★ เทพอารักขา (เทวดาประจำตัว, เทพผู้พิทักษ์)

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย plaspirit, 22 กันยายน 2016.

  1. plaspirit

    plaspirit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2008
    โพสต์:
    367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,118
    [​IMG]

    ★ เทพอารักขา (เทวดาประจำตัว, เทพผู้พิทักษ์)


    ในแต่ละมิติจะมีพวกอยากดีหรือพยายามทำความดีด้วยการอาสาเพื่อคนอื่น จึงมีระบบกิจกรรมสังคมนานารูปแบบขึ้น ในระบบระหว่างมิติก็มี คือบนสวรรค์และพรหมโลกนี่ไม่ค่อยมีโอกาสทำกุศลใหญ่ๆ เพราะทุกอย่างมันสะดวกสบายหมด ทุกคนก็มีความสุขกันตามบุญบารมี

    ไม่มีใครเดือดร้อน ไม่มีใครต้องการความช่วยเหลือ จึงไม่มีโอกาสเกื้อกูล เหล่าทวยเทพจึงประชุมกันจัดตั้งองค์กรการกุศลให้โอกาสเทพพรหมทั้งหลายสร้างความดี ซึ่งถ้าทำได้ดีก็สามารถเอากุศลนั้นมาต่ออายุขัยบนสวรรค์ได้ ระบบนั้นคือระบบเทพอารักขา อารักขาใคร ก็อารักขามนุษย์ที่ยังน่าสงสารทั้งหลายนั่นเอง

    ดังนั้นเวลามนุษย์เกิดมาแต่ละคน ท่านก็จะอาสากันมาดูแลผู้จัดสรรก็พิจารณาเลือกผู้ที่มีระดับธรรมใกล้เคียงกัน อุปนิสัยสอดคล้องกันหรือเคยเป็นญาติโกโหติกากันมาก่อน

    การดูแลของท่านเหล่านั้นก็จะดูแลโดยอาศัยความสะดวกให้ ดลใจให้คิดดี พูดดี ทำดี ใฝ่ในทางที่ถูกต้อง

    การติดต่อสื่อสารที่ใช้กันนั้น ถ้ามนุษย์เป็นนักฝึกจิตดีก็ใช้การคุยกันตามปกติด้วยโทรจิตเป็นประจำ

    ถ้ามนุษย์ใดยังใช้โทรจิตไม่ได้ ก็จะใช้วิธีการดลใจ
    บางครั้งถ้าต้องการให้ชัดขึ้นก็แนบจิต
    ถ้าแนบจิตแล้วยังไม่รู้เรื่ิองก็เข้าฝัน
    ถ้าเข้าฝันแล้วยังไม่รู้เรื่องก็เข้าทรงบ้าง
    ถ้าเจอเทพอารักขาเฮี๊ยบๆ อาจจะเข้าสิงบ้างเป็นบางที

    แต่ส่วนใหญ่ถ้าดลใจ แนบจิตและเข้าฝันแล้วยังไม่รู้เรื่องท่านโค้ชไม่ได้ท่านก็จะปล่อย มนุษย์เหล่านั้นก็จะไม่มีเทพคุ้มครองอีกต่อไป ยกเว้น องค์อื่นอาสามาลองบ้าง ถ้าไม่มีเทพอารักขาเลยก็มีแต่เจ้ากรรมนายเวรและมารล้วนๆ ที่จัดการกับชะตาชีวิตเขาอยู่

    ที่มา: หนังสือมหาสติ การปฏิบัติธรรมสำหรับผู้นำและผู้บริหาร (อัคร ศุภเศรษฐ์) หน้า 132
     
  2. plaspirit

    plaspirit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2008
    โพสต์:
    367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,118
    ★ การปฏิบัติธรรมขั้นสูงย่อมเจอมารมาทดสอบ

    [​IMG]

    ★ การปฏิบัติธรรมขั้นสูงย่อมเจอมารมาทดสอบ

    พวกมาร คือ พวกมิจฉาทิฏฐิที่ซ่า และคะนองไปเรื่อย ทำหน้าที่
    ขัดขวางคนดีและขวางมนุษย์ไม่ให้พบสิ่งดีๆ
    บางทีก็มาแอบอยู่
    ในหมู่คนดี สร้างความดีพอประมาณแล้วก็ทำให้หมู่คณะปั่นป่วน
    แตกแยก เช่น พระเทวทัต เป็นต้น

    แต่เมื่อพูดถึงมารนั้น ไม่ได้มีเฉพาะมารในมิติต่างๆเท่านั้น
    มารหรือผู้ขวางความสุขนี่มี ๕ จำพวกด้วยกัน ที่พระพุทธองค์ทรง
    จำแนกไว้คือ

    ๑. กิเลสมาร มารคือกิเลสของเราเอง ขวางความสุข ความสำเร็จ
    ของเราเอง

    ๒. ขันธมาร มารคือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณของเรา
    เองที่หลอกตัวเอง ให้หลงผิดเรื่อยมา

    ๓. อภิสังขารมาร คือระบบกรรมโดยรวมที่เราเคยทำไว้ ซึ่งนับ
    ไม่ถ้วนที่คอยปิดกั้นเราบ้าง ขวางให้เราสะดุดบ้าง เมื่อวิบาก
    กรรมชั่วมาทวงแล้วทำให้เราสูญเสียบ้าง

    ๔. เทวปุตตมาร คือพวกวิญญาณมิจฉาทิฏฐิทั้งหลายซึ่งกระจาย
    อยู่ในทุกมิติในทุกโลก คอยแกล้งผู้อื่น กวนผู้อื่นตามอำนาจกิเลส
    ในตน

    ๕. มัจจุมาร คือ ความตายที่ท่านพระยายมทั้งหลายนำมาหยิบยื่น
    ให้ตามจังหวะกรรมและสภาพขันธ์

    ดังนั้นมารที่อยู่กับเราเกือบตลอดและบางทีพวกเราก็เผลอเลี้ยง
    มันไว้ คือกิเลสมารในใจของเราเองซึ่งล่อหลอกให้เราวิ่งไปหา
    ความทุกข์หรือสุขระคนทุกข์ หรือสุขแล้วก็ทุกข์อยู่เนืองๆ
    อีกตัวหนึ่งคือขันธมาร ที่บังอาจข่มขี่ทำตัวเป็นนายเรามาตลอด

    ที่เราดิ้นรนกันอยู่ทุกวันนี้ก็หาสิ่งต่างๆ มาปรนเจ้านายขันธ์เหล่านี้
    ใช่ไหมไม่ใช่เพื่ออย่างอื่นเลย เราเป็นทาสของขันธมารมานานแสนนานและอาจ
    ต้องเป็นต่อไปตราบเท่าที่ยังไม่ประกาศอิสรภาพเสียที

    อภิสังขารมารนั้นเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเอง เราเป็นผู้สร้างมายา
    แห่งกรรมกันขึ้นมาเองแท้ๆ แต่สร้างแล้วมันกลับมากำกับเราเสีย
    จนดิ้นไม่หลุดบางทีก็ขัดขวางเรา บางทีก็ทำลายเรา ทุกกรรมที่ทำแล้วก็จะเกิดผู้เกี่ยวข้อง ๔ กลุ่มทันที
    คือ เจ้ากรรม ลูกกรรม ผู้รับผลต่อเนื่องและนายเวร ทั้ง ๔ กลุ่มบุคคลนี้
    ก็จะเข้ามาในชีวิตของเราเป็นระลอกๆ ถ้าเป็นผลกรรมดีก็ส่งเสริมเรา ถ้าเป็นผลกรรมชั่วก็บั่นทอนเรา
    ถ้าทั้งดีทั้งชั่วก็ได้ทุกขลาภ ทั้งหมดนี้รวมกันเป็นชุดของชะตาชีวิตในแต่ละชาติ

    ดังนั้นต้องมีวิธีบริหารดวงชะตาชีวิตที่มีประสิทธิภาพไปศึกษากันซะให้ดี

    พวกเทวปุตตมารนี่ คือมารที่อยู่ในมิติต่างๆ ของมหามิติมีทั้งที่เป็น
    พรหม เทพ อสุรกาย เปรต มนุษย์ และเดรัจฉาน เทวปุตตมารเอง
    ก็ยังแบ่งเป็น ๒ พวก คือมารขาว กับมารดำ

    มารขาว คือมารที่เป็นเทพพรหมที่ท่านดูแลเราอยู่ ต้องการให้เราฝึกวิชชาก็จัดชุดแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบต่างๆ
    มาให้เราทำโดยไม่มีเจตนาทำลายเรา เวลาส่งมาท่านก็ใช้มนุษย์หรือสัตว์ในคอนโทรลของท่านนั่นแหละทำหน้าที่ต่างๆตามที่ท่านต้องการ

    มารดำ คือพวกที่ต้องการแกล้งจริงๆ มารดำทั้งหมดที่เป็นมารเพราะอำนาจกิเลสตันหาในตน
    กิเลสที่ทำให้คนหรือวิญญาณเป็นมารมากที่สุดคือ ความอิจฉาริษยา ความพยาบาท และความหลงผิด

    พอเป็นมารแล้วก็จะขวางความสำเร็จของผู้อื่นหรือบั่นทอนสิ่งที่เขาสำเร็จแล้ว
    เช่น ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรก็เจอหลายชุดแม้ทรงสำเร็จแล้วก็ยังเจออีกหลายชุด
    กระทั่งสุดท้ายก็พวกมารนั่นเองที่มาขอให้พระองค์เข้าพระนิพพานเพื่อไม่ให้มนุษย์ได้รับธรรมะมากไปกว่านี้
    นี่มารเขาขวางทั้งความสำเร็จบุคคลและประโยชน์สังคมโดยรวม หลวงพ่อคงเองท่านสำเร็จช้าข้างบนมาต่ออายุให้เป็น ๑๐๐ ปีเพื่อขยายเวลาสอนธรรมะ
    มารก็มาขอ ๒๐ ปี เหลือ ๘๐ ปี ท่านเล่าให้ฟังแล้วท่านก็ไปตอน ๘๐ จริงๆ ดูซีพระอรหันต์ท่านกรุณาแม้กระทั่งมารนั่นคือมารดำ
    เวลามารดำเข้ามาหวังบั่นทอนหรือทำลาย ท่านมารขาวก็อาจปล่อย เพื่อให้เราได้ใช้วิชาในสถานการณ์จริงก็ได้สำหรับบางคน

    มารชุดสุดท้ายคือมัจจุมาร ซึ่งก็คือความตาย ก็พวกเราไม่เห็นใครอยากตายเลย ทั้งที่ไม่อยากพอถึงเวลาพระยายมก็บังคับให้ตายใช่ไหมจึงเรียกว่าเป็นมารขวางการดำรงชีวิตของเรา

    มารนี่เป็นสิ่งที่เราต้องเจอกันแน่ทุกคน เจอทุกประเภทด้วย หลีกเลี่ยงไม่ได้เรามาดูกันหน่อยก็ดีว่า เวลาเจอเราควรจะทำอย่างไร

    เวลาเผชิญมารนั้น อย่าตื่นเต้นตกใจ จงพิจารณาเหมือนกับการเข้าสู่สนามกีฬา ถ้าเกมนั้นน่าเล่นก็เล่น ถ้าเป็นเกมที่ไม่น่าเล่นก็เดินหนีเสีย
    อย่าไปเสียเวลาด้วยและในยามเผชิญมารนั้น ต้องพิจารณาให้ดีว่าเรากำลังเจริญธรรม ดังนั้นควรยกระดับธรรมให้สูงส่งและมั่นคง
    อย่าให้หลงกลมารไปละเลงกรรมล่ะเดี๋ยวก็ได้กรรมแทนธรรมเท่านั้นเอง


    การสู้เพื่อชัยชนะและการสู้เพื่อธรรมะนั้นแตกต่างกันเกือบสิ้นเชิง เราลองมาพิจารณาเทคนิควิธีการที่พระพุทธองค์ทรงใช้เวลาเผชิญมารดีกว่า
    เคยดูบทพาหุงกันไหม ยังจำได้ไหมว่าพระองค์ทรงเจออะไรมาบ้าง ลองสวดซิ

    ชุดที่ ๑ พาหุงสะหัส สะมะภินิมนิมิตะสาวุธันตัง ครีเมขลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวันตุเตชะยะมังคะลานิ กล่าวถึงตอนพญามารขี่ช้างมาด้วยอาวุธอันน่าสะพรึงกลัวพระองค์ทรงสงบ และไม่ได้โต้ตอบ แต่ด้วยทานบารมีที่พระองค์ทำไว้แล้ว โดยมาก ซึ่งพระแม่ธรณีเป็นพยานมาตลอด พระนางจึงออกมาบีบมวยผมเป็นน้ำไล่เหล่ามารไป

    ชุดที่ ๒ มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสาภะวันตุเต ชะยะมังคะลานิ กล่าวถึงตอนพญามารได้ส่งลูกสาวทั้ง ๓ คือ นางราคะ นางตันหา และอรตี ที่จริงเราเคยเจอมาแล้วทั้ง ๓ มายั่วยวนให้กิเลสของพระองค์กำเริบ พระองค์ทรงเอาชนะด้วยขันติบารมี ไม่ไหลไปตามมารยาของนาง

    ชุดที่ ๓ นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะสุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเตชะยะมังคะลานิ กล่าวถึงตอนที่พระเทวทัต ปล่อยช้างนาฬาคีรีที่กำลังตกมันมาทำร้ายพระองค์ ทรงแผ่เมตตานุภาพให้ช้างนั้นสงบสิโรราบได้

    ชุดที่ ๔ อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเตชะยะมังคะลานิ กล่าวถึงตอนที่องคุลีมาลต้องการปลงพระชนม์ เพื่อเอาหัตถ์ของพระองค์ ทรงใช้ฤทธิ์ที่เหนือกว่า ยังศรัทธาให้เกิดแก่องคุลีมาลและโปรดให้บรรลุธรรม รายนี้ทำได้ เพราะได้ทรงตรวจดูด้วยพระญาณตั้งแต่เช้าตรู่แล้วทรงทราบว่าองคุลีมาลมาเกิดชาตินี้ด้วยอธิษฐานที่จะสำเร็จธรรมกับพระองค์จึงทรงมาโปรดด้วยความตั้งพระทัย

    ชุดที่ ๕ กัตวานะ กัฎฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฎฐะวะจะนังชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะโสมะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสาภะวะตุเตชะยะมังคะลานิ กล่าวถึงตอนนางมาณวิกากล่าวหาว่าพระองค์หลงรักนางและทำนางท้อง แล้วด่าหาว่าพระองค์ไม่รับผิดชอบ พระองค์ทรงใช้สันติไม่ทำร้ายตอบ สังคมจำนวนมากเข้าใจผิดไป ร้อนถึงพระอินทร์ต้องทรงลงมาช่วยคลี่คลายความเข้าใจผิดของผู้คนในสังคมไม่เช่นนั้นสังคมจะรับกรรมหนัก

    ชุดที่ ๖ สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง
    อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา
    ภะวะตุ เตชะยะมังคะลานิ กล่าวถึงตอนที่พวกนิครนธ์ตั้งขบวนโต้วาทีกับพระพุทธเจ้าเรื่องสัจจะ พระองค์ทรงใช้ปัญญาที่มั่นคงโต้ตอบไปแต่ก็ไม่ได้โปรดให้บรรลุธรรม

    ชุดที่ ๗ นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิงปุตเตนะ เถระภุชะเคนะทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินาชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเตชะยะมังคะลานิ กล่าวถึงพระยานาคมิจฉาทิฏฐิในบาดาล ซึ่งพระองค์ทรงโปรดให้พระโมคคัลลานะไปปราบด้วยอิทธิฤทธิ์ให้หายหลงผิด

    ชุดที่ ๘ ทุคคาหะทิฎฐิภุชะเคนะสุทัฎฐะหัตถังพรหมังวิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานังญาณาคะเทนะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เตชะยะมังคะลานิ กล่าวถึงตอนที่พระพุทธเจ้าและเหล่าอรหันตเถระหายตัวขึ้นไปปราบพรหมผู้หลงผิดในพรหมโลกด้วยญาณที่ยิ่งกว่า

    นั่นคือเทคนิควิธีที่พระองค์ทรงใช้เผชิญมารซึ่งทรงใช้คุณธรรมทั้งสิ้นถ้าเห็นว่าโปรดไม่ได้ก็ทรงปล่อยไป แม้เขาทำร้ายอยู่ก็ไม่ทรงทำร้ายตอบคนอื่นต้องมาช่วย แต่ถ้าเห็นว่าพอที่จะโปรดได้ก็จะทรงใช้ฤทธิ์บ้าง
    ปัญญาบ้างโปรดไป

    ดังนั้นการเผชิญมารนี่ไม่ใช่ไปเอาชนะคะคานห้ำหั่นกันให้แหลกลาญเพียงแค่ประคองตนไม่ให้ตกอยู่ใต้อำนาจของมารหรือ
    ไม่ไหลไปตามการหลอกล่อของมารก็ OK แล้ว และถ้าเป็นพวกที่โปรดได้ก็โปรดไป โปรดไม่ได้ก็ปล่อยไป คุยไม่รู้เรื่องก็เฉยไว้ เจริญบารมีตระกูลอุเบกขาขันติไปเลย

    ถ้าทำได้อย่างนี้ แม้มารจะหวังร้ายต่อเรา ยิ่งทำร้ายเรา เรากลับยิ่งได้ดี
    จิตใจยิ่งเจริญขึ้น
    แต่ถ้าเอาชนะคะคานฟาดฟันกัน แม้จะชนะทางโลก
    แต่สภาวะธรรมจะเสื่อม แต่ถ้าสามารถบริหารให้ได้ทั้งสองอย่างนั่นยอด

    แต่ดีกว่าการแก้ปัญหาก็คือการป้องกันปัญหานั่นเอง การสำรวมในศีล
    และการบริหารกรรมทั้งหลายเป็นสิ่งที่ควรจริงจังกับมัน การจัดความสัมพันธ์
    ให้เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการป้องกันกรรมนั้นต้อง
    ป้องกันกรรมทั้งเราไม่ทำต่อคนอื่นและไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นกระทำต่อเรา เพราะถ้าปล่อยให้ใครทำต่อเราก็ต้องไปพัวพันหรือถูกลากให้ไปพัวพันอีก

    ส่วนพวกที่เป็นมารทั้งหมด ซ่าแล้วก็ต้องรับกรรมไปตามระเบียบ
    อยู่อเวจีกันเป็นแถว พวกที่โปรดแล้วกลับใจได้ก็เข้าอริยะกันเป็นแถวเช่นกัน

    จำไว้นะ เวลาเจอวิญญาณต่างมิติต้องวิปัสสนากำกับโดยทันที หาไม่จะเกิดความกลัวที่เห็นผู้มีอำนาจมากกว่าตน จริงอยู่ขณะที่ยังไม่หลุดพ้น วิญญาณ
    บางพวกอาจจะมีอำนาจมากกว่าเราแต่อำนาจเขาก็ไม่เที่ยง และถ้าเราไม่กลัว เขาก็ทำอะไรเราไม่ได้อย่าลืมว่าใจเป็นประธานของทุกสิ่ง ฝึกมหาสติ
    ใจต้องใหญ่ วิปัสสนาให้เกิดปัญญาแทงตลอดจริงๆ

    ที่มา : หนังสือมหาสติ การปฏิบัติธรรมสำหรับผู้นำและผู้บริหาร (อัคร ศุภเศรษฐ์)
     

แชร์หน้านี้

Loading...