7 อุปนิสัยแห่งประสิทธิผล นั้นเป็นไฉน?

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 19 มกราคม 2013.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    7 อุปนิสัยแห่งประสิทธิผล นั้นเป็นไฉน?/ดร.นพ.ยุทธนา ภาระนันท์
    -http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000004734-
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
    18 มกราคม 2556 11:21 น.

    ปีนี้ ทำไมต้องคิดบวก?
    คมคิด: ผู้ชนะเห็นปัญหาเป็นสิ่งท้าทาย แต่ผู้แพ้เห็นเป็นอุปสรรค

    กว่า 100 ปีมาแล้ว ที่นักวิ่งพยายามทำสถิติวิ่ง 1 ไมล์ ให้ได้ภายในเวลา 4 นาที หลายคนบอกว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่มีใครจะสามารถทำได้ ที่จริงนิตยสารทางการแพทย์มากมาย ก็ได้อธิบายไว้ว่ามันไม่มีทางเป็นไปได้เลย ที่มนุษย์จะสามารถวิ่งระยะทาง 1 ไมล์ ได้ภายในเวลาไม่ถึง 4 นาที

    ทว่า นักศึกษาแพทย์ชาวอังกฤษคนหนึ่งเชื่อว่าเป็นไปได้ ในเดือนพฤษภาคม 1954 นายโรเจอร์ แบนนิสเตอร์ (Roger Bannister) ได้วิ่งระยะทาง 1 ไมล์ได้ภายในเวลา 3:59.4 นาที และหลังจากนั้น สถิติการวิ่ง 1 ไมล์ ภายใน 4 นาที ได้ถูกทำลายลงครั้งแล้วครั้งเล่า ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รวมกว่า 700 ครั้ง โดยผู้คนมากหน้าหลายตา

    อะไรทำให้ โรเจอร์ แบนนิสเตอร์ ต่างจากคนอื่น อะไรทำให้เขากลายเป็นผู้ชนะปัญหาที่คนอื่นๆ พ่ายแพ้มากว่า 100 ปี...ใช่แล้วครับ พลังคิดบวก อันเป็นความเชื่อมั่นว่าปัญหานี้ต้องมีทางเอาชนะได้เป็นแน่ ทำให้เห็นเป็นสิ่งท้าทาย มากกว่าจะเป็นอุปสรรค

    ในทางจิตวิทยาเชิงบวก พบว่า มีคุณลักษณะ 24 ประการ (24 Strengths & Virtues) ที่เป็นพลังคิดบวกในชีวิตมนุษย์ มีครั้งหนึ่งผมบรรยายเกี่ยวกับ “จิตวิทยาเชิงบวกกับทุนทางจิตวิทยา” ผมนำเสนอ 4 คุณลักษณะที่ผ่านการศึกษาวิจัยว่าส่งผลทำให้เกิดพลังคิดบวกในการทำงานที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ย่อว่า HORSE ได้แก่ Hope ความหวัง, Optimism การมองโลกในแง่ดี, Resilience การหยุ่นตัว, Self-Efficacy ความเชื่อมั่นในสมรรถนะของตน สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มผลการปฏิบัติงานอย่างมาก (Based on Luthans, Fred. 2005)

    เนื่องจาก HORSE มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ 7 อุปนิสัยแห่งประสิทธิผล (7Habits) อย่างมาก วันนี้ ผมจึงขอเสนอแบบสำรวจในเรื่องนี้ ลองสำรวจตนเองด้วยกันครับ (Adapted from Stephen R.Covey.2010)

    แบบสำรวจคิดบวกสไตล์ 7อุปนิสัยแห่งประสิทธิผล (7Habits positive thinking Check) (กรุณาศึกษาเพิ่มเติมที่ Positive Thinking+)

    ช่วงที่ผ่านมา ชีวิตและการทำงานของท่านเป็นอย่างไรบ้าง? (กรุณา√หน้าข้อตามจริง)

    1.ฉันมักเสนอให้เปลี่ยนแปลงบางอย่างเพื่อสร้างโอกาสในอนาคต
    2.เมื่อฉันเริ่มทำงานแต่ละชิ้น ฉันมองเห็นความสำเร็จที่ปลายทางเรียบร้อยแล้ว
    3.ฉันมักฉุกคิดได้ทันเมื่อทำงานที่ไม่สำคัญมากนัก ช่วยให้ฉันหันกลับมาทำงานตามที่ลำดับไว้
    4.เมื่อเกิดข้อขัดแย้ง ฉันพยายามหาข้อยุติที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์สูงสุดร่วมกัน
    5.ฉันพยายามเข้าใจประสบการณ์ของผู้อื่น จากมุมมองของเขามากกว่าคิดเอาเอง
    6.ฉันและเพื่อนๆ มีความหลากหลายและประสานกันสู่เป้าหมายได้ดี
    7.ฉันเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และหมั่นฝึกฝนพัฒนาตนเองท่ามกลางแรงกดดันอยู่เสมอ
    8.แม้บางคนจะปฏิบัติต่อฉันอย่างไม่เหมาะสม แต่ฉันก็ยังปฏิบัติต่อเขาด้วยใจปรารถนาดี
    9.เมื่อเผชิญการผันผวนเปลี่ยนแปลง ฉันสามารถยิ้ม หัวเราะและมีอารมณ์ดีได้อยู่
    10.ฉันไม่เพียงพูดถึงปัญหา แต่เสนอทางแก้ที่หลากหลายตลอดจนวิธีป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำ

    แปลผลและข้อเสนอแนะ : ยิ่งมีมาก ยิ่งแสดงว่ามีอุปนิสัยที่เอื้อต่อการเป็นคนคิดบวกมาก ซึ่งจะส่งผลดีต่อประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมตามมา เพื่อพัฒนาในเรื่องนี้ ผมมีหลักสูตรแนะนำ ได้แก่ เร่งพลังใจนักขายให้เต็มร้อย...ด้วยพลังคิดบวก, 7Habits plus...กุญแจไขพลังคิดบวก คิดสร้างสรรค์, EQ…หัวใจแห่งพลังทีมสร้างสุข สนใจ Training กรุณาติดต่อ 02-9422420; Yparanan@Gmail.com; www.HowAreYou.co.th; www.facebook.com/yparanan

    “คนคิดบวก ล้มลงเจ็ดครั้ง เขายังลุกขึ้นอีก” ท่านเห็นด้วยหรือไม่?

    ข้อมูลอ้างอิง

    Based on Luthans, Fred. (2005:267-302). Organizational behavior. 10th ed.Boston, Mass. : McGraw-Hill/Irwin.

    Adapted from Peterson & Seligman. Cited in James O. Pawelski. (2006). Theory for Practice:

    Positive Psychology and Leadership. Retrieved 7 Jan 2013. from isites.harvard.edu/fs/docs/icb.../Pawelsky-PosPsych.ppt

    Adapted from Stephen R.Covey. The 7 Habits of Highly Effective People Retrieved Nov 26,2010.

    from www.ams-uk.org/.../7_Habits_of_Highly_Effective_Teachers_-_AMS_Conf_ 7-03-09.ppt

    Proverbs 9:10 (2012). Biblica. Retrieved Feb 24,2012. From Biblica | Browse Bible by Book

    ------------

    บทความโดย
    ดร.นพ.ยุทธนา ภาระนันท์ MD., FP., Ed.D.
    yparanan@gmail.com
    แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและเวชศาสตร์ครอบครัว
     

แชร์หน้านี้

Loading...