กำลังใจในการปฏิบัติธรรมหาได้จากไหน?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Jera, 2 กันยายน 2010.

  1. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +2,040
    คือผมไม่มีกำลังใจในการปฏิบัติธรรมเลยครับ ไม่เหมือนตอนเเรกๆ ควรจะทำอย่างไรบ้างครับ หลังจากที่ห่างเหินการปฏิบัติธรรม ชีวิต ก็เริ่มเเย่

    ช่วยหน่อยนะครับทุกท่าน

    ขอบคุณครับ
     
  2. kamoochi

    kamoochi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +326
    ความพึงพอใจในธรรม อันนี้ให้มีมาก่อนเหมือนตอนที่พึงพอใจในตอนแรกๆนั่นแหละนะ
    ลองไปติดสุขดูเล่นๆก็ดี
     
  3. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682

    กำลังใจภายนอกเกิดจากการกระทำใดๆแล้วเป็นที่พึงพอใจจากผู้อื่น อาจจะด้วยการถือศีล5 ไม่ทำอันตรายต่อผู้อื่น หรือกระทำการใดๆเพื่อผู้อื่นที่เป็นไปในทิศทางที่ดี

    กำลังใจภายในเกิดจากการคิดดี ซึ่งจะส่งผลไปถึงการกระทำใดๆที่ดีตามมาไม่ว่าจะเป็นทั้งทางกายและทางวาจา

    เมื่อกำลังใจหดหายไปหรือถูกแทนที่ด้วยความหดหู่ใจต่างๆเหล่านี้เกิดจากสาเหตุที่ปล่อยจิตใจไปหลงละเลิงจนนานเกินไป
    การเริ่มต้นใหม่ย่อมมีได้ทุกเมื่อ เมื่อใจนั้นระลึกรู้แต่อาการหดหู่ใจจะหายไปด้วยการเริ่มต้นให้เป็นไปในแนวทางที่ควรไป พระธรรมบอกไว้ว่าการปฏิบัติจะเห็นก็ต่อเมื่อมีการดำเนินการเกิดขึ้นโดยไม่มีเวลาและสถานที่มาเกี่ยวข้อง เรียกได้ว่าธรรมะเป็น "อกาลิโก" คิดได้เมื่อไหร่ก็กระทำเมื่อนั้นและการกระทำโดยไม่หวังผลที่มีความละเอียดเท่าใดก็จะยิ่งละเอียดขึ้นมีความปราณีตขึ้นตามลำดับ
    หากปฏิบัติเพื่อหวังผลใดๆ ก็อาจจะได้ผลนั้นบ้างหรือไม่ได้บ้าง ฉนั้นการปฏิบัติธรรมนั้นก็ควรที่จะปฏิบัติให้อยู่เหนืออิทธิพลของกิเลส

    ส่วนในทางวิชาการ มนุษย์เราจะดำเนินชีวิตไปในทางที่ตนตั้งเป้าหมายไว้แล้วหมายถึงมีจุดหมายอยู่เสมอในการดำรงชีวิต
    ดังนั้นต้องดูให้ดีด้วยว่าระหว่างการตั้งเป้าหมายและจุดหมายนั้นเป็นไปเพื่อปล่อยวางหรือไม่อย่างไรนะครับ


    เจริญธรรมครับ :cool:
     
  4. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,353
    ค่าพลัง:
    +6,491
    อยู่ที่วาระเวลาของแต่ละบุคคลมากกว่า ถ้ายังไม่ใช่เวลาของคุณ มันก็จะทำให้คุณไม่มุ่งมั่น พากเพียรเท่าที่ควร ไม่เชื่อมั่นสุดใจว่า การปฎิบัติธรรมให้อะไรแก่ชีวิตเรา เราจะขาดสิ่งนี้ไม่ได้ "ธรรมะคือ ชีวิต" คุณต้องคิดแบบนี้จากจิตวิญญาณของคุณเลยทีเดียว ส่วนตัวเราเองนั้นทุกวันนี้ มีชีวิตเหมือนความฝัน ทุกอย่างแสนง่ายดาย ตั้งแต่ปลายปี48-ปี53 ชีวิตเหมือนมีบางอย่างจัดสรรให้ อย่างลงตัวที่สุด บางครั้งยังอดคิดไม่ได้ว่า"ฉันสบายมากไปมั้ย?"
    เรามีประสบการณ์เกี่ยวกับธรรมะเยอะมาก และเชื่อมั่นมาตลอดว่า "ถ้าเรามีธรรมะที่แท้จริง"หมายถึงทุกลมหายใจคือธรรมะ ชีวิตคือธรรมะ เราก็จะมีชีวิตที่ไม่ทุกข์ร้อนอะไรเลย
    ขอให้คุณเชื่อมั่นและศรัทธาโดยใช้ปัญญาประกอบ แล้วคุณจะเจอปาฎิหาริย์อย่างแน่นอน
     
  5. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,670
    นั้ง สมาธิแล้วพิจารณาดูสิ เราจะได้คำตอบของตัวเอง

    อนุโมทนา
     
  6. pk010209

    pk010209 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    973
    ค่าพลัง:
    +2,634
    หาได้จากตัวเองนี่ละ ทุกอย่างอยู่ที่ใจ
     
  7. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +3,882
    หลักธรรมสำคัญมาก ที่จะเข้ามาสู่การพิจารณาศึกษาในขั้นนี้ก็คือเรื่องไตรลักษณ์ เมื่อปฏิบัติธรรมตามแนววิปัสสนา ปัญญาเกิดขึ้น ก็จะเห็นไตรลักษณ์ เช่น พิจารณาขันธ์ห้าไป ก็จะเห็นไตรลักษณ์ ตลอดจนถึงข้อสุดท้ายพิจารณาในหลักปฏิจจสมุปบาท ก็จะเห็นไตรลักษณ์เช่นเดียวกัน เพราะปฏิจจสมุปบาทนั้นก็คือหลักแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย และสิ่งที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ก็คือ ขันธ์ ๕ นั่นเอง แม้แต่หลักธรรมอื่นๆ ที่กล่าวถึงมาแล้ว เช่น อายตนะ ๑๒ ก็เป็นแง่ด้านต่างๆ ของเรื่องเดียวกันนี้เอง อยู่ในกระบวนการของความเป็นเหตุปัจจัยนี้ หรือไม่บางอย่างก็เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาในกระบวนการ
    ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้น ก็ปรากฏเป็นการเปลี่ยนแปลง ทำให้มองเห็นการที่องค์ประกอบทั้งหลายมารวมกันเข้าประชุมกันเข้าเป็นองค์รวม อย่างใดอย่างหนึ่งที่สมมติเรียกว่า เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่ละส่วนนั้นไม่เที่ยง คงที่ เกิดดับอยู่ตลอดเวลา คงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน เรียกว่า เป็นไตรลักษณ์
    ถ้าเข้าใจชัดเจน เห็นแจ้งในไตรลักษณ์ ก็จะรู้เท่าทันโลกและชีวิตตามความเป็นจริง เกิดความสว่างไสว สงบ ปลอดโปร่ง ผ่องใส เบาสบาย หายยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย มีจิตใจที่หลุดพ้นเป็นอิสระ เป็นสุขอย่างแท้จริง การเป็นอยู่ ท่าทีต่อโลกและชีวิต และการปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลาย จะเป็นไปด้วยปัญญา ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจครอบงำและแรงผลักดันของอวิชชาและตัณหาอุปาทานอีกต่อไป เรียกว่า บรรลุผลที่หมายของวิปัสสนา ซึ่งก็คือ จุดหมายของการศึกษา หรือการปฏิบัติธรรมขั้นสุดท้ายนั่นเอง
    ในการปฏิบัติธรรมทั้งหมดนี้ มีตัวธรรมที่เป็นผู้ทำงานซึ่งอาจจะใช้ศัพท์เรียกว่าเป็น คณะทำงานในการปฏิบัติธรรม ก็ได้ เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ชุดนี้เป็นตัวทำงาน เรื่องต่างๆ ที่พูดมาก่อนนี้ เป็นตัวถูกกระทำ เช่น กรรมฐาน ๔๐ นั้น จะเป็นลมหายใจ หรืออสุภะ หรือกสิณ หรืออะไรก็ตามเป็นตัวถูกกระทำเป็นสิ่งที่เราเอามาใช้กำหนดพิจารณา หรือวิปัสสนาภูมิ เช่น ขันธ์ห้าก็เป็นตัวถูกกระทำ ถูกนำมาพิจารณาเช่นเดียวกัน
    เป็นอันว่า ตัวการปฏิบัติเอง ก็คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ซึ่งถ้าพูดขึ้นมาแล้วหลายอย่างก็อาจจะคุ้นหูกันพอสมควร ในที่นี้จะไม่พูดรายละเอียด เพราะจะยืดยาวไปกันใหญ่ แต่จะแนะนำให้รู้จักไว้เท่านั้น ท่านที่ต้องการทราบรายละเอียด ก็ขอให้ไปค้นคว้าต่อ
    โพธิปักขิยธรรม แปลว่า ธรรมที่อยู่ในฝ่ายของโพธิ พูดง่ายๆ ว่า ธรรมที่เป็นพวกของโพธิ คือเกื้อหนุนการตรัสรู้ หรือช่วยสนับสนุนอริยมรรค มี ๓๗ อย่าง จัดเป็น ๗ หมวด คือ
    ๑. “สติปัฏฐาน ๔” แปลว่า การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งทั้งหลายมันเป็นของมันไม่ใช่ตามความคิดปรุงแต่งของเรา ที่คิดให้มันเป็นหรืออยากให้มันเป็น
    หลักสติปัฏฐานนี้ ก็คือ การเอาสติ มาเป็นตัวนำ เป็นตัวเด่น เป็นตัวทำงาน โดยกำกับจิตตั้งต้นแต่การรับรู้ให้อยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไปอยู่จริง ในขณะนั้น ๆ ที่เรียกว่า อยู่กับขณะปัจจุบัน ไม่เลื่อนไหลล่องลอยไปในอดีต และอนาคต ที่เป็นเรื่องของการคิดปรุงแต่ง และให้สตินั้นเป็นตัวสร้างโอกาสแก่ปัญญาโดยจับสิ่งที่ได้เห็นได้ยินในขณะนั้น ๆ ให้ปัญญารู้เข้าใจตรงไปตรงมา
    สติปัฏฐานทำงานกับทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตของเราตลอดเวลานี้เอง ท่านจึงจัดแยกสติปัฏฐานออกตามประเภทของสิ่งที่ชีวิตของเราเกี่ยวข้องโดยแบ่งเป็น ๔ ข้อ คือ
    ๑.) กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้สติตามดูโดยมีปัญญารู้เท่าทันสภาพทางร่างกาย
    ๒.) เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้สติตามดูโดยมีปัญญารู้เท่าทันความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือไม่สุข ไม่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
    ๓.) จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้สติตามดูโดยมีปัญญารู้เท่าทันสภาพจิตใจ
    ๔.) ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้สติตามดูโดยมีปัญญารู้เท่าทันเรื่องราวทั้งหลาย ที่รู้ที่คิดที่เกิดขึ้นในใจ
    ๒. “ปธาน ๔” ปธาน แปลว่า ความเพียร การตั้งใจ ความเพียร หรือการประกอบความเพียร หลักนี้ไม่ค่อยคุ้น ท่านที่ต้องการจะเรียนและปฏิบัติให้ลึกซึ้ง สามารถเริ่มต้นจากหลักการที่กล่าวในที่นี้แล้วไปค้นคว้ารายละเอียดต่อไป หมวดที่ ๒ คือ ปธาน ๔ หมายถึง ความเพียร ๔ ประการ ได้แก่
    ๑.) สังวรปธาน ความเพียรที่จะระวัง หรือปิดกั้นอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิดก็ไม่ให้เกิดขึ้น
    ๒.) ปหานปธาน ความเพียรในการละเลิกกำจัด อกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดสิ้นหายไป
    ๓.) ภาวนาปธาน ความเพียรในการฝึกอบรมทำกุศลธรรม หรือธรรมที่ดี ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
    ๔.) อนุรักขนาปธาน ความเพียรในการรักษาส่งเสริมกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์

    ๓. “อิทธบาท ๔” คือ ธรรมให้ถึงความสำเร็จ หรือทางแห่งความสำเร็จ หลักนี้รู้จักกันหมดแล้ว ต้องเอามาใช้ในการปฏิบัติด้วย อย่าลืม อิทธิบาท ๔ เป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้เกิดสมาธิ กล่าวคือ
    ฉันทะ (ความพอใจ ; มีใจรัก) = ถ้าเราชอบหรือพอใจในสิ่งใดแล้ว เมื่อทำสิ่งนั้นก็จะเกิดสมาธิได้ง่าย
    วิริยะ (ความพากเพียร ; พากเพียรทำ) = ถ้าเราเห็นสิ่งใดเป็นสิ่งที่ท้าทายมีใจสู้ เมื่อทำสิ่งนั้นก็จะเกิดสมาธิได้ง่าย
    จิตตะ (ความใฝ่ใจ ; เอาจิตฝักใฝ่) = ถ้าเรารู้สึกว่าสิ่งใดสำคัญเราจะต้องรับผิดชอบเอาใจจดจ่ออยู่ เมื่อทำสิ่งนั้นก็จะเกิดสมาธิได้ง่าย
    วิมังสา (ความใคร่ครวญ ; ใช้ปัญญาสอบสวน) = ถ้าเราต้องการทดลองอะไรใจชอบตรวจสอบมันอยู่ เมื่อทำสิ่งนั้นก็เกิดสมาธิได้ง่าย
    ๔. “อินทรีย์ ๕“ แปลว่า ธรรมที่เป็นใหญ่ในการทำหน้าที่เฉพาะแต่ละอย่าง หรือธรรมที่เป็นเจ้าการในการข่มกำราบอกุศลธรรมที่ตรงข้ามกับตน หลักนี้หลายท่านเคยได้ยิน แต่หลายท่านก็ยังไม่เคยได้ยิน เช่น ในคำพูดที่ว่าต้องมีอินทรีย์สม่ำเสมอกัน ต้องปรับอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ คนนี้มีอินทรีย์อ่อน คนนี้มีอินทรีย์แก่กล้า ดังนี้เป็นต้น อินทรีย์ ๕ นั้น ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน
    ข้อ ๑ ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความที่จิตใจพุ่งแล่นไปหาและคล้อยไปตาม เข้าคู่กับข้อ ๕ ปัญญา ความพิจารณาไตร่ตรองมองหาความจริงให้รู้เท่าเข้าใจถึงสภาวะ ถ้าศรัทธาแรงไป ก็น้อมไปในทางที่จะเชื่อง่าย ยอมรับง่าย เชื่อดิ่งไป ตลอดจนงมงาย ถ้าเอาแต่ปัญญา ก็โน้มไปทางที่จะคิดมาก สงสัยเกินเหตุหรือด่วนปฏิเสธ ฟุ้งไปเรื่อย ไม่จับอะไรลงลึก ท่านจึงให้ปรับศรัทธากับปัญญา ให้สม่ำเสมอสมดุลกัน
    ข้อ ๒ วิริยะ คือ ความเพียร มีใจสู้ มุ่งหน้าจะทำให้ก้าวหน้าเรื่อยไป เข้าคู่กับข้อ ๔ สมาธิ คือ ความสงบของจิตใจที่แน่วแน่อยู่ที่ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถูกอารมณ์ต่างๆ รบกวน ถ้าวิริยะแรงไปก็จะเครียดและฟุ้งซ่าน โน้มไปทางล้ำเลยเขต ถ้าเอาแต่สมาธิก็จะสงบสบาย ชวนให้ติดในความสุขจากความสงบนั้น ตลอดจนกลายเป็นเกียจคร้านเฉื่อยชาปลีกตัวออกหาความสบาย ปล่อยปละละเลยหรือไม่เผชิญภาระ ท่านจึงให้เสริมสร้างวิริยะ และสมาธิอย่างสม่ำเสมอสมดุลกัน เพื่อจะได้ประคับประคองกันไปและเป็นเครื่องอุดหนุนกันให้ก้าวหน้าไปในการปฏิบัติ
    ส่วนข้อ ๓ สติ นั้น เป็นตัวคุมตัวเตือน ต้องใช้ในทุกกรณี เช่น เป็นเหมือนยามที่คอยบอกว่า เวลานี้ศรัทธาจะแรงไปแล้ว ปัญญาจะหย่อนไปแล้ว เวลานี้ควรเร่งวิริยะขึ้นมา เพราะทำท่าจะติดในสุขจากสมาธิเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น
    ๕. “พละ ๕” ธรรมที่เป็นกำลังในการต้านทานไม่ให้อกุศลธรรมเข้าครอบงำ ก็ได้แก่ อินทรีย์๕
    นั่นแหละ แต่มาทำหน้าที่เป็นฝ่ายรับ เรียกว่า พละ ๕ หมายความว่า ธรรม ๕ อย่างนี้เมื่อทำหน้าที่เป็นฝ่ายรุก ไปแก้ไขกำจัดอกุศลธรรมเรียกว่าอินทรีย์ ๕ แต่ถ้าทำหน้าที่ฝ่ายรับต้านทานอกุศลธรรมไม่ให้บุกเข้ามาทำลายได้ ก็เรียกว่า เป็นพละ ๕

    ๖. “โพชฌงค์ ๗” แปลว่า องค์ของผู้ตรัสรู้ หรือองค์ประกอบของการตรัสรู้ เป็นกลุ่มธรรมสำคัญในการทำงานให้เกิดโพธิ คือ ปัญญาตรัสรู้ ซึ่งทำให้ทั้งรู้ ทั้งตื่นและทั้งเบิกบาน ได้แก่
    ๑.) สติ ความระลึกได้ เป็นตัวที่จับไว้หรือรวบรวมเอามา ซึ่งสิ่งที่ควรรู้เข้าใจ มานำเสนอให้ปัญญาตรวจตรองพิจารณาอย่างถนัดชัดเจน
    ๒.) ธรรมวิจัย ความเฟ้นธรรม หมายถึง การใช้ปัญญาสอบสวนพิจารณาสิ่งที่สติกำหนดไว้ หรือนำเสนอนั้น ให้รู้เข้าใจเห็นสาระเห็นความจริง
    ๓.) วิริยะ ความเพียร คือ ความแกล้วกล้า กระตือรือร้น รุดหน้าต่อไปในการทำงาน ให้จิตใจไม่หดหู่ ถดถอย หรือท้อแท้
    ๔.) ปีติ ความอิ่มใจ คือ ปลาบปลื้ม ดื่มด่ำ ซาบซึ้ง ฟูใจ ที่เป็นไปพร้อมกับการทำงานก้าวรุดหน้าต่อไป
    ๕.) ปัสสัทธิ ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ เป็นความเรียบเย็น ไม่เครียด ไม่กระสับกระส่าย เบาสบายซึ่งสืบเนื่องจากปีติ และเป็นองค์ธรรมสำคัญในการรักษาสุขภาพจิต ความเพียรพยายามทำงานการที่พ่วงมาด้วยปัสสัทธิ จะไม่ทำให้คนเป็นโรคจิตอย่างที่เป็นกันมากในหมู่คนทำงานในยุคปัจจุบัน

    ๖.) สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น คือ จิตใจแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่กำหนดเป็นหนึ่งเดียว อยู่กับกิจ อยู่กับเรื่องที่พิจารณา ไม่วอกแวก ฟุ้งซ่าน
    ๗.) อุเบกขา ความวางทีเฉยดู หมายถึง ความมีใจเป็นกลาง จิตใจเรียบสม่ำเสมอ นิ่งดูไปอย่างพร้อมสบาย ในขณะที่จิตปัญญาทำงานก้าวหน้าไปเรียบรื่นตามกระบวนการของมัน
    ๗. สุดท้ายก็คือ ตัว “มรรคมีองค์ ๘” อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (ทำการชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (จิตมั่นชอบ)
    ว่าที่จริง โพธิปักขิยธรรมก็ขยายจากมรรคมีองค์ ๘ นั่นแหละ หลักสุดท้ายนี้จึงเป็นตัวรวม แต่ขยายออกไปเพื่อให้เห็นประชาชนซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ กัน เป็นข้าราชการ เป็นตำรวจ เป็นทหาร เป็นแพทย์ เป็นครู อาจารย์ เป็นพระ ฯลฯ มากมาย เมื่อพูดมาถึงโพธิปักขิยธรรมแล้ว ก็เรียกว่าจบเพราะโพธิปักขิยธรรมเป็นตัวการปฏิบัติ หรือเป็นคณะทำงาน เมื่อคณะทำงานในการปฏิบัติธรรมมาถึงแล้ว ก็ยกให้เป็นหน้าที่ของคณะทำงานนั้น ทำหน้าที่ของเขาต่อไป
     
  8. ผีเสื้อราตรี

    ผีเสื้อราตรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +283
    ลองหาสิ่งที่ชอบดูนะคะ บางคนชอบอ่านหนังสือธรรมะ บางคนชอบฟังเทปธรรมะ บางคนก็ชอบสนทนาธรรมกับเพื่อน บางคนก็ชอบดูลมหายใจ บางคนชอบพุทธ-โธ หาสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขในทางธรรม เราก็จะมีความพอใจที่จะเรียนรู้ และที่สำคัญคือต้องเข้าใจและเห็นประโยชน์ว่าสิ่งที่เราได้เรียนรู้และศึกษานี้มีประโยชน์กับเรามากแค่ไหน สำหรับเราๆไม่อยากมีความทุกข์ถ้าได้เรียนรู้กายใจมากเข้า ความทุกข์ก็จะน้อยลง
     
  9. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +3,592
    วันคืนล่วงไปล่วงไป บัดนี้เราทําอะไรอยู่
     
  10. อศูนย์น้อย

    อศูนย์น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +495
    ท้อ เพราะอะรัยหลอครับ สู้ๆนะครับ
    เป็นกำลังจัยไห้นะครับ อนุโมทนาด้วยครับ
     
  11. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,310
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    ศรัทธาบวกกับการปฏิบัติอย่างสมํ่าเสมอในทุกวัันครับ นั่นคือกําลังใจครับ หากเราทําๆหยุดๆ ไม่ทําอย่างสมํ่าเสมอ อันนี้ร้อยทั้งร้อยกําลังใจก็ตกครับ ถ้าเปรียบเหมือนเราฝนเหล็กๆ เราก็ต้องหมั่นฝนเรื่อยไปจนเหล็กเเหลมเเละคมครับ เป็นกําลังใจให้ครับคุณ dota0321 ขอให้ปฏิบัติในทุกวันครับ เเล้วกําลังใจจะมาเองครับ
     
  12. งูขาว

    งูขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2008
    โพสต์:
    945
    ค่าพลัง:
    +1,824
    ทำต่อไป เดี่ยวมันก็เชื่อมต่อไป คือเก่า ให้ทำไป
     
  13. กตเวทิตา

    กตเวทิตา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +79
    ลองทำใจให้สงบ หลับตาลงสักพัก หายใจเข้า-พุธ หายใจออก-โธ หรือนับลูกประคำ ลองทำไปเรื่อยๆ ให้ใจเราอยู่กับตัวเราเอง จะเห็นความจริง "สังขารเป็นของไม่เที่ยง" เมื่อเรามาแต่ตัว ไยต้องดิ้นรนขวนขวาย ไขว่ขว้ากิเลส มาพัวพัน ทำให้ใจเราเศร้าหมอง
    เป็นกำลังใจให้ทุกท่าน สำเร็จมรรคผลค่ะ
     
  14. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,774
    ค่าพลัง:
    +12,932


    <CENTER>พยากรณ์ธรรมมีอุปการะมาก</CENTER><CENTER></CENTER>
    [๖๕๙] พระผู้มีพระภาค ดูกรภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ถ้าไม่พึงตั้งความเพียร ก็ไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะตั้งความเพียรจึงบรรลุสัจจะได้
    ฉะนั้น ความเพียรจึงมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ.
    กาปทิกมาณพ ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร?

    พ. ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร ถ้าไม่พึงพิจารณา ก็พึงตั้งความเพียรนี้ไม่ได้ แต่เพราะพิจารณาจึงตั้งความเพียรได้
    ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณาจึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณาเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา?

    พ. ดูกรภารทวาชะ ความอุตสาหะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา ถ้าไม่พึงอุตสาหะ ก็พึงพิจารณาไม่ได้ แต่เพราะอุตสาหะจึงพิจารณาได้
    ฉะนั้น ความอุตสาหะจึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ?

    พ. ดูกรภารทวาชะ ฉันทะมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ ถ้าฉันทะไม่เกิด ก็พึง
    อุตสาหะไม่ได้ แต่เพราะฉันทะเกิดจึงอุตสาหะ
    ฉะนั้น ฉันทะจึงมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ฉันทะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ?

    พ. ดูกรภารทวาชะ ธรรมที่ควรแก่การเพ่งมีอุปการะมากแก่ฉันทะ ถ้าธรรมทั้งหลายไม่ควรแก่การเพ่ง ฉันทะก็ไม่เกิด แต่เพราะธรรมทั้งหลายควรแก่การเพ่ง ฉันทะจึงเกิด
    ฉะนั้นธรรมที่ควรแก่การเพ่งจึงมีอุปการะมากแก่ฉันทะ.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรการเพ่งเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.

    พ. ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง ถ้าไม่พึงใคร่ครวญเนื้อความนั้น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ควรแก่การเพ่ง แต่เพราะใคร่ครวญเนื้อความ ธรรมทั้งหลายจึงควรแก่การเพ่ง
    ฉะนั้น ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ จึงมีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญา เครื่องใคร่ครวญเนื้อความเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ?

    พ. ดูกรภารทวาชะ การทรงจำธรรมไว้ มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความถ้าไม่พึงทรงจำธรรมนั้น ก็พึงใคร่ครวญเนื้อความนี้ไม่ได้ แต่เพราะทรงจำธรรมไว้ จึงใคร่ครวญเนื้อความได้
    ฉะนั้น การทรงจำธรรมไว้ จึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม?
    พ. ดูกรภารทวาชะ การฟังธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม ถ้าไม่พึงฟังธรรมก็พึงทรงจำธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะฟังธรรมจึงทรงจำธรรมไว้ได้
    ฉะนั้น การฟังธรรมจึงมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การฟังธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม?

    พ. ดูกรภารทวาชะ การเงี่ยโสตลงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม ถ้าไม่พึงเงี่ยโสตลงก็พึงฟังธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเงี่ยโสตลงจึงฟังธรรมได้
    ฉะนั้น การเงี่ยโสตลงจึงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลงเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง?

    พ. ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปนั่งใกล้มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง ถ้าไม่เข้าไปนั่งใกล้ก็พึงเงี่ยโสตลงไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปนั่งใกล้จึงเงี่ยโสตลง
    ฉะนั้น การเข้าไปนั่งใกล้จึงมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้เป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้?

    พ. ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปหามีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ ถ้าไม่พึงเข้าไปหาก็พึงนั่งใกล้ไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปหาจึงนั่งใกล้
    ฉะนั้น การเข้าไปหาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปหาเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา?

    พ. ดูกรภารทวาชะ ศรัทธามีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา ถ้าศรัทธาไม่เกิด ก็ไม่พึงเข้าไปหา แต่เพราะเกิดศรัทธาจึงเข้าไปหา
    ฉะนั้น รั จึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา

    ที่มา พยากรณ์ธรรมมีอุปการะมาก

    สาธุ สาธุ สาธุ
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2010
  15. คิเคียว

    คิเคียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2006
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +459
    ท่านว่าถ้าเริ่มเบื่อจากธรรมะ ให้ลองเพ่งอสุภะ
     
  16. pimrapat

    pimrapat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +97
    คุณโดตา คะ ตัวดิฉันเองก็เคยประสบกับเรื่องที่ทำให้ต้องลืมเรื่องการปฏิบัติธรรมไปเหมือนกัน แต่แล้วก็ต้องมาเริ่มใหม่ต้องสร้างฐานให้มั่นคงคือต้องอดทนในสิ่งที่เข้ามากระทบค่ะ ในส่วนตัวเองที่ปฏิบัติอยู่ก็พยายามรักษาศีล 5 ให้เคร่งหน่อยถึงจะหลุดบ้างก็เริ่มใหม่อย่าให้มากไปกว่าเดิม สวดมนต์ไหว้พระนั่งสมาธิศึกษาธรรมจากหนังสือบ้าง ซีดีบ้าง ใช้ชีวิตให้ปกติเพราะเรายังอยู่ในสังคม ข้อสำคัญตัดกรรมไม่สร้างกรรมใหม่ขึ้นมาและพยายามช่วยเหลือคนที่ด้อยโอกาสกว่าเราและแห่งบุญอื่นที่เราจะทำได้อย่างสม่ำเสมอ ดิฉันขอเป็นกำงใจให้คุณโดตาค่ะ บุญเท่านั้นที่จะช่วยเราได้
     
  17. korry2008

    korry2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +252
    พี่ต้องคิดว่าอันเก่าพี่เก็บได้ 5 แล้ว แล้วพี่ก็เริ่มนับ 1 ใหม่เริ่มเก็บ 1 ใหม่ไปเรื่อยๆให้มากกว่าเก่าซัก 100 เท่าหรือ 1000 เท่าก็ได้ อันเดิมเป็นทุนอยู่แล้วต่อจากนี้ไปชีวิตพี่ต้องแสวงหากำไร(ทางธรรม)อย่างเดียวแล้วแต่พี่จะกอบโกยได้เยาะเท่าไหร่

    " เมตตา คุณณัง อรหัง เมตตา คาถาพระอาจารย์ "
     
  18. momแข็งแรง

    momแข็งแรง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +214
    บางทีอาจจะต้องลองพิจารณาดูว่าเหตุใดที่ทำให้ท่านห่างเหินการปฏิบัติธรรมไปเมื่อไตร่ตรองได้แล้วธรรมมะที่จะน่าจะช่วยท่านได้ก็คือ การเพิ่มกำลังอินทรีย์ ๕ให้มากขึ้นครับ เช่น อาจจะลองหาสื่อธรรมมะต่างๆจากผู้ที่ท่านศรัทธามากที่สุดมาทบทวนดูอีกครั้งครับ
     
  19. Lungsut

    Lungsut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2010
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +185
    สิ่งที่ทุกท่านแนะนำมา ใช้ได้หมด ผมเพิ่มนิดหน่อย ทำใจให้ว่างทุกอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่มีอะไรยั่งยืน ไม่ยึดติด คุณเริ่มปฏิบัติมาแล้วย่อมมีกำลังใจในการปฏิบัติต่อไปแน่นอน
     
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    อะไรกันคุณ จขกท ......!?

    เมื่อเดือนที่แล้ว ก็ตั้งคำถามแบบนี้ นี่ผ่านไปไม่กี่วันเอง มาถามคำถาม
    เดิมอีกแล้ว

    แบบนี้นะ ไม่ใช่เรื่อง ความเพียรในการปฏิบัติไม่มีหลอก ผมว่าความ
    เพียรในการปฏิบัติคุณพอมี และน่าจะปฏิบัติได้ดีตามกำลังของตนด้วย

    ดังนั้น สิ่งที่ขวางกั้นไม่ใช่ความ ท้อถอย

    แต่น่าจะเป็นความ ติดเล่น ติดเพื่อน ติดฝูง อาลัยอาวรณ์ในอารมณ์
    เป็นคนขี้เล่น อาลัยอาวรณ์ความเป็นคนสนุกสนานเฮฮา

    การเหินห่างจากการปฏิบัติ ทั้งๆที่น่าจะเป็นคนปฏิบัติได้ดีหากลงมือ นั้น
    มาจะมาจาก อารมณ์อาวรณ์บุคคลิกคนสนุกสนาน มันดึงออกมาให้ละ
    เลยการปฏิบัติ

    ดังนั้น

    วิธีปฏิบัติ คุณก็อาศัยจังหวะแบบนี้แหละ ผลิกเอามาดูเลยว่า ภพแบบนี้
    สภาวะแบบนี้ มันนำสุขมาให้ได้ไม่นาน มันก็จืด พอความรักสนุกมัน
    จืด มันไม่เที่ยง ก็เกิดการหวลระลึก ภพนักปฏิบัติขึ้นมา แต่ทว่ายังเห็น
    สุขจากการคลุกคลี สุขจากการได้เป็นคนขี้เล่น ยังแลเห็นสภาวะการเป็น
    คนขี้เล่นนี้ไม่มีโทษ พอไม่เห็นโทษ จิตมันเลยได้แต่สร้างธรรมารมณ์หวล
    ไปจับสุขในภพนักปฏิบัติได้เท่านั้น ไม่เกิดการดีดเข้าไปซ่องเสพ หรือดีด
    ตัวออกไปเป็นนักปฏิบัติ

    ภาษาธรรมเรียกว่า โดน ธรรมารมณ์เล่นงาน

    หากนักภาวนาที่มีความว่องไว มีปฏิภาณ จะ ยกสภาวะ ธรรมารมณ์
    นี้เป็นสภาวะธรรมคู่ ขึ้นมาดูความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความที่มัน
    บังคับบัญชาไม่ได้ เอาไตรลักษณ์ช่วยคิดนำไปก่อน แล้วค่อยตามด้วย
    การเจริญสติเข้ามมาระลึกเห็น ธรรมารมณ์ทั้งคู่(ภพขี้เล่น และ ภพนักปฏิบัติ)
    จะขาดกระเด็นออกไปทั้งคู่ ซึ่งจะทำให้พอแลเห็น ธรรมหนึ่ง ได้ลางๆ

    และ ณ วินาทีที่พอเห็น ธรรมหนึ่งลางๆ ขณะนั้น คุณเป็น นักปฏิบัติ
    เรียบร้อยไปแล้ว หนึ่งขณะจิต

    ดังนั้น หนทางเป็นนักปฏิบัตินั้น มีได้ทุก ขณะจิต อยู่ที่ปฏิภาณในการ
    เล็งเห็น ใส่ใจ ขึ้นมาเป็น ฉันทะ เพื่อประกอบสติ(ความเพียร)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...