☀:ทำความเข้าใจเรื่อง"การปวารณา":☀

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 2 ธันวาคม 2008.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    ☀:ทำความเข้าใจเรื่อง"การปวารณา":☀

    [​IMG]



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=headnews vAlign=top>
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top height=4></TD></TR><TR><TD class=dessubmmenu1>ดูเหมือนเรื่อง ปวารณา เป็นเรื่องของพระของเจ้า เวลาเข้าพรรษา ชาวบ้านก็ต้องปวารณาโดยการดูแลพระสงฆ์ และบอกกล่าวกับท่านว่า นิมนต์พระคุณเจ้าอยู่จำพรรษาที่วัดนี้ โดยที่ญาติโยมวัดนี้จะดูแลท่านด้วยปัจจัยสี่ มิให้ท่านต้องลำบากเดือดร้อน

    [​IMG]



    [​IMG]




    ส่วนพระสงฆ์ก็จะต้องปวารณาพรรษา คือ กำหนดว่า ในพรรษานี้ตนตั้งใจที่จะอยู่ที่วัดนี้ ถ้าจะลาได้ ในกิจที่จำเป็น ต้องไม่เกิน ๗ วัน ที่เรียกว่า ลาสัตตาหะ
    [​IMG]

    พอออกพรรษา พระสงฆ์ที่อยู่ด้วยกันมาตลอดพรรษา ก็มีการปวารณาอีก คราวนี้คือการบอกกล่าวให้พระสงฆ์ที่อยู่ด้วยกัน ได้ไต่ถามในเรื่องที่ได้เห็น ได้ยิน ได้สงสัย ในเรื่องของตัวเอง

    นี้เป็นสิ่งที่ดีมาก สำหรับพระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย เพราะฝ่ายที่สงสัยก็จะได้ไม่เก็บเอาความคิดเห็นผิดๆ เกี่ยวกับคนอื่นไป เจ้าตัวก็ได้มีโอกาสอธิบายว่า ความจริงเป็นอย่างไร ซึ่งบ่อยครั้ง ความจริงอาจจะไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นเข้าใจเลย


    [​IMG]



    นี่คือการรักษาความบริสุทธิ์ในพระศาสนา โดยที่พระสงฆ์ต่างมีความเข้าใจที่ดีต่อกัน มีความเป็นอยู่อย่างสมานฉันท์ เพราะพรรษาหน้าก็อาจจะโคจรมาเข้าพรรษาที่เดียวกันอีก

    การปวารณา ในลักษณะนี้ แสดงถึงวิธีคิดของชาวพุทธ ที่เอื้อต่อตนเองและผู้อื่น เป็นวิธีการสลายความเข้าใจผิดที่ดีอย่างยิ่ง น่าจะเอามาใช้ในการทำงานร่วมกัน ขององค์กรต่างๆ หมู่คณะต่างๆได้ด้วย
    [​IMG]



    หลายครั้งฆราวาสมักจะปัดว่า นั่นเป็นเรื่องของพระ ฆราวาสไม่เกี่ยว แต่แท้ที่จริงแล้ว วิธีชีวิตของพระนั้น เป็นวิถีชีวิตที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระทัยให้ดำเนินชีวิตเป็นตัวอย่าง ให้ชาวบ้านเห็นและได้ปฏิบัติตามได้

    [​IMG]



    การปวารณาเป็นการสร้างเนื้อที่ให้ทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสพูด ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูด อีกฝ่ายหนึ่งต้องมีสติ มีสมาธิในการฟัง ต้องตั้งใจฟังจริงๆ เปิดเนื้อที่ในใจของตนที่จะรับฟังความคิดเห็นและข้อมูลที่อาจจะต่างจากตนอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ เช่นนี้การปวารณาจึงจะเป็นผลสมบูรณ์ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนความเข้าใจของตนที่มีเกี่ยวกับอีกฝ่ายหนึ่ง
    [​IMG]



    การปวารณาจะสำเร็จผล เมื่อทั้งสองฝ่ายมีการเปิดเนื้อที่ในใจ ที่จะให้เป็นเนื้อที่ส่วนกลาง ที่อีกฝ่ายหนึ่งจะเข้ามาให้ข้อมูล ข้อคิด ได้โดยปราศจากการใช้อารมณ์ อารมณ์เกิดขึ้นเมื่อจิตของเราได้พิพากษาตัดสินไปแล้ว
    เราจึงพูดเสมอว่า อย่าใช้อารมณ์
    "ธัมมนันทา"​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    --------
    [​IMG]
    http://www.komchadluek.net/2008/12/02/x_phra_j001_233891.php?news_id=233891

    รูปภาพประกอบจากอินเตอร์เนต
     

แชร์หน้านี้

Loading...