เรื่องเด่น โซล่าเซลล์ ที่อุบลฯ ผู้ก่อตั้ง โรงเรียนเสียดายแดด จนดังไปทั่วโลก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 7 พฤศจิกายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    b88be0b8a5e0b8a5e0b98c-e0b897e0b8b5e0b988e0b8ade0b8b8e0b89ae0b8a5e0b8af-e0b89ce0b8b9e0b989e0b881.jpg

    พระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี หรือหลายคนเรียกท่านว่า “พระอาจารย์” เดิมทีท่านพระครูเป็นคน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ครอบครัวมีปัญหาทำให้ท่านออกจากโรงเรียนตั้งแต่เด็ก เมื่อท่านออกมาใช้ชีวิตบนโลกเพียงลำพังจึงทำให้ท่านเริ่มมองสิ่งต่างๆรอบตัวว่าทำไมโลกใบนี้ถึงต้องการแค่ วัตถุนิยม แสวงหาแต่เงิน ไม่มีความสงบสุขที่แท้จริง

    เพราะเหตุนี้พระครูวิมลจึงตัดสินใจออกบวชและเริ่มหาคำตอบต่างๆโดยใช้ธรรมะเป็นตัวขัดเกลา โดยท่านพระครูปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดที่วัดป่าสุขสมบูรณ์ จ.ร้อยเอ็ด ต่อมาเมื่อท่านจำพรรษาครบ 7 พรรษา จึงมีผู้ใจบุญบริจาคที่ดินที่ อ.โขงเจียม จ.อุบลฯ ท่านจึงถูกย้ายให้มาจำพรรษาที่วัดป่าแสงธรรมเพียงรูปเดียว

    ตลอดระยะเวลาที่ท่านจำพรรษาเหล่าญาติโยมก็มีจิตศรัทธาบริจาคปัจจัยให้อย่างเนื่อง ท่านจึงมองปัจจัยทั้งหมดแล้วคิดว่าจะจัดการนำปัจจัยเหล่านี้ไปใช้อะไรให้เกิดประโยชน์แก่สังคมมากที่สุด เลยทำให้เป็นที่มาของโรงเรียนศรีธรรม

    โรงเรียนที่จะช่วยสร้างชาติให้เข้มแข็ง โดยโรงเรียนจะเปิดสอนทั้งระดับมัธยมต้นและมัธยมปลาย สายวิทย์-คณิต ในปัจจุบันมีนักเรียนประมาณ 200 คนซึ่งโรงเรียนศรีแสงธรรมจะเน้นหลักการสอนโดยให้นักเรียนได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้วิทยาศาสตร์ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด เป็นการปลูกว่า “เรียนไปได้ใช้จริง”

    ต่อมาในยุคที่รัฐบาลมีการแจกแผงโซล่าเซลล์ขึ้นพระครูวิมลจึงนำแผงโซล่าเซลล์เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยจะพาเด็กนักเรียนรู้ประโยชน์ของโซล่าและสอนเด็กติดตั้งเพื่อใช้ประโยชน์ในโรงเรียน จึงเป็นที่มาของคำว่า “โรงเรียนเสียดายแดด” เพราะโรงเรียนได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาโซล่าเซลล์มาต่อยอดเป็นพลังงานทดแทนไว้ใช้ในโรงเรียน และสร้างระบบ Smart Farm , รถเข็นนอนนา(สถานีไฟฟ้าเคลื่อน),รถไฟฟ้า Ev Car จากแผงโซล่าเซลล์ เป็นต้น

    นอกจากนี้พระอาจารย์ยังพัฒนาพื้นที่โดยรอบโรงเรียนให้เป็นแปลงเกษตรไม่ว่าจะเป็น โครงการปลูกเห็ดเจ็ดชั่วโคตร, การปลูกพืชผักสวนครัว, การปลูกป่ามิยาวากิ (การปลูกป่าแบบยั่งยืน) และยังสร้างบ้านพักครูและอาคารเรียนด้วยดินกับแกลบเป็นลดงบประมาณของโรงเรียนและเป็นการใช้วัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ให้สูงที่สุด

    พระอาจารย์วิมล ยังย้ำท้ายว่า สิ่งที่พระครูคิดเป็นการระเบิดจากข้างใน รู้เท่ารู้ทัน รู้เขารู้เรา รู้เหตุรู้ผล รู้ตนรู้ประมาณ รู้การรู้ชุมชน เป็นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ซึ่งทั้งหมดนี้เราสามารถทำได้จริง ปรัชญาจะไม่ใช่แค่ปรัชญา ถ้าหากเราไม่ลงมือทำ

    ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ : เรียบเรียง

    อ่านข่าวอื่นๆในจังหวัดอุบลราชธานี กดอ่านที่นี่

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.77kaoded.com/content/991184
     

แชร์หน้านี้

Loading...