ส่วนรวมท่านก็ยอมปลงอาบัติ
    ชาวพุทธทั้งหลาย ถ้าถือเอาแบบท่านพระอานนท์เป็นตัวอย่าง ความวุ่นวายในหมู่คณะก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
     
  12. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    ก็ไม่สมควรจริง ไหมละครับ หากจะเป็นชาวพุทธ ก็ต้องศึกษา เรียนรู้แล้วนำมาปฏิบัติ สิ่งใดพระองค์สอนไม่ให้ทำ ก็ควรละ สิ่งใดทรงสอนให้ทำก็ควรเริ่มหัดลงมือทำให้ถูกต้องด้วย
    ศีลนะ ผมมีแต่บอกให้รู้จักฉลาดในการรับ มิใช่ให้รับมาทั้ง ห้าข้อแล้วทำได้ไม่ครบก็มีบาปติดไป แทนที่จะเลือกรับข้อที่ทำได้แน่นอนแล้ว ก็รับแบบไม่มีผิด ผู้จะให้ศีลก็ควรฉลาดเช่นกัน อบรมทหาร ชาวไร่ ชาวนา ให้รับศีลข้อปาณาติบาต ได้ยังไง เพราะพวกเขารับแล้วก็ย่อมต้องทำผิดแน่ๆ ทหารยังต้องรบ ชาวไร่ ชาวนา ก็ยังต้องฆ่าสัตว์เล็กสัตว์น้อย ยังต้องผิดศีลข้อนี้แน่ๆ แล้วจะให้รับทำไมให้เป็นบาป คนเราก็ต้องเรียนรู้สิ่งใดควรไม่ควร ผมนำธรรมของพระพุทธองค์มาให้อ่าน ให้ศึกษากลับ มัวแต่เพ่งโทษ หาข้อจับผิดในธรรม อันขัดกับประโยชน์ส่วนตน ความพอใจส่วนตน..ไม่น่าขำกว่าหรือ
     
  13. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    เดี๋ยวก็ออกมาด่ากันอีก พูดไปจะเชื่อไหมละ ว่าพ่ออยู่หัวท่านทราบเรื่องนี้แล้ว แต่ติดที่กระแสสังคม ประเพณี วัฒนธรรม ที่ทำๆ ตามกันมานาน จนแก้ยาก ตัวท่านพระองค์เดียวคงแก้ไม่ได้ทั้งหมด ดูตัวอย่างในเว๊ปนี้เป็นต้น เห็นๆ กันอยู่ว่าผู้เอาวินัยกับไม่เอามีกำลังต่างกันแค่ไหน ส่วนท่านจะลงไหม ตามความคิดผม ท่านคงไม่แล้ว เพราะตั้งใจแก้ไข เริ่มจากตัวท่านเองแล้ว เดี๋ยวก็คงมีคนมาสรรเสริญผมอีก..ฮ่าๆ จะเชื่อไม่เชื่อก็เรื่องของท่าน..
    แต่ขอเหอะ อย่ายกเอาท่าน หรือครูอาจารย์มาเพื่อความเชื่อ ประเพณีที่ทำตามกันมานานเลย ถึงทำกันมานาน หากผิดก็คือผิด
    และหาก มีผู้เริ่มต้นงาน แก้ไขสิ่งผิดให้ถูก ย่อมมีกระแสต่อต้านมากแน่นอน เป็นธรรมดา งานนี้จึงไม่ง่าย แต่ก็ลองดู

    เลิกขายอิฐ หินปูน ทราย แลกเงินได้ก็จะดีนะ เอาเงินบาปไปทำบุญ มันล้างกันไม่ได้ง่ายๆ นักหรอก หากไม่อยากยึด ก็เลิกเท่านั้น ไปทำอาชีพสุจริตแท้ๆ ทำได้เงินน้อยกว่าก็ยังดีกว่า ขึ้นชื่อว่าเอาพระมาขายกินนะท่าน
     
  14. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    นะ ถ้าที่ผมยกมายังไม่พอ ขอให้ไปอ่านใหม่ ให้ละเอียดอีกรอบ..ยังไง ท่านก็ไม่ได้ส่งเสริมให้สร้าง ขอถามหน่อย หากดีจริง ท่านต้องเร่งให้สร้างกันไปทั่วอินเดียสมัยนั้นแล้ว จะให้ต้องบอกกี่ที ว่าท่านให้พระธรรมวินัยที่ท่านแสดงไว้ดีแล้ว เป็นตัวแทนเป็นศาสดาแทนท่าน เมื่อท่านดับขันธ์ไปแล้ว
    พุทธานุสติ นะ น้อมระลึกในจิตดวงนี้ ตะหาก ไม่จำต้องพึ่งรูปใดๆ เลย หากไม่มีรูปเหล่านี้ ติดตัว คุณจะหาที่พึง ที่ระลึกไม่ได้เลยสิ
    ถ้าจะบอกว่าคนในบ้านผมเป็นพุทธแท้ ไม่พึงวัตถุใดๆ ได้แล้ว จะยัง คงสรรเสริญ คนทั้งบ้านผมอีกสิ ความตั้งใจดี ความดีที่คุณทำอยู่ มันก็ดี หากจะให้ดีก็ควรทำดี แล้วได้ผลดีนั้น เต็มๆ โดยไม่มีส่วนบาปติดไปไม่ดีกว่าหรือ

    อย่างไหน จึงเรียกว่าคนฉลาดสำหรับคุณละครับ คนที่ขยันหากินด้วยความซื่อสัตย์ จนร่ำรวย มีเงินทอง หรือพวกบัณฑิตผู้เล่าเรียนมาก เป็นด๊อกเตอร์ หรื อผู้ฉลาดในธรรมวินัย หรือฉลาดในการหาเงินสร้างวัตถุ ใหญ่โตให้คนกราบไหว้

    สำหรับผมคนที่ฉลาดกว่า ย่อมไม่ทำผิดทั้งในที่ลับ ที่แจ้ง รักษาศีลห้า ได้ครบ ศึกษาธรรมวินัยและปฏิบัติตามได้
    สำหรับคนที่คิดว่าการเรียนและปฏิบัติตามธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ บัญญัติไว้ดีแล้ว ลงมือทำให้ได้หมด เป็นสิ่งที่สุดโต่ง จงพิจารณาตัวเองเถอะว่าตนนั้นแหละ สุดโต้ง ไปในทางหย่อนยาน คิดจะเอาแต่ง่ายๆ ทางสะดวกแบบไม่ต้องเรียนอะไรมาก ผิดก็ไม่รู้ ถูกก็ไม่ทำ แต่วาดฝันว่าตัวเองจะไปสุขคติ คิดว่าทำดีแล้ว หวังดี เจตนาดี แต่ยังทำผิดธรรมวินัยที่ทรงบัญญัติไว้ให้ เหยียบย้ำ ทำลายโดยไม่รู้ตัว แก้ไขซะ ยังทันเมื่อยังมีลมหายใจอยู่
     
  15. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    เมื่อเห็นพระทำผิด...โยมก็เตือนได้ เล่ม 3 หน้า 663

    ...ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตา ได้ถูกเชิญไปสู่สกุลนั้น
    นางได้เห็นท่านพระอุทายี นั่งในที่ลับ คือในอาสนะ (ที่นั่ง) กำบัง
    ซึ่งพอจะทำการได้กับหญิงสาวนั้น หนึ่งต่อหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุทายีว่า
    " ข้าแต่พระคุณเจ้า การที่พระคุณเจ้าสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง
    ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม (ผู้หญิง) หนึ่งต่อหนึ่งเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่ควร
    แม้พระคุณเจ้าจะไม่ต้องการด้วยธรรมนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น
    พวกชาวบ้านผู้ที่ไม่เลื่อมใส จะบอกให้เชื่อได้โดยยาก "


    ท่านพระอุทายี แม้ถูกนางวิสาขา มิคารมาตา ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ก็มิได้เชื่อฟัง
    เมื่อนางวิสาขามิคารมาตา กลับไปแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย....

    เมื่อเตือนพระไม่ฟัง...ไม่ทำบุญด้วยก็ได้ เล่ม 7 หน้า 480

    ...ครั้งนั้น อุบาสกอุบาสิกาชาวพระนครโกสัมพีได้หารือกันดังนี้ว่า
    พระคุณเจ้าเหล่าภิกษุชาวพระนครโกสัมพีนี้ ทำความพินาศใหญ่โตแก่พวกเรา
    พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกท่านเหล่านี้รบกวน จึงเสด็จหลีกไปเสีย
    เอาละ พวกเราไม่ต้องอภิวาท (การกราบไหว้) ไม่ต้องลุกรับ
    ไม่ต้องทำอัญชลีกรรม (การประนมมือไหว้) สามีจิกรรม (การแสดงความเคารพ)
    ไม่ต้องทำสักการะ ไม่ต้องเคารพ ไม่ต้องนับถือ
    ไม่ต้องบูชาซึ่งพระคุณเจ้าเหล่าภิกษุชาวพระนครโกสัมพี แม้เข้ามาบิณฑบาต ก็ไม่ต้องถวายบิณฑบาต
    ท่านเหล่านี้ ถูกพวกเราไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีสักการะอย่างนี้
    จักหลีกไปเสีย หรือจักสึก หรือจักให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโปรด.


    ครั้นแล้วไม่อภิวาท ไม่ลุกรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ
    ไม่นับถือ ไม่บูชา ซึ่งพวกภิกษุชาวพระนครโกสัมพี แม้เข้ามาบิณฑบาต
    ก็ไม่ถวายบิณฑบาต...
     
  16. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    ต้องไม่ถือตามอุปัชฌาย์ – อาจารย์ที่ผิดวินัยและโง่เขลา เล่ม 9 หน้า 543

    ...พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีนี้แสดงวัตถุ 10 ประการเหล่านี้
    ในเมืองเวสาลี ท่านเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้น พวกเราจงช่วยกันยกอธิกรณ์ (เรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว) นี้ขึ้น
    ในภายหน้าสภาพที่มิใช่ธรรมจักรุ่งเรือง ธรรมจักเสื่อมถอย สภาพที่มิใช่วินัยจักรุ่งเรือง
    วินัยจักเสื่อมถอย ในภายหน้าพวกอธรรมวาทีจักมีกำลัง พวกธรรมวาทีจักเสื่อมกำลัง
    พวกอวินัยวาที (กล่าวผิดไปจากหลักวินัย) จักมีกำลัง
    พวกวินัยวาทีจักเสื่อมกำลัง ....


    เล่ม 6 หน้า 153 และ 178

    .....สัทธิวิหาริก (ศิษย์) ผู้ประสงค์จะไป พึงชี้แจงถึงกิจการแล้วอ้อนวอนเพียงครั้งที่สาม.
    ถ้าท่านอนุญาตเป็นการสำเร็จ, ถ้าไม่อนุญาต เมื่อเธออาศัยท่านอยู่
    อุทเทส (หัวข้อที่ยกขึ้นแสดง) ก็ดี ปริปุจฉา (การสอบถาม) ก็ดี
    กัมมัฏฐานก็ดี ไม่สำเร็จ เพราะอุปัชฌาย์เป็นคนโง่ไม่เฉียบแหลมไม่ยอมให้ไปเช่นนั้น
    เพราะมุ่งหมายจะให้อยู่ในสำนักของตนถ่ายเดียว เมื่ออุปัชฌาย์เช่นนี้แม้ห้ามจะขืนไป ก็ควร.

    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษ (คนโง่เขลา)
    เหล่านั้นจึงได้อ้างว่า เรามีพรรษาได้ 10 แล้ว เรามีพรรษาได้ 10 แล้ว ดังนี้
    แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ให้อุปสมบท (ให้ผู้อื่นบวช)
    ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้เขลา แต่สัทธิวิหาริก (ศิษย์) เป็นผู้ฉลาด
    ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม แต่สัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม
    ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีสุตะ (การฟัง , การเล่าเรียน) น้อย
    แต่สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมาก
    ปรากฏว่าอุปัชาฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม แต่สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีปัญญาดี

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกโมฆบุรุษนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
    ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
    ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เขลาไม่เฉียบแหลมไม่พึงให้อุปสมบท
    รูปใดให้อุปสมบทต้องอาบัติทุกกฏ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    เราอนุญาตให้ภิกษุผู้สามารถมีพรรษาได้ 10 หรือมีพรรษาเกิน 10 ให้อุปสมบท
     
  17. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    ความประพฤติของภิกษุในกาล.....? เล่ม 53 หน้า 202

    ...ในกาลข้างหน้า โทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตวโลก
    ก็เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา จักทำธรรม (คำสอน) ที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนี้ให้เศร้าหมอง
    ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลว โวหารจัด แกล้วกล้า มีกำลังมาก ปากกล้า
    ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน (ตามพระไตรปิฎก) ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑล

    ภิกษุทั้งหลายในสังฆมณฑล แม้ที่มีคุณความดี มีโวหารโดยสมควรแก่เนื้อความ
    มีความละอายบาป ไม่ต้องการอะไรๆ ก็จักมีกำลังน้อย

    ภิกษุทั้งหลายในอนาคตที่ทรามปัญญา ก็จะพากันยินดีเงินทอง ไร่นา ที่ดิน แพะ แกะ
    และคนใช้หญิงชาย จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษคนอื่น
    ไม่ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้าย เที่ยวยินดีแต่การทะเลาะวิวาท
    จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียว แดง เป็นคนลวงโลก กระด้าง
    เป็นผู้แส่หาแต่ลาภผล เที่ยวชูเขาคือมานะ ทำตนดั่งพระอริยเจ้าท่องเที่ยวไปอยู่.....
    จักเป็นผู้มุ่งแต่ลาภผล เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม
    เห็นการอยู่ป่าอันสงัดเป็นความลำบาก จักใคร่อยู่ในเสนาสนะที่ใกล้บ้าน
    ภิกษุเหล่าใดยินดีมิจฉาชีพ จักได้ลาภเสมอๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น
    เที่ยวคบหาราชสกุล (คนที่มีหน้าตาในสังคม) เป็นต้น เพื่อให้เกิดลาภแก่ตน ไม่สำรวมอินทรีย์

    อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย
    จักไม่สมคบภิกษุที่เป็นนักปราชญ์มีศีลเป็นที่รัก.
     
  18. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    ภิกษุที่เลวทรามย่อมทำให้เทวดา – มนุษย์ทั้งหลายเดือดร้อน เล่ม 33 หน้า 394

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด พวกโจรมีกำลัง สมัยนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมถอยกำลัง
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมไม่สะดวกที่จะเสด็จผ่านไป.
    เสด็จออกไปหรือจะออกคำสั่งไปยังชนบทชายแดน
    ในสมัยเช่นนั้น แม้พวกพราหมณ์และคฤหบดีก็ไม่สะดวกที่จะผ่านไป จะออกไป
    หรือเพื่อตรวจตราการงานภายนอก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด พวกภิกษุเลวทรามมีกำลัง
    สมัยนั้น พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รักย่อมถอยกำลัง
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น ภิกษุพวกที่มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้นิ่งเงียบทีเดียว
    นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือคบชนบทชายแดน


    ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย
    เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย...
     
  19. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    พระที่เทศน์แหล่ – เทศน์ร้อง – เทศน์รำ…ผิด เล่ม 9 หน้า 8

    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน....
    ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ มีโทษ ๕ ประการนี้ คือ

    ๑. ตนยินดีในเสียงนั้น
    ๒. คนอื่นก็ยินดีในเสียงนั้น
    ๓. ชาวบ้านติเตียน
    ๔. สมาธิของผู้พอใจการทำเสียงย่อมเสียไป
    ๕. ภิกษุชั้นหลังจะถือเป็นเยี่ยงอย่าง.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล ของภิกษุผู้สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ
    รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
     
  20. Denverguy

    Denverguy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +129
    พระที่ทำท่าสำรวม – สวดมนต์เพื่อลาภ เป็นผู้มีความปรารถนาลามก เล่ม 45 หน้า 214

    ...ชนกุหนตฺถํ ได้แก่ เมื่อภิกษุมีความปรารถนาลามก มักมาก
    เพื่อจะหลอกลวงหมู่ชนด้วยความเท็จ ด้วยกุหนวัตถุ ๓ อย่าง
    กล่าวคือ ร่ายมนต์ อาศัยอิริยาบถ เสพปัจจัย.

    บทว่า ชนลปนตฺถํ ได้แก่ เมื่อภิกษุมีความปรารถนาลามก เพื่อประจบชนด้วยพูดรำพัน
    หรือด้วยพูดยกยอ โดยพูดแย้มให้เขารู้ความหมาย เป็นต้น เพื่อปัจจัย (เครื่องดำรงชีพ).

    บทว่า ลาภสกฺการสิโลกานิสํสตฺถํ ได้แก่ เมื่อภิกษุมีความปรารถนาลามก เพื่อให้สำเร็จอานิสงส์
    กล่าวคือลาภสักการะ ความสรรเสริญ เพราะเป็นผู้หนักในลาภเป็นต้น.

    บทว่า อิติ มํ ชโน ชานาตุ ได้แก่ เมื่อมีความปรารถนาลามก ภิกษุไม่อยู่ประพฤติพรหมจรรย์
    ด้วยคิดว่า ชนจงรู้จักเราอย่างนี้ ด้วยประสงค์ความยกย่องคุณอันไม่มี…..
     

แชร์หน้านี้

Loading...