เรื่องเด่น แผนรับน้ำประชิดเมือง มั่นใจ 63 ดีกว่า 54

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 24 กรกฎาคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    แม้บ้านเราหลายพื้นที่จะประสบภัยแล้ง แต่ด้วยร่องฝนพาดผ่านประเทศจีน ก่อให้เกิดน้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์ในหลายมณฑล ขณะรอร่องฝนขยับกลับมาปกคลุมประเทศไทยอีกครั้ง หลายคนมีคำถาม…ปีนี้บ้านเราจะเกิดน้ำท่วมใหญ่หรือไม่


    “เป็นไปได้ยาก เพราะ 1.กรมอุตุนิยมวิทยาชี้คาดการณ์ปีนี้จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 2.ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขณะนี้มีอยู่ 40% จึงรับน้ำได้อีกมาก และ 3.จากประสบการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ทำให้ปัจจุบันไทยมีการวางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ”

    0b899e0b989e0b8b3e0b89be0b8a3e0b8b0e0b88ae0b8b4e0b894e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a1e0b8b1.jpg

    ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) บอกว่า…แต่นี่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสเกิดน้ำท่วมเลย เนื่องจาก กทม.เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและอยู่ท้ายน้ำ ต้องรับน้ำจาก 3 ทิศทาง น้ำเหนือ น้ำฝนในพื้นที่ น้ำทะเลหนุน และปัจจัยอื่นแทรก เช่น การเกิดพายุจร

    899e0b989e0b8b3e0b89be0b8a3e0b8b0e0b88ae0b8b4e0b894e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a1e0b8b1-1.jpg

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นห่วงเรื่องนี้มาก ได้สั่งการ ให้ กอนช. เข้าไปบูรณาการรับมือสถานการณ์น้ำท่วมขังในเขต กทม. ให้มีประสิทธิภาพ ขณะที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ กอนช.ได้กำชับให้เร่งดำเนินการ 8 มาตรการ รวมทั้งมีการตั้ง คณะทำงานบูรณาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อบูรณาการทำงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กทม. จังหวัดปริมณฑล กรมชลประทาน เป็นต้น”

    899e0b989e0b8b3e0b89be0b8a3e0b8b0e0b88ae0b8b4e0b894e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a1e0b8b1-2.jpg

    ดร.สมเกียรติบอกว่า หัวใจสำคัญของการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม คือ การระบายน้ำให้เร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด…ต้องเร่งผันน้ำที่จะไหลผ่าน กทม.ให้ออกลงสู่ทะเลเร็วที่สุด

    “สำหรับพื้นที่ด้านในของ กทม. การระบายน้ำจะทำผ่านเครื่องมือหลัก คือ ระบบท่อ ระบบคลอง ระบบสถานีสูบน้ำ และอุโมงค์ระบายน้ำ 4 แห่ง เพื่อระบายน้ำไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดย กทม.ได้ดำเนินการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำรวมเป็นระยะทาง 3,240 กม. รวมถึงขุดลอกคูคลอง 80 แห่ง 91 กม. เปิดทางน้ำไหล 1,339 คลอง 1,543 กม. ซ่อมบำรุงสถานีสูบน้ำ 191 แห่ง และบ่อสูบน้ำ 306 แห่ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับปริมาณฝนที่จะเกิดขึ้น”

    899e0b989e0b8b3e0b89be0b8a3e0b8b0e0b88ae0b8b4e0b894e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a1e0b8b1-3.jpg

    รองผู้อำนวยการ กอนช.ยืนยัน การเตรียมพร้อมทั้งหมดนี้น่าจะช่วยประกันได้ในระดับหนึ่ง ปีนี้การบริหารจัดการเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังในเขต กทม. จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

    899e0b989e0b8b3e0b89be0b8a3e0b8b0e0b88ae0b8b4e0b894e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a1e0b8b1-4.jpg

    แต่สิ่งสำคัญที่อยากขอความร่วมมือจาก ประชาชน…ให้ช่วยกันดูแลระบบท่อน้ำและคูคลอง ด้วยการไม่ทิ้งขยะ เศษวัสดุต่างๆ ลงระบบระบายน้ำสาธารณะ

    เพราะแค่ขยะชิ้นเดียวทำให้เครื่องสูบน้ำพังได้ทั้งเครื่อง…ดังนั้น ทุกคนต้องร่วมมือกัน หรือไม่ก็ต้องทนรับกรรมอยู่กับ “น้ำท่วมรอระบาย” กันต่อไป.

    ชาติชาย ศิริพัฒน์


    อ่านเพิ่มเติม…

    ขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/news/local/1896052
     

แชร์หน้านี้

Loading...