How to became the wisdom

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย Sataniel, 21 กันยายน 2018.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Sataniel

    Sataniel "วิชชาและวิมุติ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,493
    ค่าพลัง:
    +2,364
    การพัฒนาตนในการใช้ชีวิตประจำวัน(ทางโลก)


    การเรียนรู้โดยการใช้ มโน(ความคิด) และเป็นสิ่งที่ยังเป็นสมมุติ(สมมุติฐานซึ่งยังไม่ทราบความจริง)

    -การเรียนรู้ใดๆทั้งหมดในทางโลกเริ่มจากการอ่านและไปทำตาม
    -การคิดขณะทำ = ฟุ้งซ่าน หากจะทำสิ่งใดๆขณะทำบางสิ่ง ย่อมสำเร็จผลไม่เต็มร้อย
    -การทำบางสิ่งที่ได้รับผลที่คุ้มค่าและรวดเร็วที่สุดเริ่มจาก คิด(มโน) ต่อมาจึงทดลอง และขณะทดลองห้ามคิด เพราะจะฟุ้งซ่านทำให้ผลลัพท์ = เละ
    หากจะคิดให้หยุดทำก่อนและพิจารณาต่อเมื่อเสร็จแล้วจึงลงมือทำต่อ




    หลักการคิด(มโน)ในการพิจารณา(ทางโลกทั้งหมด)สิ่งต่างๆ


    -ศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูล(ยุคนี้คือ internet)
    -ต้องเป็นข้อมูลที่ผู้พูด/ผู้เผยแพร่น่าเชื่อถือ
    -หาข้อมูลที่น่าเชื่อถือน้อยลงและนำมาเปรียบเทียบ
    -หาข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือเลยและนำมาเปรียบเทียบ
    -ตั้งสมมุติฐานและทดลอง




    หลักการคิด(มโน)ในการทำงาน


    -ศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูล(ยุคนี้คือ internet)
    -ต้องเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
    -ดูรูปแบบของงานที่กำลังศึกษา [เช่นกำลังศึกษาการออกแบบงานโลโก้ ก็เสิร์ชคำว่าโลโก้ ดูการออกแบบทั้งหมด]
    -ศึกษาองค์ประกอบอื่นๆของงานที่จำเป็น [เช่นในการออกแบบโลโก้ องค์ประกอบของงานคือ ลายเส้น รูปลักษณ์(ศิลปะ) ,การคุมเม้าส์หรือจะใช้เม้าส์ปากกา และอีกมากมายที่สามารถเพิ่มระดับของงานได้]
    -นำมาพลิกแพลงจากที่ได้ศึกษามา
    -ฝึกฝนจนสามารถสร้างรูปแบบของตนได้
    -พัฒนาต่อยอดจนสามารถสร้างความแปลกใหม่ของผลงานได้
    -หาคนที่เก่งและเปรียบเทียบกับเขาตามความเป็นจริงหากรู้ว่าด้อยกว่าก็พัฒนาต่อไป
    -หากเราเก่งกว่าเขาก็ให้หาคนที่มีฝีมือมากกว่า และเปรียบเทียบกับเขาต่อไป



    การเรียนรู้ version ทำจริงหลังจากมโน(ความคิด)ไปเรียบร้อยแล้ว

    1.กรณีที่เกร็งขณะทดลองเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

    -เวลาลงมือทำจริงจะเกิดอาการเกร็งทำให้การตัดสินใจช้า
    -ผิดพลาดบ่อย และการผิดพลาด(ไม่จำ)เกิดจากการเกร็ง
    -บากบั่นทำไปเรื่อยๆจนสำเร็จผล


    สรุปผล สำเร็จผลดั่งที่ต้องการ แต่ต้องใช้เวลาและผิดพลาดบ่อย


    2.กรณีที่ไม่เกร็งขณะทดลองเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ


    -เวลาลงมือทำจะผิดพลาดเช่นกัน แต่สามารถปรับตัวได้เร็วกว่าการเกร็ง
    -เมื่อไม่เกร็งร่างกายย่อมตอบสนองและจดจำสิ่งต่างๆได้ดีกว่า ทำให้ผิดพลาดน้อยกว่าการเกร็ง
    -ไม่ต้องบากบั่นแค่เรียนรู้ไปสักระยะก็สำเร็จผลได้

    สรุปผล สำเร็จผลดั่งที่ต้องการ แต่ใช้เวลาน้อยกว่าและผิดพลาดน้อยกว่าการเกร็ง




    สมมุติฐานต่อมาสำหรับการเพิ่มความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน

    กรณีของสมาธิ

    วิธีทำ = เพ่งไปที่งานจดจ่อกับงานที่ทำ


    ผลการทดลอง

    -การปฏิบัติงานที่ใช้สมาธิมาก(เพ่งมาก)ทำให้เกิดอาการเกร็ง(กดดัน/เครียด)
    -ขณะปฏิบัติงานหากใช้สมาธิย่อมจดจ่อแต่จุดๆนั้นที่กำลังเพ่งอยู่ ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในจุดอื่นๆที่ไม่ได้ เพ่ง(focus)
    -ไม่รับรู้สิ่งรอบตัวขณะมีสมาธิ(เพ่ง)กับงาน


    สรุปผล = สมาธิควรมีในการทำงานแต่ไม่ควรเพ่ง(เกร็ง)กับงานมากจนเกินไปจะทำให้เครียดเหนื่อย,ล้าได้ง่ายกว่าปรกติ


    กรณีของสติ(ทางโลก)

    วิธีทำ ขณะที่กำลังทำงานให้กลับมารู้สึกตัวรู้สึกถึงรอบๆ ไม่ได้เพ่งกับผลงานเพียงแค่มองผ่านๆแต่มองให้ละเอียด
    ผลการทดลอง


    -สามารถพบเห็นจุดบกพร่องต่างๆได้มาก
    -งานสำเร็จไว
    -ไม่ค่อยผิดพลาด
    -รายละเอียดของงานน้อยกว่า

    สรุปผล = สติเป็นตัวควบคุมการทำงาน ทำให้ผิดพลาดน้อยกว่ามาก และไม่เครียดเท่ากับการตั้งสมาธิทำงาน



    กรณีของปัญญา(ทางโลก)[มโน/ความคิด]

    วิธีทำ = ค้นหาข้อมูลที่ต้องการศึกษา ทั้งจากผู้ที่น่าเชื่อถือ , น่าเชื่อถือน้อยลง , ไม่น่าเชื่อถือ และทำความเข้าใจทั้งหมด และสรุปผล(ยังเป็นสมมุติฐาน) เมื่อสรุปผลจนพอจะเข้าใจบ้าง จึงนำมาตั้งสมมุติฐานและทดลอง


    ผลการทดลอง

    -เมื่อศึกษาข้อมูลจากก่อนลงมือทำ โอกาสผิดพลาดของงานน้อยลงแต่ไม่เสมอไป(ด้วยเหตุว่าข้อมูลที่ได้รับถูกต้องหรือไม่)
    -ต้องเสียเวลามากกว่าการใช้สติ และ สมาธิในการทำงาน

    สรุปผล = การใช้ปัญญานั้นมีข้อดีคือได้รู้เรื่องราวของงานก่อนการทำ ข้อเสียคือข้อมูลที่ได้รับจะถูกต้องหรือไม่ เราไม่รู้นอกจากลงปฏิบัติเท่านั้น





    หลักการมโน(คิด)ในชีวิตประจำวัน



    -อยู่กับโลกความจริง

    หากในบริษัทมีเพื่อนร่วมงานยกโทรศัพท์มาใช้พิมพ์ หากเป็นผู้มีทิษฏิในด้านไม่ดี จะมโนไปว่า "เอาเวลาไปคุยกับสาวงานการไม่ทำ" หรืออีก มากมายตามจริตและทิษฏิของบุคคล แต่หากเป็นกรณีผู้มองโลกสไตล์ลาเวนเดอร์ จะมองว่า "หืมคุยกับลูกค้าด้วยขยันจัง" / "สงสัยเขามีธุระละมั้งเลยเอาโทรศัพท์มาเล่น"

    จะสังเกตุว่าปถุชนย่อมจะมโนไปทั้งสองทาง เสมอๆ และการมโนนั้นๆเป็นการปักใจว่าเขาเป็นเช่นนั้นทั้งๆที่เรื่องที่เราพบ เรื่องที่เราเห็น เป็นสิ่งที่เรา "มโนไปเอง หรือ คิดไปเอง" ทั้งนั้นเลย ทั้งๆที่เรื่องจริงมันแสดงออกมาต่อหน้าแล้วว่า "เขาหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาใช้" ก็แค่นั้นแหละ หรือหากยังไม่เข้าใจยังมีตัวอย่างที่สองต่อให้ฟัง

    เวลาดึก ปรกติเวลานี้ชายหนุ่มจะโทรคุยโทรศัพท์กับแฟนสาวประจำ แต่ช่วงนี้ แฟนสาวของเขากลับไม่มีเวลาว่างเลย จนชายหนุ่มคิดว่า(มโน) ว่าเขา "นอกใจ / เล่นชู้ หรืออีกมากมาย" และพอไม่เชื่อใจภายหลังก็หาเรื่องทะเลาะกัน แม้จะทำไม่จริง ภายหลังความสัมพันธ์ก็ต่ำลงเรื่อยๆเพราะ "มโนไปเรื่อย" ดังนั้น จงอยู่กับความเป็นจริง ไม่รู้ก็คือไม่รู้ คนที่จะฆ่าตัวตาย ก็เพราะคิดนี่แล ก่อนเขาจะฆ่าตัวตายตอนแรกเขาเครียดแต่ยังไม่ที่สุด คิดไปคิดมายิ่งคิดยิ่งเครียด จึงเลือกจบชีวิตมันซะเลย โดยสรุปแล้ว ปัญหาส่วนใหญ่เกือบจะทั้งหมดในชีวิตของคนๆหนึ่ง(ปถุชน) มักจะเกิดจากมโนไปเองเกินกว่า 70% เพราะ มโน(คิดอย่างไร)ก็ทำอย่างนั้น เชื่ออย่างไรก็ทำเช่นนั้น นี่แหละชีวิต ทุกข์เอง ทำเอง งงแท้หนอ






    -อย่าตัดสินใครเพราะคุณ "ไม่รู้" เกี่ยวกับใคร สิ่งเดียวที่จะตัดสินผู้อื่นได้คือ "ความจริง" เท่านั้น และหากจะมโน(คิด)จงอย่าหลงไปในมโน

    มนุษย์ปรกติจะหลงลงไปในมโน(ความคิด) เช่นปักใจเชื่อว่าคนๆนี้เป็นอย่างนี้เพราะคิด ปักใจว่าสิ่งนี้เป็นอย่างนี้ เช่น มีคนกำลังคุยคุณอยู่เรื่องอาหาร คุยไปคุยมาเขากลับบอกว่า "เกลือนั้นไม่เห็นจะเค็มเลย" คุณจึงด่าเขาเพราะใครๆก็รู้ว่าเกลือเค็ม แต่คุณหารู้ไม่ว่า "ลิ้นของเขาไม่สามารถรับรสเค็มได้" เนื่องด้วยเหตุอะไรก็ว่ากันไป ไม่ว่าท่านจะมโนไปไหน มันก็ผิด เพราะสัจธรรมมันแสดงออกมาอยู่แล้ว คือ "เราไม่รู้ว่าทำไมเขาถึงบอกว่าเกลือไม่เค็ม" นั่นแล แต่หากทดลองมโน ก็ต้องรู้ว่านี่กำลังคิดอยู่มันไม่ใช่ความจริง เช่น "ทำไมเขาถึงบอกเกลือไม่เค็มวะ" และก็หาเหตุผลต่างๆมาคิดว่าทำไมเกลือไม่เค็ม ไม่ใช่ปักใจเชื่อในมโนของตนไปแล้วว่า ไอ้นี่มันบ้า นั่นแล





    -ไม่มีใครฉลาดที่สุดในโลกหล้า(สำหรับการเรียนรู้ทางโลกเท่านั้นใช้กับทางธรรม[ปฏิบัติ]ไม่ได้)


    สัจธรรมนี้คือความจริง เพราะไม่ว่าเศรษฐีพันล้าน และ ขอทานข้างถนน ทั้งคู่มีประสบการณ์ชีวิตไม่เหมือนกัน ดังนั้นสิ่งต่างๆที่เขาพบเจอย่อมแตกต่างกัน แต่คนทั่วไปมักจะไม่รับฟังความเห็นของบุคคลที่ "ต่ำชั้นกว่า" ตน(มโนคิดเอาเองว่าเขาต่ำกว่า) ทั้งๆที่เรื่องที่ขอทานได้พบเจอมา นั้นแน่นอนมีประสบการณ์ที่เศรษฐีไม่เคยพบเจอมามากมาย และหลายๆครั้งผู้คนจะอ้างว่าตนฉลาดกว่า จึงไม่รับฟังผู้อื่น

    "แต่ความจริงแล้ว คนฉลาดคือคนที่รับฟังแม้กระทั่งขอทาน เพื่อนำไปพัฒนาตนต่อไปตังหาก"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2018
  2. Sataniel

    Sataniel "วิชชาและวิมุติ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,493
    ค่าพลัง:
    +2,364
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2019
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...