เหรียญชินราชคุ้มเกล้า หลังภปร.พ.ศ. 2521

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 8 พฤษภาคม 2019.

  1. chwtn r.

    chwtn r. สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2019
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    ปิดทั้ง สี่เหรียญครับ
    ทำไงต่อครับ งง ระบบ
    061-629-7832
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    รับทราบครับ ขอบคุณครับ โอนแล้วแจ้งบอกพร้อมชื่อที่อยู่จัดส่ง ผมจะจัดส่งให้ตามแจ้งครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2019
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    วันนี้จัดส่ง
    EI381053171TH นครปฐม
    ขอบคุณครับ
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    upload_2019-11-24_19-58-42.jpeg

    หลวงพ่อสุวรรณ ธีรสัทโธ" แห่งวัดยาง ต.ห้วยไผ่ อ.แสวงหา จ.อ่างทอง พระเกจิอาจารย์เจ้าตำรับตะกรุดโทน ได้รับการยกย่องว่าเป็นเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้า เอกอุด้านวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว

    ได้รับสมญานามจากคณะศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาว่าเป็น "เทพเจ้าแห่งแดนวีรชนใจกล้า"

    อัตโนประวัติ เกิดในสกุล บัวสรวง เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2487 ที่บ้านทับยา ต.บ้านไร่ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายอินและนางก้อย บัวสรวง ประกอบอาชีพกสิกรรมและค้าขาย

    ในช่วงวัยเยาว์ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดบ้านไร่ ก่อนลาออกมาช่วยครอบครัวหาเลี้ยงชีพ

    ย่างเข้าวัยหนุ่ม ได้ประกอบอาชีพเป็นตัวแทนขายเคมีภัณฑ์ตามที่ญาติแนะนำ

    กระทั่งอายุ 42 ปี เกิดความเบื่อหน่ายทางโลกและต้องการบวชทดแทนคุณบุพการี จึงเข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดคำหยาด อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง โดยมีพระครูเกษมจริยคุณ เจ้าคณะอำเภอเมืองอ่างทอง เจ้าอาวาสวัดไทรย์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูโฆสิษโชติคุณ เจ้าอาวาสวัดคำหยาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดบุญยัง เขมปัญโญ วัดขุนอินทประมูล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    เมื่ออุปสมบท ได้อยู่จำพรรษาที่วัดคำหยาด สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก และออกท่องธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ในประเทศ ครั้งหนึ่งมีโอกาสไปพำนักที่วัดพรหมประกาสิต (ถ้ำสามพี่น้อง) ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ปฏิบัติกัมมัฏฐานบำเพ็ญเพียร

    เมื่อปฏิบัติธรรมสมหวัง จึงเดินทางมาจำพรรษาที่วัดคำหยาด ศึกษาร่ำเรียนสรรพวิทยาคมสายหลวงพ่อแป้น วัดบ้านไร่, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี พระเกจิดัง ได้ถ่ายทอดวิชาให้อย่างครบถ้วน

    พ.ศ.2535 คณะสงฆ์จังหวัดอ่างทอง ได้มอบหมายให้ท่านบูรณปฏิสังขรณ์วัดยาง ต.ห้วยไผ่ อ.แสวงหา จ.อ่างทอง ตั้งอยู่ริมคลองห้วยไผ่ฝั่งตรงข้ามวัดโพธิ์เก้าต้น และอนุสรณ์สถานค่ายบางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี

    วัดยางถูกทิ้งร้างมาตั้งแต่สมัยศึกบางระจัน เสนาสนะที่หลงเหลือมีเพียงวิหารฐานอ่อนโค้งอยู่ในสภาพปรักหักพัง ไม่มีหลังคา

    หลวงพ่อสุวรรณ ได้จัดสร้างตะกรุดเมตตามหานิยม แคล้วคลาดคงกระพัน เพื่อให้บูชารวบรวมจตุปัจจัย จนสามารถก่อสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ เมรุ กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ อนุสรณ์สถานวีรชนไทยใจกล้า เป็นต้น

    หลวงพ่อสุวรรณ เป็นที่ยอมรับและศรัทธาของคณะศิษยานุศิษย์ เชื่อกันว่าท่านมีคาถาอาคมทรงพุทธคุณครอบจักรวาล โดยเฉพาะด้านเมตตามหานิยม และด้านมหาอำนาจปกป้องผองภัยสารพัด

    วัตถุมงคลของท่าน ล้วนแต่ได้รับความนิยมจากประชาชน เนื่องจากมีพุทธคุณครอบจักร วาล โดดเด่นหลายด้าน ที่ได้รับความนิยม คือตะกรุดที่ปรากฏปาฏิหาริย์แก่ผู้บูชา เอกลักษณ์เฉพาะสร้างตามตำราพิชัยสงคราม ยันต์จารมือธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ (นะ มะ พะ ทะ) และยันต์ถอด (ทะ พะ มะ นะ) จึงเท่ากับ 16 ตาราง คือ ยันต์พระเจ้า 16 พระองค์

    มียันต์อัครสาวกซ้ายขวา (ซ้าย อุมิ อะมิ) (ขวา นะมะ นะอา) และยันต์ถอด รวมทั้งยันต์แคล้วคลาด (สะ รา คา มิ) และยันต์ถอด จึงเป็นเจ้าตำรับตะกรุดโทนแห่งยุค

    นอกจากนี้ วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมยังมีเหรียญเสมา เหรียญมหาบารมี รูปหล่อเหมือน

    หลวงพ่อสุวรรณ ย้ำอยู่เสมอว่า วัตถุมงคลทั้งหลายล้วนเข้มแข็งด้วยอำนาจแห่งพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ

    การเข้ากราบไหว้ขอพรจากหลวงพ่อสุวรรณ ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันหมด ไม่มีผู้ใดกีดกัน และท่านมักจะนำวิชาความรู้ด้านวิทยาคมเป็น กุศโลบายในการอบรมสั่งสอนศีลธรรมแก่ประชา ชนทั่วไป โดยให้ยึดหลักธรรมคำสั่งสอนตามแนว ทางพระพุทธศาสนา

    ตระกรุดหลวงพ่อสุวรรณยิงไม่เข้า

    ดาบหนังเหนียวแขวนตะกรุดยิงไม่เข้า
    ดาบตำรวจล่อซื้อยาบ้า ถูกคนร้ายใช้ปืนลูกซองกระหน่ำยิง ระยะห่าง 5 เมตร แค่ฟกช้ำ 40 จุด ส่วนเพื่อนบาดเจ็บ เจ้าตัวเชื่อเป็นเพราะบารมีตะกรุดหลวงพ่อสุวรรณ เกจิชื่อดังเมืองอ่างทอง ทำให้แคล้วคลาด

    เมื่อเวลา 23.30 น. วันที่ 1 ส.ค.50 เจ้าหน้าที่ตำรวจ นปพ.ภ.จว.อ่างทอง ปฏิบัติหน้าที่ชุดปราบปรามยาเสพติด สืบทราบว่านายจักรพงศ์ แดงบุญเรือน อายุ 23 ปี อยู่บ้านไม่มีเลขที่ หมู่ 5 ต.ไผ่จำศีล อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ลักลอบจำหน่ายยาบ้า จึงได้ทำการล่อซื้อยาบ้าจำนวน 400 เม็ด มูลค่า 54,000 บาท โดยเจ้าหน้าที่ได้นัดให้มารับส่งยาบ้า ที่บริเวณถนนคันคลองชลประทาน หลังสำนักงานที่ดิน ต.โพสะ อ.เมือง จ.อ่างทอง

    เมื่อถึงเวลานัดหมายนายจักรพงศ์ได้ขับรถกระบะยี่ห้อมิตซูบิชิ สีขาว หมายเลขทะเบียน บป 9696 กทม.เข้ามา หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้รับยาบ้าก็ได้แสดงตัวเข้าจับกุม แต่นายจักรพงศ์พยายามขัดขืนและชักอาวุธปืนลูกซองขึ้นมายิงต่อสู้ ทำให้เกิดการยิงปะทะกัน จนทำให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 2 นาย ประกอบด้วย ด.ต.ขวัญใจ ฝั้นถา และ จ.ส.ต.บรรจง หมายหอมกลาง ผบ.หมู่ นปพ.ภ.จว.อ่างทอง ปฏิบัติหน้าที่ชุดปราบปรามยาเสพติด ก่อนคนร้ายจะขับรถยนต์หลบหนี เข้าไปที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในวัดท้องคุ้ง หมู่ 8 ต.โพสะ อ.เมือง จ.อ่างทอง จากนั้นนายจักรพงศ์ได้วิ่งลงจากรถและพยายามว่ายน้ำหลบหนีไปฝั่งตรงข้าม แต่คนร้ายได้หมดแรงและจมหายไปกลางแม่น้ำ โดยเจ้าหน้าที่พยายามค้นหานานกว่า 3 ชม. แต่ก็ไม่พบตัวคนร้าย

    ต่อมา พล.ต.ต.ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์ ผบก.ภ.จว.อ่างทอง พ.ต.อ.รวีโรจน์ กองกันภัย ผกก.สภ.อ.เมือง จ.อ่างทอง ได้เดินทางเข้าเยี่ยม ด.ต.ขวัญใจ และ จ.ส.ต.บรรจง โดย จ.ส.ต.บรรจง ถูกยิงเข้าที่บริเวณจมูกและแขนซ้ายบาดเจ็บเล็กน้อย ส่วน ด.ต.ขวัญใจ ได้รับบาดเจ็บเพียงฟกช้ำตามร่างกายประมาณ 40 จุด และไม่พบบาดแผลแต่อย่างใด

    ด.ต.ขวัญใจ เปิดเผยว่า ตนได้ทำการล่อซื้อยาบ้าจากนายจักรพงศ์จำนวน 400 เม็ด เมื่อเจ้าหน้าที่แสดงตัวจับกุม นายจักรพงศ์ได้ชักอาวุธปืนลูกซองยิงเข้าใส่ในระยะห่างประมาณ 5 เมตร ตนถูกยิงเข้าที่บริเวณลำตัว ก่อนที่ล้มลงกองกับพื้น ขณะนั้นตนคิดว่าคงต้องเสียชีวิตแล้ว แต่เมื่อพบว่าไม่ได้รับบาดเจ็บ จึงได้ชักอาวุธปืนยิงต่อสู้ โดยยิงเข้าไปที่ยางรถยนต์ของคนร้าย จนยางแตกเพื่อสกัดการหลบหนี อย่างไรก็ตามที่ตนรอดชีวิตมาได้ในครั้งนี้ อาจเป็นเพราะบารมีของตะกรุดโทนหลวงพ่อสุวรรณ เจ้าอาวาสวัดยาง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง ที่พกติดตัวเป็นประจำ ทำให้แคล้วคลาดจากภยันอันตรายต่างๆ มาได้
    โดย บ้านเมืองออนไลน์

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูง

    เหรียญรุ่น๑หลวงพ่อสุวรรณ วัดยาง อ่างทอง


    ให้บูชา 1000 บาทครับ

    ลพ.สุวรรณ.jpg ลพ.สุวรรณหลัง.jpg
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    upload_2019-11-24_20-5-55.jpeg
    หลวงพ่อบุญเรือน อินทสุวัณโณ พระอรหันต์กลางเมือง แห่งวัดยางสุทธาราม ซึ่งพระเกจิ ทราบมาว่าพระเครื่องที่ท่านปลุกเสก แรงมากๆ หาที่ใดเทียบได้ยาก เพียงแต่วัดท่านมิได้มีการโปรโมทเหมือนสมัยนี้ ไม่นั้นป่านนี้ท่านคงจะเป็นวัตถุมงคลที่ดังอย่างเช่นพระกระแสหลักแน่นอน ส่วนองค์หลวงพ่อบุญเรือน ท่านเป็นพระอภิญญา เก่งสุดๆ แต่ท่านอยู่อย่างสมถะ รักสันโดษ เลยไม่ค่อยมีใครสนใจท่านมากนัก

    ปฐมกำเนิด แห่งอริยสงฆ์ นาม “บุญเรือน”

    หลวงพ่อบุญเรือน อินทสุวัณโณ ผู้เลื่องชื่อในฐานะพระปฏิบัติและพระเกจิอาจารยืแห่งวัดยางสุทธาราม ท่านมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา ในสกุล “หิรัญวิจิตร” ซึ่งเป็นครอบครัวชาวไทยที่ไปตั้งรกรากที่นั่นตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์

    บิดาชื่อนายเหรียญ หิรัญวิจิตร มารดาชื่อนางต๊วด เป็นชาวพระตะบอง ท่านเกิดในปี พ.ศ. 2461

    การที่โยมพ่อ-โยมแม่ให้ชื่อว่า “บุญเรือน” นั้น เป็นผลมาจากการที่ท่านเกิดมามีลักษณะแปลกกว่าทารกอื่นๆทั่วไป ตรงที่เมื่อคลอดออกมาจากครรภ์มารดาปรากฏว่ามีรกพันติดตัวออกมาด้วย รกนั้นมีลักษณะคล้ายสายสังวาล บริเวณอกมีรกม้วนกลมเป็นก้อน โดยกันว่าทารกที่เกิดมาในลักษณะนี้เป็นผู้มีบุญญาธิการ คนโบราณถือว่าเป็นเทพเทวดาชั้นสูงจุติมาเกิด
    บิดามารดาตลอดจนผู้ใหญ่จึงได้ให้ชื่อว่า “บุญเรือน” คือ เกิดมาด้วยบุญบารมี คือ มี “บุญ” เป็นเรือนกำเนิด

    เมื่อเจริญวัยได้พอสมควร เด็กชายบุญเรือนก็มีโอกาสได้เรียนอักษรต่างๆที่วัด ตามธรรมเนียมในสมัยนั้น จากพระสงฆ์องค์เจ้าต่างๆ จนจบระดับปั้นประถมปีที่ 4 ซึ่งถือว่าสูงสุดที่มีอยู่ในเวลานั้น จึงลาออกมาจากรงเรียนมาช่วยงานพ่อแม่ทำไร่ไถนาไปตามประเพณีชนบท

    ต่อมาในปี 2485 บิดามารดาเห็นว่าเด็กชายบุญเรือนโตเป็นหนุ่มน่าจะมีครอบครัวได้แล้ว จึงเลียบเคียงถามว่าพร้อมจะแต่งงานแล้วหรือยัง พอถูกถามเรื่องนั้นเด็กชายบุญเรือนจะตอบไปตามตรงว่า ยังไม่คิดเรื่องนั้น และหากจะแต่งงานเป็นสามีคน และเป็นพ่อคนได้ ตัวท่านเองจะต้องบวชเรียนตามประเพณีเสียก่อน

    ด้วยเหตุนั้น เด็กชายบุญเรือนจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทในปีนั้น เมื่อมีอายุได้ 24 ปี โดยได้จัดพิธีท่ามกลางหมู่สงฆ์ที่พระอุโบสถเขตพัทธสีมาวัดสำโรง เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา มีพระเถระประกอบพิธีให้ดังนี้

    พระมุนีวิสุทธิวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์เอี่ยม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระปลัดญาณสัทธา เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ได้รับฉายาทางศาสนาว่า “อินทสุวัณโณ”

    หลังอุปสมบท พระภิกษุบุญเรือน อินทสุวัณโณ ได้ศึกษาพระธรรม ปฏิบัติจริยวัตรอันงดงาม โดยมีท่านพระครูมุนีวิสุทธิวงศ์ พระอุปัชฌาย์เป็นผู้อบรมสั่งสอนอย่างใกล้ชิด หลวงพ่อบุญเรือนปฏิบัติได้ดีจนพระอุปัชฌาย์เอ่ยปากชมแก่พระเณรทั้งหลาย และถ่ายทอดวิทยาคมให้จนหมดสิ้น ทำให้หลวงพ่อบุญเรือน เป็น “หลวงพ่อ” ตั้งแต่วัยหนุ่มเลยทีเดียว

    017-jpg.jpg

    เป็นศิษย์ยอดเกจิเมืองเขมร

    หลังจากเจนจบวิชชาจากพระอุปัชฌาย์ ต่อมาหลวงพ่อบุญเรือนได้ทราบกิตติศัพท์ของหลวงพ่อดี วัดปทุมรัตน์ว่ามีเวทมนตร์คาถาขลงยิ่งนัก อีกทั้งกรรมฐานก็เป็นเยี่ยมอย่างยากที่จะหาครูบาอาจารย์ในแดนเขมรมาเทียบได้ พระภิกษุบุญเรือนจึงเดินทางไปยังนครวัดเพื่อฝากตัวเป็นสิษย์หลวงพ่อดีที่วัดปทุมรัตน์

    หลวงพ่อดีท่านมิได้รับทุกคนเป็นศิษย์ง่ายๆ ท่านมีวิธีการทดสอบจิตใจและเพ่งดูด้วยฌาณยากที่ปุถุชนจะหยั่งถึง ซึ่งหลวงพ่อบุญเรือนก็ผ่านการทดสอบไปได้โดยไม่ยากลำบากแต่อย่างใด

    หลังจากเจนจบอาคมจากหลวงพ่อดี หลวงพ่อบุญเรือนก็ได้ออกจาริกธุดงคืไปตามป่าเขาลำเนาถ้ำเพื่อฝึกฝนจิตต่อไป
    เดินทางเข้าไทย พบ 2 หลวงปู่ผู้ลือนาม
    ไม่นานนัก หลวงพ่อบุญเรือนก็ได้เดินทางจากเขมร มายังไทย และได้ทราบข่าวครูบาอาจารย์เขมรอีก 2 องค์ คือ หลวงปู่หิน ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม วัดของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี อมตะสงฆ์ตลอดกาล และอีกท่านหนึ่งคือ หลวงปู่มุด วัดยางสุทธารามซึ่งก็ไม่ไกลจากวัดระฆัง หลวงพ่อบุญเรือนกล่าวว่า พระอาจารยฺที่เรืองวิชาอาคมมีไม่น้อย แต่ที่เข้ามาอยู่ กรุงเทพ ส่วนใหญ่จะพำนักอยู่ฝั่งธนบุรีมาก

    เมตตาจากหลวงปู่หิน

    ได้เดินทางแกราบหลวงปู่หิน วัดระฆัง โดยลงเรือล่องไป ท่านได้รับความเมตตาจากหลวงปู่หินอย่างมากถึงขนาดหลวงปู่หินชักชวนให้มาอยู่ด้วยกัน เมื่อมาอยู่ที่วัดระฆัง หลวงพ่อบุญเรือนก็ได้ต้งใจศึกษาเล่าเรียนมนต์คาถาอักขระต่างๆ จากนั้นระยะหนึง ได้ติดตามหลวงปู่หินไปกราบหลวงปู่มุดวัดยาง เพราะท่านทั้งสอง(คือหลวงปู่หินและหลวงปู่มุด) มักไปมาหาสู่กันประจำ

    น้ำมนต์เดือด อัศจรรย์ท่ามกลางหมู่เกจิอาจารย์
    คราวหนึ่งบ้านพ่อค้าย่านพรานนกได้ทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน เจ้าของบ้านได้นิมนต์พระมามากมาย หลวงพ่อบุญเรือนในฐานะพระใกล้บ้านก้ได้รับนิมนต์ไปเช่นกัน

    เมื่อพิธีการดำเนินมาถึงเวลาทำน้ำมนต์เพื่อประพรมให้เจ้าของบ้าน เจ้าภาพนึกอย่างไรก้ไม่ทราบได้ ได้ยกบาตรน้ำมนต์ให้หลวงพ่อบุญเรือนเป็นผู้ทำพิธีอธิษฐานจิต ซึ่งหลวงพ่อบุญเรือนก็ไม่ได้คิดว่าท่านจะเป็นผู้ทำน้ำมนต์ แต่ท่านก็ทำให้ ในครั้งนั้นได้เกิดเหตุการณ์ปาฏิหาริย์ คือ น้ำมนต์ที่หลวงพ่อบุญเรือนปลุกเสกเกิดเดือดขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ มีผู้คนเห็นมากมาย จนต่อมามีผู้มาขอให้ท่านรดน้ำมนต์ สะเดาะเคราะห์มากมายจวบจนท่านมรณภาพ

    img_0007-jpg.jpg

    เหตุเกิดที่ถ้ำสาริกา

    คราวหนึ่งมีงานพุทธาภิเษกที่ถ้ำสาริกา เขางู ราชบุรี หลวงพ่อบุญเรือนท่านได้รับนิมนต์ไปเป็นเจ้าพิธีทำให้ท่านเดินทางไปก่อนวัน งาน 1 คืน เพื่อตรวจความเรียบร้อย ซึ่งท่านจะเข้มงวดในเรื่องพิธีกรรมมาก

    ในคืนนั้นเอง สายสิญจน์ที่พระรุปอื่นล้อมไว้ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็จะถุกลมพัดจนหลุดรุ่ยหมด สิ้น ต้องมาทำใหม่อีก เป็นอยู่อย่างนั้นจนเจ้าภาพต้องมานิมนต์ให้หลวงพ่อบุญเรือนไปช่วยอรกแรง หนึ่ง แล้วเรื่องแปลกก็เกิดขึ้น สายสิญจน์ที่หลวงพ่อบุญเรือนล้อมให้นั้น ไม่ถูกลมพัดจนขาดอีกเลย

    แต่ทว่าหลังเสร็จพิธีสายสิญจน์หายไปหมด เพราะน้ำมือของญาติโยมทั้งหลายที่มาร่วมงานต่างพร้อมใจดึงเอาไปหมดเกลี้ยง

    เรื่องมหัศจรรย์ หลวงพ่อห้ามฝน

    เหตุการณ์ที่น่าอัศจรรย์ยิ่งไปกว่านั้น คือเหตุการณ์ที่ถ้ำสาริกาที่เดิม คือเมื่อใกล้เวลาเริ่มพิธี เมฆฝนได้ตั้งเค้าดำทมึน ซึ่งสร้างวามหวาดวิตกให้ผู้มาร่วมพิธีมาก ตอนนั้นมีแม่ชีคนหนึ่งได้กราบเรียนต่อหลวงพ่อบุญเรือนด้วยอาการร้อนรนว่า “หลวงพ่อเจ้าขา เวลาฤกษ์ยามที่หลวงพ่อกำหนดไว้ใกล้ถึงแล้ว แต่ฝนทำท่าจะตกหนัก จะทำอย่างไรดี” หลวงพ่อบุญเรือน ได้ฟังแล้วก็แหงนหน้าขึ้นมองท้องฟ้าอย่างพิจารณาอึดใจหนึ่ง จึงหันมาตอบว่า

    “ไม่เป็นไรหรอก งานนี้ได้ฤกษ์มงคลมาแล้ว ถึงฝนจะตกก็ตกไม่มาก คิดเสียว่าเบื้องบนพรมน้ำมนต์ให้นะ” “ตกไม่มากได้อย่างไรละหลวงพ่อ ฟ้ามืดอย่างนี้ตกหนักแน่นอน หลวงพ่ออย่านิ่งนอนใจอยู่เลย” เหตุนี้ หลวงพ่อบุญเรือนจึงให้หาธูปเทียนมา 4 ชุด ปักไปทั้ง 4 ทิศ แล้วท่านก็สงบจิตอาราธนาบารมีท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 พร้อมกล่าวว่าว “เอาละ สบายใจได้ ฉันได้บอกกล่าวเทพเทวดาแล้ว ฝนคงไม่ตกลงมาแล้วเราประกอบบุยกุศล เทวดาท่านคงไม่ดูดายหรอก”

    ความอัศจรรย์แท้ๆก็เกิดขึ้น เพราะหลังจากหลวงพ่อบุญเรือนทำพิธี ฝนก็ตกลงมาแต่รอบบริเวณพิธีเท่านั้น ขณะที่ในมณฑลพิธีมีแต่ละอองชุ่มเย็น ดูแล้วไม่ต่างจากน้ำมนต์ทิพย์จากสวรรค์แท้ๆ

    028-jpg.jpg

    วัตถุมงคลมีแค่ 6 รุ่น

    หลวงพ่อบุญเรือนได้จัดสร้างวัตถุมงคลชุดแรกในปี 2496 และอีกครั้งในปี 2511 ซึ่งออกเหรียญใบเสมารุ่นแรก และ ปี 2519 ออกเหรียญหลวงพ่อเต็มองค์ ซึ่งทั้ง3ปีที่ออกวัตถุมงคล มีจำนวนน้อยมาก

    จากนั้นในปี 2537 ท่านจึงได้สร้างเหรียญรุ่น 3 ออกมา โดยสร้างเป็นเหรียญพญาเต่าเรือน ตามตำรับหลวงปู่ดี วัดปทุมรัตน์ เรียกว่า เหรียญพญาเต่าเรือนนครวัด พร้อมเหรียญทำน้ำมนต์ รูปหลวงพ่อนั่งสมาธิเต็มองค์ และเหรียญหลวงพ่อครึ่งองค์ หลังพรหม

    การอธิษฐานจิตปลุกเสก หลวงพ่อจะทำตามฤกษ์ยาม เสกจนกว่าจะครบไตรมาส อานุภาพวัตถุมงคลของท่านจึงเปี่ยมล้น

    037-jpg.jpg

    046-jpg.jpg

    056-jpg.jpg

    หลวงพ่อเคยบอกว่า “อา ตามาไม่มีญาติโยมที่ไหน ไม่รุ้จะสะสมเงินทองไปทำไม เท่าที่กินทุกวันนี้ก็เหลือพอแล้วสำหรับพระแก่ๆอย่างอาตมา แต่ว่าปัจจัยที่หานั้น มีความหมายสำหรับวัดวาอาราม พระหนุ่มเณรน้อยที่ต้องใช้ในการศึกษาหาความรู้ อาตมาจึงอยากหยิบยื่นมือไปให้ความช่วยเหลือเหมือนอ่างที่คนอื่นเขาเคยช่วย อาตมาในกาลก่อน..”

    หลวงพ่อบุญเรือน มรณภาพเวลาประมาณตี 2 วันที่ 30 สิงหาคม 2552 รวมอายุได้91ปี ซึ่งนำความโศกเศร้าแก่ลูกศิษย์ลูกหาทุกท่าน แต่คำสอนและสิ่งที่หลวงพ่อปฎิบัติไว้ยังคงตรึงใจพวกเรา…

    ที่มา:
    http://board.palungjit.org/f15/หลวงพ่อบุญเรือน-เจ้าตำรับพญาเต่าเรือนนครวัด-=-สุดยอดพลังโชคลาภ-214021.html
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มา อย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงพ่อบุญเรือน ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 ครับ(ปิดรายการ)

    ลป.บุญเรือน.jpg ลป.บุญเรือนหลัง.jpg
     
  6. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,335
    ค่าพลัง:
    +6,401
    ขอจองครับ
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่ธรรมรังษี " ท่านเจ้าคุณสองแผ่นดิน "

    1688-c4c7.jpg
    วัดพระพุทธบาทพนมดิน
    อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

    หลวงปู่ธรรมรังษี “ พระมงคงรังษี ” มีนามเดิมว่า นายสุวัฒน์ เซ็ง เกิดเมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๖๒ ณ ตำบลเกีย อำเภอโมงฤษี (อำเภอโมงรือแซ็ย ในปัจจุบัน) จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา เมื่อปฐมวัยได้ศึกษาจนจบการศึกษาภาคบังคับ (เทียบเท่าชั้น ป.๔ ของไทย) เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ๑ พรรษา แล้วลาสิกขาออกมาช่วยบิดา-มารดา ทำงานจนอายุครบ ๒o ปี บริบูรณ์ จึงได้อุปสมบทเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๘๑ ณ วัดเวฬุวนาราม ตำบลเกีย อำเภอโมงรือแซ็ย จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา โดยมีพระสุวัณณเถระเป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุวัณณปัญโญเป็นพระกัมวาจาจารย์ พระจันทัตตเถระเป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาธรรมว่า “ ธรรมรังษี ” หลวง ปู่ธรรมรังษีเป็นพระที่มีใจใฝ่ปฏิบัติสมาธิภาวนา และกรรมฐาน ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานควบคู่กับการศึกษาพระเวทวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ หลายรูปในประเทศกัมพูชาตลอด ๓๕ พรรษา จนมีวิชาแก่กล้าแตกฉานและเชี่ยวชาญหลายแขนงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน และจังหวัดใกล้เคียงในประเทศกัมพูชาในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก ในขณะนั้นหลวงปู่ได้รับสมณศักดิ์ เป็น “ พระครูธรรมรังษี “ เป็นเจ้าคณะอำเภอโมงรือแซ็ย

    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ ขณะที่สงครามกลางเมืองในประเทศกัมพูชาร้อนระอุถึงขั้นวิกฤตนั้น หลวงปู่ธรรมรังษีในฐานะทายาทผู้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาตกอยู่ในฝ่ายตรงข้าม เขมรแดง เนื่องจากวัดวาอารามในจังหวัดใกล้เคียงจังหวัดพระตะบอง ถูกทำลายเสียหายและถูกยึดเป็นค่ายทหาร พระสงฆ์องค์ใดไม่อ่อนน้อมยอมลาสิกขาเข้าเป็นพวกจะถูกทรมานถึงชีวิต ที่หนีรอดก็กระจัดกระจายไม่ทราบชะตากรรม

    คืนวันหนึ่ง ในขณะที่หลวงปู่ท่านนั่งเจริญสมาธิภาวนาในกลางดึกสงัด เกิดนิมิตทางหู ได้ยินเสียงประกาศกึกก้องมาแต่ไกล และใกล้เข้ามา ใกล้เข้ามา ท่านยังคงนั่งนิ่งดำรงสติมั่น และเกิดภาพนิมิตเบื้องหน้าปรากฏชัดเจน คือองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของชาวไทย เสด็จยืนอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ มีข้าราชบริพารนั่งคุกเข่าเฝ้าถวายความเคารพอยู่เนืองแน่น หลวงปู่ท่านเพ่งมองภาพนั้นอยู่นานจนกระทั่งเลือนหายไป ภาพดังกล่าวยังคงติดตาหลวงปู่ธรรมรังษีมาโดยตลอด วันรุ่งขึ้นหลวงปู่ท่านได้เล่ามงคลนิมิตให้บรรดาญาติโยมและพระลูกวัดฟัง และเอ่ยบอกว่าประเทศไทยนี้ปลอดภัยที่สุด เพราะอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารพระบารมีองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะพาญาติโยมและพระลูกวัดทั้งหลายอพยพหนีร้อนมาพึ่งเย็น ข่าวนี้แพร่กระจายไปทั่วจากนั้นหลวงปู่จึงพาคณะและพระ ๔ รูป เดินทางเช้าตรู่ วันที่ ๑o เมษายน ๒๕๑๘ คล้อยหลังเพียงหนึ่งวันอำเภอโมงรือแซ็ย ได้ถูกเขมรแดงยึดไว้ได้ใน วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๑๘

    1691-1c62.jpg

    หลวงปู่ธรรมรังษีและคณะใช้เวลาเดินทางธุดงค์มา ๕ วัน จนถึงด่านปอยเปต อยู่ติดกับชายแดน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เข้าพำนักที่วัดป่าเลไลย์เพื่อขออนุญาตเข้าประเทศไทย ในที่สุดก็ได้รับการอนุญาตจากทางการไทย หลวงปู่ท่านโดยสารรถไฟจากสถานีอรัญประเทศเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เมื่อเช้า วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๑๘ หลังจากกรุงพนมเปญถูกเขมรแดงยึดได้เพียง ๑ วัน ระหว่างอยู่บนรถไฟหลวงปู่นั่งภาวนาขอพระบารมีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว เป็นที่พึ่งตลอดเวลาทุกลมหายใจเข้าออก

    เมื่อถึงกรุงเทพมหานคร ได้เข้าพำนักอยู่กับพระอาจารย์วิโรจน์ เจ้าอาวาสวัดราชสิงขร ซึ่งเป็นสหธรรมิกกันมาก่อน และด้วยความที่หลวงปู่ธรรมรังษีมุ่งมั่นและใฝ่ในด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน พระอาจารย์วิโรจน์จึงได้พาหลวงปู่ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเพลงวิปัสนา กรุงเทพมหานคร หลวงปู่ท่านได้ศึกษาปฏิบัติธรรมเพิ่มเติมจากสำนักวัดเพลงวิปัสสนา และวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ เพราะสมัยอยู่ที่ประเทศกัมพูชานั้น หลวงปู่ธรรมรังษีท่านมุ่งเน้นเรื่องด้านวิทยาคมเป็นหลัก ในพรรษาถัดมาหลวงปู่ธรรมรังษีท่านจึงได้ปรารภกับสหธรรมิกรูปหนึ่งที่วัดเพลง วิปัสสนา ว่าการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาอยู่ในเมืองหลวงนั้นก้าวหน้าไปได้ช้าเพราะยังไม่ สงบสงัดเพียงพอ น่าจะมีสถานที่อื่นที่จะไปบำเพ็ญเพียรให้ประสบความสำเร็จได้ สหธรรมิกรูปนั้นจึงนำพาหลวงปู่ท่านจาริกสู่ชนบทบ้านเกิดที่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ได้พบกับ “ พระอาจารย์สิงห์ สุธัมโม ” (พระ ครูภาวนาประสุต) เจ้าอาวาสวัดบ้านขี้เหล็ก ตำบลหนองบัวทอง อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นพระนักปฏิบัติ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนทั่วไปในละแวกนั้น เมื่อท่านได้พบอาจารย์สิงห์ก็รู้สึกต้องในอัธยาศัยไมตรี จึงได้พำนักอยู่ ณ วัดบ้านหนองเหล็ก ตามคำชักชวน ช่วงเวลาแห่งการได้อยู่จำพรรษา ณ วัดบ้านหนองเหล็กนี้เอง ทำให้หลวงปู่ธรรมรังษีได้มีโอกาสพบกับพระอาจารย์สายวิปัสสนาจากสำนักต่างๆ มากขึ้นได้เปิดตัวให้เป็นที่รู้จักเลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนและเป็นที่ยอมรับ ในหมู่พระสงฆ์ที่สนใจการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นอย่างมาก

    พ. ศ. ๒๕๒๑ หลวงปู่ธรรมรังษี ท่านได้รู้จักกับพระครูปลัดขาว ฐิตธมฺโม เจ้าอาวาสวัดบุญศรีมุนีกร กรุงเทพมหานคร พระครูปลัดขาวยอมรับและนับถือหลวงปู่ธรรมรังษีเป็นอย่างมาก หลวงปู่ธรรมรังษีเป็นพระนักปฏิบัติที่กอรปด้วยคุณธรรมเปลี่ยมล้น และมีอภิญญาญาณสูง จึงได้อารธนาให้หลวงปู่ธรรมรังษีร่วมเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ในสำนักของท่านซึ่งรับฝึกปฏิบัติธรรมให้กับพระภิกษุ สามเณร และคฤหัสถ์ผู้สนใจทั่วประเทศหลวงปู่ธรรมรังษีเห็นเป็นโอกาสที่จะได้เผยแพร่ แนวทางปฏิบัติให้กว้างขวางได้มากยิ่งขึ้น จึงได้รับปากไปปฏิบัติภารกิจในช่วงที่มีการฝึกอบรมที่สำนักวัดบุญศรีมุนีกร เป็นเวลา ๒ ปี จึงกลับมาจำพรรษาอยู่กับพระครูภาวนาประสุต อีกครั้ง

    พ.ศ. ๒๕๒๓ พระมหาพันธ์ สีลวิสุทโธ ( พระครูภาวนาวิสุทธิญาณ ) เจ้าอาวาสวัดนิรมิตวิปัสสนา รองเจ้าคณะอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งเดินทางมาเยี่ยมบ้านเกิดที่อำเภอรัตนบุรี โดยการแนะนำของพระครูภาวนาประสุต หลวงปู่ธรรมรังษีจึงได้มีโอกาสธุดงค์กัมมัฏฐาน ในป่าเขาที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยลำพังสมดั่งที่ตั้งใจไว้ ได้มีโอกาสเพิ่มพูนบารมีให้แกร่งกล้ายิ่งขึ้นเป็นเวลาเกือบ ๓ ปี

    พ.ศ. ๒๕๒๕ เจ้าคณะอำเภอคูเมือง ที่พยายามเสาะแสวงหาพระวิปัสสนาจารย์ที่มีอภิญญาญาณเพื่อไปอบรมเผยแผ่ธรรม ให้กับคณะสงฆ์ในอำเภอคูเมือง จึงได้มาพบกับหลวงปู่ธรรมรังษี ก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงได้อาราธนาให้ท่านมาเป็นพระวิปัสสนาจารย์ดัง กล่าว นับเป็นโอกาสดี และประจวบเหมาะอย่างยิ่งท่านพิจารณาเห็นว่าการปฏิบัติธรรมตามแนวทางวิปัสสนา กัมมัฏฐาน หากไม่มีการเผยแผ่ก็จะไม่สามารถสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนถาวรได้เลย เมื่อมีความคิดเห็นเช่นนี้หลวงปู่ธรรมรังษีท่านจึงรับคำอาราธนา ของท่านเจ้าคณะอำเภอคูเมือง โดยได้มาพำนักประจำที่สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานของอำเภอคูเมือง ณ วัดบ้านปะเคียบ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในเวลาต่อมาทั้งคณะสงฆ์ และชาวบ้านต่างได้สัมผัสและรับปฏิบัติตามแนวทางของหลวงปู่ธรรมรังษี เกิดความเลื่อมใสและศรัทธามาฝึกปฏิบัติกันไม่ขาดสาย

    พ.ศ. ๒๕๒๖ ท่านพระครูประภัศร์คณารักษ์ (จันทร์ ปภัสสโร) เจ้าคณะอำเภอท่าตูมในสมัยนั้น ได้พบหลวงปู่ธรรมรังษี หลังจากรู้จักกันไม่นานท่านพระครูประภัศร์คณารักษ์จึง นิมนต์หลวงปู่ท่านไปดูสถานที่ป่าหนาทึบแห่งหนึ่งห่างจากอำเภอท่าตูมไม่ไกล นัก เมื่อหลวงปู่ธรรมรังษีได้เดินทางมาถึงดูสถานที่แห่งนี้ท่านเกิดความปิติ โสมนัสเป็นอย่างมาก หลวงปู่ได้เอ่ยว่า “ สถานที่แห่งนี้มีความคุ้นเคยกันมาก่อน “ แล้วท่านก็ยิ้มแล้วพูดอีกครั้งว่า “ ฤาษีธรรมรังษี อาตมาเป็นฤาษีพนมดิน “ หลวง ปู่ธรรมรังษีจึงรับปากกับพระครูประภัศร์คณารักษ์ โดยไม่ลังเลแม้แต่น้อยที่จะบุกเบิกสร้างป่าหนาผืนนี้ให้เป็น วัดพระพุทธบาทพนมดิน สถานที่ปฏิบัติธรรมให้รุ่งเรือง หลวงปู่ธรรมรังษีจึงได้อำลาญาติโยมชาวคูเมืองท่ามกลางความอาลัยของชาวบ้าน และจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก หลวงปู่ธรรมรังษีขอให้ความสัมพันธ์ของพี่น้องชาวบ้านอำเภอคูเมืองกับพี่น้อง อำเภอท่าตูม จงอย่าได้ขาดจากกันหลวงปู่ท่านขอเป็นผู้เชื่อมโยงสายสัมพันธ์ของพี่น้องทั้ง สองนี้ การจากมาของหลวงปู่ธรรมรังษีในครั้งนั้นมีภิกษุสามเณร แม่ชี พราหมณ์ และอุบาสกอุบาสิกาติดตามมาด้วยความผูกพันเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก แม้จะไม่มีกุฏิให้พักอาศัยเลยแม้สักหลัง จะมีก็เพียงผืนป่าที่มีงูและยุงมากมาย ศิษยานุศิษย์ทั้งหลายเหล่านั้นเต็มใจอยู่ปรนนิบัติรับใช้ปฏิบัติธรรม ร่วมเป็นร่วมตายกันต่อไป แม้กุฏิหลวงปู่ธรรมรังษีเองท่านก็ไม่มี ในสมัยนั้นยามค่ำคืนวันหนึ่งมีสามีภรรยาวัยชราคู่หนึ่งอาศัยอยู่หมู่บ้านลุง ปุง ได้เดินทางตามถนนหลัก ท่าตูม-สุรินทร์ สองข้างฝั่งเป็นป่าหนาทึบ ได้เกิดสีลำแสงสว่างจ้าสีฟ้าครามบนท้องฟ้าพุ่งลงมาสู่ป่าหนาทึบนั้น ทั้งสองจึงตัดสินใจเดินเข้าไปดูที่ลำแสงนั้นที่ส่องลงมา บริเวณตำแหน่งที่ลำแสงส่องลงมาจากท้องฟ้านั้นมีพระสงฆ์รูปหนึ่งนั่งสมาธิ อยู่บนแคร่ไม้ไผ่เล็กๆ อยู่ในท่ามกลางป่าหนาทึบ ไม่มีอะไรเลยนอกจากเครื่องอัฏฐะบริขารเพียง น้อยนิด จึงทราบภายหลังว่าพระสงฆ์รูปนั้นท่านมีชื่อว่า หลวงปู่ธรรมรังษี ด้วยบารมีธรรมอันแกร่งกล้า และด้วยเมตตาธรรมอันเปี่ยมล้นของหลวงปู่ธรรมรังษี สามารถทำให้วัดพระพุทธบาทพนมดินได้สำเร็จดังเจตนารมณ์ของคณะสงฆ์ ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนอำเภอท่าตูม ได้ดังที่หวังไว้หลวงปู่ธรรมรังษีท่านได้ตั้งใจอยู่พัฒนาบุกเบิกเป็นสำนัก วิปัสสนากรรมฐานสร้างศาลาการเปรียญ เสนาสนะและสิ่งก่อสร้างต่างๆ เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมจนเจริญรุ่งเรืองดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หลวงปู่ท่านได้ปรับปรุงก่อสร้างกุฏิสงฆ์ โดยมีกุฏิสงฆ์และผู้มาปฏิบัติธรรมไม่น้อยกว่า ๕o หลัง หอสวดมนต์ พระอุโบสถ รั้วคอนกรีตรอบวัด ประตูวัด บูรณปฏิสังขรณ์อาคารต่างๆ ทั้งของวัดและของส่วนราชการอีกมากมาย บริเวณวัดสะอาดเป็นระเบียบและดูร่มรื่นและสวยงาม

    1689-a4ed.jpg

    เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปในคนชาวสุรินทร์และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อสงครามสงบทางการประเทศกัมพูชา ได้นิมนต์ขอให้หลวงปู่ธรรมรังษี กลับไปเป็นพระสังฆราช ประเทศกัมพูชา แต่ท่านได้ปฏิเสธไป เพราะหลวงปู่ท่านต้องการอยู่ที่ประเทศไทย และหลวงปู่ธรรมรังษีเป็นที่เลื่อมใสและศรัทธาของชาวอีสานใต้และภาคใกล้เคียง เป็นอย่างมาก หลวงปู่ธรรมรังษีท่านจึงขอรับสมณศักดิ์ทางการประเทศกัมพูชา ในพระยศสมณะศักดิ์ชั้นธรรมเพียงเท่านั้น

    วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๕ หลวงปู่ธรรมรังษี เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช พระสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี ที่ประเทศกัมพูชา รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ “ พระธรรมวิริยาจารย์ กัมพูชา ”

    คณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ โดยพระเดชพระคุณพระเทพปัญญาเมธี เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ได้เกื้อกูลหลวงปู่ธรรมรังษีอันเป็นเนื้อนาบุญของจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดใกล้เคียง จึงได้มอบความไว้วางใจให้กับหลวงปู่ธรรมรังษีเป็นพระฐานานุกรรมเจ้าคณะ จังหวัด “ พระครูสังฆรักษ์ สุวัฒน์ จันทสุวัณโณ ”

    1692-f1cc.jpg

    วัน ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕ เนื่องในวโรกาสอันเป็นวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชมหาราช ด้วยความเมตตาของพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ หลวงปู่ธรรมรังษีได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร ที่ “ พระครูมงคลธรรมวุฒิ ” โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกี่ยว อุปเสโน

    วัน ที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๗ สถาบันราชภัฏสุรินทร์ ขอพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ครุศาสตร์บัณฑิต โปรแกรมวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว ถวายแด่ พระครูมงคลธรรมวุฒิ ในปีการศึกษา ๒๕๔๖

    วัน ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ “ พระมงคลรังษี ” สร้างความปลาบปลื้มใจให้แก่บรรดาศิษยานุศิษย์และผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก

    วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๙ เวลา ๒๒.๔๘ น เป็นวันที่ทุกคนต้องเศร้าสลดในการจากไปของท่านก็มาถึง หลวงปู่ท่านละสังขารด้วยโรคชรา ที่ รพ.วิชัยยุทธ ขณะเข้ามารักษาอาการอาพาธ สิริอายุ ๘๗ ปี ๖๘ พรรษา สังขารของหลวงปู่ธรรมรังษี บรรจุโลงแก้ว ในปราสาทศิลปะเขมร ณ วัดพระพุทธบาทพนมดิน อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สังขารหลวงปู่ท่านไม่เน่าเปื่อย แม้สังขารของท่านจะดับขันธ์ไปแล้วก็ตามแต่ “ พระมงคลรังษี ” ยังคงส่องแสงรังสีธรรมแห่งมงคลอยู่ในใจของญาติโยมศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศตลอดไป

    จริยาวัตร หลวงปู่ธรรมรังษีเป็นผู้มีจิตใจดี ใฝ่ร่ำเรียนอยากที่จะศึกษาเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติจิตอยู่เสมอ นอนน้อย ฉันน้อย เคร่งครัดในการปฏิบัติ ศึกษาพระธรรมวินัยสิกขาบทเจริญกรรมฐานอย่างสม่ำเสมอ หลวงปู่ท่านจึงมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนาเป็นอย่างมาก หลวงปู่ธรรมรังษีท่านเป็นพระที่เปรียบได้ว่ามีเมตตาธรรมชั้นสูง ไม่เลือกชั้นวรรณะ คนรวย คนจน ต่ำหรือสูงศักดิ์ ให้ความเมตตาเท่าเทียมกัน หลวงปู่ธรรมรังษีท่านฉันเจ มาตลอดทั้งชีวิตของท่าน มีจริยาวัตรอันงดงาม ตลอด ชีวิตหลวงปู่ท่านไม่เคยดุว่ากล่าวผู้ใดแม้ต่อหน้าหรือลับหลัง ไม่รับเงินไม่ถือเป็นของท่าน ปฏิบัติดั่งสายวัดป่าอย่างเคร่งครัด ชาวบ้านและเหล่าศิษยานุศิษย์ต่างทราบกันดี รวมถึง สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกี่ยว อุปเสโน ท่านมีความเคารพและศรัทธาเลื่อมใสในหลวงปู่ธรรมรังษีเป็นอย่างสูง เป็นพระสุปฏิปัณโณอย่างแท้จริง

    1693-d6ed.jpg


    คัดลอกจากหนังสือ " ธรรมรังษีส่องสว่างกลางพนมดิน " ไว้เพื่อเป็นวิทยาทานต่อไป


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มา อย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่ธรรมรังษีให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 ครับ

    ลป.ธรรมรังษี.jpg ลป.ธรรมรังษีหลัง.jpg
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    upload_2019-11-24_20-13-4.jpeg
    พระครูอุทัยธรรมกิจ( หลวงปู่ตี๋ ) พระผู้มีบารมีเปี่ยมล้น ด้วยเมตตาธรรม แห่งลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี หลวงปู่ท่านเป็นชาวเมืองอุทัยธานี โดยกำเนิด เป็นบุตร ของ นายก้าง นางเหล็ง นามสกุล แซ่ตั้ง หลวงปู่ เป็น บุตร คนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 4 คน ท่านเกิด วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2455 ตรงกับ วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีชวด นามเดิม ตี๋ แซ่ตั้งการศึกษา หลวงปู่จบชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนอุทัยทวีเวทย์ หลังจากจบการศึกษา ได้ช่วย พระครูอุทัยธรรมกิจ( หลวงปู่ตี๋ ) พระผู้มีบารมีเปี่ยมล้น ด้วยเมตตาธรรม แห่งลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี หลวงปู่ท่านเป็นชาวเมืองอุทัยธานี โดยกำเนิด เป็นบุตร ของ นายก้าง นางเหล็ง นามสกุล แซ่ตั้ง หลวงปู่ เป็น บุตร คนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 4 คน ท่านเกิด วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2455 ตรงกับ วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีชวด นามเดิม ตี๋ แซ่ตั้งการศึกษา หลวงปู่จบชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนอุทัยทวีเวทย์ หลังจากจบการศึกษา ได้ช่วยเหลือบิดา และมารดา ประกอบอาชีพ ค้าขาย ที่บ้านต้นจันทร์ ในตลาดอุทัยธานี ช่วงในวัยเด็กวัยรุ่น มักจะเป็นไป ทางด้านซุกซน ดื้อ และแก่น แต่ไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้ทางบ้าน อุปสมบท วันที่ 16 กรกฏาคม 2476 ได้เข้าสู่พิธีอุปสมบท ที่วัดโรงโค อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี โดยมี พระ สุนทรมุนี วัดพิชัยปุณณาราม เจ้าคณะ จังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดโชติ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระใบฎีกาเทิม เป็นพระอนุศาสนาจารย์ หลังจาก อุุปสมบทแล้ว ได้พำนักจำพรรษาที่วัดพระธรรมโฆษก(วัดโรงโค) หลวงปู่ เล่าว่า จะบวชแค่พรรษาเดียวให้กับโยมพ่อ -โยมแม่ สาเหตุที่บวชยาวนาน เพราะอยากได้วิชา ้วิทยาคมของ"หลวงพ่อพูล แห่งวัดหนองตางู" จ.อุทัยธานี ซึ่งเป็นเกจิ ร่วมสมัยกับ หลวงพ่อเดิม แห่งวัดหนองโพธิ์จ.นครสวรรค์ ซึ่ง หลวงปู่เมตตาเล่าว่า " พอบวชได้ 2 เดือน ก็เกิดอยากจะสึก จึงเดินทางไปกราบและแจ้งความประสงค์ในการสึกต่อ หลวงพ่อพูล ซึ่งเป็นพระที่ หลวงปู่ให้ความเคารพเป็นอย่างมาก - หลวงพ่อพูล ถามว่า " จะสึกเมื่อใด " จะเป็นด้วยเหตุ หรือสิ่งใดเหลือจะเดาได้ หลวงปู่ได้พูดเป็น เชิงต่อรองว่า กระผมขอฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อ หากหลวงพ่อได้ถ่ายทอดวิชา ให้กระผม กระผม ก็จะไม่ขอสึก "หลวงพ่อพูลท่านมีความเมตตาต่อหลวงปู่อยู่แล้ว จึงตกปากรับท่านไว้เป็นศิษย์ หลวงปู่ตั้งใจเรียนในวิชาการ สยบ ความไข้ โดย มีจุดประสงค์ จะนำไปใช้ประโยชน์ข้างหน้า รวมทั้งอีกหลาย วิชาที่หลวงพ่อพูล ท่านถ่ายทอดให้ ที่นับว่ายอดเยี่ยม คือ วิชาทางด้านมหาอุดและคงกระพัน ประมาณ 2 พรรษ ที่ท่านพำนักที่สำนักหนองตางู และ หลวงปู่ ได้จาริกสัญจร ไปตามสถานที่วิเวกต่าง ๆ รวมทั้งแสวงหาพระอาจารย์ดีไปด้วยในตัว และกลับมาวัดหนองตางูอีกครั้ง ใน พ.ศ.2484 ปี พ.ศ.2497 วัดหลางราชาวาส ว่างเจ้าอาวาสปกครอง หลวงปู่ตี๋ จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่ง ในขณะที่ดำรงตำแหน่ง ได้มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิด พระราชอุทัยกวี (พุฒ)เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เจ้าอาวาสวัดทุ่งแก้ว จนหลวงปู่ได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูสังฆรักษ์ ฐานานุกรมของ พระราชอุทัยกวี เมื่อปี พ.ศ.2501 โดยพระราชอุทัยกวี นั้น ท่าน เป็นศิษย์สายตรงของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ดังนั้นวิทยาคม ของหลวงปู่ศุข ที่พระ ราชอุทัยกวี ได้รับมานั้น หลวงปู่ได้รับถ่ายทอดมาเต็ม ๆ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า วัตถุมงคลของหลวงปู่ แต่ละรุ่นจึงเป็น ที่หมายปองของศิษย์ทั้งหลาย หลวงปู่ได้จากพวกเราไปแล้ว เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2546 รวมอายุ 91 ปี พรรษา 71 ปี วัตถุมงคล -เหรียญรุ่นแรก ปี 2520 -รุ่น 2 ทอดกฐินประจวบคีรีขันธ์ ปี 2522 -รุ่น 3 ตะกรุดโทนเทพรัญจวน เหรียญบาตรน้ำมนต์ เหรียญตู้ไปรษณีย์ เสือ มีดหมอ ปิดตา

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มา อย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่ตี๋ ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS50 ครับ

    ลป.ตี๋1.jpg ลป.ตี๋1หลัง.jpg
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    คลิกเมาส์ที่ใดก็ได้ในเฟรมนี้เพื่อเรียกเมนูด่วน

    Angel_both.gif

    lp-srichan-2.jpg
    หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ

    วัดศรีสุทธาวาส (เลยหลง) อ.เมือง จ.เลย

    โพสท์ในลานธรรมเสวนา โดยคุณ : โยคาวจร [13 ส.ค. 2542]

    bar-1s.jpg

    กายเหมือนเรือ ใจเหมือนนายเรือ ถ้านายเรือไม่รับการฝึกหัดให้ชำนิชำนาญ หรือประมาทไป
    ก็จะพาเอาเรือไปเป็นอันตรายเสีย ต่อเป็นผู้ได้ศึกษาและมีสติ จึงจะสามารถพาไปถึงท่า


    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ชื่อเดิม ศรีจันทร์ จันทิหล้า เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันที่ 18 มกราคม 2447 เกิด ณ บ้านฟากเลย ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย บิดาของท่านชื่อ อมาตย์ เพี้ยฤทธิ์ (ลี จันทิหล้า) มารดาของท่านชื่อ นางตุ๊ จันทิหล้า ท่านหลวงปู่ศรีจันทร์เป็นบุตรคนที่ 12 ตระกูลจันทิหล้า เป็นครอบครัวที่อุดมสมบูรณ์มาก มีฐานะญาติมิตรมากมาย เพราะบิดาของท่านหลวงปู่เป็นเพี้ย ซึ่งเป็นชื่อตำแหน่งของข้าราชการในภาคอีสานนับได้ว่าหลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ เป็นบุตรของข้าราชการไทยในยุคหนึ่งนั่นเอง และท่านได้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติในฐานะที่ท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งอย่างสมเกียรติ

    หลวงปู่ศรีจันทร์ สมัยเป็นเด็กเล็กๆ อยู่ ท่านได้รับความอบอุ่นจากบิดาและมารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลายพออายุได้เกณฑ์เข้าโรงเรียน บิดาของท่านได้นำไปฝากเพื่อศึกษาเล่าเรียน ณ โรงเรียนประจำอำเภอวังสะพุงจังหวัดเลย

    ในชีวิตปฐมวัย ท่านสามารถศึกษาเล่าเรียนได้ในเกณฑ์ดีพอใช้ กิริยามารยาทของท่านนั้นตามปกติแล้วเป็นเด็กที่เชื่อฟังบิดามารดาและญาติพี่น้องเสมอ เมื่อได้มาอยู่โรงเรียน จึงเป็นที่รักใคร่จากครูบาอาจารย์มากท่านเป็นคนเงียบ พูดน้อยมีสติปัญญามาแต่เด็ก จิตใจของท่านนั้นมีความเมตตา ปราณี อ่อนโยนมีความสงสารสัตว์ไม่ชอบการเบียดเบียน ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ท่านมีความเข้าใจว่า ทุกชีวิตที่เกิดมาย่อมมีความรักตัวกลัวตาย กลัวเจ็บ กลัวไข้ด้วยกันหมดทั้งสิ้น ดังนั้นการเบียดเบียนกันจึงเป็นเหตุให้ผู้ถูกเบียดเบียนเกิดทุกขเวทนา มีเวรกรรมต่อกันหาที่สิ้นสุดลงไม่ ส่วนผู้เบียดเบียนผู้อื่นก็ไม่มีความสุข เกิดทุกข์ มีบาปกรรมอีกทั้งยังส่งผลให้ได้รับทุกขเวทนาเช่นกัน ฉะนั้นความคิดเช่นนี้ ท่านจึงพึงระวังไม่ให้เกิดบาปกรรมและระวังมาตั้งแต่สมัยเด็กจนได้บรรพชาอุปสมบท

    การศึกษาของท่านสามารถเรียนจบชั้นประถมบริบูรณ์ (ชั้น ป.3) ในสมัยนั้น

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา

    ในกาลต่อมา หลวงปู่ศรีจันทร์ ได้ความคิดเห็นจากบิดามารดาของท่านให้เพิ่มวิชาความรู้ เพื่อจะได้นำความรู้นั้นๆ มาประกอบกิจชีวิตอันดีงาม

    การศึกษาในสมัยนั้นยังไม่กว้างขวางอย่างเช่นปัจจุบัน ถ้าบุคคลใดมีความประสงค์ที่จะก้าวหน้าต่อไป ก็จำเป็นอยู่ที่จะต้องศึกษาในแหล่งนักปราชญ์ราชบัณฑิต ซึ่งเป็นวัดวาอารามนั่นเอง ที่เป็นแหล่งศึกษาแก่กุลบุตรผู้หวังความเจริญ

    ในปี 2461 ท่านได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีชมชื่น ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2461 ได้รับความเมตตาจากพระครูหวดเป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะนั้นท่านมีอายุได้ 15 ปีเต็ม เนื่องจากได้บวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านมีจิตใจรักในการศึกษามากอยู่แล้ว ท่านจึงเข้าศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม

    การศึกษาพระวินัยนั้น ท่านมีความสนใจมากในการศึกษาด้านการปกครองหมู่คณะ ท่านจึงได้ออกเดินทางมาอยู่จำพรรษาที่กรุงเทพฯ และได้พำนักที่วัดสัมพันธวงศ์

    ภายหลังท่านได้รับความเมตตาอันสูงสุดให้ได้แปรญัตติเป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุต

    เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2462 โดยได้รับพระเมตตาจากพระเดชพระคุณ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต นพวงศ์) เป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ พระมหารัชมังคลาจารย์เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    หลวงปู่ศรีจันทร์ (ในสมัยเป็นสามเณร) ท่านได้มานะพยายามเป็นยิ่งยวด ศึกษาธรรมวินัยอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะท่านได้รับความเอ็นดูจากพระอุปัชฌาย์จารย์ และครูบาอาจารย์ผู้ฝึกสอนจนมีความรู้ความเข้าใจขึ้นอีกมากมาย และยังเป็นที่ไว้วางใจจากครูบาอาจารย์เป็นพิเศษ

    สมัยที่เป็นสามเณรศรีจันทร์ จันทิหล้า นั้น ท่านได้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ อยู่ในหมู่ของนักบวชนั้นท่านเป็นบุคคลที่รักความสงบมีความเมตตาปราณี กิริยาวาจาเรียบร้อยรู้จักบาป-บุญ-คุณ-โทษ รู้จักนอบน้อมผู้ใหญ่กว่า และยังเป็นบุคคลที่เกิดมาในสกุล "เพี้ย" คนหนึ่งจริยาขันธนิสัยจึงได้รับการอบรม มาจากบิดามารดาและบรรดาญาติพี่น้องของท่านมาก่อน จึงเป็นเหตุให้ท่านเรียบร้อยนอบน้อม กายวาจาที่แสดงออกมาเป็นที่พึงจิตพึงใจแก่ผู้พบเห็นและผู้ที่อยู่ใกล้ชิด

    เมื่อได้บรรพชาอุปสมบทเข้ามาในทางพระพุทธศาสนา และได้มาอยู่จำพรรษาใกล้ชิดกับครูบาอาจารย์ ที่เป็นมหาราชบัณฑิตและท่านนักปราชญ์ทั้งหลายในกรุงเทพฯ ตลอดจนถึงความเจริญก้าวหน้า มีเหตุมีผลได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศสอนสั่งไว้แล้ว ท่านยังได้มาอยู่ใกล้ชิดรับใช้พระอุปัชฌาย์จารย์ คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และยังมีพระเดชพระคุณเจ้าอีกหลายพระองค์ที่ประกอบด้วยสติปัญญาอันแหลมคมรอบตู้ในพระธรรมวินัย ท่านจึงได้นอบน้อมจดจำมาเป็นเยี่ยงอย่างใส่จิตใส่เกล้าของท่านมาตลอด ความที่หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ หรือ วณฺณาโภภิกขุ ขณะศึกษาเล่าเรียนอยู่ ณ สำนักวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้นท่านได้พยายามศึกษาวิชาครูผู้ดำเนินตามครูบาอาจารย์ไว้ ดังบทความที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ติสสเถร นิพนธ์ไว้ ณ วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ดังนี้

    "อันธรรมดาว่าผู้เป็นครู เมื่อจะทำการสอนควรบำเพ็ญพรหมวิหารธรรมให้มีก่อนแล้วจึงจะสอนภายหลัง" พรหมวิหาร 4 อย่างก็คือ

    1. เมตตา ได้แก่ ตั้งใจส่งความรักใคร่ไปให้ผู้อื่น ถอนความเกลียดชังแก่ผู้อื่น

    2. กรุณา ได้แก่ ตั้งใจช่วยทุกข์ของผู้อื่น

    3. มุติตา ได้แก่ ตั้งใจยินดีต่อผู้อื่น ในเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดิบได้ดี ถอนความริษยาลาภผลจากผู้อื่น

    4. อุเบกขา ได้แก่ ตั้งใจวางเฉยในเหตุการณ์ทั้งมวล แต่มิใช่เฉยอย่างปราศจากสติ คือเฉยในเมื่อได้วิจารณ์เห็นว่าหมดอำนาจเมตตา กรุณา และมุติตา ที่ได้แผ่ไปแล้วจึงเฉย

    คุณทั้ง 4 ประการนี้ เมื่อผู้เป็นครูบำเพ็ญให้เกิดมีย่อมเป็นที่ตั้งแห่งความรักเคารพนับถือของผู้ฟัง และเป็นผู้ฉลาดในเชิงปราชญ์ ท่านมีความสังเกตจากครูบาอาจารย์ หมั่นศึกษาหาความรู้ใส่จิตใจ ของท่านไว้เป็นอันมากและวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระเบียบวินัย แผนศึกษาอบรม การปกครองหมู่คณะ ความรู้เหล่านี้หลวงปู่ศรีจันทร์ ได้มาปรับปรุงหมู่คณะที่ท่านรับผิดชอบนำความสงบสุขเจริญรุ่งเรือง ในที่สุดขณะที่ท่านเป็นสมเณรท่านสามารถสอนนักธรรมชั้นตรีและนักธรรมโทที่สนามหลวงได้ซึ่งเป็นปี 2466 ต่อมาท่านได้อุปสมบทต่อโดยได้รับความเมตตาธรรมเป็นครั้งที่ 2 จากสมเด็จพระอุปัชฌาย์จารย์ของท่าน โดยได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดสัมพันธวงศ์ ตำบลสัมพันธวงศ์ อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ พระมหารัชชมังคลาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2467

    ภายหลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เจริญข้อวัตรพระธรรมวินัย ตามแบบฉบับท่านผู้รู้ทั้งหลาย อันเป็นเกียรติประวัติแก่ท่านในกาลต่อมาแล้ว หลวงปู่ศรีจันทร์ ท่านได้มีความพยายามที่จะศึกษา หาความรู้แก่ตนเองได้มากขึ้น ในพรรษาปี 2467 หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ท่านได้พยายามศึกษา พระธรรมวินัยอย่างยิ่งยวดไม่ปล่อยเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ท่านได้ใช้เวลาส่วนมากทุ่มเทให้แก่การศึกษา ท่านพยายามสนองพระเดชพระคุณของพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ที่พระเดชพระคุณเมตตา พึงหวังในตัวของท่านไว้ ความพยายามที่เกิดจากกำลังใจที่ครูบาอาจารย์คอยส่งเสริมท่านนี้ เป็นผลสำเร็จอย่างง่ายดายในปีเดียวกันคือ หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ สามารถสอบนักธรรมชั้นเอก ในสนามหลวงได้เมื่อปี 2467 นั่นเอง หลวงปู่ศรีจันทร์ สมัยอยู่จำพรรษาที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ แม้ว่าท่านจะมีการศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม แต่ส่วนลึกของจิตใจท่านในยามนั้น หลวงปู่มีความสนใจประพฤติปฏิบัติภาวนาธรรมมาก และท่านได้เริ่มต้นปฏิบัติทางด้านพระกรรมฐาน ที่วัดสัมพันธวงศ์อีกด้วย สามารถกระทำควบคู่กันไปอย่างได้ผล และมีความชำนาญในสมาธิภาวนามาก

    ท่านได้ถือข้อวัตรไว้อย่างเคร่งครัด เช่น ฉันในบาตร ฉันหนเดียว รักษาความสันโดษ ไม่ชอบคลุกคลีกับหมู่คณะ ถ้าแม้ยามใดว่างจากภารกิจอื่นแล้ว หลวงปู่ศรีจันทร์จะเข้าที่บำเพ็ญเพียร ภาวนาทันที ดังนั้นก่อนที่จะหันเข้าไปอบรมอยู่กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นั้น หลวงปู่ศรีจันทร์ พอมีความเข้าใจในการปฏิบัติมาบ้างแล้วในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตาม หลวงปู่ศรีจันทร์ได้ศึกษา มาเป็นตัวหนังสือในข้อธุดงควัตรขณะศึกษาปริยัติธรรม แต่ท่านถือหลักที่ว่ามีความเชื่อธรรม คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า หลวงปู่ศรีจันทร์จึงพิสูจน์และมีความรู้จริงดังการที่ได้พิสูจน์มาแล้วนั้น หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ สมัยเป็นพระมหาได้เทียบด้วยสติปัญญาแล้วว่า "เป็นสถานที่ที่ควรตั้งมหาวิทยาลัย และเป็นวิชาที่ควรบรรจุเข้าในหลักสูตรมหาวิทยาลัยทางโลก

    ธุดงควัตร 13 กับขันธวัตร 14 ในทางพระศาสนาก็สามารถเป็นได้ทั้งสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัย และหลักวิชาแห่งมหาวิทยาลัยสงฆ์ โดยแยกออกจากธุดงค์บางข้อที่ควรเป็นสถานที่มหาวิทยาลัย แห่งการบำเพ็ญภาวนาศึกษาตามควร

    คือข้อถือการอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่รุกขมูลใต้ร่มไม้เป็นวัตร อยู่ป่าช้าเป็นวัตร การเยี่ยมป่าช้าเป็นวัตร สถานที่ควรอนุโลมเข้าในที่เหล่านี้ก็ควรอนุโลมได้ เช่นถ้ำเงื้อมผา เรือนว่างที่ปราศจากคนอยู่อาศัยเป็นต้น แต่หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ท่านถือว่าท่านเป็นพระสงฆ์ ท่านจึงมั่นในการประพฤติ จึงจำเป็นอยู่ที่จะต้องสงเคราะห์เข้าในหลักธรรมของพระพุทธเจ้า เช่น การถือผ้าบังสกุลเป็นวัตร การถือเฉพาะผ้าสามผืนเป็นวัตร การบิณฑบาตเป็นวัตร การฉันในบาตรเป็นวัตร การฉันหนเดียวในวันหนึ่งๆ เป็นวัตร การห้ามภัตต์ที่ตามมาที่หลังเป็นวัตร การไม่พักนอนเป็นคืนๆ ไปเป็นวัตร กรรมฐาน 40 ห้อง ซึ่งเป็นหลักวิชาทางภาคปฏิบัติ ก็สงเคราะห์เข้าด้วยกับธุดงค์ภาควิชาการ

    สรุปแล้ว พระพุทธศาสนาเป็นความสมบูรณ์ด้วยวิชาในแขนงต่าง ๆ เป็นมหาวิทยาลัยศาสนา มาแต่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เริ่มประกาศธรรมสอนโลก หลวงปู่ศรีจันทร์ จึงเข้าใจในหลักนี้ และมีความสนใจเป็นพิเศษ ส่วนการศึกษาทางโลกนั้นท่านก็สามารถเรียนรู้ได้ คือ

    1. ท่านเป็นนักปกครอง

    2. ท่านเป็นนักพัฒนา

    3. ท่านเป็นนักปฏิบัติธรรม

    ความจริงทั้งหลายเหล่านี้เป็นที่ประจักษ์แก่ท่านพระเดชพระคุณ ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ตลอดจนศิษยานุศิษย์ที่เคารพนับถือมาเป็นอย่างดียิ่ง
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-srichan_hist.htm

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มา อย่างสูงครับ

    พระผฃรูปเหมือนรุ่นแรกหลวงปู่ศรีจันทร์ ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS50 ครับ

    ลป.ศรีจันทร์.jpg ลป.ศรีจันทร์หลัง.jpg
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    เหรียญวิญญาณรักดอกประดู่ไม่ตอกโค๊ต
    เหรียญนี้สร้างในปี2504 ปลุกเสกโดยเกจิอาจารย์ในสมัยนั้น เช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง หลวงพ่อสุด วัดกาหลง เป็นต้น ซึ่งได้แจกไปบางส่วนไม่ถึง10%

    ส่วนที่เหลือได้นำมาให้หลวงปู่เดินหนปลุกเสกอีกครั้ง โดยคุณดอกดิน กัลยามาลย์ คุณมิตร ชัยบัญชา คุณภาวนา ชนะจิต เป็นต้น เพื่อแจกให้ผู้เข้าชมภาพยนต์เรื่อง วิญญาณรักดอกประดู่ ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งมอบให้กองทัพเรือ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มา อย่างสูงครับ

    ให้บูชาเหรียญละ 500 บาทค่าจัดส่งEMS50 ครับ มี 2 เหรียญครับ

    เหรียญที่1

    ลป.ศุข1.jpg ลป.ศุข1หลัง.jpg
    เหรียญที่2

    ลป.ศุข2.jpg ลป.ศุข2หลัง.jpg
     
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%91%E0%B9%82%E0%B8%92-696x383.jpg
    “พระครูปรีชาวุฒิคุณ” หรือ “หลวงพ่อฮวด ปัญญาวุฑโฒ” อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนโพธิ์ทอง ต.ดอนโพธิ์ทอง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองสุพรรณบุรี เชี่ยวชาญด้านการพัฒนา วิทยาคม และวิปัสสนากัมมัฏฐาน

    เกิดที่บ้านดอนโพธิ์ทอง หมู่ที่ 1 ต.ดอนโพธิ์ทอง อ.เมืองสุพรรณบุรี ตรงกับวันศุกร์ที่ 23 มิ.ย.2454 บิดา-มารดา ชื่อ นายเกลี้ยงและนางพุก ปุริสพันธุ์ มีพี่น้องรวม 7 คน

    อายุเพียง 3 ขวบ ต้องกำพร้าทั้งบิดามารดา และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของพี่สาวและพี่เขย

    อายุ 12 ปี พี่ชายพาไปฝากเป็นลูกศิษย์ พระอาจารย์หริ่ม กัลยาโณ วัดวังยายหุ่น ต.ดอนกำยาน อ.เมืองสุพรรณบุรี

    เริ่มเรียนหนังสือมูลบทบรรพกิจ และเรียนอักษรขอม กับพระอาจารย์ชม พันธุ์เถื่อน ญาติข้างพ่อ จนสามารถอ่านหนังสือขอมเรื่องพระมาลัยได้ภายในเวลา 5 เดือน

    อายุ 15 ปี เป็นศิษย์เจ้าอาวาสวัดโคกโคเฒ่า อ.เมืองสุพรรณบุรี เรียนมูลกัจจายน์ ซึ่งเป็นตำราไวยากรณ์ภาษาบาลี ก่อนกลับมาวัดกุฎีทอง สมัครเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเจิม เรียนมูลกัจจายน์ โดยไปเรียนกับกำนันหยด อินทรมุข (บิดาขุนธานินทร์ สรรพสามิต จ.สุพรรณบุรีในสมัยนั้น)

    จากนั้นกลับมาบ้านดอนโพธิ์ทอง ช่วยพี่สาวพี่เขยทำไร่ไถนาและประกอบอาชีพ

    อายุ 19 ปี บรรพชาที่วัดวังยายหุ่น เพียง 8 เดือนก็ท่องบ่นสวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ภาณต้น ภาณยักษ์ นวโกวาท สูตรนักธรรมตรี ได้อย่างเชี่ยวชาญ

    อายุ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดวังพระนอน มีหลวงพ่อสอน เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระใบฎีกาลี วัดป่าเลไลยก์ เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระทองอยู่ วัดแก้ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ปัญญาวุฑโฒ

    ภายหลังอุปสมบทย้ายไปอยู่จำพรรษากับพระมหาต่วน วัดมเหยงคณ์ ต.ท่าระหัด อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

    ช่วงนั้นวัดมเหยงคณ์มีสภาพใกล้จะเป็นวัดร้าง ท่านช่วยพัฒนาวัด รวมทั้งศึกษาพระธรรมวินัยจากพระมหาต่วน และเข้าสอบนักธรรมสนามหลวงได้นักธรรมตรี-โท-เอก ตามลำดับ

    จากนั้นได้ไปเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณกับพระอาจารย์มั่น แพงพันธุ์ วัดใหม่รัตนเจดีย์ (วัดหัวไม้ซุง) อ.เมืองสุพรรณบุรี และเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระอาจารย์โอ-พระอาจารย์ขวด วัดเขาดีสลัก อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

    [​IMG]
    ราวปี พ.ศ.2480 ชาวบ้านดอนโพธิ์ทองดำริสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมใจและประกอบพิธีทางศาสนา ได้เล็งเห็นความสามารถของหลวงพ่อฮวด จึงอาราธนาท่านมาเป็นผู้สร้าง

    ช่วงที่ไปสร้างวัดดอนโพธิ์ทองนั้น หลวงพ่อ ฮวดมีอายุเพียง 20 เศษ แต่ได้ใช้ความสามารถ ช่วยชาวบ้านด้วยความแข็งขัน จนสำเร็จลุล่วง

    ด้วยฝีมือและความสามารถ ชาวบ้านจึงให้ความเคารพนับถือ เช่นเดียวกับที่ได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 เป็นเจ้าคณะตำบลสวนแตง พ.ศ.2494 เป็นพระอุปัชฌาย์

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2500 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ “พระครูปรีชาวุฒิคุณ” พ.ศ.2510 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท และพ.ศ.2523 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม

    ปฏิปทาของท่าน ดำเนินชีวิตด้วยความเรียบง่าย ไม่มีพิธีรีตอง แต่เป็นคนมีระเบียบ มีสัมมาวาจา พูดช้าชัดถ้อยชัดคำ

    ท่านถือเคร่งในวัตรปฏิบัติมาก ตื่นจำวัดเวลาตี 4 ทุกวัน หลังออกบิณฑบาตและเสร็จจากฉันเช้า จะกวาดลานวัดจนสะอาด จากนั้นจะคอยต้อนรับชาวบ้านที่มาพบและให้รักษาไข้

    หลังทำวัตรเย็นเสร็จ จะปฏิบัติและเป็นผู้สอน วิปัสสนากัมมัฏฐานให้กับพระภิกษุ-สามเณร

    ท่านเน้นย้ำอบรมบ่มนิสัยชาวบ้านให้เป็นคนดีมีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม สิ่งที่ท่านไม่ชอบ คือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และคนดื่มสุรา

    สิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อฮวด ให้การสนับสนุนและเป็นห่วงมาก คือการศึกษา มักจะให้คำตักเตือนแก่ครูอาจารย์เสมอๆ ว่า “ครูเป็นแม่พิมพ์ของชาติ ขอให้ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก หากแม่พิมพ์บูดๆ เบี้ยวๆ อีกร้อยปีประเทศชาติก็ไม่เจริญ”

    ท่านเอาใจใส่อย่างมากกับโรงเรียนประชาบาล ด้วยเห็นว่านี่คือ จุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาบุคคล

    อีกทั้งยังตั้งมูลนิธิ นำดอกผลมาช่วยการศึกษาของนักเรียนที่ยากจน

    มรณภาพ เมื่อวันที่ 15 ส.ค.2539 สิริอายุ 86 ปี
    https://www.khaosod.co.th/amulets/news_243677

    "พระครูปรีชาวุฒิคุณ" หรือ หลวงพ่อฮวด อดีต เจ้าอาวาสวัดดอนโพธิ์ทอง ต.ดอนโพธิ์ทอง อ.เมือง สุพรรณบุรี อีกพระเกจิชื่อดังแห่งเมืองสุพรรณบุรี หลวงพ่อฮวด มรณภาพ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2539 สิริอายุได้ 86 ปี

    หลวงพ่อเป็นเจ้าคณะตำบลวัดดอนโพธิ์ทอง เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่เป็นพระที่มีความเมตตาสูง เอื้ออาทร ใครขออะไรถ้าท่านทำให้ได้ท่านจะทำให้ ท่านเปรียบเสมือนพระอริยสงฆ์ในเมืองสุพรรณบุรี และลูกศิษย์ที่เคารพนับถือ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก คือ นายกคนที่ 21 นาย บรรหาร ศิลปอาชา เพราะทางครอบครัวท่านอดีตนายกได้ไปกราบขอพรท่านให้เป็นนายกและท่านบอกว่าได้เป็น ครับ และได้กราบตัวเป็นลูกศิษย์ และได้ไปหาท่านอยู่เป็นประจำเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านเป็นพระที่มีวาจาศิษย์ จะไม่พูดจาติเตียนใคร และพูดน้อย และเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างมาก

    ประวัติดังเดิม เป็นลูกศิษย์คณาจารย์ดังเก่งๆหลายท่าน ที่ผมจำได้ที่หลวงพ่อเคยเล่าให้ผมฟังกับหลวงพ่อโอ ภาษี หลวงพ่อศร วัดป่าเลไลย์ เมื่อท่านเรียนวิปัสสนา ท่านได้อยู่ที่วัดเขาดีสลัก กับหลวงพ่อโอ และเป็นผู้บูรณะวัดเขาดีสลักเป็นองค์แรก และต่อมาได้แต่งตั้งลูกศิษย์ให้มาดูแลสืบทอดต่อ วัตถุมงคลของท่านทำไว้มากมาย บางอย่างก็หาไม่ได้ เช่น เหรียญพ.ศ.10 พระชัย เอสโซ่ และพระทองคำ และอื่นๆอีกมากมาย และที่หายากที่สุดก็คือ พระกริ่งของท่านครับ วัตถุมงคลของท่านเกิดปาฏิหารย์แทบทุกรุ่น ตอนนี้ท่านได้มรณะภาพ มารวม สิบกว่าปี ร่างกายของท่านกลายเป็นนิล และเป็นที่เคารพนับถือกราบไหว้ของชาวเมืองสุพรรณบุรี...
    ขอบคุณที่มา ชมรมพระเครื่อง ร่มโพธิ์พุทธคุณ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มา อย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อฮวด ให้บูชา100 บาทค่าจัดส่งEMS50 ครับ
    ลพ.ฮวด.jpg ลพ.ฮวดหลัง.jpg
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    เบอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu

    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบ หรือทางPMไม่ต้องโพสหลักฐานให้เสียเวลา สมัยนี้โลกออนไลน์ตรวจสอบง่ายหลอกกันยาก แล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ติดต่อได้ที่ 08..1.70..4..72..64
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    270299284.jpg


    ประวัติ พระครูศีลสารสัมบัน (หลวงปู่อ่อน พุทธสโก)




    มีนามเดิมว่านายอ่อน ใจเที่ยง เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2441 ตรงกับ วันอังคาร ขึ้น 5ค่ำ เดือน6 ปีวอก อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา

    เป็นบุตรคนที่2 ในจำนวนพี่น้อง 5คน ของนายแสง-นางเอี่ยม ใจเที่ยง

    พออายุประมาณ 22ปี ได้อุปสมบท ณ วัดบ้านวัง อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา ต่อมา ลป.อ่อน เกิดอาพาธหนัก จำต้องลาสิกขาบทเพื่อรักษาตัวอยู่นาน จนหายเป็นปกติ การกลับสู่ฆราวาสในครั้งนี้ ท่านได้ครองเรือน กับนางใบ และมีบุตรด้วยกัน 2คน และได้อพยพครอบครัวย้ายมาจับจองที่ดินทำไร่ ทำนา อยู่ที่บ้านเนินมะเกลือ ต.ท่าหมื่นราม อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

    ต่อมาเมื่ออายุได้ 48ปี นางใบ ใจเที่ยง ถึงแก่กรรมลง ลป.อ่อน จึงตัดสินใจอุปสมบทอีกครั้ง ณ วัดวังทองวนาราม อ.วังทอง และได้มาจำพรรษา อยู่ที่สำนักสงฆ์บ้านเนินมะเกลือ ซึ่งในสมัยนั้น ยังเป็นป่าช้าและป่ารกร้าง จึงเหมาะแก่การทำสมาธิวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้นได้พัฒนาทางด้านถาวรวัตถุ พร้อมกับได้ขอจดทะเบียน จนได้เป็นวัดที่ถูกต้อง และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส องค์แรกของวัดเนินมะเกลือวนาราม

    ใน พ.ศ.2535 ลป.อ่อน ได้จัดสร้างวัดถุมงคลรุ่นแรก มีลักษณะเป็นรูปหล่อโบราญ และเหรียญทองแดง เพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจากทรัพย์ สร้างพระอุโบสถ วัดเนินมะเกลือวนาราม

    ด้วยเพราะบุญบารมีของหลวงปู่อ่อน ที่ท่านมั่นคงเคร่งครัดในพระวินัย มีจริยาวัตรอันงดงาม และให้การช่วยเหลือแก่ลูกศิษย์ของท่านทุกคน ที่มีเรื่องร้อยใจร้อนกาย จนเป็นที่ประจักษ์แก่ศิษยานุศิษย์ของท่าน จึงทำให้หลวงปู่อ่อน เป็นเสาหลักทางด้านจิตใจของประชาชนทั่วไป ในจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดใกล้เคียง
    20150617115714.jpg
    ที่วัดแห่งนี้ ในอดีตมีหลวงปู่อ่อน พุทธสโก เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่ บริสุทธิ์ผุดผ่องมากๆ ท่านเป็นพระที่มีความเมตตา เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว หลวงปู่เป็นพระที่ทรงอภิญญา เป็นอย่างยิ่ง มีวาจาศักดิ์สิทธิ์มากๆ พูดอะไรแล้วเป็นไปตามปากท่านทุกประการ ความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือ ท่านรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นอยู่เสมอๆ จึงเป็นที่เคารพบูชาของชาวพิษณุโลก และ จังหวัดใกล้เคียง เป็นอย่างยิ่งซึ่งในสมัยนั้นหากวัดไหนมีพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล นิยมอาราธนาหลวงปู่ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกเพื่อให้วัตถุมงคลมีความเข้มขลังยิ่งขึ้น

    http://www.govesite.com/tharam/activities.php?aid=20150617115956JBQILPB

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มา อย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมือนหลวงปู่อ่อน ให้บูชาองค์ละ100 บาทค่าจัดส่งEMS50 ครับ มี 2องค์ครับ

    ลป.อ่อน.jpg ลป.อ่อนหลัง.jpg
     
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    พระสมเด็จแตกลายงารุ่นM.16

    พิธีใหญ่หลวงปู่หมุน ครูบาอิน ลพ.คูณ ลพ.อุตตมะ และอีกหลายท่านเสกเดี่ยวและพิธีใหญ่
    พระพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง เนื้อแตกลายงา ผสมผงเก่า ที่มีความสวยงามด้วยพุทธศิลป์ ล้ำค่าด้วยพุทธกคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมฺรํสี) ผ่านพิธีพุทธาภิเษกและปลุกเสกเดี่ยวมากที่สุด โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศ ๒๒ ครั้งผสมผงเก่าวัดระฆัง บางขุนพรหม วัดเกษไชโย ผงเก่าสมเด็จพระปิลันท์ เกษร ๑๐๘ ชนิด ผงขี้ธูปจากอุโบสถวัดระฆัง วันอินทรวิหาร วัดใหม่อมตรส วัดเกษไชโย วัดไร่ขิง วัดโสธรวราราม นอกจากนั้น ยังนำเอาพระเก่าๆ ที่แตกหัก เช่น หลวงปู่ทวด เจ้าคุณนร หลวงปู่โต๊ะ ตำผสมนำมาเป็นชนวนมวลสารในการจัดสร้าง แล้วจึงเอามวลสารทั้งหมด เข้าพิธีพุทธาภิเษก จำนวน ๓ ครั้ง คือ พิธีพุทธาภิเษก ที่พุทธมณฑล พิธีพุทธาภิเษกวัดใหม่อมตรส และพิธีพุทธภิเษกที่วัดระฆังโฆสิตาราม จึงนำมาตำผสมจัดทำเป็นองค์พระ พิธีพุทธาภิเษกและปลุกเสกเดี่ยวจำนวน ๒๒ ครั้ง หลังจากจัดทำเป็นองค์พระเรียบร้อยแล้ว ได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระสมุทรเจดีย์พิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ที่ พุทธมณฑล พิธีพุทธาภิเษกที่วัดถ้ำเสือและพระสงฆ์จำนวน ๙๙ รูป สวดพระคาถาชินบัญชร ๑๐๘ จบ เพื่อให้พระสมเด็จรุ่นนี้มีความแตกต่างจากวัตถุมงคลรุ่นอื่นๆ รายนามพระเกจิอาจารย์ปลุกเสกเดี่ยวจำนวน ๒๒ ครั้ง ๑. หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี ๒. ครูบาอิน อินโท วัดคันาวาส จังหวัดเชียงใหม่ ๓. หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน จังหวัดศรีสะเกษ ๔. หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา ๕. หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดการญจนบุรี ๖. หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม ๗. หลวงปู่ทิม วัดพระขาว จังหวัดอยุธยา ๘. หลวงปู่ศุข วัดเขาตะเคร้า จังหวัดเพชรบุรี ๙. พระอาจารย์จำเนียร วัดถ้ำเสือ จังหวัดกระบี่ ๑๐. ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี จังหวัดเชียงใหม่ ๑๑. หลวงตาละมัย วัดอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก ๑๒. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว จังหวัดอยุธยา ๑๓. หลวงพ่อท้วม วัดศรีสุวรรณ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ๑๔. หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ จังหวดัพัทลุง ๑๕. หลวงพ่อฉิ่น วัดน้ำล้อม จังหวัดลำปาง ๑๖. หลวงปู่เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ ๑๗. หลวงปู่เขียว วัดห้วยเงาะ จังหวัดปัตตานี ๑๘. พระอาจารย์ไพรินทร์ วัดพระศรีฯ จังหวัดพิษณุโลก ๑๙. หลวงพ่อบริสุทธิ์ วัดแก้วโกรวราราม จังหวัดกระบี่ ๒๐. หลวงพ่อเที่ยง วัดพระพุทธบาทเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ๒๑. หลวงพ่อแวว วัดบางสะพาน จังหวัดพิษณุโลก ๒๒. หลวงพ่อทวีศักดิ์ วัดศรีนวล จังหวัดกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้องค์พระจะสวยงามกว่าพระสมเด็จทุกรุ่นแล้ว ยังเปี่ยมด้วยพุทธคุณและอิทธิปาฏิหาริย์ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ซึ่งมีเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วที่จังหวัดลพบุรีและจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวคือ เกิดเหตุการณ์ที่ตำบลโคกกระเทียม อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยทางเรือจำพิเศษธนบุรีได้จัดส่งพระสมเด็จวัดระฆังเนื้อแตกลายงาให้กับปรา ธาน อบต. โคกกระเทียม เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้เช่าบูชา แต่ประธาน อบต. ไม่ทราบว่าในกล่องพัสดุไปรษณีย์เป็นอะไร กลัวจะเป็นระเบิดจึงไม่กล้าเปิด ได้เรียกตำรวจมาทำการตรวจสอบและเปิด ตำรวจได้นำกล่องพัสดุไปรษณีย์ไปบริเวณกลางแจ้ง เพื่อยิงกล่องพัสดุไปรษณีย์ โดยใช้ปืนเอ็ม ๑๖ ยิงไปหลายนิดซึ่งไม่รู้ว่าข้างในเป็นพระสมเด็จ ผลปรากฏว่ากล่องไปรษณีย์แตกกระจาย แต่องค์พระพร้อมทั้งกรอบพระไม่เป็นอะไรเลย ไม่แตกหักไม่เสียหายแม้แต่น้อย ซึ่งสร้างความตกตะลึงให้กับผู้พบเห็นเหตุการณ์ทุกคน เกิดเหตุการณ์ที่อำเภอศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ได้รับคำบอกเล่าจากคุณปรารถนา แก้ววงศ์ ซ่งได้เช่าบูชาพระสมเด็จวัดระฆังเนื้อแตกลายงาไว้จำนวน ๑๐ องค์ พิมพ์ละ ๕ องค์ เก็บไว้ในรถได้ขับรถกรุงเทพฯ เพื่อกลับบ้านที่จังหวัดสุพรรณบุรี ในระหว่างทางมี รถบรรทุก ๑๐ ล้อวิ่งสวนมา เสียหลักเข้ามาชนรถของคุณปรารถนาอย่างแรง รถได้รับความเสียหายทั้งคัน แต่คุณปรารถนาไม่เป็นอะไรเลยด้วยบารมีของพระสมเด็จวัดระฆังที่อยู่ในรถ ทำไมพระสมเด็จรุ่นนี้นอกจากที่มีองค์พระสวยงามที่สุดแล้ว ยังมีพุทธคุณและอิทธิปาฏิหาริย์ก็เพราะว่า ๑. ผงที่นำมาสร้างเป็นองค์พระนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกถึง ๓ ครั้ง เป็นผงพระเก่าแท้ๆ ๒. เมื่อสร้างเป็นองค์พระเสร็จสมบูรณ์แล้วนำเข้าพิธีมหาพุทธาพิเษกอีก ๕ ครั้ง พร้อมทั้งสวดพระคาถาชินบัญชร ๑๐๘ จบ ๓. เป็นการปลุกเสกเดี่ยวครั้งสุดท้ายของ ๓ ยอดเกจิอาจาย์ชื่อดังก่อนที่ท่านจะมรณภาพ คือ หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี ครูบาอิน อินโท วัดคาธาวาส จังหวัดเชียงใหม่ หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน จังหวัดศรีสะเกษ


    มวลสารในการจัดสร้างองค์พระสมเด็จรุ่น เอ็ม16
    ส่วนผสม ผงเก่าพระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรหม วัดเกศไชโย ผงเก่าพระสมเด็จพระปิลันท์ เกษร108ชนิด ผงขี้ธูปจากอุโบสถวัดระฆัง วัดบางขุนพรหม วัดใหม่อมตรส วัดเกศไชโย วัดไร่ขิง วัดโสธรวราราม นอกจากนั้น ยังนำเอาพระเก่าๆที่แตกหัก มีพระหลวงปู่ทวด พระเจ้าคุณนร พระหลวงปู่โต๊ะ ตำผสมนำมาเป็นชนวนมวลสารในการจัดสร้าง แล้วจึงนำเอามวลสารทั้งหมดเข้าพิธีพุทธธาภิเษก
    มหาพุทธธาภิเษกมวลสารในการสร้างองค์พระสมเด็จจำนวน 3 ครั้ง มี
    พุทธธาภิเษกที่พุทธมณฑล
    พุทธธาภิเษกที่วัดใหม่อมตรส
    และพุทธธาภิเษกที่วัดระฆัง


    หลังจากจัดสร้างพระสมเด็จครบตามจำนวนแล้ว ใด้เข้าพุทธธาภิเษกที่วัดพระสมุทรเจดีย์ และพุทธธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งที่พุทธมณฑล และพุทธธาภิเษกที่วัดถ้ำเสือกระบี่ พระสงฆ์99รูป สวดพระคาถาชินบัญชรกำกับอีก 108 จบ จัดสร้างโดย กรมราชทัณฑ์ เรือนจำธนบุรี ในปี 2546 หลวงพ่ออุตตมะ ประธานฝ่ายสงฆ์ หลวงพ่อทวีศักดิ์ ประธานฝ่ายดำเนินงาน ที่มาของรุ่น M16 รุ่นนี้ดังเป็นพลุแตก เมื่อหนังสือพิมพ์ตีแผ่ในปี 2546 มีคนพบห่อวัตถุซึ่งคิดว่าเป็นห่อลูกระเบิด เจ้าหน้าที่จึงเอาปืน M16 มายิงจนห่อหุ้มที่พบกระจุยกระจาย ผลปรากฏว่าในห่อหุ้มที่พบไม่มีลูกระเบิดเลย พบแต่พระสมเด็จวัดระฆัง รุ่น กรมราชทัณฑ์เรือนจำธนบุรี ห่อรวมกันอยู่ในมัดที่เจอ แต่พระสมเด็จวัดระฆังซึ่งอยู่ในห่อนั้น ไม่แตกไม่หักแม้แต่องค์เดียว จึงเป็นที่มาของรุ่น M16 ครับ
    มีพระที่มีอภิณญาสูงส่งปลุกเสกเดี่ยวอีก 22 ครั้ง มี
    หลวงพ่อหมุน วัดบ้านจาน ปลุกเสกเดี่ยวที่วัดบ้านจาน
    หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ปลุกเสกเดี่ยวที่วัดบ้านไร่
    หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ ปลุกเสกเดี่ยวที่วัดเขาอ้อ
    หลวงปู่เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่ ปลุกเสกเดี่ยวที่วัดสระกำแพงใหญ่
    หลวงปู่เที่ยง วัดพระพุทธเขากระโดง ปลุกเสกเดี่ยวที่วัดพระุทธบาทเขากระโดง
    หลวงปู่เขียว วัดห้วยเงาะ ปลุกเสกเดี่ยวที่วัดห้วยเงาะ
    หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม ปลุกเสกเดี่ยวที่วัดวังก์วิเวการาม
    หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว ปลุกเสกเดี่ยวที่วัดป้อมแก้ว
    หลวงพ่อพูน วัดไผ่ล้อม ปลุกเสกเดี่ยวที่ วัดไผ่ล้อม
    หลวงตาละมัย วัดอรัญญิก ปลุกเสกเดี่ยวที่ วัดอรัญญิก
    พระอาจารย์จำเนียร วัดถ้ำเสือ ปลุกเสกเดี่ยวที่ วัดถ้ำเสือ
    หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า ปลุกเสกเดี่ยวที่ วัดท่งลาดหญ้า
    หลวงปู่ศุข วัดเขาตะเครา ปลุกเสกเดี่ยวที่ วัดเขาตะเครา
    หลวงปู่ทิม วัดพระขาว ปลุกเสกเดี่ยวที่ วัดพระขาว
    ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ปลุกเสกเดี่ยวที่ วัดท่าจำปี
    ครูบาอิน อินไท วัดคันธาวาส ปลุกเสกเดี่ยวที่ วัดคันธาวาส
    หลวงพ่อแวว วัดบางสะพาน ปลุกเสกเดี่ยวที่ วัดบางสะพาน พิษณุโลก
    พระอาจารย์ไพรินทร์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ปลุกเสกเดี่ยวที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
    หลวงพ่อบริสุทธิ์ วัดแก้วโกรวราราม ปลุกเสกเดี่ยวที่ วัดแก้วโกรวราราม
    หลวงพ่อชื่น วัดน้ำล้อม ปลุกเสกเดี่ยวที่ วัดน้ำล้อมลำปาง
    ปลุกเสกเดี่ยวที่ วัดศรีสุวรรณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    U15117246359130910231900521.jpg

    U15117246359130910277140592.jpg

    U15117246359130904275810051.jpg

    U15117246359130904316370122.jpg

    U15117246359130898889120591.jpg

    U15117246359130898932800672.jpg

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    พระสมเด็จแตกลายงารุ่นM.16

    ให้บูชา 800 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ ด้านมุมบนมีแตกแต่ติดกาวไว้ครับดูไม่น่าเกลียดเพราะพระรุ่นนี้เอกลักษณ์แตกลายงา พิธีใหญ่ครับ อีก1วัตถุมงคลที่ลป.หมุนเสก ครูบาอินเสก

    ลป.หมุน.jpg ลป.หมุนหลัง.jpg
     
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงพ่อสีทน สีลธโน

    1490-66b9.jpg

    วัดถ้ำผาปู่นิมิตร (วัดถ้ำผาปู่)
    ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย


    ๏ อัตโนประวัติ

    หากเอ่ยถึงนาม “พระครูอดิสัยคณาธาร” แห่งวัดถ้ำผาปู่นิมิตร บ้านนาอ้อ ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย ชาวจังหวัดเลยและพุทธศาสนิกชนทั่วไปจะไม่ค่อยรู้จักว่าท่านเป็นใคร แต่ถ้าเอ่ยถึง “หลวงพ่อสีทน สีลธโน” ทุกคนจะเข้าใจในทันที หลวงพ่อสีทน อดีตท่านเป็นพระเถระที่สำคัญรูปหนึ่งของจังหวัดเลย เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดเลย รวมทั้งในภาคอีสานและภาคกลางมากรูปหนึ่ง ท่านเป็นพระวิปัสสนากัมมัฏฐาน และเป็นลูกศิษย์ที่สำคัญรูปหนึ่งของหลวงปู่คำดี ปภาโส พระเถระชื่อดังอีกรูปหนึ่งแห่งเมืองเลย

    หลวงพ่อสีทน สีลธโน มีนามเดิมว่า สีทน แข็งแรงดี เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2472 ตรงกับวันศุกร์ แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเส็ง ณ หมู่ที่ 8 บ้านหนองน้ำเค็ม ต.เชียงยืน อ.เมือง จ.อุดรธานี โยมบิดาชื่อ นายชาย แข็งแรงดี โยมมารดาชื่อ นางมา แข็งแรงดี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 7 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 3 คน ครอบครัวประกอบอาชีพทำนาทำไร่


    ๏ วิทยฐานะ

    จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนเชียงยืน ต.เชียงยืน อ.เมือง จ.อุดรธานี

    ศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี


    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท

    เมื่อ อายุ 17 ปี ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2489 ณ วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังบรรพชาแล้ว ท่านได้ไปพำนักจำพรรษา ณ วัดป่าโพธิ์ชัย บ้านหนองน้ำเค็ม ต.เชียงยืน อ.เมือง จ.อุดรธานี

    หลังจากออกพรรษา เริ่มออกเดินธุดงค์ไปทางจังหวัดหนองคาย พุทธบาทบัวบก พุทธบาทคอแจ้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ตามลำดับ

    พ.ศ.2490 จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าอรัญญวาสี ต.ท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย กับ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เพื่ออบรมสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานกับหลวงปู่เทสก์ ออกพรรษาแล้วเที่ยวเดินธุดงค์ต่อไปทางจังหวัดขอนแก่น เพื่ออบรมกัมมัฏฐานกับ หลวงปู่คำดี ปภาโส ที่วัดป่าชัยวัน ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

    พ.ศ.2491 จำพรรษาอยู่ที่วัดอรัญญวาสี บ้านเหล่านาดี ต.บ้านหว้า อ.เมือง จ.ขอนแก่น

    พ.ศ.2492 อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ (พระอารามหลวง) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมี พระเทพบัณฑิต (มหาอินทร์ ถิรเสวี สินโพธิ์ ป.ธ.5) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิศาลสารคุณ วัดศรีจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระครูคัมภีรนิเทศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ภายหลังอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านได้ย้ายไปพำนักจำพรรษาอยู่ตามวัดป่าต่างๆ ในจังหวัดขอนแก่น


    ๏ ลำดับการจำพรรษา

    พ.ศ.2493 จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีภูเวียง ต.ภูเวียง อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น

    พ.ศ.2494-2495 จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าชัยวัน ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

    พ.ศ.2496 จำพรรษาอยู่ที่ภูพานคำ ต.หนองผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

    พ.ศ.2497 จำพรรษาอยู่ที่คำเม็ก ภูพานคำ ถ้ำวัวแดง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

    พ.ศ.2498 ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำมโหฬาร ต.หนองหิน อ.ภูกระดึง (ปัจจุบันคือ กิ่ง อ.หนองหิน) จ.เลย และไปจำพรรษาอยู่ตามวัดป่าในจังหวัดเลย

    พ.ศ.2499 จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านสูบ ต.บ้านเพีย อ.เมือง จ.เลย

    พ.ศ.2500 จำพรรษาอยู่ที่ภูหาดเตียง อ.เชียงคาน จ.เลย

    พ.ศ.2501 จำพรรษาอยู่ที่ภูขน ต.บ้านผึ้ง อ.ด้านซ้าย จ.เลย

    พ.ศ.2502-2510 จำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่นิมิตร ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย

    พ.ศ.2511-2512 จำพรรษาอยู่ที่วัดพระธาตุเขาน้อย ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี เที่ยวออกเดินธุดงค์กัมมัฏฐานกับท่านพระครูวิโรจนธรรมาจารย์

    พ.ศ.2513-2538 จำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่นิมิตร ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย


    ๏ ปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่คำดี ปภาโส

    ครั้งหลังสุด พ.ศ.2498 หลวงพ่อสีทนได้มาจำพรรษาปรนนิบัติรับใช้ หลวงปู่คำดี ปภาโส พร้อมด้วย หลวงปู่ท่อน ญาณธโร และ หลวงปู่เผย วิริโย โดยมาอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่นิมิตร ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย ในขณะนั้นที่วัดถ้ำผาปู่นิมิตร ยังเป็นวัดป่าที่ไม่มีความเจริญเช่นปัจจุบัน

    หลวง พ่อสีทนท่านมีแนวทางปฏิบัติ โดยให้ความสำคัญอย่างมากต่อการปฏิบัติภาวนา เพื่อให้พ้นทุกข์ ในส่วนของพระภิกษุ-สามเณร หลวงพ่อได้เน้นเรื่องการปฏิบัติกิจวัตร ข้อวัตรและพระธรรมวินัย มิให้ประพฤติปฏิบัติตนออกนอกลู่นอกทาง ท่านมีอุบายธรรมอบรมสั่งสอน อีกทั้งประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีของพระภิกษุสามเณร ท่านเป็นคนมักน้อย ชอบสันโดษ ละเอียดรอบคอบ อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือตัว ไม่รบกวนญาติโยมในเรื่องปัจจัย 4 ท่านเป็นคนมีความอดทนสูงและยังมีคุณธรรมมาก


    ๏ ลำดับงานปกครองและสมณศักดิ์

    วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2524 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2529 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น “พระครูอดิสัยคณาธาร”


    ๏ การมรณภาพ

    ต่อ มา หลวงพ่อสีทนได้ล้มป่วยอาพาธ และมรณภาพลงอย่างสงบ ณ โรงพยาบาลเลย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539 เวลา 07.10 นาฬิกา สิริอายุรวมได้ 67 พรรษา 47 ท่ามกลางความเศร้าสลดและความอาลัยเป็นอย่างยิ่งของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์และ พุทธศาสนิกชนทั่วไป


    ๏ สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี กล่าวถึงหลวงพ่อสีทน

    ในหนังสือที่ระลึกที่แจกแก่บรรดาคณะศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อสีทน สีลธโน ประพันธ์โดย เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ (ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พุทธศักราช 2539 ได้กล่าวถึง หลวงพ่อสีทน สีลธโน มีใจความสำคัญว่า

    “หลวง พ่อสีทน ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นพระกัมมัฏฐาน มีความคุ้นเคยกันมานาน เคยร่วมเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ที่ประเทศอเมริกาด้วยกันหลายครั้ง ทำให้ทราบว่า ท่านเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยศีลาจารวัตรงดงามน่าเลื่อมใส สมกับเป็นพระกัมมัฏฐานผู้ตั้งมั่นอยู่ในพระสัทธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า”

    “ท่านเป็นพระผู้มีศรัทธามั่นคงในพระปัญญา ปฏิบัติตนสำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ ดำรงความคิดให้มีความเที่ยงตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า”


    1491-0ad8.jpg


    ๏ เจดีย์พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารหลวงพ่อสีทน

    แม้ ว่าหลวงพ่อสีทน อดีตเจ้าอาวาสวัดถ้ำผาปู่นิมิตร จ.เลย ได้ละสังขารมรณภาพไปนานนับสิบปี แต่ยังเป็นที่เคารพเลื่อมใสจากบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ

    ใน ปัจจุบัน คณะศิษยานุศิษย์หลวงพ่อสีทนได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์เพื่อ บรรจุอัฐบริขารและรูปเหมือนหลวงพ่อสีทน เพื่อให้คณะศรัทธาญาติโยมและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้กราบไหว้บูชาที่วัดถ้ำผา ปู่นิมิตร ร่วมกับหลวงปู่คำดี ปภาโส พระอาจารย์ของท่านด้วย


    ๏ พระธรรมเทศนา
    เรื่องเครื่องหมายของผู้ถือศาสนา

    การถือศาสนา คำว่าการถือศาสนานี้ เราจะหมายเอาแค่ไหนถึงจะเป็นการถือศาสนาอันแท้จริง อันนี้รู้สึกว่าสำคัญอยู่ บางคนถือกันแต่ปาก ถือแต่คำพูดถือตามๆ กันมาจาก ปู่ ย่า ตา ยาย แต่ไม่รู้จักการถือศาสนาอันแท้จริงนั้น อันเข้าถึงพระพุทธศาสนานั้น จะมีอะไรเป็นเครื่องหมาย บางคนอาจยังไม่รู้แหละ

    บางคนอาจมีความเห็นว่า ตนได้ไปถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระเจ้าพระสงฆ์ เป็นครั้งๆ คราวๆ ก็ถือว่าตนเองถือศาสนา อาจจะถือแค่นี้ ก็มีบางคนหากถือแค่นี้รู้สึกว่ายังตื้นอยู่ ยังไม่ลึกลับเท่าที่ควร ยังไม่เป็นการถือศาสนาอันถูกต้อง ให้พารู้จักเข้าใจอย่างนั้น คำว่าถือศาสนาที่ถูกต้องนั้นจะต้องมีเครื่องหมายคือ

    (1) มีไตรสรณคมน์ เป็นเครื่องหมาย
    (2) มีศีล 5 เป็นเครื่องหมาย

    จะ ต้องได้ไตรสรณคมน์เสียก่อน ต้องมีศีล 5 เสียก่อน ถึงว่าเป็นผู้ถือศาสนา เป็นผู้อยู่ในขอบเขตของศาสนา หากว่าพระไตรสรณคมน์ยังไม่มี ศีล 5 ยังไม่มี ยังถือว่าผู้นั้นเป็นคนนอกศาสนาอยู่ ให้พากันรู้จักตัวของตัวเองไว้ว่าเราถือศาสนาพุทธ เราอยู่ในขอบเขตของศาสนาหรือเปล่า ในระยะนี้โอกาสนี้ให้เรารู้และเข้าใจเอาไว้ คำว่าถือไตรสรณคมน์ ก็ถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่กราบไหว้สักการบูชา นี้ถือว่าเราถือพระไตรสรณคมน์ ทีนี้จะกล่าวโทษ 5 ประการ ที่จะทำให้ขาดจากพระไตรสรณคมน์

    1. เราติเตียนพระพุทธเจ้า
    2. เราติเตียนพระธรรม
    3. เราติเตียนพระสงฆ์
    4. เข้ารีดเดียรถีย์
    5. นับถือศาสนาอื่น

    โทษ 5 ประการนี้เป็นเหตุให้เราขาดจากพระไตรสรคมน์ อย่างสมมุติว่าเราเคยกราบเคยไหว้ เคยเคารพนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อเราติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ถือศาสนาอื่น เข้ารีดเดียรถีย์ เราก็ขาดจากไตรสรณคมน์เลยแหละ ขาดจากพระไตรสรณคมน์เหมือนอย่างพระภิกษุไปผิดสิกขาบท 4 ประการ คือ ปาราชิก 4 ประการแล้วก็ขาดจากการเป็นภิกษุ ทีนี้พวกเราอุบาสกอุบาสิกา ผู้ถือไตรสรณคมน์ ไปล่วงเกินในโทษ 5 ประการ ก็ถือว่าเราขาดจากพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไป ต้องได้ประกาศปฏิญาณตนใหม่

    คำว่า ติเตียนพระพุทธเจ้า นั้น ถือว่าพระพุทธเจ้าไม่ดี หาเรื่องหลอกลวงมนุษย์ทั้งหลาย นี่แสดงว่าติเตียนพระพุทธเจ้า

    ติเตียนพระธรรม คำสั่งสอนที่ท่านเขียนเอาไว้ จารึกเอาไว้นี้ เป็นเรื่องหลอกลวงเป็นของปลอมทั้งนั้น นี่แสดงว่าเราติเตียนพระธรรม

    ติเตียนพระสงฆ์ นี้หมายเอาพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ทางกาย วาจา ใจ นับแต่ผู้มีศีล 227 ขึ้นไปนี่แหละ นี่สงฆ์เหล่านี้ไม่ควรตำหนิติเตียน พระสงฆ์เหล่านี้ถือว่าเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบเป็นเบื้องต้น ถ้าเราไปติเตียนดูถูกดูหมิ่นว่ากล่าวท่าน พระไตรสรณคมน์ก็จะขาดไปโดยปริยาย

    ทีนี้หากว่าเราไปติเตียนว่า กล่าวพระสงฆ์ที่ไม่มีศีลธรรม เป็นผู้หลอกลวงโลกเขากินนั้น อันนี้พระไตรสรณคมน์เราก็ไม่ขาดหรอก ท่านพูดไว้เฉพาะสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ถ้าสงฆ์สะเปะสะปะเที่ยวบอกบุญอันโน้นอันนี้ อะไรที่มันผิดศีลผิดธรรม ด่าหน่อยก็ไม่เป็นไรหรอก สงฆ์เหล่านี้ให้เราสังเกตด้วยสายตาเรา ยิ่งคนที่เคยอ่านนวโกวาท ยิ่งจะรู้จักเรื่องของพระได้ดี ในพระวินัย 227 ข้อนี่แหละ หากพระสงฆ์ทั้งหลายจะเป็นนิกาย จะเป็นธรรมยุต จะเป็นพระบ้าน จะเป็นพระป่า ก็แล้วแต่ หากตั้งอยู่ในสิกขาบทวินัย 227 ข้อนั้นแหละเป็นพระที่น่ากราบไหว้ น่าสักการบูชา หากสงฆ์ใดไม่สมบูรณ์ในศีล 227 ท่านว่าเป็นพวกอลัชชี พวกไม่มีหิริละอายต่อบาป

    บางคนก็สงสัยกังขาเหมือนกันในคำว่าติเตียน หมู่พระสงฆ์ เห็นสงฆ์ไม่ดีไม่งามไม่อยู่ในระเบียบธรรมวินัย จะว่ากล่าวตักเตือนอะไรก็ไม่กล้า กลัวพระไตรสรณคมน์ของตนจะขาด ไม่เป็นไรหรอก ตักเตือนว่ากล่าวท่านด้วยเพราะท่านจะลงนรกอเวจี เราก็ดึงเอาไว้ซิ ดึงไว้ลากเอาไว้ ได้บุญเสียด้วย เราผู้ตักเตือนว่ากล่าวอย่าเข้าใจว่าเป็นบาป ไม่เป็นบาปเป็นกรรมหรอก

    เข้ารีดเดียรถีย์ พวกเดียรถีย์ทั้งหลายเขานอนขวากนอนหนาม ย่างตนย่างตัว เมืองเราไม่ค่อยมีหรอก โน้นไปอินเดียจึงจะรู้จึงจะเห็น พวกเหล่านี้เป็นพวกต่อต้านพระพุทธศาสนา บางหมู่พวกเดียรถีย์ไม่ชอบชำระสะสางตนตัว ยังไปพบอยู่ ไม่อาบน้ำ ไม่ตัดผม แล้วเอาขี้เถ้าทาตนทาตัว เป็นพวกเดียรถีย์เหมือนกัน เป็นลัทธิประเภทหนึ่ง เป็นผู้ศาสนาไม่รู้ศาสนาอะไรหรอก พวกโยคีเขาว่าเขาเป็นพวกผู้วิเศษเหมือนกัน คือสามารถปล่อยวางตนวางตัว เอาถ่านฟืนถ่านไฟมากลบหัว กลบหาง กลบตัว กลบตน มองไปเหมือนเปรตเหมือนผี

    หากเราไปเห็นแถวแม่น้ำคงคา พวกที่ว่าโยคีกลุ่มหนึ่ง กลุ่มหนึ่งปล่อยตนปล่อยตัวไม่มีผ้ามีแพรแหละ จะมีเป็นผู้ชายเป็นส่วนมาก มีบริวารติดตามตูด มีน้ำเต้าทองถือสำหรับใส่น้ำเวลาไปถ่าย นี้ก็เป็นพวกโยคีเหมือนกัน เขาถือว่าเขาสิ้นไปซึ่งอาสวกิเลสเหมือนกัน ละสักกายทิฎฐิได้แล้ว พวกเหล่านี้ไม่ถือตัวถือตน ไม่มีผ้ามีแพร เมืองเขาถือว่าเป็นผู้วิเศษละได้วางได้ พวกเหล่านี้ไม่มีบ้านเรือน อยู่ตามเพิกหินเพิกผาตามร่มไม้ ค่ำตรงไหนนอนตรงนั้น พวกโยคีจำพวกดังกล่าวถ้าเราไปกราบไหว้พวกเหล่านี้แล้วพระไตรสรณคมน์ก็ขาดไป

    นับถือศาสนาอื่น มีศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม อะไรเยอะแยะ รวมทั้ง การนับถือภูติผีปีศาจมาเป็นที่สักการบูชากราบไหว้ ศาสนาอื่นใดที่จะเสมอเหมือนศาสนาพุทธนั้นไม่มี ได้เพียงแต่สวรรค์เท่านั้น จะทำจะปฏิบัติให้ถึงพระนิพพานนั้นทำไม่ได้ แต่ศาสนาพุทธสามารถจะปฏิบัติไปถึงพระนิพพานได้ ปฏิบัติได้จนสิ้นอาสวกิเลสได้ ศาสนาพุทธของเราจึงถือว่าเป็นศาสนาอันเลิศประเสริฐสุด

    ทีนี้หากเรา มั่นในพระไตรสรณคมน์จริงๆ แล้ว ถือเฉพาะพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่สักการบูชา นี่สมควรแก่มรรคแก่ผล เมื่อเราตั้งอกตั้งใจปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ก็มีโอกาสเกิดมรรคเกิดผลได้ ผู้นับถือไตรสรณคมน์ หากล้มหายตายไปปิดอบายภูมิ 4 ไม่ได้ไปเป็นเปรต อสูรกาย สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เว้นขาดได้เฉพาะภพชาติปัจจุบันเท่านั้น ภพชาติอื่นไม่รับรอง ได้เฉพาะชาติปัจจุบัน ผู้ถือพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่ง หากภูติผีปีศาจจะมาหลอกหลอนทำให้เจ็บป่วย เพียงแต่ผีเหล่านั้นมาใกล้มากลางศีรษะ พวกผีทั้งหลายแตก 7 ภาค นี่ผู้มั่นในพระไตรสรณคมน์

    ทีนี้หากมีผู้ใดมาอิจฉาพยาบาทเบียด เบียนบุคคลผู้มีพระไตรสรณคมน์ กราบไหว้บูชาเช้า-เย็นมิได้ขาด คนนั้นก็เกิดความพินาศฉิบหาย อันนี้เห็นมาหลายราย สมัยอยู่กับหลวงปู่คำดี ปภาโส เคยเจอมีอยู่คนหนึ่งมาคอยอิจฉา ก็คือต้องการให้คนนั้นหนีจากที่นั้นไป คนนี้เกิดความระแวงใจว่าจะจัดการกับเขาก่อนให้มันหมดเรื่องไป ก็มากราบเรียนหลวงปู่

    หลวงปู่ว่า อย่าเลย ให้อโหสิเขาไป หากเราไปทำอย่างนั้นจะเป็นกรรมเป็นเวรต่อไปอีกหลายภพหลายชาติ ขอบิณฑบาตคุณเถอะ คนนี้เชื่อมั่นในหลวงปู่ มั่นอยู่ในพระไตรสรณคมน์ เขาก็มาอิจฉาเบียดเบียนจริงๆ ไปๆ มาๆ คนที่มาอิจฉาพยาบาทเบียดเบียนนั้น เกิดฆ่ากันตายโดยปริยายที่กลุ่มของเขา ผลสุดท้ายอยู่ด้วยความสบาย เพียงแต่เรานับถือกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่กราบไหว้บูชา ก็ยังกำจัดภัยต่างๆ ได้ ปิดอบายภูมิทั้ง 4 ได้ น่าภูมิใจ น่าพอใจ น่าปฏิบัติจริงๆ นี่ละอำนาจพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ

    การปฏิบัติพระไตรสรณคมน์ ก็ไม่ได้ยากอะไรเลย กราบเช้า-กราบเย็นก็พอ ตอนเช้ากราบพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จึงค่อยลุกไปทำการทำงาน ก่อนจะหลับนอนก็กราบพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ แล้วจึงค่อยหลับนอน จึงไม่ใช่เรื่องหนักหนาอะไรเลยในการปฏิบัติต่อพระไตรสรณคมน์ แล้วก็เว้นโทษ 5 ประการดังกล่าว อย่าไปล่วงเกิน นี้เป็นเครื่องหมายของผู้ถือศาสนา

    อีกอย่างหนึ่งคือ ศีล 5 ประการ เราไม่เบียดเบียนใครเลยแหละ เราไม่ลักไม่ขโมยใครแหละ เราไม่ตะกละในกามคุณภรรยาสามีคนอื่นแหละ เราไม่โกหกหลอกลวงใครแหละ เราไม่กินเหล้าเมายาแหละ นี่เป็นเครื่องหมายของผู้ถือศาสนา

    ที นี้หากเราประกาศตัวเราว่าเราถือภรรยาสามีของตนอยู่ เรายังโกหกหลอกลวงตอแหลคนอื่นอยู่ เรายังประกาศตนว่าเป็นผู้ถือศาสนามันก็ไม่เป็นผู้ถือศาสนาได้ เพราะการถือศาสนามันอยู่ที่การประพฤติปฏิบัติของพวกเรา ต้องอาศัยการปฏิบัติเสียก่อนจึงค่อยเป็นศีลเป็นธรรม เป็นศาสนาขึ้นมาได้ นี่แหละเป็นเครื่องหมายของผู้ถือศาสนาที่แท้จริง ขอให้เราท่านทั้งหลายได้พิจารณาและน้อมเข้าไปประพฤติปฏิบัติในตนของตน ก็จะประสบแต่ความสุขความเจริญ ดังให้คติมาก็เห็นสมควรแก่กาลเวลา เอวัง


    .............................................................

    รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
    (1) หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 31
    คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6 โดย วิชัย จินดาเหม
    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5918
    (2) หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ 7 เมษายน 2539


    ข้อมูลอ้างอิง : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=21232

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ


    พระสมเด็จวัดถ้ำผาปู่ จ. เลย ศิษย์สายพระป่า ไม่น่าทันลป.คำดี ปภาโส แต่เป็นยุคลป.สีทน ซึ่งก็มรณภาพไปแล้วเ่ช่นกัน

    ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลป.ถ้าผาปู่.jpg ลป.ถ้าผาปู่หลัง.jpg
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    upload_2019-11-25_15-4-0.jpeg
    ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง อยุธยา

    หลวงพ่อเชิญ เกิดในตระกูล กุฎีสุข ที่หมู่บ้านดงตาล ตำบลโผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2450 มีโยมบิดาชื่อ นายเคลือบ โยมมารดาชื่อ นางโล่ โดยที่หลวงพ่อเชิญเป็นบุตรของพี่น้องทั้งหมด 3 คน น้องสองคนเป็นฝาแฝดหญิงทั้งคู่ ชื่อ นางเจียม และ นางจอม

    เมื่อหลวงพ่ออายุได้ 5 ขวบ โยมมารดาก็ถึงแก่กรรม จึงต้องอยู่ในความเลียงดูของโยมบิดาแต่ผู้เดียว ยามใดที่โยมบิดาไปทำไร่ไถนา ท่านต้องรับภาระเลี้ยงดูน้องสาวฝาแฝดแทนถึง 2 คน นับเป็นความยากลำบากมากทีเดียว เพราะขณะนั้นท่านเองเพิ่งจะมีอายุ 5-6 ขวบเท่านั้น

    เมื่อท่านอายุได้ 8 ขวบ โยมบิดาพาไปฝาก หลวงพ่อขาบ วัดฤาชัย ที่ตำบลกุฎี ในอำเภอผักไห่ อันเป็นถิ่นกำเนิดของโยมบิดา เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือ โดยที่หลวงพ่อเชิญเล่าเรียนหนังสืออยู่กับหลวงพ่อขาบ 2 ปี จนสามารถอ่านออกเขียนได้พอสมควร

    หลวงพ่อขาบขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลกุฎี เห็นว่าหลวงพ่อเชิญเป็นเด็กดี ขยันหมั่นเพียร เฉลียวฉลาดและว่านอนสอนง่าย จึงนำไปฝาก พระครูบวรสังฆกิจ หรือ หลวงพ่อเพิ่ม วัดโคกทอง ซึ่งเป็นเจ้าคณะอำเภอเสนา

    หลวงพ่อเพิ่มองค์นี้เป็นพระอาจารย์ที่มีความรู้ด้านปริยัติธรรมสูงส่ง เชี่ยวชาญทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เพียงพร้อมด้วยศีลาจารวัตรเคร่งครัดพระธรรมวินัย นอกจากนี้ยังเชี่ยวชาญด้านแพทย์แผนโบราณ และเรืองวิทยาคมขลัง เนื่องจากเป็นศิษย์หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ และ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อีกด้วย

    ดังนั้นหลวงพ่อเพิ่มจึงมีชื่อเสียงด้านแก้คุณแก้การกระทำทางไสยศาสตร์และรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ชื่อเสียงของหลวงพ่อเพิ่มสมัยนั้นจึงโด่งดังไม่ต่างกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเป็นสหธรรมิกที่มีอายุแก่กว่าหลวงพ่อเพิ่ม 5 ปี

    ในสมัยนั้นหลวงพ่อปานท่านมาพำนักที่วัดโคกทองเสมอ เมื่อปี พ.ศ.2467 หลวงพ่อเพิ่มสร้างศาลาการเปรียญ หลวงพ่อปานยังมาช่วยยกเสาเอกให้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่หลวงพ่อเพิ่มไม่เคยสร้างพระเครื่องไว้เลย ชนรุ่นหลังจึงไม่มีใครรู้จักท่าน

    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่หลวงพ่อเพิ่มทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์เพียงอย่างเดียวคือ แผ่นอิฐลงอาคมที่ก้นบ่อน้ำมน 2 แผ่น อีกแผ่นหนึ่งเป็นของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งกล่าวกันว่าน้ำมนต์ในบ่อนั้นศักดิ์สิทธิ์มาก หลวงพ่อเชิญท่านนำมารดให้กับลูกศิษย์ลูกหาอยู่เสมอ

    บรรพชาและอุปสมบท หลวงพ่อเชิญมาอยู่วัดโคกทองคอยรับใช้หลวงพ่อเพิ่มอย่างใกล้ชิด และปฏิบัติหน้าที่การงานอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความวิริยะอุตสาหะและเชื่อฟังคำสั่งสอนของหลวงพ่อเพิ่มเป็นอย่างดี

    หลวงพ่อเชิญบรรพยาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 16 ปี ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2466 หลวงพ่อเพิ่มเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบทต่อโดยมิได้ลาสิกขา ณ พัทธสีมาวัดโคกทอง ในวันที่ 1 มิถุนายน 2470 โดยมีพระอาจารย์องค์แรกคือ หลวงพ่อขาบ วัดฤาไชย เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเพิ่ม วัดโคกทอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดแจ่ม วัดโคกทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาเป็นภาษาบาลีจากพระอุปัชฌาย์ว่า ปุญญสิริ

    การศึกษาและพระปริยัติธรรม หลวงพ่อเชิญอุปสมบทอุปสมบทแล้วอยู่ช่วยหลวงพ่อเพิ่มบูรณะวัดโคกทองเรื่อยมา พร้อมกันนั้นได้ศึกษาพระปริยัติธรรมโดยสอบได้นักธรรมตรีตั้งแต่เมื่อยังเป็นสามเณรในปี พ.ศ.2469 แล้วสอบได้นักธรรมโทในปีแรกที่อุปสมบท และอีก 8 พรรษาต่อมาจึงสอบได้นักธรรมเอก

    สาเหตุที่หลวงพ่อเชิญสอบได้นักธรรมเอกช้า เนื่องจากไม่มีเวลาอ่านหนังสือ เพราะเอาเวลาส่วนใหญ่ช่วยงานหลวงพ่อเพิ่มในการบูรณะพัฒนาวัดด้วยความอุตสาหะ ในปี พ.ศ.2474 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมที่ พระสมุห์เชิญ

    ปี พ.ศ.2478 สอบได้นักธรรมเอก พร้อมกับได้รับการแ่ต่งตั้งเป็น พระปลัด ในปี พ.ศ.2480 ท่านจึงต้องทำหน้าที่ทุกอย่างแทนหลวงพ่อเพิ่ม ปฏิบัติภารกิจในตำแหน่งเลขานุการเจ้าคณะอำเภอเสนา ไม่ว่าจะเป็นการต้อนรับแขก ดูแลพระภิกษุสามเณรภายในวัด และเป็นผู้จัดสถานที่ให้กับคนเจ็บที่มารักษาตัว

    แม้แต่ศาสนกิจนอกวัดเกี่ยวกับราชการคณะสงฆ์ เทศนาตามกิจนิมนต์ หรือการเข้าประชุมตามพระเถระกำหนด และออกตรวจตราตามบริเวณวัดและสอบนักธรรมสนามหลวง ภารกิจเหล่านี้ตกอยู่กับท่านเพียงองค์เดียวเท่านั้น นับเป็นภารกิจที่หนักมาก แต่หลวงพ่อเชิญก็สามารถปฏิบัติด้วยความเรียบร้อยเสมอมาจวบจนหลวงพ่อเพิ่มถึงแก่กาลมรณภาพในปี พ.ศ.2491

    พ.ศ.2491 รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดโคกทอง
    พ.ศ.2492 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโคกทอง
    พ.ศ.2505 เป็นเจ้าคณะตำบลกุฎี และเป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พ.ศ.2509 เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์
    พ.ศ.2511 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ราชทินนามที่ พระครูวิชัยประสิทธิคุณ
    พ.ศ.2517 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท
    พ.ศ.2522 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก
    พ.ศ.2524 สำนักนายกรัฐมนตรี ถวายพัดชั้นพิเศษในฐานะที่เป็นผู้อุปการะโรงเรียนวัดโคกทอง (บวรวิทยา)
    พ.ศ.2532 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ประทานพัดพัฒนาที่มีผลงานดีเด่นแก่หลวงพ่อเิชิญ

    การศึกษาพระเวทวิทยาคม หลวงพ่อเชิญเป็นพระอาจารย์ที่มีมากครูมากอาจารย์ เพราะท่านมีใจรักทางด้านพระเวทวิทยาคมมากกว่าการศึกษาด้านพระปริยัติธรรม เมื่อได้รับการปูพื้นฐาน โดยที่ หลวงพ่อเพิ่ม เป็นพระอาจารย์องค์แรกที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ อาทิ

    การศึกษาอักษรสมัยทั้งภาษาไทยและภาษาขอม การท่องบ่นมนต์คาถา การลงอักขระเลขยันต์ แพทย์แผนโบราณ ยาแก้กันกระทำคุณไสย์ นั่งเจริญสมาธิภาวนาพระกรรมฐาน ตลอดทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน มาตั้งแต่หลวงพ่อเชิญมีอายุเพียง 10 ขวบ

    ในคราวที่บวชเณรแล้วได้ติดตามหลวงพ่อเพิ่มไปซื้อซุงที่ชัยนาท ได้ไปกราบนมัสการ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อเพิ่ม หลวงพ่อเชิญจึงโชคดีได้วิชาบางประการมาจากพระปรมาจารย์อันยิ่งใหญ่ที่มีชื่อเสียงเกรียงไกรอย่างหลวงปู่ศุข

    เมื่ออุปสมบทในพรรษาแรกก็ไปขึ้นพระกรรมฐานกับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก แล้วเดินทางไป ๆ มา ๆ ร่ำเรียนวิชากับหลวงพ่อจงมากมายเป็นระยะเวลาหลายปี

    หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค สหายทางธรรมของหลวงพ่อเพิ่ม ชอบมาพำนักที่วัดโคกทอง หลวงพ่อเชิญก็ฝากตัวเป็นศิษย์คอยปรนนิบัติรับใช้แล้วติดตามพายเรือไปส่งและพักเรียนวิชาที่วัดบางนมโคเป็นประจำ

    ในปี พ.ศ.2473 หลวงพ่อเพิ่มพาท่านไปฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์อีกรูปหนึ่งของท่านคือ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อกลั่นชราภาพมากแล้ว

    ในปี พ.ศ.2482 หลวงพ่อเชิญเกิดอาพาธด้วยโรคตาอักเสบจึงเดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อพักรักษาตัวอยู่กับ หลวงปู่กล้าย วัดหงษ์รัตนาราม บางกอกใหญ่ เลยได้รับการแนะนำวิชาการต่าง ๆ จากหลวงปู่กล้ายอีกรูปหนึ่ง

    ขณะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เวลานั้นวัสดุก่อสร้างขาดแคลน การบูรณะวัดก็หยุดชะงักลง หลวงพ่อเชิญจึงถือโอกาสเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณว่าด้วยสาขาเวชกรรมกับ ครูนพ ที่โรงเรียนประทีป ตลาดพลู เป็นเวลา 2 ปีด้วยกัน

    นอกจากนั้นยังมีพระอาจารย์เรืองวิชาที่มีชื่อเสียงในอยุธยาที่หลวงพ่อเชิญเคยไปขอศึกษาวิชามาก็มี หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน หลวงพ่อแจ่ม วัดบัวหัก และหลวงพ่อแพ วัดกลางคลอง ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นพระอาจารย์ยุคเก่าที่เรืองวิชาทั้งสิ้น
    https://palungjit.org/threads/ใครมีประสบการณ์-หลวงพ่อเชิญ-วัดโคกทอง-มาแชณกัน.481902/

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ


    พระสมเด็จหลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง

    ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลพ.เชิญ1กล่อง.jpg ลพ.เชิญ1.jpg ลพ.เชิญ1หลัง.jpg

    พระสมเด็จหลวงพ่อเชิญ วัดโคกทองพิมพ์ลป.ศุข

    ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลพ.เชิญ2กล่อง.jpg ลพ.เชิญ2.jpg ลพ.เชิญ2หลัง.jpg
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    เบอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu

    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบ หรือทางPMไม่ต้องโพสหลักฐานให้เสียเวลา สมัยนี้โลกออนไลน์ตรวจสอบง่ายหลอกกันยาก แล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ติดต่อได้ที่ 08..1.70..4..72..64
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่มา ญาณวโร
    1614-9f21-jpg-jpg.jpg
    วัดสันติวิเวก
    ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด


    ๏ อัตโนประวัติ

    “พระมงคลญาณเถร” หรือ “หลวงปู่มา ญาณวโร” อดีตประธานสงฆ์แห่งวัดสันติวิเวก บ้านโนนคำ ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด พระสายวิปัสสนากรรมฐานชื่อดังแห่งภาคอีสาน สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่สาธุชนทั่วไปต่างรู้จักดีถึงกับมีการขนานนามท่านว่า “เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี”

    หลวง ปู่มา ญาณวโร มีนามเดิมว่า มา วรรณภักดี เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล ณ บ้านโนนคำ ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โยมบิดาชื่อ นายคูณ วรรณภักดี โยมมารดาชื่อ นางตั้ว วรรณภักดี ครอบครัวประกอบอาชีพทำนาทำไร่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๕ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ มีชื่อตามลำดับดังนี้

    ๑. นางโฮม วรรณภักดี
    ๒. นายสม วรรณภักดี
    ๓. นายทา วรรณภักดี
    ๔. หลวงปู่มา ญาณวโร
    ๕. นางสุดตา อุ่นทรวง


    ๏ การบรรพชา

    สาเหตุ ที่ทำให้ต้องบวช หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อวัยเยาว์ พอท่านอายุย่างเข้า ๘ ขวบ โยมมารดาของท่านก็มาเสียชีวิต ตามประเพณีแล้วเมื่อบิดามารดา ญาติพี่น้อง หรือผู้มีพระคุณเสียชีวิต จะต้องมีการบวชหน้าศพ โดยลูกหรือหลานๆ ของผู้ที่เสียชีวิต แล้วนำศพไปเผา

    เช่น เดียวกันในงานศพของโยมมารดาของท่านนั้น พวกญาติๆ จึงเลือกให้หลวงปู่บวชหน้าศพ หลวงปู่บอกว่า ท่านยังจำคำพูดของโยมมารดาท่านได้ เมื่อโยมมารดากำลังป่วยอยู่ได้พูดกับท่านว่า “เมื่อแม่ตายแล้ว ให้บักน้อยบวชให้แม่เด้อ” ยังจำได้จนบัดนี้ ครั้นต่อมาเมื่อนางตั้ว วรรณภักดี โยมมารดาเสียชีวิตแล้ว ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดดอนประดิษฐาราม บ้านดอนน้อย ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ โดยมีพระอธิการสอน อุตฺตโม เป็นพระอุปัชฌาย์

    พอตอนบ่ายพวกญาติๆ และชาวบ้าน ก็ได้นำศพโยมมารดาไปสู่ป่าช้าดอนหมากเหลื่อม ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือหมู่บ้าน ห่างประมาณกิโลเศษ หลวงปู่ก็ได้เดินนำหน้าศพโยมมารดา ตั้งแต่บ้านถึงป่าช้า เมื่อทำพิธีเผาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็กลับบ้าน ตอนเย็นโยมบิดา พี่ชาย และพี่สาว ก็ออกมาหาที่วัด ถามว่า “จะสึกไหม” ท่านก็บอกว่า “ยังไม่สึก เพราะก่อนตายแม่สั่งไว้ว่าให้น้อยบวชให้แม่ น้อยจะอยู่ไปก่อน” ท่านว่าพอคิดจะสึก ก็ให้นึกถึงคำพูดของโยมมารดา ก็เลยไม่สึกอยู่มาจนทุกวันนี้

    1617-e579-jpg-jpg.jpg
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)-หลวงปู่มา ญาณวโร


    ๏ วิทยฐานะและการศึกษาพระปริยัติธรรม

    หลัง จากบรรพชาเป็นสามเณร ได้ประมาณ ๒๐ กว่าวัน ทางราชการก็ได้มีหมายเกณฑ์ให้หลวงปู่ไปเข้าโรงเรียน เพราะอายุย่างเข้า ๘ ปีแล้ว การเรียนสมัยนั้นยังไม่ได้ใช้กระดาษ แต่ใช้กระดานหินแทนกระดาษ และดินสอหิน หลวงปู่ท่านก็เดินข้ามทุ่งไปเรียนหนังสือร่วมกับเด็กๆ ทั้งชายหญิง ทั้งที่ท่านก็เป็นสามเณร ที่โรงเรียนวัดบ้านดอนน้อย ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด บ้านเกิดของท่าน

    หลวงปู่นั้นท่านเป็นผู้ที่ โชคดีกว่าทุกคนที่ไปเรียนด้วยกัน เพราะตอนที่ท่านอายุได้ ๔ ขวบ โยมบิดาได้นำท่านไปฝากไว้กับหลวงลุงดอน ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดบ้านโนนคำ ให้เรียนหนังสืออยู่ที่นั่น เนื่องจากว่าหลวงลุงดอนท่านนี้ เป็นผู้ที่รู้หนังสือไทยดีคนหนึ่ง คนในสมัยนั้นน้อยคนที่จะรู้หนังสือไทย เมื่อหลวงปู่อยู่กับหลวงลุงดอน หลวงลุงดอน ก็เอาหนังสือแบบเรียนเร็วมาให้หัดเขียน หัดอ่านตั้งแต่ ก ข ค ฆ ง แล้วผสมสระ พยัญชนะ อ่านเป็นเสียงได้

    หลวงปู่บอกว่า ท่านอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง มีใจความว่า ตาดีมือแป ตาสาอีแป๊ะ หนังสือนิทานอีสปนกกระสาหมาจิ้งจอก เรียนอยู่ไม่นาน ครูประจำชั้นก็ให้ท่านเป็นหัวหน้า นำนักเรียนในกลุ่มเดียวกันอ่านหนังสือ ตลอดจน นับเลข ตั้งแต่หนึ่งถึงร้อย ถึงพัน ท่านก็เรียนอยู่ ๒ ปี ครูเลยให้ขึ้นไปอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จนกระทั่งจบการศึกษาขั้นสูงสุดในสมัยนั้นคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

    พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ลาออกจากโรงเรียนบ้านดอนน้อย ไปเรียนต่อที่วัดคำครตา ต.ดงมะไฟ อ.ยโสธร (ในสมัยนั้น) จ.อุบลราชธานี มีพระสา ซึ่งเป็นญาติๆ กันจะไปจำพรรษาที่นั่น จึงได้ติดตามเป็นลูกศิษย์ไปด้วย ณ วัดคำครตาแห่งนี้ มีพระเถระองค์หนึ่งเคยรับราชการเป็นเจ้านายคนไทย รู้หนังสือไทยดี มาอยู่ที่นี่ได้เรียนสูตรสิบสองตำนาน เรียนสวดไชยน้อย ไชยใหญ่ การเรียนต้องเรียนต่อคำ ไม่ต้องจับหนังสือท่องบ่นเหมือนในสมัยนี้ เรียนเทศน์มหาชาติ อยู่ที่นี้ได้ไม่นานนัก (พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๔๖๗)

    พ.ศ. ๒๔๖๘ ก็ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดตาล (วัดศรีทองนพคุณ) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๗๐ พระครูอุตตรานุรักษ์ (อินทร์ อินฺทสาโร) เจ้าคณะแขวงเสลภูมิ (ในสมัยนั้น) ได้มีหนังสือเรียกตัวให้เข้ามาอยู่ที่วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๗๑-พ.ศ. ๒๔๗๓ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ณ สำนักเรียนวัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) สามารถสอบไล่ได้ ๓ ปีติดต่อกัน

    หลัง จากที่สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอกแล้ว ตั้งใจว่าจะไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ เพราะอยากเป็นมหากับเขาบ้าง สามเณรรุ่นเดียวกันเขาไปเรียนได้เป็นมหา เป็นเจ้าคุณ เป็นสมภารเจ้าวัด ก็หลายองค์ หลวงปู่ท่านบอกว่า เรามันไม่มีบุญจะได้เป็นมหากับเขา เป็นเพียงพระที่อาศัยอยู่ตามวัดบ้านนอกอย่างที่เห็นอยู่นี่แหละ

    1616-9aa6-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่มา ญาณวโร-พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)



    ๏ สามเณรเสียงทอง

    พูด ถึงการเทศน์เสียง (แหล่) นั้นแต่ละภาคก็มีสำเนียงภาษาที่ต่างกัน และเป็นที่นิยมของแต่ละภาค หลวงปู่ท่านก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่เทศน์เสียงได้ไพเราะ เป็นที่ติดอกติดใจของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง ในสมัยที่ครั้งยังเป็นสามเณร ท่านเล่าให้ฟังว่า สมัยที่ท่านเป็นสามเณรไปอยู่วัดคำครตา ท่านก็มีโอกาสได้ฝึกการเทศน์แหล่อยู่บ้าง

    พอออกพรรษาชาวบ้านก็ทำบุญกันตามประเพณี คือประเพณีอีสานนั้นครูบาอาจารย์ท่านว่า “เดือน อ้าย ทำบุญเข้าปริวาสกรรม เดือนยี่ ทำบุญข้าว เดือนสาม ทำบุญข้าวจี่ เดือนสี่ ทำบุญมหาชาติ เดือนห้า ทำบุญตรุษสงกรานต์ เดือนหก ทำบุญวันวิสาขา เดือนเจ็ด ทำบุญเทวดาอารักษ์หลักเมือง เดือนแปด ทำบุญเข้าพรรษา เดือนเก้า ทำบุญข้าวประดับดิน เดือนสิบ ทำบุญข้าวสาก หรือข้าวสราท เดือนสิบเอ็ด ทำบุญออกพรรษา เดือนสิบสอง ทำบุญกฐิน”

    ชาว บ้านคำครตา ก็เช่นเดียวกัน พอถึงเดือนสี่ ก็ทำบุญมหาชาติ มีการนำเอาหนังสือมหาเวสสันดร มาแบ่งเป็นกัณฑ์ๆ เพื่อให้พระเทศน์ ในงานครั้งนั้นสามเณรมา ได้รับหนังสือเทศน์มา ๒ กัณฑ์ เป็นกุมารบั้นปลาย ตอนพระเวสสันดรทานกัณหา ชาลี แก่ชูชก และกัณฑ์มัทรี เมื่อรับมาแล้วก็พากเพียรฝึกอ่านฝึกเทศน์ตามภาษาท้องถิ่น

    พอถึงวัน งานได้เวลา ญาติโยมก็นิมนต์ขึ้นมาเทศน์ สามเณรมาตัวเล็กๆ ก็ขึ้นสู่ธรรมาสน์อย่างอาจหาญ เพราะมีความเชื่อมั่นในตนเอง เล่นเอาญาติโยมที่ฟังเทศน์ตะลึง ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ คนทั้งหลายติดอกติดใจในน้ำเสียง และลีลาการเทศน์ของสามเณรมา ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา สามเณรมาก็ถูกคนกล่าวถึง และนิมนต์ไปเทศน์มหาชาติ ทุกวันตลอดฤดูกาล หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนนั้น เวลาไปเทศน์บ้านไหน ต้องเดินไปไม่มีรถขี่เหมือนทุกวันนี้ บางหมู่บ้านก็อยู่ไกล


    ๏ การอุปสมบท

    ต่อ มาท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู ณ พัทธสีมาวัดดอนประดิษฐาราม บ้านดอนน้อย ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โดยมี พระครูอุตตรานุรักษ์ (อินทร์ อินทสาโร) วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสมุห์ฉิม ชินวํโส วัดศรีทองนพคุณ (วัดตาล) อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูใบฎีกาสะอาด โฆสโก วัดเหนือเสลภูมิ อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เป็นพระอนุสาวนาจารย์


    ๏ การศึกษาพิเศษ

    เรียนจบอักษรขอม (เขมร) ภาษาธรรม ภาษาไทยน้อย


    ๏ การศึกษาพระเวทย์

    พูด ถึงการศึกษาเวทย์มนต์คาถาของครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนนั้นเป็นที่นิยมกันมาก หลวงปู่ก็เช่นกัน ท่านก็อยู่ในวัยหนุ่มที่อยากรู้ อยากเห็น อยากลอง อยากมีไว้กับเขาบ้าง ถ้าได้ข่าวว่าพระอาจารย์องค์ไหนโด่งดังทางเวทย์มนต์คาถา ท่านก็จะพยายามไปหาเพื่อศึกษาข้อวัตรของพระอาจารย์องค์นั้น ดูเห็นว่าดีก็จะฝากเนื้อฝากตัวเป็นลูกศิษย์

    ท่านบอกว่า เรียนรู้เอาไว้ อันไหนดีก็เก็บไว้ อันไหนไม่ดีก็ทิ้งไปไม่ต้องเสียดาย ขึ้นชื่อว่าลูกผู้ชายมีไว้กับเขาบ้างก็ดี การที่จะได้เรียนวิชาเวทย์มนต์คาถากับครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนนั้น จะต้องเรียนอักษรขอม (เขมร) ภาษาธรรม ภาษาไทยน้อย เรียนกัมมัฏฐาน ฝึกการนั่งสมาธิ เดินจงกรมภาวนา ทำจิตให้แน่วแน่เป็นหนึ่ง มีความเมตตาเป็นที่ตั้ง ออกเดินธุดงค์ติดตามครูบาอาจารย์ไปในที่ต่างๆ มีความอดทน มีข้อวัตรปฏิบัติดี ไม่เป็นที่หนักอกหนักใจของครูบาอาจารย์และเป็นที่ไว้วางใจของครูบาอาจารย์ จึงจะเรียนได้

    ไม่ว่าจะยากลำบากสักเพียงใด หลวงปู่ท่านก็ไม่เคยหวั่น ถ้าได้ตั้งใจแล้วจะต้องเอาให้ได้ ครูบาอาจารย์ที่หลวงปู่ท่านได้ไปศึกษาด้วยเท่าที่ทราบจากท่านก็มี ดังนี้

    ๑. หลวงปู่สอน อุตฺตโม วัดดอนประดิษฐาราม บ้านดอนน้อย ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    ๒. พระครูอุตตรานุรักษ์ (อินทร์ อินฺทสาโร) หรือหลวงปู่เสือ วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    ๓. พระราชสิทธาจารย์ (บุญเรือง ปภสฺสโร) วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    ๔. หลวงปู่มหาดไทย วัดบ้านบัว ต.เหล่า อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด

    ๕. หลวงปู่พรหม ไม่ปรากฏว่าท่านอยู่วัดไหน ท่านเป็นพระที่ธุดงค์มา เป็นผู้มีปฏิปทาข้อวัตรอันดีเป็นที่น่าเลื่อมใส หลวงปู่ท่านจึงเข้าไปศึกษาข้อวัตรด้วย

    ทั้งนี้ หลวงปู่ท่านก็ได้ใช้วิชาการความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาสร้างสาธารณประโยชน์อย่างมากมาย


    ๏ ความชำนาญพิเศษ

    - เป็นช่างไม้ ช่างปูน ทำการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ ก่อสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และอาคารต่างๆ อีก

    - นวกรรม เขียนแบบแปลนอุโบสถ แบบแปลนกุฏิสงฆ์ แบบแปลนศาลาการเปรียญ และแบบแปลนอาคารอื่นๆ อีก

    - หัตถกรรม จักสาร ตะกร้า กระจอ กระเบียน กระติบข้าว กระบุง

    - ศิลปกรรม เขียนลายไทยและแกะสลักลายไทย บานประตูหน้าต่าง พระอุโบสถช่างลงลักปิดทอง ติดมุก ติดกระจก ช่อฟ้า ใบระกาในอุโบสถ ช่างปั้นหล่อ เช่น ช่างปั้นช่อฟ้า ใบระกาอุโบสถ และประดับด้วยลายไทย

    1618-75bf-jpg-jpg.jpg
    หอธรรมกลางน้ำ ณ วัดสันติวิเวก จ.ร้อยเอ็ด

    1619-9b27-jpg-jpg.jpg
    กุฏี ๙๑ ปี หลวงปู่มา ญาณวโร ณ วัดสันติวิเวก จ.ร้อยเอ็ด



    ๏ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์

    พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสมานสามัคคีธรรม ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลเมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านนาทม ต.ภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะอำเภอเสลภูมิ

    พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้ลาออกจากเจ้าอาวาสวัดบ้านนาทม แล้วไปสร้างสำนักวิเวกอาศรม ต.ภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวิเวกอาศรม ต.ภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสันติวิเวก ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเสลภูมิ


    ๏ ลำดับสมณศักดิ์

    พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระปลัดมา ญาณวโร ฐานานุกรมของพระครูวิโรจน์ผดุงศาสน์ เจ้าคณะอำเภอเสลภูมิ วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูสารธรรมนิเทศ

    พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้น โท และรองเจ้าคณะอำเภอชั้นโท ในพระราชทินนามเดิม

    พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในพระราชทินนามเดิม

    พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่ พระมงคลญาณเถร


    ๏ งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    - เป็นวิทยาการอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดป่าซำทอง, วัดป่าหัวคู, วัดป่าคูขาด และวัดป่าบ้านคำแดง

    - เป็นพระธรรมทูตประจำสายที่ ๕ จ.ร้อยเอ็ด

    - เป็นวิทยากรอบรมศีลธรรมวัฒนธรรมและจริยธรรมแก่กลุ่มเยาวชน

    - เป็นรองประธานคณะกรรมการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล อ.เสลภูมิ


    ๏ งานสาธารณประโยชน์

    หลวง ปู่มา เป็นพระเถระผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไปและทั่วทั้งภาคอีสาน เกียรติคุณของท่านเป็นที่ทราบโดยทั่วไป หน่วยงานราชการและประชาชนต่างหลั่งไหลเข้ามาขอให้ท่านได้ช่วยเหลือเป็นจำนวน มาก ซึ่งท่านก็ได้บริจาคและให้ความช่วยเหลือด้วยดีมาโดยตลอด ชื่อหลวงปู่จึงปรากฏอยู่ตามสถานที่ราชการ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล และหน่วยงานต่างๆ มากมาย

    ทั้งนี้ โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ได้รับความเมตตาจากท่านในการสร้าง “หอสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก” เป็นจำนวนเงิน ๗ ล้าน ๕ แสนบาท เพื่อให้ลูกหลานชาวเสลภูมิได้ศึกษาหาความรู้ ซึ่งชาวเสลภูมิพิทยาคมสำนึกในพระคุณของหลวงปู่อย่างที่สุด


    ๏ เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี

    ชีวิต ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านเจ้าคุณพระมงคลญาณเถร หรือหลวงปู่มา ญาณวโร นั้น เป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยการอุทิศตนเพื่อประโยชน์สุข ประโยชน์เกื้อกูลแก่มวลมนุษย์ชาติ มีความโดดเด่นของเกียรติคุณชื่อเสียงและความพิเศษสุดในการบำเพ็ญทานบารมี รวมทั้งยังเป็นทั้งผู้รู้ รัตตัญญูเถระ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของคณะสงฆ์ไทยว่าเป็นผู้ที่มีลักษณะงดงาม เป็นเผ่าพันธุ์ชาวอีสาน มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติศักดิ์ในภูมิปัญญาพื้นบ้าน ของชาวอีสานโดยแท้จริง เป็นผู้ที่สามารถสร้างความเคารพและศรัทธาให้เกิดขึ้นในถิ่นแดนอีสาน อีกทั้ง ยังนำความเจริญที่กลมกลืนกับหลักพุทธธรรมหยิบยื่นให้กับชาวอีสาน จนทำให้ประชาชนดำรงชีพยืนหยัดอยู่ได้ด้วยลำแข้ง ประกอบสัมมาอาชีพบนความถูกต้องและชอบธรรม

    ตลอดจน ท่านยังเป็นพระนักทำงาน และทำจริงๆ อะไรที่จะเป็นประโยชน์ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ทั้งต่อมวลประชาและฝ่ายคณะสงฆ์ ท่านจะรีบเร่งทำอย่างรวดเร็วโดยมิรั้งรอ ทุกขณะทุกลมหายใจของท่านเปี่ยมล้นไปด้วยความดีที่จีรัง และไม่มีอะไรมาจำกัดขอบเขตคุณความดีที่แผ่กระจายออกไป ประจักษ์แจ้งในหมู่คณะสงฆ์ คงอยู่ในใจชาวลุ่มน้ำชีมาเกือบศตวรรษ

    “หลวงปู่มา ญาณวโร” หรือหลวงปู่ท่านเจ้าคุณ “พระมงคลญาณเถร” สมณศักดิ์ใหม่ของหลวงปู่ท่าน จึงเป็นมงคล เป็นสายน้ำแห่งพระธรรมที่หล่อเลี้ยงชาวอีสานในเขตลุ่มน้ำชีทุกอณู เป็นสายธรรม สายทอง ของชาวไทยอีสานโดยแท้ ดั่งที่เราท่านทั้งหลายได้เห็นประจักษ์อยู่ในปัจจุบันนี้ ทั้งนี้ เป็นเพราะหลวงปู่ท่านเป็นพระมหาเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีวัตรปฏิปทาสม่ำเสมอ จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไปถึงกับมีการขนานนามท่านว่า “เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี”


    ๏ การมรณภาพ

    หลวงปู่มา ญาณวโร ประธานสงฆ์แห่งวัดสันติวิเวก จ.ร้อยเอ็ด พระสายวิปัสสนากรรมฐานชื่อดังแห่งภาคอีสาน สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งอาพาธมาหลายเดือน ได้มรณภาพแล้วด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา ๑๐.๕๙ น. ของวันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ณ วัดสันติวิเวก สิริรวมอายุได้ ๙๗ ปี พรรษา ๗๗

    สำหรับที่มาของฉายา “เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี” นั้น พระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม) เจ้าอาวาสวัดภูพานอุดมธรรม ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม หนึ่งในพระลูกศิษย์ที่ใกล้ชิด บอกว่า หลวงปู่มา เป็นพระเถระผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไป และทั่วทั้งภาคอีสาน เกียรติคุณของท่านเป็นที่ทราบโดยทั่วไป หน่วยงานราชการและประชาชนต่างหลั่งไหลเข้ามาขอให้ท่านช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ซึ่งท่านก็ได้บริจาคและให้ความช่วยเหลือด้วยดีมาโดยตลอด

    ในวันอังคารที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จะมีพิธีน้ำหลวงสรงศพองค์หลวงปู่มา

    1620-2616-jpg-jpg.jpg
    วงล้อธรรมจักร ณ วัดสันติวิเวก จ.ร้อยเอ็ด

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมืทอนหลวงปู่มา พิธีใหญ่ ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ
    e0-b8-a5-e0-b8-9b-e0-b8-a1-e0-b8-b2-e0-b8-a3-e0-b8-b2-e0-b8-a2-jpg-jpg.jpg e0-b8-a5-e0-b8-9b-e0-b8-a1-e0-b8-b2-jpg-jpg.jpg e0-b8-a5-e0-b8-9b-e0-b8-a1-e0-b8-b2-e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b8-b1-e0-b8-87-jpg-jpg.jpg
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    945819_198935046920960_1122497738_n-jpg.jpg
    พระอาจารย์บุญทัน ฐิตสีโล
    พระอาจารย์บุญทัน ฐิตสีโล นามเดิม บุญทัน ชาเพ็ง เกิดที่บ้านหนองสระ ต.วังใหญ่ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ เกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 บิดาชื่อสำลี มารดาชื่อปิ่น มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คน
    เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบ มารดาได้เสียชีวิตลง บิดาได้แต่งงานใหม่ และมีบุตรธิดากับภรรยาใหม่ จำนวน 7 คน
    พ.ศ. 2507 ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านหนองสระ 3 พรรษา ละลาสิกขามาช่วยบิดามารดาทำงานจนอายุครบบวช คือ 20 ปีบริบูรณ์ จึงเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดเพชรวราราม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ โดยมี “พระครูประสาท พุทธปริตร” เป็นพระอุปัชฌาย์ “พระอาจารย์บุญเวียง ปิยวาโร” เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐิตสีโล” ซึ่งตรงกับวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 หลังอุปสมบทได้ไปอยู่จำพรรษากับ “หลวงพ่อเพ็ง พุทธธัมโม” ที่วัดเขาเจริญธรรมเป็นเวลา 2 พรรษา
    พ.ศ. 2515 อยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านตาด น้อมรับอุบายภาวนาจาก “หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน” 3 พรรษา
    พ.ศ. 2518-2522 จำพรรษาใต้ร่มบารมีธรรมของ “หลวงปู่หล้า เขมปัตโต” ที่วัดภูจ้อก้อใหญ่ และภูจ้อก้อน้อย รวม 5 พรรษา
    พ.ศ. 2523 กลับมาจำพรรษาที่วัดเขาเจริญธรรม ต.หนองแจง อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์
    พ.ศ. 2555 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ฝ่ายวิปัสสนา ในตำแหน่ง พระครูปัญญาวราจารย์
    และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาเจริญธรรมจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญพระพุทธชินราชหลวงพ่อบุญทันให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลพ.บุญทัน.JPG ลพ.บุญทันหลัง.JPG
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,150
    ค่าพลัง:
    +21,318
    เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓ วัดเวฬุราชิณ ธนบุรี กทม. มีเนื้อทองคำสร้างในหลักสิบเหรียญ ค่านนิยมหลักแสนต้นๆ ซึ่งเป็นที่นิยมของเจ้าสัวย่านเยาวราชมาก เนื่องจากเป็นต้นตระกูลชาวจีนแห่งธนบุรี ในขณะที่เนื้อเงิน ๓๐๐ เหรียญ ค่านิยมหลักพันปลายๆ ส่วนเนื้อทองแดงสร้างจำนวน ๑๐,๐๐๐ เหรียญ ค่านิยมอยู่ในหลักพันต้นๆ เหรียญรุ่นนี้ได้รับความนิยมในหมู่ข้าราชการ โดยเพาะทหารเรือและตำรวจ เนื่องจากมีพุทธคุณเด่นทางแคล้วคลาดคงกระพันสูงมาก เหรียญรุ่นนี้พุทธาภิเษกโดยพระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมในสมัยนั้นหลายท่าน อาทิ หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ อาจารย์ฝั้น อาจาโร หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง หลวงปู่เทียม วัดกษัตริยาราม รวมทั้งพระสายกรรมฐานอีกหลายรูป เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมเช่าหาบูชากันในวงการพระเครื่องอีกรุ่นหนึ่ง
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญพระเจ้าตากวัดเวฬุราชิน 2513ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ(ปิดรายการ)

    พระเจ้าตาก.JPG พระเจ้าตากหลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2019

แชร์หน้านี้

Loading...