ช่วยดูพระท่ากระดานว่ายุคไหนหน่อยครับ

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย ธีทิพย์, 15 สิงหาคม 2009.

  1. ธีทิพย์

    ธีทิพย์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +2
    ช่วยดูพระท่ากระดานว่ายุคไหน,กรุไหนหรือวัดไหนหน่อยครับท่านผู้รู้ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN2247.JPG
      DSCN2247.JPG
      ขนาดไฟล์:
      613.9 KB
      เปิดดู:
      1,882
    • DSCN2248.JPG
      DSCN2248.JPG
      ขนาดไฟล์:
      597.3 KB
      เปิดดู:
      1,420
    • DSCN2249.JPG
      DSCN2249.JPG
      ขนาดไฟล์:
      587.7 KB
      เปิดดู:
      620
    • DSCN2252.JPG
      DSCN2252.JPG
      ขนาดไฟล์:
      665.6 KB
      เปิดดู:
      399
    • DSCN2253.JPG
      DSCN2253.JPG
      ขนาดไฟล์:
      656.5 KB
      เปิดดู:
      653
    • DSCN2254.JPG
      DSCN2254.JPG
      ขนาดไฟล์:
      594.6 KB
      เปิดดู:
      320
    • DSCN2255.JPG
      DSCN2255.JPG
      ขนาดไฟล์:
      734.2 KB
      เปิดดู:
      405
  2. kingcobra150

    kingcobra150 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2009
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +2
    จุดที่ 1.ตาจะโตคิ้วจะหนา
    จุดที่ 2.จะมีเนื้อเกินหลังที่วางมือขวา
    จุดที่ 3.จะฐานขวาจะสูงกว่าฐานซ้าย
    จุดที่ 4.จะที่ลอยเท่หรือบางเว็บเรียกว่ารอยยุบรอยหดตัวของตะกั่ว
    **บางกรุจะมีการปิดทองก่อนลงกรุครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • TT.jpg
      TT.jpg
      ขนาดไฟล์:
      168.2 KB
      เปิดดู:
      1,641
  3. kingcobra150

    kingcobra150 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2009
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +2
    ลืม!!ไปอีกจุดครับมุมปากข้างซ้ายเรา(ขวาขององค์พระจะมีลักยิ้ม) ครับ

    และขอบคุณผู้ที่เอื้อเฟื้อภาพบนInternetครับ
     
  4. kingcobra150

    kingcobra150 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2009
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +2
    องค์ที่ คุณtheeraphon19 ลงอาจจะเป็นรุ่นที่หลวงพ่อนารถไปพบตระกั่วเก่าที่พบแล้วนำไปปั้มใหม่(ไม่ได้หลอมใหม่นะครับ)แล้วนำเข้ากรุก็ได้ครับ
     
  5. kingcobra150

    kingcobra150 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2009
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +2
    กล่าวตามประวัติความเป็นมาแล้ว "พระท่ากระดาน" นี้ตั้งชื่อตาม "วัดท่ากระดาน หรือ วัดกลาง" อันเป็นวัดสำคัญ 1 ใน 3 วัดของ "เมืองท่ากระดาน" เมืองเก่าแก่เมืองเดียวริมแม่น้ำแควใหญ่ที่มีความสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยาเคียงคู่กับเมืองกาญจนบุรีเก่า และเมืองไทรโยค คือ เป็นเมืองที่มีเจ้าปกครอง อีกทั้งเป็นเมืองหน้าด่านที่ต้องสู้รบกับกองทัพพม่าที่ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ในทุกคราว แต่ปัจจุบันลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์ จึงถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอเมื่อ พ.ศ.2438 และลดฐานะเป็นหมู่บ้านและตำบลอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

    "เมืองท่ากระดาน" มีวัดสำคัญ 3 วัดคือ วัดเหนือ (วัดบน) วัดกลาง (วัดท่ากระดาน) และวัดล่าง เมื่อราว พ.ศ. 2495 ได้มีการขุดค้นหาโบราณวัตถุกันเป็นการใหญ่และได้พบพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่วัดทั้งสามเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่วัดกลางซึ่งเรียกชื่อเต็มว่า "วัดท่ากระดาน" นั้น ได้ปรากฏพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่สนิมแดงงามจัดและปิดทองมาแต่ในกรุทุกองค์ กอปรกับวัดนี้ตั้งอยู่ในส่วนกลางของเมืองท่ากระดานเก่าพอดี ชาวบ้านจึงเห็นเหมาะสมที่จะเรียกพระพิมพ์นี้ตามชื่อวัดว่า "พระท่ากระดาน" สถานที่ที่สันนิษฐานว่าเป็นที่สร้าง "พระท่ากระดาน" คือบริเวณหน้าถ้ำทางตอนเหนือของเมืองท่ากระดานเก่าขึ้นไปตามลำน้ำ ซึ่งเดิมคงจะเป็นวัดเก่าแก่ เนื่องจากมีศาสนวัตถุที่ปรักหักพังและพระเจดีย์เป็นจำนวนมาก และจากวัตถุโบราณที่พบ เช่น บาตรขนาดเขื่อง เตาดินเก่าๆหลายเตา ที่สำคัญคือ ปรากฏมีสนิมแดงงดงามมากตกอยู่เรี่ยราดบริเวณเตาและพบพระท่ากระดานทุกๆพิมพ์อีกด้วย จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นแหล่งสร้างพระท่ากระดานอย่างแน่นอน และเนื่องจากหน้าถ้ำมีต้นลั่นทมขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง จึงเรียกพระท่ากระดานที่พบในบริเวณนี้ว่า "พระท่ากระดาน กรุต้นลั่นทม"

    นอกจากนี้ยังมีการขุดค้นพบพระท่ากระดานตามบริเวณต่างๆ โดยรอบแต่มีจำนวนไม่มากนัก อาทิ วัดบ้านนาสวน (วัดต้นโพธิ์) อารามร้างตอนเหนืออำเภอศรีสวัสดิ์ วัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว) อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี วัดท่าเสา ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น

    "พระท่ากระดาน" มีพุทธลักษณะเค้าพระพักตร์เคร่งขรึมน่าเกรงขาม แข้งเป็นสัน และพระหนุแหลมยื่นออกมา ลักษณะเหมือน "พระอู่ทองหน้าแก่" อันเป็น "พุทธศิลปะสมัยลพบุรี" และด้วยอายุการสร้างเกินกว่า 500 ปี พระท่ากระดานส่วนมากจึงเกิด "สนิมไขและสนิมแดง" ขึ้นคลุมอย่างหนาแน่นและส่วนใหญ่จะลงรักปิดทองมาแต่เดิม ดังนั้นข้อพิจารณาเบื้องต้นในการศึกษา "พระท่ากระดาน" ก็คือ สภาพสนิมไข สนิมแดง และรักเก่า ทองเก่า "พระท่ากระดาน" นั้นในสมัยโบราณเรียกขานกันว่า "พระท่ากระดาน เกศคด ตาแดง" อันเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะคือ มีเกศค่อนข้างยาวและคดงอ ส่วน "ตาแดง" นั้นเนื่องจากพระท่ากระดานเป็นพระหล่อจากเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งพอได้อายุเนื้อตะกั่วจะขึ้นสนิมปกคลุมบนผิว "สนิมตะกั่ว" จะมีลักษณะเป็นสีแดง หนา และติดแน่น มีความมันเยิ้ม ยิ่งเมื่อถูกสัมผัสก็จะยิ่งมันวาว และบนสนิมแดงนี้จะเกิดสนิมไขสีขาวครีมเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่ง และจาการเวลาที่ยาวนานดังกล่าวแล้วสนิมแดงนี้จะเป็นสนิมแดงเข้มคล้ายสีเปลือกมังคุด และมี "รอยแตกตามุ้ง" ลักษณะเป็นตาตารางบนเนื้อสนิมแดง ตลอดจนบนสนิมไขซึ่งเกิดจากการหดตัวหรือขยายตัวของเนื้อตะกั่วขององค์พระ เอกลักษณ์อีกประการหนึ่งคือ "คราบปูนแคลเซี่ยม" อันเป็นหลักสำคัญสำหรับการพิจารณาพระแท้ของพระเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งเรียกว่า "พระชินสนิมแดง"

    "พระท่ากระดาน" มีทั้งหมด 2 กรุคือ กรุเก่าและกรุใหม่ ทั้งสองกรุนี้จะแตกต่างกันที่พื้นหลังขององค์พระ "กรุเก่า" จะตัดติดเป็นขอบพื้นบ้าง ทำให้องค์พระแลดูใหญ่และล่ำสัน ส่วน "กรุใหม่" จะตัดติดขอบชิดกับแม่พิมพ์ขององค์พระ เห็นพระพักตร์และพระกรรณอย่างชัดเจน ทำให้เมื่อดูพระท่ากระดานกรุใหม่จะมีขนาดเล็กกว่ากรุเก่า แต่ผิวพระและลักษณะแม่พิมพ์ด้านหน้าจะคมชัดกว่า ในอดีตนักนินมสะสมพระเครื่อง พระบูชา มักนำ "พระท่ากระดาน" ไปล้างผิวแคลเซี่ยมออกเพื่อให้เห็นสีของสนิมแดงและรอยแตกตามุ้งได้อย่างชัดเจนทั้งองค์ แต่ในปัจจุบันจะนิยมความบริสุทธิ์ขององค์พระเดิมที่ปราศจากการล้างหรือตกแต่งใดๆ ตำหนิแม่พิมพ์และรายละเอียดต่างๆ จึงถูกบดบังด้วยผิวรักปิดทอง สนิมแดง และแคลเซี่ยม การพิจารณาจึงจำเป็นต้องตรวจสอบจากขนาดขององค์พระและเอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ดังที่กล่าวมาเท่านั้น

    จากหนังสือเบญจมหามงคล ของ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระ
     
  6. ธีทิพย์

    ธีทิพย์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +2
    ขอขอบคุณ คุณ Kingcobra150 มากครับ ถ้าเป็นของหลวงพ่อนารถท่านสร้างไว้ปี พ.ศ ใดครับ ผมลองค้นหาดูใน Net มีลักษณะสนิมสีเขียวคล้ายองค์ดังรูปแล้วบอกว่าเป็นพระท่ากระดาน กรุช่องสะเดา
     

แชร์หน้านี้

Loading...