‘บทสวดรัตนสูตร’ เซฟเลย สวดพร้อมกัน 25 มี.ค. ต้านโควิด-19

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 18 มีนาคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    Youtube :Travel MGR

    0b988e0b8a1e0b8b2e0b89ae0b897e0b8aae0b8a7e0b894-e0b8a3e0b8b1e0b895e0b899e0b8aae0b8b9e0b895e0b8a3.jpg
    อีกหนึ่งมาตรการที่รัฐบาลได้ส่งเสริมการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ช่วยในด้านจิตใจ นั่นก็คือการจัดให้คณะสงฆ์ทั่วประเทศสวดมนต์บทรัตนสูตรในช่วงทำวัตรเย็น ผ่านการถ่ายทอดสดทางทีวี

    การสวดมนต์รัตนสูตรนี้ นายเทวัญ ลิปพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ให้ทุกวัดทั่วราชอาณาจักรและวัดไทยในต่างประเทศเจริญพระพุทธมนต์บทรัตนสูตรเพื่อเป็นสิริมงคลและสร้างขวัญกำลังใจในช่วงสถานการณ์ประเทศเกิดวิกฤตว่า ที่ผ่านมาตั้งแต่โบราณก็มีช่วงที่ประเทศประสบกับโรคภัยไข้เจ็บ เช่น การระบาดของโรคอหิวาตกโรค ก็จะมีการสวดมนต์บทนี้เพราะมีความเชื่อว่าจะช่วยปัดเป่าเรื่องโรคภัยไข้เจ็บและสิ่งไม่ดีให้พ้นจากประเทศไป

    โดยนอกจากจะให้แต่ละวัดได้สวดมนต์บทนี้ในช่วงหลังจากทำวัตรเย็นทุกวัน ก็ยังได้คุยกับวัดต่างๆ เพื่อประสานขอความร่วมมือ โดยจะเริ่มต้นวันแรกวันที่ 25 มีนาคม จะเป็นการนำสวดโดยคณะสงฆ์นำโดยวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งจะกราบทูลอาราธนาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานในพิธี รวมไปถึงวัดบวรนิเวศวิหาร และวัดไตรมิตรฯ และวัดในจังหวัดหลักเพื่อเสริมให้กำลังใจกับประชาชนท่ามกลางโรคภัยในช่วงนี้

    ทั้งนี้ บทสวด “รัตนสูตร” เป็นบทสวดที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศเพื่อขจัดปัดเป่าภัยความอดอยาก ภัยจากโรคระบาด และภัยจากอมนุษย์เบียดเบียน ชาวพุทธจึงถือเป็นธรรมเนียมสวดพระสูตรนี้เพื่อขจัดโรคภัยเช่นโรคห่า เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่า การสาธยายรัตนสูตร หรือรัตนปริตรจะทำให้ได้รับความสวัสดี และพ้นจากอุปสรรคอันตรายทั้งหลาย

    ตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพุทธกาล กรุงเวสาลีเกิดทุพภิกขภัย ฝนแล้งข้าวกล้าตายเกลื่อนกลาด ชาวเมืองมากมายล้มตายเพราะความอดอยากและโรคห่า (อหิวาตกโรค) ระบาด ต้องนำศพมากมายไปทิ้งนอกเมือง ครั้นพวกอมนุษย์ได้กลิ่นคนตายก็พากันเข้าพระนคร รบกวนมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ บรรดาเจ้าลิจฉวีจึงตกลงให้เชิญเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาโปรด

    เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จถึงเขตแดนนครเวสาลี ฝนโบกขรพรรษก็โปรยเม็ดลงมา ซากศพทั้งปวงถูกน้ำลงสู่แม่น้ำคงคาจนหมดสิ้น และเมื่อพระองค์เสด็จถึงกรุงเวสาลี ท้าวสักกะจอมทวยเทพและหมู่เทพก็เสด็จมา ยังผลให้อมุษย์ทั้งหลายต้องหลบลี้หนีไปจากเมืองเวสาลี

    988e0b8a1e0b8b2e0b89ae0b897e0b8aae0b8a7e0b894-e0b8a3e0b8b1e0b895e0b899e0b8aae0b8b9e0b895e0b8a3-1.jpg
    จากนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสเรียกพระอานนท์สั่งว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้ ถือเครื่องประกอบพลีกรรม เที่ยวเดินไประหว่างปราการ 3 ชั้นแห่งกรุงเวสาลีกับพวกเจ้าลิจฉวีราชกุมาร ทำพระปริตร แล้วได้ตรัสรัตนสูตร พอพระเถระกล่าวว่า ยงฺกิญฺจิ เท่านั้นพวกอมนุษย์ทั้งหลายก็หลบหนีไปจนหมดสิ้น โรคภัยทั้งหลายก็หมดสิ้นไป

    เนื้อหาของบทสวดรัตนสูตรนี้ โดยหลักเป็นการกล่าวถึงคุณแห่งพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ โดยส่วนแรกเป็นการประกาศให้เหล่าภูตคุ้มครองรักษาพวกมนุษย์ที่นำเครื่องพลีกรรมมาบวงสรวงทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ซึ่งพลีกรรมนี้หมายถึงการทำบุญตามหลักพุทธศาสนา ส่วนที่ 2 เป็นการบรรยายคุณพระรัตนตรัยว่าเป็นรัตนะอันประเสริฐสุด และส่วนที่ 3 เป็นการประกาศให้ภูตทั้งหลายจงนมัสการพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ และอำนวยพรให้สรรพสัตว์เหล่านี้มีความสวัสดี

    สำหรับการสวดมนต์เพื่อไล่โรคโควิด-19 นี้ ไม่เพียงเฉพาะเมืองไทยหรือเมืองพุทธเท่านั้น ทางด้านกรุงวาติกันซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งศาสนาคริสต์ นำโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสก็ได้สวดภาวนาให้กรุงโรมพ้นจากโรคระบาด ไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ร่วมสวดมนต์กับสมาชิกที่ทำเนียบขาวเพื่อเป็นกำลังใจสู้ไวรัสโคโรนา ด้านองค์ดาไลลามะก็ได้ชวนสวดมนต์ป้องกันไวรัสเช่นกัน

    บทสวดรัตนสูตร

    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ อะโถปิ สักกัจะ สุณันตุ ภาสิตัง ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ

    ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะตัง กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager

    ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Travel MGR

    [embedded content]

    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/travel/detail/9630000027499
     
  2. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    b8a3e0b8b1e0b895e0b899e0b8aae0b8b9e0b895e0b8a3-e0b980e0b88be0b89fe0b980e0b8a5e0b8a2-e0b8aae0b8a7.jpg
    ‘บทสวดรัตนสูตร’ เซฟเลย สวดพร้อมกัน 25 มี.ค. ต้านโควิด-19


    บทสวดรัตนสูตร – จากกรณีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยซึ่งยอดถึงวันที่ 18 มีนาคม 2563 อยู่ที่ 212 ราย รัฐบาลได้ออกมาตรการออกมาหลายด้านเพื่อควบคุมจำกัดการแพร่ระบาดของเชื้โควิด-19 เช่น ปิดสถานศึกษา ปิดสถานบันเทิง งดกิจกรรมที่มีการรวมตัว 15 คนขึ้นไป และอีกหนึ่งไอเดียจากนาย เทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เตรียมนิมนต์พระสงฆ์เพื่อสวดบทสวดรัตนสูตร ปัดเป่าโควิด-19

    โดยการสวดบทรัตนสูตรนี้ นายเทวัญ กล่าวว่า ขอให้ประชาชนร่วมสวดมนต์ หรือชมการถ่ายทอดสดอยู่ที่บ้าน จะเริ่มถ่ายทอดสดวันที่ 25 มีนาคม

    ทั้งนี้บทสวดรัตนสูตรมีความเชื่อว่า เพื่อขจัดปัดเป่าภัยความอดอยาก ภัยจากโรคระบาด และภัยจากอมนุษย์เบียดเบียน ชาวพุทธจึงถือเป็นธรรมเนียมสวดพระสูตรนี้เพื่อขจัดโรคภัย เช่น โรคห่า นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่า การสาธยายรัตนสูตร หรือรัตนปริตรจะทำให้ได้รับความสวัสดี และพ้นจากอุปสรรคอันตรายทั้งหลาย

    บทสวดรัตนสูตร


    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
    ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
    สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
    อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
    ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
    เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
    ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
    ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ
    ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
    สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
    นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
    อิทัมปิ พุเธ ระตะนัง ปะณีตัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
    ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
    นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
    อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
    สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
    สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
    อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา
    จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
    เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
    เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ ฯ
    เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
    นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
    เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
    ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา
    จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
    ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ
    โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
    คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
    กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา
    นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
    ตยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
    สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ
    สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
    จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
    ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง
    กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
    อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
    อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
    คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห
    ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
    นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
    อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร
    อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
    อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง
    วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
    เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา
    นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
    อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
    ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
    ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
    พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
    ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
    ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
    ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
    ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
    ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
    ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
    สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

    อ่านคำแปลรัตนสูตรภาษาไทยคลิก

    เนื้อหาของบทสวดรัตนสูตร

    เนื้อหาของรัตนสูตรโดยหลัก เป็นการกล่าวถึง คุณแห่งพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ โดยเฉพาะในส่วนของการประกาศคุณของพระสงฆ์นั้นมีจำนวนคาถามากกว่าเนื้อหาเรื่องอื่นๆ โดยคร่าวๆ แล้ว สามารถแบ่งเนื้อหาของรัตนสูตรออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก เป็นการประกาศให้ เหล่าภูตคุ้มครองรักษาพวกมนุษย์ ที่นำเครื่องพลีกรรมมาบวงสรวงทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน ซึ่งพลีกรรมนี้หมายถึงการทำบุญตามหลักพุทธศาสนานั่นเอง

    ส่วนที่ 2 เป็นการบรรยายคุณพระรัตนตรัย ว่าเป็นรัตนะอันประเสริฐสุด โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องการคุณของพระสงฆ์ หรือพระอริยะเจ้านั้น มีการบรรยายคุณของท่านอย่างละเอียดว่า เป็นผู้ประกอบด้วยศีลเป็นอันดี มีใจมั่นคง ไม่มีกามกิเลส เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย ไม่มีความหวั่นไหวด้วยโลกธรรม และมีพระนิพพานอันเป็นอมตะเป็นที่สุด ด้วยคุณของพระสงฆ์ดังที่พระคาถาพรรณนามานี้ ถือเป็นสัจจะอันยิ่งใหญ่ ยังซึ่งความสวัสดีมีชัยแก่ผู้ประกาศ หรือสาธยายคุณของท่าน

    ทั้งนี้ รัตนสูตรยังให้น้ำหนักกับการพรรณนาคุณลักษณะของพระโสดาบันเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการระบุว่า พระโสดาบันจะไม่ถือเอาภพที่แปด คือ เกิดอย่างมากอีกเพียงเจ็ดครั้ง และยังสามารถละสังโยชน์ 3 ประการคือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ทำให้พระอริยะเจ้าชั้นนี้ คือพระโสดาบัน พ้นแล้วจากการตกลงสู่อบายภูมิ และจะไม่อาจทำอภิฐาน 6 คือ อนันตริยกรรม 5 ประการ รวมถึงการเปลี่ยนใจไปนับถือศาสนาอื่น อันมิใช่สัมมาทิษฐิอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม พระโสดาบันยังอาจทำกรรมชั่วด้วยกาย วาจา หรือใจ อยู่บ้าง แต่ก็ไม่อาจปิดบังกรรมชั่วที่กระทำไว้นั้น เพราะการที่บุคคลผู้เห็นทางพระนิพพานแล้ว จะปิดบังกรรมชั่วของตนไว้นั้นพระตถาคต กล่าวว่า ไม่อาจปิดบังได้

    ส่วนที่ 3 เป็นการประกาศให้ภูตทั้งหลายจงนมัสการพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ และอำนวยพรให้สรรพสัตว์เหล่านี้มีความสวัสดี

    ติดตามข่าวสารจาก The Thaiger ได้ทางเฟซบุ๊ก.ขอขอบคุณที่มา
    https://thethaiger.com/thai/news-th/thailand-th/บทสวดรัตนสูตร-เซฟเลย-สว
     
  3. Jindamunee

    Jindamunee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,186
    ใครสนใจสวดรัตนสูตรให้ผลเต็มที่นะครับ ขอให้สวดอิติปิโส พุทธคุณ ธัมคุณ สังฆคุณ 3 จบหรือ 5 จบ นึกถึงบุญที่เกิดจากการสวดแล้วว่า
    ด้วยอำนาจพระพุทธคุณ พระธัมคุณ พระสังฆคุณ จงดลบันดาลบุญนี้บูชาแด่พระคาถารัตนสูตร​

    แล้วจึงเริ่มสวดครับ หรือจะสวดมนต์ปกติแล้วกล่าวคำบูชาบุญแด่คาถาพระรัตนสูตรนี้ ท่านกล่าวไว้ว่าจะมีผลเต็ม 100 ครับ ผมเห็นว่าทำตามนี้ไม่เสียหายจึงมาแนะนำครับผมุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...