“รามัญธรรมยุต” ในดินแดนพม่า

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 13 ตุลาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b88de0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8a2e0b8b8e0b895-e0b983e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b981e0b894e0b899.jpg


    โดย..อุทัย มณี (เปรียญ)


    ผู้เขียนเป็นคนไทยเชื้อสายมอญ เดินทางไปพม่าหลายครั้ง ทั้งในฐานะเลขาธิการสมาคมการค้าไทย – เมียนมา ในฐานะผู้ประสานงานระหว่างคณะสงฆ์รามัญนิกายกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงมีโอกาสพบปะกับนักธุรกิจมอญและคณะสงฆ์มอญอยู่บ่อยครั้ง จึงทราบว่า ในดินแดนพม่าพระสงฆ์มอญแบ่งออกเป็น 3 นิกาย คือ คณะสงฆ์รามัญนิกาย (คณะสุธัมมา) นิกายสะเวจิ้น และนิกายมหาเย็น และใน 3 นิกาย นิกายสะเวจิ้นมีจำนวนพระสงฆ์น้อยที่สุด รองลงมาก็คือมหาเย็น ส่วนคณะสงฆ์รามัญนิกายมีพระสงฆ์ประมาณ 10,000 รูป มีการสอบบาลีและมหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นของตัวเอง ซึ่งวิทยาลัยพุทธศาสน์นานาชาติ (IBSC) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จะเดินทางไปจัดงานสัมมนา “พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ” และจะมีการลงนามข้อตกลงร่วม (MOU) ระหว่างทั้ง 2 สถาบันในวันที่ 9 พฤศจิกายน เดือนหน้านี้ด้วย ที่เมืองเมาะลำเลิงประเทศเมียนมา

    88de0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8a2e0b8b8e0b895-e0b983e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b981e0b894e0b899-1.jpg

    บทความที่แล้วมามีคนสนใจสอบถามหลายคนทั้งพระภิกษุและเพื่อน ๆ ว่า เมื่อประเทศไทย มีธรรมยุติกนิกายแล้วในเมืองมอญมีนิกายธรรมยุตหรือไม่ ความจริงประเทศไทยเราในหมู่ธรรมยุตเองก็มี “รามัญธรรมยุต” แฝงอยู่ มีอัตลักษณ์เป็นของตัวเอง วันหลังหากมีโอกาสจะมาเล่าว่า รามัญธรรมยุต ในไทยเป็นอย่างไร มีกี่วัดและรูปแบบวัตรปฎิบัติ ปัจจุบันเป็นอย่างไร ส่วนธรรมยุติกนิกายในดินแดนพม่าก็คือ “นิกายมหาเย็น” ทำไมจึงชื่อนี้ ผู้เขียนขออนุญาตนำบทความของคุณแผน แดนรามัญ มาให้ทราบกันดังนี้

    วันนี้ขอเสนอชีวประวัติพระเถราจารย์รามัญ ผู้มีคุณูปการต่อวงการคณะสงฆ์ในเมืองมอญเป็นอย่างมาก พระเถระผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนา รามัญธรรมยุตินิกาย หรือ นิกายมหาเย็น ในดินแดนพม่า จนเจริญรุ่งเรืองสืบมากระทั่งปัจจุบัน พระมอญรูปนี้ก็คือ “พระไตรสรณธัช (เย็น พุทฺธวํโส)” เปรียญ 5 ประโยค อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรมงคลราชวรวิหาร (วัดลิงขบ) แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

    พระไตรสรณธัช มีนามเดิมว่า “เย็น” ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 12 พ.ศ. 2383 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 ท่านถือกำเนิดในตระกูลชาวมอญ แห่งบ้านคลองครุ หรือบ้านแหลมครุ เมืองสาครบุรี (ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองสมุทรสาคร และในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนการเรียกชื่อ จากเมืองสาครบุรี เป็นจังหวัดสมุทรสาคร และปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร) บิดามารดาของท่านไม่ทราบนาม ทราบเพียงว่าท่านเป็นบุตรชายคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 10 คน

    ในวัยเด็ก ท่านได้เข้ารับการศึกษาภาษามอญและไทยขั้นต้นที่ วัดคลองครุ เมืองสาครบุรี ต่อมาท่านได้ติดตามพระอาจารย์มาอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯพระนคร และได้เล่าเรียนภาษาบาลีขั้นต้นในสำนักวัดบวรนิเวศฯ กระทั่งเมื่ออายุครบเกณฑ์บวช จึงได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พระนคร โดยมี สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปปัชฌาย์ โดยได้รับฉายาทางธรรมว่า “พุทฺธวํโส”

    88de0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8a2e0b8b8e0b895-e0b983e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b981e0b894e0b899-2.jpg

    หลังจากที่ท่านได้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่บวรนิเวศฯ พระนคร มาตามลำดับ ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมบาลี และได้เข้าสอบแปลบาลีสนามหลวง ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนสอบไล่ได้เปรียญ 5 ประโยค ต่อมาท่านจึงได้รับพระราชทาน พัดยศ ตำแหน่ง พระมหาเปรียญ 5 ประโยค

    พระมหาเย็น พุทฺธวํโส ท่านมีความเชี่ยวชาญในภาษามอญและภาษาบาลีเป็นอย่างดี ท่านได้เป็นพระมหาเปรียญผู้ใหญ่รูปหนึ่ง ที่ได้รับความไว้วางใจแต่งตั้งให้เป็นครูสอนพระปริยติธรรมประจำสำนักวัดบวรนิเวศฯ จนปรากฏมีศิษย์ศึกษาในสำนักท่านเป็นจำนวนมาก แม้แต่ ท่านเจ้าคุณฯ พระคุณวงศ์ (จู สิงฺโฆ) วัดปรมัยยิกาวาส จ.นนทบุรี สมัยเมื่อครั้งยังจำพรรษาอยู่ที่วัดบวรมงคล (วัดลิงขบ) ก็เคยเป็นศิษย์มาศึกษาอยู่กับท่านด้วย

    ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2415 ท่านได้ลาสิกขา และได้เข้ารับราชการเป็น มหาดเล็กในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรฤทธิ์ กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2419 ท่านเดินทางไปเมืองหงสาวดี รัฐมอญ ซึ่งขณะท่านอยู่ที่เมืองหงสาวดีนั้น ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส มีความพอใจที่จะบวช จึงหันเข้าหาความสงบในร่มกาสาวพัสตร์โดยได้เข้าพิธีอุปสมบทอีกครั้งหนึ่งที่เมืองหงสาวดี รัฐมอญ ในช่วงนี้เอง ท่านได้พิจารณาเล็งเห็นว่า พระสงฆ์ในเมืองมอญนั้นเกิดความหย่อนยานในพระธรรมวินัย อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมศรัทธาของชาวพุทธได้ ท่านจึงได้นำพุทธศาสนา ธรรมยุติกนิกายจากเมืองไทย ไปเผยแพร่ยังบรรดาวัดมอญ ในประเทศพม่าด้วย โดยท่านได้สร้างวัด และโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมขึ้นในเมืองมอญไว้เป็นจำนวนมาก จนมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศพม่าในนาม “นิกายมหาเย็น”

    88de0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8a2e0b8b8e0b895-e0b983e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b981e0b894e0b899-3.jpg

    ท่านได้อยู่จำพรรษาที่เมืองหงสาวดีมาได้ระยะหนึ่ง จึงได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย ซึ่งหลังกลับจากเมืองหงสาวดีนั้น ท่านก็ได้จาริกไปที่ต่าง ๆ มิได้อยู่เป็นหลักแหล่ง ในระยะแรกท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดคลองห้า เมืองธัญญบุรี และวัดต่างๆในเขตเมืองปทุมธานีบ้าง ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดยานนาวา พระนครบ้าง และครั้งสุดท้ายท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบางละมุด เป็นเวลา 2 พรรษา ต่อมาได้มีผู้นำเรื่องราวเกี่ยวกับพระมหาเย็น ไปกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ทรงทราบ พระองค์ทรงตระหนักในพระทัยว่า พระมหาเย็น รูปนี้ เป็นเปรียญผู้ใหญ่ถึง 5 ประโยค มีความชำนิชำนาญในภาษาบาลีเป็นอย่างดี กับทั้งยังมีคุณูปการะแก่พระญาติของพระองค์ด้วย อนึ่ง พระธรรมวิสารทะ(จู สิงโฆ) ซึ่งก็เคยเป็นศิษย์ของท่านเมื่อบวชคราวก่อน ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระคุณวงศ์ และโปรดให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาส ทางวัดบวรมงคล (วัดลิงขบ) จึงว่างเว้นจากเจ้าอาวาส การที่จะหาพระภิกษุที่มีคุณสมบัติเหมาะสมไปปกครองวัดนี้จึงเป็นการยาก เมื่อทรงพิจารณาแล้วก็ทรงเห็นอยู่แต่ พระมหาเย็น รูปนี้ ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ พอที่จะบริหารกิจการงานคณะสงฆ์ได้ จึงทรงหารือกับ พระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเห็นชอบด้วย จึงทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระมหาเย็น พุทฺธวํโส เปรียญ 5ประโยค เป็นพระราชาคณะที่ พระไตรสรณธัช และโปรดให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรมงคล เมื่อปี พ.ศ. 2451 ซึ่งนับเป็น เจ้าอาวาสวัดบวรมงคล รูปที่ 7 และเป็นเจ้าอาวาสรูปสุดท้ายในยุครามัญนิกาย ก่อนที่จะถูกยกเลิก

    กระทั่งในปี พ.ศ. 2459 พระไตรสรณธัช (เย็น พุทฺธวํโส) ท่านได้อาพาธอย่างหนัก และได้ละสังขารลงอย่างสงบ ด้วยโรคชรา สิริรวมอายุท่านได้ 76 ปี ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรมงคล นาน 8 ปีเศษ


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/dhamma/603430
     

แชร์หน้านี้

Loading...