เอตทัคคะ ผู้ประเสริฐสุดในทางใดทางหนึ่ง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 3 กรกฎาคม 2013.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย

    ๐ นางปฏาจาราทูลขอบวช

    ฝ่ายนางปฏาจารานั้นเป็นโสดาบันแล้ว ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา. พระศาสดาทรงส่งนางไปยังสำนักของพวกภิกษุณีให้บรรพชาแล้ว นางได้อุปสมบทแล้วปรากฏชื่อว่า “ปฏาจารา” เพราะนางกลับความประพฤติได้

    วันหนึ่ง นางกำลังเอาหม้อตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลง.น้ำนั้นไหลไปหน่อยหนึ่งแล้วก็ขาด

    ครั้งที่ ๒ น้ำที่นางเทลง ได้ไหลไปไกลกว่านั้น

    ครั้งที่ ๓ น้ำที่เทลง ได้ไหลไปไกลกว่าแม้นั้น ด้วยประการฉะนี้ นางถือเอาน้ำนั้นนั่นแลเป็นอารมณ์ กำหนดวัยทั้ง ๓ แล้ว คิดว่า

    “สัตว์เหล่านี้ ตายเสียในปฐมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งแรก
    ตายเสียในมัชฌิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ ๒ ไหลไปไกลกว่านั้น
    ตายเสียในปัจฉิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ ๓ ไหลไปไกลแม้กว่านั้น”

    พระศาสดาประทับในพระคันธกุฎี ทรงแผ่พระรัศมีไป เป็นดังประทับยืนตรัสอยู่เฉพาะหน้าของนาง ตรัสว่า “ปฏาจารา ข้อนั้นอย่างนั้น ด้วยความเป็นอยู่วันเดียวก็ดี ขณะเดียวก็ดี ของผู้เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์เหล่านั้น ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นความเกอดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์”

    ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

    “ก็ผู้ใด ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม
    อยู่พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียว
    ของผู้เห็นความเกิดและความเสื่อม ประเสริฐกว่า
    ความเป็นอยู่ของผู้นั้น”

    นางครั้นบวชแล้ว ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต เรียนพุทธวจนะ ท่านเป็นผู้ช่ำชองชำนาญในวินัยปิฏก ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาเหล่าภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่างๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระปฏาจาราเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ทรงวินัยแล


    ๐ ผลงานของพระปฏาจาราเถรี

    พระปฏาจาราเถรี ท่านมีเมตตาและได้อนุเคราะห์แก่สตรีหลายท่าน ภายหลังสตรีเหล่านั้น ได้มาบวชเป็นภิกษุณี และท่านได้สอนและเตือนสติแก่สตรี ด้วยท่านเป็นผู้ทรงพระวินัยและฉลาดในคาถาธรรม ทำให้สตรีหลายท่าน เช่น อุตตราเถรี จันทาเถรี ปัญจสตมัตตาเถรี เป็นต้น ฯลฯ ได้บรรลุพระอรหันต์และแนะนำสอนสตรี ๕๐๐ คน ให้เกิดความสังเวชใจจึงพากันบวชในสำนักของพระเถรี ครั้นบวชแล้ว บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ไม่นานนักก็ตั้งอยู่ในพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย

    ๐ บุรพกรรมของท่านในอดีตชาติ

    ดังได้สดับมา พระเถรีนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในครอบครัว กรุงหังสวดี ต่อมา กำลังฟังพระธรรมเทศนา ของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ทรงวินัย ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น


    ๐ ท่านทำกุศลจนตลอดชีวิต
    เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์


    ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ถือปฏิสนธิในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากิงกิ เป็นพระธิดาพระองค์หนึ่งระหว่างพระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ คือ นางสมณี นางสมณคุตตา นางภิกขุนี (ภิกขุณี) นางภิกขุทาสิกา นางธัมมา (ธรรมา) นางสุธัมมา (สุธรรมา) และนางสังฆทาสี ครบ ๗
    พระราชธิดาเหล่านั้น ในบัดนี้ [ครั้งพุทธกาลชาติปัจจุบัน] คือพระเขมาเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระปฏาจาราเถรี พระนางกุณฑลเกสีเถรี (พระภัททากุณฑลเกสาเถรี) พระกิสาโคตมีเถรี พระธรรมทินนาเถรี และนางวิสาขา ครบ ๗ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี สร้างบริเวณถวายภิกษุสงฆ์ บังเกิดในเทวโลกอีก เสวยสมบัติอยู่พุทธันดรหนึ่ง

    ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในครอบครัวเศรษฐี กรุงสาวัตถี ดังกล่าวมาแล้ว


    [ อ้างอิง : เถรี.อ. ๒/๔/๑๘๔-๑๙๗; องฺ.อ. ๑/๒/๒๔-๒๘; ธ.อ. ๑/๒/๒/๔๘๙-๔๙๘; ขุ.อป. ๙/๕๙๒-๕๙๗]



    .............................................................

    คัดลอกมาจาก ::
    Home Main Page
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในทางผู้เป็นธรรมกถึก

    [​IMG]


    พระธรรมทินนาเถรีผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นธรรมกถึก ก็โดยเหตุ ๒ ประการ คือโดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ เพราะท่านแสดงให้ผู้อื่นเห็นเป็นอย่างชัดเจนในคุณข้อนี้ของท่าน และไม่เพียงเนื่องจากเหตุข้อนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นการแต่งตั้งโดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้


    ๐ ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีต

    ได้ยินว่า พระธรรมทินนาเถรีนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในสกุลหนึ่งในเมืองหงสวดี เมื่อโตขึ้นเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างทำการงานของคน อื่น เป็นผู้มีปัญญา สำรวมอยู่ในศีล ต่อมาวันหนึ่ง ในเวลาเช้า ขณะที่นางเอาหม้อน้ำกำลังจะไปตักน้ำ นางก็ได้พบพระสุชาตมหาเถระผู้เป็นพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้าออกจากอารามเพื่อ ไปบิณฑบาต เมื่อได้เห็นท่านแล้วก็เกิดความเลื่อมใส จึงได้ถวายขนมด้วยมือของตน ท่านรับแล้วนั่งฉัน ณ ที่นั้นแหละ นางนิมนต์ท่านไปสู่เรือนได้ถวายโภชนะแก่ท่าน ต่อมา นายของนางทราบเข้าแล้วชื่นชมในความเป็นผู้มีกุศลจิต เกิดความยินดีจึงได้แต่งนางให้เป็นลูกสะใภ้ของท่าน

    วันหนึ่งนางไปกับแม่สามีและได้เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ครั้งนั้น พระ บรมศาสดาทรงประกาศตั้งภิกษุณีองค์หนึ่ง ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เป็นธรรมกถึก ท่านได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว มีความยินดี ปรารถนาที่จะได้ตำแหน่งนั้นบ้างในอนาคต จึงได้นิมนต์พระสุคตเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ ถวายมหาทานแล้วกระทำอธิษฐานเพื่อปรารถนาตำแหน่งนั้น

    ในทันใดนั้น พระสุคตเจ้า ได้ตรัสพยากรณ์นางว่า ด้วยผลบุญที่นางได้ยินดีบำรุงพระศาสดา อังคาสพระศาสดากับสาวกสงฆ์ ขวนขวายในการฟังสัทธรรม มีใจเจริญด้วยคุณ นางจะได้ตำแหน่งนั้นตามที่ได้ตั้งความความปรารถนาไว้ โดยในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตม ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก นางจักได้ เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นสาวิกาของพระศาสดา มีชื่อว่า ธรรมทินนา

    เมื่อนางได้ฟังพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้วก็มีความยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระมหามุนี ด้วยปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต ด้วยกุศลกรรมที่ทำไว้แล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้เมื่อนางสิ้นชีวิตลงแล้วได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    ครั้นสิ้นชีวิตลง ก็เวียนว่ายอยู่ในภพภูมิเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในทางผู้เป็นธรรมกถึก

    ๐ ในสมัยพระปุสสพุทธเจ้า

    ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัททกัปนี้ ได้มีนครหนึ่ง ชื่อว่า กาสี พระราชาทรงประนามว่า ชัยเสน ทรงครองราชสมบัติในพระนครนั้น พระองค์ได้มีพระราชเทวีทรงพระนามว่า สิริมา พระโพธิสัตว์นามว่า ผุสสะ บังเกิดในพระครรภ์ของพระนางแล้วตรัสรู้ พระสัมมาสัมโพธิญาณโดยลำดับ พระเจ้าชัยเสนนั้นทรงเห็นว่าพระราชโอรสของพระองค์ออกมหาภิเนกษกรมเป็นพระพุทธเจ้า ดังนั้นท่านจึงถือเสมือนว่าพระพุทธเจ้าเป็นของส่วนพระองค์ท่านแม้พระธรรม และพระสงฆ์ก็เช่นกัน เมื่อเป็นดังนี้แล้วจึงทรงอุปัฏฐากด้วยพระองค์เองทุกๆ ในทุกเมื่อ ไม่ทรงให้โอกาสแก่ชนเหล่าอื่นได้ทำบ้าง

    พระราชานั้น ยังมีโอรสผู้เป็นพระอนุชาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แต่ต่างพระมารดากันอีก ๓ พระองค์ ทั้ง ๓ พระองค์นั้นต่างก็พากันคิดว่า ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมอุบัติเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกทั้งมวล มิใช่เพื่อประโยชน์เฉพาะบุคคลผู้เดียว และพระบิดาของพวกเราก็ไม่ยอมให้โอกาสแก่ชนเหล่าอื่นเลย ทำอย่างไรหนอ พวกเราจะพึงได้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์

    พี่น้องทั้ง ๓ พระองค์จึงได้ออกอุบายสร้างสถานการณ์ชายแดนว่าเกิดการปั่นป่วน เพื่อให้พระราชาส่งพวกตนออกไปปราบ และจะได้มีความดีความชอบ ครั้นเมื่อทำตามอุบายนั้นแล้ว พระราชาทรงพอพระทัยได้ประทานพรว่าถ้าพระโอรสทั้งสามพระองค์ปรารถนาสิ่งใดก็จะพระราชทาน พระโอรสทั้งสามจึงขอที่จะอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า พระราชาทรงปฏิเสธ แต่พระโอรสทั้งสามทรงยืนยันความประสงค์ พระราชาจึงทรงยินยอม แต่ให้เวลาเพียง ๓ เดือน

    พี่น้อง ๓ พระองค์นั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด ๓ เดือน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงรับการอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนนี้แก่ข้าพระองค์เถิด

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับด้วยดุษฎีภาพ พี่น้อง ๓ พระองค์นั้น จึงส่งลิขิตไปถึงนายส่วยผู้จัดเก็บผลประโยชน์ในชนบทของตนว่า พระองค์จะทำการอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด ๓ เดือนนี้ ขอท่านจงจัดแจงสัมภาระสำหรับอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกอย่างเริ่มตั้งแต่วิหารไป

    ทรงแต่งตั้งบุตรคฤหบดีคนหนึ่ง ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลพระราชทรัพย์ของพี่น้อง ๓ พระองค์นั้น ให้ดูแลเรื่องการเงิน และมอบหมายให้ผู้ใกล้ชิดอีกคนหนึ่งเป็นผู้ดูแลเรื่องการถวายทาน

    นายส่วยนั้นได้จัดการทุกอย่างตามพระประสงค์ของพระโอรสทั้งสามแล้วจึงทูลตอบกลับไป เมื่อพี่น้องทั้ง ๓ พระองค์นั้นทราบว่าการจัดแจงต่าง ๆ ได้เรียบร้อยแล้วจึงพร้อมด้วยบริวารอีก ๑,๐๐๐ คน พากันอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์โดยเคารพ นำไปยังชนบท มอบถวายวิหารให้อยู่จำพรรษา

    ในครั้งนั้น บุตรคฤหบดี ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลพระราชทรัพย์ของพี่น้อง ๓ พระองค์นั้น พร้อมด้วยภริยา เป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส ก็ได้ถวายทานวัตรแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานโดยเคารพ นายส่วยผู้จัดเก็บผลประโยชน์ในชนบทได้พาเขาไปพร้อมกับชาวชนบทประมาณ ๑๑,๐๐๐ คน ได้ให้ทานเป็นไปโดยเคารพทีเดียว บรรดาท่านเหล่านั้น ราชบุตรนายส่วยในชนบท และบุตรคฤหบดีผู้เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลพระราชทรัพย์ และเจ้าหน้าที่ผู้จัดแจงเรื่องถวายทาน เมื่อสิ้นชีวิตลงแล้วก็ไปบังเกิดในสวรรค์ตามลำดับ

    ในสมัยพระพุทธเจ้าของพวกเรานี้ พระโอรส ๓ พี่น้องก็มาเกิดเป็น ชฎิล ๓ พี่น้องคือ พระอุรุเวลกัสสปเถระ พระนทีกัสสปเถระ และ พระคยากัสสปเถระ นายส่วยผู้จัดเก็บผลประโยชน์ในชนบท ก็มาเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร เจ้าหน้าที่ผู้จัดแจงเรื่องถวายทาน เกิดมาเป็น พระรัฐปาลเถระ บุตรคฤหบดี ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลพระราชทรัพย์ เกิดมาเป็น วิสาขเศรษฐี และ ภรรยาของบุตรคฤหบดี เกิดมาเป็นนางธัมมทินนาเถรี
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในทางผู้เป็นธรรมกถึก

    ๐ ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า

    ในภัทรกัปนี้ ในสมัยแห่งพระ พุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป ท่านได้มาเกิดเป็นพี่น้องกับพระสาวิกาอีก ๖ ท่าน คือ พระเขมาเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระปฏาจาราเถรี พระกุณ ฑลเกสีเถรี พระกิสาโคตมีเถรี และนางวิสาขามหาอุบาสิกา โดยเป็นพระธิดาแห่งพระเจ้า กาสีพระนามว่ากิกีผู้ครองพระนครพาราณสีอันอุดม พระองค์ทรงเป็นอุปัฏฐากของพระกัสสปพุทธเจ้า โดยตัวท่านเองมาบังเกิดเป็นเป็นพระธิดาคนที่หกของท้าวเธอ มีนามปรากฏว่าสุธรรมา มีพระพี่นางคือ พระนางสมณี พระนางสมณคุตตา พระนางภิกขุนี พระนางภิกขุทาสิกา และพระนางธรรมา และมีพระขนิษฐาคือ นางสังฆทาสี

    พระนางทั้ง ๗ นั้นเมื่อได้ฟังธรรมจากพระบรมศาสดาแล้วก็เลื่อมใส ใคร่ที่จะออกบรรพชา แต่พระเจ้ากิกีผู้เป็นพระชนกนาถมิได้ทรงอนุญาต พระนางทั้งหมดจึงได้ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่เป็นกุมารีอยู่สองหมื่นปี ได้สร้างบริเวณที่อยู่ถวายพระภิกษุสงฆ์ ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้แล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เมื่อละร่างกายมนุษย์แล้วได้ เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์พุทธันดรหนึ่ง


    ๐ ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ในพุทธุปบาทกาลนี้ พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้นก็ได้มาเกิดเป็น พุทธสาวิกาคือ คือ พระนางสมณี ได้มาเกิดเป็นพระเขมาเถรี พระนางสมณคุตตา ได้มาเกิดเป็น พระอุบลวรรณาเถรี นางภิกขุนี ได้มาเกิดเป็น พระปฏาจาราเถรีนางภิกขุทาสิกา ได้มาเกิดเป็น พระกุณ ฑลเกสีเถรี นางธรรมา ได้มาเกิดเป็น พระกิสาโคตมีเถรี และนางสังฆทาสี ได้มาเกิดเป็นนางวิสาขามหาอุบาสิกา

    ส่วนตัวท่านเองมาถือปฏิสนธิในสกุลเศรษฐีที่มั่งคั่งเจริญ มีทรัพย์มากในพระนครราชคฤห์ เมื่อเติบใหญ่ขึ้นก็ได้แต่งงานมีครอบครัวกับวิสาขเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์นั้นเอง

    ต่อมาเมื่อครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเทศนาโปรดเหล่าชฏิลทั้งสามพร้อมทั้งบริวาร ที่อุรุเวลาเสนานิคมแล้ว ก็ทรงระลึกถึงปฏิญญาที่ได้ทรงให้ไว้กับพระเจ้าพิมพิสารเมื่อก่อนที่จะทรงตรัสรู้ว่า ถ้าตรัสรู้แล้วก็จะทรงมาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร จึงได้เสด็จดำเนินไปยังกรุงราชคฤห์กับหมู่ภิกษุขีณาสพชฏิลเก่า แล้วทรงแสดงธรรมถวายพระเจ้าพิมพิสารมหาราชซึ่งเสด็จดำเนินมาพร้อมกับบริษัทแสนสองหมื่นคนเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า

    ในชนแสนสองหมื่นคนที่มาพร้อมกับพระราชาในครั้งนั้น หนึ่งหมื่นคนประกาศตนเป็นอุบาสก อีกหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นคนพร้อมกับพระเจ้าพิมพิสาร ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล วิสาขอุบาสกนี้เป็นคนหนึ่งในจำนวนนั้นซึ่งเป็นผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลในการเฝ้าครั้งแรกนั่นเอง

    ในอีกวันหนึ่ง วิสาขอุบาสกก็ได้ฟังธรรมอีก ในครั้งนี้อุบาสกสำเร็จสกทาคามิผล แต่นั้นมาในภายหลังวันหนึ่ง เมื่อได้ฟังธรรมอีก จึงได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล ในวันที่วิสาขอุบาสกสำเร็จเป็นเป็นพระอนาคามีแล้ว เดินทางกลับบ้าน ก็ไม่ได้กลับมาเหมือนอย่างวันอื่น ที่เมื่อกลับมาก็มองนั่นดูนี่ หัวเราะยิ้มแย้มพลางเดินเข้ามา หากแต่กลายเป็นคนสงบกายสงบใจเดินเข้าบ้านไป
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในทางผู้เป็นธรรมกถึก

    ๐ นางธรรมทินนาออกบวช

    นางธรรมทินนาแง้มหน้าต่างพลางมองไปที่ถนนเห็นเหตุการณ์ในการมาของเขาแล้วก็สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับท่านอุบาสก เมื่อนางออกมายืนที่หัวบันไดทำการต้อนรับเขาพลางก็เหยียดมือยื่นออกไปให้อุบาสกจับ อุบาสกกลับหดมือของตนเสีย

    นางคิดว่าจะไปถามในเวลารับประทานอาหาร แต่ก่อนมาอุบาสกรับประทานพร้อมกันกับนาง แต่วันนั้นกลับไม่ยอมมองนาง ทำราวกะว่าเป็นโยคาวจรภิกษุ รับประทานคนเดียวเท่านั้น นางคิดว่าจะไปถามเวลานอน ในวันนั้นอุบาสกไม่ยอมเข้าห้องนอนนั้น กลับสั่งให้จัดห้องอื่นให้ตั้งเตียงน้อยที่สมควรแล้วนอน

    อุบาสิกาคิดว่าตนคงกระทำความผิดอันใดไว้ อุบาสกจึงไม่ยอมพูดด้วย ไม่นอนร่วมห้องด้วย ก็เกิดความเสียใจอย่างแรง จึงเข้าไปหาท่านอุบาสกแล้วถามว่า ตัวนางเองมีความผิดอะไรหรือ ท่านอุบาสกจึงไม่ยอมถูกเนื้อต้องตัว ไม่ยอมพูดด้วย และ ไม่ยอมนอนร่วมห้องด้วย

    วิสาขอุบาสกได้ยินนางถามดังนั้นก็คิดว่า "ชื่อว่าโลกุตตรธรรมนี้เป็นภาระหนักไม่พึงเปิดเผย แต่ถ้าเราไม่บอก ธรรมทินนานี้จะพึงหัวใจแตกตายในที่นี้เอง"

    เพื่อที่จะอนุเคราะห์นาง ท่านเศรษฐีจึงบอกว่า "ธรรมทินนา ฉันได้ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วได้บรรลุโลกุตตรธรรม ผู้ได้บรรลุโลกุตตรธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่กระทำแบบโลกๆ อย่างที่เคยทำมาแต่ก่อน ถ้าเธอต้องการ ทรัพย์ทั้งหมดของฉัน ก็จงรับไป แล้วจงอยู่ดำรงตำแหน่งแม่ หรือตำแหน่งน้องสาวของฉันก็ได้ ฉันจะขอเลี้ยงชีพด้วยเพียงก้อนข้าวที่เธอให้ หรือเธอเอาทรัพย์เหล่านี้ไปแล้วกลับไปอยู่กับตระกูลของก็ได้ หรือถ้าเธอต้องการมีสามีใหม่ ฉันก็จะตั้งเธอไว้ในตำแหน่งน้องสาว หรือตำแหน่งลูกสาวแล้วยกเธอให้กับชายนั้นแล้วเลี้ยงดู"

    นางคิดว่า "ผู้ชายปกติ จะไม่มีใครพูดอย่างนี้ เขาคงแทงทะลุโลกุตตรธรรมเป็นแน่ ก็ผู้ชายเท่านั้นหรือที่พึงแทงทะลุธรรมนั้นได้ หรือแม้เป็นผู้หญิงก็สามารถแทงทะลุได้" จึงพูดกับวิสาขะว่า "ธรรมนั้นผู้ชายเท่านั้นหรือหนอที่พึงได้ หรือแม้เป็นผู้หญิงก็สามารถบรรลุได้ด้วย"

    ท่านอุบาสกตอบว่า "พูดอะไร ธรรมทินนา ผู้ที่เป็นนักปฏิบัตินั้น ย่อมเป็นทายาทของธรรมนั้น ผู้ที่มีอุปนิสัยก็ย่อมได้รับธรรมนั้น"

    นางธรรมทินนา "เมื่อเป็นอย่างนั้น ขอให้ท่านยินยอมให้ดิฉันบวชเถิด"

    วิสาขอุบาสก "ดีแล้วที่รัก ฉันเองก็อยากจะแนะนำในทางนี้เหมือนกัน แต่ยังไม่รู้ใจเธอจึงไม่พูด"

    แล้ววิสาขอุบาสกจึงให้นางธรรมทินนาอาบน้ำหอม ให้ประดับประดาด้วยเครื่องสำอางทุกอย่าง ให้นั่งบนวอทอง แวดล้อมด้วยหมู่ญาติ บูชาด้วยดอกไม้หอมเป็นต้น พาไปสู่สำนักภิกษุณีแล้วเรียนว่า "ขอให้นางธรรมทินนาบวชเถิด แม่เจ้า"

    พวกภิกษุณีคิดว่าท่านเศรษฐีจะลงโทษภรรยาที่กระทำความผิดโดยการให้ออกบวชจึงพูดว่า" คฤหบดี กับความผิดอย่างหนึ่งหรือสองอย่าง ท่านก็ควรจะอดทนได้"

    วิสาขะจึงเรียนว่า "ไม่มีความผิดอะไรหรอก แม่เจ้า เธอบวชด้วยศรัทธา"

    ลำดับนั้น ภิกษุณีผู้สามารถรูปหนึ่ง จึงบอกกัมมัฏฐานหมวดห้าแห่งหนัง ให้โกนผมแล้วให้บวช

    วิสาขะพูดว่า "แม่เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมไว้ดีแล้ว ท่านจงยินดีเถิด" ไหว้แล้วหลีกไป
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในทางผู้เป็นธรรมกถึก

    ๐ นางธรรมทินนาบรรลุพระอรหัต

    ตั้งแต่วันที่นางบวชแล้ว ลาภสักการะก็เกิดขึ้น เพราะเหตุนั้นนางจึงยุ่งจนหาโอกาสทำสมณธรรมไม่ได้ ทีนั้น พวกพระเถรีที่เป็นอาจารย์และอุปัชฌาย์จึงพานางไปบ้านนอก แล้วก็ให้เรียนกัมมัฏฐานตามชอบใจในอารมณ์สามสิบแปดอย่างเริ่มทำสมณธรรม สำหรับนางลำบากไม่นานเพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอานุภาพแห่งความปรารถนาที่กระทำไว้เมื่อครั้งพระศาสดาทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงอุบัติในโลก ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนานั้น นางจึงไม่เหนื่อยมาก สองสามวันเท่านั้นเองก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

    ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระธัมมทินนาเถรีคิดว่าใจของเราหมดกิเลสแล้ว บัดนี้เราจักอยู่ทำอะไรในที่นี้ เราจักไปกรุงราชคฤห์ถวายบังคมพระศาสดา และพวกญาติของเราเป็นจำนวนมากจักกระทำบุญ พระเถรีจึงกลับมากรุงราชคฤห์กับภิกษุณีทั้งหลาย


    ๐ วิสาขอุบาสกทดสอบพระเถรี

    วิสาขะได้ฟังว่านางธรรมทินนากลับมาจึงคิดว่า นางบวชแล้วไปบ้านนอกยังไม่นานเลย ก็กลับมา นางคงจะยังยินดีอยู่ในโลกีย์วิสัยละมัง แล้วก็ได้ไปสำนักนางภิกษุณี ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง แล้วจึงคิดว่าจะ ถามถึงเรื่องที่ตนสงสัยก็เห็นจะไม่สมควร จึงถามปัญหาด้วยอำนาจปัญจขันธ์ เป็นต้น.

    พระธรรมทินนาเถรีก็วิสัชนาปัญหาที่วิสาขอุบาสกถามแล้ว เหมือนเอาพระขรรค์ตัดก้านบัวฉะนั้น

    อุบาสกรู้ว่า พระธรรมทินนาเถรี มีญาณกล้า จึงถามปัญหาที่ละเอียดลึกซึ้งขึ้นไปเรื่อย พระเถรีก็เฉลยปัญหาเหล่านั้นโดยลำดับ จนในที่สุด อุบาสกถามโดยอาการทุกอย่างในอนาคามีมรรคตามลำดับ ในฐานะที่ตนบรรลุแล้ว ทั้งยังถามปัญหาในอรหัตมรรค ซึ่งเป็นการถามตามที่ได้เล่าเรียนมา เพราะตนยังไม่บรรลุถึงขั้นนั้น

    พระธรรมทินนาเถรีก็รู้ว่า อุบาสกมีวิสัยเพียงอนาคามิผล เท่านั้น คิดว่า บัดนี้ อุบาสกถามเกินวิสัยของตนไป จึงทำให้อุบาสกนั้นกลับโดยกล่าวว่า ท่านวิสาขะ ท่านยังไม่อาจกำหนดที่สุดแห่งปัญหาทั้งหลายได้ ท่านวิสาขะ ถ้าท่านยังจำนงหวังพรหมจรรย์ที่หยั่งลงสู่พระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีพระนิพพานเป็นที่สุด ท่านวิสาขะ ท่านจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามความข้อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์อย่างไร ก็พึงทรงจำไว้อย่างนั้น


    ๐ ทรงแต่งตั้งเป็นเอตทัคคะผู้เป็นธรรมกถึก

    วิสาขอุบาสกกราบทูลนัยแห่งคำถามและคำตอบทั้งหมดแด่พระศาสดา พระศาสดาทรงสรรเสริญพระเถรีนั้นด้วยพระพุทธพจน์ว่า วิสาขะ ภิกษุณีธัมมทินนาเป็นบัณฑิตเป็นต้น ทรงประกาศการพยากรณ์ปัญหาเทียบกับพระสัพพัญญุตญาณ ทรงทำจูฬเวทัลลสูตรนั้นแลให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ทรงตั้งพระธัมมทินนาเถรีนั้นไว้ในตำแหน่งเลิศของภิกษุณีผู้เป็นธรรมกถึก



    .............................................................

    คัดลอกมาจาก ::
    http://www.dharma-gateway.com/
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระนันทาเถรี เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในฌาน

    [​IMG]


    เจ้าหญิงในศากยวงศ์ที่ชื่อนันทา นั้นมีปรากฏอยู่หลายองค์ เรียกว่า “นันทา” บ้าง “รูปนันทา” บ้าง สุนทรีนันทา” บ้าง “อภิรูปนันทา” บ้าง แต่เมื่อวิเคราะห์ดูแล้ว จะเหลือเพียง ๒ องค์ คือ เจ้าหญิงรูปนันทา และเจ้าหญิงอภิรูปนันทา

    เจ้าหญิงทั้งสองนั้น เจ้าหญิงรูปนันทา เป็นพระธิดาของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ และพระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระขนิษฐภคินีของเจ้าชายนันทะ ส่วนเจ้าหญิงอภิรูปนันทา นั้น อรรถกถากล่าวว่า เป็นพระธิดาของพระเจ้าเขมกศากยะ มีคู่หมั้นชื่อ เจ้าชายสัจจกุมาร แต่พระคู่หมั้นก็ได้สิ้นพระชนม์ลงในวันหมั้นนั่นเอง

    เรื่องราวของ เจ้าหญิงรูปนันทา และเจ้าหญิงอภิรูปนันทานี้ ตามอรรถกถาได้กล่าวไว้คล้ายคลึงกันมาก ตั้งแต่ เป็นเจ้าหญิงในศากยวงศ์เหมือนกัน ชื่อคล้ายกัน เป็นผู้มีความงามอย่างยิ่งเหมือนกัน เป็นผู้หลงในความงามของตนเองเหมือนกัน ออกบวชเป็นภิกษุณีโดยไม่ศรัทธาเหมือนกัน และพระบรมศาสดาได้ทรงใช้อุบายในการแสดงธรรมในลักษณะอย่างเดียวกัน จนกระทั่งพระนางทั้งสองบรรลุพระอรหันต์

    ประวัติที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะเป็นประวัติของ เจ้าหญิงรูปนันทา ซึ่งต่อมาได้ออกบวชเป็นพระภิกษุณี และได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของภิกษุณีทั้งหลายผู้ยินดีในฌาน ทั้งนี้ก็โดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้


    ๐ ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีต

    ดังได้สดับมา พระนันทาเถรีนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้ถือปฏิสนธิในสกุลเศรษฐี กรุงหังสวดี ต่อมา ขณะเมื่อกำลังฟังธรรมกถาอยู่ เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้ยินดียิ่งในฌาน จึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกพร้อมด้วยพระสงฆ์ ได้ถวายมหาทานแด่พระองค์ด้วยมือของตน แล้วตั้งความปรารถนาในตำแหน่งนั้นบ้างในสมัยแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นในอนาคต

    ครั้งนั้นพระสุคตเจ้าทรงพยากรณ์ว่า นางจักได้ตำแหน่งที่ปรารถนาดีแล้วนั้น ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้พระศาสดาพระนามว่าโคดม มีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก นางจักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักเป็นสาวิกาของพระองค์ มีนามชื่อว่านันทา

    เมื่อได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้วนางก็มีใจยินดีมีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระพิชิตมาร ด้วยปัจจัยทั้งหลายตลอดชีวิต ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้ดีนั้นและด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เมื่อละร่างกายมนุษย์แล้ว ก็ได้เวียนว่ายอยู่ในภพภูมิเทวดาและมนุษย์ตลอดแสนกัป
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระนันทาเถรี เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในฌาน

    ๐ ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมหาปชาบดีโคตมี พระมเหสีในพระเจ้าสุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ มีพระเชษฐาชื่อเจ้าชายนันทะ ทั้งสองพระองค์มีฐานะเป็นน้องต่างพระมารดากับเจ้าชายสิทธัตถะ พระประยูรญาติได้เฉลิมพระนามพระนางว่า รูปนันทา ต่อมาเมื่อทรงเติบใหญ่ขึ้น ก็ทรงพระสิริโฉมเป็นอย่างยิ่ง จนได้ชื่อว่า ชนบทกัลยาณี

    ศากยวงศ์นั้นได้ชื่อว่าเป็นวงศ์ที่มีความบริสุทธิ์แห่งชาติเป็นอย่างยิ่ง จะไม่ยอมอภิเษกกับราชวงศ์อื่นที่ต่ำกว่าเป็นอันขาด และเมื่อเจ้าชายนันทะโตพอที่จะอภิเษกได้แล้ว เมื่อในขณะนั้นไม่มีราชธิดาของราชวงศ์ที่เสมอกันแล้วจึงให้ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงรูปนันทา ผู้เป็นพระกนิษฐภคินีเพื่อรักษาพระวงศ์ให้บริสุทธิ์

    วันที่กำหนดให้เป็นวันวิวาหมงคลของเจ้าชายนันทะ และเจ้าหญิงรูปนันทา นั้น เป็นวันที่ ๓ นับแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระพุทธบิดาและหมู่พระญาติ

    ในวันวิวาหมงคลนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จไปในงาน เมื่อไปถึงจึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาต จากนั้นเมื่อจะเสด็จกลับ ได้ทรงประทานบาตรในหัตถ์ของนันทกุมาร ตรัสอวยพรแล้วเสด็จลุกจากอาสนะ โดยหาได้ทรงรับบาตรจากหัตถ์ของนันทกุมารคืนมาไม่


    ๐ นันทะพุทธอนุชาออกบวช

    ฝ่ายนันทกุมารนั้น ด้วยความเคารพในพระตถาคต จึงมิอาจทูลว่า “ขอพระองค์รับบาตรไปเถิด พระเจ้าข้า” แต่คิดว่า “พระศาสดา คงจักทรงรับบาตรคืนที่หัวบันได” แต่เมื่อถึงที่นั้นพระศาสดาก็มิได้ทรงรับ นันทกุมารจึงคิดว่า “คงจักทรงรับที่ริมเชิงบันได” แม้ถึงที่นั้นแล้ว พระศาสดาก็ไม่ทรงรับ นันทกุมารก็คิดว่า “จักทรงรับที่พระลานหลวง” แม้ถึงที่นั้นแล้วพระศาสดาก็ไม่ทรงรับ

    พระกุมารปรารถนาจะเสด็จกลับ แต่จำเสด็จไปด้วยความไม่เต็มพระทัย เพราะด้วยความเคารพในพระตถาคต จึงไม่กล้าทูลว่า “ขอพระองค์ทรงรับบาตรเถิด” ทรงเดินก็นึกเอาว่า “พระองค์จักทรงรับในที่นี้ พระองค์จักทรงรับในที่นี้” ในขณะนั้นพวกนางข้าหลวงของเจ้าหญิงรูปนันทาเห็นอาการนั้นแล้ว จึงบอกแก่เจ้าหญิงว่า “พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพานันทกุมารเสด็จไปแล้ว คงจักพรากนันทกุมารจากพระแม่เจ้า”

    ฝ่ายพระนางรูปนันทาเมื่อได้ยินดังนั้น ทั้งที่ยังทรงเกล้าพระเกศาค้างอยู่ ก็รีบเสด็จไปที่พระบัญชร ทูลกับพระกุมารนั้นว่า “ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอพระองค์พึงด่วนเสด็จกลับ” คำของนางนั้น ประหนึ่งตกไปขวางตั้งอยู่ในหทัยของนันทกุมาร

    แม้พระศาสดา ก็ยังไม่ทรงรับบาตรจากหัตถ์ของนันทกุมารนั้นเลย ทรงนำนันทกุมารนั้นไปสู่วิหารแล้วตรัสว่า “นันทะ เธออยากบวชไหม ?” นันทกุมารนั้น ด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า จึงไม่กล้าทูลว่า “จักไม่บวช” จึงทูลรับว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จักบวชพระเจ้าข้า”พระศาสดารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น เธอทั้งหลายจงให้นันทะบวชเถิด”

    ต่อมาพระนันทเถระก็ได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ ภายหลังพระผู้มีพระภาคได้ทรงแต่งตั้งให้ท่านได้เป็น เอตทัคคะผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระนันทาเถรี เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในฌาน

    ๐ พระนางรูปนันทาออกทรงผนวช

    ต่อมา เมื่อพระเจ้าสุทโธทนมหาราชเสด็จปรินิพพานแล้ว และเมื่อพระมหาปชาบดีโคตมีและพระนางพิมพาบวชแล้ว พระนางก็คิดว่า พระเชษฐภาดาของเราทรงละความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิออกบวชเป็นพระพุทธเจ้าผู้อัครบุคคลในโลก แม้ราหุลกุมารผู้เป็นพระโอรสของพระองค์ก็บวช เจ้าชายนันทราชภัสดาของเราก็ดี พระมหาปชาบดีโคตมีพระมารดาก็ดี พระนางพิมพาพระภคินีก็ดี ก็บวชกันหมดแล้ว บัดนี้ตัวเราจักทำอะไรอยู่ในวังเล่า เราก็ควรจักบวชด้วยเหมือนกัน เธอจึงไปยังสำนักพระมหาปชาบดีโคตมี และทรงผนวช


    ๐ พระนางไม่เข้าเฝ้าพระศาสดาเพราะเกรงถูกตำหนิ

    แต่การบวชของพระนางเป็นบวชด้วยความรักพวกพระญาติ ไม่ได้บวชด้วยศรัทธาฉะนั้น ถึงบวชแล้วก็ยังหลงใหลด้วยความเจริญแห่งรูป จึงไม่ไปเฝ้าพระศาสดา ด้วยคิดว่าพระศาสดาทรงตำหนิติเตียนรูป ทรงแสดงโทษในรูปโดยอเนกปริยาย เมื่อพระศาสดาเห็นรูปของเราซึ่งน่าดู น่าเลื่อมใสอย่างนี้แล้ว จะพึงตรัสโทษในรูป

    เมื่อถึงวาระที่จะต้องไปรับพระโอวาท ก็สั่งภิกษุณีรูปอื่นไปแล้วให้นำพระโอวาทมาแสดงแก่พระนาง


    ๐ พระนางรูปนันทาเถรีเข้าเฝ้าทรงสดับธรรม

    ในสมัยนั้น พวกชาวพระนครสาวัตถี ถวายทานแต่เช้าตรู่ สมาทานอุโบสถแล้วห่มผ้าสะอาด มีมือถือของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น พอตกเวลาเย็น ก็ประชุมกันฟังธรรมในพระเชตวัน แม้ภิกษุณีสงฆ์ผู้เกิดฉันทะในพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ก็ย่อมไปวิหารฟังธรรม ชาวพระนครสาวัตถีเหล่านั้นครั้นฟังธรรมแล้ว เมื่อกลับเข้าไปสู่พระนคร ก็กล่าวแต่คุณกถาของพระศาสดาเท่านั้นกันอยู่ทั่วไป

    พระนางรูปนันทา ได้สดับคำพรรณนาคุณของพระตถาคตเหล่านั้นจากพวกภิกษุณีและพวกอุบาสิกา จึงทรงดำริว่า "ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวชมเจ้าพี่ของเรานักหนาทีเดียว แม้ในวันหนึ่ง พระองค์เมื่อจะตรัสโทษในรูปของเรา จะตรัสได้สักเท่าไร ? ถ้ากระไร เราพึงไปกับพวกภิกษุณี แต่จะไม่แสดงตนเลย เฝ้าพระตถาคตฟังธรรมแล้วค่อยกลับมา"

    พระนางจึงตรัสบอกแก่พวกภิกษุณีว่า "วันนี้ ฉันจักไปสู่ที่ฟังธรรม"

    พวกภิกษุณีมีใจยินดีว่า "นานนักหนา การที่พระนางรูปนันทาทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว วันนี้พระศาสดา ทรงอาศัยพระนางรูปนันทานี้แล้ว จักทรงแสดงพระธรรมเทศนาอันวิจิตร" ดังนี้แล้วก็พาพระนางออกไป ตั้งแต่เวลาที่ออกไป พระนางก็ทรงดำริว่าจะไม่แสดงพระองค์เลย
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระนันทาเถรี เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในฌาน

    ๐ พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระนาง

    พระศาสดาทรงดำริว่า "วันนี้ รูปนันทาจักมาที่บำรุงของเรา ธรรมเทศนาเช่นไรหนอแล ? จักเป็นที่สบายของเธอ" ทรงทำความตกลงพระหฤทัยว่า "รูปนันทานั่น หนักในรูป มีความเยื่อใยในอัตภาพอย่างรุนแรง การบรรเทาความเมาในรูปด้วยรูปนั่นแล เป็นที่สบายของเธอ ดุจการบ่งหนามด้วยหนามฉะนั้น"

    ในเวลาที่พระนางเข้าไปสู่วิหารจึงทรงนิรมิตหญิงมีรูปสวยพริ้งผู้หนึ่ง อายุราว ๑๖ ปี นุ่งผ้าแดง ประดับแล้วด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง ถือพัด ยืนถวายงานพัดอยู่ในที่ใกล้พระองค์ด้วยกำลังพระฤทธิ์ ก็แลพระศาสดาและพระนางรูปนันทาเท่านั้น ทรงเห็นรูปหญิงนั้น

    พระนางเสด็จเข้าไปวิหารพร้อมกับภิกษุณีทั้งหลาย ทรงยืนข้างหลังพวกภิกษุณี ถวายบังคมพระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นั่งในระหว่างพวกภิกษุณี ทรงแลดูพระศาสดาตั้งแต่พระบาท ทรงเห็นพระสรีระของพระศาสดาวิจิตรแล้วด้วยพระลักษณะ รุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ อันพระรัศมีวาหนึ่งแวดล้อมแล้ว ทรงแลดูพระพักตร์อันมีสิริดุจพระจันทร์เพ็ญ ได้ทรงเห็นรูปหญิงยืนอยู่ในที่ใกล้แล้ว

    พระนางทรงแลดูหญิงนั้นแล้ว ทรงแลดูอัตภาพของตน รู้สึกว่าตนเหมือนนางกา ซึ่งอยู่ข้างหน้านางพระยาหงส์ทอง ก็นับแต่เวลาที่พระนางทรงเห็นรูปอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์นั้น พระเนตรทั้งสองของพระนางก็วิงเวียน พระนางมีจิตอันสิริโฉมแห่งสรีรประเทศทั้งหมดดึงดูดไปแล้วว่า "โอ ผมของหญิงนี้ก็งาม โอ หน้าผากก็งาม" ดังนี้ ได้มีสิเนหาในรูปนั้นอย่างรุนแรง

    พระศาสดาทรงทราบความยินดีอย่างสุดซึ้งในรูปนั้นของพระนาง พอเมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงทรงแสดงรูปนั้นให้ล่วงภาวะของผู้มีอายุ ๑๖ ปี มีอายุราว ๒๐ ปี พระนางรูปนันทาได้ทอดพระเนตรมีจิตเบื่อหน่ายหน่อยหนึ่งว่า "รูปนี้ไม่เหมือนรูปก่อนหนอ"

    พระศาสดาทรงแสดงความแปรเปลี่ยนของหญิงนั้นโดยลำดับเทียว คือ เพศหญิงคลอดบุตรครั้งเดียว เพศหญิงกลางคน เพศหญิงแก่ เพศหญิงแก่คร่ำคร่าแล้วเพราะชรา แม้พระนางก็ทรงเบื่อหน่ายรูปนั้น ในเวลาที่ทรุดโทรมเพราะชราโดยลำดับเหมือนกัน ว่า "โอ รูปนี้ หายไปแล้วๆ"

    ครั้นทรงเห็นรูปนั้นมีฟันหัก ผมหงอก หลังโกง มีซี่โครงขึ้นดุจกลอน มีไม้เท้ายันข้างหน้า งกงันอยู่ ก็ทรงเบื่อหน่ายเหลือเกิน

    ลำดับนั้น พระศาสดาทรงแสดงรูปหญิงนั้นให้เป็นรูปอันพยาธิครอบงำ ในขณะนั้นเอง หญิงนั้นทิ้งไม้เท้าและพัดใบตาล ร้องเสียงขรม ล้มลงที่ภาคพื้น จมลงในอุจจาระและปัสสาวะของตน กลิ้งเกลือกไปมา

    พระนางรูปนันทา ทรงเห็นหญิงนั้นแล้ว ทรงเบื่อหน่ายเต็มที

    พระศาสดา ทรงแสดงมรณะของหญิงนั้นแล้ว

    หญิงนั้นกลายเป็นศพพองขึ้นในขณะนั้นเอง สายแห่งหนองและหมู่หนอนไหลออกจากทวารทั้ง ๙ ฝูงสัตว์มีกาเป็นต้นรุมแย่งกันกินแล้ว

    พระนางรูปนันทา ทรงพิจารณาซากศพนั้นแล้ว ทรงเห็นอัตภาพโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงว่า "หญิงนี้ถึงความแก่ ถึงความเจ็บ ถึงความตาย ในที่นี้เอง ความแก่ ความเจ็บและความตาย จักมาถึงแก่อัตภาพแม้นี้อย่างนั้นเหมือนกัน"

    และเพราะความที่อัตภาพเป็นสภาพอันพระนางทรงเห็นแล้ว โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงนั่นเอง อัตภาพนั้น จึงเป็นอันทรงเห็นแล้วโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตาทีเดียว

    ลำดับนั้น ภพทั้งสามปรากฏแก่พระนางดุจถูกไฟเผาลนแล้ว และดุจซากศพอันเขาผูกไว้ที่พระศอ จิตมุ่งตรงต่อกรรมฐานแล้ว

    พระศาสดาทรงทราบว่า พระนางทรงคิดเห็นอัตภาพโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงแล้ว จึงทรงพิจารณาดูว่า "พระนางจักสามารถทำที่พึ่งแก่ตนได้เองทีเดียวหรือไม่หนอแล ?"

    ทรงเห็นว่า "จักไม่อาจ การที่พระนางได้ปัจจัยภายนอกเสียก่อน จึงจะเหมาะ" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม ด้วยอำนาจธรรมเป็นที่สบายแห่งพระนาง ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

    "นันทา เธอจงดูกายอันกรรมยกขึ้น อันอาดูร
    ไม่สะอาด เปื่อยเน่า ไหลออกอยู่ข้างบน ไหลออก
    อยู่ข้างล่าง ที่พาลชนทั้งหลายปรารถนากันนัก
    สรีระของเธอนี้ ฉันใด สรีระของหญิงนั่น ก็ฉันนั้น
    สรีระของหญิงนั่น ฉันใด สรีระของเธอนี้ ก็ฉันนั้น
    เธอจงเห็นธาตุทั้งหลายโดยความเป็นของสูญ อย่า
    กลับมาสู่โลกนี้อีก เธอคลี่คลายความพอใจในภพ
    เสียแล้ว จักเป็นบุคคลผู้สงบเที่ยวไป"
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระนันทาเถรี เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในฌาน

    ๐ พระนางนันทาสำเร็จโสดาปัตติผล

    ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภพระนางนันทาภิกษุณี ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล พระนางนันทาทรงส่งญาณไปตามกระแสเทศนา บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว


    ๐ พระศาสดาทรงแสดงวิปัสสนา

    ลำดับนั้น พระศาสดาเพื่อจะตรัสสุญญตกรรมฐาน เพื่อต้องการอบรมวิปัสสนาเพื่อมรรคผลทั้งสามยิ่งขึ้นไปแก่พระนาง จึงตรัสว่า

    "แน่ะนันทา ในสรีระนี้ไม่มีสาระแม้มีประมาณน้อยเลย กายนี้มีเนื้อและเลือดฉาบทาไว้ เป็นที่อยู่ของชราเป็นต้น เป็นเพียงกองกระดูกเท่านั้น ดังนี้" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

    "สรีระอันกรรมทำให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลาย
    ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต เป็นที่ตั้งลงแห่งชรา มรณะ มานะ และมักขะ"

    ในกาลจบเทศนา พระนางรูปนันทาเถรีได้บรรลุพระอรหัตผล พระธรรมเทศนาได้เป็นกถามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล


    ๐ ทรงแต่งตั้งเป็นเอตทัคคะผู้ยินดีในฌาน

    ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาพวก ภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่างๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระนันทเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เลิศกว่า ภิกษุณีทั้งหลายผู้ยินดีในฌาน



    .............................................................

    คัดลอกมาจาก ::
    http://www.dharma-gateway.com/
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระโสณาเถรี เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร

    [​IMG]


    พระโสณาเถรีผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของภิกษุณีทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร ก็โดยเหตุ ๒ ประการ คือโดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ เพราะท่านแสดงให้ผู้อื่นเห็นเป็นอย่างชัดเจนในคุณข้อนี้ของท่าน และไม่เพียงเนื่องจากเหตุข้อนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นการแต่งตั้งโดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้


    ๐ ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีต

    ได้ยินว่า พระโสณาเถรีนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในครอบครัว กรุงหังสวดี ต่อมา กำลังฟังธรรมของพระศาสดา เห็นพระศาสดากำลังทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ปรารภความเพียร จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้นบ้าง ครั้นสิ้นชีวิตลง ก็เวียนว่ายอยู่ใน ภพภูมิเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป


    ๐ ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ในพุทธุปบาทกาลนี้ถือปฏิสนธิในสกุลเศรษฐีที่มั่งคั่งเจริญ มีทรัพย์มากในพระนครสาวัตถี เมื่อเติบใหญ่ขึ้นก็ได้แต่งงานมีครอบครัว มีบุตรเป็นชายล้วน (ในอรรถกถาบางแห่งกล่าวว่า มีทั้งบุตรและธิดา) รวม ๑๐ คนประวัติของนางต่อจากนี้ไป ที่ปรากฏในพระบาลี และ อรรถกถาต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓.๑ โสณาเถริยาปทานกล่าวไว้ว่าบุตรชายทั้ง ๑๐ คนล้วนแต่มีรูปงาม เป็นผู้ร่าเริง ตั้งอยู่ในความสุข ผูกใจของผู้ที่ได้พบเห็นให้นิยมชมชื่น แม้แต่พวกศัตรูก็ชอบใจ เป็นที่รักของนางผู้เป็นมารดายิ่งนัก

    ต่อมา สามีของนางพร้อมด้วยบุตร ทั้ง ๑๐ คน ก็พากันไปบวชในพระพุทธศาสนาโดยที่นางไม่เต็มใจ เมื่อนางต้องอยู่ผู้เดียวก็เห็นว่า การอยู่แต่ผู้เดียวโดยไม่มีสามีและบุตรคอยดูแลเป็นการไม่เหมาะสมจึงได้ออกบวชเป็นภิกษุณีในอารามที่สามีบวชเป็นภิกษุอยู่

    ส่วนในอรรถกถาโสณีเถรีคาถาเล่าประวัติของนางว่า

    เมื่อนางแต่งงานมีสามี ก็มีบุตรธิดา ๑๐ คน ก็ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้มีบุตรมาก ต่อมาสามีก็ออกบวช นางจึงจัดแจงแบ่งทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ให้กับบุตรธิดาซึ่งเติบโตเป็นหนุ่มสาวและแต่งงานแล้วทุกคน จนหมดไม่เหลือทรัพย์อะไรๆ ไว้สำหรับตัวเลย

    บุตรและภริยาของบุตรเลี้ยงดูนางได้ระยะหนึ่งแสดงอาการดูหมิ่น รังเกียจนางผู้เป็นมารดา นางจึงคิดว่า ไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะอาศัยอยู่กับบุตร จึงได้ออกบวชเป็นภิกษุณี
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระโสณาเถรี เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร

    ๐ บำเพ็ญเพียรจนบรรลุพระอรหัต

    ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓.๑ โสณาเถริยาปทาน ตัวท่านเองได้กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งท่านได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุพระอรหันต์ไว้สั้นๆ ว่า

    ครั้งนั้น พวกภิกษุณีละดิฉันไว้ในสำนักที่อยู่อาศัยแต่ผู้เดียว สั่งดิฉันว่าท่านจงต้มน้ำไว้แล้วก็ไปกัน เวลานั้น ดิฉันตักน้ำมาใส่ในหม้อเล็กตั้งทิ้งไว้แล้วนั่งอยู่ แต่นั้นดิฉันก็เริ่มเพียรทางจิต ได้พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ยังอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว ได้บรรลุอรหัตผล

    ส่วนในอรรถกถาโสณาเถรีคาถาได้บรรยายแปลกออกไปว่า

    นางได้อุปสมบทแล้วคิดว่า เราบวชเมื่อแก่ พึงไม่ประมาท เมื่อทำวัตรปฏิบัติแก่ภิกษุณีทั้งหลาย คิดว่า เราจักทำสมณธรรมตลอดคืนยังรุ่ง ก็เอามือข้างหนึ่งจับเสาต้นหนึ่งใต้ปราสาท ไม่ละเสานั้นทำสมณธรรม แม้เมื่อเดิน คิดว่า ศีรษะของเราไม่พึงชนที่ต้นไม้เป็นต้นแห่งใดแห่งหนึ่งในที่มืดแล้วเอามือข้างหนึ่งจับต้นไม้ ไม่ละต้นไม้นั้น ทำสมณธรรม

    นับตั้งแต่นั้นมานางก็ได้ปรากฏชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ปรารภความเพียร

    พระศาสดาทรงเห็นว่านางมีญาณแก่กล้า ประทับในพระคันธกุฎีแผ่พระรัศมีไป แสดงพระองค์ประหนึ่งว่าประทับนั่งต่อหน้า ได้ตรัสพระคาถาว่า

    ผู้เห็นธรรมสูงสุด มีชีวิตเป็นอยู่วันเดียว
    ยังประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นธรรมสูงสุด มีชีวิตเป็นอยู่ตั้งร้อยปี

    จบพระคาถา นางก็บรรลุพระอรหัต

    อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต (อรรถกถาเล่มที่ ๓๓)

    เมื่อนางออกบวชแล้ว ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายลงทัณฑกรรมนางว่า ภิกษุณีรูปนี้ไม่รู้ข้อวัตร ทำกิจที่ไม่สมควร เหล่าบุตรธิดาพบนางต้องทัณฑกรรมก็พากันพูดเยาะเย้ยในที่พบเห็นว่า หญิงผู้นี้ไม่รู้แม้เพียงสิกขาจนทุกวันนี้

    นางได้ยินคำพูดของบุตรธิดาเหล่านั้น ก็เกิดความสลดใจ คิดว่า เราควรทำการชำระคติของตน จึงท่องบ่นอาการ ๓๒ ทั้งในที่ๆ นั่ง ทั้งในที่ๆ ยืน แต่ก่อนปรากฏชื่อว่า พระโสณาเถรี ผู้มีบุตรมาก ฉันใด ภายหลังก็ปรากฏชื่อว่า พระโสณาเถรี ผู้ปรารภความเพียรมาก ฉันนั้น

    ภายหลังวันหนึ่ง เหล่าภิกษุณีไปวิหารบอกว่า แม่โสณา ต้มน้ำถวายภิกษุณีสงฆ์นะ แม่นางก็เดินจงกรมที่โรงไฟก่อนน้ำเดือด ท่องบ่นอาการ ๓๒ เจริญวิปัสสนา พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎี ตรัสพระคาถาพร้อมกับเปล่งโอภาส ดังนี้ว่า

    ผู้เห็นธรรมสูงสุดมีชีวิตเป็นอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่า
    ผู้ไม่เห็นธรรมสูงสุด มีชีวิต เป็นอยู่ถึง ๑๐๐ ปี

    จบพระคาถา นางก็บรรลุพระอรหัต
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระโสณาเถรี เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร

    ๐ พระเถรีแสดงฤทธิ์เพื่อให้
    นางภิกษุณีอื่นทราบว่าบรรลุพระอรหัตแล้ว


    ครั้นเมื่อพระเถรีบรรลุพระอรหัตแล้วก็คิดว่า เมื่อเราบรรลุพระอรหัตแล้ว ถ้าผู้ที่ไม่ทราบมา ไม่ใคร่ครวญก่อน มาพูดอะไรๆ ดูหมิ่นเรา ก็จะพึงประสบบาปเป็นอันมาก เพราะเหตุนั้น เราควรทำเหตุที่เขาจะสามารถรู้กัน ได้ นางจึงยกกาน้ำขึ้นตั้งบนเตาไฟโดยไม่ใส่ไฟไว้ภายใต้

    เหล่าภิกษุณีเมื่อกลับมาเห็นน้ำตั้งอยู่บนเตาแต่ไม่เห็นไฟ ก็กล่าวว่า พวกเราบอกให้หญิงแก่คนนี้ต้มน้ำ ถวายภิกษุณีสงฆ์ในวันนี้ แต่นางก็ยังไม่ใส่ไฟในเตา พระเถรีจึงกล่าวว่า แม่เจ้า พวกท่านต้องการอาบน้ำร้อน ที่ร้อนด้วยไฟหรือ โปรดเอาน้ำจากภาชนะนั้นไปอาบเถิด

    ภิกษุณีเหล่านั้นจึงเอามือไปจุ่มลงในน้ำก็รู้ว่าร้อน จึงนำหม้อน้ำหม้อหนึ่งมาบรรจุน้ำ ที่บรรจุแล้ว ๆ ก็เต็มน้ำ ภิกษุณีทั้งหมดนั้นก็รู้ว่า นางตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ภิกษุณีที่อ่อนกว่าก็หมอบกราบลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์ขอขมาพระเถรีว่า แม่เจ้า พวกเราไม่พิจารณาก่อน แล้วกล่าวเสียดสีแม่เจ้า ขอแม่เจ้าโปรดอดโทษแก่พวกเราด้วยเถิด

    ฝ่ายเหล่าพระเถรีที่แก่กว่า ก็นั่งกระหย่ง ขอขมาว่า โปรดอดโทษด้วยเถิดแม่เจ้า

    จำเดิมแต่นั้น คุณของพระเถรี ก็ปรากฏไปว่า พระเถรีแม้บวชเวลาแก่เฒ่าก็ดำรงอยู่ในผลอันเลิศในเวลา ไม่นาน เพราะเป็นผู้ปรารภความเพียร


    ๐ ทรงแต่งตั้งเป็นเอตทัคคะผู้ปรารภความเพียร

    ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาพวก ภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่างๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระโสณาเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เลิศกว่า ภิกษุณีทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร



    .............................................................

    คัดลอกมาจาก ::
    http://www.dharma-gateway.com/
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระสกุลาเถรี เอตทัคคะมหาเถรีผู้มีทิพยจักษุ

    พระสกุลาเถรีผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของภิกษุณีทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ ก็โดยเหตุ ๒ ประการ คือโดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ เพราะท่านแสดงให้ผู้อื่นเห็นเป็นอย่างชัดเจนในคุณข้อนี้ของท่าน และไม่เพียงเนื่องจากเหตุข้อนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นการแต่งตั้งโดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้

    ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีต

    ครั้งนั้น นางเกิดในเมืองหงสวดีมีนามว่าขัตติยนันทนา มีรูปสวยงดงามอย่างยิ่งเป็นที่พึงใจ เป็นพระธิดาของพระราชาผู้ใหญ่ พระนามว่าอานันทะ เป็นพระภคินีต่างพระมารดาแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ห้อมล้อมด้วยราชกัญญาทั้งหลาย ประดับด้วยสรรพาภรณ์ เข้าไปเฝ้าพระวีรเจ้า แล้วได้ฟังธรรมเทศนา

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตั้งภิกษุณีองค์หนึ่งในตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุณีผู้มีทิพยจักษุ ในท่ามกลางบริษัทสี่ พระนางได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว มีความร่าเริง ถวายทานและบูชาพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ปรารถนาในตำแหน่งนั้นบ้าง

    พระบรมศาสดาได้ตรัสกะพระนางว่า ดูกรขัตติยนันทนา เธอจักได้ตำแหน่งที่ตนปรารถนา ตำแหน่งที่เธอ ปรารถนานี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ พระศาสดาพระนามว่าโคดม มีสมภพในวงศ์พระเจ้า โอกกากราชจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักเป็นพระสาวิกา ของพระศาสดามีนามว่าสกุลา

    เธอกระทำกุศลกรรมอย่างยิ่งตลอดชีวิต ครั้นสิ้นชีวิตลง ก็เวียนว่ายอยู่ใน ภพภูมิเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป

    ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า

    ในภัทรกัปนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกัสสปะ ครั้งนั้นนางได้บวชปริพาชิกา ถือลัทธิเที่ยวไปผู้เดียว เที่ยวไปเพื่อภิกษา ก็ได้น้ำมันมาหน่อยหนึ่ง บังเกิดมีใจผ่องใส เอาน้ำมันนั้นมาตามประทีปบูชาพระเจดีย์ชื่อสัพพสังวร แห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ

    ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้แล้วนั้นและด้วยการตั้งเจต์จำนง ไว้ เมื่อนางละร่างกายมนุษย์นั้นแล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยอำนาจบุญกรรมนั้นเ เมื่อนางไปเกิดในที่ใดๆ ประทีปเป็นอันมาก ก็สว่างไสวแก่นางในที่นั้นๆ เมื่อนางปรารถนาจะได้สิ่งที่อยู่นอกฝา หรือสิ่งที่อยู่นอกภูเขาศิลา ก็เห็นได้ทะลุปรุโปร่ง นี้เป็นผลแห่ง การถวายประทีป นางมีนัยน์ตาแจ่มใส รุ่งเรืองด้วยยศ มีศรัทธา มีปัญญา นี้ก็เป็นผลแห่งการถวายประทีป

    นางจุติจากอัตภาพนั้นแล้วเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นผู้มีทิพยจักษุบริสุทธิ์ดี ท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกเท่านั้นตลอดพุทธันดรหนึ่ง

    ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ในพุทธุปปาทกาลนี้ นางมาเกิดในตระกูลพราหมณ์ อันมีทรัพย์มากมาย แห่งกรุงสาวัตถี เมื่อเติบใหญ่ก็ได้แต่งงานมีบุตรและธิดา ในครั้งนั้น เมื่อนางวิสาขามหาอุบาสิกาได้ลืมเครื่องประดับมหาลดาประสาธน์ซึ่งมีราคา ๙ โกฏิไว้ในพระอาราม และพระอานนท์ได้เก็บรักษาไว้ เมื่อนางวิสาขาทราบว่าพระเถระเก็บรักษาไว้จึงไม่รับคืนแต่ได้ให้นำออกขายและนำทรัพย์ที่ได้มาซื้อที่ดิน และออกเงินส่วนตัวอีก ๙ โกฏิเพื่อสร้างพระอาราม ครั้นเมื่อสร้างพระอารามเสร็จ จึงได้ใช้ทรัพย์อีก ๙ โกฏิเพื่อฉลองพระอาราม

    ในวันงานถวายพระอารามแต่พระผู้มีพระภาคนั้นเอง นางสกุลาก็มีโอกาสได้ฟังธรรม บังเกิดความเลื่อมใสประกาศตนเป็นอุบาสิกาในคราวนั้น

    ต่อมาก็ได้มีโอกาสฟังธรรมในสำนักของพระภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพรูปหนึ่ง บังเกิดดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบัน แล้วจึงได้สละบ้านเรือน บุตรและธิดา ออกบวช แต่เนื่องจากอายุยังไม่ครบบวช จึงเป็นได้เพียงนางสิกขมานา และนางก็บำเพ็ญเพียร ทำมรรคเบื้องบนให้เกิดขึ้นโดยการปฏิบัติมัชฌิมาปฏิปทา ได้ตัดขาดซึ่งอาสวะทั้งหลาย ซึ่งจะต้องทำลายด้วยอนาคามิมรรค บรรลุอนาคามิผล และเมื่ออายุครบ ก็ได้บวชเป็นภิกษุณี บวชแล้วเริ่มเจริญวิปัสสนา เพียรพยายามอยู่ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต มีความชำนาญใน ฤทธิ์และทิพโสตธาตุ รู้วาระจิตของผู้อื่น

    ทรงแต่งตั้งเป็นเอตทัคคะผู้มีทิพยจักษุ

    ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาพวก ภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระสกุลาเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เลิศกว่า ภิกษุณีทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ


    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk-main-page.htm
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระภัททากุณฑลเกสาเถรี (กุณฑลเกสี) เอตทัคคมหาสาวิกาผู้เลิศด้านตรัสรู้ได้เร็วพลัน

    พระภัททากุณฑลเกสาเถรี ถือปฏิสนธิในสกุลเศรษฐี กรุงราชคฤห์ บิดามารดาตั้งชื่อนางว่า ภัททา แปลว่า เจริญ หรือ น่ารัก

    วันนั้นเหมือนกัน บุตรปุโรหิตก็เกิดในพระนครนั้น เวลาที่บุตรปุโรหิตเกิด อาวุธทั้งหลายก็ลุกโพลงไปทั่วพระนครตั้งแต่พระราชนิเวศน์เป็นต้นไป

    ปุโรหิตก็ไปเข้าเฝ้าแต่เช้าตรู่ ทูลถามพระราชาตามราชประเพณีถึงการบรรทมของพระราชาในคืนที่ผ่านมาว่าเป็นสุขหรือไม่

    พระราชาตรัสว่า เราจะนอนเป็นสุขได้แต่ที่ไหนเล่า อาจารย์ เราเห็นอาวุธ ทั้งหลายในราชนิเวศน์ลุกโพลงตลอดคืนยังรุ่ง ในวันนี้ จะต้องประสบภัยกันหรือ ?

    ปุโรหิตกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์โปรดอย่าทรงพระดำริเพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยเลย อาวุธทั้งหลาย มิใช่ลุกโพลงแต่ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์เท่านั้น ทั่วพระนครก็เป็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า

    พระราชาตรัสถามว่า เพราะเหตุไรเล่า อาจารย์

    ปุโรหิตกราบทูลว่า ในเรือนข้าพระองค์ เด็กชายเกิดโดยฤกษ์โจร เขาเกิดเป็นศัตรูทั่วพระนคร นั่นเป็นบุพนิมิตของเขา แต่พระองค์ไม่มีอันตรายดอก พระเจ้าข้า แต่ถ้าจะทรงพระประสงค์ ก็โปรดให้ฆ่าเขาเสีย

    พระราชาตรัสว่า เมื่อไม่เบียดเบียนเราก็ไม่ต้องฆ่าดอก

    ปุโรหิตจึงตั้งชื่อ เขาว่า สัตตุกะ (ผู้เป็นศัตรู)


    ภัททาก็เติบโตในเรือนเศรษฐี


    สัตตุกะก็เติบโตในเรือนปุโรหิต ตั้งแต่เขาสามารถเล่นวิ่งมาวิ่งไปได้ เขาจะนำทุกสิ่งที่เขาพบในที่เที่ยวไป มาไว้เต็มเรือนบิดามารดา

    บิดาแม้จะหว่านล้อม ห้ามปรามโดยอ้างแม้ตั้ง ๑,๐๐๐ เหตุ ก็ห้ามปรามเขาไม่ได้

    ต่อมา บิดารู้ว่าห้ามเขาไม่ได้โดยอาการทั้งปวง จึงให้ผ้าเขียวแก่เขา ๒ ผืน ให้เครื่องอุปกรณ์ตัดช่อง และ สีฆาตกยนต์ [กลไกรูปกระจับ] ไว้ในมือ แล้วไล่ให้เขาออกจากตระกูลไป ด้วยกล่าวว่า

    เจ้าจงเลี้ยงชีพด้วยงานชนิดนี้

    ตั้งแต่วันนั้นมา เขาก็ใช้กลไกกระจับ พาตัวขึ้นไปบนปราสาทของสกุลทั้งหลาย ตัดช่องที่ต่อเรือน แล้วขโมยทรัพย์สิ่งของที่เขาเก็บไว้ในสกุลผู้อื่น เหมือนของตัวเอง เก็บไว้แล้วก็ไป ทั่วทั้งพระนครขึ้นชื่อว่าเรือนหลังที่เขาไม่เคยย่องเบา ไม่มีเลย

    วันหนึ่ง พระราชาเสด็จเที่ยวไปในพระนครโดยราชรถ จึงตรัสถามสารถีว่า

    ทำไมหนอ ในเรือนหลังนั้น ๆ ในพระนครนี้ จึงปรากฏมีช่อง(โขมย) ทั้งนั้น

    สารถีกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ในพระนครนี้มีโจรชื่อสัตตุกะ ตัดฝาเรือน ลักทรัพย์ของสกุลทั้งหลาย พระเจ้าข้า

    พระราชาจึงรับสั่งให้หาเจ้าหน้าที่นครบาลมาแล้ว ตรัสถามว่าเขาว่าในพระนครนี้มีโจรชื่ออย่างนี้ เหตุไรเจ้าจึงไม่จับมัน

    เจ้าหน้าที่นครบาลกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ พวกข้าพระองค์ไม่อาจพบโจรนั้นพร้อมทั้งของกลาง พระเจ้าข้า

    ตรัสสั่งว่า ถ้าวันนี้เจ้าพบโจรนั้น จงจับ ถ้าไม่จับ เราจักลงอาชญาเจ้า

    เจ้าหน้าที่นครบาลทูลรับว่า พระเจ้าข้า เทวะ

    เจ้าหน้าที่นครบาลสั่งให้มนุษย์ทั่วพระนคร เที่ยวสืบสวนจนจับตัวโจรผู้ตัดฝาเรือนลักทรัพย์เขา พร้อมทั้งของกลางนั้นได้ นำไปแสดงแก่พระราชา

    พระราชาตรัสสั่งว่า จงนำโจรนี้ออกทางประตูด้านทิศใต้แล้วประหารเสีย เจ้าหน้าที่นครบาลรับสนองพระราชโองการแล้ว โบยโจรนั้นครั้งละ ๔ ที ๑,๐๐๐ ครั้ง ให้จับตัวพาไปทางประตูด้านทิศใต้
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระภัททากุณฑลเกสาเถรี (กุณฑลเกสี) เอตทัคคมหาสาวิกาผู้เลิศด้านตรัสรู้ได้เร็วพลัน

    นางภัททาเห็นผิดเป็นชอบ

    สมัยนั้น ภัททา ธิดาเศรษฐีนี้ นางมีบริวารมาก เปิดหน้าต่างดู เห็นโจรชื่อสัตตุกะ บุตรปุโรหิต ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่นครบาลจับตัว ในความผิดมหันตโทษ พร้อมทั้งของกลาง กำลังควบคุมตัวมายังที่ประหาร เพื่อฆ่าให้ตายตามพระราชอาชญา นางมีจิตปฏิพัทธ์ ก็นอนคว่ำหน้าบนที่นอน คร่ำครวญว่า

    ถ้าเราได้เขา จึงจะมีชีวิตอยู่ ถ้าไม่ได้ก็จักตายเสีย

    ก็นางเป็น ธิดาคนเดียวของสกุลนั้น ด้วยเหตุนั้น พวกญาติของนางจึงไม่อาจทนเห็นหน้าอันหม่นหมองแม้เล็กน้อยได้

    ครั้งนั้นมารดาเห็นนางนอนบนที่นอน จึงถามนางว่า

    ลูกเอ๋ย เจ้าเป็นอะไรไป

    นางตอบตรง ๆ ว่า แม่จ๋า ดิฉัน พบโจรที่เขากำลังนำไปฆ่าจ้ะ เมื่อได้เขามาจึงจะเป็นอยู่ได้ เมื่อดิฉันไม่ได้ ตายเสียเท่านั้นประเสริฐ

    บิดามารดาปลอบโดยประการต่าง ๆ ก็ไม่อาจให้นางยินยอมได้ จึงคิดว่า ทำให้นางอยู่ ดีกว่าปล่อยให้นางตาย

    ครั้งนั้นบิดาของนาง จึงหาเจ้าหน้าที่นครบาล ติดสินบน ๑,๐๐๐ กหาปณะ แล้วบอกว่า ธิดาของเรามีจิตติดพันในโจร โปรดจงปล่อยโจรนี้ ด้วยอุบายวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งเสีย

    เจ้าหน้าที่นครบาลรับปากเศรษฐี แล้วพาโจรไปโดย หน่วงเหนี่ยวให้ชักช้า ไปทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้างจนพระอาทิตย์ตก เมื่อพระอาทิตย์ตกแล้วก็ให้นำเอาโจรคนหนึ่งออกมาจากคุก ทำเป็นโจรขึ้นแทนสัตตุกะ แล้วแก้สัตตุกะโจรออกจากเครื่องจองจำ พาไปส่งยังเรือนเศรษฐี แล้วเอาเครื่องจองจำนั้นพันธนาการโจรที่นำมาจากคุกนั้น นำตัวออกไปทางประตูด้านทิศใต้ แล้วประหารชีวิตแทนเสีย พวกทาสของเศรษฐีต่างพาตัวสัตตุกะโจรมายังเรือนของเศรษฐี เศรษฐีเห็นเขาแล้วคิดว่า เราจักทำให้สมใจของธิดาเราเสียที จึงให้พวกทาสเอาน้ำหอมอาบสัตตุกะโจร แล้วให้ตกแต่งประดับประดาด้วยเครื่องอาภรณ์ทุกชนิด พาไปส่งตัวยังปราสาท

    นางภัททาคิดว่า ความดำริของเราเต็มที่แล้ว จึงแต่งตัวให้เพริศพริ้งด้วยเครื่องอลังการนานาชนิดคอยบำเรอเขา


    สัตตุกะคิดฆ่านางภัททาเพื่อเอาทรัพย์


    ครั้นพอล่วงมาได้ ๒-๓ วัน สัตตุกะโจรก็คิดว่า สิ่งของเครื่องประดับ ของนางจักเป็นของเรา เราควรจะถือเอาเครื่องอาภรณ์นี้ด้วยอุบายบางประการเสีย ดังนี้แล้ว

    พอถึงเวลานั่งใกล้ชิดกันอย่างมีความสุขจึงพูดกะนางภัททาว่า เรามีเรื่องที่จะพูดสักเรื่องหนึ่ง

    ธิดาเศรษฐีปลาบปลื้มใจประหนึ่งว่าได้ลาภตั้งพันจึงตอบว่า พี่ท่าน เราสนิทสนมกันแล้ว พี่ท่าน จงบอกมาเถิด

    โจรกล่าวว่า เธอคิดว่าเรานี้ได้ชีวิตมาเพราะอาศัยเธอ แต่เราพอถูกจับเท่านั้น ได้อ้อนวอนเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่เขาทิ้งโจรว่า ถ้าข้าพเจ้าจักได้ชีวิต ข้าพเจ้าจักถวายพลีกรรมแด่ท่าน เราได้ชีวิตเพราะอาศัยเทวดานั้น ขอเธอจงรีบให้จัดเครื่องพลีกรรมเถิด

    นางภัททาคิดว่า เราจักทำให้เขาเต็มใจเสียที สั่งให้จัดแจงเครื่องพลีกรรม ประดับประดาเครื่องประดับทุกชนิด ขึ้นนั่งในรถคันเดียวกันไปยังเหวทิ้งโจรพร้อมกับสามี

    เมื่อถึงแล้วก็เริ่มไต่ภูเขาขึ้นไปด้วยคิดว่า เราจักทำพลีกรรมแก่เทวดาประจำภูเขา

    สัตตุกะโจรคิดว่า เมื่อขึ้นไปกันหมดแล้วเราจักไม่มีโอกาส ถือเอาเครื่องอาภรณ์ของนางได้ จึงให้นางภัททานั้นนั่นแหละถือภาชนะ เครื่องเซ่นสรวง แล้วขึ้นภูเขาไป

    เขาพูดถ้อยคำทำทีเป็นพูดกับ นางภัททา พูดคุยกันไป ด้วยเหตุนั้นนั่นเอง นางจึงไม่รู้ความประสงค์ของโจร

    ทีนั้น โจรจึงพูดกะนางว่า น้องภัททา เธอจงเปลื้องผ้าห่ม ของเธอออก แล้วเอาเครื่องประดับที่ประดับอยู่รอบกายทำเป็นห่อไว้ ณ ที่นี้

    นาง นายจ๋า ดิฉันมีความผิดอะไรหรือ

    โจร แม่นางผู้เขลา เธอคิดว่า เรามาเพื่อทำพลีกรรมหรือ ความจริงเราจะควักตับถวายแก่เทวดานี้ แต่เรามีประสงค์จะถือเอาเครื่องอาภรณ์ของเธอโดยอ้างพลีกรรม จึงได้พาเธอมาที่นี่
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระภัททากุณฑลเกสาเถรี (กุณฑลเกสี) เอตทัคคมหาสาวิกาผู้เลิศด้านตรัสรู้ได้เร็วพลัน

    ผู้ฉลาดย่อมแก้ไขสถานะการณ์ได้ฉับพลัน


    นาง นายจ๋า เครื่องประดับเป็นของใคร ตัวฉันเป็นของใคร

    โจร เราไม่รับรู้ ของของเธอก็เป็นส่วนหนึ่ง ของของเราก็เป็นส่วนหนึ่ง

    นาง ดีแล้วจ้ะพี่ท่าน แต่ขอให้พี่ท่านจงทำความประสงค์ของน้องอย่างหนึ่งให้บริบูรณ์ทีเถิด ขอพี่ท่านให้น้องได้สวมกอดพี่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังโดยทำนองที่แต่งตัวอยู่อย่างนี้นี่แหละ

    โจรก็รับปากว่า ได้สิจ๊ะ

    นางทราบว่า โจรรับปากแล้ว ก็สวมกอดข้างหน้าแล้วก็ทำเป็นทีสวมกอดข้างหลัง เมื่อเขาเผลอ จึงผลักเขาตกเหวไป เขาเมื่อตกลงไปก็แหลกละเอียดไปในอากาศนั่นแหละ

    เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ภูเขา เห็นความที่นางทำให้โจรแหลกละเอียด ไป จึงได้กล่าวคาถาด้วยประสงค์จะสรรเสริญ มีดังนี้ว่า

    ผู้ชายนั้นมิใช่จะเป็นบัณฑิตไปเสียในที่ทุกสถาน
    แต่ผู้หญิงผู้มีวิจารณญาณในที่นั้น ๆ ก็เป็นบัณฑิตได้
    ผู้ชายนั้นนะ มิใช่จะเป็นบัณฑิตไปเสียในที่ทุกสถาน
    แต่ผู้หญิงคิดอ่านแม้ครู่เดียว ก็เป็นบัณฑิตได้
    ลำดับนั้น นางภัททาจึงคิดว่า เราไม่สามารถจะกลับไปบ้านได้แล้ว เราไปจากที่นี้แล้วจักบวชสักอย่างหนึ่ง จึงได้ไปยังอารามของพวกนิครนถ์ขอบรรพชากะพวกนิครนถ์

    ทีนั้นพวกนิครนถ์เหล่านั้นกล่าวกะนางว่า จะบวชโดยทำนองไหน

    สิ่งใดเป็นของสูงสุดในบรรพชาของท่าน ขอท่านจงกระทำสิ่งนั้นนั่นแหละ

    พวกนิครนถ์รับว่า ดีแล้ว จึงเอาก้านตาลทิ้งถอนผมของนางแล้วให้บวช ผมเมื่อจะงอกขึ้นอีกก็งอกขึ้นเป็นวงกลมคล้ายตุ้มหู โดยเป็นกลุ่มก้อนขึ้นมา เพราะเหตุนั้นนางจึงเกิดมีชื่อว่า กุณฑลเกสา

    นางเรียนศิลปะทุกอย่างในที่ที่ตนบวชแล้ว ครั้นทราบว่าคุณวิเศษยิ่งกว่านี้ของพวกนิครนถ์เหล่านี้ไม่มี จึงเที่ยวไปยังคามนิคมราชธานี บัณฑิตมีในที่ใด ๆ ก็ไปในที่นั้น ๆ แล้วเรียนศิลปะที่บัณฑิตเหล่านั้นรู้ทุกอย่างหมด

    ต่อมา ก็ไม่มีคนทั้งหลายผู้ที่สามารถจะโต้วาทะตอบแก่นางได้ เพราะนางเป็นผู้ได้ศึกษามามาก

    นางมิได้มองเห็นใครที่สามารถจะกล่าวกับตนได้ เข้าไปสู่บ้านใดก็ดี นิคมใดก็ดี ก็ทำกองทรายไว้ที่ประตูบ้านหรือนิคมนั้น แล้วปักกิ่งต้นหว้าไว้บนกองทรายนั้นนั่นแหละ ให้สัญญาแก่พวกเด็ก ๆ ที่ยืนอยู่ในที่ใกล้ด้วยพูดว่า

    ผู้ใดสามารถที่จะโต้ตอบวาทะของเราได้ ผู้นั้นจงเหยียบกิ่งไม้นี้

    แม้ตลอดตั้งสัปดาห์นั้นก็หามีคนเหยียบไม่

    แล้วนางก็ถือเอากิ่งไม้นั้นหลีกไป

    ในสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงอาศัยกรุงสาวัตถี เสด็จประทับอยู่ที่พระเชตวัน

    ฝ่ายนางกุณฑลเกสาก็ไปถึงกรุงสาวัตถีตามลำดับ เมื่อเข้าไปภายในนครแล้ว ก็ปักกิ่งไม้ไว้บนกองทรายทำนองเดิมนั่นแหละ แล้วให้สัญญาแก่พวกเด็กแล้วจึงเข้าไป

    ในสมัยนั้น เมื่อภิกษุสงฆ์เข้าไปแล้ว พระธรรมเสนาบดี (พระสารีบุตร) จึงเข้าไปสู่นครเพียงรูปเดียวเท่านั้น เห็นกิ่งต้นหว้าที่เนินทรายแล้วถามว่า

    เพราะเหตุไร เขาจึงปักกิ่งต้นหว้านี้ไว้ พวกเด็กก็บอกเหตุนั้นโดยตลอด

    พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า นี่แน่ะ หนูทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้นพวกเธอจงจับเอากิ่งต้นหว้านี้ออกมาเหยียบย่ำเสีย

    บรรดาเด็กเหล่านั้น บางพวกฟังคำพระเถระแล้วไม่กล้าที่จะเหยียบย่ำได้ บางพวกก็เหยียบย่ำทันทีทีเดียว กระทำให้ แหลกละเอียดไป

    นางกุณฑลเกสาบริโภคอาหารแล้วเดินออกไปเห็นกิ่งไม้ถูกเหยียบย่ำ จึงถามว่า นี้เป็นการกระทำของใคร

    พวกเด็กจึงบอกการที่พระธรรมเสนาบดีให้พวกเขากระทำแก่นาง นางจึงคิดว่า พระเถระนี้ถ้าไม่รู้กำลังของตน ก็จักไม่กล้าให้เหยียบย่ำกิ่งไม้นี้ พระเถระนี้จำต้องเป็นผู้ยิ่งใหญ่แน่นอน

    ฝ่ายพระเถระกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว จึงนั่งที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง

    ทีนั้น นางกุณฑลเกสานี้ มีมหาชนห้อมล้อมเดินไปยังสำนักของพระเถระกระทำปฏิสันถารแล้ว ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าให้เหยียบย่ำกิ่งไม้นี้หรือ

    พระสารีบุตร – ใช่แล้ว เราให้เหยียบย่ำเอง

    นาง - เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอดิฉันกับพระคุณเจ้ามาโต้วาทะกันนะ พระคุณเจ้า

    พระสารีบุตร – ได้สิ น้องนาง

    นาง - ใครจะถาม ใครจะกล่าวแก้ เจ้าข้า

    พระสารีบุตร - ความจริงคำถามตกแก่เรา แต่ท่านจงถามสิ่งที่ท่านรู้เถิด นางถามลัทธิตามที่ตนรู้มาทั้งหมดทีเดียว ตามที่พระเถระยินยอม พระเถระก็กล่าวแก้ได้หมด

    นางครั้นถามแล้วถามอีก จนหมดจึงได้นิ่งอยู่

    ลำดับนั้น พระเถระจึงกล่าวกะนางว่า ท่านถามเราหมดแล้ว เราก็จะถามท่านข้อหนึ่ง

    นางกุณฑล : ถามเถิด เจ้าข้า

    พระสารีบุตร - ที่ชื่อว่าหนึ่งคืออะไร

    นางกุณฑลเกสาเรียนว่า ดิฉันไม่ทราบ เจ้าข้า

    พระสารีบุตร- เธอไม่ทราบแม้เหตุเพียงเท่านี้ เธอจักทราบอะไร อย่างอื่นเล่า

    นางหมอบแทบเท้าทั้งสองของพระเถระ เรียนว่า ดิฉันขอถึงพระคุณเจ้าเป็นสรณะ เจ้าข้า

    พระสารีบุตร จะทำการถึงเราเป็นสรณะไม่ได้ บุคคลผู้เลิศ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ประทับอยู่ที่วิหารใกล้ๆ นี่เอง ขอเธอ จงถึงพระองค์ท่านเป็นสรณะเถิด

    นาง - ดิฉันจักกระทำเช่นนั้น เจ้าข้า

    พอตอนเย็น ในเวลาที่พระศาสดาทรงแสดงธรรม จึงไปยังสำนักของพระศาสดา ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระศาสดาตรัสพระคาถาในธรรมบทตามความเหมาะสมกับจริยาของนาง ที่เคยพิจารณาเห็นสังขารอันทุกข์บีบคั้นแล้ว ต่อไปว่า

    หากคาถาที่ไม่ประกอบด้วยบทอันมีประโยชน์
    แม้จะมีตั้ง ๑,๐๐๐ คาถาก็ตาม คาถาเดียวที่
    บุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ยังประเสริฐกว่า ดังนี้
    ในเวลาจบพระคาถา นางก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งที่ยืนอยู่นั่นเอง จึงทูลขอบรรพชา พระศาสดาทรงรับให้นางบรรพชาแล้ว นางไปยังสำนักภิกษุณีบวชแล้ว

    ในกาลต่อมาเกิดสนทนากันขึ้น ในท่ามกลางบริษัท ๔ ว่า นางภัททากุณฑลเกสานี้ใหญ่ยิ่งจริงหนอ บรรลุพระอรหัตในเวลาจบคาถาเพียง ๔ บท

    พระศาสดาทรงกระทำ เหตุนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่องแล้วทรงสถาปนาพระเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกา ผู้ตรัสรู้เร็ว ด้วยประการฉะนี้


    บุพกรรมของท่านในอดีตชาติ


    ได้ยินว่า พระภัททากุณฑลเกสานี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ฟังธรรมของพระศาสดาแล้ว เห็นพระศาสดากำลังทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ตรัสรู้เร็ว จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น

    ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า ก็ถือปฏิสนธิในพระราชมณเฑียรของพระเจ้ากาสี พระนามว่า กิงกิ กรุงพาราณสี เป็นพระราชธิดาองค์หนึ่ง ระหว่างพระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ คือ นางสมณี นางสมณคุตตา นางภิกขุนี(ภิกขุณี) นางภิกขุทาสิกา นางธัมมา(ธรรมา) นางสุธัมมา(สุธรรมา) และนางสังฆทาสี ครบ ๗

    พระราชธิดาเหล่านั้น ในบัดนี้ [ครั้งพุทธกาลชาติปัจจุบัน] คือพระเขมาเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระปฏาจาราเถรี พระนางกุณฑลเกสีเถรี (พระภัททากุณฑลเกสาเถรี) พระกิสาโคตมีเถรี พระธรรมทินนาเถรี และนางวิสาขา ครบ ๗.สมาทานศีล ๑๐ ประพฤติกุมารีพรหมจรรย์อยู่ถึง ๒๐,๐๐๐ ปีสร้างบริเวณถวายสงฆ์ เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์พุทธันดรหนึ่ง จนได้เกิดในชาติปัจจุบันดังกล่าวมาแล้วข้างต้น


    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk-main-page.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...