การบรรลุพระโสดาบัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Dragon_Fly, 17 เมษายน 2009.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คนบางคน ไม่สนใจที่จะละกิเลส แต่ไปสนใจที่วิธีการ และปัญญา เช่น ดูเฉยๆนะ
    จิตมันไม่มีตัวตนนะ อย่าไปพยายามนะ พยายามมันเป็นกิเลสนะ

    ผมคงต้องบอกว่า นั่นแหละครับ สีลพตรปรามาส เพราะกิเลสเกิด ก็ต้องดับกิเลส มีตัณหา ราคะโทสะ ก็ต้องดับตรงนั้น

    ไม่ใช่ไปสนใจเรื่อง การดูจิต ตรงนี้พยายามทำความเข้าใจหน่อยนะครับ

    ทางตรงคือ เราเห็นไฟ เราดับเองทันที เพราะมีสติ

    กับอีกคนหนึ่งขาดสติ พอเห็นไฟ ลามก้น ก็วิ่งไปถามคนมีไฟที่ก้นเหมือนกัน
    คนมีไฟที่ก้นคนหนึ่งดูหน้าเชื่อถือ ก็บอกว่า ดูเฉยๆ เดี๋ยวมันดับไปเอง
    ไอ้คนที่ไฟลามก้นที่ไม่มีสติก็บอกว่า ครับ ดูเฉยๆ ให้มันเป็นถิรสัญญา 555
    เดี๋ยวมันดับไปเอง

    สรุปว่า ชาวบ้านชาวช่องคนอื่นเขาไม่สนใจหรอกครับ เขาดับมันเองไปแล้ว ด้วยตัวเองคือ ละบ้าง สู้กับมันบ้าง ฝืนมันบ้าง ค่อยๆ ศึกษาหาทางว่า มันมาอย่างไรนะไอ้ไฟนี้
    ค่อยๆ หาต้นทางมันแล้วดับที่ต้นทาง

    นี่แหละ เรียกว่า ตรงทางและไม่เป็นสีลพตรปรามาส
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ราตรีสวัสดิ์ ทุกท่านผมขอตัวพักผ่อน

    มองอะไรมองตรงๆ ถ้ามองด้วยความปรุงแต่งจะไม่เห็นตรง ไม่เห็นธรรม

    ไฟเกิดก็ดับ ไฟเกิดที่ใจก็ดับที่ใจ ดับด้วยวิธีการง่ายๆ ก่อน
    จากนั้นศึกษา แล้วก็เพียรพิจารณา

    ส่วน การดูเฉยๆ มันไม่มีทางที่ไฟนั้นจะดับไปเอง เพราะว่าเชื้อ คืออวิชชาของเรานั้นคอยเติมตลอดเวลา
     
  3. aisleberley

    aisleberley สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +7
  4. aisleberley

    aisleberley สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +7

    ขออนุญาติถามคุณ บดินทร์ ครับว่า แบบที่เล่าเรื่องสเปริม...... นี้เรียกว่า เป็นขั้น อนาคามีมรรค หรือ อนาคามีผล เหรอครับ

    แล้วอีกคำถามครับ "อีก 10 ปี อายุผมก็คงถึง 45 ครับท่าน เมื่อนั้นผมก็คงต้องบวช เพราะมีการเตือนหลายครั้งแล้ว" มีอะไรมาเตือนอ่ะครับ เตือนแบบไหน แล้วจะรู้อย่างไรได้บ้างครับ

    ขอบคุณครับ
     
  5. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ถึงคุณ lab555

    ตรงนี้นะครับขอยืนยันอีกคน คุณ ขันนั้นไม่ใช่ของจริง ตรงนี้ไม่ได้มาเพื่ออยากจะหักหน้ารึแต่อย่างใด คุณ ขันไม่ใช่ไม่มีคุณธรรมวิเสด แต่เค้ายังไม่ถึงยังรุ้เพียงตำราแต่ยังไม่เข้าถึงธรรมโดยแท้จริง ผมสามารถรู้ได้ตั้งแต่เรื่องขององค์ฌาณในตัวเค้าและยัง ธรรมวิปลาส อันเกิดจากอุปกิเลส ในตัวคุณขันที่กำลังดำเนินอยู่แต่ยังหาทางออกไม่ได้

    ใครผ่านมาทางนี้แล้วลองฟังธรรมที่ออกจากความคิดเค้าดูเค้ายังวนติดอยุ่ยังหาทางออกของกลางไม่เจอ หลายครั้งกล่าวออกมาได้ดีและถุกแล้ว แต่หลายครั้งยังผิดอยุ่มาก เพราะอะไรเพราะความเห็นยังไม่ตรงยังไม่แนบแน่นด้วยธรรม

    ตรงนี้ใครที่ผ่านมาแล้วย่อมรู้ชัดเพราะมันเคยเป็นมาแล้ว ไม่ใช่ว่าเค้าผิดเค้าดีแต่ดีในระดับหนึ่ง เหมืนคนพึ่งเข้ามาในสาสนาก้ต้องไห้รู้จักทานก่อน แล้วค่อยไห้รักสาศิล ค่อยให้รู้จักธรรม ค่อยให้รู้จักปัญญามีปัญญาแล้วค่อยนำไปใช้ ใช้ต้องใช้ให้ถูกทาง

    ตรงนี้ผมาดพิงโดยตรงถึงเค้าบ่อยๆๆจริงๆมีจุดประสงต้องการให้เค้าย้อนดูธรรมที่ยังไม่ได้ไห้ได้บอกวิทีแก้ไปก้หลายครั้งแต่คนเมื่อมันถูกบังตาด้วยความหลงผิดมีมานะ หลงในปัญญาก้เคยเอามาโพสไห้ดูแล้ว ในอุปกิเลส มันรู้มากแต่มันยังไม่เห็น พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ รู้เรื่องเดียวกันหมดรู้ในอริยะสัจ อันมีทุข เป็นเหตุ มองเห็นใด้ชัดเลยว่าคุณ ขันยังไม่เห็นเหตุแห่งทุก แต่ไปยึดเอาวิทีดับทุกแต่เมื่อยังไม่เห็นเหตุเลยจะไปดับอะไรยังดับไม่ถูกจุดยังมองไม่ออกมองไม่ทะลุ เพราะอะไร

    เพราะความรู้มากนั่นแหละ อ่านตำรามากจนคิดว่านี่สำเร็ดแล้วนี่ผ่านพ้นความเพียรได้แล้ว ตรงนี้เป็นอุปกิเลสในวิปัสนาโดยตรงเลย แต่ใช่ว่าจะดีน้อยที่ไหนเค้ายังมีทั้งศิลแต่ตรงนี้แหละที่ศิลไม่เต็ม ไม่ใช่เต็มเพราะปากท่องรึเต็มเพราะไปยึดติดนะ ศิลในใจยังไม่เต็ม ไม่ใช่เชื่อว่าศิลเป็นอย่างนี้ๆๆ แต่สิลในความปรกติของจิตยัไม่เต็มจิตยังไม่ปรกติ ตรงนี้เลยยังผ่านไปไม่ได้

    1ไม่รู้เหตุ 2 สิลไม่ครบ 3 ธรรมไม่แนบแน่น

    ธรรมไม่แนบแน่นยังไง ยังไม่ความสงสัยไง ความสงสัยในธรรมในพระพุทธเจ้า สงสัยยังไง
    ยังไม่เห็นไงเห็นธรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ตรงนี้มันยังไม่ชัดธรรมนั่นแหละมันยังไม่ชัดอ่านดูแล้วทุกคนจะรู้ความไม่ชัดอย่างไร ไม่ใช่ไม่รู้ธรรมแต่ไม่แจ้ง รู้บ้างยังไม่รู้บ้างเป็นแบบนี้

    ไม่ใช่ไม่มีความดีดีแล้วดีในระดับหนึ่งซึ่งก้ดีกว่าหลายคนแล้วที่ยังหลงไปตามกิเลส แต่ยังประกอปไปด้วย จิตที่ยังขุ่นยังไม่ผ่องใส หากเค้าสามารถดูจิต เข้าไปในจิตตัวเองได้จะรู้โดยชัดเอง ปัญหาตรงนี้จะไม่เกิด

    เอแต่ก้แปลกอยุ่ ฝั่งก้พอเดาๆๆได้ ทางงก้รุ้ แสงก้มี แต่ทำไมยังไปไม่ถุก เพราะกรรมไง กรรมทั้งปัจจุบันและอดิตบังตาไว้เหมือนคนมีเรือนั่งจับหางเสือเรือแน่นรุ้ว่าฝั่งอยู่ข้างหน้า มีแสงไปส่องนำทางพร้อม แต่ถูกปิดตาไว้แม้มีไฟก้มองไม่เห็น แม้มีเรือจะพาไปไห้ถึงฝั่งก้ยังไปไม่ถุกแม่รู้อยู่ว่าฝั่งอยู่ตรงหน้าก้ยังขึ้นไปไม่ได้ เพราะแค่อะไร แต่ถูกปิดตาไว้ ทุกอย่างพร้อมหมดแต่ไม่เอาสิ่งที่ปิดตาออกไป

    มองเห็นสัญญาที่แตกต่างแล้วยิ่งดี ไม่ได้มานั่งแค่ดูอารมที่บอกไห้ดูอารมเค้าไห้คนเพิ่งเริ่มดูคุณมันทำมานานมันก้เลยรู้อยู่ดูบ่อยแล้วแล้วทำไมถึงไม่เข้าใจหว่า ดูมาก้มากทำก้มาก เพราะ กรรมรึเพราะปราถหนาสิ่งอื่น..... ถึงไม่ทำไห้ก้าวเข้าไป ไม่ใช่ที่นั่นไม่รับคุณแต่คุนเองต่างหากพร้อมรึยังจะเข้าไปเป็นคนบอกตัวเองรึเปล่าว่ายัง ยังไม่หยุด หยุดในอะไร หยุดใน ตัณหา อุปทาน มองเห็นขั้นสัญญาขันแล้วก้อย่าได้เสียเวลาโยนิโสต่ออีกนิดจะไม่ติดใน อีกหลาย.... ตรงนี้แหละที่คุณพร่ำบ่อนว่าตัดไปเลยไม่ใช่แค่ดูแต่กำลังใจจะตัดถึงรึยัง คุณนั่นแหละเป็นคนเลือกเองจะตัดมันรึจะอยู่กับมัน คบกันมานานมันเลยเลิกยาก ตรงนี้เรื่องของกำลังใจ รึบารมีของแต่ละคนเลยที่พอรึพร้อมรึยังที่จะเลิดละเสียเด็จขาด

    มาตั้งไกลแต่ทำไมยังหวังสิ่งอื่นอยู่รึเปล่า ... พุทธภูมิ ... เลยยังกั้นไม่ไห้ไปต่อเห็นว่ามันทุขขนาดนั้นมันน่าเบื่อหน่าย นิพพิทา ขนาดนั้น เด่วไม่พูดธรรมมั่งเด่วก้หาว่าไม่รู้อีก ทามไมยังจะไปอยู่กับมันอีก
     
  6. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    บารมี 10 [​IMG]

    บารมีี แปลว่า กำลังใจเต็ม บารมี 10 ทัศ มีดังนี้
    1. ทานบารมีี จิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ
    2. ศีลบารมี จิตของเราพร้อมในการทรงศีล
    3. เนกขัมมบารมี จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช แต่ไม่ใช่ว่าต้องโกนหัวไม่จำเป็น
    4. ปัญญาบารมี จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารให้พินาศไป
    5. วิริยบารมี วิิริยะ มีความเพียรทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ
    6. ขันติบารมี ขันติ มีทั้งอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์
    7. สัจจะบารมี สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลา ว่าเราจะจริงทุกอย่าง ในด้านของการทำความดี
    8. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ
    9. เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดี ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น
    10. อุเบกขาบารมี วางเฉยเข้าไว้ เมื่อร่างกายมันไม่ทรงตัว ใช้คำว่า "ช่างมัน" ไว้ในใจ
    บารมี ที่องค์สมเด็จทรงให้เราสร้างให้เต็ม ก็คือ สร้างกำลังใจปลูกฝังกำลังใจให้มันเต็มครบถ้วนบริบูรณ์สมบูรณ์
    บารมีในขั้นต้นกระทำด้วยจิตอย่างอ่อนเป็นขั้นพระบารมี เมื่อจิตดำรงบารมีขั้นกลางได้ เรียกว่า พระอุปบารมี และเมื่อจิตดำรงบารมีขึ้นไปถึงที่สุดเลย เรียกว่า พระปรมัตถบารมี หรือบารมี 30 ทัศ หรือมีศัพท์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระสมติงสบารมี หมายถึง พระบารมีสามสิบถ้วน ซึ่งเป็นธรรมพิเศษหมวดหนึ่ง มีชื่อว่า พุทธกรณธรรม เป็นธรรมพิเศษที่กระทำให้ได้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้่า พระโพธิสัตว์ที่ต้องการจะเป็นพระพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญธรรมหมวดนี้ หรือมีชื่อหนึ่งเรียกว่า โพธิปริปาจนธรรม คือธรรมสำหรับพระพุทธภูมิ หรือชาวพุทธเราทั่วไปเรียกว่า พระบารมี หมายถึง ธรรมที่นำไปให้ถึงฝั่งโน้น คือ พระนิพพาน
    • ทาน การให้ เป็นการตัดความโลภ
    • ศีล เรามีก็ตัดความโกรธ
    • เนกขัมมะ เป็นการตัดอารมณ์ของกามคุณ
    • ปัญญา ตัดความโง่
    • วิริยะ ตัดความขี้เกียจ
    • ขันติ ตัดความไม่รู้จักอดทน
    • สัจจะ ตัดความไม่จริงใจ มีอารมณ์ใจกลับกลอก
    • อธิษฐาน ทรงกำลังไว้ให้สมบูรณ์
    • เมตตา สร้างความเยือกเย็นของใจ
    • อุเบกขา วางเฉยเข้าไว้ในเรื่องของกายเรา
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    การเทียบบารมี

    บารมีจัดเป็น 3 ชั้น คือ
    1. บารมีต้น
    2. อุปบารมี
    3. ปรมัตถบารมี
    • บารมีต้นในขั้นเต็ม ท่านผู้นี้จะเก่งเฉพาะทาน กับ ศีล แต่การรักษาศีลของบารมีขั้นต้นจะไม่ถึงศีล 8 และจะยังไม่พร้อมในการเจริญพระกรรมฐาน กำลังใจไม่พอ อาจจะไม่ว่างพอหรือเวลาไม่มี
    • อุปบารมี เป็นบารมีขั้นกลาง พร้อมที่ทรงฌานโลกีย์ ท่านพวกนี้จะพอใจการเจริญพระกรรมฐาน และทรงฌาน แต่ยังไม่ถึงขั้นวิปัสสนา ยังไม่พร้อมที่จะไปและไม่พร้อมที่จะยินดีเรื่องพระนิพพาน พร้อมอยู่แค่ฌานสมาบัติ
    • ปรมัตถบารมี ในอันดับแรกอาจจะยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องนิพพาน พอสัมผัสวิปัสสนาญาณขั้นเล็กน้อย อาศัยบารมีเก่า ก็มีความต้องการพระนิพพาน จะไปได้หรือไม่ได้ในชาตินี้นั้นไม่สำคัญ เพราะการหวังนิพพานจริง ๆ ต้องหวังกันหลายชาติจนกว่าบารมีที่เป็นปรมัตถบารมีจะสมบูรณ์แบบ
     
  7. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    คำๆนี้บารมีฟังแล้วเหมือนต้องเสียเวลากันอีกไม่รู้กี่ชาติกว่าจะทำได้ดูมันยากดูมันไกลตัว จริงๆๆแล้ว กำลังใจเหล่านี้จะไม่เกิดเลยหากไม่ประสบกับ ทุข เมื่อเจอทุขแล้วต้องเห็นด้วยปัญญา จะผ่านพ้นมันไปได้ด้วยปัญญาอันดับทุขนั้นจากไหนจากกำลังใจที่ช่วยไห้เราละเลิก
    เหมือนคนติดบุหรี่ ย่อมอยากบุหรี่แต่ถามว่าเลิกได้ไหมตรงนี้เป้นเรื่องของกำลังใจ กำลังใจมาจากไหน มันต้องทำมันตองสร้าง แล้วมันเลิกได้แน่นอน
     
  8. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย
    ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ
    1. โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา)
    2. โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา)
    3. โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา)
    ปัญญา ที่เป็นระดับ อธิปัญญา คือปัญญาอย่างสูง จัดเป็นสิกขาข้อหนึ่งใน สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา คือ อธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา


    ตรงนี้ก้สำคัน รู้ในเหตุรู้ในผล กำกับ ศรัทธา การฟังก้ทำให้เกิดปัญญาเกิดได้อย่างไรฟังแล้วนำไปมนสิการ ท่าฟังแล้วมนสิการผิดแปลว่าอะไรแปลว่า โง่ ไม่ใช่แปลว่าหลง ยังหลงในผลนะไม่ใช่หลงในเหตุ คิดว่าทำแบบนี้อย่างนี้แล้วจะได้ผลแบบนี้แต่มันไม่ใช่ มันยังไม่ถูก
     
  9. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ธรรม ของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมโดยง่าย ช้ไว้ไห้เห็นหมดแล้วทั้ง เหตุ คือทุข ทั้การดับทุก ทั้งหนทางดับทุข และแสดงผลของการดับไว้ไห้พร้อมแล้วด้วยเพียงแค่ฟังและใช้ปัญญา เหตุแห่งการที่ยังไม่เห็นในสิ่งที่ ชี้ ก้เพราะปัญญา ยังไม่พอก้ต้องอบรมปัญญากัน มีปัญญากำลังใจยังไม่พร้อมก้ต้องทำกำลังใจกัน ตรงนี้มีผู้ ชี้ ไห้เห็นหมดแล้วและพูดไว้อย่างง่ายๆๆ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=549 align=center bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD colSpan=4>อริยสัจ 4

    </TD></TR><TR><TD width=12> </TD><TD colSpan=4> มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4
    1. ทุกข์
    คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์
    2. สมุทัย
    คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง
    3. นิโรธ
    คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน
    4. มรรค
    คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ความจริงมีเท่านี้ ฟังเท่านี้สามารถ รู้เห็น ตามได้หรือไม่ท่าไม่ก้ เพราะอะไรเพราะยังขาด สติ สัมปชันยะ เพราะอะไรยัง ประมาท ประมาทในธรรม ประมาทในกาล ให้มองไห้อออกว่าทุกสิ่งนั้น



    ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ 3 อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ 3 อย่าง ได้แก่ :-
    1. อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) - อาการไม่เที่ยง อาการไม่คงที่ อาการไม่ยั่งยืน อาการที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป อาการที่แสดงถึงความเป็นสิ่งไม่เที่ยงของขันธ์.
    2. ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) - อาการเป็นทุกข์ อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดัน อาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ อาการที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์.
    3. อนัตตตา (อนัตตลักษณะ) - อาการของอนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง อาการที่แสดงถึงความไม่มีอำนาจแท้จริงในตัวเลย อาการที่แสดงถึงความด้อยสมรรถภาพโดยสิ้นเชิงไม่มีอำนาจกำลังอะไรต้องอาศัยพึงพิงสิ่งอื่นๆมากมายจึงมีขึ้นได้.
    ลักษณะ 3 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิยาม คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร
    อนึ่ง เพื่อกันการใช้ศัพท์ผิดพลาดสับสนที่มักพบบ่อย ท่านควรทราบว่า ศัพท์ว่า อนิจฺจํ(อนิจจัง) เป็นต้น กับ ศัพท์ว่า อนิจฺจตา(อนิจจะตา) เป็นต้น เป็นศัพท์ที่ใช้คนละความหมายกัน ซึ่งจะได้อธิบายไว้ในตอนท้ายของบทความนี้ด้วย


    ทางที่จะทำให้รู้ไห้เห็นก้ทรง ชี้และบอกไว้ครบถ้วน

    มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ) และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหนทาง 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้
    1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
    2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
    3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึงการพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
    4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
    5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
    6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
    7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
    8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลศ นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
    อริยมรรคมีองค์แปด เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือทางที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา
    • ข้อ3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
    • ข้อ6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
    • ข้อ1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)
    ทำตามนี้ก้จะได้รู้ตามแล้ว มีผุบอกทั้งเหตุทั้งผลทั้งวิทีการทั้งชี้ไห้เห็นครบหมดแล้วแต่ทำไมยังมองไม่เห็นเพราะยังขาด สติขาดสมาทิที่จะรับฟัง ขาดปัญญาที่จะเข้าใจ ขาดกำลังใจที่จะเชื่อตามและพร้อมที่จะละและเลิก และแนวทางที่ปติบัติก้เป็นทางที่ทำโดยง่ายสบายๆๆ


    ทำตามเพียงเท่านี้คุณธรรมอันวิเสดทั้งหลายย่อมมีย่อมเกิด

    อนุโมทนา

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=1008 align=center background=img_frame/bg.jpg border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2 height=6><TD colSpan=3 height=6><TR><TD colSpan=6 height=6><TABLE width=837 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=784><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">มัชฌิมาปฏิปทา </TD><TD class=buttonheading align=right width="100%">[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=createdate vAlign=top colSpan=2>๒๕ กันยายน ๒๕๔๗ </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>
    มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ทางสายกลาง
    มัชฌิมาปฏิปทา หมายถึงข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป คือไม่หมกมุ่นอยู่แต่ในกาม และไม่ทำตัวให้ลำบาก เป็นเหตุให้บรรลุถึงจุดหมายปลายทางคือมรรคผลนิพพานได้
    มัชฌิมาปฏิปทา ในทางปฏิบัติคือมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฐิเป็นต้น
    มัชฌิมาปฏิปทา ถูกนำมาใช้ในคำทั่วไปสั้นๆ ว่า มัชฌิมา เช่นกล่าวว่า “ ทำอะไรให้เป็นมัชฌิมาเข้าไว้เป็นดีที่สุด”
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>





    .
     
  10. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ผู้ใดเป็นโสดาบันย่อมรู้ชัด ผู้ใดปราถนาธรรมที่สูงกว่าย่อมรู้ทาง ผู้ใดปติบัติตามย่อมได้รับผล ผู้นั่นมี ปัญญา ที่ถูกทาง
     
  11. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ก็เห็นแต่ท่านน่ะครับ ที่อ่านมา แล้วสรุปฟันธง เชื่อเค้ามาแล้วก็เอามากล่าว ทั้งที่ตนยังไม่ได้พิสูจน์จะเห็นผล ก่อนจะนำมาพูด ^-^

    ญานก็ญาน อรูปก็อรูป นิพพานก็นิพพานสิท่าน

    นิพพานโลกุตระ ในภูมิท่านถ้าท่านเข้าได้บ่อยก็ไม่น่าใช่ ผมติดตามท่านมาตั้งแต่สมาธิในบ้าน^-^

    เรื่องสเปริมจิตคุณปรุงแต่งครับ ^-^

    ยึดในทางเหลือเกิน ธรรมนี่เร่ิงกันไม่แต่จริง ๆ ^-^



    สัมมาทิฐิ จะนับได้ก็เมื่อได้ โสดาบันผล ^-^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 เมษายน 2009
  12. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ไม่เชื่อกันก็ไม่เป็นไร แล้วแต่วาสนาแล้วกัน

    ลองไปถามท่านที่ได้โสดาบันผลแล้วดู ว่ามีอะไรให้ทรง มีแต่กามหยาบเต็มหัวน่ะ อยากไม่อยาก พอไม่ได้ก็ขุ่นเคือง เห็นแต่ไม่มีปัญญาจะทำอะไร
    กับมัน ^-^
     
  13. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    กระทู้นี้คนเยอะจังอ่านกันเยอะๆนะ ได้ดวงตาเห็นธรรมกันไปเลย
    55++
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 7 คน ( เป็นสมาชิก 6 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>นิวรณ์*, วิษณุ12, Sujinno, บดินทร์จ้า, อัสติสะ, ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    ิั
    ไปแล้วบาย
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    รู้ว่ารู้ รู้ว่าไม่รู้

    สำหรับเรา มันเป็นเรื่องยากจริงๆนะ การยอมรับแก่ใจตนเอง เพราะทิฏฐิเราเยอะ น่ะ

    อยากบอกเฉยๆ น่ะ ขอโทดที่รบกวนใช้พื้นที่สาธารณะ นะคะ เกรงใจท่านผู้รู้ทุกท่าน จริงๆเลย [​IMG]

    อนุโมทนาทุกท่านค่ะ
    สนทนาธรรมประเทืองปัญญาได้กว้างขวาง ดีค่ะ [​IMG]
     
  17. aisleberley

    aisleberley สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +7
    ขออนุญาติสอบถามเพิ่มเติม คุณอัสติสะ หน่อยนะครับว่า โสดาบันที่ว่า มีสติเกิดขึ้นเองเป็นอัตโนมัติ แล้วจะมีสัมปัชชัญญะ ที่ตามมาระงับอารมณ์โกรธ หงุดหงิด อารมณ์รัก อารมณ์ใคร่ ด้วยหรือป่าวครับ ?

    ขอบคุณครับ
     
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ดู คุณ albertalos สิครับ ว่าผมท่องจำมา

    แล้วดูพี่ท่านสิครับ ก๊อบมายังกับลอกในพระไตรปิฎกมาก็ไม่ปาน

    แล้วจะอุตริ มาพิพากษาคนอื่น ว่าคนนั้นไม่ได้ คนนี้ไม่ได้ คนนั้นท่องจำมา คนนี้ ท่องจำมา

    ตัวเอง นั่นแหละ มีแต่สัญญาในหัวเต็มไปหมด ยังไม่รู้ตัวอีก
     
  19. อัสติสะ

    อัสติสะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +392
    พอดีก็บังเอิญเข้ามาอีกเช่นเคย
    เพราะช่วงหลังหันมาใช้ opera brower มันจะ save page เดิมไว้ ก็เลยติดใจเจ้า opera แล้วก็หันหลังให้ IE ไปเลย (แอบ โฆษณานิดนึง)

    มาถึงคำถาม ก็ต้องออกตัวก่อนครับว่าอาจจะไม่ใช คำตอบที่ดีที่สุด แต่ถ้ามีผู้รู้เบื้องหน้ามาแก้ก็ยินดี ๆ ครับ

    การระงับ ความโกรธ หงุดหงิด อารมณ์รักใคร่ ได้เด็ดขาด 100 เปอร์เซนต์นั้นยังไม่ใช่วิสัยของพระโสดาบัน ผมว่าคุณเจ้าของคำถามคงทราบดีอยู่แล้ว เพราะถึงแม้ว่าสติคือ ความระลึกได้ในกุศลธรรม อกุศลธรรม นั้นยังไม่สมบูรณ์
    มันยังมีการแทรกแทรงได้เสมอ ๆ แต่เมื่อเทียบกับปุถุชน แล้วนั้นก็ยังดีกว่ามากมายทีเดียวครับ
    นี่ขนาดสติเกิดขึ้นบ่อยมากสำหรับพระโสดาบัน เป็นอัติโนมัติแล้ว
    ก็ยังนับว่าอ่อนอยู่ครับ เมื่อเทียบกับพระอริยชั้นถัดไป

    อีกอย่างหนึ่ง ถ้าพูดกันโดยนัยความหมาย

    สติ ความระลึกรู้
    สัมปัชชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม มีความรู้เข้าใจสภาวะการตามความเป็นจริง

    สัมปชัญญะย่อมเกิิดขึ้นกับพระโสดาบัน ตามสติที่ระลึกได ้แล้วแต่ว่าตอนนั้น
    มีอะไรเกิดขึ้น หรือมีอะไรเข้ามากระทบ ยกตัวอย่างเช่น
    การเดิน การยืน ก็จะมีสัมปัชชัญญะรู้ตามสติ ไป แต่ไม่สมบูรณ์
    เพราะตัดความฟุ้งซ่าน รำคาญใจไม่ได้

    โดยสรุปนั้นท่านมักจะมีนิสัย ปฏิบัติตามหลัก สติปัฏฐาน ๔ ถึงแม้ว่าจะไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง พระสูตรนี้มาก่อนก็ตาม แต่เมื่อใดที่ได้ฟังก็จะสามารถเข้าใจ และสามารถปฏิบัติ เพื่อความ
    สมบูรณ์ของสติ ได้อีกเป็นขั้น ๆ ไป

    ปัญหาของยุคสมัยนี้คงหนีไม่พ้นการอธิบายธรรมในลักษณะ ทำของง่ายให้เป็นของยาก ไปน่ะครับ เพราะถ้าพูดตามหลวงพ่อ ฤๅษี
    ท่านก็ว่า พระโสดาบัน ไม่ใช่ของยากเย็นอะไร เป็นธรรมขั้นพื้นฐาน
    เป็นธรรมของชาวบ้านชั้นดีเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้เรากับสอนสิ่งที่เป็น ธรรมชั้นสูง
    ในระดับพระอรหันต์ เช่นเรื่อง อภิธรรม หรือ ญาณ 16 ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้าน
    เข้าใจกันได้ยาก แล้วมันจะได้เรื่องอะไร มีแต่ฟุ้งซ่าน เถียงกันไปไม่รู้จบสิ้น

    อยากให้เราลองไปค้นดูว่า ว่าคนที่บรรลุโสดาบันในครั้งพุทธกาล มีกี่คนที่เค้ามาบอกว่าได้ ญาณ ขั้นโน้น ขั้นนี้ หรือ แม้แต่ปฏิจสมุปบาท พระโสดาบันก็ยังเข้าใจได้ไม่ถ่องแท้

    ธรรมที่เราเรียนรู้กันนี้มันจึงเกินความพอดี มากจนฟุ้ง เลยไม่รู้ว่าจะต้องยกอะไร
    มาตั้งมาพิจารณา เพราะในหัวในสัญญามันเยอะเกินไป

    อีกอย่างหนึ่งพระโสดาบัน ก็ไม่ใช่ว่าต้องได้ฌาน อะไร หรือ จำเป็นต้องระลึกถึง ฌาน ขั้นนี้ขั้นนี้ เพราะในประวัติก็ไม่เห็นพระเจ้า พิมพิสาร
    หรือ อนาถบิณฑิกเศรษฐี พูดถึงเลย หรือ ใครอ่านเจอก็รบกวนช่วย แก้ไขให้หน่อย

    ผู้เรียนธรรมในสมัยนี้เก่งมาก เชื่อว่าเก่งกว่าพระสารีบุตรอีก บางคนถือตนเก่งกว่าพระพุทธเจ้าก็มี ก็เรียนธรรมจนฟุ้งซ่านกันไปโดยมาก
    บางครั้ง ก็เอาธรรมมาข่ม มาทะเลาะกันเองอีก ทั้งที่นรก ก็ยังมีอยู่เต็มหัวจิตหัวใจ แล้วจะเอาพระโสดาบัน หรือ สวรรค์ชั้นไหนมาพูดกันให้เห็นจริง

    พระโสดาบัน คือ ผู้ถึงกระแสพระนิพพาน ผมเองไม่รู้เรื่องบาลีครับ แต่อยากให้ท่านลองวิเคราะห์น่ะ
    บรรทัดต่อไปนี้เป็นการวิเคราะห์ ผู้อ่านไม่ต้องเอาไปอ้างอิงหรือ ใส่ใจมาก
    โสดา หรือ ถ้าเป็นคำคล้อง รูป หรือ เสียง น่าจะมีรากเง้ามาจากคำว่า โสตา หรือ โสต
    หมายถึงการฟัง โดยรวมแล้วน่าจะมีความหมายอีกในหนึ่งคือ ผู้เข้าถึงธรรมโดยการฟัง
    มีอยู่สองนัยคือ
    1ฟังปุ๊บแล้วนำมาพิจารณาแล้วก็น้อมใจไปเพื่อบรรลุธรรมทันที มีเยอะมากในพุทธกาล
    สิ่งเหล่านี้อาศัยรากเง้า ของศรัทธา และ สมาธิเล็กน้อยก็บรรลุธรรมได้ ไม่ต้องเข้าใจเรื่อง ฌาน เรื่อง ญาณ อะไร
    2.ฟังแล้วยังไม่บรรลุธรรมในทันที ต้องใช้สมาธิ และการพิจารณาตามคำสอน พูดง่าย ๆ คือ ต้องไปนั่งวิปัสสนา แล้วเกิดสมาธิก่อน จากนั้นก็น้อมนำคำสอน
    ที่ได้ยินได้มาฟังมาพิจารณาเทียบเคียงกับสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น ก็จะบรรลุธรรมตามได้ภายหลัง

    สรุป พื้นฐานของพระโสดาบันก็คือ มีศรัทธา มาก่อน มีสมาธิเล็กน้อย มีการฟังและปฏิบัติตามคำสอน แล้วโยนิโสมนสิการ เพื่อพัฒนาปัญญา สิ่งสำคัญคือ
    ต้องเป็นผู้รักในการฟัง เป็นต้น

    จบดีกว่า
     
  20. หมอพล

    หมอพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,083
    ค่าพลัง:
    +4,175
    ภาวนามีอานิสงส์มากกว่าบุญทั้งหลาย

    หลวงตามหาบัว

    เราไปเทศน์ที่ไหนไม่พ้นที่จะพูดถึงเรื่อง การภาวนา ถึงจะไม่รู้ไม่เห็นอะไรก็ตาม ผลแห่งการภาวนาของเรามีผลมาก เป็นอันดับหนึ่ง ทาน ศีล เป็นอันดับที่สอง สาม

    อันดับที่หนึ่งก็คือ การภาวนา ยิ่งรู้ยิ่งเห็นแล้ว ยิ่งปลูกศรัทธาความเชื่อมั่นในผลของตนที่ทำขึ้นมาเรื่อย ๆ ทีนี้ก็หนุนทาน หนุนศีล หนุนความดีทุกอย่าง แล้วหิริโอตตัปปะความสะดุ้งกลัวต่อบาปต่อกรรมทั้งหลายมันจะรู้เข้ามา อันใดที่ควรกลัวมันจะปัดปุ๊บ ๆ เลยในหัวใจนั่นแหละ

    อย่าง พระโสดาท่าน เพียงท่านสำเร็จโสดา นั่นคือ เข้าสู่ความจริงแล้ว เชื่อบาปเชื่อบุญเชื่อกรรมแล้วนั่น ฝังแล้ว เมื่อฝังแล้วท่านจึงมีธรรมประจำใจ เป็นนิสัยขึ้นมาโดยอัตโนมัติ

    เพราะฉะนั้น พระโสดาจึงไม่มีการรับศีล เป็นสมุจเฉทวิรัติโดยอัตโนมัติไปเลย คือ หิริโอตตัปปะสะดุ้งกลัวต่อบาปต่อกรรมไปในนั้นเสร็จเลย เช่น รับศีล ๕ ศีล ๘ ศีลอะไรนี้ หากว่าอยู่กับหมู่กับเพื่อน ท่านก็นำบรรดาประชาชนรับ เท่านั้น

    ผู้ที่เป็นพระโสดานั้นท่านจะไม่มีเจตนาว่าตั้งใจจะรับศีล เพราะศีลเราด่างพร้อยหรือขาดทะลุ ไม่มี เป็นแต่เพียงเป็นผู้นำ ๆ นี่เรียก สมุจเฉทวิรัติของพระอริยบุคคล สมุจเฉทวิรัติของปุถุชนนี้ตั้งความงดเว้นไว้ตลอดวันตาย นี้เรียกว่า วิรัติตลอดวันตายเลย

    ส่วน พระอริยบุคคล เช่น ขั้นพระโสดาขึ้นไปนี้ จะเป็นสมุจเฉทวิรัติโดยอัตโนมัติตลอดวันตายเหมือนกัน ไม่ได้ตั้งท่าตั้งทาง เรื่องหิริโอตตัปปะสะดุ้งกลัวต่อบาปต่อกรรมทั้งหลายนี้ เป็นขึ้นมาเอง ๆ

    นี่ละ ออกจากภาวนา ออกจากการได้ยินได้ฟัง รู้เห็นธรรมเป็นความจริงแล้วปลูกขึ้นมาทุกอย่างขึ้นชื่อว่าความจริง ความจอมปลอมปัดออก ๆ ท่านเป็นอย่างนั้น

    ไปที่ไหนเราก็ได้เทศน์เสมอเรื่อง ภาวนา เพราะเป็นหลักสำคัญมาก มันจะไม่เป็นก็ตาม การภาวนาของเราก็มีผลมากตลอดอยู่แล้วนี่อันหนึ่ง แล้วยิ่งจะได้รู้สิ่งนั้นเห็นนี้ ยิ่งจะแตกกระจัดกระจายออกไป ฝังลึกลงโดยลำดับ

    เรื่อง เชื่อบุญเชื่อกรรมไม่ต้องบอก เป็นขึ้นมาเอง แล้วกระจายออกไปความเชื่อ กระจายกว้างขวางลึกซึ้งไปเรื่อย ๆ นี่เกิดขึ้นจากการภาวนา การที่เราได้ยินได้ฟังจากครูจากอาจารย์นี่ก็เป็นบทหนึ่ง แต่สู้บทภาวนาที่ประจักษ์ขึ้นในเจ้าของไม่ได้ จากครูบาอาจารย์สอนแล้วทำอย่างนั้นๆ อันนี้จะเป็นที่แน่ใจตัวเองได้โดยลำดับ จึงอยากให้พี่น้องทั้งหลายได้ภาวนา

    ที่สรุปลงมานี้คือ จาก การภาวนา นะ ....การภาวนาจึงพิสดารมากทีเดียว สิ่งไม่เคยรู้เคยเห็นไม่เคยคาดเคยคิด เป็นขึ้นมาได้ไม่สงสัย ก็กิเลสอันเดียวเท่านั้นปิดไว้ พอเปิดนี้จ้า มันก็เห็น เปิดมากเปิดน้อยเห็น เปิดจ้าหมด เห็นกระจ่างเต็มหัวใจเลย เป็นอย่างนั้นนะ ต่างกัน จึงอยากให้ภาวนา

    ไปที่ไหนทุกวันนี้มักจะเทศน์ทางภาวนา เพราะความสงสาร อยากให้ตั้งหลักตั้งเกณฑ์ไว้ในจุดภาวนา ถึงจะไม่ได้ความแปลกประหลาดอัศจรรย์ การภาวนานี้ มีอานิสงส์มากยิ่งกว่าการสร้างบุญทั้งหลายนะ จะได้สั่งสมบุญกุศลตลอด

    จะรู้เห็นอะไร ไม่เห็นอะไรก็ตาม ส่วนบุญกุศลเกิดขึ้นจากการภาวนา เป็นรากฐานสำคัญและมีอานิสงส์มากด้วย จึงขอให้พากันตั้งอกตั้งใจทำภาวนา บำรุงลำต้นให้ดี กิ่งก้านสาขาดอกใบจะแตกกระจายออกไป


    หลวงตา ฯ วัดป่าบ้านตาด จังหวัด อุดรธานี
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=5224<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 เมษายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...