"ใจต่อใจในการฝึกตน" นิกายเซน...ธรรมะสำหรับผู้เริ่มต้น

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ใจต่อใจ, 23 สิงหาคม 2012.

  1. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 69[/FONT][FONT=&quot] ล้างทิฏฐิทั้งปวง[/FONT]
    [FONT=&quot] โดยสภาพดั้งเดิมแท้แห่งธรรมชาตินั้นมันมิใช่ตัวใช่ตนเลย มันคือความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น แต่ด้วยเพราะเหตุแห่งอวิชชาคือความไม่รู้มันได้พาก่อรูปขึ้นมาเป็นความคิดเป็นตัวเป็นตน ทำให้เราไม่รู้จักหน้าตาสภาพดั้งเดิมแท้แห่งธรรมชาติที่มันคงเนื้อหาของมันอยู่อย่างนั้นอันหาจุดเริ่มต้นไม่ได้[/FONT]
    [FONT=&quot] และด้วยสภาพความคิดอันคืออวิชชาความไม่รู้อันหลากหลายนี้เอง พระตถาคตเจ้าได้ตรัสไว้ว่ามันคือ “ทิฏฐิ” หรือ ความคิดเห็น ซึ่งพระพุทธองค์ได้แบ่งไว้เป็น 2 ประเภท คือ สัมมาทิฏฐิ และ มิจฉาทิฏฐิ ในส่วนของมิจฉาทิฏฐินั้นเป็นความคิดเห็นที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริงแห่งเนื้อหากรรม ไม่ตรงต่อเนื้อหาอันคือสภาพทุกข์ ไม่ตรงต่อเนื้อหาที่เป็นความดับไปแห่งทุกข์ ส่วนสัมมาทิฏฐิเองนั้นเป็นความคิดเห็นที่ตรงต่อสัจธรรมในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ใช่หน้าตาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ เป็นความคิดเห็นในเรื่องทุกข์และการออกจากทุกข์ [/FONT]
    [FONT=&quot] ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ทรงย่างก้าวออกมาจากใต้โคนศรีมหาโพธิ์ นอกจากพระพุทธองค์จะทรงชี้สอนเรื่องธรรมชาติดั้งเดิมแท้แก่บรรดาหมู่เวไนยสัตว์ให้หลุดพ้นแล้ว พระพุทธองค์ยังทรงตรัสสอนเรื่องทิฏฐิซี่งเป็นเนื้อหากรรมและกลุ่มกรรม ที่แสดงเนื้อหาทิฏฐิที่นำทิฏฐิของกลุ่มพวกตนมาก่อตั้งในรูปแบบลัทธิและศาสนาของโพธิสัตว์แต่ละดวงที่ทำหน้าที่ตามรอบบารมีของตนต่อบริวารทั้งหลาย แม้กระทั้งในส่วนของการก่อรูปขึ้นมาเป็นศาสนาที่เรียกว่า “พระพุทธศาสนา” เองก็ตาม พระพุทธองค์ก็แสดงภูมิความรู้แห่งบรมมหาโพธิสัตว์ในฐานะ “พุทธวิสัย” ที่ท่านได้ตรัสรู้ซึ่งเป็นการรู้แจ้งในทุกส่วนแห่งเนื้อหากรรมเนื้อหาธรรมแล้วมาโปรดสอนเวไนยสัตว์ทุกหมู่เหล่าให้เข้าใจในเรื่องทิฏฐิต่างๆเหล่านี้ที่เป็นเหตุนำพาดวงจิตทั้งหลายได้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ และพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเพื่อชักจูงให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายในยุคนั้นซึ่งมีกรรมเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธองค์ในฐานะบริวารของท่านมาสู่เส้นทางสัมมาทิฏฐิเพื่อให้เกิดความเข้าใจในธรรมที่ถูกต้อง ทั้งนี้เป็นพุทธประสงค์ที่จะให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้เข้าใจในสภาพทิฏฐิต่างๆและสภาพความบีบคั้นที่ก่อให้เกิดทุกข์และเกิดเบื่อหน่ายในทิฏฐิซึ่งโดยเนื้อหามันคือสภาพแห่งความทุกข์ เมื่อพุทธศาสนิกชนเหล่านี้ “ล้างทิฏฐิ” ทั้งหมดของตนเองออกได้ ล้างทั้งในส่วนมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ เมื่อสลัดออกซึ่งทิฏฐิทั้งหลายได้จึงเป็นการตระหนักชัดและเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้อย่างสิ้นเชิง[/FONT]

    [FONT=&quot] เพราะฉะนั้นตัวสภาพเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้เอง มันจึงเป็นสภาพที่ปลอดจากมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ มันจึงเป็นสภาพที่ปลอดจากรูปแบบแห่งพระพุทธศาสนาทั้งปวง มันจึงเป็นสภาพที่ปลอดจากธรรมในทุกระดับที่พระพุทธองค์ประกาศที่เป็นเนื้อหาแห่งสัมมาทิฏฐิ การล้างทิฏฐิทั้งปวงด้วยการสลัดออก จึงเป็นการกลับคืนสู่ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ตามที่มันควรจะเป็น เป็นการกลับคืนสู่ “ความเป็นอิสระทั้งปวง” โดยไม่ถูกบีบคั้นจากทิฏฐิใดๆและไม่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์หรือกรอบแห่งศาสนา

    [​IMG]
    [/FONT]
     
  2. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 70 [/FONT][FONT=&quot] แก่นแท้แห่งเซน ([/FONT][FONT=&quot]the core of Zen)[/FONT]
    [FONT=&quot] หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงประกาศธรรมจนถึงวาระสุดท้ายและเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานใต้ต้นนางรังคู่นั้น เนื้อหาธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ทั้งหมดก็ถูกสืบทอดไปเป็นสายๆโดยแบ่งเป็นนิกายต่างๆ ก็มีอยู่นิกายหนึ่งที่โดดเด่นในเรื่องแนวคำสอนและการคุ้ยเขี่ยธรรม ก็คือ “นิกายเซน” หรือ ธยาณะ นิกายนี้ได้สืบทอดคำสอนสืบต่อกันมาแบบ “มีเอกลักษณ์” ซึ่งได้ส่งมอบวิธีสอนในเรื่องธรรมอันหลุดพ้นสู่คณาจารย์เป็นรุ่นๆ และเป็นการสืบทอดคำสอนหลักของพระพุทธองค์เพื่อชี้ทางไปสู่ความหลุดพ้นที่แท้จริง ผู้ที่ศึกษาธรรมะแบบเซนและผู้ที่เข้าถึงแก่นแท้แห่งเซน ([/FONT][FONT=&quot]the core of zen) ย่อมรู้ดีว่า คำสอนแบบเซน คือ คำสอนหลักที่พระพทธองค์ตรัสไว้เพื่อให้พ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวง เป็นผู้รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยศึกษาเซนและสำหรับผู้ที่เคยศึกษาเซนมาบ้างแต่เข้าไม่ถึงแก่นแท้แห่งเซน ย่อมเดาไปต่างๆนาๆว่าคำสอนเซนเป็นคำสอนแนว “ปาหี่” บ้าง เป็นแนวแค่ความนึกคิดหรือเป็นเพียงความคิดคำนึงบ้าง หรือมองดูเซนมีคุณค่าขึ้นมามากกว่านั้นคือ คำสอนเซนนั้นเป็นคำสอนแนวปัญญาเป็นไปในลักษณะปัญญาวิมุตติซึ่งมันไม่ใช่เจโตวิมุตติบ้าง แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ก็ล้วนเป็นการคาดเดาผิดทั้งสิ้น [/FONT]
    [FONT=&quot] ก็เพราะเหตุที่ว่า เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ มันเป็นคุณลักษณะอันหลากหลายที่ประกอบมาอันเป็นคุณสมบัติของดวงจิตต่างๆที่เข้ามาสู่เส้นทางธรรมเพื่อหลุดพ้น บางดวงจิตก็มีลักษณะชอบวิเคราะห์แยกแยะซึ่งเป็นคุณลักษณะเด่นในทางปัญญาซึ่งเป็นบาทฐานทางจิต และบางดวงจิตก็มีคุณลักษณะชอบเข้าไปเสวยอยู่ในภาวะจิตอันประณีตอันคือองค์ฌาณซึ่งเป็นคุณลักษณะเด่นในทางอำนาจจิต ซึ่งเป็นบาทฐานทางจิตเช่นกัน ซึ่งคุณลักษณะทั้งสองด้านเหล่านี้ก็ล้วนเป็น “คุณสมบัติขั้นพื้นฐาน”เท่านั้นที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ซึ่งเป็นธรรมหลักใหญ่อันนำไปสู่เส้นทางแห่งความหลุดพ้น ธรรมอันคือเนื้อหาหลักประการแรก ที่พระพุทธองค์ทรงสอนเหล่าสาวกทุกดวงจิตในยุคนั้นไม่ว่าดวงจิตเหล่านั้นจะมีคุณสมบัติทางด้านเจโตวิมุตติหรือปัญญาวิมุตติก็ตาม คือ “ความดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ” [/FONT]
    [FONT=&quot] ก็ครั้งในสมัยพุทธกาล พระมหาโมคคัลนะ นอกจากเป็นอัครสาวกเบื้องขวาแห่งกองทัพธรรมพุทธโคดมแล้ว ท่านเองก็ถูกยกขึ้นในฐานะเป็นอัครสาวกที่เลิศทางด้านฤทธิ์ ซึ่งลักษณะดวงจิตของท่านเป็นลักษณะที่ชอบเข้าไปเสวยอยู่ในภาวะจิตอันประณีตในองค์ฌาน แต่ถึงคุณลักษณะจิตอันเป็นบาทฐานของพระโมคคัลลานะ จะหลุดพ้นในลักษณะ “เจโตวิมุตติ” ตามที่ฝ่ายเถรวาทเรียก ยามเวลาที่พระพุทธองค์ทรงตรัสธรรมเพื่อชี้ทางให้พระโมคคัลลานะไปสู่เส้นทางอันหลุดพ้น พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสธรรมอันเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเพื่อชี้ทางหลุดพ้นให้กับดวงจิตที่ซึ่งมีคุณลักษณะหลุดพ้นแบบ “ปัญญาวิมุตติ” ด้วยเช่นกัน ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนพระโมคคัลลานะ คือ [/FONT]

    [FONT=&quot]“[/FONT][FONT=&quot] ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เมื่อได้สดับว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ควรกำหนดธรรมเหล่านั้น ในยามเมื่อเสวยเวทนา อันเป็นสุขหรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง และให้พิจารณาดังปัญญา อันประกอบด้วยความหน่าย ความดับ และความไม่ยึดมั่น จิตก็จะพ้นจากอาสวกิเลส เป็นผู้รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว [/FONT][FONT=&quot]” เฉกเช่นเดียวกันกับฝ่ายพระสาลีบุตร ผู้มีลักษณะจิตไปในทางชอบวิเคราะห์แยกแยะ ซึ่งเป็นภิกษุผู้เลิศทางด้านปัญญา พระสารีบุตรนั้นนั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ เพียงแค่ได้ยินพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละธรรมแก่ ทีฆนขปริพาชก ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งทั้งหมดนี้มีความดับไปเป็นธรรมดา ก็ทำให้พระสารีบุตรพ้นไปจากอาสวะกิเลสทั้งปวงอีกเช่นกัน ซึ่งธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเพื่อชี้นำไปสู่ความหลุดพ้นทั้งในฝ่ายเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ เป็นการตรัสธรรมชนิดเดียวกันเนื้อหาเหมือนกัน ก็คือ “ความแปรปรวนไป ความสิ้นไป ความดับไป เป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติแห่งขันธ์ทั้ง 5 ”[/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ “แก่นแท้แห่งเซน” ซึ่งเป็นคำสอนแบบเซนนั้น ก็คือธรรมอันเป็นเนื้อหาหลักที่พระพุทธองค์ตรัสเพื่อ “เอื้อให้ทุกสาย” ไม่ว่าจะเป็น สายเจโตวิมุตติหรือสายปัญญาวิมุตติ ต้องมาเรียนรู้ทำความเข้าใจเพื่อตัดอาสวะกิเลสได้โดยเด็ดขาด โดยทางเซนก็เดินตามคำสอนของพระพุทธองค์ทุกฝีก้าว คำสอนแบบเซนเน้นที่จะสอนเนื้อหาธรรมที่เป็นโครงสร้างใหญ่ๆซึ่งเป็นเนื้อหาหลัก โดยแบ่งเนื้อหาธรรมออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ คือ สังขตธาตุและอสังขตธาตุ ตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้


    [​IMG]
    [/FONT]
     
  3. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 70 [/FONT][FONT=&quot] แก่นแท้แห่งเซน ([/FONT][FONT=&quot]the core of Zen) (ต่อ)ตอนจบ[/FONT]
    [FONT=&quot]ในส่วนของสังขตธาตุนั้น ทางคำสอนเซนชี้ให้เห็นว่าการที่พระพุทธองค์ตรัสสอนเรื่องความเกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาตินั้นเป็นการสอนเพื่อไม่ให้เข้าไปยึดมั่นถือมั่น เพื่อบรรเทาพฤติกรรมทางจิตที่ชอบปรุงแต่งในลักษณะต่างๆ เมื่อไม่เข้าไปยึดพฤติกรรมทางจิตเหล่านี้ก็จะลดน้อยถอยลง เป็นอาการที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเรียกว่า “การคลายกำหนัด” เป็นการคลายจากอาการเข้าไปยึดเข้าไปปรุงแต่งเป็นจิตเกิดขึ้น แต่ธรรมชนิดนี้ซึ่งเป็นสังขตธาตุนั้นก็ล้วนแต่เป็นแค่การบรรเทา เป็นการลดพฤติกรรม ที่เข้าไปยึดเท่านั้น แต่ยังไม่ใช่เป็นการตัดโดยเด็ดขาดซึ่งอาการ การปรุงแต่ง ซึ่งทางคณาจารย์เซนจะสอนลูกศิษย์โดยชี้ให้เห็นว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงถึงแม้จะเป็นธรรมอันละเอียดประณีตปานใดที่อยู่ภายใต้คำว่า “สัมมาทิฏฐิ” ธรรมเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นธรรมสังขตธาตุ ซึ่งเป็นลักษณะการปรุงแต่งไปในทาง “ธรรมอันประณีตแห่งสัมมาทิฏฐิทั้งหลายเกิดขึ้น ธรรมอันประณีตแห่งสัมมาทิฏฐิทั้งหลายแปรปรวนตั้งอยู่ได้ไม่นาน และธรรมอันประณีตแห่งสัมมาทิฏฐิทั้งหลายล้วนดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ” ซึ่งถึงแม้จะเป็นการเกิดขึ้นดับไปมันก็ยังเห็นธรรมบนพื้นฐานความเข้าใจว่า ยังมีตัวมีตนอยู่ ถึงแม้จะทำความเพียรพยายามสักปานใดด้วยการตระหนักชัดและเป็นเนื้อหาเดียวกันกับสิ่งที่เกิดขึ้นดับไป ความเพียรพยายามนั้นมันก็ก่อให้เกิดผลแค่ว่า พฤติกรรมแห่งการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นมันได้เบาบางไปมากๆแล้ว “มันก็ยังเป็นเพียงแค่” การที่ได้เบาบางไปมากๆแล้วเท่านั้น แต่มันยังมิใช่การตัดได้โดยเด็ดขาด มันก็ยังปรากฏ “ซากแห่งอัตตา” ที่จะก่อให้เกิดอาการเกิดขึ้นดับไปได้อีกอยู่ดี ทางคณาจารย์เซนจึงมองว่าเป็นการเสียเวลาเปล่าที่จะดำเนินเนื้อหาการปฏิบัติบนเส้นทางสัมมาทิฏฐิซึ่งเป็นสังขตธาตุตรงนั้น ทางคณาจารย์เซนทั้งหลายจึงเพียง “เฝ้าสอน” บรรดาลูกศิษย์ตัวเองให้รู้จักแต่หน้าตาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งเป็นลักษณะแห่งอสังขตธาตุ ซึ่งเป็นเนื้อหาธรรมอันเด็ดขาดจากการปรุงแต่งได้ทั้งปวง เป็นการสอนชี้นำอยู่แค่เพียงตรงนี้เท่านั้น [/FONT]

    [FONT=&quot] เพราะฉะนั้นเนื้อหาธรรมที่เป็นคำสอนเซน จึงเป็นการไล่เรียงถึง “เหตุและผล” ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสธรรมไว้ กล่าวคือ[/FONT]
    [FONT=&quot]1.พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นถึง ความเกิดขึ้นดับไปแห่งธรรมทั้งหลาย และทรงชี้ให้เห็นว่านี่คือ ความคลายกำหนัด[/FONT]
    [FONT=&quot]2.พระพุทธองค์ก็ทรงชี้ต่อไปอีกว่า ธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปนั้น มันคือสังขตธาตุเป็นธาตุแห่งการปรุงแต่ง ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแนะนำให้ “สลัดออก” ซึ่งธรรมเหล่านี้ เพราะพระพุทธองค์ทรงชี้ว่ายังมีธรรมที่ปรากฎและเป็นที่สิ้นสุดแห่งธรรมอันมีเนื้อหาซึ่งเป็นธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว ซึ่งนั่นก็คือ พระนิพพาน ซึ่งทางเซน เรียกมันว่า “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” นั่นเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] ด้วยเหตุผลนี้ คณาจารย์ทางฝ่ายเซนทุกรุ่นจึงเน้นเฝ้าสอนให้นักศึกษาทางฝั่งโน้น “สลัดออก” ซึ่งสังขตธาตุทั้งปวง ในทุกๆแง่ ในทุกๆมุมมองแห่งความเป็นสังขตธาตุ ยกตัวอย่างเช่น จิตที่ปรุงแต่งเพื่อรอคอยความหลุดพ้น จิตที่ปรุงแต่งว่าหลุดพ้นแล้ว ทั้งนี้เพื่อที่จะให้นักศึกษาทางฝั่งโน้นได้ “ตกผลึกอย่างแท้จริง” ว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวงแห่งสัมมาทิฏฐิและวิธีปฏิบัติทั้งหลายซึ่งเป็นไปในทางเกิดขึ้นและดับไปนั้นมันก็ล้วนเป็นเรื่องแห่งสังขตธาตุซึ่งต้องสลัดออก ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนกับ “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” ซึ่ง มันคือเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นด้วยประการทั้งปวง คำสอนแบบเซนซึ่งเป็นแก่นแท้นั้น มันจึงเป็นธรรมที่ประกอบไปด้วยเหตุและผลซึ่งเป็นไปตามที่พระพุทธองค์ตรัสทุกประการ และมันก็มิใช่คำสอนที่เป็นการหลุดพ้นแบบปัญญาวิมุตติ แต่คำสอนแบบเซนเป็นคำสอนซึ่งผู้ที่จะหลุดพ้นทั้งในแนวเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติทุกๆดวงจิตในขอบข่ายแห่งการจุติในจักวาลใบนี้ ย่อมจะต้องมาศึกษาคำสอนแบบเซนเพื่อปรับไปสู่ความหลุดพ้นทั้งปวง เพราะเซนคือคำสอนที่มุ่งให้ตระหนักชัดและเป็นเนื้อหาเดียวกันกับ “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” ซึ่งคือการตัดได้โดยเด็ดขาดจากการปรุงแต่งทั้งปวง ซึ่งมันคือเนื้อหาแห่งพระนิพพานที่พระพุทธองค์ตรัสไว้นั่นเอง นี่คือ “เซน”

    [​IMG]

    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2012
  4. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 71[/FONT][FONT=&quot] หลักเกณฑ์ซับซ้อน[/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อพูดถึงการปฏิบัติ นัก ปะ-ติ-บัด ทั้งหลายก็จะฉายภาพที่มีอยู่ในหัวอันคือเส้นสมองออกมาเป็นฉากๆ ซึ่งมันคือหลักเกณฑ์ต่างๆมากมายที่พวกเขาเหล่านี้ได้ขยันขวนขวายศึกษามาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ อริยสัจจ์ทั้ง 4 เรื่องอินทรีย์แห่งธรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็น สติ สมาธิ ปัญญา และพวกเขาเหล่านี้ก็ยังมีความเข้าใจอีกว่า ธรรมตัวนี้มีความเกี่ยวข้องกับธรรมตัวนั้นอย่างไร ซึ่งมันเต็มไปด้วยเหตุและผลในเชิงตรรกะที่มีความเป็นไปได้ในความเข้าใจของพวกเขาเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ในความเป็นจริง ธรรมชาติแห่งพุทธะมันไม่มีหลักเกณฑ์อะไรเลยให้ซับซ้อนยุ่งยาก ถ้าหากจะกล่าวว่ามีหลักเกณฑ์ก็โดยสภาพของธรรมชาติแห่งพุทธะนั่นแหละคือหลักเกณฑ์ ความที่มันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าที่เป็นสภาวะโดยตัวมันเอง มันจึงมิได้เกิดขึ้นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ใดๆ หลักเกณฑ์ต่างๆที่ตถาคตเจ้าตรัสมาในพระไตรปิฎกถึง 84[/FONT][FONT=&quot],000 พระธรรมขันธ์นั้น มันก็เป็นเพียงหลักเกณฑ์สำหรับคนที่ไม่เข้าใจและไม่สามารถซึมทราบธรรมชาติแห่งพุทธะได้ พวกเขามัวแต่เล็งถึงความมีความเป็นและก็พยายามที่จะใส่ความมุ่งมั่นเพื่อที่จะเอาความมีความเป็นเหล่านี้ออกไปจากหัวจิตหัวใจของพวกเขา เมื่อพวกเขาตั้งต้นว่า “มี” มันก็มิใช่หนทางที่จะซึมทราบตระหนักชัดในธรรมชาติแห่งพุทธะได้เลย เพราะพุทธะนั้นโดยธรรมชาติมันก็ไม่มีตัวตนเสียแต่แรกเริ่มแล้ว เมื่อพวกเขาไม่เข้าใจความหมายเหล่านี้ ตถาคตเจ้าจึงตรัสถึงสิ่งที่พวกเขาเข้าใจในระดับปัญญาของพวกเขาเองที่เข้าใจผิด เมื่อพวกเขาตั้งต้นตั้งแต่แรกในการปฏิบัติธรรมว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ ตถาคตจึงตรัสถึงการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นด้วยความเข้าใจผิดตั้งแต่แรกเริ่มว่ามีอยู่นั้น ว่าความมีอยู่นั้นมันไม่เที่ยงดับไปเป็นธรรมดา การเกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมดาเหล่านี้จึงเกิดหลักเกณฑ์ต่างๆเพื่อที่จะเข้าไปบรรเทาอาการเข้าใจผิดตั้งแต่แรกเริ่มว่ามี ให้ลดน้อยถอยลงไปด้วยการไม่เข้าไปยึดเพราะความเข้าใจว่าสิ่งๆนั้นมันดับไปเป็นธรรมดา [/FONT]
    [FONT=&quot]เรื่องของเรื่องมันก็มีอยู่แค่นี้ และเรื่องราวเหล่านี้ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ซับซ้อนก็มิได้เกี่ยวข้องอะไรกับธรรมชาติที่มันไม่มีตั้งแต่แรกเริ่ม เมื่อมันไม่มีของมันอยู่อย่างนั้นอันเป็นความบริบูรณ์ไม่มีส่วนพร่อง มันจึงไม่จำเป็นต้องอาศัยหลักเกณฑ์ใดๆเข้ามายุ่งเกี่ยวกับมันอีก


    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2012
  5. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 72[/FONT][FONT=&quot] ศีล สมาธิ ปัญญา[/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมชาติดั้งเดิมแท้อันคือเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น มันคือความเป็นอิสระโดยเด็ดขาดจากมลทินต่างๆทั้งปวง มันปราศจากมลทินแห่งจิตที่คอยคิดกระทำชั่วอยู่ตลอดเวลา และมันอยู่นอกเหนือจิตที่มุ่งมั่นกระทำความดี นี่คือ “ศีล”ของภาวะที่แท้จริงแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้[/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมชาติดั้งเดิมแท้อันคือเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น มันคือความเป็นอิสระโดยเด็ดขาดจากความกระวนกระวายทั้งหลายอันเกิดจากการยึดมั่นถือมั่นอันก่อให้เกิดการปรุงแต่งเป็นจิตต่างๆ นี่คือ “สมาธิ” ของภาวะที่แท้จริงแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้[/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมชาติดั้งเดิมแท้อันคือเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น มันคือสิ่งที่ไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลง มันเป็นความว่างเปล่าที่คือความคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นคุณลักษณะตามธรรมชาติของมันเอง นี่คือ “ปัญญา” ของภาวะที่แท้จริงแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้[/FONT]
    [FONT=&quot] ก็เพราะว่าธรรมซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้จริง อันคือเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าที่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอันหาจุดเริ่มต้นไม่ได้ซึ่งเป็นความดั้งเดิมแท้ของมันนั้น “มันมีลักษณะนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหา” เพราะฉะนั้น ศีล สมาธิ และปัญญา มันจึงควรเป็นความปรกติธรรมดาอันคือธรรมชาติของมันเองในภาวะแห่งการแสดงออกซึ่งเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ มันหาใช่เป็นการวางหลักเกณฑ์ในธรรมเพื่อให้เข้าไปรักษาศีล ทำสมาธิ และเจริญปัญญา ให้มากๆแล้วนิพพานจักจะเกิดก็หาไม่

    [​IMG]
    [/FONT]
     
  6. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 73[/FONT][FONT=&quot] ทาสแห่งความพยายาม[/FONT]
    [FONT=&quot] ก็ตามธรรมชาติที่ปรากฎเนื้อหาแห่งความไม่มีไม่เป็นอยู่อย่างนั้น มันเป็นเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าที่บริบูรณ์เต็มเปี่ยมไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งพร่องไปอันจะก่อให้เกิดความเป็นตัวเป็นตนแทรกเข้ามาปะปนความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะได้เลย มันเป็นเช่นนั้นของมันเองมาตั้งแต่แรกเริ่ม แม้กระทั้งมาบัดนี้ความเป็นเช่นนั้นของมันเองก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง และมันจะเป็นแบบนี้อีกเรื่อยไปไม่มีวันสิ้นสุดสลายกลายเป็นอื่นไปได้[/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อความจริงมันเป็นเช่นนี้แล้ว หากพวกท่านทั้งหลายไม่เข้าใจความหมายมันก็อย่าหวังว่าจะได้ตระหนักชัดและซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกับมันได้ หากพวกท่านไม่เข้าใจว่าความว่างเปล่าตามธรรมชาตินั้นมันเป็นความบริบูรณ์เต็มเปี่ยมโดยสภาพตัวมันองอยู่แล้ว หาใช่มีใครที่ใหนต้องมาเติมความเต็มแบบพร้อมเพรียงให้กับมันอีก เมื่อพวกท่านไม่เข้าใจพวกท่านก็จะหันหลังให้กลับธรรมชาติแห่งพุทธะแล้วไปตั้งต้นค้นหาความบริบูรณ์เต็มเปี่ยมของธรรมชาติแห่งพุทธะด้วยการค่อยๆเติมที่ละส่วนๆตามความเข้าใจของท่านเองด้วยการทำความเพียรปฏิบัติเพื่อให้ความว่างนั้นมันต่อเนื่องแบบไม่ขาดสายตามกำลังอินทรีย์แห่งธรรมที่ท่านคิดว่าต้องปฏิบัติธรรมด้วยการเข้าไปรื้อค้นเพื่อสังเกตุความเคลื่อนไหวแห่งจิตอยู่ตลอดเวลา แล้วท่านก็มุ่งหวังว่าการกระทำตรงนั้นในสักวันหนึ่งมันจะเกิดความบริบูรณ์ถึงความพร้อมเพรียงแห่งความว่างในทุกส่วนโดยไม่ขาดสาย แต่ท่านจะเชื่อหรือไม่ ก็ด้วยความคิดและการกระทำของท่านเช่นนี้แหละมันคือสิ่งที่บกพร่องลงไปโดยเนื้อหาแห่งการคิดมุ่งหวังและการเติมเต็มด้วยการปฏิบัติ ทุกๆสิ่งที่ท่านกำลังดำเนินไปแท้จริงมันก็เป็นผลผลิตที่ออกมาจากความนึกคิดการปรุงแต่งของท่านซึ่งมันเป็นจิตเป็นอัตตาตัวตนชนิดหนึ่ง มันคือจิตของท่านเองที่มุ่งแสวงหาพุทธะซึ่งเป็นพุทธะที่ผุดขึ้นมาในจิตของท่านเองอีกเช่นกัน[/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อไม่เข้าใจและไม่รู้จักหน้าตาธรรมชาติแห่งพุทธะที่แท้จริง ท่านก็จะตกไปสู่ความพยายามดิ้นรนของท่านเองที่จะเติมเต็มอะไรสักอย่างหนึ่งแล้วท่านก็เข้าใจว่านั่นคือพุทธะ แต่แท้จริงหาใช่ไม่ เมื่อมันไม่ใช่และหนทางที่ท่านกำลังเดินอยู่มันก็ไม่มีวันที่จะทำให้ท่านได้ตระหนักชัดและซึมทราบธรรมชาติแห่งพุทธะอันมีสภาพเต็มเปี่ยมได้เลย หนทางที่ท่านกำลังเดินอยู่นั้นก็จะทำให้ท่านตกเป็นทาสแห่งความพยายามที่จะเติมเต็มบางสิ่งบางอย่างให้มันเต็มบริบูรณ์ในความรู้สึกของท่านอยู่อย่างนั้นตราบจนลมหายใจสุดท้ายของท่านเองนั่นแหละ


    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2012
  7. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot] บทที่ 74 หมดจิต[/FONT][FONT=&quot].....หมดใจ[/FONT]
    [FONT=&quot]แด่[/FONT][FONT=&quot]...ท่านผู้หลงทาง[/FONT]
    [FONT=&quot]ความไม่รู้ความไม่เข้าใจของมนุษย์ ไม่รู้ว่า ความจริงแล้วสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่มีความหมายแห่งการมีตัวตน ปราศจากการปรุงแต่งโดยธรรมชาติของมัน เป็นเช่นนั้นเป็นอยู่อย่างนั้น[/FONT][FONT=&quot]ตลอดสาย[/FONT][FONT=&quot]ตลอดเวลา โดยธรรมชาติของมัน และไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ในกฏของธรรมชาติ มนุษย์จึงสมมุติสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ปรุงแต่งสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา ในความหมายแห่งการมีตัวตน สมมุติผลของการกระทบของ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย และใจขึ้นมา เป็นอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งต่าง ๆนานา สมมุติสิ่งที่รองรับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งทั้งหลายขึ้นมา เรียกว่า จิต หรือ จิตใจ [/FONT]
    [FONT=&quot]อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งที่มนุษย์ปรุงแต่งขึ้นมานั้น มีมากมายสุดจะพรรณา เช่น รัก โลภ โกรธ หลง อาฆาต พยาบาท และอีกมากมาย เมื่อปรุงแต่งขึ้นมาแล้ว ย่อมทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น เป็นเรา เป็นเขา เป็นของของเรา เป็นของของเขา เป็นความหมายแห่งการมีตัวตนต่าง ๆ นานา ด้วยความไม่รู้ความไม่เข้าใจของมนุษย์ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งสมมุติที่มนุษย์สรรค์สร้างขึ้นมาเอง มนุษย์จึงพยายามทำสิ่งสมมุติเหล่านี้ให้เต็ม ให้บริบูรณ์ ให้มั่นคง ให้คงทนถาวร อยู่ในความรู้สึกของตน หรือพยายามทำสิ่งสมมุติที่ไม่ต้องการให้หมดไป ให้สูญสลาย ให้หายไปจากความรู้สึกของตน โดยที่เราหารู้ไม่ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น เช่น ความอยากมีชื่อเสียง มนุษย์ผู้มีความหลงทั้งหลายอยากมีชื่อเสียง พยายามทำให้มีชื่อเสียง และให้ชื่อเสียงนั้นคงทนถาวรไม่เสื่อมไป โดยที่หารู้ไม่ว่า ความอยากมีชื่อเสียงนี้ เป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น หรือเช่น มนุษย์ผู้พยายามทำความโกรธให้หมดไปให้หายไปจากความรู้สึกโดยที่ไม่รู้ว่า ความโกรธนี้เป็นเพียงสิ่งสมมุติที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง ไม่มีอยู่จริง แล้วโดยธรรมชาติ โดยความเป็นจริงจะทำให้ความอยากมีชื่อเสียงเกิดขึ้น หรือทำให้ความโกรธหมดไป จะทำให้อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งทั้งหลายเกิดขึ้นหรือหมดไปได้อย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาทั้งสิ้น ไม่มีอยู่จริง[/FONT]
    [FONT=&quot] พระพุทธองค์ท่านทรงตระหนักชัดในความเป็นจริงตามธรรมชาติเหล่านี้ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณที่จะสอนมนุษย์ผู้มีปัญญา ผู้ที่พอมีปัญญาอยู่บ้าง หรือผู้ที่ไม่หลงไปในทางสุดโต่งทั้งหลาย ให้เข้าใจ ให้หมดความหลง ให้หมดความลังเลสงสัยว่า โดยความเป็นจริง โดยธรรมชาติ สรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่มีความหมายแห่งการมีตัวตน ปราศจากการปรุงแต่งโดยธรรมชาติของมันเอง ตลอดสาย ตลอดเวลา โดยธรรมชาติของมัน เป็นเช่นนั้น เป็นอยู่อย่างนั้นและไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น แต่ตราบใดที่มนุษย์ยังฝืนธรรมชาติ ไม่ยอมรับ ไม่ยอมเข้าใจ ก็ยังคงปรุงแต่งสิ่งทั้งหลายทั้งปวงว่ามีอยู่จริง ยังคงปรุงแต่งไปในความหมายแห่งการมีตัวตน ยังคงปรุงแต่งว่าจิต หรืออารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ว่ามีอยู่จริง และยังคงปรุงแต่งไปในความหมายแห่งการยึดมั่นถือมั่นว่า นี่คือเรา นี่คือเขา นั่นเป็นของของเรา นั่นเป็นของของเขา ที่สุดแล้วมนุษย์ก็ยังคงไขว่คว้าทะยานไปในความสุดโต่งอันหาที่สิ้นสุดไม่ได้อยู่ดี [/FONT]
    [FONT=&quot]การเปรียบเทียบความนึกคิดปรุงแต่งที่พอใจ ประทับใจ ตรงกับความต้องการ แล้วเรียกรวมกันว่า ความสุข แล้วพยายามปรุงแต่งหรือรักษา อารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้ไว้ หรือทำให้เพิ่มพูนมากขึ้น ก็ยังคงเป็นสิ่งสุดโต่งอันหาที่สิ้นสุดไม่ได้อยู่ดี การเปรียบเทียบความนึกคิดปรุงแต่งที่ไม่พอใจ ไม่ประทับใจไม่ตรงกับความต้องการแล้วรวมเรียกว่า ความทุกข์ แล้วพยายามปรุงแต่งโดยทำให้ลืม ทำให้หมดไปหรือทำให้หายไป ก็ยังคงเป็นสิ่งสุดโต่งอันหาที่สิ้นสุดไม่ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเรียกความนึกคิดปรุงแต่งทั้งหลายว่าความทุกข์ ความสุข หรือความรู้สึกอื่นใด เหล่านี้ก็ยังคงเป็นการฝืนธรรมชาติโดยสิ้นเชิง เพราะโดยธรรมชาติโดยความเป็นจริงสิ่ง เหล่านี้ไม่มีอยู่จริง แล้วจะทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไปได้อย่างไร ตราบใดที่มนุษย์ไม่ยอมรับ ไม่ยอมเข้าใจ ก็จะยังคงวนเวียนอยู่ในสิ่งสมมุติอันหาที่สิ้นสุดไม่ได้อย่างนี้ต่อไป[/FONT]

    [FONT=&quot]แด่[/FONT][FONT=&quot]....ท่านผู้แสวงหา[/FONT]
    [FONT=&quot] ในโลกนี้คงจะมีผู้แสวงหาอยู่ไม่น้อย ผู้ที่หาทางออกนำตนเองออก ออกจากสิ่งที่ตนเองปรุงแต่งว่า เป็นสิ่งมายา เป็นสิ่งสร้างความวุ่นวาย รำคาญใจ เศร้าหมองใจ ด้วยวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ ที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบในปัจจุบัน แต่จุดประสงค์หลักของวิธีการปฏิบัติเหล่านี้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นวิธีทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ด้วยวิธีการฝึกสมาธิจนถึงระดับเป็นฌานสมาบัติรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเพียงการทำให้สงบ รำงับ ชั่วคราวเท่านั้น เหมือนการหนีโลก หนีความวุ่นวาย หนีจากสิ่งที่ตนเองปรุงแต่งว่า เป็นความทุกข์ แล้วไปกำหนดจดจ่อให้เกิดสมาธิขึ้นมา ให้ลืมความวุ่นวาย หรือทำให้ความวุ่นวายหายไป แต่ยิ่งฝึก ยิ่งปฏิบัติ ยิ่งปรุงแต่ง ในการปฏิบัติมากขึ้น ยิ่งปรุงแต่งไปว่าจิตสงบ จนถึงระดับนั้นระดับนี้ เป็นฌานสมาบัติขั้นนั้นขั้นนี้ แล้วยังปรุงแต่งว่า ต้องฝึกปฏิบัติไปจนถึงระดับได้สภาวะนิพพาน แต่ถ้าหากการปฏิบัติไม่ถึงหรือไม่ได้สภาวะ ไม่สงบอย่างที่ตนต้องการก็เป็นทุกข์


    [​IMG]
    [/FONT]
     
  8. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot] บทที่ 74 หมดจิต[/FONT][FONT=&quot].....หมดใจ[/FONT]
    [FONT=&quot]แด่[/FONT][FONT=&quot]...ท่านผู้หลงทาง (ต่อ) ตอนจบ
    [/FONT]

    [FONT=&quot]หรือการปฏิบัติยังหย่อนเกินไป ต้องปฏิบัติให้มากยิ่งขึ้นไป เมื่อสิ่งแวดล้อมไม่เป็นใจ ต้องหนีออกห่าง จากสิ่งแวดล้อมนั้น เพื่อหาที่สงบที่เหมาะแก่การปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติไปนาน ๆ ก็ยังไม่ได้สภาวะนิพพานสักที ยังไม่เด่นชัดในความรู้สึกของตน หรือบางคนหลงสภาวะ ปรุงแต่งว่าตนเองหลุดพ้นแล้ว แต่เมื่อเข้าไปสู่สิ่งแวดล้อมที่ตนเองปรุงแต่งว่า วุ่นวาย ไม่สงบ ก็ยังปรุงแต่งต่อไปว่า ความโกรธยังมีอยู่ ความวุ่นวายใจยังมีอยู่ หรือความทุกข์ยังมีอยู่ ต้องอาศัยอยู่ในที่หลีกเร้นเท่านั้น สภาวะนิพพานถึงจะกลับมาชัดเจนอีกครั้ง เหล่านี้คือ การปรุงแต่งแบบผู้ปฏิบัติธรรม ยิ่งปฏิบัติยิ่งปรุงแต่งว่า มีความทุกข์มากขึ้นกว่าเดิม หรือที่เรียกว่า ทุกข์แบบผู้ปฏิบัติธรรม [/FONT]
    [FONT=&quot]ทั้งหมดเหล่านี้เป็นเพราะอวิชชา ความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ ของท่านผู้ปฏิบัติเอง เพราะท่านทั้งหลายไม่รู้ว่า เมื่อนิพพาน คือ ธรรมชาติอันปราศจากความหมายแห่งการมีตัวตนแล้ว เมื่อนิพพาน คือ ธรรมชาติอันปราศจากการปรุงแต่งโดยธรรมชาติของมันแล้ว เมื่อนิพพานเป็นเช่นนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น ตลอดสาย ตลอดเวลา โดยธรรมชาติของมัน และไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นแล้ว เมื่อจิตหรือจิตใจ และความนึกคิดปรุงแต่งทั้งหลาย เป็นเพียงสิ่งสมมุติที่มนุษย์สรรค์สร้างขึ้นมาเอง ไม่มีอยู่จริงแล้ว ก็ไม่อาจจะมีวิธีการปฏิบัติใด ๆ ที่ทำให้จิตใจบริสุทธิ์ หรือสงบ รำงับได้ การกำหนด จดจ่อ ให้เกิดสมาธิทั้งหลายเหล่านั้น ก็กลายเป็นการฝืนธรรมชาติไปเสียสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot]จุดหมายปลายทางของท่านผู้แสวงหาทั้งหลาย คือ การหลุดพ้น หรือที่เรียกว่า นิพพาน หากท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ทำความเข้าใจถึงกฎธรรมชาติที่ว่า นิพพาน คือ ธรรมชาติอันปราศจากความหมายแห่งการมีตัวตน เป็นธรรมชาติอันปราศจากการปรุงแต่งโดยธรรมชาติของมัน เป็นเช่นนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น ตลอดสาย ตลอดเวลา โดยธรรมชาติของมัน และไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ท่านก็จะได้เข้าใจว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ชี้ทางให้สัตว์โลกได้เห็นถึงกฏธรรมชาติเหล่านี้ ถึงแม้พระพุทธองค์มิทรงชี้ทาง นิพพานก็เป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นมาแต่ก่อนกาลแล้วท่านผู้แสวงหาทั้งหลายจักเอาวิธีการกำหนด จดจ่อ หรือทำให้จิตใจเกิดความบริสุทธิ์ขึ้นมาได้อย่างไร ท่านทั้งหลายจะทำนิพพานให้แจ้งได้อย่างไร ในเมื่อนิพพานเป็นธรรมชาติอันปราศจากความหมายแห่งการมีตัวตน จะเอาความมีตัวตนเพื่อทำให้เกิดความไม่มีตัวตน จะเอาการปรุงแต่งเพื่อทำให้เกิดการไม่ปรังแต่งได้อย่างไร ในเมื่อสรรพสิ่งทั้งหลาย ปราศจากความหมายแห่งการมีตัวตน และเป็นธรรมชาติอันไม่ปรุงแต่ง เป็นอยู่อย่างนั้นตลอดสายตลอดเวลา โดยธรรมชาติของมัน การทำนิพพานให้แจ้ง ให้เด่นชัด ให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา ก็เป็นการฝืนธรรมชาติโดยสิ้นเชิง[/FONT]

    [FONT=&quot]ชีวิต[/FONT][FONT=&quot]....แห่งผู้รู้แจ้ง[/FONT]
    [FONT=&quot] ข้าพเจ้าเคยเข้าใจ เหมือนกับผู้ปฏิบัติธรรมท่านอื่นๆ ที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน ว่า นิพพานต้องเกิดจากการฝึกปฏิบัติในวิธีการต่างๆ แต่เมื่อฝึกปฏิบัติไปนานๆ ก็เกิดความลังเลสงสัยว่า การฝึกปฏิบัติเหล่านี้ เป็นการปรุงแต่งอย่างหนึ่งหรือไม่ เมื่อนิพพาน คือ การไม่ปรุงแต่งแล้วจะเอาการปรุงแต่ง ไปสู่ การไม่ปรุงแต่งได้อย่างไร ข้าพเจ้าเลยศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจใหม่ จนกระจ่างว่า นิพพาน คือ การเข้าใจ(วิชชา) หมดความลังเลสงสัยแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในธรรมทั้งหลาย ในสรรพสิ่งทั้งหลาย และข้าพเจ้าก็เข้าใจอีกว่า ธรรมอันเป็นปรมัตถ์หมวดหมู่ใด ที่มีการกล่าวขัดแย้งกัน ความหมายไม่ตรงกัน และมีความหมายที่ฝืนต่อธรรมชาติ หลักธรรมนั้นก็มิใช่ ธรรมอันเป็นธรรมชาติ ที่ชี้ทางให้บุคคลเข้าใจกระจ่าง หมดความหลง หมดความลังเลสงสัย แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในธรรมทั้งหลาย ในสรรพสิ่งทั้งหลายได้ [/FONT]

    [FONT=&quot] หากมีใครถามท่านผู้รู้แจ้งท่านหนึ่งท่านใดว่า นิพพานเป็นอย่างไร มีสภาพอย่างไร มีสภาวะเป็นอย่างไร หรือมีอารมณ์เป็นอย่างไร ท่านผู้รู้แจ้งท่านนั้นก็คงไม่สามารถให้คำตอบกับเขาได้ เพราะนิพพานมิใช่สภาวะหรืออารมณ์ความรู้สึก เพราะสภาวะหรืออารมณ์ความรู้สึก ก็ยังเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น ยังฝืนธรรมชาติอยู่ ยังไม่เป็นธรรมชาติ [/FONT]
    [FONT=&quot] หรือหากมีใครถามท่านผู้รู้แจ้งท่านหนึ่งท่านใดว่า ผู้ที่รู้แจ้ง ผู้หมดความหลง ผู้หมดความลังเลสงสัย แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในธรรมทั้งหลาย ในสรรพสิ่งทั้งหลายแล้ว ท่านใช้ชีวิตกันอย่างไร ท่านผู้รู้แจ้งท่านนั้น ก็คงจะตอบเขาไปว่า ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย อยู่ในสังคมได้ตามปกติ แต่ที่แตกต่างจากปุถุชนคนทั่วไป คือ ท่านไม่ปรุงแต่งสิ่งทั้งหลายทั้งปวงว่าเป็นความทุกข์ ความสุข หรือความรู้สึกอื่นใดได้อีกแล้ว เพราะท่านรู้ว่า เหล่านี้เป็นสิ่งสมมุติ ไม่มีอยู่จริง[/FONT][FONT=&quot]ท่านไม่ปรุงแต่งสิ่งแวดล้อมที่ท่านอยู่ว่า เป็นที่ที่วุ่นวาย รำคาญใจ หรืออยู่ไม่ได้ ได้อีกแล้ว และในทางกลับกัน ท่านย่อมไม่ปรุงแต่งว่า สิ่งแวดล้อมที่ท่านอยู่นั้น น่าอยู่ สบายใจ หรืออยากอยู่ที่นี่ตลอดไป ได้อีกแล้ว เพราะท่านรู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสมมุติ ไม่มีอยู่จริง ท่านอยู่ได้กับปุถุชนทุกชนชั้นวรรณะ ไม่แบ่งแยกว่าใครดีใครไม่ดี เพราะท่านไม่มีความหมายแห่งการมีตัวตนได้อีกแล้ว และท่านย่อมอยู่ได้ภายใต้กฏเกณฑ์ของทุกสังคมอย่างลงตัว กลมกลืน นี่คือธรรมชาติแห่งผู้รู้แจ้งทั้งหลาย ท่านอยู่อย่างไม่มีความหมายแห่งการมีตัวตนได้อีกแล้ว ท่านอยู่อย่างธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้อีกแล้วท่านอยู่กันอย่างนั้น เป็นเช่นนั้นตลอดสาย ตลอดเวลา และไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น เป็นเช่นนี้ตลอดไป[/FONT]

    [FONT=&quot]บทความนี้[/FONT]
    [FONT=&quot]เขียนโดย นายชัยพร บุญเพ็ชร์ (ลูกศิษย์)


    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2012
  9. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 75[/FONT][FONT=&quot] ความเป็นของคู่ [/FONT]
    [FONT=&quot] ก็เพราะตามความคิดของคนธรรมดาๆทั่วๆไปนั้น ย่อมเข้าใจว่าส่วนย่อยๆของขันธ์และธาตุทั้งหลายนั้นเป็นของที่แบ่งแยกออกได้เป็นสองอย่าง ซึ่งความคิดเหล่านี้ล้วนเกิดจากการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์และธาตุทั้งหลายแล้วก่อรูปเกิดขึ้นมาเป็นจิตเป็นเราเป็นเขาเป็นสิ่งนั้นเป็นสิ่งนี้ขึ้นมาและแบ่งแยกการปรุงแต่งเหล่านี้ออกเป็นสองทาง คือภาวะความเป็นของคู่แห่งชนิดของการปรุงแต่ง เช่น ดี[/FONT][FONT=&quot]-ชั่ว ขาว-ดำ ร้อน-เย็น สัทธรรม-อสัทธรรม มิจฉาทิฏฐิ-สัมมาทิฏฐิ มากสุด-น้อยสุด มีอยู่-ไม่มีอยู่[/FONT]
    [FONT=&quot] แต่โดยแท้ที่จริง ขันธ์และธาตุถึงแม้จะเป็นส่วนย่อยๆเองก็ตาม “มันก็ล้วนไม่มี” เพราะโดยทุกสรรพสิ่งแท้จริงมันย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว มันคือความว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น มันไม่มีแม้กระทั้งขันธ์และธาตุ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันมิใช่ความเป็นของคู่อันเกิดจากการเข้าไปยึดขันธ์และธาตุแล้วสามารถแบ่งแยกออกเป็นชนิดนั้นชนิดนี้ได้เลย [/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันก็ทำหน้าที่ของมันอยู่อย่างนั้น เป็นการทำหน้าที่แห่งความว่างเปล่า “โดยเด็ดขาด” เด็ดขาดซึ่งปราศจากภาวะความเป็นของคู่โดยสิ้นเชิง มันปราศจากภาวะความเป็นของคู่แม้กระทั้งชนิดที่ถูกแบ่งแยกแล้วซึ่งเรียกมันว่า “การบรรลุ[/FONT][FONT=&quot]-การไม่บรรลุ”“การหลุดพ้น-การไม่หลุดพ้น”


    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2012
  10. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot] บทที่ 76 “สมาธิ” แห่งเซน[/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อกล่าวถึงสมาธิหรือกรรมฐาน นักศึกษาทางฝั่งโน้นซึ่งเป็นผู้ที่ยังไม่เข้าใจธรรมอย่างถ่องแท้ ย่อมต้องนึกถึงการนั่งขัดสมาธิเอาขาขึ้นมาทับซ้อนกันแล้วหลับตาลงมององค์ภาวนาตามแต่จริตที่ชอบ จนกระทั้งจิตหยุดนิ่งรวมกันเป็นหนึ่งซึ่งร่างกายและจิตก็นิ่งไม่ไหวติงจมดิ่งอยู่กับภาวะอันประณีตในอาการปีติ สุข และการรวมเป็นหนึ่งแห่งอารมณ์เอกัตคัตตา[/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ในทางเซนนั้น ธรรมอันแท้จริงที่นักศึกษาทางฝั่งโน้นจักจะต้องทำความเรียนรู้เข้าใจเพื่อตกผลึกตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับมันนั้น มันเป็นธรรมอันคือธรรมชาติซึ่งเป็นเนื้อหาอันมีลักษณะไม่ปรุงแต่งและไม่เข้าไปปฏิบัติเข้าไปกระทำ ซึ่งทางเซนถือว่าธรรมอันแท้จริงตามธรรมชาตินั้น มันคือหน้าตาแห่งความดั้งเดิมแท้ของมันในความว่างเปล่า มันคือธรรมอันบริบูรณ์เปี่ยมไปด้วยสัจจธรรมทุกแง่ทุกมุมตลอดโดยเนื้อหามันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมตามความหมายแห่งเซน มิใช่ต้องเป็นการลงมือกระทำเพราะเซนถือว่าการลงมือปฏิบัติในลักษณะดังกล่าวนี้ มันเกิดจากการริเริ่มซึ่งถือว่ามันคือความคิดซึ่งเป็นการปรุงแต่งชนิดหนึ่ง มันบดบังความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้ไปเสียสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะฉะนั้น “สมาธิ” ในทางเซน มันคือความหมายแห่ง “ความเป็นปรกติ”ในการที่ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันทำหน้าที่แสดงเนื้อหาของมันอยู่อย่างนั้น “อย่างคงที่” โดยเป็นธรรมชาติแห่งการไม่ผันแปรเป็นอย่างอื่นอยู่แล้ว การนั่งกรรมฐานภาวนาในทางเซน จึงเป็นการนั่งที่ได้รับอิสรภาพอันเด็ดขาดจากการปรุงแต่งทั้งปวง เฉกเช่นเดียวกับการอยู่ในอริยบทอื่นๆ เช่น การเดิน การนอน การทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ก็ย่อมเป็นการเคลื่อนไหวในอริยบทต่างๆอย่างมีอิสรภาพอันเด็ดขาดจากการปรุงแต่งทั้งปวงเช่นกัน

    [​IMG]
    [/FONT]
     
  11. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 77[/FONT][FONT=&quot] การรักษา “ความบริสุทธิ์”[/FONT]
    [FONT=&quot] ในบรรยากาศแห่งการปฏิบัติธรรมกันอย่างหน้าดำคร่ำเครียด นักศึกษาทางฝั่งโน้นผู้ซึ่ง “ติดกับดัก” ในอวิชชาตัณหาอุปาทาน ก็กำลังสร้างจินตนาการขึ้นมาในระหว่างการเร่งรีบปฏิบัติด้วยการไขว่คว้าหาความบริสุทธิ์ในรูปแบบลักษณะต่างๆ เช่น การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ การรักษาจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความเข้าใจผิดว่าการรักษาความบริสุทธิ์ตรงนั้นจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้มาซึ่งผลแห่งการปฏิบัติในทุกๆขั้นตอนและท้ายที่สุด การรักษาความบริสุทธิ์นี้จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้มรรคผลนิพพานบังเกิดขึ้น ซึ่งในมุมมองแห่งเซนแล้วการรักษาความบริสุทธิ์ดังกล่าวนั้นแหละเป็นตัวกีดกั้นพระนิพพาน การรักษาความบริสุทธิ์นั่นเอง โดยตัวมันเองมันคือภาวะแห่งการบดบังเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้[/FONT]
    [FONT=&quot] ทางคณาจารย์เซนมองว่า การรักษาศีลให้บริสุทธิ์นั้นมันเป็นการปรุงแต่งขึ้นมาเป็นจิตประเภทที่ดีเท่านั้น เป็นการปรุงแต่งเพื่อเจริญกุศลกรรมรักษาความดีเป็นการตกแต่งคุณภาพจิตให้ดีขึ้นเท่านั้นเอง ซึ่ง “การรักษาความบริสุทธิ์” ของศีลมันเองก็คือการปรุงแต่งซึ่งเป็นสังขตธาตุอันคือธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่งซึ่งมันมีลักษณะเที่ยงแท้ไม่แน่นอน มีการเกิดขึ้นดับไป มันคือ “อัตตา”ตัวหนึ่ง มันเป็นอัตตาชนิดบริสุทธิ์ที่นักศึกษาทางฝั่งโน้นพากันเข้าไปบัญญัติชื่อโดยใส่คุณลักษณะผิดๆที่ชื่อความบริสุทธิ์ให้กับมัน แล้วคิดว่าความบริสุทธิ์ของมันจะเป็นเหตุให้ได้ตระหนักชัดในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ซึ่งแท้จริงมันเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง ก็เพราะโดยเนื้อหาแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น มันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น มันปราศจากอัตตาบริสุทธิ์ที่เรียกว่า “ศีลบริสุทธิ์” ซึ่งเป็นลักษณะสังขตธาตุคือธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นดับไปโดยสิ้นเชิง[/FONT]
    [FONT=&quot] และความเป็นจริงธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันก็มิใช่เป็น “การรักษาจิตให้บริสุทธิ์ ” การที่นักศึกษาฝั่งทางโน้นมีความหลงผิดเข้าใจว่า การที่เกิดการปรุงแต่งใดๆขึ้นมาเป็นจิตแล้วเราก็ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในจิตชนิดนั้นๆ ควรปล่อยให้มันไม่เที่ยงดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ แล้วนักศึกษาทางฝั่งโน้นก็พากันเข้าไปบัญญัติชื่อโดยใส่คุณลักษณะผิดๆที่ชื่อความบริสุทธิ์ให้กับมันโดยเรียกมันว่า “การรักษาจิตให้บริสุทธิ์” แล้วยังคิดอีกว่าความบริสุทธิ์ของจิตชนิดที่ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นมันจะเป็นเหตุให้ได้ตระหนักชัดในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ซึ่งแท้จริงมันก็ยังเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งอีกเช่นเดิม ก็เพราะว่าโดยเนื้อหาแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ มันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น มันคือความว่างเปล่าอย่างนี้มานานแสนนานแล้วเป็นคุณสมบัติอันดั้งเดิมของมันอันหาจุดเริ่มต้นมิได้ด้วยซ้ำ เป็นคุณสมบัติของตัวมันเองตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้โดยมิได้อิงหรือต้องอาศัยกับความเกิดขึ้นดับไปแห่งปรากฎการณ์ทางจิตต่างๆ อันจะถือว่าเป็นจิตบริสุทธิ์ ก็เพราะธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันคือเนื้อหาแห่งความเป็นธรรมดาตามธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น หาใช่ความบริสุทธิ์ใดๆไม่

    [​IMG]
    [/FONT]
     
  12. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 78[/FONT][FONT=&quot] ตามลำดับขั้นตอน[/FONT]
    [FONT=&quot] เหตุที่ตถาคตตรัสถึงเรื่องกรรม ก็เพราะท่านตรัสสอนบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ไม่สามารถแยกแยะถูกผิดได้ ให้มีความสะดุ้งกลัวในการทำอกุศลกรรมชนิดต่างๆซึ่งนำมาซึ่งกรรมวิบาก[/FONT]
    [FONT=&quot] เหตุที่ตถาคตตรัสถึงเรื่องการรักษาศีล เรื่องกรรมฐาน เรื่องการฝึกสติสัมปัชชัญญะ ก็เพราะท่านตรัสสอนบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่จะสามารถอบรมจิตใจของตนเองได้แต่ไม่สามารถทำความเข้าใจถึง “ธรรมอันเกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ” ได้ ท่านตรัสสอนให้บรรดาสรรพสัตว์เหล่านี้มี หิริโอตตัปปะ คือ ความละอายเกรงกลัวต่อบาป และมี ขันติโสรัจจะ คือ มีความอดทนอดกลั้นที่จะแสดงออกทาง กาย วาจา ใจ เป็นที่เรียบร้อย ให้รู้จักความสงบของจิตโดยการเข้าไปเจริญรักษากุศลจิตอันคือการรักษาศีลต่างๆ และความสงบอันเกิดจากการฝึกทำกรรมฐานและฝึกสติสัมปัชชัญญะ ซึ่งมันเป็นพื้นฐานแห่งการเรียนรู้ธรรมอันมีสภาพไม่เที่ยง คือ ธรรมอันเกิดขึ้นดับไป[/FONT]
    [FONT=&quot] เหตุที่ตถาคตตรัสถึงเรื่องธรรมอันเกิดขึ้นดับไป ก็เพราะท่านตรัสสอนบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่มีรอบปัญญาพอที่จะเรียนรู้ทำความเข้าใจถึงธรรมอันมีสภาพไม่เที่ยงแท้แน่นอนที่มันเกิดขึ้นและดับไป แต่ก็ไม่มีปัญญามากพอที่จะทำความเข้าใจถึงสภาพธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ซึ่งคือความว่างเปล่าอันมิใช่ตัวมิใช่ตนอยู่อย่างนั้นโดยหามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นและดับไปไม่[/FONT]
    [FONT=&quot] เหตุที่ตถาคตตรัสเรื่องธรรมอันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น ก็เพราะท่านตรัสสอนบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่มีรอบปัญญาบารมีมากพอแล้วที่จะเรียนรู้ทำความเข้าใจถึงธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงซึ่งมันคือความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น ซึ่งบรรดาสรรพสัตว์เหล่านี้มีปัญญารอบรู้ถ้วนทั่วใน “เหตุและผล” ถึงสิ่งที่ตถาคตตรัสถึงธรรมในระดับต่างๆว่า แท้จริงแล้วธรรมที่ตถาคตตรัสในส่วนของสังขตธาตุอันคือธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกรรม ศีล กรรมฐาน การฝึกสติสัมปัชชัญญะ และ ธรรมอันเกิดขึ้นดับไป ท่านตรัสไว้ก็เป็นเพียงเหตุและผลแห่ง “การบรรเทา” การเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในจิตอันเป็นอกุศล ก็ให้ละเพื่อเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในจิตที่เป็นกุศลแทน หรือ ให้ละการยึดมั่นถือมั่นในปรากฎการณ์ทางจิตทั้งปวงเพื่อให้เกิดความคลาย[/FONT]

    [FONT=&quot]กำหนัดในระดับแตกต่างกันไป แต่แท้ที่จริงธรรมต่างๆเหล่านี้โดยสภาพมันเองมันก็คือคุณลักษณะแห่งสังขตธาตุอันคือธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่งอยู่ดี ซึ่งเป็นธรรมที่ตถาคตทรงชี้ให้สลัดออกสลัดทิ้งเสีย และธรรมในส่วนของอสังขตธาตุ อันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น มันคือ “ธรรมชาติอันแท้จริงข้อเดียวที่ปรากฎอยู่โดยเป็นที่สุดแห่งธรรมแล้ว” และสรรพสัตว์ผู้มีปัญญามากแบบรอบรู้ถ้วนทั่วพวกนี้ก็เลือกที่จะตระหนักชัดและเป็นเนื้อหาเดียวกับมัน โดยปฏิเสธที่จะเข้าไปเนื่องในการปฏิบัติธรรมอันคือสังขตธาตุในระดับต่างๆ ซึ่งเป็นความไม่เด็ดขาดในความว่างเปล่า[/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะฉะนั้นการที่เราจะตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับธรรม มันมิใช้เป็นการที่เราต้องลงมือปฏิบัติธรรมตั้งแต่ขั้นตอนแรก และมิใช่เป็นความจำเป็นที่เราต้องปฏิบัติธรรมให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอน เพราะธรรมที่ตถาคตตรัสไว้นั้นมันก็เป็นเพียง “เหตุและผล” ในตัวมันเองสำหรับธรรมนั้นๆ การปฏิบัติธรรมตามความเข้าใจผิดว่ามันต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอน มันก็เป็นเพียงความรู้ที่ถูกต้องในส่วนหนึ่ง แต่ก็ถูกอวิชชาตัณหาอุปาทานครอบปิดบังไว้ในส่วนหนึ่ง เช่น การที่เราตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมอันเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา ผลแห่งการปฏิบัติมันก็เป็นเพียงทำให้เราคลายกำหนัดในการที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นซึ่งเป็นพฤติกรรมแห่งการปรุงแต่งเป็นปรากฎการณ์ทางจิตต่างๆเกิดขึ้น มันเป็นเพียงความคลายกำหนัดแต่เพียงเท่านั้น แต่มันไม่ใช่ภาวะความเด็ดขาดแห่งความว่างเปล่าอันเป็นผลจากการที่สลัดออกซึ่งสังขตธาตุทั้งปวงที่เนื่องด้วยการปฏิบัติและผลแห่งการปฏิบัติทั้งหลาย ซึ่งภาวะอันเป็นความอิสระโดยเด็ดขาดนั้นมันคือ อสังขตธาตุ อันคือธรรมชาติอันใม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น [/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมอันแท้จริง มันจึงไม่มีลำดับขั้นตอนให้ต้องเข้าไปปฏิบัติ การที่นักศึกษาฝั่งทางโน้นเข้าใจว่าการปฏิบัติธรรมต้องค่อยๆปฏิบัติไปตามลำดับขั้นตอนแล้วนิพพานจักจะเกิดขึ้น มันจึงเป็นอวิชชาความไม่รู้ชนิดหนึ่ง


    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2012
  13. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 79[/FONT][FONT=&quot] “ ฮังฉิ ” ผู้ปฏิเสธอริยสัจจ์[/FONT]
    [FONT=&quot] ฮังฉิ เป็นภิกษุในนิกายเซนผู้ซึ่งมีความรอบรู้ในด้านปัญญา ท่านสามารถตระหนักชัดและเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้ด้วยตนเองโดยไม่มีครูบาอาจารย์มาชี้แนะสอนท่าน และท่านฮังฉิได้ยินข่าวเล่าลือว่าคำสอนของสังฆปรินายก องค์ที่ 6 (เว่ยหล่าง) ได้ทำให้คนจำนวนมากมีความสว่างไสวในธรรม ท่านฮังฉิจึงได้รีบเดินทางมายังตำบลโซกายทันทีเพื่อมาทำความเคารพและสนทนาธรรมกับครูเว่ยหล่าง[/FONT]
    [FONT=&quot]พระสังฆปริณายกถามว่า[/FONT][FONT=&quot] ก็ท่านกำลังปฏิบัติอยู่อย่างไรเล่า?[/FONT]
    [FONT=&quot] ภิกษุ ฮังฉิ ตอบว่า แม้ธรรมคืออริยสัจทั้งหลาย ที่พระพุทธเจ้าทุกๆองค์สอนไว้ ข้าพเจ้าก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องเข้าไปแตะต้องด้วย[/FONT]
    [FONT=&quot] พระสังฆปริณายกถามต่อไปว่า แล้วก็เดี๋ยวนี้ท่านอยู่ใน "ชั้นแห่งคุณวิเศษ" ชั้นไหนเล่า?[/FONT]
    [FONT=&quot] ภิกษุ ฮังฉิ ย้อนว่า จะมี "ชั้นคุณวิเศษ" อะไรที่ไหนเล่า ในเมื่อข้าพเจ้าปฏิเสธไม่เข้าเกี่ยวข้องด้วย แม้กับอริยสัจที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สอนไว้?[/FONT]
    [FONT=&quot] การตอบโต้อย่างทันควันของภิกษุฮังฉิ ได้ทำให้พระสังฆปริณายกเกิดความนับถือ ถึงกับยกเธอขึ้นเป็นหัวหน้าคณะ[/FONT]
    [FONT=&quot] สำหรับนักศึกษาทางฝั่งโน้นผู้ซึ่งยังไม่เข้าใจธรรมอย่างถ่องแท้และยังไม่ซึมทราบในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้ เมื่ออ่านบทความซึ่งเป็นข้อสนทนาระหว่างอาจารย์ทั้งสองข้างต้นจึงอาจเกิดความสงสัยและก็คงมีคำถามเกิดขึ้นมาอย่างทันทีทันใดว่า “ถ้าแม้กระทั้งธรรมอันคืออริยสัจจ์ 4 อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็ยังไม่เข้าไปแตะต้องด้วยแล้วจะบรรลุธรรมได้อย่างไรเล่า” [/FONT]
    [FONT=&quot] แต่ความเป็นจริง ธรรมอันเกิดจากการโต้ตอบระหว่างสองคณาจารย์และเป็นธรรมที่คณาจารย์ทั้งสองยอมรับซึ่งกันและกันในความเห็นพ้องต้องกันในธรรมที่โต้ตอบ คือ ธรรมชาติดั้งเดิมนั้น มันไม่มีแม้กระทั้งอริยสัจจ์นั้น “เป็นความเห็นที่ถูกต้อง” ก็เพราะเหตุที่ว่าการเข้าไปแตะต้องด้วยอริยสัจจ์ แท้จริงมันคือการหยิบยกธรรมอันคืออริยสัจจ์ขึ้นมาพิจารณาว่ามันคืออะไร มันประกอบไปด้วยเนื้อหาธรรมซึ่งมีความหมายอย่างไร เมื่อยังไม่เข้าใจว่าอะไรคืออะไรซึ่งเท่ากับว่ามันคือความลังเลสงสัยอันเป็นเหตุให้หยิบยกธรรมนั้นขึ้นมาพิจารณา แต่ “การหยิบยกธรรมอันคืออริยสัจจ์ขึ้นมาพิจารณา”นั้น มันคือ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันคืออริยสัจจ์ ความแปรปรวนตั้งอยู่ได้ไม่นานแห่งธรรมอันคืออริยสัจจ์ และความดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติแห่งธรรมอันคืออริยสัจจ์ มันคือสังขตธาตุอันคือธรรมธาตุแห่งการเกิดขึ้นดับไปของธรรมอันคืออริยสัจจ์นั่นเอง มันเป็นเพียง “ซากอัตตาตัวตน” ที่ผลุบๆโผล่ๆในลักษณะการเกิดขึ้นดับไปแบบซ้ำๆซากๆอยู่อย่างนั้น มันผลุบๆโผล่ๆด้วยเหตุแห่งความไม่เข้าใจของเราเองที่ว่า “เรามีความจำเป็นจะต้องพิจารณาธรรมอันคืออริยสัจจ์นั้นอยู่ตลอดเวลาแล้วเราจะสามารถกลายเป็นเนื้อหาดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นได้” แต่ธรรมอันแท้จริงคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งเป็นความเห็นที่พ้องกันระหว่างคณาจารย์ทั้งสองคือ เว่ยหล่างและฮังฉิ นั้น ท่านทั้งสองเห็นว่า เนื้อหาธรรมธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น มันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันอยู่อย่างนั้นด้วยความเป็นอิสระเด็ดขาดโดยปราศจากความเป็นอัตตาตัวตนที่จะเกิดขึ้นได้ มันปราศจากความเป็นอัตตาตัวตนแม้กระทั้ง ความเป็นอัตตาตัวตนที่ชื่อว่า “ธรรมอันคืออริยสัจจ์”[/FONT]
    [FONT=&quot] ก็ขอให้นักศึกษาทางฝั่งโน้นทำความเข้าใจตามนี้


    [​IMG]
    [/FONT]
     
  14. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot] บทที่ 80 ตัวตนไม่มีอยู่จริง[/FONT]
    [FONT=&quot] ความเป็นจริงตัวตนไม่มีอยู่จริง ตามธรรมชาติมันคงมีแต่ความว่างเปล่าอันไร้ตัวตนอยู่อย่างนั้น ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่านี้มันดำรงเนื้อหาแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนตามความดั้งเดิมแท้ของมันอย่างนี้มานานแสนนานแล้วอันหาจุดเริ่มต้นไม่ได้และก็ไม่สามารถทำลายล้างมันลงไปได้ เหมือนกับที่ตถาคตเจ้าทรงตรัสธรรมไว้ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา คือ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงอันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วตามสภาพธรรมชาติของมันเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] ความเป็นจริงตัวตนไม่มีอยู่จริง แต่ที่เราคิดว่ามีอยู่จริง มันจึงเป็นการที่เราคิดว่ามีสิ่งๆหนึ่งคือความเป็นตัวตนเกิดขึ้น ตถาคตเจ้าจึงทรงตรัสธรรมว่า สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา คือ การปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวงอันเกิดจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 จนก่อให้เกิดความเป็นตัวตนจนกลายเป็นสิ่งที่เราคิดว่ามันมีอยู่จริงนั้นมันคือ ทุกข์ และตถาคตเจ้าก็ยังทรงตรัสธรรมอีกว่า สพฺพ สงฺขารา อนิจฺจา คือ การปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวงอันเกิดจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 จนก่อให้เกิดความเป็นตัวตนจนกลายเป็นสิ่งที่เราคิดว่ามันมีอยู่จริงนั้นมันมีสภาพไม่เที่ยง เมื่อมันเกิดขึ้น มันย่อมมีความแปรปรวนตั้งอยู่ได้ไม่นาน และมันย่อมมีความสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดา [/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะฉะนั้นในเมื่อความเป็นจริงตัวตนไม่มีอยู่จริง มันย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วตามธรรมชาติซึ่งเรียกมันว่า “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” มันจึงย่อมไม่เกี่ยวอะไรเลยกับความเข้าใจผิดของเราที่เข้าใจผิดว่า เราคิดว่าตัวตนมันมีอยู่จริง เมื่อเข้าใจผิดคิดว่าความเป็นตัวตนมันมีอยู่จริงพระพุทธองค์จึงทรงชี้ว่า ความมีตัวตนอันเกิดจากความเข้าใจผิดนั้นเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วมันก็ย่อมดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมอันเนื่องด้วยการตระหนักชัดและเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความเกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมดานั้น มันจึงเป็นการปฏิบัติธรรมบนพื้นฐานแห่งความเข้าใจผิดของเราเองว่าความเป็นตัวตนมันมีอยู่จริง เพราะฉะนั้นต่อให้เราปฏิบัติธรรมบนพื้นฐานแห่งการตระหนักชัดและเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติแห่งการเกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมดาอย่างเคร่งครัดและปฏิบัติอย่างนี้ไปเรื่อยๆเป็นเวลาอีกยาวนานตลอดชีวิตตราบจนลมหายใจสุดท้ายของเราก็ตาม มันก็เป็นได้แค่เพียงการปฏิบัติธรรมบนพื้นฐานแห่งความเข้าใจผิดของเราเองที่คิดว่าความเป็นตัวตนมันมีอยู่จริงและมันก็เกิดขึ้นดับไปมันเป็นได้เพียงเท่านี้จริงๆ อีกทั้งผลแห่งการปฏิบัติบนความเกิดดับเช่นนี้มีผลเพียงแค่ทำให้เกิดความคลายกำหนัดเบาบางไปมากๆเท่านั้นจากการที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นจนก่อให้เกิดความเป็นตัวตนตามที่เราเข้าใจผิดว่ามันมีอยู่จริงนั่นเอง[/FONT]
    [FONT=&quot] ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้ ตถาคตเจ้าจึงให้สลัดออกซึ่งวิธีปฏิบัติและผลแห่งการปฏิบัติที่มาจากการดำเนินไปบนเส้นทางแห่งความเกิดดับอันเกิดจากที่นักปฏิบัติทั้งหลายเข้าใจผิดคิดว่าความเป็นตัวตนนั้นมีอยู่จริง แล้วให้นักปฏิบัติทั้งหลายหันมาทำความเข้าใจถึงธรรมชาติอันคือเนื้อหาแห่งสัจจธรรมความเป็นจริงว่า แท้จริงแล้ว “ความเป็นตัวตน” มันไม่มีอยู่จริง มันคือความว่างเปล่าอันไร้ความเป็นตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น มันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนซึ่งเป็นความสมบูรณ์ไปด้วยสัจจธรรมอันคือเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเพียงแต่นักปฏิบัติได้ละทิ้งอย่างสิ้นเชิงด้วยการสลัดออกซึ่งการปฏิบัติอันเนื่องด้วยวิถีธรรมชาติแห่งความเกิดดับที่เกิดจากความเข้าใจผิดของเราเองว่า “ความเป็นตัวตน” มันมีอยู่จริง และหันมาตระหนักชัดแล้วเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งมันคือสัจจธรรมที่ “ความเป็นตัวตน”มันไม่มีอยู่จริง เพียงเท่านี้ นี่คือการปฏิบัติธรรมตามคำสอนแบบเซนที่เดินตามคำสอนแห่งตถาคตเจ้าทุกฝีก้าว ความเป็นจริงตัวตนไม่มีอยู่จริง[/FONT][FONT=&quot] แต่ที่คิดว่ามีอยู่และยังเข้าใจอีกว่าที่มีอยู่ก็เกิดขึ้นดับไปสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ขัดต่อธรรมชาติดั้งเดิมแท้


    [​IMG]
    [/FONT]
     
  15. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 81[/FONT][FONT=&quot] “โพธิสัตว์ศาสตร์” แห่งพุทธโคดม[/FONT]
    [FONT=&quot] เมื่อย้อนเวลาไปในอดีตอันไกลโพ้น ได้มีดวงจิตดวงหนึ่งลงมาเกิดในโลกมนุษย์และได้หมั่นประกอบกุศลกรรมในลักษณะโพธิสัตว์เรื่อยมา ดวงจิตดวงนี้มีลักษณะธาตุแห่ง “ปัญญา” ชอบพิจารณาสิ่งต่างๆชอบวิเคราะห์แยกแยะถึงลักษณะเหตุและปัจจัยในที่มาและที่ไป เป็นธรรมธาตุที่ประกอบไปด้วยลักษณะความชอบแห่งเหตุและผล โพธิสัตว์ดวงนี้เป็นผู้มีปัญญาบารมีมีแนวทางและหลักเกณฑ์ในการดำรงค์ชีวิตโดยมุ่งหมายเอาความดีเป็นที่ตั้ง เป็นผู้ที่มีความระมัดระวังหมั่นประกอบแต่บุญกุศลและพยายามงดเว้นกระทำความชั่วจนเป็นอุปลักษณะนิสัยทุกภพทุกชาติไป [/FONT]
    [FONT=&quot] จนกระทั้งในชาติหนึ่งที่ท่านได้ลงมาจุติบนโลกมนุษย์ใบนี้อีกครั้งในฐานะสุเมธดาบส เพราะเหตุปัจจัยในอดีตชาติที่สะสมกุศลกรรมมานานนับเป็นกัปป์ ด้วยเหตุผลแห่งกุศลกรรมนั้นจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ “มีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้” เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตชาติอันไกลโพ้นจนมาถึงชาติปัจจุบันแห่งสุเมธดาบส และด้วยแรงกุศลที่ทำมาพร้อมเพรียงอย่างมากนั้นจึงมีแรงส่งผลให้ก่อรูปความมีความเป็นขึ้นมาในอนาคตด้วยอาศัยเหตุปัจจัย “เพราะมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้” อีกเช่นกัน และก็ในชาติสุเมธดาบสเช่นกันกรรมดีของท่านพาให้ท่านได้พบพระพุทธเจ้าที่ชื่อ “ทีปังกร” สุเมธดาบสได้ถูกพระพุทธเจ้าทีปังกรพยากรณ์ว่า กรรมดีอันคือกุศลกรรมในอดีตชาติของท่านที่ผ่านมานับไม่ถ้วนนั้นได้ส่งผลเป็นเหตุเป็นปัจจัยในอนาคตกาลนับเนื่องแต่นี้ไปอีก 4 อสงไขยแสนมหากัปป์ท่านสุเมธดาบสท่านจักจะได้เป็นพระพุทธเจ้าที่ชื่อว่า “พุทธโคดม”[/FONT]
    [FONT=&quot] “สุเมธดาบส”จักจะได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่า “พุทธโคดม” นั้น หาใช่เกิดจากการที่พระพุทธเจ้าทีปังกรได้ตรัสพยากรณ์ว่าจะได้เป็นไม่ แต่มันเป็นเรื่องของกุศลกรรมที่เคยประกอบขึ้นตั้งแต่อดีตชาติอันไกลโพ้นและกรรมดีดังกล่าวนั้นได้เป็นแรงบุญมหาศาลส่งผลเป็นเหตุเป็นปัจจัยในความมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้เป็นแรงส่งผ่านมายังชาติปัจจุบันแห่งสุเมธดาบสและเป็นแรงต่อเนื่องไปอีก 4 อสงไขยแสนมหากัปป์ในอนาคตกาลและเหตุปัจจัยในการมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้ก็จะทำให้สุเมธดาบสจักจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านามว่า “พุทธโคดม” อย่างแน่นอน[/FONT]

    [FONT=&quot] และเพราะด้วยลักษณะธรรมธาตุแห่งดวงจิตของสุเมธดาบสในอดีตชาติที่สะสมแต่กุศลกรรมมานั้นเป็นลักษณะ “ปัญญาบารมี” ลักษณะธรรมธาตุเช่นนี้มีคุณลักษณะพิเศษคือ เป็นธรรมธาตุที่ชอบพิจารณาวิเคราะห์แยกแยะ จึงมีลักษณะแห่งการใคร่ครวญและเลือกเฟ้น อีกทั้งเมื่อดวงจิตนี้ประกอบไปด้วยธรรมธาตุแห่งปัญญาซึ่งเป็นลักษณะแห่งมหาบัณฑิต จึงทำให้ดวงจิตดวงนี้เลือกประกอบแต่ความดีเท่านั้นและเลือกเฟ้นในการที่ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะละเว้นทำความชั่วประการต่างๆ ด้วยเหตุผลแห่งการเลือกใช้ “ปัญญา” เป็นคุณธรรมนำหน้าในการดำเนินชีวิตในแต่ละภพในแต่ละชาติจึงส่งผลให้ดวงจิตธรรมธาตุนี้ใช้เวลาประกอบกุศลกรรมไม่นานเพียงแค่ 4 อสงไขยแสนมหากัปป์นับเนื่องแต่ชาติสุเมธดาบส ก็จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านาม “พุทธโคดม” อย่างแน่นอน[/FONT]
    [FONT=&quot] ก็โดยปกติทั่วไปลักษณะดวงจิตที่มีเหตุปัจจัยจักจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้ามีลักษณะอยู่ 3 ประเภท [/FONT]
    [FONT=&quot]ประเภทแรกใช้เวลาประกอบกุศลกรรมน้อยที่สุดคือ 4 อสงไขยแสนมหากัป คือ ลักษณะปัญญาธิกะบารมี [/FONT]
    [FONT=&quot]ประเภทสองใช้เวลาประกอบกุศลกรรมมากขึ้นมาอีกคือ 8 อสงไขยแสนมหากัปป์ คือ ลักษณะศรัทธาธิกะบารมี[/FONT]
    [FONT=&quot]ประเภทที่สามใช้เวลาประกอบกุศลกรรมนานที่สุด คือ 16 อสงไขยแสนมหากัป คือ ลักษณะวิริยะธิกะบารมี[/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะฉะนั้น การที่สุเมธดาบสมหาบัณฑิตเลือกใช้ “ปัญญา”เป็นคุณธรรมหลักในการดำเนินชีวิตและเนื่องจากธาตุแห่ง “ปัญญา”นั้นช่วยเลือกเฟ้นให้ท่านแยกแยะและเลือกที่จะมุ่งกระทำคุณงามความดี จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ท่านใช้เวลาน้อยมากในการบำเพ็ญบารมีในฐานะ “บรมหาโพธิสัตว์”เพื่อจักจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต จึงถือว่าท่านมีศิลปะแห่ง “โพธิสัตว์ศาสตร์” ทำให้ท่านได้ใช้เวลาน้อยที่สุดในการบำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เพียงแค่ 4 อสงไขยแสนมหากัปป์เพียงเท่านั้น นี่คือ “โพธิสัตว์ศาสตร์แห่งพระพุทธโคดม”


    [​IMG]
    [/FONT]
     
  16. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 82[/FONT][FONT=&quot] ความมีอยู่และความไม่มีอยู่[/FONT]
    [FONT=&quot] ความมีอยู่ คือความหมายแห่งฐานะการดำรงอยู่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นสิ่งยืนยันว่า “มี” สิ่งนั้นอยู่ ซึ่งหมายถึง “การเกิดขึ้น” ของสิ่งๆนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] ความไม่มีอยู่ คือความหมายแห่งฐานะการสิ้นสุดของสิ่งๆหนึ่งที่มันเคย “มีอยู่” เป็นสิ่งยืนยันว่า “ไม่มี” สิ่งนั้นอยู่ ซึ่งหมายถึงการดับไปสิ้นไปของสิ่งๆนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] สิ่งที่หมายถึง “ความไม่มีอยู่” มันมิใช่หมายถึงการทำลายล้างโดยแท้จริง ( ซึ่งมันมิได้หมายถึง ความไม่มีสิ่งใดเลยซึ่งมันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น ) แต่มันเป็นการยืนยันว่าเคยมีสิ่งๆหนึ่งอยู่และมันก็มีสภาพแห่งความแปรปรวนแล้วดับไปเป็นธรรมดา จึงเรียกมันว่า “ความไม่มีอยู่”[/FONT]
    [FONT=&quot] สิ่งที่หมายถึง “ความมีอยู่” มันก็มิได้หมายถึงความมีอยู่อย่างแท้จริง ( ซึ่งมันมิได้หมายถึง ความมีอยู่ตามธรรมชาติอย่างแท้จริงของความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น ) แต่มันเป็นการยืนยันว่าสิ่งที่มีอยู่นั้นมันย่อมตกอยู่ในสภาพแห่งความแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดา มันจึงเป็น “ความมีอยู่” แบบไม่ถาวรไม่คงที่ซึ่งมีลักษณะแปรผันของสิ่งๆหนึ่งเพียงเท่านั้น [/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะฉะนั้น ความมีอยู่หรือความไม่มีอยู่ จึงเป็นภาวะแห่งการยืนยันในความมีอยู่หรือความเกิดขึ้นของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และเป็นภาวะแห่งการยืนยันในความไม่มีอยู่หรือความดับไปของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มันจึงเป็นเพียงการยืนยันภาวะแห่งการเกิดดับของสิ่งๆหนึ่ง มันเป็นการยืนยันแค่เพียงความหมายนี้[/FONT]
    [FONT=&quot] แต่เนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งมันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันอยู่อย่างนั้น มันคือสภาพแห่งความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น โดยเนื้อหาแล้ว มันย่อมไม่มีการมาหรือการไป มันย่อมเป็นสิ่งไม่รับและไม่ปฏิเสธ มันย่อมเป็นสิ่งที่ไม่คงอยู่และไม่จากไป มันย่อมไม่มีการเกิดหรือการดับ เพราะฉะนั้นเมื่อมันปราศจากความมีความเป็นซึ่งมีคุณสมบัติแห่งการเกิดขึ้นดับไป ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันจึงไม่ตกอยู่ภายใต้ “ความมีอยู่หรือความไม่มีอยู่”[/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะฉะนั้น “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” มันจึงมิใช่สิ่งที่ยืนยัน “ความมีอยู่” ของความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนซึ่งคือเนื้อหาของมัน แต่ความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนมันก็ทำหน้าที่แสดงเนื้อหาของมันเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว อันหมายถึงความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น และมันจึงมิใช่สิ่งที่ยืนยัน “ความไม่มีอยู่” ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งนอกจากความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เพราะความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนมันเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มันมิได้เกิดจากการที่ “ต้องอาศัย” สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นไม่มีอยู่ดับไปแล้วธรรมชาติดั้งเดิมแท้ถึงจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งหมายถึงความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันมิได้เป็นสิ่งยืนยันว่าพึ่งมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไปจนกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลือ


    [​IMG]
    [/FONT]
     
  17. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 83[/FONT][FONT=&quot] จิตเดิมแท้[/FONT][FONT=&quot],จิตหนึ่ง[/FONT]
    [FONT=&quot] “จิต” คือ ปรากฎการณ์ชนิดต่างๆซึ่งเป็นการแสดงออกในหลากหลายรูปแบบอันคือคุณลักษณะแห่งการปรุงแต่งที่อวิชชาความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 จนก่อให้เกิดเป็นจิตเกิดขึ้น ซึ่งมันคือภาวะแห่งสังขตธาตุอันคือธรรมธาตุซึ่งมีคุณลักษณะแห่ง การเกิดขึ้น มีความแปรปรวนตั้งอยู่ได้ไม่นาน และมีความดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ นี่คือความหมายของคำว่า “จิต”[/FONT]
    [FONT=&quot] แต่สำหรับนักศึกษาทางฝั่งโน้นผู้ซึ่งเคยอ่านคำสอนแบบเซนจากตำราคณาจารย์ทางเซนผู้มีชื่อเสียงในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็น “สูตรของเว่ยหล่าง” และ “คำสอนของฮวงโป” ต้องเจอคำบางคำเหล่านี้เช่น [/FONT][FONT=&quot] จิตเดิมแท้ ([/FONT][FONT=&quot]Essence of Mind)[/FONT][FONT=&quot] และ[/FONT][FONT=&quot] จิตหนึ่ง ([/FONT][FONT=&quot]ONE MIND)[/FONT][FONT=&quot] ซึ่งเป็นคำหลักที่ผู้แปลหนังสือสองเล่มนี้ใช้เขียนแทนภาวะธรรมซึ่งปรากฎอยู่ในหนังสือหลายๆที่ แล้วนักศึกษาทางฝั่งโน้นผู้ซึ่งเป็นผู้อ่านอาจเกิดความเข้าใจผิดว่า แท้จริงภาวะแห่งความเป็นอิสระโดยเด็ดขาดที่มันคือสภาพความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น แท้จริงมันคือ “จิต” ซึ่งเรียกมันว่าจิตเดิมแท้หรือจิตหนึ่ง ซึ่งชวนให้นักศึกษาทางฝั่งโน้นเข้าใจไปว่าสามารถจับกุมจับฉวยภาวะมันได้เพราะว่ามันคือ จิต และมันก็มีสัณฐานมีรูปร่างลักษณะขึ้นมาพอที่จะยืนยันถึงสภาพแห่งความหลุดพ้นด้วยเหตุที่เข้าใจว่ามันคือ จิต อีกเช่นเดียวกัน และนี่ก็คือความผิดพลาดอย่างมหันตร์ที่นักศึกษาทางฝั่งโน้นไปเข้าใจผิดในความหมายแห่งอักษรตัวหนังสือของคำว่า “จิต”แต่อย่างเดียว โดยที่ไม่ทำความเข้าใจในความหมายแห่งเนื้อหาธรรมอันแท้จริงของ จิตเดิมแท้และจิตหนึ่งให้อย่างกระจ่างชัดเสียก่อน[/FONT]
    [FONT=&quot] ก็เพราะว่า “จิตเดิมแท้” ในหนังสือ สูตรของเว่ยหล่าง นั้นหมายถึง [/FONT][FONT=&quot]มันเป็นของบริสุทธิ์อย่างบริสุทธิ์แท้จริง มันเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจ ความต้องเป็นอยู่ หรือภายใต้ความดับสูญ อย่างอิสระแท้จริง[/FONT][FONT=&quot] มันเป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเอง อย่างสมบูรณ์แท้จริง มันเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือความเปลี่ยนแปลง อย่างนอกเหนือแท้จริง [/FONT][FONT=&quot] มันคือสภาพความเป็นเช่นนั้นอยู่อย่างนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot] ก็เพราะว่า “จิตหนึ่ง” ในหนังสือ คำสอนของฮวงโป นั้นหมายถึง [/FONT][FONT=&quot]มันซึ่งเป็นที่ปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่ของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งทั้งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ มันไม่อาจจะถูกลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot] ก็เพราะโดยความหมายแห่งเนื้อหาของคำว่า จิตเดิมแท้และจิตหนึ่ง ความหมายของคำทั้งสองคำนี้มันหมายถึง ความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันเองอยู่อย่างนั้น มันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าอันไร้ตัวตนของมันอยู่เช่นนั้นเองอันหาจุดเริ่มต้นมิได้ ซึ่งมันปราศจากภาวะธรรมอันเกิดขึ้นและดับไปที่มันเป็นคุณลักษณะแห่งปรากฎการณ์ทางจิตต่างๆที่ถูกปรุงแต่งขึ้น เพราะฉะนั้นจิตเดิมแท้ ในหนังสือสูตรของเว่ยหล่าง และจิตหนึ่ง ในหนังสือคำสอนของฮวงโป มันก็คือความหมายเดียวกันกับคำว่า “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” ที่ปรากฎอยู่ในหนังสือ “ใจต่อใจในการฝึกตน” ที่ผู้เขียนได้แต่งขึ้นนั่นเอง มันมิใช่ “จิต” ตามที่นักศึกษาทางฝั่งโน้นหลายๆคนเข้าใจผิด ก็ขอให้พวกเธอทั้งหลายทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามนี้


    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2012
  18. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 84[/FONT][FONT=&quot] “ตถาคต” ตรัสถึงธรรมชาติ[/FONT]
    [FONT=&quot] พระตถาคตเจ้าทรงตรัสถึง “ธรรมชาติ” ซึ่งปรากฎมาในพระไตรปิฎกแห่ง ตติยนิพพานสูตร ว่า “ธรรมชาติ” นั้นคือคุณลักษณะของมันเอง โดยตัวมันเอง โดยสภาพมันเอง ซึ่งมันเป็นของมันเองอยู่อย่างนั้นโดยมิได้เกิดจากใครทำหรือเข้าไปบังคับให้มันเกิดลักษณะนั้นขึ้น “ธรรมชาติ” แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ ธรรมชาติแห่งสังขตธาตุ และ ธรรมชาติแห่งอสังขตธาตุ ตถาคตเจ้าทรงตรัสไว้ว่า [/FONT][FONT=&quot]“[/FONT][FONT=&quot] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย[/FONT][FONT=&quot] ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้ แล้ว มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย” [/FONT]
    [FONT=&quot] “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้วปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้วปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏ ”[/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมชาติแห่งสังขตธาตุ ก็คือสิ่งที่ตถาคตเจ้าได้ตรัสว่า “[/FONT][FONT=&quot]ธรรมชาติที่เกิดแล้ว[/FONT][FONT=&quot] เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว” อันหมายถึง สิ่งๆหนึ่งที่เกิดขึ้นอันเกิดจากมีอวิชชาเป็น “ปัจจัยกระทำแล้ว” ซึ่งทำให้เกิดการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 [/FONT][FONT=&quot] จนก่อให้เกิดตัณหาอุปาทานอันทำให้ “การปรุงแต่งปรากฎ” เกิดขึ้น มันจึง “เป็นแล้ว”ซึ่งอัตตาตัวตน สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมันมีลักษณะธรรมชาติของมันคือ เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว มันย่อมเป็นธรรมชาติแห่งการตั้งอยู่ได้ไม่นานมีความแปรปรวน และมันย่อมเป็นธรรมชาติที่มันต้องดับไปสิ้นไปเป็นธรรมดา ซึ่งความดับไปสิ้นไปเป็นธรรมดาอันคือคุณลักษณะแห่งธรรมชาติในสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น พระตถาคตเจ้าได้หยิบยกเรื่องธรรมชาติแห่งสังขตธาตุนี้นำไปสอนชี้แนะแก่เหล่าอริยสาวกทั้งหลายในสมัยพุทธกาลเป็นบทเรียนแรกทุกครั้งไป ท่านทรงชี้แนะว่าหนทางอันหลุดพ้นซึ่งคืออริยมรรคมีองค์แปดนั้น แท้จริงมันก็คือมรรคหรือหนทางที่มีลักษณะแห่ง “ธรรมชาติแห่งการสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดา” ตถาคตเจ้าทรงชี้หนทางธรรมชาติแห่งสังขตธาตุด้วยการตรัสว่า ขันธ์ทั้ง 5 มีความสิ้นไปเสื่อมไปดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นนักศึกษาทางฝั่งโน้นทั้งหลายหากมีความศรัทธาประสงค์ที่จะหลุดพ้น นักศึกษาทั้งหลายจึงควรทำความเข้าใจถึงความหมายแห่ง “ธรรมชาติ” เป็น “ลำดับแรก” และควรทำความเข้าใจถึงความหมายแห่งธรรมชาติของขันธ์ทั้ง 5 ที่มันล้วนดับไปสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็น “ลำดับที่สอง”[/FONT]

    [FONT=&quot] ธรรมชาติแห่งอสังขตธาตุ ก็คือสิ่งที่ตถาคตเจ้าได้ตรัสว่า [/FONT][FONT=&quot]“ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว[/FONT][FONT=&quot] ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว[/FONT][FONT=&quot]” อันหมายถึงธรรมชาติแห่งความเป็นอิสระโดยเด็ดขาดซึ่งเป็นเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าไร้อัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น ซึ่งมันปราศจากปัจจัยอันคืออวิชชาความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่น มันจึงไม่เป็นแล้วซึ่งอัตตาตัวตน มันจึงเป็นสภาพธรรมชาติแห่งการปรุงแต่งไม่ได้แล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot] ตถาคตเจ้าทรงตรัสชี้ว่า เพราะ “ความมี” ธรรมชาติแห่งอสังขตมัน “มีอยู่” ท่านจึงทรงชี้แนะให้สลัดออกซึ่งธรรมชาติแห่งสังขตธาตุอันคือธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่งซึ่งมีคุณลักษณะที่เกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นนักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลายจึงควรทำความเข้าใจถึงความหมายแห่งการ “สลัดออก” ในการดำเนินไปในธรรมชาติแห่งสังขตธาตุอันคือการเกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมดา ซึ่งนักศึกษาทั้งหลายกำลังสาละวนปฏิบัติตามมันอยู่ เป็นการทำความเข้าใจ “ลำดับที่สาม” [/FONT]
    [FONT=&quot] และนักศึกษาทางฝั่งโน้นทั้งหลายก็ควรทำความเข้าใจถึงการ “มีอยู่” อยู่แล้วซึ่งธรรมชาติแห่งอสังขตธาตุอันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าโดยหาจุดเริ่มต้นไม่ได้และก็ไม่สามารถทำลายล้างมันลงไปได้ เพราะความว่างเปล่านั้นมันคือคุณสมบัติ “ดั้งเดิมแท้” ของมันเองอยู่แล้ว มิใช่เกิดจากการที่ใครจะมาสามารถแสวงหาทำมันให้เกิดขึ้นมาได้ตามความต้องการของตน มันจึงเป็น “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” อันคือสภาพความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น และมันก็มิใช่เกิดจากการสลัดออกซึ่งธรรมชาติแห่งสังขตธาตุแล้วถึงจะเป็นเหตุทำให้เนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันปรากฎขึ้น นักศึกษาทั้งหลายควรทำความเข้าใจตรงนี้ เป็น “ลำดับสุดท้ายที่สี่”


    [​IMG]
    [/FONT]
     
  19. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot] บทที่ 85 พุทธะเป็นตัวเป็นตน[/FONT]
    [FONT=&quot] หากพวกเธอไม่เข้าใจและไม่สามารถซึมทราบในธรรมชาติแห่งพุทธะนั้นได้ ก็ด้วยความรู้ที่พวกเธอศึกษามาจากคัมภีร์ต่างๆและด้วยความมุ่งหวังที่พวกเธออยากจะหลุดพ้นจนตัวสั่น ก็ด้วยแรงจูงใจที่ถูกบีบอัดไปด้วยความรู้ต่างๆเหล่านี้ก็จะทำให้พวกเธอรีบกระโจนลงสู่สนามแห่งการประลองปัญญาอันทื่อๆของพวกเธอที่เรียกมันว่าหนทางอันบริสุทธิ์ที่เกิดจากการปฏิบัติด้วยความพากเพียรวิริยะอุตสาหะ และสิ่งๆหนึ่งซึ่งพวกเธอผลิตมันออกมาอยู่ตลอดเวลาในขณะที่เธอเร่งรีบขวนขวายในการปฏิบัติ คือ ภาพแห่งความเป็นพุทธะที่พวกเธอมุ่งหวัง มันเป็นสิ่งมุ่งหวังว่าเมื่อพวกเธอลงมือลงแรงไปเท่าไร ผลแห่งการที่เธอได้ลงแรงไปมันก็น่าจะให้ผลตามที่คาดหวังไว้ และพวกเธอก็ยังฉายภาพต่อออกมาเป็นฉากๆอีกว่า พวกเธอควรจะต้องเร่งปฏิบัติไปอีก มุ่งความเพียรพยายามไปอีกให้มากกว่านี้แล้วผลที่อาจจะได้รับในกาลข้างหน้าอาจจะทำให้พวกเธอกลายเป็นพวกๆหนึ่งซึ่งมันมีอยู่น้อยบนโลกใบนี้และเรียกพวกนั้นว่า “อรหันต์” ใช่ พวกเธออาจจะได้เป็นอรหันต์ ก็ขอให้ไปตามทางของพวกเธอเถอะ แต่เราไม่ไป ไม่ไปแน่ๆ[/FONT]
    [FONT=&quot] เพราะอะไร ก็เพราะว่าพุทธะในวิถีแห่งการปฏิบัติของพวกเธอบนหนทางบริสุทธิ์ที่พวกเธอกำลังจ้ำเดินอยู่นั้น มันเป็นพุทธะที่กลายเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาทุกๆขณะที่เธอกำลังทำความเพียรและมุ่งหวังให้พุทธะชนิดนี้ในมโนภาพที่อยู่ในหัวพวกเธอ (อันคือความคิดซึ่งเป็นผลผลิตจากเส้นสมองอันอักเสปของพวกเธอเอง) มันเกิดขึ้น มันจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เธอตั้งใจภาวนาและมันจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เธอมุ่งหวังผลแห่งการภาวนา มันเป็นเพียงจิตที่แสวงหาจิต พวกเธอเดินต่อไปเถอะบนหนทางบริสุทธิ์ที่ฉาบไร้ไปด้วยพุทธะที่กลายเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาอยู่ทุกขณะ เธอไป แต่เราไม่ไป


    [​IMG]
    [/FONT]
     
  20. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 86[/FONT][FONT=&quot] ดอกบัวแห่งพุทธะเซน ([/FONT][FONT=&quot]Zen lotus)[/FONT]
    [FONT=&quot] "สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏค่ำนั้น ท้าวมหาพรหมได้เสด็จมาเข้าเฝ้าถวายดอกบัวเป็นพุทธบูชาแล้วจึงกราบทูลอาราธนา ให้ทรงแสดงธรรมพระตถาคตจึงทรงยกพระหัตถ์ขวาอันบรรจงหยิบดอกบัวชูขึ้นท่ามกลางสันนิบาตนั้น โดยมิได้ตรัสแต่ประการใด
    ในขณะนั้นปวงมนุษย์ทั้งหลายต่างไม่เข้าใจในความหมาย มีเพียงพระมหากัสสปะผู้เดียวเท่านั้น ที่ทัศนาองค์พระบรมครูด้วยดวงตาอันเปล่งประกายจำรัส พร้อมกับรอยยิ้มละไม
    ครั้นแล้วพระโลกนาถเจ้า จึงตรัสขึ้นในท่ามกลางที่ประชุมว่า
    " ตถาคตมีธรรมจักษุอันถูกตรงนิพพาน
    ตถาคตเป็นผู้มีญาณทัศนะอันรู้จบพร้อมในธรรม
    ตถาคตเป็นผู้มีดวงจิตอันหลุดพ้นแล้ว
    ตถาคตเป็นผู้ธำรงสัจจะอันบริสุทธิ์ไม่เคลือบคลุม
    สิ่งใดอันตถาคตเป็น...ธรรมใดอันตถาคตรู้
    สิ่งนั้น ธรรมนั้น....ตถาคตได้ถ่ายทอด
    ให้แก่มหากัสสปะโดยครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว "[/FONT]

    [FONT=&quot] ก็ในครานั้น นอกจากท้าวมหาพรหมแล้วก็ยังมีหมู่ทวยเทพทั้งหลายอันหาประมาณมิได้ก็ได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ และด้วยอนาคตังสญาณแห่งความเป็นเทวาทั้งหลายทำให้เป็นที่รับรู้ในหมู่ทวยเทพว่า ธรรมของพระพุทธองค์อันคือดอกบัวที่ท่านทรงยกชูขึ้นนั้นจะได้เผยแพร่ไปเป็นที่ยอมรับแก่หมู่ชนในลักษณะการบรรลุธรรมเข้านิพพานดว้ยการอธิบายและชี้หนทางขึ้นฝั่งนิพพานกันแบบง่ายๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และการสอนธรรมแบบนี้จะมีต้นเหตุมาจากสายวงกรรมแห่งพระมหากัสสปะ [/FONT]
    [FONT=&quot] แล้วในกาลต่อมาก็มหากัสสปะนั่นเองได้นำเอาวิธีการสอนธรรมแบบง่ายๆแต่กลับมีความเข้าใจในธรรมอันลึกซึ้งไปเผยแพร่ในประเทศจีน ทั้งนี้มหากัสสปะได้เป็นบุคคลผู้ปิดทองหลังพระโดยเมื่อท่านได้ละขันธ์ 5เข้านิพพานไปแล้ว ท่านเองก็มิได้ทิ้งพระพุทธศาสนาไปแต่อย่างใด เมื่อท่านเป็นวิสุทธิเทพท่านก็ยังตามมาช่วยเก็บงานในการเผยแพ่ธรรมในลักษณะบรรลุธรรมง่ายๆนั้น ด้วยการลงมาช่วยสอนภิกษุในรุ่นต่างๆให้เข้านิพพานและสืบทอดคำสอนธรรมในลักษณะเช่นนี้สืบต่อเป็นช่วงๆ ไป จนกระทั้งคำสอนนี้ได้ถูกปรมาจารย์ ตั๊กม๊อ ซือโจ๊ว หรือ ท่านโพธิธรรม เป็นพระอรหันต์จากอินเดียได้นำเข้าไปเผยแพร่ในจีน (โดยมีมหากัสสปะอยู่เบื้องหลัง) ท่านตั๊กม้อ ถือว่าเป็นดอกบัวกลีบแรก และเมื่อคำพยากรณ์ของฝ่ายเทวาที่รู้เส้นทางกรรมวิสัยได้พยากรณ์ไว้ล่วงหน้าว่า “ เมื่อดอกบัวครบห้ากลีบเมื่อไร คำสอนในสายมหากัสสปะนี้จะเป็นที่แพร่หลายยอมรับไปทั่วโลกใบนี้ ” ก็จนกระทั้งมีโพธิสัตว์ดวงหนึ่งแห่งสวรรค์ได้ลงมาจุติบนโลกมนุษย์เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้เผยแพร่ แล้ววันนั้นเองดอกบัวก็ครบหกกลีบตามคำพยากรณ์ [/FONT]

    [FONT=&quot]โพธิสัตว์ดวงนี้มีชื่อว่า ท่านฮุ่ย เหนิง (ครูเว่ยหล่าง) ท่านเป็นผู้รับธรรมสืบทอดคำสอน “ จากจิตสู่จิต ” และคำสอนของท่านก็เป็นที่แพร่หลายโด่งดังมาจนถึงทุกวันนี้ ทางจีนเองเรียกคำสอนแบบ “ จิตสู่จิต ” ว่า “ ธยาณะ หรือ ฌาน ” เรียกสำนักท่านว่า “สำนักฝ่ายใต้” เชื่อว่า การปฏิบัตินั้นต้องปฏิบัติอย่างรวดเร็วเพราะการตรัสรู้ธรรมนั้นต้องอาศัยการ รู้อย่างฉับพลัน หลังจากนั้นก็มีการสืบทอดธรรมะต่อไปยังลูกศิษย์รุ่นหลังที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับก็คือ ครูบาฮวงโป ต่อมาไม่นานลัทธิธยาณะหรือฌานที่ได้ถือการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางและเผยแผ่ไปสู่ ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ๑๑๙๐ ถูกเรียกขนานใหม่ว่า เชน หรือ “เซน” [/FONT]
    [FONT=&quot]แบ่งออกไปได้อีก ๒ นิกายหลัก คือ [/FONT]
    [FONT=&quot] 1.โซโต[/FONT]
    [FONT=&quot] 2.รินไซ[/FONT]
    [FONT=&quot] รินไซเซน ปรมาจารย์ของเซนสายนี้คือท่าน หลินจิ อี้เสวียน มรณะภาพประมาณปี ค.ศ. [/FONT][FONT=&quot]867 ท่านเป็นศิษย์ของปรมาจารย์ หวงปอ ซีอวิ้น เซนสายนี้รุ่งเรืองทั้งในและนอกประเทศจีน ในญี่ปุ่น ท่านเมียวอัน เออิไซ เป็นผู้นำเข้าไปเผยแผ่ ในญี่ปุ่น ในราวปีค.ศ. 1191[/FONT]
    [FONT=&quot]คำสอนหนึ่งของปรมาจารย์ท่านนี้ที่สร้างความตระหนกให้กับผู้ได้ยินได้ฟังเป็นครั้งแรกคือคำสอน ที่บอกให้ฆ่าทุกสิ่งที่ขวางหน้า[/FONT][FONT=&quot] หากดูเผินๆดูจะเป็นคำสอนที่ไม่สมเหตุผลอย่างยิ่ง แต่ในวิถีแห่งเซนนั้น ไม่อาจแปลคำพูดคำสอนตรงตามตัวหนังสือได้ คำสอนเซนหนึ่งๆอาจใช้ได้กับบางคนและในบางสถานการณ์เท่านั้น ตอนที่ท่านหลินจิสอนคำสอนนี้ ท่านมุ่งจะแก้ความยึดมั่นถือมั่นที่มีอยู่ในตัวศิษย์ผู้หนึ่งซึ่งมีภูมิธรรม ลึกซึ้งแล้ว แต่ยังยึดมั่นถือมั่นในตัวตนขั้นสุดท้ายอยู่ ท่านจึงสอนคำสอนนี้ไป เพื่อช่วยปลดศิษย์ให้หลุดพ้นจากพันธนาการ[/FONT]
    [FONT=&quot]คำสอนหลักประการหนึ่งของสายหลินจิ หรือ รินไซนี้ คือ การสอนให้มองหาธรรมชาติที่แท้ของตน[/FONT]
    [FONT=&quot]“ เมื่อไร้ใจ ย่อมบรรลุ ” [/FONT]
    [FONT=&quot]“ จิตเดิมแท้คือพุทธะ ” [/FONT]
    [FONT=&quot] “ ธรรมชาติที่แท้ของคนคือจิต จิตเดิมแท้คือพุทธะ พุทธะคือธรรม”
    “ ใช้ใจประทับใจ แต่ละใจไม่ต่างกัน ” เป็นต้น


    เข้าไปอ่าน"หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน" (the core of zen)
    ได้ที่

    1.http://www.facebook.com/ammarintharo

    2.http://www.facebook.com/profile.php?id=100004436700138

    3.http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398



    และเข้าไปฟัง ธรรมะใจต่อใจในการฝึกตน mp 3 ( video )
    ได้ที่

    1.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=icz6yul9yv8"]???????? ????????????????? 1.flv - YouTube[/ame]
    2.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=1hlS-CG4wmE"]???????? ????????????????? 2.flv - YouTube[/ame]
    3.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=qe8X_5yjnMk"]???????? ????????????????? 3.flv - YouTube[/ame]
    4.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=4EI5IGtz4yU"]???????? ????????????????? 4.flv - YouTube[/ame]
    5.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=AKRWLwM23Lc"]???????? ????????????????? 5.flv - YouTube[/ame]
    6.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=fA7sw6VRuQ8"]???????? ????????????????? 6.flv - YouTube[/ame]
    7.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=38_I31rPrAk"]???????? ????????????????? 7 - YouTube[/ame]
    8.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=586EvinSQfI"]???????? ????????????????? 8 - YouTube[/ame]
    9.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=As7Cv50I_s8"]???????? ????????????????? 9 - YouTube[/ame]


    [​IMG]
    [/FONT][/SIZE]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2013

แชร์หน้านี้

Loading...