การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 21 สิงหาคม 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์

    กราบเบญจางคประดิษฐ์: การกราบอันเป็นการแสดงความเคารพ นอบน้อมต่อพระรัตนตรัย

    การกราบพระนั้น หากทำด้วยใจที่ประณีตและเคารพนบน้อมสูงสุดแล้ว
    สามารถสร้างพลังในทางกุศลและความสว่างในใจของเราได้มากกว่าที่คิดยิ่งนัก​

    ถ้าใครเคยอ่านหนังสือ "มีชีวิตที่คิดไม่ถึง" คงจะพอจำที่คุณดังตฤณเคยเขียนได้ว่าการกราบพระปฏิมานั้น เรียกได้ว่าเป็น "โบนัส" ของเกมกรรมที่ทำแต้มบวกกันได้ง่าย ๆ เลย​

    การกราบไหว้นั้น ถือเป็นการน้อมกายน้อมใจลงสู่อาการเคารพสูงสุด ซึ่งก็หมายความว่าการกราบแต่ละครั้ง ถ้าเราทำด้วยใจจริงแล้ว ใจเราจะไม่มีมานะ ไม่มีความถือตัวถือตน​

    เคยอ่านผ่านตาในหนังสืออีกเล่มหนึ่งของคุณดังตฤณแล้วจำได้ติดใจว่า…
    จุดที่หน้าผากจรดลงแทบพื้น นั่นคือ จุดที่ทิฏฐิมานะลดลงเหลือศูนย์
    ได้อ่านที่คุณดังตฤณแจกแจงแล้ว จึงเข้าใจยิ่งขึ้นว่า​

    การที่เรายอมลงใจกราบใครได้ นั่นก็คือการยอมรับว่ามีใครบางคนเหนือกว่าเรา
    มีพระคุณเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของเรา และในขณะที่เราแสดงความเคารพสูงสุดนั้นเอง​

    นอกจากจิตจะเป็นมหากุศลด้วยความรู้คุณ แล้ว ยังเปิดรับกระแสความศักดิ์สิทธิ์เข้ามาเป็นส่วนประกอบของรัศมีจิตอีกด้วย คือ กายยิ่งค้อมลงต่ำต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพียงใด ใจก็ยิ่งผ่องแผ้วไร้มลทินมากขึ้นเท่านั้น
    ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าบุคคลที่เรากราบ คือ "ครูที่รู้จริงที่สุดในโลก"

    ก็แปลว่าใจเรายอมรับบุคคลเช่นนี้ไว้เป็นครู และนั่นก็จะเป็นหลักประกันว่าแม้ตายแล้วจะต้องเกิดใหม่อีกกี่ครั้ง เราก็จะได้พบกับครูที่ดีที่สุดเช่นนี้อีกจนได้ ซึ่งบรมครูผู้รู้จริงผู้นั้น ก็หมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นเอง

    คงน่าเสียดาย ถ้าองค์พระอยู่ต่อหน้า แต่เรากราบเป็นแต่เพียงกิริยา
    แต่ข้างในจิตใจกลับแห้งแล้ง กราบแบบฉาบฉวย ไม่มีความประณีตนุ่มนวล
    และเพียงกราบตาม ๆ กันไป โดยไม่ทราบความหมายของการกราบอย่างแท้จริง​

    การรู้อยู่ก่อนว่า บุคคลที่เรากราบนั้น ทำประโยชน์กับโลกไว้เพียงใด จึงเป็นเรื่องสำคัญ ยิ่งเราได้ประโยชน์จากคำสอนของท่าน ได้มีชีวิตที่พลิกผันไปในทางที่ดีขึ้นเจริญขึ้นเท่าไหร่ การกราบนั้น ก็จะยิ่งเป็นการกราบออกมาจากใจที่เคารพนอบน้อมอย่างแท้จริงด้วยกิริยาทางกายที่ประณีตงดงาม สอดคล้องกับความรู้สึกอันผ่องแผ้วภายในมากขึ้นเท่านั้น​

    นอกจากนี้แล้ว ผู้ที่มีการอภิวาทเช่นนี้เป็นนิสัย ยังมีผลให้เป็นผู้ที่ได้ไปเกิดในตระกูลสูง มีความสุข ใจไม่เร่าร้อนฟุ้งซ่านด้วยความกระด้าง และเป็นผู้ที่ไม่ถูกข่มเหงโดยง่ายอีกด้วย​

    สิ่งที่คุณดังตฤณได้เขียนย้ำไว้สำหรับการกราบพระปฏิมาทุกครั้งก็คือ
    "ขอให้จำคำสำคัญนี้ไว้ดี ๆ ว่า ใจต้องนอบน้อมเคารพ ตัววัดง่าย ๆ คือกราบแล้วเกิดความรู้สึกว่าตัวคุณเล็กลง จิตใจอ่อนโยนเยือกเย็น หรือกระทั่งเกิดความซาบซึ้งโสมนัสแบบไม่แกล้ง นั่นแหละผลของการกราบด้วยความนอบน้อมเคารพ..."

    ขั้นตอนการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์

    ขั้นตอนการกราบมีทั้งหมด 3 ขั้นตอนหลัก คือ
    อัญชลี: การพนมมือไว้ระหว่างอก
    วันทา: การพนมมือจรดศีรษะ
    อภิวาท: การก้มลงกราบ
    มีที่แตกต่างกัน 2 แบบ คือ
    สำหรับผู้ชาย เรียกว่า ท่าเทพบุตร
    ผู้หญิง เรียกว่า ท่าเทพธิดา​
    ขั้นตอนที่ 1 ท่านั่ง


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=head width="50%">ท่านชาย

    </TD><TD class=head width="50%">ท่านหญิง

    </TD></TR><TR><TD>1. นั่งชันเข่า

    2. ระหว่างเข่าห่างประมาณ 1 ฝ่ามือ


    3. นั่งหลังตรง​


    </TD><TD>

    1. นั่งคุกเข่ีาราบ


    2. ระหว่างเข่าห่างประมาณ 1 ฝ่ามือ


    3. นั่งหลังตรง ​


    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]

    </TD><TD>[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD class=Orange colSpan=2>.........................................................................................................

    </TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD colSpan=2>ขั้นตอนที่ 2 ท่าอัญชลี


    ท่านชาย และท่านหญิง


    1. นำมือทั้ง 2 มาพนมบริเวณหน้าอก ทำมุมเฉียง 45 องศา


    2. มือทั้ง 2 ข้าง อูมเพียงเล็กน้อย ไม่มากจนดูกลม หรือ แฟบจนดูแบน เป็นสัญลักษณ์ของดอกบัวที่ใช้บูชาพระ


    3. นิ้วทั้ง 5 เรียงชิดติดกัน​


    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]

    </TD><TD>[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD class=Orange colSpan=2>
    .........................................................................................................​



    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>ขั้นตอนที่ 3 วันทา


    ท่านชายและท่านหญิง


    1. นำมือจรดศีรษะโดย นิ้วชี้จรดประมาณจอนผม นิ้วโป้งจรดประมาณหัวคิ้ว


    2. ถ้าเป็นฝ่ายชายตั้งตรง ฝ่ายหญิงค้อมคอลงเล็กน้อยพอประมาณ


    3. จังหวะที่ใช้ท่าวันทานี้ หากใช้ขณะสวดมนต์ จะรอจนจบบทนั้นๆ เสร็จก่อนจึงค่อยวันทา ยกตัวอย่างเช่น เมื่อ สวดมนต์บูชาพระก็จะรอจนจบ "พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ" ก่อน จึงค่อยวันทา แล้วเข้่าสู่ขั้นตอนที่ 4 ต่อไป​


    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]

    </TD><TD>[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD class=Orange colSpan=2>
    .........................................................................................................​



    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>ขั้นตอนที่ 4 อภิวาท


    ท่านชายและท่านหญิง


    1. กราบโดยอวัยวะทั้ง 5 ส่วนสัมผัสกับพื้นได้แก่ ฝ่ามือทั้ง 2 ข้อศอก 2 หน้าผาก 1


    2. ความห่างระหว่างฝ่ามือทั้ง 2 เท่ากับความกว้างของบริเวณหน้าผาก ไม่กว้าง หรือไม่แคบจนเกินไป​


    </TD></TR><TR><TD>ท่านชา่ย

    ข้อศอกต่อเข่า​


    </TD><TD>ท่านหญิง

    ข้อศอกแนบเข่า​


    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>3. อยู่ในท่าค้างนับประมาณ 3 วินาที (ช่างภาพมักจะเก็บภาพในจังหวะนี้) จึงค่อยขึ้นมาอยู่ในท่าอัญชลีเหมือนเดิม

    4. เมื่อกราบครบ 3 ครั้ง จึงค่อยค้อมศีรษะลงเล็กน้อยแล้วจบด้วยท่าวันทา ถือเป็นการเสร็จแบบอย่างการกราบที่สมบูรณ์ ​


    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]

    </TD><TD>[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD class=Orange colSpan=2>.........................................................................................................

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>ข้อควรทราบ


    1. ในขณะที่อยู่ในพิธีกรรมซึ่งเป็นการประชุมสงฆ์จำนวนมาก พระภิกษุทุกรูปต้องมีความพร้อมเพรียงกันในการกราบ เพื่อให้เป็นต้นแบบและเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของสาธุชน ถือได้ว่าเป็นความรับผิดชอบของหมู่คณะ ในการกราบให้มีความพร้อมเพรียงกันได้นั้น พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณได้เมตตาแนะนำไว้ว่า ให้ “ลืมตากราบ” “สังเกตจังหวะการกราบ” ของพระภิกษุรูปข้าง ๆ และ “กราบตามการให้สัญญาณของพิธีกร” “ไม่ควรหลับตากราบ” เพราะจะเป็นเหตุแห่งการกราบไม่พร้อมเพรียงกัน


    2. การกราบพระรัตนตรัย ๓ ครั้ง มีจุดมุ่งหมายว่า ครั้งที่ ๑ เป็นการระลึกถึงคุณของพระพุทธ ครั้งที่ ๒ ระลึกถึงคุณของพระธรรม ครั้งที่ ๓ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ เรียกว่า ยิ่งกราบยิ่งมีปัญญา​




    การกราบพระ จึงเป็นมากกว่าการเป็นแต่เพียงกิริยาทางพิธี สามารถเปลี่ยนใจอันฟุ้งซ่าน


    ให้สงบเยือกเย็นลงได้ และมีใจอันพร้อมที่จะน้อมรับธรรมอันตรงจากพระพุทธเจ้า


    ยิ่งถ้าเราเป็นผู้ไม่ละเลยคำสอนของท่าน เพียรปฏิบัติตนตามทางที่ท่านชี้แนะ


    จนได้ผลเป็นทุกข์ที่น้อยลง ประจักษ์แจ้งแก่ตนเองได้จริงด้วยแล้ว


    เราจะรู้สึกอยากกราบท่านออกมาจากใจอันเคารพนบน้อมเหนือเศียรเกล้าเลยทีเดียว


    ดังนั้น เมื่อรู้อย่างนี้ ทุกครั้งที่มีโอกาสได้กราบพระ อย่าลืมกราบท่านออกมาจากภายในกันนะ คิดไว้ว่า


    หนึ่งครั้งที่มีโอกาสได้กราบพระ คือหนึ่งโอกาสที่ได้เข้าเฝ้า และก้มกราบ


    องค์สมเด็จพระสัมมาพระพุทธเจ้า อยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพระองค์จริง ๆ​

    เป็นมงคลง่าย ๆ ที่เริ่มต้นได้จากห้องพระในบ้าน และทุกที่อันเป็นมงคลสถานตั้งแต่นี้เป็นต้นไป​


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    http://www.santidham.com/Benjanka/Benjank.php
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...