"ใจต่อใจในการฝึกตน" นิกายเซน...ธรรมะสำหรับผู้เริ่มต้น

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ใจต่อใจ, 23 สิงหาคม 2012.

  1. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]คำนำ[/FONT]
    [FONT=&quot]ธรรมะในหนังสือ “ใจต่อใจในการฝึกตน” นี้ เป็นเนื้อหาธรรมที่ตรงตามแบบแผนแห่งคำสอนนิกายเซนในป ระเทศจีนและญี่ปุ่น ซึ่งทางครูสอนเซนทั้งหลายในรุ่นก่อนๆได้สืบทอดคำสอนเหล่านี้มาโดยตรงจากองค์พระศาสดา เพื่อนำไปชี้ทางหลุดพ้นให้แก่บรรดาลูกศิษย์ของตนเองมาหลายต่อหลายรุ่นแล้ว เป็นการสอนโดยมุ่งเน้นที่จะคุ้ยเขี่ยธรรมะให้ลูกศิษย์ได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ซึ่งคือ ตถตา ความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น มันเป็นธรรมชาติแห่งธรรมที่อยู่นอกเหนือภาวะความหลุดพ้นและความไม่หลุดพ้น ธรรมะในหนังสือเล่มนี้จึงถูกเขียนขึ้นตามแบบแผนแห่งคำสอนเซนอย่าง-แท้จริง โดยแบ่งเป็น 2 ภาคใหญ่ [/FONT][FONT=&quot]คือ ภาค 1 สังขตธาตุ และ ภาค 2 อสังขตธาตุ [/FONT]
    [FONT=&quot]ในส่วนของ ภาค 1 สังขตธาตุนั้น บรรดาครูสอนเซนทั้งหลายได้หยิบยกเรื่องธรรม คือ สังขตธาตุ อันคือคุณลักษณะแห่งการที่ยังเข้าใจผิดโดยยังเห็นว่า มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น และตั้งอยู่ได้ไม่นาน ย่อมมีความแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดานั้น มาสอนลูกศิษย์ของตนเพื่อชี้ให้เห็นว่า ธรรมอันคือคุณลักษณะแห่งสังขตธาตุนั้นยังไม่ใช่ธรรมะอันแท้จริง ซึ่งคือ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ หากใครได้หลงผิดหยิบยกธรรมเหล่านี้ขึ้นมาพิจารณาและปฏิบัติก็จะมีแต่ทำให้เข้าไปติดในการปรุงแต่งในวิธีปฏิบัติและติดปรุงแต่งในการหวังผลแห่งการปฏิบัติอยู่เนืองๆ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ผู้เขียนจึงได้เขียนธรรมะในส่วนของสังขตธาตุขึ้น เพื่อให้นักศึกษาทางฝั่งโน้นทุกท่านได้อ่านและพิจารณาในรายละเอียดแห่งสังขตธรรมนั้นอย่างถี่ถ้วน เพื่อที่จะได้สลัดออกซึ่งธรรมเหล่านี้ทิ้งไปเสีย ผู้เขียนจึงขอเตือนนักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลายว่า หากได้หยิบหนังสือใจต่อใจในการฝึกตนขึ้นมาอ่านเพื่อศึกษาธรรมะในหนังสือเล่มนี้แล้ว ก็ขอให้นักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลายพึงเฝ้าระวังเตือนตนเองให้มากๆว่า การอ่านเพื่อศึกษาธรรมอันคือ สังขตธาตุ ในภาค 1 นั้น เป็นการอ่านเพียงเพื่อทำความเข้าใจว่าธรรมในลักษณะนี้ยังไม่ใช่ธรรมอันแท้จริงที่จะทำให้นักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลายหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้ จึงเป็นเพียงการอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพื่อที่จะได้สลัดออกซึ่งธรรมเหล่านี้อันว่าด้วยการปฏิบัติและการรอคอยผลแห่งการปฏิบัติทิ้งไปสีย มิใช่เป็นการอ่านเพื่อน้อมนำมาปฏิบัติแต่อย่างใด[/FONT]
    [FONT=&quot]ในส่วนของภาค 2 อสังขตธาตุนั้น บรรดาครูสอนเซนทั้งหลาย ได้หยิบยกเรื่องธรรมคือ อสังขตธาตุ อันคือคุณลักษณะแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ซึ่งคือ ตถตา ความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น มาสอนลูกศิษย์ของตนเพื่อชี้ให้เห็นว่า ธรรมอันคือคุณลักษณะแห่งอสังขตธาตุนั้น เป็นธรรมะอันแท้จริง คือ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ซึ่งเป็นธรรมะที่จะต้องใช้ความตั้งใจเข้าไปเพื่อศึกษาให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อที่จะได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมนั้นได้ ผู้เขียนจึงได้พยายามเขียนธรรมะในส่วนของอสังตธาตุขึ้นให้ครบทุกประเด็นเท่าที่ผู้เขียนจะรำลึกได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ที่ตั้งใจศึกษา [/FONT]
    [FONT=&quot]และท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนก็มีความมุ่งหวังอย่างมากที่ต้องการให้นักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลาย ได้ตระหนักชัดถึงความหมายที่แท้จริงในเนื้อหาแห่งธรรมอันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ และสามารถซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นได้ ทั้งนี้ เป็นความมุ่งหวังเพื่อให้นักศึกษาทุกคน มีชีวิตที่เต็มอิ่มและเพียงพอใจ เปี่ยมไปด้วยสันติภาพตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต [/FONT]

    [FONT=&quot]23 พฤษภาคม 2555[/FONT]
    [FONT=&quot]ครูสอนเซน[/FONT]
    [FONT=&quot]พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท[/FONT]

    เข้าไปอ่าน"หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน" (the core of zen)
    ได้ที่

    1.http://www.facebook.com/ammarintharo

    2.http://www.facebook.com/profile.php?id=100004436700138

    3.คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน | Facebook



    และเข้าไปฟัง ธรรมะใจต่อใจในการฝึกตน mp 3 ( video )
    ได้ที่

    1.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=icz6yul9yv8"]???????? ????????????????? 1.flv - YouTube[/ame]
    2.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=1hlS-CG4wmE"]???????? ????????????????? 2.flv - YouTube[/ame]
    3.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=qe8X_5yjnMk"]???????? ????????????????? 3.flv - YouTube[/ame]
    4.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=4EI5IGtz4yU"]???????? ????????????????? 4.flv - YouTube[/ame]
    5.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=AKRWLwM23Lc"]???????? ????????????????? 5.flv - YouTube[/ame]
    6.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=fA7sw6VRuQ8"]???????? ????????????????? 6.flv - YouTube[/ame]
    7.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=38_I31rPrAk"]???????? ????????????????? 7 - YouTube[/ame]
    8.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=586EvinSQfI"]???????? ????????????????? 8 - YouTube[/ame]
    9.[ame="http://www.youtube.com/watch?v=As7Cv50I_s8"]???????? ????????????????? 9 - YouTube[/ame]



    [FONT=&quot][​IMG][/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2013
  2. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 1[/FONT][FONT=&quot] คุณลักษณะ[/FONT]
    [FONT=&quot]ทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ล้วนแต่คือเนื้อหาแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน คือเนื้อหาแห่งธรรมชาติที่มันเป็นเช่นนั้นของมันเองแบบนี้อยู่แล้ว แต่ด้วยความที่มีหลายดวงจิตที่ยังถูกอวิชชาความไม่รู้ถูกห่อหุ้มเอาไว้ดวงจิตเหล่านี้จึงมองสิ่งรอบข้างว่า [/FONT][FONT=&quot]“ มีสิ่งนั้นอยู่ ” เป็นตัวเป็นตนอยู่ มีเรามีเขาอยู่ มีเราและมีสิ่งนั้นอยู่[/FONT]
    [FONT=&quot]ครั้งเมื่อสันดุสิตบรมหาโพธิสัตว์ได้มาจุติบนโลกใบนี้ และได้ตรัสรู้ถึงธรรมซึ่งคือธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ในนาม “พุทธโคดมพระพุทธเจ้า” พระพุทธองค์จึงได้ทรงแจกแจงธาตุอันเป็นธรรมไว้ตามความเป็นจริงและโดยแท้จริงแล้ว “ ธรรมธาตุ ” ตามความเป็นจริงซึ่งตรงต่อสัจจธรรมมีอยู่ประการเดียว คือ อสังขตธาตุอันเป็นธาตุหรือคุณลักษณะที่ไม่ใช่เป็นการปรุงแต่ง คือ ธาตุที่ “แสดงเนื้อหาลักษณะแห่งความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง” คือความว่างเปล่าโดยตัวมันเองอยู่แล้ว คือกฎธรรมชาติข้อเดียวที่มันแสดงตัวของมันปรากฎคุณลักษณะของมันอยู่แบบนั้น แต่ด้วยความเมตตาที่พระพุทธองค์มีต่อบรรดาสรรพสัตว์น้อยใหญ่ที่ยังเวียนว่ายตายเกิดและรอบบารมีไม่เท่ากัน พระพุทธองค์จึงทรงแจกแจงธรรมเพื่อเอื้อต่อบรรดาสรรพสัตว์ที่รอบบารมียังไม่ถึงขั้น “ ที่จะเรียนรู้ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจและตระหนักชัดถึงภาวะธรรมชาติล้วนๆ และเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมอันคือธรรมชาติซึ่งเป็นอสังขตธาตุได้” พระองค์จึงทรงแจกแจงธรรมซึ่งยังไม่ตรงต่อธรรมชาติที่แท้จริงไว้ด้วย ธรรมธาตุดังกล่าวคือ สังขตธาตุ ซึ่งเป็นธาตุปรุงแต่งนั่นเอง เพราะโดยหลักแล้วทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยเนื้อหามันเองอยู่แล้ว แต่เนื่องด้วยอวิชชาความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้า คือ รูป วิญญาณ สัญญา สังขาร เวทนา ซึ่งก่อให้เกิด ตัณหา อุปาทาน ความอยากจนกลายเป็นความเป็นตัวเป็นตนเป็นอัตตาขึ้นมา มันจึงผิดหลักธรรมชาติ เมื่อยังไม่เข้าใจว่าทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วและยังเข้าใจผิดอีกว่าทุกสรรพสิ่งนั้นคือตัวตน คือเราคือเขา คือทุกๆสิ่งขึ้นมา พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า “ สิ่งๆนั้นย่อมอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้แน่นอนอยู่แล้วโดยตัวมันเองเช่นกัน มันย่อมตั้งอยู่ได้ไม่นานมีความแปรปรวนไปดับไปเป็นธรรมดา ตามสภาพธรรมชาติของมันอยู่แล้ว”[/FONT]


    [FONT=&quot]พระพุทธองค์จึงทรงแจกแจงธรรมธาตุอันคือคุณลักษณะไว้ สองประการคือ[/FONT]
    [FONT=&quot]สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา[/FONT][FONT=&quot] สังขาร (ขันธ์ 5) ทั้งหลายไม่เที่ยง[/FONT]
    [FONT=&quot]สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา[/FONT][FONT=&quot] สังขาร (ขันธ์ 5) ทั้งหลายเป็นทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot]สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา[/FONT][FONT=&quot] ธรรมทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่ใช่ตัวไม่ใช่ [/FONT]
    [FONT=&quot]ตน [/FONT]

    [FONT=&quot]1.อสังขตธาตุ คือ คุณลักษณะอันว่างเปล่าจากความหมายแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ด้วยธรรมชาติที่มันแสดงเนื้อหาคุณลักษณะไว้แบบนี้โดยเนื้อหามันเองอยู่เช่นนี้ มันจึงไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเลย ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งตั้งอยู่ได้และจึงไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งดับไปเลยเช่นกัน อสังขตธาตุ จึงเป็น “ กฎธรรมชาติอันแท้จริง ” ข้อเดียวเท่านั้น[/FONT][FONT=&quot] (สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา)[/FONT]

    [FONT=&quot]2.สังขตธาตุ คือ คุณลักษณะอันเป็นการปรุงแต่งซึ่งทำให้เกิดเป็นตัวเป็นตนเป็นทุกข์ขึ้นมา และโดยธรรมดาในเนื้อหาแห่งการปรุงแต่งนั้น เมื่อมันเกิดขึ้นมันก็ย่อมตั้งอยู่ได้ไม่นานและมีความแปรปรวนไม่เที่ยงดับไปเป็นธรรมดาอยู่แล้วโดยสภาพมันเอง (สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา , สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา)[/FONT]

    [FONT=&quot][​IMG][/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2012
  3. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]ภาค 1[/FONT]


    [FONT=&quot]สังขตธาตุ[/FONT]
























    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.2210740/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2012
  4. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]"คนของเรา"[/FONT]
    [FONT=&quot]ย่อมขึ้นฝั่งพระนิพพาน...ทุกดวง[/FONT]
    [FONT=&quot]ภายใต้ความโอบอุ้มปีกพุทธะ[/FONT]
    [FONT=&quot]แห่ง "ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ "[/FONT]
    [FONT=&quot]ที่เราจักหยิบยื่นให้ตามวาระและโอกาส [/FONT]
    [FONT=&quot]ด้วยมิตรไมตรี..ที่เคยมีให้กันเสมอมา [/FONT]









    [FONT=&quot]ครูสอนเซน [/FONT]
    [FONT=&quot]พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท [/FONT]



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2012
  5. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 2[/FONT][FONT=&quot] ปุพเพนิวาสนุสติญาณ[/FONT]
    [FONT=&quot]ครั้งเมื่อ “สิทธัตถะ”ได้กลับใจเลิกทรมาณตนด้วยความเข้าใจผิดว่าการกระทำประพฤติข้อวัตรดังกล่าวจะเป็นหนทางทำให้พ้นทุกข์ แต่แท้ที่จริงเป็นเพียงศีลพรตปรามาสคือข้อวัตรที่เต็มไปด้วยความงมงายในมิจฉาทิฐิ ณ ปฐมยามแห่งราตรีในวันตรัสรู้ “สิทธัตถะ” จึงหันมาทำจิตให้สงบนิ่งปราศจากความปรุ่งแต่งวุ่นวายในเรื่องต่างๆ ด้วยการเจริญอานาปานสติเข้าถึงภาวะอัตตาละเอียดปราณีตในองค์ฌาณ 4 และด้วยเหตุปัจจัยที่ว่า “เพราะมีสิ่งนี้จึงทำให้เกิดสิ่งนี้” ของ “สิทธัตถะ” ที่จะทำให้ท่านได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จึงทำให้เกิดภาวะการลากจูงให้ท่านเข้าไปรับรู้ถึงเรื่องราวในอดีตชาติของตนเองที่ตนเคยเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวตนของท่านที่ทำให้ “ท่านสิทธัตถะ” ต้องเวียนว่ายตายเกิดในอดีตชาตินับครั้งไม่ถ้วน ตรงนี้เรียกว่า “ปุพเพนิวาสนุสติญาณ” เป็นการเข้าไปรับรู้การระลึกชาติซึ่งเป็นความรู้อันคือเหตุให้ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในอดีต[/FONT]

    [FONT=&quot][​IMG][/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2012
  6. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บัวที่บานทุกดอกมัน [/FONT]
    [FONT=&quot]ล้วนมาจากโคลนตม [/FONT]
    [FONT=&quot]อันแปดเปื้อนโสมม [/FONT]
    [FONT=&quot]แห่งความมีความเป็นทั้งสิ้น [/FONT]
    [FONT=&quot]อย่าเอาดีชั่วในอดีตของตนเอง [/FONT]
    [FONT=&quot]มาปิดกั้นบารมีในเส้นทางหลุดพ้น [/FONT]
    [FONT=&quot]ที่ตนมุ่งหวังในเวลานี้วินาทีนี้ [/FONT]
    [FONT=&quot]คนเราต่างก็ทำดีทำชั่วมา [/FONT]
    [FONT=&quot]ในรูปแบบที่แตกต่างกันไปเพียงเท่านั้น [/FONT]
    [FONT=&quot]ดีๆชั่วๆ ดีมาก ชั่วมาก ก็เสมอกันด้วย [/FONT]
    [FONT=&quot]ความเป็นอัตตาตัวหนึ่ง [/FONT]
    [FONT=&quot]ที่มันย่อมแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดา [/FONT]
    [FONT=&quot]อย่าไปใส่ใจถึงการกระทำ [/FONT]
    [FONT=&quot]ในอดีตของตนที่ผ่านมาเลย[/FONT]


    [FONT=&quot][​IMG][/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2012
  7. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [FONT=&quot]บทที่ 3[/FONT][FONT=&quot] จุตูปปาตญาณ[/FONT]
    [FONT=&quot]ครั้งล่วงเข้าเวลามัชฌิมยามในราตรีแห่งการตรัสรู้ ด้วยเหตุปัจจัยที่ว่า “เพราะมีสิ่งนี้จึงทำให้เกิดสิ่งนี้” ของ “สิทธัตถะ” ที่จะทำให้ท่านได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอีกเช่นกัน จึงทำให้เกิดภาวะการลากจูงให้ “สิทธัตถะ” เข้าไปรับรู้ถึงเรื่องราวการจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ทำให้ท่านเห็นสัตว์ทั้งหลายกำลังตายและเกิดในภพภูมิต่างๆตามผลแห่งกรรม[/FONT]
    [FONT=&quot]ซึ่งเป็นการรับรู้ว่าบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต่างได้ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ของตน แล้วต่างก็ได้กระทำกรรมในแต่ละภพแต่ละชาติ และกรรมนั้นได้ส่งผลให้สัตว์ทั้งหลายต้องตายและไปเกิดในภพภูมิต่างๆไม่ว่าจะเป็น สวรรค์ โลกมนุษย์ และภูมิสัตว์นรก อย่างไม่มีที่สิ้นสุด [/FONT]
    [FONT=&quot]การเข้าไปรับรู้ตรงนี้ทำให้ “สิทธัตถะ” ได้มีความรู้เกี่ยวกับระบบกรรมวิสัยของมวลหมู่สรรพสัตว์ที่มีความเกี่ยวโยงกันเป็นกลุ่มๆต่อกันในแต่ละส่วน ซึ่งมีรายละเอียดเนื้อหาทางกรรมแตกต่างกันไปและมันยุ่งเหยิงซับซ้อนเหมือนหญ้าปล้องที่พันกัน[/FONT]


    [FONT=&quot][​IMG][/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2012
  8. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    ถ้าจะอ่อนอ่อนให้เห็นเป็นเส้นไหม
    ผูกพยัคฆ์เอาไว้โขยกเฆี่ยน
    ถ้าจะแข็งแข็งให้เป็นเช่นวิเชียร
    จะได้เจียรแก้วกระจกดูเพลินตา
    พวกเจ้า คือ เพชรที่ต้องเจียรไน
    เหลี่ยมตัวเองให้ได้ดั่งแวววาว<O:p</O:p



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2012
  9. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 4 หลุดพ้นจากความเห็นผิดต่างๆ
    ในชมพูทวีปสมัยนั้นได้มีเจ้าลัทธิต่างๆเผยแพร่ทิฏฐิความเห็นของตนซึ่งเป็นความเข้าใจผิดของเจ้าลัทธินั้นเอง ความเห็นผิดต่างๆในยุคนั้นแบ่งออกเป็นลักษณะสองกลุ่มใหญ่ดังนี้ คือ<O:p</O:p
    สัสสตทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าทุกสรรพสิ่งนั้นยั่งยืน หากเคยยึดมั่นถือมั่นในขันธ์อย่างไรตายไปก็ต้องไปเกิดในสภาพขันธ์เช่นนั้นอีกเสมอ เช่น “คน” เมื่อตายไปแล้วก็ต้องไปเกิดเป็น “คน” อีก ไม่มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น<O:p</O:p
    อุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็นว่าทุกสรรพสิ่งนั้นขาดสูญตายแล้วต้องสูญ ไม่ต้องไปเกิดใหม่ ถึงเกิดใหม่ก็ไม่ใช่ความเป็นเราอีก<O:p</O:p
    <O:p

    ความเห็นผิดในทิฏฐิทั้งสองนี้ ไม่เชื่อเรื่องผลแห่งกรรมว่าทำกรรมเช่นไรแล้วต้องได้รับผลแห่งกรรมเช่นนั้น ไม่เชื่อเรื่องภพภูมิที่ต้องสลับสับเปลี่ยนไปเกิดตามเนื้อหาแห่งกรรมการกระทำนั้นๆ<O:p</O:p
    แต่ความรู้ของ “สิทธัตถะ” ในเรื่อง ปุพเพนิวาสนุสติญาณและจุตูปปาตญาณในห้วงเวลาแห่งปฐมยามและมัชฌิมยามราตรีที่ผ่านมา ทำให้ท่านเข้าใจในเรื่องการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นของขันธ์ทั้งหลาย ที่ว่าเมื่อได้กระทำกรรมในลักษณะต่างๆ กรรมนั้นก็จะส่งผลทำให้ตายแล้วต้องไปเกิดใหม่เพื่อชดใช้กรรมที่เคยได้ประกอบทำมาในอดีตชาติและต้องไปเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบสิ้นเพราะเหตุที่ได้กระทำกรรมอยู่ตลอดเวลาทุกภพชาติไป<O:p</O:p
    ความรู้ของ “ สิทธัตถะ ” ตรงนี้ทำให้ท่านเข้าใจในเรื่อง การเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์และผลแห่งการกระทำกรรมนั้นส่งผลทำให้ตายแล้วต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ เป็นการรู้เห็นตามความเป็นจริงในเส้นทางการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ทั้งหลายทำให้ “ สิทธัตถะ ” หลุดพ้นจากความเห็นผิดต่างๆในยุคนั้นและไม่เดินหลงทางในเส้นทางตรัสรู้ของท่านอีก



    [​IMG]<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2012
  10. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    ก่อนจะมี
    มันก็ไม่เคยมีมาก่อน

    [​IMG]<O:p
     
  11. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 5 ทุกข์
    ในปัจฉิมยามแห่งราตรีตรัสรู้“สิทธัตถะ” ได้ไล่เรียงวิเคราะห์ถึงเหตุและผลที่ทำให้ท่านและสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องไปเวียนว่ายตายเกิดตามภพภูมิต่างๆ เพราะการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 “ท่านสิทธัตถะ” ก็ได้สรุปข้อเท็จจริงต่างๆที่ท่านได้วิเคราะห์และกรองออกมาดังนี้ว่า แท้จริงแล้วมันคือการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน ซึ่งเรียกว่า ปฏิจสมุปบาท มันก็คือตัวทุกข์หรือการปรุงแต่งเป็นจิตนั่นเอง<O:p


    การที่ “ทุกข์” หรือ “จิต” หนึ่งชุดจะเกิดขึ้นได้นั้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัยต่อเนื่องกัน “ท่านสิทธัตถะ” ได้แจกแจงไว้ดังนี้<O:p
    • เพราะอวิชชา (ความไม่รู้) เป็นปัจจัยสังขาร(การปรุงแต่ง) จึงมี<O:p
    • เพราะสังขาร(การปรุงแต่ง) เป็นปัจจัยวิญญาณ (การรับรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) จึงมี<O:p
    • เพราะวิญญาณ(การรับรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เป็นปัจจัย นามรูป(ขันธ์ทั้ง 5) จึงมี<O:p
    • เพราะนามรูป(ขันธ์ทั้ง 5)เป็นปัจจัย สฬายตนะ (ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ) จึงมี<O:p
    • เพราะสฬายตนะ (ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ) เป็นปัจจัย ผัสสะ(การสัมผัสกระทบ) จึงมี<O:p
    • เพราะผัสสะ(การสัมผัสกระทบ) เป็นปัจจัย เวทนา(ความรู้สึกต่างๆ) จึงมี<O:p
    • เพราะเวทนา(ความรู้สึกต่างๆ)ป็นปัจจัย ตัณหา(ความอยาก) จึงมี<O:p
    • เพราะตัณหา(ความอยาก) เป็นปัจจัย อุปทาน(ความยึดมั่นถือมั่น) จึงมี<O:p
    • เพราะอุปทาน(ความยึดมั่นถือมั่น) เป็นปัจจัย ภพ(การมีภาวะ) จึงมี<O:p
    <O:p
    • เพราะภพ(การมีภาวะ) เป็นปัจจัย ชาติ (การเกิดอัตตา"ตัวตน") จึงมี<O:p
    • เพราะชาติ(การเกิดอัตตา"ตัวตน") เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ(ความทุกข์) จึงมี<O:p
    <O:p
    “ ปฏิจสมุปบาท” หนึ่งชุด ก็คือ ทุกข์หรือการปรุงแต่งเป็นจิตหนึ่งครั้งนี่เองที่ทำให้ “ท่านสิทธัตถะ” และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดแบบไม่จบไม่สิ้น เพราะเหตุแห่งอวิชชาความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 และปรุงแต่งจนก่อให้เกิดอัตตาตัวตน เป็นเรา เป็นเขา กลายเป็นจิตต่างๆขึ้นมา ซึ่งก็คือการปรุงแต่งกลายเป็น “ความคิด” ขึ้นมานั่นเอง <O:p
    <O:p
    ความคิดทั้งปวง คือ ปฏิจสมุปบาท<O:p
    ความคิดทั้งปวง คือ สังขตะธรรม (ธรรมอันปรุงแต่ง)
    ความคิดทั้งปวง คือ จิตที่ปรุงแต่ง<O:p
    ความคิดทั้งปวง คือ ทุกข์ นั่นเอง



    [​IMG]<O:p
    <O:p
     
  12. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    ถ้าพวกเธอยังคงยึดเหนี่ยวอยู่
    ในความสังเกตเห็นว่า ยังมีอะไรบางอย่าง...
    แม้จะเล็กเท่าเศษหนึ่งส่วนร้อยของธุลีเม็ดหนึ่งก็ตาม
    อาจตั้งอยู่ได้โดยความเป็นตัวเป็นตนอยู่ดังนี้แล้ว
    ต่อให้มีความเชี่ยวชาญแตกฉานอย่างสมบูรณ์
    ในทุกๆคัมภีร์ทั้งหมดเท่าที่เธอจะรื้อค้นศึกษาได้
    มันก็ยังล้มเหลวต่อการที่จะช่วยเธอ
    ให้ซึมทราบต่อธรรมชาติแห่งพุทธะนั้นได้แต่เมื่อส่วนที่ละเอียดที่สุดของทุก ๆ ส่วน
    ถูกเห็นเป็นความไม่มีตัวตนไปแล้วทั้งหมดเท่านั้น
    ก็ถือว่าเธอได้ซึมทราบต่อธรรมชาติแห่งพุทธะแล้ว




    [​IMG]<O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2012
  13. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 6 เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
    หลังจากที่ “สิทธัตถะ” ได้วิเคราะห์ถึงเนื้อหาแห่ง ปฏิจสมุปบาท คือ การเกิดขึ้นพร้อมเพรียงแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกันซึ่งก็คือตัวทุกข์นั่นเอง ก็ทำให้ “ท่านสิทธัตถะ” ทราบถึงสาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ด้วย
    <O:pก็เพราะ “ความไม่รู้” นั่นเองที่พาสรรพสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 เป็น “ความไม่รู้” ในเรื่องกฎธรรมชาติที่ว่า แท้จริงแล้วไม่มีทุกสรรพสิ่งอยู่เลยไม่มีเรา ไม่มีเขา มันคือความว่างเปล่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว ความไม่รู้ (อวิชชา)ในเรื่องกฎธรรมชาตินี้เองทำให้เกิดความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 โดยเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์แห่งเวทนา คือ ความรู้สึกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สุขเวทนา (ความรู้สึกที่เป็นสุข) ทุกขเวทนา(ความรู้สึกที่เป็นทุกข์) หรือ อทุกขมสุขเวทนา(ความรู้สึกเฉยๆที่ไม่สุขไม่ทุกข์) จนก่อให้เกิด ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ กลายเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมา กลายเป็นเราเป็นเขาขึ้นมา
    <O:pนี่คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ หรือ สมุทัย นั่นเอง


    [​IMG]<O:p
     
  14. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    ไม่ใช่ว่า “ ต้อง ” ว่างเปล่า
    เพราะมันจะเป็นการทำความว่างเปล่า
    <O:pให้มีตัวตนขึ้นมา
    <O:pแต่มันคือ ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าอยู่แล้ว
    <O:pมันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น
    <O:pความว่างเปล่าที่ว่า


    [​IMG]<O:p
     
  15. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    เพราะด้วยวิธีคิดแบบเซน
    จะไม่มีวันพูดว่า "มีหนทางไปสู่สัจธรรม"
    <O:pเนื่องจากการพูดเช่นนี้
    <O:pแสดงว่าตัวผู้พูดยังมีระยะห่างจากสัจธรรมอยู่
    <O:pซึ่ง “เซน” ไม่เห็นเช่นนั้น
    <O:pเพราะจากมุมมองแบบเซนจะไม่อาจคาดคิดได้ว่า
    <O:pคนเรามีระยะห่างจากสัจธรรม แม้ชั่วขณะจิต
    <O:pเนื่องเพราะ"คนเราคือ สัจธรรม” <O:p
    ที่เผยตัวออกมาต่างหาก





    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2012
  16. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 7 ความดับไปแห่งทุกข์
    การที่รู้ว่า ”ทุกข์” เกิดขึ้นเพราะ ความไม่รู้คืออวิชชาพาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ทำให้ “สิทธัตถะ” ไตร่ตรองและพิจารณาไคร่ครวญถึงเหตุและผล จนในห้วงเวลาปัจฉิมยามแห่งคืนตรัสรู้นั่นเองทำให้ “ท่านสิทธัตถะ” ได้ตระหนักชัดว่าการออกจากกองทุกข์ได้นั้น ก็คือ “ความที่ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 เพื่อก่อให้เกิด ตัณหา อุปาทาน เป็นตัวเป็นตนเป็นอัตตาขึ้นมา” นั่นเอง
    “ท่านสิทธัตถะ” รู้ว่า เพราะเหตุที่ทุกข์นั้นมันเกิดมาเพราะความไม่รู้คืออวิชชาก็จริงอยู่ แต่โดยสภาพความทุกข์นั้น “ ก็โดยตัวมันเอง โดยคุณสมบัติมันเอง โดยคุณลักษณะมันเอง ” นั้น มันตั้งอยู่ได้ไม่นาน และทุกข์นั้นมันก็ดับไปโดยตัวมันเองเป็นธรรมดาอยู่แล้ว “ท่านสิทธัตถะ” จึงตระหนักชัดว่า
     
    ความทุกข์ ดับไปโดยตัวมันเองทำให้ ชาติ ดับ
    ชาติ ดับไปทำให้ ภพดับ
    ภพ ดับไปทำให้ อุปาทานดับ
    อุปาทาน ดับไปทำให้ ตัณหาดับ
    ตัณหา ดับไปทำให้ เวทนาดับ
    เวทนา ดับไปทำให้ ผัสสะ ดับ
    ผัสสะ ดับไปทำให้ สฬายตนะดับ

    สฬายตนะ ดับไปทำให้ นามรูปดับ
    นามรูป ดับไปทำให้ วิญญาณดับ
    วิญญาณ ดับไปทำให้ สังขารดับ
    สังขาร ดับไปทำให้ อวิชชา ดับ
     

    เมื่ออวิชชาความไม่รู้จะดับไปได้ ก็ด้วย “ ความรู้ ”ที่ว่า เพราะแท้ที่จริงแล้วทุกสรรพสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาเป็นทุกข์นั้น โดยสภาพมันเองนั้นมันตั้งอยู่ได้ไม่นานแล้วมันก็ล้วนดับไปโดยตัวมันเองอยู่แล้วเป็นธรรมดา เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่ควรเข้าไปเนื่อง ไม่ควรเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวนในความคิดนั้นในอาการจิตที่ปรุงแต่งนั้นให้มันยืดยาวออกไป
    เมื่อไม่เข้าไปเนื่อง ไม่เข้าไปเนิ่นช้า ก็ทำให้ “ท่านสิทธัตถะ” กลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปเป็นธรรมดาของทุกข์
    และ “สิทธัตถะ” ยังได้ตระหนักชัดด้วยความเข้าใจอีกว่า แท้จริงแล้วทุกสรรพสิ่งมันไม่ใช่ตัวใช่ตนอยู่แล้ว
    โดยธรรมชาติ ไม่มีเราอยู่แล้ว
    โดยธรรมชาติ เป็นเพียงแต่ กายกับจิต
    โดยธรรมชาติ เป็นเพียงแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    รูป คือ รูปกาย เช่น ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย ใจ
    วิญญาณ คือการรับรู้ถึงสิ่งที่เข้ามาทางรูป ( ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย ใจ )
    โดยธรรมชาติ เมื่อมีเหตุปัจจัย เข้ามาทางรูป เช่น
    ภาพ ที่เข้ามาทาง ตา
    เสียง ที่เข้ามาทาง หู
    กลิ่น ที่เข้ามาทาง จมูก
    รสชาติ ที่เข้ามาทาง ลิ้น
    การสัมผัสสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาทาง ผิวกาย
    สิ่งที่ผุดขึ้นในความรู้สึก ที่เข้ามาทาง ใจ
    วิญญาณคือการรับรู้ถึงการเข้ามาของสิ่งต่างๆเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง กลิ่น รสชาติการสัมผัสสิ่งต่างๆหรือสิ่งที่ผุดขึ้นในความรู้สึก ที่เข้ามาทางทวารทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกายหรือใจ
    สรุป
    เหตุปัจจัย ที่เข้ามาทาง รูป และ มีการรับรู้การเข้ามา(วิญญาณ)
    สามสิ่งสิ่งนี้ เป็นการกระทบกัน เรียกว่า ผัสสะ
    สัญญา คือความจำได้หมายรู้ว่า สิ่งที่เข้ามาทางรูปนั้นคืออะไร
    สังขารคือการปรุงแต่งในรายละเอียดทั่วๆไปแบบเสร็จสรรพ ของเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางรูปและมีการรับรู้ถึงการเข้ามาและก่อให้เกิดการกระทบกัน
    เวทนา คือความรู้สึก ที่มีต่อเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางรูป
    โดยหลักใหญ่ มี 3 เวทนาคือ
    สุขเวทนา คือความรู้สึกที่เป็นสุขต่อเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางรูป
    ทุกขเวทนา คือความรู้สึกที่เป็นทุกข์ต่อเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางรูป
    อทุกขมสุขเวทนา คือความรู้สึกที่เป็นกลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ต่อเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางรูป

    “ท่านสิทธัตถะ” ยังได้ตระหนักชัดในความจริงที่ว่า
    เป็นธรรมดาที่ เวทนาย่อมดับไปเอง
    เป็นธรรมดาที่ เวทนาย่อมดับไปอยู่แล้วโดยตัวมันเอง
    และเมื่อ เวทนาดับ สังขารย่อมดับ สัญญาย่อมดับ วิญญาณย่อมดับ รูปย่อมดับ
    ทำให้ “ท่านสิทธัตถะ” ได้กลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปเป็นธรรมดาแห่งขันธ์ทั้ง 5
    ตรงนี้เรียกว่า ความดับไปแห่งทุกข์ หรือ นิโรธ นั่นเอง
     



    [​IMG]
     
  17. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 8 อัคคิเวสสนะสูตร
    อัคคิเวสสนะ
    เวทนาสามอย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขม
    สุขเวทนา ๑. อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่
    ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น. ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ใน
    สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น. ใน
    สมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้
    เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น
     
    อัคคิเวสสนะ
    สุขเวทนาไม่เที่ยง
    อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
    อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา

    แม้ทุกขเวทนาก็
    ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
    อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา
     
    แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง
    อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
    อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา
     
      อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อ
    เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่าย
    ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้น
    แล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
     

    [​IMG]
     
  18. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บุญและปัญญาชนิดใหนๆก็ตาม
    ก็รังแต่จะปิดคลุมธรรมชาติดั้งเดิมของพุทธภาวะเสียและทำให้มันกลายเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ไปเสียเท่านั้น






    [​IMG]
     
  19. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    บทที่ 9 หนทางหลุดพ้น
    ในบั้นปลายปัจฉิมยามแห่งราตรีคืนตรัสรู้ หลังจากที่ สิทธัตถะได้ตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดีวยกันกับความดับไปเป็นธรรมดาแห่งทุกข์นั้น ทำให้ท่านได้รู้และตระหนักชัดว่านี่คือทางสายกลางอันแท้จริงที่ทำให้ท่านพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้ ทำให้ ท่านสิทธัตถะงดเว้นอย่างเด็ดขาดที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการประพฤติข้อวัตรอันสุดโต่งอีกต่อไป คือ
    1.การบำเพ็ญทุกกรกิริยา คือ การแสวงหาความหลุดพ้นด้วยการทรมาณตนด้วยวิธีต่างๆซึ่งเป็นที่นิยมและเข้าใจผิดในยุคนั้น
    2.การแสวงหาความสุขด้วยการหมกหมุ่นในกามคุณ อันเป็นข้อวัตรประพฤติแบบที่สามัญชนทั่วไปนิยมกระทำกัน ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ธรรมดาไม่เป็นประโยชน์และเป็นสิ่งที่ต่ำทราม
    เมื่อ “ ท่านสิทธัตถะ ” ได้ตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปเป็นธรรมดาแห่งทุกข์และความดับไปเป็นธรรมดาแห่งขันธ์ทั้ง 5 ทำให้ท่านรู้ว่ามันก็คือ หนทางที่ดำเนินออกมาจากกองทุกข์ไปในตัวมันเองอยู่แล้ว ( โดยนัยยะแห่งความหมาย )
    ซี่งมันประกอบขึ้นแบบพร้อมเพรียงกันด้วยคุณลักษณะมันเอง ประกอบไปด้วยอินทรีย์แห่งธรรม 8 ประการ คือ
    1.สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ
    2.สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ
    3.สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ
    4.สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำชอบ
    5.สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ
    6.สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ
    7.สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ
    8.สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นชอบ
    มรรคมีองค์แปดนี้เป็นเพียงธรรมที่ “ท่านสิทธัตถะ” ได้แจกแจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจเท่านั้นว่า การที่ท่านได้ตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปเป็นธรรมดาแห่งทุกข์ทั้งหลายและความดับไปเป็นธรรมดาแห่งขันธ์ทั้ง 5 ตามสภาพธรรมชาติของมันเองอยู่แล้วนั้น มันคือเส้นทางแห่งมรรคหรือหนทางที่ออกมาจากกองทุกข์ “ไปในตัวอยู่แล้ว” นั่นเอง
    เมื่อปล่อยให้ทุกข์หรือขันธ์ทั้ง 5 มันดับไปเองตามธรรมดาตามธรรมชาติของมัน มันก็เป็นหนทางออกจากทุกข์อยู่แล้วโดยเนื้อหามัน ซึ่งหมายถึงความเป็นปกติแห่ง “การดำเนินไปบนมรรคมีองค์แปด” อยู่แล้ว
    นี่คือ มรรค อันคือหนทางหลุดพ้น
     



    [​IMG]
     
  20. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    การกระทำเพียงแค่
    รวมจิตเป็นหนึ่ง
    และบังคับมันให้สงบลง
    เป็นลัทธินิยมความนิ่งเฉย
    และเป็นเซนที่ผิด



    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...