เรื่องเด่น แม่น้ำโขงกำลังจะตาย ภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมที่รุนแรง กระทบผู้คนกว่า 70 ล้านคน...

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 3 มกราคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    สถานการณ์แม่น้ำโขงแห้งแล้ง นับได้ว่าเป็นช่วงวิกฤตที่สุดของปี 2562 ที่ผ่านมา หลังจากมีการรายงานถึงสภาพแหล่งน้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ในอดีต แต่ปัจจุบันกลายเป็นภาพแอ่งน้ำที่แห้งขอด หลายพื้นที่แล้งหนักถึงขั้นมีหาดทรายโผล่ขึ้นมาแทนที่ โดยสาเหตุอันดับแรกๆ ที่นักวิชาการส่วนใหญ่อ้างถึง คือการเกิดขึ้นของเขื่อนต่างๆ ที่มีอยู่บนเส้นแม่น้ำโขง

    0b982e0b882e0b887e0b881e0b8b3e0b8a5e0b8b1e0b887e0b888e0b8b0e0b895e0b8b2e0b8a2-e0b8a0e0b8b1e0b8a2.jpg

    ล่าสุด เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2562 เฟซบุ๊ก Chainarong Setthachua ของ ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพสื่อถึงวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในเขตลุ่มแม่น้ำโขง ณ ปัจจุบัน ซึ่งมีสภาพแห้งแล้งอย่างรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง พร้อมระบุข้อความเพิ่มเติมว่า “นี่คือภาพชุดแรกที่เผยให้เห็นว่าน้ำโขงแห้งราวกับทะเลทราย และซากของสัตว์น้ำที่ถูกแดดแผดเผาเพราะหนีลงร่องน้ำลึกไม่ทัน ที่ถูกส่งมาถึงผมเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2562

    982e0b882e0b887e0b881e0b8b3e0b8a5e0b8b1e0b887e0b888e0b8b0e0b895e0b8b2e0b8a2-e0b8a0e0b8b1e0b8a2-1.jpg

    ภาพชุดนี้ถ่ายโดย Bell Supattra In ลูกศิษย์ที่อยู่ในสนาม และชาวบ้านกลุ่มรักษ์แม่น้ำโขง ถ่ายที่แม่น้ำโขงเขตตำบลบ้านม่วง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย วันที่น้ำโขงวิกฤตที่สุดในประวัติศาสตร์เป็นวันเดียวกันกับที่เขื่อนไซยะบุรีได้ทดลองเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า หลังจากที่มีการกักเก็บน้ำไว้เหนือเขื่อน
    หลังจากภาพชุดนี้ถูกเผยแพร่ออกไป มีสื่อทั้งในไทยทุกแขนงรวมทั้งสื่อโซเซียล และสื่อต่างประเทศ ได้เผยแพร่รายงานข่าวน้ำโขงวิกฤตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม แม้นักสร้างเขื่อนระบุว่า น้ำโขงวิกฤตเพราะเอลนีโญ ไม่เกี่ยวกับเขื่อนไซยะบุรี แต่หลังจากนั้นไม่นานพายุก็เข้าอีสาน แต่น้ำโขงก็ยังแห้งกลางเดือนตุลาคม น้ำโขงก็วิกฤตรอบสอง และเกิดวิกฤตรอบสามตามมาในปลายเดือน เมื่อน้ำโขงเกิดภาวะไร้ตะกอนเปลี่ยนเป็นน้ำใสราวกระจก และสะท้อนท้องฟ้าเป็นสีคราม จนถึงวันนี้ น้ำโขงก็ยังผันผวนหนัก ขึ้นๆ ลงๆ ขณะที่นักสร้างเขื่อนก็ยังโหมประชาสัมพันธ์ รวมทั้งซื้อสื่ออย่างกว้างขวาง แก้ต่างว่าเขื่อนไซยะบุรีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
    ผมจัดให้กรณีนี้เป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่แค่ในรอบปี ไม่ใช่รอบทศวรรษ ไม่ใช่รอบศตวรรษ แต่เป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และผู้คนกว่า 70 ล้านคนได้รับผลกระทบนี้ และผลกระทบจะเกิดขึ้นต่อไปอีกยาวนาน

    982e0b882e0b887e0b881e0b8b3e0b8a5e0b8b1e0b887e0b888e0b8b0e0b895e0b8b2e0b8a2-e0b8a0e0b8b1e0b8a2-2.jpg

    สำหรับประเด็นผลกระทบจากการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง สื่อต่างประเทศ รวมทั้งสื่อเมืองไทยบางสำนักข่าวได้รายงานข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมาโดยชี้ให้เห็นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นเกิดจากการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง ขณะที่ สทนช. (สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ) ยังมุ่งไปที่น้ำโขงวิกฤติจากเขื่อนจีนและไม่กล่าวถึงเขื่อนไซยะบุรีที่อยู่ใกล้ประเทศไทยที่สุด ส่วน MRC (คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง Mekong River Commission) ก็ชี้ไปที่ผลกระทบเกิดจากเอลนินโญ่ ทั้งๆที่นักวิชาการต่างชี้ตรงกันว่าผลกระทบเกิดจากเขื่อนจีนและเขื่อนไซยะบุรีที่ก่อให้เกิดผลกระทบโดยเฉพาะภาวะไร้ตะกอนท้ายเขื่อนไซยะบุรี.

    ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Chainarong Setthachua
    ภาพถ่ายโดย Bell Supattra In
    ภัทรวินทร์ ลีปาน
    หนองคาย

    982e0b882e0b887e0b881e0b8b3e0b8a5e0b8b1e0b887e0b888e0b8b0e0b895e0b8b2e0b8a2-e0b8a0e0b8b1e0b8a2-3.jpg

    ขอบคุณที่มา
    https://siamrath.co.th/n/124644
     

แชร์หน้านี้

Loading...