12345678910 คลายเครียดเนื้อพระแก้วยุคใหม่อย่างถูกวิธี glass annealing process

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 1 ธันวาคม 2019.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    มาเริ่มต้นสร้างชิ้นงานแก้วกันครับ ในที่นี้ก็คือพระแก้วที่สร้างด้วยเทคนิค Lost Wax Glass โดยใช้แม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ทนไฟทนร้อนกันครับ ปูนปลาสเตอร์ทนความร้อนได้ 900C นานต่อเนื่อง 10 วัน คือทน 900C ต่อเนื่องได้ 10 วัน หลังจากนั้นอุณหภูมิต้องลดลงเรื่อยๆเป็นลำดับ ด้านบนแม่พิมพ์จะใช้กระถางดินเผาหรือจะใช้ปูนปลาสเตอร์เองทำเป็นรูปทรงกรวยเพื่อวางก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อก็ได้

    เริ่มต้นกันเลยนะครับ หลังจากเปิดฝาเตาอบไฟฟ้า วางแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ในเตา วางกระถางดินหรือใช้ปูนทรงกรวยแทนกระถางดิน ใส่ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อในกระถางดินหรือกรวยปูนแล้ว

    เริ่มขบวนการหลอม/อบลดอุณหภูมิกันเลยนะครับ
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ปิดฝาเตาแล้ว อุ่นเตาด้วยอุณหภูมิ 200C นาน 1 ชั่วโมง จากนั้นขึ้นเป็น 400C นาน 2 ชั่วโมง จากนั้นยกขึ้นเป็น 780C นาน 1 - 2 ชั่วโมง (แล้วแต่ขนาดกับรูปร่างของชิ้นงานและการวางกระถางหรือกรวย ขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของน้ำแก้ว ซึ่งหากทางน้ำแก้วไหลไม่สะดวก ต้องเพิ่มเวลาให้อีกตามสมควร)

    เริ่มต้นดังนี้
    200C 1 ชั่วโมง
    400C 2 ชั่วโมง
    780C 1-2 ชั่วโมง
    650-550C 1M:10C (10M:100C)

    อันนี้คือที่ในใบตารางไม่ได้เขียนไว้ แต่เราต้องผ่าน
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    1
    ถึงใบตารางแล้วนะครับ

    ชิ้นงานแก้วที่มีความหนา 10 นิ้วหรือ 25.4 cm. หรือ 254 mm.

    (ความหนาวัดได้ดังนี้ถือว่าใช้กับตารางนี้ได้) หนา 9.6 - 10 นิ้วฟุต (9.6 - 10.0 inches) หรือ 24.3 - 25.4 cm หรือ 243 - 254 mm.

    Soak อุณหภูมิคงที่ที่ 806F หรือ 430C นาน 40 ชั่วโมง
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    2

    Cooling Rate* ที่ 1 = ลดชั่วโมงละ 0.29F หรือ 0.16C
    ( 0.29F/hr หรือ 0.16C/hr )

    อุณหภูมิ 806-608F หรือ 430-320C

    หมายเหตุ
    * = อัตราการลดอุณหภูมิโดยมีวิธีเรียกกันอย่างง่ายๆว่า ลดชั่วโมงละ กี่ องศาฟาเรนไฮ้ท์ (F) หรือ กี่ องศาเซลเซียส (C)
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    3

    Cooling Rate* ที่ 2 = ลดชั่วโมงละ 0.58F หรือ 0.32C
    ( 0.58F/hr หรือ 0.32C/hr )

    อุณหภูมิ 608-518F หรือ 320-270C
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    4

    Cooling Rate* ที่ 3 = ลดชั่วโมงละ 1.74F หรือ 0.96C
    ( 1.74F/hr หรือ 0.96C/hr )

    อุณหภูมิ 518-70F หรือ 270-21C
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    5

    รวมเวลาการอบลดอุณหภูมิเฉพาะช่วงที่เข้าสู่ขบวนการ Annealing หากไม่มีปัญหาใดๆ จะนับเวลาได้ 47 วัน 15 ชั่วโมง (47 days 15 hours) หรือ 1,143 ชั่วโมง
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ผมไปธุระก่อนครับ ถึงเย็นๆหรืออาจถึงค่ำ แล้วผมจะมาเขียนต่อ โดยจะได้ตอบข้อสงสัยของพระ อ. ตุ้ยด้วย ว่าแต่ละช่วงจะเป็นเวลากี่ชั่วโมงกี่นาที และหากเกิดปัญหาในแต่ละขั้นตอนนั้น จะต้องทำอย่างไร
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ผมเริ่มต้นด้วยการอบพระแก้วที่มีความหนาถึง 10 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดที่หนาที่สุดที่มีในตารางการอบของ Corning Museum of Glass และเป็นขนาดที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งถือว่ายากที่สุด แต่ถ้าเราทำความเข้าใจกับข้อนี้ได้แล้ว ข้ออื่นๆอีก 20 ขนาดก็จะไม่ยากครับ ดีกว่าเรียนจากง่ายๆแล้วค่อยๆเจอยากขึ้น ก็จะเจอความยาก 21 ขนาด

    สู้เรียนจากยากขนาดเดียวแล้วเข้าใจลงไปอีก 20 ขนาดไม่ได้ครับ
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    พระ อ. ตุ้ยหรือท่านใดมีคำถามใดๆ โปรดเขียนบนกระทู้ได้เลยครับ จะได้เป็นวิทยาทานต่อผู้สนใจต่อไป รวมทั้งกระทู้นี้จะเป็นการเตรียมพื้นฐานความรู้ให้เข้าใจตรงกัน

    ส่วนวิศวกรเตาอบขนาดใหญ่มากท่านนั้น ถึงแม้ท่านจะไม่ได้เรียนมาเฉพาะงานแก้ว ท่านไปเรียนแบบกว้างๆของงานทั่วไปบนโลก แต่ความรู้ความสามารถทั่วๆไปก็สามารถนำมาใช้กับงานแก้วได้ครับ และท่านยังให้คำปรึกษากับผมต่อไป มีอะไรก็ถามเข้ามาได้ครับ หากผมไม่เข้าใจจะได้ถามวิศวกรให้เขาตอบเป็นวิทยาทานครับ
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    นิมนต์ถามได้ครับ กราบนมัสการ

    ท่านใดจะถามก็ถามได้เลยนะครับ อย่าเพิ่งปล่อยผ่านง่ายๆ เดี๋ยวขาดประเด็นที่จะบันทึกไว้ จะได้เสริมให้แน่นครับ
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    เสร็จธุระแล้วกลับมาอธิบายต่อครับ
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    อย่างที่ผมว่ามา ถ้าไม่นัดส่งมอบ เสร็จเมื่อใดก็เมื่อนั้น แบบนั้นจะไม่กดดันครับ เพราะเตาสมัยใหม่ที่ใช้ไฟฟ้า เราสามารถปล่อยให้เครื่องอยู่ตามลำพังได้เลย ไฟฟ้าจะดับนานเท่าใด การตั้งโปรแกรมไว้จะเสียอย่างไรไม่สนใจ ถ้าเสียก็ทำใหม่ เริ่มต้นใหม่ก็เท่านั้นเอง

    ส่วนมากไม่ค่อยเสียหายครับ แต่ก็ประมาทไม่ได้ ถ้าเราประมาท นัดวันส่งมอบไปเลย แล้วไม่ใช้ทีมเฝ้าเตา เกิดไฟฟ้าดับนาน งานเสีย คุณจะเสียคำพูด เสียนัด และถ้ามีสัญญาคุณอาจถูกสัญญาเล่นงานคุณ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือ ไม่นัดวันส่งมอบงาน แต่เชื่อไหมครับ ว่า ถ้าชิ้นงานใหญ่ๆ ที่มีราคาค่างวด เขาไม่ยอมให้เราพูดคำว่า ไม่นัด เพราะเขากลัวเราทำงานไปหลายปีก็ไม่เสร็จ ซึ่งนั่นคือจุดพลิกผัน ทำให้ต้องมีทีมเฝ้าเตาคอยระแวดระวัง และคอยแก้ไขสถานการณ์ และเพราะต้องจ้างทีมถึง 10 คนนี่แหละครับ ต้นทุนก็จะต้องเพิ่มอีกมาก ดังผมจะได้อธิบายต่อไปครับ

    หมายเหตุ
    แต่ถ้าเป็นผม ผมยืนยันไม่นัดส่งมอบครับ นานแค่ไหนก็ต้องรอผม ไม่เช่นนั้นก็คือ ผมไม่ทำครับ แต่สำหรับท่านอื่นๆอาจต้องยอมทำ เพราะอายุยังน้อย อยากทำงานที่มีเวลาส่งมอบ เป็นทางการดี ก็แล้วแต่นะครับ
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ทีมเฝ้าเตาประกอบด้วย

    1 หัวหน้าใหญ่ซึ่งอาจมาดูงานหน้าเตาเพียงวันละ 1 ครั้ง หรือไม่มาดูงานเลยก็ได้ เพราะอีก 3 ทีมช่างเฝ้าเตาจะเป็นผู้รายงานให้หัวหน้าใหญ่ทราบอยู่ตลอดเวลา โดยหัวหน้าใหญ่ควรจะมีที่พักอยู่ในโรงงานนั้นๆหรือสามารถมาถึงภายในโรงงานได้โดยเร็วที่สุด เช่น 10 นาที ( แต่ก็มีหัวหน้าใหญ่บางประเภทที่เขาสามารถสั่งงานผ่านโทรศัพท์ให้ทีมทำอะไรได้ทันที ไม่จำเป็นต้องมาหน้างานเลย อย่างนี้ก็มีนะครับ ไม่ใช่ผมพูดเล่น เรื่องจริงมีหัวหน้าใหญ่ที่ทำได้เช่นนี้มีจริงๆครับ )

    2 หัวหน้าทีม 3 กะ กะละ 1 หัวหน้าทีม หัวหน้าทีมกะนี้มักจะเป็นลูกน้องคนสนิทของหัวหน้าใหญ่ พูดภาษาเดียวกันเสมอ และเข้าใจการสั่งงานผ่านโทรศัพท์ได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีเหมือนกันที่หัวหน้าทีมกะบางคน บางครั้งก็รายงานผิด ดังนั้น หัวหน้าใหญ่บางคนก็มีเหมือนกันที่ล้วงลูกไปที่ลูกมือช่างอีก 2 คน แต่ส่วนมากไม่ทำเช่นนั้นครับ

    3 ลูกน้องช่างแก้วทีมละ 2 คน มี 3 กะก็อีก 6 คน ลูกน้องช่างแก้วส่วนมากมักเป็นช่างเฝ้าเตามาก่อนแทบทั้งนั้น บางแห่งเป็นชายล้วน เนื่องจากเกี่ยงว่า ผู้หญิงทำงานน้อยกว่า อะไรทำนองนั้น แต่ในความเป็นจริง ช่างเฝ้าเตาผู้หญิงจะเป็นคนละเอียดอ่อน มีไหวพริบดี และอดทนกว่าช่างผู้ชาย ดังนั้น ในการทำงานที่ถูกต้อง คือควรมีช่างทั้งสองลักษณะคือ คนหนึ่งสมองดี ไหวพริบ ละเอียด รอบคอบ แต่อีกคนกำลังดี ทนร้อนดี แต่ถ้าได้เก่งทั้งสองคนก็ยิ่งดี ซึ่งมักจะหาไม่ค่อยได้
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    เรื่องห้องพักผ่อนหลับนอนของทีมช่างทั้งหมด หากอยู่ในตัวโรงงานได้จะดีที่สุด เหมือนอย่างที่โรงงานหลอมแก้วของคุณพ่อผม ตัวผมเองกับครอบครัวน้าชายมีบ้านพักหลังหนึ่งในโรงงานหลอมแก้ว เป็นบ้านสองชั้น 3 นอน 2 ห้องน้ำ (ติดเครื่องปรับอากาศทุกห้องนอนและห้องนั่งเล่น) ปรามาจารย์และครอบครัวท่านก็มีบ้านพักอย่างดี ดีกว่าใหญ่กว่าผมกับน้าชายด้วย หัวหน้าช่างกับครอบครัวเราก็มีบ้านพักสองชั้นขนาดประมาณ 50 ตรว. ในโรงงานให้อยู่

    ดังนั้น เรื่องการมีที่หลับนอน มีเครื่องปรับอากาศควรมี เพื่อไม่ให้ทีมไปพักไกลและมาไม่ทันเหตุการณ์
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    ต้องระวังเรื่องอาหารการกิน น้ำดื่ม ไม่ให้มาจากแหล่งเดียวกัน เพราะหากเกิดอาหารเป็นพิษ กลายเป็นท้องร่วงทุกคนพร้อมๆกัน ก็จะเป็นปัญหาได้เช่นกัน โดยเฉพาะน้ำดื่มต้องดื่มน้ำจากขวดที่ยังไม่ได้เปิดเท่านั้น
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    เอาละครับ คราวนี้ก็มาถึงวิธีแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยผมจะกล่าวถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ก่อนนะครับ

    1 ไฟฉายประจำตัวทุกคน และไฟ emergency เมื่อไฟหลวงดับลง ไฟนี้จะติดเองและภายในมีแบตเตอรี่ใช้งานได้อีกนานนับชั่วโมง

    2 เครื่องปั่นไฟที่มีกำลังไฟฟ้าเท่ากันหรือมากกว่าเตาอบเล็กน้อย (เมื่อกี้ผมเข้าไปค้นในกูเกิ้ลพบว่าเตาอบแก้วโดยเฉพาะในอเมริกา อังกฤษหรือยุโรป ที่สร้างชิ้นงานได้ใหญ่ๆ ความหนาถึง 10 นิ้วเขาใช้ไฟมีทั้งซิงเกิ้ลเฟสและ 3 เฟส กำลังแอมแปร์ก็ไม่มากนัก)

    3 เครื่องมือและอุปกรณ์อื่นๆ เช่น กระดานไว้ท์บอร์ดขนาดใหญ่เท่าแผ่นไม้อัดเต็มแผ่นเพื่อเขียนและคำนวนบนกระดาน จดบันทึกต่างๆในสมุดวาดเขียน A3 หลายเล่ม เพื่อให้ทุกคนได้เขียนของแต่ละคนเอาไว้ด้วย

    4 โทรศัพท์มือถือหรือวอล์คกี้ทอล์คกี้ทุกคน
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    วิธีแก้ไขสถานการณ์ระหว่างการหลอม/อบพระแก้วขนาดความหนาของแก้ว 10 นิ้ว

    อาจไม่เกิดอะไรขึ้นเลยก็ได้ นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุด

    ถ้าเกิดไฟฟ้าดับในระหว่างช่วงแรก ระหว่างการอุ่นเตาที่ 200C นี่สบายมากเลยครับ ไม่ต้องทำอะไร ปล่อยให้ไฟฟ้าดับไป รอให้ไฟฟ้ากลับมาใหม่ แล้วก็เริ่มต้นใหม่ครับ
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    แล้วถ้าเกิดไฟฟ้าดับในช่วงอุ่นเตา 400C คำตอบก็คืออันเดียวกันกับข้อแรก ปล่อยให้มันดับไปครับ ไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้น เดี๋ยวไฟฟ้ากลับมาค่อยมาว่ากันใหม่ มาเริ่มต้นอุ่นเตาใหม่ครับ
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,102
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,807
    แต่ถ้าไฟฟ้าดับในช่วงที่ยกระดับความร้อนขึ้นที่ 780C ไปแล้ว อันนี้ล่ะครับสำคัญ เพราะก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อกำลังจะหลอมละลายกลายเป็นน้ำแก้ว อยู่ในระหว่างที่น้ำแก้วกำลังไหลลงสู่แม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์หรือดินขี้วัว (ผมยังไม่ได้ทดลองดินขี้วัว จึงรอการทดลองก่อนนะครับเรื่องดินขี้วัว) ให้ทีมเฝ้าเตากะนั้นๆรีบทำการสับไปใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟสำรอง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องขนาดไหน ส่วนมากใช้น้ำมันดีเซลเป็นพลังงาน ดังนั้น จึงควรระวังการสูดลมควันดีเซลนานเกินจำเป็นนะครับ ต้องรู้ทางลม

    การติดเครื่องปั่นไฟดีเซลสมัยนี้อาจใช้สวิทกด สตาร์ท อยู่เหนือลม รีบดูการจดบันทึกบนกระดานไว้ท์บอร์ด แล้วดูว่าต้องชดเชยอุณหภูมิให้สูงขึ้นทันทีหรือไม่ เช่น จากเดิม 780C คงที่ แต่ไฟดับทำให้อุณหภูมิลดลงเหลือ 600C (สมมุตินะครับ) ให้รีบยกระดับขึ้นที่ 900C จนกว่าอุณหภูมิในเตาจะกลับมาอยู่ที่ 780C แล้วให้หยุดชดเชยอุณหภูมิที่สูงกว่า วิธีแบบนี้เรียกว่า โหมไฟ

    หมายเหตุ
    ต้องดูด้วยว่า เตานั้นมีจอแสดงอุณหภูมิแยกหรือเปล่า ถ้าไม่มีจอแสดงแยก อาจโหมไฟไม่ได้ เพราะความร้อนที่สูงเกินจะไปทำลายปูนปลาสเตอร์ แต่ถ้าจอแยก เราสามารถโหมไฟ แต่คอยเฝ้าเลยว่า ขณะนี้อุณหภูมิที่แท้จริงไต่ระดับขึ้นมาถึง 780C แล้วหรือยัง วิธีนี้จะทำให้น้ำแก้วที่หลอมละลายไม่ไปอุดตันช่องที่เราใช้หยอดน้ำแก้วครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...