เหรียญชินราชคุ้มเกล้า หลังภปร.พ.ศ. 2521

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 8 พฤษภาคม 2019.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    upload_2019-7-23_14-15-54.jpeg

    พระครูสุจิตตานุรักษ์ (จวน สุจิตฺโต)

    เกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2458

    พ.ศ. 2473 อายุได้ 16 ปี บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองสุ่ม อยู่ 3 พรรษา ต่อมาได้ลาสิกขา เพื่อไปช่วยพี่สาวประกอบอาชีพกสิกรรม

    พ.ศ. 2475 อายุได้ 22 ปี อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดประศุก ต.ประศุก อ.อินทร์บุรี ได้มาจำพรรษาที่วัดหนองสุ่ม 1 พรรษา แล้วย้ายไปอยู่ที่วัดโพธิลังกา ต .ท่างาม อ.อินทร์บุรี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม

    พ.ศ. 2482 ได้ลาสิกขาบทไปประมาณ 5 เดือนเศษ เพื่อไปช่วยพี่สาวที่อุปการะเลี้ยงมา

    พ.ศ. 2483 อายุได้ 26 ปี ทำการอุปสมบทใหม่ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 22483 ณ พัทธสีมาวัดประศุก และได้มาจำพรรษาอย่วัดหนองสุ่ม ตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งถึงวันละสังขาร

    หลวงพ่อจวน ได้ละสังขารเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 (แรม 8 ค่ำ เดือน 8) รวมอายุได้ 79 ปี

    พระอาจารย์ที่หลวงพ่อจวนได้ศึกษาเล่าเรียน (ที่พอหาได้) ได้แก่
    หลวงพ่อแป้น วัดบ้านไร่ วิชาเครื่องรางของขลัง
    หลวงพ่อกอง จังหวัดสุโขทัย วิชาตะกรุดโทน
    หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์
    และอาจารย์ที่เป็นฆาราวาสอีกหลายท่าน

    "หลวงพ่อจวนเป็นพระองค์หนึ่ง ที่หลวงพ่อฤาษีฯ ให้ลูกศิษย์ไปกราบ และทำบุญด้วย
    เนื่องจากหลวงพ่อ ไปเจอหลวงพ่อจวนที่พระจุฬามณี โดยหลวงพ่อจวนไปทั้งกายเนื้อ"

    "สมัยที่หลวงพ่อจวนยังอยู่ จะไม่ให้ทำหนังสือวัตถุมงคล ท่านบอกว่า ของ ๆ ฉันถ้าจะดังเดี๋ยวดังเอง"

    ประวัติ พระครูสุจิตตานุรักษ์ (จวน สุจิตโต) วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี

    ชาติกำเนิด พระครูสุจิตตานุรักษ์ (จวน สุจิตโต) เกิดเมื่อวันที่ 13 เดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2458 วันศุกร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 9 ปีเถาะ จุลศักราช 1277 เวลา 13.15 นาฬิกา ณ บ้านหนองสุ่ม ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โยมบิดาชื่อ เคลือบ ทิพย์กรรณ์ โยมมารดาชื่อ อิน ทิพย์กรรณ์ เป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6 คน เป็นพี่ชาย 2 คน เป็นพี่สาว 3 คน และมีพี่น้องร่วมแต่บิดาเดียวกันอีก 4 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 1 คน โยมมารดาได้สิ้นชีวิตไปตั้งแต่ยังเยาวัย จึงได้อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของพี่สาวชื่อ นางสุขการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2467 ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดหนองสุ่ม จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพราะสมัยนั้นการเรียนมีเพียงชั้นประถมศึกษา 3 เท่านั้น ถือว่าเป็นการจบหลักสูตรประถมศึกษา อันมีครูฉาม เป็นครูใหญ่ และครูพิน เรืองสารณ์ เป็นครูใหญ่ต่อมา การบรรพชาอุปสมบท พ.ศ.2473 เมื่ออายุได้ 16 ปี บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองสุ่ม ตำบลห้วยชันบ้านเกิดอยู่ 3 พรรษา ต่อมาก็ได้ลาสิกขาเพื่อไปช่วยพี่สาวปรพกอบอาชืพในการทำกสิกรรม พ.ศ. 2479 เมื่ออายุ 22 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดประศุก ตำบลประศุก อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีพระสมุห์จรัสเจ้าอาวาสวัดประศุก เป็นพระอุปัชณาย์ พระมหาหล่ำ วัดเฉลิมมาศ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระครูพิศิษฐ์ลศีคุณ วัดปราสาท เป็นพระกรรมวาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดหนองสุ่ม 1 พรรษาแล้วได้ย้ายไป อยู่ที่วัดโพธิ์ลังกา ตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีเพื่อศึกษา พระปริยัติธรรม ป้อมดำ ตลอดมาพ.ศ.2482 ได้ลาสิกขาจากเพศบรรพชิตไปประมาณ5เดือนเศษเนื่องจากพี่สาวที่อุปการะเลี้ยงดูไม่มีคนช่วยทำงานในการประกอบอาชืพกสิกรรมการลาสิขาครั้งนี้หลวงพ่อเล่าว่าความจริงใจแต่เดิมแล้วไม่อยากลาสิขาแต่อีกใจหนึ่งก็นึกสงสารพี่สาวที่อุปการะมาสำแต่ก็มีข้อแม้ว่าจะต้อง จับฉลากเสี่ยงทายเสียก่อนมี ข้อความว่า สึก ใบหนึ่งและ ไม่สึก ใบหนึ่งเป็นจำนวนหลายใบใส่ลงในบาตร อธิษฐานต่อหน้าพระพุทธรูปและจับฉลากนั้นขึ้นมา ปรากฎว่าครั้งแรกจับฉลากใบไม่สึกขึ้นมา จึงทำการจับฉลากใหม่เป็นครั้งที่ 2 แต่ปรากฎว่าจับฉลากถูกใบไม่สึกอีก จึงตัดสินใจขอจับฉลากเป็นครั้งที่ 3 โดยตั้งปณิธาน ไว้ว่าถ้าถูกอย่างไหน จะยึดถือปฎิบัติเอาอย่างนั้น ครั้งที่ 3 นี้ ปรากฎว่า ได้ใบสึก จึงตัดสินใจ ลาสิขาไปตามคำปณิธานที่ตั้งไว้ ทั้งๆ ที่ยังรักและอาลัยในเพศพรหมจรรย์อยู่ แต่ด้วยความกตัญญกตเวที ที่มีต่อพี่สาวที่ได้อุปพ.ศ.2483 เมื่ออายุได้ 26 ปี ได้ทำการอุปสมบทใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2483 ณ พัทธสีมา วัดประศุก ตำบลประศุก อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยมี พระครูพิศิษฐ์ศีลคุณ เจ้าอาวาส วัดประศุก เป็นพระอุปชฌาย์ พระใบฎีกาถนอม วัดประสาท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาเพี้ยน วัดโพธิ์ลังกา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้มาจำพรรษา อยู่วัดหนองสุ่ม ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจุบัน เป็นเวลา 35 พรรษาการะมาหรับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายนั้นพี่สาวก็ไปกู้หนี้ยืมสินผู้อื่นมาซื้อให้ด้วยเมื่อไม่ลาสิขาไปก็กลัวพี่สาวจะเสียใจจึงตัดสินใจลาสิขาการศึกษาพระปริยัติธรรม เมื่ออายุครบ 16 ปี บรรพชา เป็นสามเณร 3 พรรษา ศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.2473 สอบได้นักธรรมชั้นตรี พ.ศ. 2474 สอบได้นักธรรมโท เมื่ออายุได้ 26 ปีอุปสมบทแล้ว ได้ไปศึกษา พระปริยัติธรรม ที่สำนักเรียน วัดโพธิ์ลังกา ตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี พ.ศ.2475 ได้ศึกษา ภาษาบาลี จากพระใบฎีกาเกลี่ยนที่ วัดนก และไป ศึกษาภาษาบาลีที่ วัดเฉลิมมาศ อีก แต่ก็มีอุปสรรค ได้ล้มเลิก กลางคันเสี่ยก่อน พ.ศ.2483 สอบได้นักธรรมตรี พ.ศ. 2484 สอบได้นักธรรมโทพ.ศ. 2485 สอบได้นักธรรมชั้นเอก ดังปรากฎเห็นได้อย่างแน่ชัดว่าพระครูสุจิตรตานุรักษ์(จวน สุจิตโต)มีสติปัญญาสามารถวิริยธุสาหะศึกษาหลักธรรมวินัยได้อย่างลึกซึ้งรู้และเข้าใจพระธรรมวินัยอย่างถูกต้องดังปรากฎการสอบนักธรรมชั้นตรีและโทได้ซึ้งท่านเองก็สอบได้ทั้ง 2 ครั้งสองคราวแสดงถึงสติปัญญาความสามารถของท่านได้เป็นอย่างดีในสมัยนั้นการศึเมื่อเข้ามาทำการอุปสมบทใหม่ก็จะต้องสอบใหม่หมดดังกรณีพระครูสุจิตตานุรักษ์(จวน สุจิตโต) เป็นตัวอย่าง พ.ศ. 2487 ได้หันมาสนใจศึกษา(วิชาไสยศาสตร์) ครั้งแรกเริ่มเรียนกับหลวงพ่อแป้นวัดบ้านไร่ อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ในวิชาเกี่ยวกับทำพวกเครื่องรางของขลังเรียนวิชาทำผ้ายันและอื่นๆ จากคุณครูโฉม อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เรียนวิชาตระกรุดโทนจากหลวงพ่อกองพระอาจารย์ผู้มีเกียรติคุณแห่งจังหวัดสุโขทัยและกับอาจารย์ทางวิชาไสยศาสตร์อื่นๆพร้อมกันนี้ก็ได้เรียนอักษรขอมด้วยต้นเองและก็มีความสนใจในวิชาไสยศาสตร์มาก
    #
    #ตำแหน่งหน้าที่ทางคณะสงฆ์พ ศ 2494 เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองสุ่ม ต่อมาเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจำวสำนักวัดหนองสุ่ม และเป็นกรรมการคุมสอบนักธรรมสนามหลวง ที่สนามสอบวัดเฉลิมมาศ อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นผู้อุปการะโรงเรียนประชาบาลวัดหนองสุ่มการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ พ ศ 2491 งานก่อสร้างครั้งแรกคือสร้างหอประชุม (ปัจุบันได้รื้อไแแล้ว) สีน้ำเงิน ประมาณ6000 บาท(หกพันบาท) พ ศ 2492 สร้างอุโบสถ์แบบยกพื้น ด้วยไม้ทั้งหลัง มุงหลังคาด้วยกระเบื้องขึ้นทั้งหลังกว้าง 4 วายาว 8 วา สิ้นจำนวนเงินประมาณ 10000 บาท (ประมาณหนึ่งหมืนบาท) ปัจจุบันอุโบสถหลังเก่านี้ยังปรากฏมีอยู่แต่ก็ชำรุดทรุดโทรมมากพ ศ 2501 สร้างศาลาการเปรียญ กว้าง 8 วา ยาว 14 วา สิ้นจำนวนเงินประมาณ 100000 (ประมาณหนึ่งแสนบาท) และทำการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายคราว พ ศ 2512 ได้ปรับปรุงปฏืสังขรณ์กุฏิใหม่หมดรวม 8 หลัง เพราะกุฏิเดิมปลูกสร้างไว้นั้นไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยและเพื่อพัฒนาวัดให้มีบริเวณวัดกว้างขวางยิ่งขึ้นจึงย้ายกุฏิที่มีอยู่เดิมไปปลูกสร้างถอยหลังไปทางเขตท้ายวัดทางด้านทิศตะวันตกสภาพของกุฏิใหม่ยังคงรักษาทรงไทยแบบบ้านโบราณอยู่ มองดูสวยงามมาก สิ้นจำนวนเงินประมาณ 100000 (ประมาณหนึ่งแสนบาท)พ ศ 2513 ได้สร้างหอระฆังขึ้น 1 หลังเป็นจำนวนเงิน 30000 บาท (สามหมืนบาท) ผู้ที่ศรัทธาคือ นายสุนทร นางประมวล แสงมณี สร้างถวาย ชื่อ หอระฆัง แสงมณี พ ศ 2514 ได้ร่วมกรมอนามัยสร้างถังน้ำประปาเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของวัด โดยบริจาคทรัพย์ส่วนตัวร่วมกันฝ่ายละครึ่งเป็นจำนวนเงิน 8000 (ประมาณแปดพันบาท) พ ศ 2514 เป็นประธานในการติดต่อกับทางราชกาล กรมอนามัย สร้างสถานีอนามัยชั้น 2 ประจำตำบลห้วยชันเพื่อสะดวกแก่ชาวบ้านในเมื่อเกิดเจ็บป่วยพ ศ 2514 พิจารณาเห็นว่าอุโบสถที่สร้างขึ้นครั้งแรกนั้นไม่ถาวรเท่าที่ควร เพราะสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง จึงได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่แบบถาวรกระทัดรัดสวยงาม อุโบสถหลังใหม่นี้ กว้าง 26 เมตร ยาว 40 เมตร วางศิลาฤกษ์เมื่อวันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ ศ 2514 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วและผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตเสร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่13 -21 กุุมภาพันธ์ พ ศ 2518 สิ้นจำนวนเงินประมาณ 900000 บาท (ประมาณเก้าแสนบาทเศษ)

    พ ศ 2515 สร้างศารารับรองแขก กว้าง 6 ยาว 12 วา สร้างเป็นอาคารชั้นเดียว สิ้นจำนวนเงินประมาณ 80000 บาท (ประมาณแปดหมื่นบาทเศษ) พ ศ 2515 เป็นประธานติดต่อในการชวน คุณแม่พลอย ภูสง่า ให้บริจาคที่ดินจำนวน 5 ไร่เศษ ถวายเป็นสมบัติวัดหนองสุ่ม เพื่อสร้างโรงเรียนประชาบาลวัดหนองสุ่ม ปัจจุบันโรงเรียนประชาบาลวัดหนองสุ่มได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วโดยงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ พ ศ 2516 ท่านเป็นผู้มีส่วนร่วมพัฒนาหมู่บ้านหนองสุ่มให้เจริญรุ่งเรือง ถนนหนทางสะดวก สบายยิ่งขึ้นแต่ก่อน การคมนาคมก็สะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยร่วมมือกับทางราชกาลตัดถนนผ่านที่เอกชนจนถึงวัด เป็นทางหลวงจังหวัดเข้าหมู่บ้านประมาณ 10 ก มพ ศ 2517 ได้สร้างตึกครุภันฑ์ (โรงครัว) เป็นอาคารตึก 2 ชั้น 1 หลังและอาคารชั้นเดียว 1 หลังซึ้งกำลังก่อสร้าง กว้าง 6 วา 1 ศอก ยาว8 วา สิ้นเงินประมาณ 600000 (ประมาณหกแสนบาท) (เกียรติคุณพิเศษ) พระครูสุจิตตานุรักษ์(จวน สุจิตโต)เป็นพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณรูปหนึ่งประกอบด้วยศิลาจารวัตรอันดีงามตามลักษณะแบบสมมณะผู้รักสงบสุขุมเยือกเย็นมีเมตตากรุณาธรรมอันสูงส่งเป็นบูชารหบุคคลที่นำมาซึ่งความเคารพเลื่อมใสกราบไหว้บูชาของสาธุชนเป็นจำนวนมากและมีเกียรติคุณเป็นที่นิยมเชื่อถือของสาธุชนอย่างกว้างขวางและศักสิทธิ์

    นอกจากการสร้างถาวรวัตถุในวัดหนองสุ่ม แล้วหลวงพ่อยังได้ให้ความอุปถัมภ์แก่วัด โรงเรียน และส่วนราชการทั้งในเขตจังหวัดสิงบุรี และใกล้เคียง โดยทั่วไป เช่น การบริจาคการก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดท่า บริจาคและจัดตั้งกองทุนมูลนิธิโรงเรียนวัดหนองสุ่ม บริจาคกองทุนมูลนิธิ วัดก้าร้อง และบริจาคทุนการก่อสร้างอาคารสำนักการประถมศึกษา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นต้นประวัติของพระเดชพระคุณ พระครูสุจิตตานุรักษ์ (หลวงพ่อจวน) เป็นประวัติที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญที่ชนรุ่นหลังจะได้จดจำ และนำเอามาเป็นเยี่ยงอย่าง บั้นปลายชีวิตหลวงพ่ออาพาธด้วย โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง ลูกศิษย์ได้นำไปบำบัดรักษาทร่โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลสิงห์บุรี โรงพยาบาลอินทร์บุรี หลายครั้งอาการคงทรงกับทรุด และถึงแก่การมรณภาพเมื่อ วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฏาคม พ ศ 2536 (แรม 8 ค่ำ เดือน 8 ) รวมอายุได้ 79 ปี 35 พรรษา ต่อมาทางวัดหนองสุ่ม โดยพระครูพิทักษ์ศาสนวงษ์ เจ้าอาวาสวัดหนองสุ่ม คณะกรรมการวัดข้าราชกาล ศิษย์ยานุศิษย์ และ ประชาชน ได้ร่วมประชุมตกลงให้มีการจัดการพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อจวน สุจิตโต ในวันครบรอบมรณะ ปีที่ 6 ในวันอาทิตย์ที่ 11 กรกฏาคม 2542 โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฒโน ป.ธ.7) เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม กรุงเทพมหานคร กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ มีพระธรรมราชานุวัตร (หลวงเตี่ย) เจ้าคณะภาค 3 เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร เป็นรองประธานฝ่ายสงฆ์ มีนายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายนิคม บูรณพันธ์ศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในงานมีพระเถระชั้นผู้ใหญ่ พระภิกษุ สามเณร ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการการเมือง หัวหน้าส่วนราชการ ศิษย์ยานุศิษย์ พ่อค้า ประชาชน จากจังหวัดสิงห์บุรี และ ต่างจังหวัด มาร่วมงานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่ออย่างมากมาย แม้ว่าหลวงพ่อท่านจะล่วงลับไปนานหลายปีจากไปเพียงแต่รูปสังขาร สาระแก่นสารชีวิต ประโยชน์กิจที่หลวงพ่อได้ประกอบกระทำไว้แล้วนั้น หาสูญสิ้นไปด้วยไม่ สมด้วยนัยพระพุทธภาษิตที่ว่า

    ""รูป่ ชีรติ มจุจาน่ นามโคตุต่ น ชีรติ""รูปกายของมนุษย์และสัตว์ย่อมคร่ำคร่า เสื่อมสิ้นไปแต่ชื่อโคตรสกุลความดีของผู้นั้น หาถึงความคร่ำคร่าเสื่อมสูญไปไม่
    ข้อมูลนี้ผมได้นำมาเขียน จากหนังสื่อพัทธสีมานุสรณ์ วัดหนองสุ่ม 13-21 กุมภาพันธ์ 2518 และ หนังสือ พระครูสุจิตตานุรักษ์ เล่มสีแดงครับ เพื่อเผยแพร่เกียจติคุณและคุณงามความดีของหลวงพ่อที่มีต่อลูกศิษย์ทั้งหลายครับ ท่านใดที่อยากเผยแพร่ประวัติหลวงพ่อผมยินดีให้ข้อมูลต่างๆ ที่ผมเขียนลงไว้นี้ได้เลยครับ

    http://www.boonnakamulet.com/…

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงพ่อจวนวัดหนองสุ่ม ปี๒๕๒๖
    ให้บูชา200บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ
    ลพ.จวน.jpg ลพ.จวนหลัง.jpg
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    1872-170bd.jpg
    ชาติภูมิ

    นามเดิม ซิ้ว เปลี่ยนเป็น สุระ นามสกุล เจริญปรุง

    ฉายา ภูริปญฺโญ

    เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๙ ตรงกับวันขึ้น ๑๐ค่ำ เดือน ๓ ปีมะโรง เวลา ๐๑.๓๐ น.

    สถานที่เกิด ณ หมู่บ้านพังเหวน ม.๕ ต.บ่อดาน อ.สทิงพระ จ.สงขลา

    โยมบิดา นายสั้น เจริญปรุง โยมมารดา นางฉีด เจริญปรุง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันสามคน

    บรรพชา

    พ.ศ. ๒๔๗๓ อายุ ๑๕ ขวบ บรรพชาเป็นสามเณร วัดใหม่ ต.บ่อดาน อ.สทิงพระ จ.สงขลา

    อุปสมบท

    พ.ศ.๒๔๗๙ เมื่ออายุ ๒๐ปี วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๔๗๙ โดยมีพระเทพวิสุทธิคุณ(เลี่ยม อลีโน) วัดมัชฌิมาวาส จ.สงขลา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการฉุ้น ปญฺญาทีโป วัดผาสุกาวาส เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์มาก โชติปาโล วัดประดิษฐ์สโมสร เป็นสรณคมนาจารย์ มีฉายาว่า ภูริปญฺโญ

    สมณศักดิ์

    พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นพระครูสังฆรักขิต

    พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นพระครูพิศิษฐ์วินัยการ พระครูสัญญาบัตร

    พ.ศ.๒๕๐๑ เป็นพระพิศิษฐ์วินัยการ พระราชาคณะชั้นสามัญ

    พ.ศ.๒๕๑๙ เป็น พระราชญาณเวที พระราชาคณะชั้นราช

    พ.ศ.๒๕๓๙ เป็นพระเทพญาณเมธี พระราชาคณะชั้นเทพ

    ท่านเป็นพระป่าสายธรรมยุตินิกาย แห่งแดนใต้
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงปู่สุระ
    ให้บูชา100บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลป.สุระ.jpg ลป.สุระหลัง.jpg
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    กรรมฐาน เปิดโลก หลวงพ่อคง วัดเขาสมโภชน์ ลพบุรี


    ประวัติวัดเขาสมโภชน์ วัดเขาสมโภชน์ ตั้งอยู่ที่บ้านเตาขนมจีน หมู่ที่๕ ตำบลบัวชุม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัด ๒๐๐ ไร่ บริเวณที่ตั้งมีภูเขาล้อมรอบ ๓ด้าน ที่ดินวัดแบ่งเป็น๒ส่วน อยู่บนภูเขาและที่ราบเชิงภูเขา การสร้างวัดได้สร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ พ.ศ ๒๔๘๐ พื้นที่ภูเขาซึ่งล้อมรอบบริเวณวัดทั้ง๓ด้านมีถ้ำอยู่มาก มีชื่อเรียกแตกต่างกัน มีเจดีย์ขนาดแตกต่างหลายองค์ ภายหลังได้ร้างไป เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ หลวงพ่อคง จตฺตมโล ได้ธุดงค์จาริกมาเพื่อการปฏิบัติธรรมโดยอาศัยอยู่ในถ้ำพระอรหันต์ ตามนิมิต ซึ่งในขณะนั้น ชาวบ้านเรียกกันว่า สำนักสงฆ์ถ้ำเขาสมโภชน์ ต่อมาวันที่๒๓ กันยายน พ.ศ ๒๕๒๕ ทางคณะสงฆ์ได้ประกาศให้เป็นวัดเขาสมโภชน์ โดยมีหลวงพ่อคง จตฺตมโล เป็นพระวิปัสสนาจารย์ และประธานสงฆ์ มีพระครูภาวนาวิสุทธิ (ผิว วณณฺคุตโต) ดำรงค์ตำแหน่งรักษาการแทนเจ้าอาวาส ด้วยอานุภาพขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า และบารมีของหลวงพ่อคง จากครั้งแรกที่หลวงพ่อพร้อมภิกษุหนึ่งรูป และสามเณรหนึ่งรูปรวมสามรูป ได้ธุดงค์มาที่ถ้ำพระอรหันต์ ปรากฏว่าทำให้มีภิกษุสามเณร และพุทธบริษัทชายหญิง หมุนเวียนกันเข้ามารับการฝึกอบรมกรรมฐานเป็นระยะๆ มากบ้างน้อยบ้าง สุดแล้วแต่ความพร้อมของแต่ละบุคคลและมาถวายตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องมีการก่อสร้างเสนาสนะขึ้นเพื่อรองรับพุทธบริษัทที่มาปฏิบัติธรรม ปี พ.ศ.๒๕๒๐ สร้างศาลาชายเขาและเสนาสนะต่างๆ ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ สร้างวิหารอเนกประสงค์ จตฺตมโล สร้างถังน้ำเก็บน้ำฝน โรงครัว ห้องสุขา ห้องน้ำ ปี พ.ศ ๒๕๒๘ สร้างกุฏิ ๗๖ปี หลวงพ่อคง จตฺตมโล ปี พ.ศ ๒๕๓๖ ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อุโบสถ ๒ ชั้น ปี พ.ศ ๒๕๔๐ ประกอบพิธีเททองพระอุโบสถ โดยเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ วัดสระเกศ เป็นองค์ประธาน ปี พ.ศ.๒๕๔๕ ประกอบพิธียกช่อฟ้าอุโบสถ ปี พ.ศ.๒๕๔๖ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐาน ในบุษบกเหนือโรงอุโบสถ โดยเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ วัดสระเกศ เป็นองค์ประธาน ปี พ.ศ.๒๕๔๙ จัดงานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตโรงอุโบสถ ปัจจุบันนี้ท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันก็ยังนำพระภิกษุสามเณร แม่ชี อุบาสกอุบาสิกา ประพฤติวัตรปฏิบัติธรรมเจริญ ภาวนา ศึกษาพระธรรมวินัย เป็นกิจวัตรประจำวัน ดำเนินรอยตามพระเดชพระคุณหลวงพ่อคงเป็นปกติเสมอมา


    original-1360408652747%282%29.png


    หลวงพ่อคง










    ประวัติพระพุทธเจ้าปางเปิดโลก หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในวันอาสาฬหบูชา ณ นครสาวัตถี แล้วได้เสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของท้าวสักกะเทวราช เพื่อแสดงธรรมโปรดพระมารดาที่ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา (พระอภิธรรม) แก่พระมารดา ในที่สุดแห่งเทศนาพระมารดาทรงบรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน ครั้นอยู่จำพรรษาปวารณาแล้วจึงได้ตรัสกับท้าวสักกะว่า มีพระประสงค์จะเสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ท้าวสักกะจึงได้นิรมิตบันไดทั้ง๓คือ บันไดทอง บันไดแก้ว บันไดเงิน ตีนบันไดทั้ง๓ตั้งอยู่ที่ประตูเมืองสังกัสสะนคร ส่วนหัวบันไดพาดอยุ่ที่เขาสิเนรุ พระพุทธองค์เสด็จลงทางบันไดแก้วตรงกลาง เทวดาลงทางบันไดทองทางด้านขวา มหาพรหมลงทางบันไดเงินทางด้านซ้าย ในขณะที่เสด็จลงจากเทวโลกนั้น ทรงทำยมกปาฏิหาริย์อีกครั้งหนึ่ง คือ ทรงเปิดโลกทั้ง๓ ให้แก่เทวโลก มนุษย์โลก ยมโลก พร้อมทั้งทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสี ทำให้สัตว์โลกทั้ง๓มองเห็นกันและกัน อนึ่งพุทธบริษัท ที่เห็นพุทธานุภาพแล้ว ล้วนแต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพราะเหตุดังกล่าว ภายหลังจึงมีผู้สร้างพระพุทธรูปปางเปิดโลก เพื่อระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก ในวันปาฏิบท คือ วันแรม๑ ค่ำ เดือน๑๑ และวันนั้นจึงเป็นปฐมเหตุแห่งวันเทโวโรหนะ(วันตักบาตรเทโวโรหนะ) 1386097671.jpg
    https://www.tnews.co.th/religion/36...ปิดโลกทั้ง-๓-ให้ได้เห็นกันหมด-คราวลงจากเทวโลก

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงพ่อคง วัดเชขาสมโภชน์
    ให้บูชา100บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลพ.คง.jpg ลพ.คงหลัง.jpg

     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    เหล็กไหลแม่น้ำโขงนี้ มีลักษณะเหมือนดังเนื้อเหล็กปนหินอยู่บริเวรใต้น้ำโขงถือเป็นเหล็กไหลชั้นยอดอีกชนิดหนึ่งแม่เหล็กสามารถดูดติดได้ คนละชนิดกับอกธรณี เพราะเนื้อเป็นคล้ายเหล็กปนหิน เป็นของบารมีสูง มีพลังงานมหาศาลเหมาะแก่การใช้ป้องกันเขี้ยวงาต่างๆ แคล้วคลาดกันภัย ท่านนิยมหากันมาแต่โบราณ อยู่ใต้ท้องแม่น้ำโขง ท่านวิเศษมีคุณโชคลาภค้าขายร่ำรวยป้องกันไฟ ดับพิษ เข้าป่า สัตว์มีพิษไม่กล้ามาเข้าไกล้ หกติกตัวไปมีแต่เงินทองไหลมาเทมาไม่ขาดสาย เป็นของทนสิทธิ์ที่หายากอีกชนิดหนึ่ง เหมาะแก่ข้าราชการ แม่ค้าพ่อขาย ประชาชนทั่วไป เด็กนอนผวาผกไว้ใต้หมอยมิเป็นอีกเลย ถือเป็นของมงคลที่ดียิ่งนัก
    แร่ เหล็กไหลแม่น้ำโขงหรือแร่ฮีมาไทท์ HEMATITE เป็นแร่ธาตุกายสิทธิ์มีพลังอำนาจมีคุณวิเศษและพุทธคุณยิ่ง นับว่าเป็นพลอยหรือรัตนชาติที่มีค่าราคาสูงแร่ชนิดนี้อยู่คู่กับโลกมานับ ล้านๆปี มีอยู่ที่เดียวในโลก คือ ตามลำน้ำโขง ตามเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ กรมทรัพยากรธรณีวิทยาทางงธรรมชาติคำนวณอายุและความเก่าแก่ ของแร่ชนิดนี้มีอายุไม่น้อยกว่า 65 ล้านปี

    แร่เหล็กไหลแม่น้ำโขงหรือแร่ฮีมาไทท์ HEMATITE เป็นแร่ธาตุที่หาได้ยากและมีอำนาจมหาศาล พุทธคุณหรือคุณวิเศษมีอยู่ในตัวทั้งในด้านคุณเสน่ห์ และ เมตตามหานิยม ความแคล้วคลาดปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านโชคลาภร่ำรวยขึ้นทันตาแบบไม่ น่าเชื่อ จึงเป็นที่ต้องการของผู้ได้พบ เพราะมีความเชื่อว่าเป็นแร่ที่มีอาถรรพ์อยู่ได้เฉพาะผู้ที่ทีบุญบารมีมาแต่ อดีตชาติเท่านั้น
    อีกชื่อหนึ่งก็คือ เหล็กไหลนาคาราช เหล็กไหลบาดาลหายากมากทีเดียว มักปรากฏอยู่ในลำแม่น้ำใหญ่ที่มีภูเขาสลับซับซ้อน ในประเทศไทยมีที่เดียวในแม่น้ำโขง ประเทศลาวพบที่ ภูเขาควาย ประเทศจีนแม่น้ำแยงซีเกียง อินเดียแม่น้ำคงคา เป็นต้น เพราะต้นน้ำเหล่านี้มาจากภูเขาสูงที่ศักดิ์สิทธิ์ ลักษณะคล้ายก้อนหินมันเงาเป็นเลื่อม สีดำเหมือนนิล บางองค์มีสนิมเหล็กสีน้ำตาลเกาะ บางองค์มีแร่ทอง งดงามมาก แม่เหล็กดูดติด เด่นมากในทางให้โชค เสี่ยงโชค และค้าขาย ป้องกันพิษสัตว์เขี้ยวงา แคล้วคลาด คงกระพันเป็นเลิศเลยทีเดียว!!!!

    ตั้งนะโม 3 จบ แล้วว่า คาถาเหล็กไหล
    พุทโธเมนาโถ ธัมโมเมนาโถ สังโฆเมนาโถ
    สะกะพะจะ บูชาจะมหาบูชา ขอบูชาท่านผู้ดูแลรักษาธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงฤทธิ์อานุภาพนี้
    อิสะวาสุ อิติปิโส ภะคะวา
    เหล็กไหลเจริญมา เจริญยิ่ง เจริญดี สิ่งดี ๆ ทั้งหลายจงหลั่งไหล เข้ามาหาแก่ตัวข้าพเจ้า
    สัมมะ สัมมา สัมมา สัมมะ มะอะอุ
    นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ
    (ให้ภาวนา คาถาบูชาเหล็กไหล อย่างน้อย 3 จบ ทุกๆวัน ก่อนออกจากบ้านเสมอ) get_auc3_img-jpg-jpg.jpg


    *หลวง ปู่คำ บุ คุตฺตจิตโต วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี อธิฐาน 1 ไตรมาตปี 53 บนกุฏิ และก่อนจะนำให้บูชายังอธิฐานให้อีกครั้งครับ
    ***หลวงปู่ฤาษี กตปุญฺโญ วัดภูน้อย อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภูองค์นี้พิเศษมากครับ ในคณะที่ท่านอธิฐานจิตครั้งสุดท้าย (อธิฐานเดี่ยวที่กุฏิท่าน ไตรมาส 3 เดือนปี 52 ) ตอนที่ผมไปนำกลับ ท่านอธิฐานเพื่อบันทึกภาพไม่น่าเชื่อ จู่ ๆ ก็เกิดฟ้าร้องเสียงสนั่น และผ่าลงบริเวณใกล้ ๆ วัด และมีงูสิงห์ขนาดใหญ่มาก เลื้อยเข้ามาบนศาลาด้วยครับ ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดบริเวณหน้าอกข้างขวาหลวงปู่จู่ ๆ ก็เกิดเรืองแสงขึ้นมาบนจีวร ดังภาพที่ถ่ายมา ซึ่งเป็นเรื่องที่เหนือธรรมชาติมาก ไม่ใช่ภาพจากฝุ่น หรือรูปจตุคามที่เราเคยเห็นนะครับ แต่เป็นแสงที่เปล่งออกมาจากภายในลอดผ่านออกมาทางจีวรหลวงปู่ฤาษี กตฺปุญฺโญ เมื่อถามท่าน หลวงปู่บอกแต่เพียงว่าหินที่นำมาปลูกเสกและจะนำกลับวันนี้มีคุณวิเศษมาก และ มีพุทธคุณในตัวไม่ต้องไปปลูกเสกที่ใดก็สามารถคุ้มครองผู้ที่ศรัทธานั้นได้ หินทุกชนิดใด้ทำปฏิกิริยากับสิ่งที่อยู่ในตัวหลวงปู่ลูก!!!หลวงปู่บอกอย่าง นั้น และไม่ได้พูดอะไรอีกโปรดใช้วิจารณญานด้วยนะครับเป็นความเชื่อส่วนบุคคลเท่า นั้นครับ


    ***หลวงปู่อ่อง ฐิตฺธมฺโม วัดเทพสิงหาญ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ก่อนนำกลับท่านว่าเป็นของมีค่าเอาไว้บูชาไม่มีวันจนท่านว่าอย่างนั้นครับ
    ***หลวงปู่เนย สมจิตฺโต วัดป่าโนนแสนคำ อ.บ้านทุ่งคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร ท่านให้พรว่า เจริญสุข ร่ำรวย ๆ
    ***พระอาจารย์ชัย กิตฺติญาโณ วัดป่าบ้านกอก อ.เมือง จ.ขอนแก่น อธิฐานจิตเดียวในพระอุโบสถ ก่อนกลับท่านพระอาจารย์เรียกพระลูกศิษย์มาทดสอบพลังวิชาปรากฎว่ามีพลัง มากกว่าวัตถุมงคลทุกชนิด นี่คือพระผู้ประสบการณ์เหนียวและคงกระพันชาตรีเป็น 1 ในขอนแก่นตอนนี้ครับ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    หลวงปู่ทวดเตารีด เนื้อแร่เหล็กไหลแม่น้ำโขง

    ให้บูชา800บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับยังอยู่ครับ


    e0-b8-a5-e0-b8-9b-e0-b8-97-e0-b8-a7-e0-b8-94-jpg-jpg.jpg e0-b8-a5-e0-b8-9b-e0-b8-97-e0-b8-a7-e0-b8-94-e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b8-b1-e0-b8-87-jpg-jpg.jpg
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    web-file0015-jpg.jpg

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท

    วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย)
    ต.ยางคราม กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่


    ๏ อมตะมหาเถราจารย์

    “พระครูวรวุฒิคุณ” หรือ “หลวงปู่ครูบาอิน อินโท” หรือ “ครูบาฟ้าหลั่ง-ฟ้าลั่น” อมตะมหาเถราจารย์แห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ผู้สูงยิ่งด้วยศีล จริยาวัตร และพุทธาคม เชี่ยวชาญสรรพวิชาตามตำราโบราณล้านนา จนเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป ดังคำกล่าวของบรรดาพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ว่า

    “ขอเธอจงไปกราบครูบาอินที่เชียงใหม่และขอศึกษาวิชาจากท่านให้ดีๆ เถิด ท่านเป็นพระผู้เก่งกล้าสามารถมากจริงๆ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม บ้านบ้านเเค ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

    “ดีอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว พระของครูบาอิน ไม่ต้องเสกอะไรอีกแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ (ป่าช้าศาลาดำ) ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

    “จิตของครูบาอิน ประภัสสรยิ่งแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อชม วัดโป่ง จังหวัดชลบุรี

    “ครูบาอิน ท่านมีจิตมีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งเลยทีเดียว” เป็นคำกล่าวของครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

    “หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งนั้น ดีที่หนึ่งเลย” เป็นคำกล่าวของหลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

    “ครูบาอินท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบนะ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต บ้านลูกกลอน ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ฯลฯ


    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ถือเป็นพระเถระสำคัญผู้เจริญด้วยพรรษาสูงแห่งเชียงใหม่ อีกทั้งยังเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและเมตตาธรรม ที่มีให้แก่ผู้เคารพนับถือตราบวาระสุดท้ายของชีวิต อันเป็นเหตุให้สมควรนำเถรประวัติและคำสอนของท่าน มาเผยแพร่เป็นสังฆบูชาสืบต่อไป

    พระครูวรวุฒิคุณ มีนามเดิมว่า อิน วุฒิเจริญ เป็นบุตรของนายหนุ่ม-นางคำป้อ เขียวคำสุข ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๖ (ตรงกับวันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๓ เหนือ ปีเถาะ) ณ บ้านทุ่งปุย ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (ปีที่ครองราชย์ พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) โดยเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้นคือ เจ้าอินทรวโรรสสุริยวงษ์ (ครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๔๔-๒๔๕๒) ท่านได้เล่าชีวประวัติว่า ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คนด้วยกัน คือ

    ๑. นายแก้ว เขียวคำสุข (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๒. พระครูวรวุฒิคุณ (มรณภาพแล้ว)
    ๓. นางกาบ ใจสิทธิ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๔. พ่อหนานตัน เขียวคำสุข (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๕. นางหนิ้ว ธัญญาชัย (ถึงแก่กรรมแล้ว)

    พระครูวรวุฒิคุณ อธิบายถึงเรื่องที่ท่านใช้นามสกุลต่างไปจากบิดามารดาและพี่น้องว่า เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีการใช้นามสกุล เมื่อมาเริ่มใช้ในสมัยหลัง (รัชกาลที่ ๖) ต่างคนต่างก็ตั้งนามสกุลกันเอง ตัวท่านบวชอยู่ ท่านก็แต่งนามสกุลเองว่า “วุฒิเจริญ” เพื่อให้เป็นความหมายมงคลในความเจริญในพระพุทธศาสนา

    ท่านเล่าว่า ท่านเติบโตมาในครอบครัวชาวนา ชีวิตในวัยเด็กก็เรียบง่ายไม่ต่างไปจากเด็กสมัยนั้นโดยทั่วไป คือช่วยเหลือครอบครัวทำงาน พออายุได้ ๑๑-๑๒ ปี ก็ไปอยู่วัดเพื่อเรียนหนังสือ ท่านว่าสมัยก่อนเด็กอายุเท่านี้ก็ยังดูเป็นเด็กอยู่ ตัวไม่ใหญ่โต เนื่องจากสมัยก่อนเด็กกินนมแม่ ไม่ได้บำรุงด้วยนมวัวเช่นในปัจจุบัน เมื่อมีลูกศิษย์ถามถึงอุปนิสัยในวัยเด็กของท่านว่ามีแววอย่างไรบ้าง ถึงทำให้ท่านบวชอยู่ในพระพุทธศาสนานานจนถึงทุกวันนี้ ท่านตอบแต่เพียงว่าท่านก็มีความเมตตาเอ็นดูสัตว์ ไม่เคยทรมานสัตว์

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10766

    https://palungjit.org/threads/วรวุฒ...คลหลวงปู่ครูบาอิน-อินโท-ครูบาฟ้าหลั่ง.169758/
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงพ่อโสศธรหลังครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง รุ่นที่๕ของท่าน ปี ๒๕๓๓

    ให้บูชา500บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ


    %E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%991-jpg.jpg 3%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%991%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg

    เหรียญครูบาอิน ที่ระลึกครบรอบวันเกิดปี๒๕๓๖
    ให้บูชา300บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    %E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99-jpg.jpg A3%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2019
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    upload_2019-7-23_14-8-28.jpeg


    21443284_817922038382708_880702862_n1-1.jpg

    พระลีลาเม็ดขุนน วัดซับลำใย ปลุกเสกโดยหลวงพ่อกวยปี2517และนำมาเสกอีกครั้งพิธ๊ใหญ่วัดซับลำใยหลวงปู่หมุน ครับ ปัจจุบันวัตถุมงคลหลวงพ่อกวยและหลวงปู่หมุนราคาบูชาสุงมากและหายากของเปลอมเยอะ

    ให้บูชา3,500บาทครับ

    ลพ.กวยลป.หมุน.jpg ลพ.กวยลป.หมุนหลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2019
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    upload_2019-7-23_14-15-16.jpeg

    วัดคลองมอญ (สุวรรณโคตมาราม) อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท
    หลวงพ่อมหาโพธิ์ ญาณสังวโร เกิดเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2463 ตรงกับทางจันทรคติ วันอังคาร แรม 13 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก จ.ศ. 1282 ยามเด็กนอนสมัยนั้น (ประมาณเวลา 19.20 น.) ลัคนาศรี พฤษภ เสวยฤกษ์ที่ 5 มฤคสิระ ประกอบด้วย เทศาตรี แห่งฤกษ์ นามเดิม นายโพธิ์ จั่นเที่ยง โยมบิดาชื่อ นายวอน จั่นเที่ยง โยมมารดาชื่อ นางทองสุข จั่นเที่ยง มีพี่น้องด้วยกัน 6 คน หลวงพ่อเป็นลูกคนที่ 4 บ้านเกิด ณ บ้านหนองพญา ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท
    หลวงพ่อท่านได้เล่าว่า ตอนเด็ก ๆ ไม่สามารถอยู่บ้านได้ พระใบฎีกาบุญยัง เป็นทั้งอาจารย์และหลวงน้าของท่าน ได้นำเอาท่านมาเลี้ยงไว้ที่วัดหนองน้อย ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านท่านประมาณ 3 กิโลเมตร ต่อมาหลวงพ่อบุญยังได้พาท่านมาฝากบวชเรียน พระปริยัติธรรมที่วัดอรุณอัมรินทร์ (วัดโบสถ์น้อย) บางกอกน้อยธนบุรี ได้จำพรรษาบวชเรียนเป็นสามเณรโพธิ์ ณ ที่วัดอรุณอัมรินทร์ และต้องเดินไปเรียนนักธรรมและบาลีปเรียญสาม ขณะจำพรรษาอยู่นี้หลวงพ่อบุญยังได้มาเยี่ยมเยียนอยู่ เเสมอและก็ได้ถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ ให้ สามเณรโธิ์ท่านก็จะแปรพระคาถาต่าง ๆ เป็นใจความบ้าง ไม่ได้ใจความบ้าง ดูแล้วไม่น่าจะมีอะไร หลวงพ่อบุญยังบอกว่า “คุณมหาโพธิ์อย่าไปแปล วิชาก็คือวิชาแปลภาษาบาลีก็แปลไป วิชาอาคมต่าง ๆ ครูบาอาจารย์ถ่ายทอดกันมามิได้ให้แปลไม่สมควรแปล เพราะเป็นหลักของวิชาในการใชคาถาอาคม ด้วยจิตเป็นเครื่องกำหนด” ดังนั้นสามเณรโพธิ์จึงไม่คิดแปลคาถาอีกต่อไป เมื่อได้เข้าใจในหลักวิชาที่หลวงพ่อบุญยังได้ถ่ายทอด ให้
    เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณื สามเณรมหาโพธิ์ ก็ได้บวชอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดอรุณอัมรินทร์ บางกอกน้อย ธนบุรี โดยโยมบิดาและมารดาได้เดินทางจาก อ.วัดสิงห์ มายังกรุงเทพฯ เพื่ออุปสมบทสามเณรมหาโพธิ์ด้วความปลื้อมปิติยินดียิ ่งนัก ต่อมาอีก 1 ปี ท่านได้กลับสมาอยู่ที่ วัดหนองน้อย จ.ชัยนาท และขอลาสิกขาบทกับหลวงพ่อบุญยัง แต่หลวงพ่อบุญยังไม่สึกให้ ท่านให้ไปสึกกับหลวงพ่อปลื้ม(น้องชายหลวงปู่ศุข) ณ วัดปลากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อปลื้มก็สึกพระให้ตามความประสงค์

    ชีวิตทหาร
    หลังจากที่หลวงพ่อมหาโพธิ์ได้ลาสิกขาบทจากพระภิกษุใน ปี พ.ศ. 2484 อายุท่านครบ 21 ปีบริบูรณ์ ตามหน้าที่ของชายไทยทุกคนต้องรับใช้ชาติเพื่อคัดเลือ กเกณฑ์ทหารเป็นเวลา 2 ปี ท่านได้กราบลาหลวงพ่อบุญยัง ซี่งหลวงพ่อบุญยังได้อวยพรให้ท่าน “ท่านมหาโพธิ์ไปคราวนี้จะได้อยู่อย่างสบายๆ” พร้อมกับได้มอบผ้ายันต์ขาวแดงลงด้วยยันต์นะหน้าทอง 1 ผืน และยัต์ปีโยเล็ก 1 ผืน ให้พกติดตัวไป ผ้ายันต์ 2 ผืนนี้ดีทางเมตตามหานิยมเป็นที่รัดใคร่ของผู้ใหญ่ดุจ ลูกในอุทร วันแรกที่ไปฝึกทหารใหม่สะบักต้นขาของท่านได้หลุดออกเ หมือนคนขาหัก ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายเดือน หลังจากการฝึกทหารใหม่ 3 เดือนเสร็จสิ้นแล้วทุกคนจะต้องเข้าประจำกองต่างๆ หลวงพ่อท่านเล่าว่า ท่านแทบจะไม่ได้ทำอะไรเลย มีแต่คนคอยห่วงใยในความเป็นอยู่ กินนอนก็อยู่อย่างสบายเหมือนยังกับเจ้านาย มีคนคอยดูแล จนผู้คยในกรมทหาร จ.ลพบุรี เรียกท่านว่า “หลวงตา” ดังคำอวยพรของหลวงพ่อบุญยังให้ไว้ว่า “จะได้ไปอยู่อย่างสบายๆ”
    กลับมาอยู่กับท่านอาจารย์
    ฝึกวิชา
    พระอาจารย์บุญยังได้พยายามถ่ายทอดวิชาต่างๆ ด้านพุทธคุณให้ ตอนแรก ๆ หลวงพ่อไม่สนใจ แต่เมื่ออยู่กับท่านนาน ๆ ไปหลวงพ่อเริ่มมีความสนใจขึ้น เห็นพระอาจารย์ท่านทำอะไร ๆ แปลกๆ ให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ เช่น ทำควายธนูด้วยตอกสาน โดยสานมือเดียวแล้ววางไว้ ควายธนูก็มีการขยับเขยื้อนได้ เสกน้ำมันจนเดือดเหมือนน้ำร้อน ฟองเดือดขึ้นมา แต่เมื่อไปสัมผัสด้วยมือกลับไม่ร้อน ทำให้ท่านอยากจะเรียน พระอาจารย์ของหลวงพ่อก็ถ่ายทอดให้ทั้งคาถาปลุกเสก และวิธีฝึก
    วิชาเกราะเพชร
    วิชาหนึ่งที่ท่านชอบและฝึกมาตั้งแต่ต้น คือ “ยันต์เกราเพชร” หรือตาข่ายเพชร โดยหลวงพ่อบุญยังได้เล่าให้ท่านฟังว่าสมัยหลวงปู่ศุข ยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ลองวิชาเกราะเพชรกับพระะรูปหนึ่ง ที่แก่กล้าวิชาที่เดินทางผ่านวัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยบอกหลวงปู่สุขว่าจะขี่ม้าพยนต์เข้ามาในโบสถ์ให้ดู หลวงปู่ศุขท่านได้เอาผ้ายันต์เกราะเพชรขึงไว้หน้าประ ตู ปรากฎว่าม้าพยนต์ไม่สามารถผ่านยันต์เกราะเพชรหรือตาข ่ายเพชรไปได้ พระรูปนั้นเมื่อแพ้วิชาของหลวงปู่ศุข ก็ได้เดินทางกลับไปจากวัดปากคลองมะขามเฒ่าเมื่อหลวงพ ่อมหาโพธิ์ได้ฟังจากหลวงพ่อบุญยังเล่าท่านจึงสนใจและ เล่าเรียนวิชาเกราะเพชรลงตระกรุด และผ้ายันต์เกราะเพชรมาตลอดอายุของท่าน
    การลงยันต์เกราะเพชร ต้องท่องสูตรคาภาพระอิติปิโสรัตนมาลา ๕๖ บาท ให้ได้จนขึ้นใจทั้งเดินหน้า และถอยหลังได้รวมทั้งบทปลีกย่อยอื่น ๆ อีกมากมาย ในการลงยันต์เกราะเพชร ท่านบอกว่ายันต์เกราะเพชร เป็นยันต์ที่ค่อนข้างยากผู้เรียกจะต้องมีความขยันหมั ่นเพียร กับความอดทน และการประสิทธิ์ประสาทจากครูบาอาจารย์ น้อยคนนักที่จะลงยันต์เกราะเพชรได้ บางคนมาขอเรียนเห็นพระคาถา ๕๖ บาท ก็ท้อแล้วไม่อยากจะท่องจำ ความเพียรพยายามไม่มี การลงยันต์ก็ต้องหายใจลงตามสูตรพระคาถา ๕๖ บาท ผู้ที่ฝึกฝนใหม่ ๆ ต้องใช้เวลาเรียนเกือบทั้งวันกว่าจะลงยันต์เสร็จ อย่างตัวของหลวงพ่อเองใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่งโมง ถือว่าลงได้เร็วมากแล้วเพราะท่านฝึกมา ตั้งแต่อายุยังรุ่นอยู่
    ในสมัยก่อนยามว่าง ท่านมักลงตระกรุดเกราะเพชรและทำผงพุทธคุณเกราะเพชรทั ้งชนิดป้องกันตัว และถอนคุณถอนของคนที่ถูกผีเข้า ท่านจะเอาตะกรุดเกราะเพชรที่เป็นแผ่นแบบยังไม่ได้ม้ว นเป็นตะกรุด ตบหัวคนถูกผีเข้า ผีจะทรุดลง และออกจากตัวคนไข้ไปทันที ตะกรุดส่วนใหญ่ท่านจะใช้แผ่นทองแดงมาลงยันต์เกราะเพช ร ยกเว้นแผ่นถอนของท่านจะใช้แผ่นตะกั่ว ส่วนตะกรุดเนื้อเงินท่านจะลงให้เฉพาะกับศิษย์ใกล้ชิด เท่านั้น เกี่ยวกับประสบการณ์ในตะกรุดเกราะเพชร มี ส.ส.ท่านหนึ่งใน จ.ชันนาท ที่เคารพนับถือหลวงพ่อมากได้ขอตะกรุดท่านไปใช้พกติดต ัว ขณะหาเสียงถูกผู้ที่ปองร้ายใช้ระเบิดปาใส่ ปรากฏว่า ส.ส.ท่านนั้นไม่เป็นอะไรเลย
    วิชาลงตะกรุดใต้น้ำ
    หลวงพ่อบุญยังได้เรียนวิชาตะกรุดใต้น้ำจากหลวงปู่ศุข โดยสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ลงให้กับลูกศิษย์ทุกปี แม้กระทั่งพระสมุห์กลับ แสงเขียว ก็ยังขอให้ท่านช่วยลงตะกรุดใต้น้ำที่วัดดอนตาลให้ โดยก่อนที่จะประกอบพิธีจะต้องตั้งเครื่องบูชาครูริมแ ม่น้ำ และต้องตอกเสาหลักไว้ในน้ำสำหรับผู้ที่จะลงตะกรุดเกา ะไว้ ไม่อย่างนั้นจะถูกน้ำพัดลอยไปตามกระแสน้ำ ตะกรุดจะลง และปลุกเสกใต้น้ำเสร็จแล้วจะปล่อยให้ลอยขึ้นมาบนผิวน ้ำ พวกลูกศิษย์ก็จะแจวเรือคอยเก็บอยู่ข้างบน หลวงพ่อบุญยังเล่าให้หลวงพ่อบุญยังฟังว่าน้ำที่
    วัดดอนตาลน้ำเย็นเหลือเกิน หลวงพ่อมหาโพธิ์เล่าว่า ท่านเคยขอเรียนวิชาตะกรุดใต้น้ำนี้จากท่านอาจารย์บุญ ยัง ซึ่งอาจารย์ท่านก็รับปากถ่ายทอดให้แต่ต้องเรียนในวัน เพ็ญเดือน ๑๒ แต่ยังไม่ทันถึงเดือน ๑๒ หลวงพ่อบุญยังก็มรณะภาพลงเสียก่อนเมื่ออายุได้ ๕๕ เป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก ที่หลวงพ่อท่านเรียนจากพระอาจารย์ไม่ทันจึงทำให้วิชา นี้สูญไป
    เกี่ยวกับวันที่หลวงพ่อบุญยังมรณภาพ ชาวบ้านแถบวัดปากคลองมะขามเฒ่า ได้เห็นลูกๆไฟดวงใหญ่ลอยเดินทางไปยังวัดหนองน้อย และได้ลอยกลับมาโดยมีลูกๆฟดวงเล็กตามมาด้วยเป็นที่ตื ่อนตาตื่นใจแก่ผู้คนในสมัยนั้นมากเล่าขสนมาจนถึงผัจจ ุยันนี้
    หลังจากที่รับใช้ชาติครบ 2 ปี ก็ปลดประจำการมาอยู่กับหลวงพ่อบุญยัง วัดหนองน้อย อยู่ปรนนิบัติและศึกษาหาความรู้จากหลวงพ่อบุญยัง พอมีญาติโยมเจ็บป่วยมาหาหลวงพ่อบุญยัง หลวงพ่อมหาโพธิ์ท่านจะช่วยเก็บยาสมุนไพรให้กับอาจารย ์ ท่านปรุงเป็นยารักษาญาติโยมอยู่บ่อยๆ ยามว่างอาจารย์ของท่านจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับวิชาต่าง ๆ ให้ฟัง เพื่อที่จะให้หลวงพ่อมหาโพธิ์สนใจอย่างไม่รู้ตัว อาทิเช่น วิชาเกี่ยวกับการฝึกธาตุทั้ง 4 ขึ้นมา อาจารย์ของท่านให้เอาโหลแก้วบรรจุน้ำเต็มตั้งไว้และใ ห้เอาขี้ผึ้งมามาปั้นเป็นก้อนกลมๆ ขนาดลูกพอประมาณ ใส่ลงในโหลแก้ว ขึ้ผึ้งจะลอยอยู่บนน้ำ และอาจารย์ท่านได้แสดงให้ดูก่อน โดยบังคับขี้ผึ้งให้ลอยและจมตามจิตบังคับ แล้วหลวงพ่อบุญยังก็พูดว่า ต้องใช้ความเพียรมากๆ ตั้งแต่นั้นมา หลวงพ่อมหาโพธิ์ก็ฝึกวิชาธาตุทั้ง 4 ด้วยความขยันหมั่นเพียรจนสามารถทำได้เหมือนกับอาจารย ์ของท่านเป็นที่ภาคภูมิใจของอาจารย์ยิ่งนัก
    สมัยที่หลวงพ่อบุญยังไปเรียนวิชากับหลวงปู่ศุข ที่วัดปากของมะขามเฒ่านั้น
    หลวงปู่ศุขได้ทดสอลความอดทนของท่านต่างๆ นานา ถ้าคนไม่มีความเพียรพยายามก็ต้องท้อเลิกไป แต่หลวงพ่อยุญยังท่านอดทนเพียรพยายามมาก แม้แต่กลางคืนหลวงปู่ศุขให้ไปฝึกวิชาที่โบสถ์ พอเดินออกไปก่อนจะถึงโบสถ์ฝนก็ตกน้ำท่วมถึงเอวต้องลุ ยน้ำไป จนเดินเลยโบสถ์กลับไปกลับมาตั้งหลายเที่ยวกว่าจะขึ้น โบสถ์ได้ วิชาต่างๆ ที่เรียนไปต้องฝึกให้สำเร็จและต้องแสดงต่อหน้าหลวงปู ่ศุขว่าทำได้แล้ว จึงจะขอเรียนวิชาอื่นๆ ต่อไปได้ เป็นระยะเวลาหลายปีทีเดียวที่หลวงปู่ศุขได้ถ่ยทอดวิช าต่างๆ ด้านพุทธคุณให้แก่หลวงพ่อบุญยัง และมอบคัมภีร์ไสยศาสตร์ทางพุทธคุณให้รักษาไว้สืบพระศ าสนาต่อไป จนตกมาถึงหลวงพ่อมหาโพธิ์ได้รับมอบคัมภีร์พุทธคุณจาก อาจารย์ของท่าน เป็นคัมภีร์ด้านพุทธคุณ ที่ประกอบด้วยอักขระ เลข ยันต์ต่างๆ ทั้งสูตรวิชาลบผงพุทธคุณในวิชา ปถมัง, อิทธิเจ, มหาราช, อิธิเจภาคพิศดาร หลวงพ่อมหาโพธิ์ได้ฝึกตามคัมภีร์จนเจนจบทุกวิชา การลบผงมหาราชจะต้องขึ้นต้นด้วยการตั้งชื่อนามให้ได้ 5 ชื่อ แล้วลบมาบังเกิดเป็น นะโมพุทธายะ จากนั้นก็ลบต่อไปเรื่อยๆ มาเป็นองค์พระ 5 องค์ มาเป็น มะอะอุ แล้วมาบังเกิดเป็นนะต่างๆ เป็นยันต์ต่างๆ จนถึงยันต์ครูองค์พระ และสิ้นสุดด้วยมหาสูญ, นิพพานสูญ, ทุกวิชาปถมัง, อิทธิเจ, มหาราช จะมีหลักเกณฑ์ต่างๆแนวเดียวกัน ทุกสูตรจะต้องมีตัวตั้งก่อเกิดขึ้นและนมัสการสูตรยัน ต์ต่างๆ ทุกขั้นตอนกว่าจะเสร็จสิ้น 1 กระดานการลบผงต้องใช้เวลาทั้งวัน ผงพุทธคุณต่างๆ จะเก็บไว้เพื่อนำผงมาผสมทำพระเครื่องต่างๆ หรือจะนำมาผสมแป้งเจิม

    พระสมเด็จพุทธเกราะ เป็นพระพิมพ์สมเด็จแบบหล่อโบราณที่หลวงพ่อมหาโพธิ์ ญาณสฺงวโร ทำพิธีเททองที่วัดคลองมอญ โดยใช้วันเสาร์ขึ้นห้าค่ำเป็นฤกษ์ทำการในการเททอง พระสมเด็จเพชรเกราะรุ่นนี้ สร้างขึ้นจากแผ่นยันต์และตระกรุดเกราะเพชรจำนวนมาก องค์นี้ไม่่ได้ตอกโค๊ตแต่ไปบูชารับกับมือหลวงพ่อที่วัด สภาพหล่อไม่ติดหน้าองค์พระ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ


    ให้บูชา10,000บาทครับ

    ลพ.มหาโพธิ์.jpg ลพ.มหาโพธิ์หลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2019
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    หลวงพ่อหล่ำ สิริธัมโม (พระครูสิริธรรมรัต)วัดสามัคคีธรรม ถนนลาดพร้าว 64 (ซอยเกตุนุติ) แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร

    หลวงพ่อหล่ำ สิริธัมโม (พระครูสิริธรรมรัต) เดิมชื่อ หล่ำ แซ่เจ็ง เกิดเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๒ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะเส็ง เอกศก เวลา ๑๔.๕๕ น. ที่บ้านหมู่ ๑ ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โยมบิดาชื่อ จุ้ยเตียง แซ่เจ็ง โยมมารดาชื่อ ปิ่น แซ่ซิ้ม เมื่ออายุได้ ๗ ปี โยมมารดาถึงแก่กรรม จึงต้องมาอยู่กับโยมตาโยมยายเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙ ที่บ้านหมู่ ๘ ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่ออายุเข้าเกณฑ์ศึกษา ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดแหลม กระทั้งจบชั้นประถมปีที่ ๔ หลังจากนั้นได้ช่วยทางบ้านประกอบอาชีพทำสวน ต่อมาโยมตาได้ถึงแก่กรรมลง หลังจากงานตามประเพณีแล้ว จึงได้ไปขอเรียนภาษาอัการขอมกับ พระอาจารย์ฉัตร ผาสุโก วัดบางหญ้าแพรก กระทั่งสามารถอ่านออกเขียนได้ เมื่ออายุครบบวช จึงเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดบางหญ้าแพรก เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๒ โดยมีพระครูสิริสีลคุณ (พระราชวิริยาภรณ์) เข้าคณะจ้งหวัดสมุทรปราการเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเผย (พระครูสถิตย์ธรรมคุณ) เจ้าอาวาสวัดบางหญ้าแพรก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์ผ่อง (พระครูบวรสมุทรกิจ) เจ้าอาวาสวัดปุณหังสนาวาส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "สิริธัมโม" หลังจากอุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดบางหญ้าแพรก เรียนพระปริยัติธรรม และวิปัสสนากรรมฐานกับโยมอาจารย์อาบ สมสนิท จนออกพรรษา แล้วสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวงได้นักธรรมตรี ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ ในปี พ.ศ.๒๔๙๓ หลังออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อหล่ำได้ออกเดินธุดงค์ปฏิบัติกรรมฐานไปตามจังหวัดต่างๆ และได้เป็นหัวหน้านำการเดินธุดงค์ มีพระรุ่นพี่รุ่นน้อง พอครบ ๓ เดือน จึงเดินทางกลับวัดบางหญ้าแพรก และได้ พยายามค้นคว้าตำรับตำรายารักษาโรคแผนโบราณบ้าง อักษรขอมบ้าง รวมทั้งเลขยันต์ต่างๆ ซึ่งเป็นของครูบาอาจารย์ในวัดแต่ก่อนๆ ในระหว่างเดินธุดงค์แต่ละปี หลวงปู่หล่ำได้มีโอกาสพบปะครูบาอาจารย์ทั้งฆราวาสและบรรพชิต ได้เรียนวิชากับพระอาจารย์เกลี้ยง (พระครูโสภณวิสุทธิ์) เจ้าอาวาสวัดสุทธิโสภณ จังหวัดศรีษะเกษ เรียนวิชาเวทย์มนตร์คาถาเลขยันต์จากอาจารย์ พาน นนท์ตา อดีตกำนัน ต.ทุ่งสะอาด อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ซึ่งเคยมอบตัวเป็นศิษย์เรียนวิชากับหลวงปู่ ศุข วัดมะขามเฒ่า ขณะที่อาจารย์พาน ยังบวชอยู่ นอกจากนี้หลวงปู่หล่ำ ยังได้มอบตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อครื้น (พระครูโฆสิตธรรมสาร) วัดสังโฆสิตาราม สุพรรณบุรี แต่ไม่ได้พักอยู่จำพรรษากับท่าน เดินทางไปกลับ บางครั้งไม่ได้ค้างคืน บางครั้งก็ค้างคืน

    การฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ นับว่าเป็นเรื่องบังเอิญเกินคาดคิด เมื่อวันหนึ่งหลวงพ่อครื้นกับพระและทายกผู้ติดตามเดินทางมาวัดบางหญ้าแพรก เพื่อเป็นอุปัชฌาย์บวชนาค ซึ่งตอนนั้นท่านเจ้าอาวาสกำลังอาพาธอยู่ หลวงพ่อหล่ำได้จัดที่พักรับรองท่านอย่างดี มีโอกาสเข้าไปกราบท่าน ขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์เรียนวิชาด้วย หลวงพ่อครื้นไม่รับปากเพียงแต่พูดคุยกันตามธรรมดา แต่ก็รู้ว่าถ้อยคำที่พูดคุยกันหลวงพ่อครื้นใช้วาจาล้วงลูกสอบถามและทดสอบพลังจิตแบบไม่ให้รู้ตัว และทดสอบความรู้ที่มีอยู่ในตัวมาแต่ก่อน รู้สึกว่าท่านจะพอใจในวิชาภาษาขอมที่หลวงพ่อหล่ำมีความชำนาญอ่านออกเขียนได้แปลความหมายได้ลึกซึ้ง สมัยก่อนวิชาอาคมต่างๆ ที่บันทึกไว้ในใบลานคัมภีร์ต่างล้วนเป็นอักขระอักษรขอมแทบทั้งสิ้น พอรุ่งเข้าได้มีคนนิมนต์ไปวัดบางพลีใหญ่ใน หรือวัดหลวงพ่อโต อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อหลวงพ่อครื้นเสร็จภารกิจที่จังหวัดสมุทรปราการแล้ว ท่านก็เดินทางกลับวัดสังโฆ บางปลาม้าในวันรุ่งขึ้น

    เหตุการณ์ผ่านไปหลายวัน หลวงพ่อหล่ำแทบลืมเรื่องการเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อครื้นเนื่องจากมัวยุ่งอยู่กับภาระหน้าที่ในวัดบางหญ้าแพรก วันหนึ่งได้มีพระมาพบหลวงพ่อหล่ำบอกว่าหลวงพ่อครื้นให้มาตาม ให้ไปพบท่านที่วัดเป็นการด่วน ไม่บอกว่ามีเรื่องอะไร ท่านก็ไป พอไปถึงเข้าไปกราบสนทนากัน เห็นท่านมีร่างกายอ่อนแอ ด้วยอยู่ในวัยชราภาพมากแล้ว ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นใกล้ค่ำ ท่านพูดอย่างคนกันเองว่า "เฮ้ย ท่านไม่ให้กุอยู่แล้ว" ความหมายในคำพูดของหลวงพ่อครื้นก็คือ ใกล้วาระแห่งการดับขันธ์ของท่านแล้ว ท่านปรารภว่า สอนวิชาให้ใครต่อใครมาก็มาก แต่วิชาตุ๊กแกยังไม่มีใครสืบทอดเลย ไม่ใช่หวงวิชา แต่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่จะเป็นผู้สืบทอดเรียนวิชานี้ยังไม่มี หลวงพ่อครื้นท่านเห็นว่าหลวงพ่อหล่ำเป็นนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มีพลังจิตกล้าแข็ง เหมาะสมที่จะเรียนวิชานี้ได้ จึงสอนวิชาปลุกเสกตุ๊กแกให้ด้วยความเต็มใจ หลวงพ่อครื้นท่านทดสอบให้หลวงพ่อหล่ำภาวนาคาถาตุ๊กแกด้วยสมาธิจิตมั่น จนสามารถให้ตุ๊กแกมาหา มารวมกันให้เท่าที่มีอยู่ในบริเวณนั้น จึงเป็นอันว่าทดสอบผ่าน การลงอักขระ เมื่อสร้างวัตถุชนิดใดก็ตามเป็นรูปแบบตุ๊กแก ให้ลงอักขระ นะวะหอระคุณ และคาถาตวาดหิมพานต์ ลงที่หัวเรื่อยมาถึงหาง ถ้าสร้างตุ๊กแกเป็นเนื้อผงให้ทำผงลบ ปลุกเสกจนสามารถขยับตัวเคลื่อนไหวได้ จึงถูกต้องตามตำรา หากตุ๊กแกขนาดเล็ก ท่านจะปลุกเสกรวมภาวนาคาถา ๑๐๘ เที่ยว จึงเสร็จพิธี ภาพวัดสามัคคีธรรม
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อหล่ำ หลังยันต์พระราหู

    ให้บูชา300บาทค่าจัดส่ง EMS50 บาทครับ

    ลพ.หล่ำ.jpg ลพ.หล่ำหลัง.jpg
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    พระครูอินทวรคุณ หรือหลวงปู่ฤทธิ์ รตนโชโต เจ้าอาวาสวัดชลประทานราชดำริ ต.สูงเนิน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ ยอดพระเกจิอาจารย์แห่งแดนอีสาน ที่มีศิษยานุศิษย์มากมายทั้งในและต่างประเทศให้ความเลื่อมใสศรัทธา

    ประวัติหลวงปู่ฤทธิ์ รตนโชโต ชื่อเดิม ฤทธิ์ ไม้ลึกดี เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2459 ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ ต.ทุ่งมนต์ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 ที่วัดเพชรบุรี
    อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ หลวงปู่ฤทธิ์ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนา ยึดหลักพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระนักอนุรักษ์และพัฒนา ได้ก่อตั้งวัดชลประทานราชดำริ ท่านได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากศิษยานุศิษย์อย่างกว้างขวาง หลวงปู่ฤทธิ์ท่านมรณะภาพด้วยโรคชราอย่างสงบ เมื่อเวลา 04.00 น. ในวันที่ 1 มิถุนายน 2548 สิริรวมอายุได้ 89 ปี พรรษารวม 66 พรรษา

    ทางด้านพระเวทย์วิทยาคม หลวงปู่ฤทธิ์ท่านเป็นพระที่มีบุญญาบารมีและพระเวทย์วิทยาคมสูงอีกท่านหนึ่งแห่งแดนอีสาน วัตถุมงคลที่หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตปลุกเสกล้วนศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังมาก สร้างประสบการณ์ดีๆให้แก่ผู้ที่ใช้บูชามากมาย วัตถุมงคลของท่านทุกประเภทได้รับความนิยมสูง เป็นที่เสาะแสวงหาของผู้ที่รู้ถึงพลังพระเวย์วิทยาคมของหลวงปู่เป็นอย่างมาก

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ





    ลูกอมผงพรายหลวงปู่ฤทธิ์ อ.เปล่งบุญยืนร่วมเสก นื้อว่าน ๑๐๘ ผงพราย ดิน ๗ ป่าช้า ผงยมบาลอ่อนใจ อุดกริ่ง โค๊ด ฤ
    คาถา : โอมละลวย มหาละลวย ละลวยหน้า ละลวยหลัง ละลวยทั้งอินทร์ พรหม ยมราช อากาส เทพบุตร เทพธิดา ละลวยทั้งแม่พระคงคา มาช่วยค้ำคู่สู่องค์ สัพพะสิทธิสวาหะ สวาโหม นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธาเอ็นดู ยะยินดี
    ให้บูชา1,000บาทครับ

    อ.เปล่ง1.JPG อ.เปล่ง2.JPG อ.เปล่ง.JPG
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    วันนี้จัดส่ง
    ED 9850 5526 2 TH บางบัวทอง
    ขอบคุณครับ
     
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    upload_2019-5-20_19-52-38-jpeg.jpg
    หลวงปู่ท่านเป็นพระที่พูดน้อยแบบว่าถามคำตอบคำ ถ้าไม่ถามอะไรท่านก็จะไม่พูด นี่คือหลวงปู่บุญศรี ถ้าพูดถึงวาจาสิทธิ์ หลวงปู่บุญศรีท่านไม่เป็นที่สองรองใคร เรื่องใครเป็นอาจารย์หลวงปู่ก็ไม่มีใครรู้จริง ศิษย์บางสายก็บอกว่าหลวงปู่เป็นศิษย์ “หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก” นี่ก็เป็นเพียงแค่คำกล่าวอ้าง จะจริงหรือไม่จริงก็ไม่มีใครรู้ แต่เท่าที่ผมได้สอบถามศิษย์ใกล้ชิดของหลวงปู่ ศิษย์ใกล้ชิดคนนี้เขาเห็น “รูปหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค” อยู่ที่กุฏิของหลวงปู่ ก็แสดงว่าหลวงปู่บุญศรีต้องมีความเกี่ยวเนื่องกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อย่างแน่นอน ศิษย์ใกล้ชิดคนนี้บอกว่าเท่าที่ดูก็ไม่เห็นมีรูปพระองค์อื่นเลย ผมคิดว่าถ้า หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เป็นอาจารย์ของหลวงปู่บุญศรี (หลวงปู่ฤาษีลิงเล็ก) ก็คงจะพอมีมูล อืม...สรุป หลวงปู่ท่านจะเป็นศิษย์ของใครนั้นไม่สำคัญ แต่สำคัญที่หลวงปู่ไม่ใช่พระธรรมดา เป็นพระที่มีแต่ให้กับลูกศิษย์ลูกหา อยากให้หลวงปู่ช่วยเหลืออะไร “ให้นึกถึงท่าน” แค่นี้พอ......(หลวงปู่ท่านได้พูดไว้).....ให้นึกถึงท่าน ท่านจะคอยช่วยเหลือลูกศิษย์....

    หลวงปู่บุญศรี อินทวัณโณ ท่านไม่เคยพูดว่าท่านเป็นหลวงพ่อฤาษี ลิงเล็ก ท่านอยู่ที่วัดใหม่ศรีสุทธาวาส มานานประมาณ ๔๐ ปี เป็นป่า เป็นวัดร้าง ไม่มีผู้คน แต่เต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิด มากที่สุดคือ งู ท่านสำเร็จอภิญญา ๖ หรือ ฉฬภิญโญ ปี ๒๕๓๕ หลวงพ่อฤาษีลิงดำมรณะภาพท่านก็ไปที่งาน ที่วัดท่าซุง คนตาบอดมองไม่เห็น ท่านมีความชำนาญด้วยอภิญญา แต่คนจิตใจต่ำทราม ไม่มีวาสนาได้พบ ได้เห็น สำหรับข้าพเจ้าแล้ว หลวงพ่้อฤาษีลิงขาว หลวงพ่อฤาษีลิงเล็ก หลวงปู่บุญศรี อินทวัณโณ จะเป็นใครไม่สำคัญ ที่สำคัญ ท่านเป็นพระที่ข้าพเจ้าเคารพบูชา ไม่น้อยไปกว่าหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    หลังจากฉลองพระมหาเจดีย์ทรงดอกพุดตาลของสมเด็จพระพุทธเจ้าองค์ปฐมที่วัดท่าซุง ฉันกับคณะได้ไปพบท่านแม่ชี ประทุม โชติอนันต์ ที่สำนักส่งเสริมปฏิบัติธรรม อ.ปากช่อง ต้นปี2535 ประมาณปลายเดือน มีนาคม ขณะที่ท่านแม่ได้สนทนากับคณะของฉัน มีพี่สาวท่านหนึ่ง ได้พูดคุยเกี่ยวกับพระรูปหนึ่ง ที่จ.จันทบุรี สงเคาระห์ท่านเกี่ยวกับการรักษาโรค แต่ฉันจะไม่อธิบายเกรงจะยาวไป ท่านแม่ถามว่า เธอรู้ไหมว่าพระรูปนั้นเป็นใคร แล้วท่านก็บอกว่านั่นแหละหลวงพ่อฤๅษีลิงขาวนะ จะเล่าตัดตอนเลยก็แล้วกัน ท่านแม่เล่าต่อว่า ครั้งหนึ่งท่านได้ไปกราบพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานของพวกเรา ท่านกล่าวกับพระเดชพระคุณหลวงพ่อว่า.....หลวงพ่อเจ้าค่ะ หลวงพ่อโยมก็กราบแล้ว หลวงพ่อฤๅษีลิงขาวโยมก็กราบแล้ว เหลืออีกองค์หนึ่ง โยมยังไม่ได้กราบ โยมขอไปกราบเจ้าค่ะ โยมจะไม่รบกวนอะไรเจ้าค่ะ พระเดชพระคุณหลวงนิ่งไปหน่อยหนึ่ง แล้วท่านก็ตอบกับท่านแม่มาว่า ที่พยุหะคีรี ฝั่งโกรกพระ จะมีวัดอยู่สามวัด จะมีอยู่วัดหนึ่งมีพระแก่อยู่องค์เดียว ให้ไปหา ให้เรียกว่า " หลวงตาเล็ก " อย่าไปถามอะไรเกี่ยวกับหลวงพ่อปานทั้งหมด เค้าจะไม่ตอบ แล้วอย่าไปรบกวนอะไรเค้าๆจะหนีเสีย นี่คือคำกล่าวของท่านแม่ชีประทุม โชติอนันต์ผู้บริสุทธิ์ของฉัน และพวกเราลูกหลานก็ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ที่ได้สั่งท่านแม่มาอย่างเคร่งครัด หวังใจเหลือเกินว่า ข้อความนี้จะยังความกระจ่างแจ้งในกมลของท่าน ขอโมทนาบุญกับท่านด้วย ที่ท่านเคารพหลวงตาเล็ก

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่บุญศรี ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลป.บุญศรี.jpg ลป.บุญศรีหลัง.jpg

    รูปหล่อหลวงปู่บุญศรี ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลป.บุญศรี1.jpg ลป.บุญศรี1หลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2019
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    ประวัติ หลวงปู่ตี๋ (พระครูอุทัยธรรมกิจ) ญาณโสภโณ วัดหลวงราชาวาส

    budd638_1.jpg

    "พระครูอุทัยธรรมกิจ" หรือ "หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ" อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองอุทัยธานี ศิษย์สายธรรม หลวงพ่อพูน วัดหนองตางู และ หลวงพ่อพุฒ วัดทุ่งแก้ว

    วัตถุมงคลของหลวงปู่ตี๋ ที่สร้างขึ้นมาแต่ ละรุ่น มีความคิดโดดเด่นในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเมตตามหานิยม โชคลาภ และอยู่ยงคง กระพัน จึงเป็นที่นิยมเสาะหาของนักสะสมโดยทั่วไป

    ชาติภูมิ หลวงปู่ตี๋ เป็นชาวอุทัยธานีโดยกำเนิด เกิดที่ ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2455 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีชวด มีนามเดิมว่า ตี๋ แซ่ตั้ง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 6 คน โยมบิดา-มารดา ชื่อนายก้าง และนางเหล็ง แซ่ตั้ง ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย

    ในช่วงวัยเยาว์ ด.ช.ตี๋ ได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนอุทัยทวีเวทย์ จ.อุทัยธานี จนจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3 หลังจากเข้ารับการตรวจเลือกรับราชการทหาร ปรากฏว่าไม่ถูกคัดเกณฑ์

    หลังจากนั้น ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 16 กรกฎา คม 2476 ณ พัทธสีมาวัดธรรมโฆษก (โรงโค) โดยมีพระสุนทรมุณี (หลวงพ่อฮวด) วัดพิชัยปุรณาราม เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดโชติ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระใบฎีกาทิม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ญาณโสภโณ มีความหมายว่า ผู้มีจิตอันงดงาม

    เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดธรรมโฆษก ต่อมาเมื่อเกิดไฟไหม้ตลาดอุทัยธานีครั้งใหญ่ ได้ไปอยู่กับหลวงพ่อพูนที่วัดหนองตางู เป็นเวลา 2 พรรษา ได้ศึกษาวิทยาคม จนกระทั่งหลวงพ่อพูน มรณภาพลงในปี พ.ศ.2480 จึงได้กลับมาอยู่ที่วัดธรรมโฆษกอีกครั้ง

    ในปี พ.ศ.2497 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหลวงราชาวาส พ.ศ.2501 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส และได้รับแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมของพระราชอุทัยกวี (พุฒ) เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เจ้าอาวาสวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม (วัดทุ่งแก้ว) พระอารามหลวง

    พ.ศ.2517 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ที่ พระครูอุทัยธรรมกิจ

    นอกจากได้รับการถ่ายทอดการฝึกจิตวิชาแพทย์แผนโบราณ รวมทั้งวิทยาคมด้านอื่น จากหลวงพ่อพูน วัดหนองตางู จ.อุทัยธานี หลวงปู่ตี๋ยังได้ศึกษาจากตำราสมุดข่อยโบราณของหลวงพ่อแป้น อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส เกี่ยวกับยันต์เทพรัญจวน เป็นยันต์เดียวกับที่จารลงในตะกรุดโทน ซึ่งหลวงพ่อป๊อก อดีตเจ้าอาวาสวัดอุโป สถารามใช้อยู่เป็นประจำ

    ท่านจึงได้ให้ช่างหลี เป็นช่างตัดผมในตลาดอุทัยธานี สักยันต์เทพรัญจวนที่ตัวของท่านที่อกและหลังเป็นที่ระลึกกับหลวงพ่อแป้น และเห็นว่าเป็นยันต์โบราณที่ใช้สืบทอดกันมา ท่านยังได้รับการถ่ายทอดต่อจากพระราชอุทัยกวี หรือท่านเจ้าคุณพุฒ วัดทุ่งแก้ว

    ด้วยความสมถะและถือสันโดษมาตลอดระยะเวลาในชีวิตสมณเพศของหลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ หรือพระครูอุทัยธรรมกิจ ท่านชอบศึกษาหาความรู้และอยู่อย่างเงียบๆ มีวัตถุปฏิบัติที่เรียบง่าย ยึดมั่นในศีลาจารวัตร เคร่งครัดในพระธรรมวินัย

    แม้ท่านจะมีชื่อเสียงในเรื่องของการสร้างวัตถุมงคลที่เป็นที่นิยมสะสมกันในวงการพระเครื่อง แต่ท่านก็ยึดคำโบราณที่ว่า "ฆ้องดังเองไม่มีคนตี เรียกว่า ฆ้องอัปรีย์ ฆ้องที่ดีต้องมีคนตีถึงจะดัง"

    วัตถุมงคลของท่านไม่ว่าจะเป็นเสือพุทธาคม ตะกรุดเทพรัญจวน เหรียญและรูปหล่อ สร้างขึ้นมาด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ประกอบการปลุกเสกเดี่ยวและใช้เวลายาวนานตลอดไตรมาส หรือ 3 เดือนเป็นส่วนใหญ่ จึงบังเกิดความ เข้มขลังในพุทธคุณ จนเป็นที่เล่าลือโจษขานกันมากมาย

    วันที่ 1 มีนาคม 2546 เวลา 11.57 น. หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ ได้ละสังขารลงด้วยอาการสงบ สิริอายุ 91 ปี พรรษา 71 ถือเป็นความสูญเสียของวงการสงฆ์เมืองอุทัยธานีอย่างแท้จริง ด้วยหลวงปู่ตี๋เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

    ปัจจุบัน สังขารอันบริสุทธิ์ของท่านยังคงนอนสงบนิ่งภายในโลงแก้วอันโปร่งใส ณ วัดหลวงราชาวาส ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่ศรัทธา ตลอดจนบรรดาศิษยานุศิษย์ได้กราบไหว้สักการะ
    เหลือปรากฏไว้แต่เพียงคุณงามความดีเพียงเท่านั้น

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญรุ่น๔หลวงพ่อตี๋ วัดหลวงราชาวาส อุทัยธานี ปี ๒๕๓๕ ที่ระลึกในงานทอดกฐิน กรมการรักษาดินแดน สร้าง 2000 เหรียญครับ มี4เหรียญ สวยเดิมๆเก่าเก็บทุกเหรียญครับ
    ให้บุชาเหรียญละ 200 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    ลป.ตี๋.jpg ลป.ตี๋หลัง.jpg
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    3308618-5.jpg

    หลวงพ่อน้อย วัดหนองโพ เป็นศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้รับวิชาถ่ายทอดมาจนเจนจบยิ่งกว่าใครเพราะรับใช้ใกล้ชิดอยู่นานจนหลวงพ่อเดิมมรณภาพ

    หลวงพ่อน้อย รูปนี้ถ้าพี่น้องติดตามข้อมูลเกี่ยวกับวัดหนองโพแล้ว ก็จะทราบกันดีว่า "นี่แหล่ะทายาทต้นกุฎิของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ" ว่ากันว่าก่อนหลวงพ่อเดิมมรณภาพ ท่านฝากฝังวัดไว้กับหลวงพ่อน้อย และได้บอกคณะกรรมการวัดให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว ซึ่งหลวงพ่อน้อยก็สามารถพัฒนาวัดให้มีความเจริญอย่างต่อเนื่องจวบจวนท่านมรณภาพ

    หลวงพ่อน้อย วัดหนองโพ ศิษย์เอก ลพ.เดิม หลวงพ่อน้อย เกจิชื่อดังผู้สืบทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อเดิม เทพเจ้าแห่งวัดหนองโพธิ์ รูปหล่อหลวงพ่อเดิมที่ราคาองค์ละเป็นแสนนั้นผู้ที่ลงจารคือหลวงพ่อน้อยองค์ นี้เองครับ

    ท่านเป็นศิษย์และหลานชาย แท้ๆ ของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ..และ เป็นอดีตเจ้าอาวาส รูปต่อมาจาก หลวงพ่อเดิม ที่ได้ครองวัดหนองโพ...ได้รับสืบทอด ร่ำเรียนวิชาต่างๆจากหลวงพ่อเดิมมาทั้งหมด
    รวมทั้งยุคท้ายๆของหลวงพ่อ เดิมซึ่งท่านชราภาพมากแล้ว หลวงพ่อน้อยนี่แหละครับที่ลงเหล็กจารวัตถุมงคลต่างๆ แทนหลวงพ่อเดิม โดยเฉพาะยันต์พุฒซ้อน เอกลักษณ์หลวงพ่อเดิม

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงพ่อน้อย วัดหนองโพสภาพสวยเดิมๆ ผิวรุ้งแบบที่เขาเรียกๆกัน ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ
    ลพ.น้อย.jpg ลพ.น้อยหลัง.jpg
     
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    https://palungjit.org/threads/ท่านใ...ู่จันทร์-วัดป่าข่อย-จ-สุโขทัยมั่งครับ.316192/

    cr4_7878-jpg.jpg
    ประวัติย่อ
    พระครูจันทโรภาส

    สถานะเดิม
    พระครูจันทโรภาส ชื่อเดิม นายจันทร์ นิ่มนุ่ม เกิดที่บ้านวังวน ตำบลวังไม้ขอน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๕ บิดาชื่อม่วง มารดาชื่อ ดอกไม้ ปู่ชื่อนิ่ม ย่าชื่อนุ่ม จึงใช้นามสกุลว่า
    นิ่มนุ่ม มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๑๑ คน

    การศึกษา
    เมื่ออายุควรแก่การศึกษาเล่าเรียน บิดาซึ่งมีอาชีพทำนาได้ส่งท่านไปเรียนหนังสือไทย หนังสือขอม เลขผานาที และเรียนพระธรรมที่เรียกว่า มูลกัจจายนสูตร กับพระสงฆ์ที่มาจากทางภาคใต้ชื่อว่า พระอาจารย์เปลี่ยน จนจบสี่ผูก หลังจากนั้น ท่านก็ไปเรียนต่อที่โรงเรียนสวรรค์วิทยาซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยาในปัจจุบันนี้ จนจบมูลบท ๑-๒-๓ และจบเลข

    บรรพชาอุปสมบท
    อุปสมบท เมื่ออายุ ๒๓ ปี ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๗ วัดอนงคาราม ตำบลบ้านสมเด็จ อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี โดยมี สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระมหาเชื้อ ป.ธ.๕ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาทองดี ป.ธ. ๖ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ได้รับฉายาว่า จนฺทโร หลังจากนั้น ก็ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดอนงคาราม
    เมื่อท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดอนงคารามได้ระยะหนึ่ง เจ้าคณะมลฑลได้ส่งท่านกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าข่อย อำเภอสวรรคโลก เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐
    วัดป่าข่อย ต.เมืองสวรรคโลก อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย มี “หลวงปู่จันทร์”อดีตเจ้าอาวาสเป็นพระเกจิอาคมขลังชื่อเสียงโด่งดังเกิดในแผ่นดินรัชกาลที่ 5 และมรณภาพในรัชกาลที่ 9 สิริรวมอายุ 104 ปี แม้ว่าจะมรณภาพมานานถึง 12 ปีแล้ว แต่ทว่าสรีระสังขารกลับไม่เน่าเปื่อย และมีเส้นผมขึ้นยาวบนศีรษะ
    พระมหาสกุล โกสโล เจ้าอาวาสวัดป่าข่อยและเจ้าคณะตำบลวังพิณพาทย์ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า “หลวงปู่จันทร์” หรือนายจันทร์ นิ่มนุ่ม ชาวสวรรคโลก เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2445 อุปสมบทที่วัดอนงคารามฯ กรุงเทพฯ
    โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “จนฺทโร” ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดอนงคารามฯ และฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชาอาคมกับ “หลวงปู่ศุข” วัดปากคลองมะขามเฒ่าจ.ชัยนาท และ“หลวงพ่อปาน” วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งได้ศึกษาวิชาโหราศาสตร์จากโหรหลวง ก่อนมาเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าข่อยในปี พ.ศ. 2470 ต่อมา ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ราชทินนามว่า “พระครูจันทโรภาส” และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลวังไม้ขอน ก่อนท่านจะมรณภาพเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2548 สิริรวมอายุ 104 ปี โดยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสยาวนานถึง 78 ปี
    เมื่อครั้งช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ส่งตัวแทนมานิมนต์ “หลวงปู่จันทร์”วัดป่าข่อย จ.สุโขทัย พร้อมกับ “หลวงพ่อจง” วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา และ “หลวงพ่อจาด”วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี ให้ขึ้นไปนั่งบนเครื่องบินโปรยทรายเสกคาถาลงมา เพื่อป้องกันภยันตรายให้แก่บ้านเมือง ปัจจุบัน “หลวงปู่จันทร์” แม้ว่าท่านจะมรณภาพมานานถึง 12 ปีแล้ว แต่คุณงามความดีและวัตรปฏิบัติอันงดงามยังคงอยู่ อีกทั้งสรีระสังขารก็ไม่เน่าเปื่อย สร้างความอัศจรรย์ใจแก่ประชาชนและบรรดาสานุศิษย์อย่างมาก จึงมีการเก็บรักษาร่างของท่านไว้ในโลงแก้ว ตั้งในศาลาจตุรมุข “หลวงปู่จันทโรภาส” วัดป่าข่อยต.เมืองสวรรคโลก อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้ขอพร พร้อมเก็บรักษารถยนต์โบราณของหลวงปู่จันทร์ให้คนรุ่นหลังได้ชมอีกด้วย
    ทั้งนี้ “หลวงปู่จันทร์” นอกจากจะเป็นพระสุปฏิปันโน มีเวทมนต์คาถาอาคมขลัง ชื่อเสียงโด่งดังแล้ว ท่านยังมีความรู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคด้วยสมุนไพรไทยอีกด้วย ทำให้วัดป่าข่อยได้รับอนุญาตจัดตั้งเป็นสำนักพยาบาล
    สำหรับ“วัดป่าข่อย” สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2397 เดิมชื่อ “วัดโคกขี้แร้ง” ต่อมาสมัยหลวงพ่อจอม (คร้าย) ซึ่งเป็นพระของเจ้าจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 4 มาอยู่ที่วัดแห่งนี้ ก็ได้ทำการบูรณะก่อสร้างวัด เปิดสอนหนังสือไทย
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญกรมหลวงชุมพรหลังหลวงปู่จันทร์ สภาพสวยเดิม ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลป.จันทร์.jpg ลป.จันทร์หลัง.jpg
     
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    95-1.jpg
    ประวัติหลวงพ่อ
    หลวงพ่อคำ ชาตสุโข พื้นเพเป็นชาวจังหวัดอ่างทอง เกิดเมื่อวันอังคาร เดือนสาม(กุมภาพันธ์) ปีมะเส็ง พุทธศักราช 2436 เป็นบุตรของคุณพ่อแสง แสงศรี และคุณแม่กลิ่น แสงศรีครอบครัวของท่านประกอบอาชีพทำนามาแต่เดิม มีพี่น้องร่วมกัน 5 คนคือ 1.นางขลิบ 2.นางเล็ก 3.นายหาด 4.นางหนู 5. คือหลวงพ่อคำ ซึ่งท่านเป็นคนสุดท้อง ต่อมาโยมพ่อของหลวงพ่อได้ออกบวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวัน อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ส่วนท่านเองก็ได้เป็นลูกศิษย์วัดปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อท่านมาตั้งแต่อายุ ได้ 8 ขวบ วันหนึ่งหลวงพ่อของท่านเตรียมอัฐบริขารเพื่อออกธุดงค์ ก่อนไปหลวงพ่อของท่านได้บอกกับท่านว่า “พ่อไปนะลูก” สิ้นคำเท่านั้นแล้วหลวงพ่อของท่านก็เดินดุ่มลงกุฏิ ท่านถามหลวงพ่อของท่านว่า “หลวงพ่อจะไปไหน” หลวงพ่อของท่านไม่ตอบยังคงมุ่งหน้าเดินออกจากวัดไป ท่านวิ่งตามและตะโกนถามซ้ำแล้วซ้ำเล่า สุดท้ายหลวงพ่อของท่านจึงหันมาพูดว่า “ถ้าพ่อไม่เจออาจารย์ดี พ่อจะกลับมาภายใน 1ปี แต่ถ้าพ่อเจออาจารย์ดี ก็อย่าคอยพ่อเลยนะลูก” แล้วท่านก็เดินออกจากวัดไปโดยไม่หันกลับมาอีกเลย
    เมื่อหลวงพ่อคำโตเป็นหนุ่ม จึงได้ข่าวว่า บิดาของท่านรุกขมูลไปอยู่ถ้ำ ทางภาคเหนือชื่อบ้านสระหนองแว้ง บิดาของท่านนอนอาพาธอยู่คนเดียวในถ้ำแต่บ้างก็ว่านอนอาพาธอยู่กลางป่าสัก ชาวบ้านไปพบเข้าจึงนำท่านมารักษาตัวที่วัดอ้อมแก้ว อ.สวรรคโลก จนกระทั่งมรณภาพ ก่อนมรณภาพชาวบ้านได้สอบถาม ชื่อ นามสกุล และชื่อญาติพี่น้องของท่านไว้ หลวงพ่อคำจึงทราบข่าวได้ในภายหลัง
    ครั้งหนึ่งแม่ของหลวงพ่อคำ จะไปขอผู้หญิงมาเป็นภรรยาให้ท่าน แต่หลวงพ่อแอบไปได้ยินผู้หญิงคนนั้นใช้คำพูดรุนแรงขึ้นเสียงกับแม่ของตนเอง หลวงพ่อคำจึงบอกกับแม่ของท่านว่า “หญิงคนนี้ไม่ดี อย่าได้เอามาเป็นเมียเลย” ด้วยอุปนิสัยโน้มเอียงไปสู่การถือเพศพรหมจรรย์ ท่านก็เลยไม่มีภรรยาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    หลังจากบิดาของหลวงพ่อออกรุกขมูลแล้วหายสาบสูญไป หลวงพ่อคำได้ทำหน้าที่ของความเป็นบุตรผู้รู้กตัญญูกตเวทิตาคุณ ปรนนิบัติเลี้ยงดูผู้เป็นแม่มาโดยตลอด จนกระทั่งแม่ของหลวงพ่อถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 82 ปี ขณะนั้นหลวงพ่ออายุ 41 ปี ท่านได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาคุณครั้งสำคัญอีกครั้งโดยการโกนหัวบวชเณร หน้าไฟให้แก่แม่ของท่านที่วัดขุมทรัพย์ อ.เมือง จ.อุทัยธานี แล้วได้ไปหาอาจารย์บุตร ให้พาไปบวชพระที่วัดใหญ่ ต.ท่าฉนวน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท โดยมีหลวงพ่อปั้น วัดหาดทะนง เป็นพระอุปัชฌาย์ในปี 2482 หลังอุปสมบทแล้วท่านได้ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อทิมวัดบ้านบน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะ จ.นครสวรรค์
    ต่อมาในปี 2475 หลวงพ่อได้ออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือมุ่งหน้าเข้าสู่ประเทศพม่าเพื่อเสาะหา ศึกษาวิทยาความรู้ต่างๆ และกระทำบำเพ็ญความเพียรทางจิตอย่างจริงจัง
    ประมาณปี 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบ ท่านได้กลับมาจำพรรษาปรนนิบัติรับใช้ หลวงพ่อทิม วัดบ้านบน ผู้เป็นอาจารย์ตามเดิม
    และในปีเดียวกันนั้นเองได้มีผู้ใจบุญผู้หนึ่งชื่อนายรัตน์ นุ่มทองคำ ได้มานิมนต์หลวงพ่อให้ไปช่วยสร้างวัดหัวทะเล ต.น้ำทรง อ.พยุหะ จ.นครสวรรค์
    ที่ดินของวัดหัวทะเล เดิมเป็นที่ของนายถนอม นุ่มทองคำ ซึ่งเป็นพี่ชายของนายรัตน์ นุ่มทองคำ มีเนื้อที่ 10 ไร่ 1งาน แต่เดิมนั้นเป็นพื้นที่รกร้างเต็มไปด้วยป่าหญ้าคาและป่ายางหนาทึบจนแดดส่อง ไม่ถึง หลวงพ่อและลุงรัตน์ ได้เป็นกำลังสำคัญในการชักชวนชาวบ้านบ้าง พระจากวัดบ้านบนบ้าง ร่วมกันหักร้างถางพงบุกเบิกพื้นที่จนเป็นพื้นที่โล่งเตียน หลังจากนั้นลุงรัตน์จึงเริ่มนำวัตถุมงคลของหลวงพ่อคำ บอกหาเงินสร้างกุฏิถวายหลวงพ่อไว้จำพรรษาได้ 1 หลัง และต่อมาลุงรัตน์ก็ยังได้นำวัตถุมงคลของหลวงพ่อบอกบุญหาเงินเพื่อสร้าง ศาสนสถาน ศาสนวัตถุต่างๆขึ้นมา จนกระทั่งมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอย่างคาดไม่ถึง ทั้งนี้ก็ด้วยอำนาจบุญญาบารมีและความศักดิ์สิทธิ์ในองค์หลวงพ่อและวัตถุมงคล ของท่านโดยแท้ (หากพิจารณาตามนี้จึงจะพอสันนิษฐานได้ว่าได้มีการริเริ่มสร้างวัตถุมงคลขึ้น มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2489 – 2490 เรื่อยมาตามลำดับ )

    บุคลิกของหลวงพ่อนั้นหากมองจากหน้าตาท่าทางท่านดูเหมือนท่านจะเป็นคนดุ แต่แท้ที่จริงแล้วหลวงพ่อท่านมีอุปนิสัยอ่อนโยน เยือกเย็น มีอัธยาศัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สร้างความเชื่อถือศรัทธาและความซาบซึ้งตรึงใจ ให้กับผู้ที่เข้าไปพบปะกราบไหว้ได้อย่างดียิ่ง มีคุณลุงท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่าสมัยหลวงพ่อมีชีวิตอยู่แกไปกราบหลวงพ่อซึ่ง เป็นเวลาที่ค่อนข้างดึกแล้ว แต่หลวงพ่อท่านก็ยังกล่าวทักทายต้อนรับขับสู้เป็นอย่างดีมิได้บ่ายเบี่ยง ด้วยเรื่องเวลาแต่อย่างไร และที่สำคัญหลวงพ่อท่านยังมีน้ำใจชงโอวัลตินให้ลุงดื่มด้วยตัวท่านเอง สร้างความปลาบปลื้มปีติใจให้แก่คุณลุงยิ่งนัก ใครมาใครไปท่านจะบอกให้ทานนู่นทานนี่เท่าที่จะมีอยู่ใกล้ๆตัวท่านอยู่เป็น ประจำ ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆในกุฏิท่านใครจะขอเอาไปใช้ทำประโยชน์อย่างไรท่านให้ โดยที่ไม่มีแสดงอาการห่วงหวงเลย ท่านมีอัธยาศัยต้อนรับขับสู้เสมอภาคกันหมดไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ไม่แบ่งยศถาบรรดาศักดิ์ ท่านจะทรงไว้ซึ่งพรหมวิหารธรรมอยู่เป็นนิจ และองค์ท่านก็มีจิตวิทยาในการโน้มน้าวจูงใจคนสูง ใครจะมีอุปนิสัยมาอย่างไร ท่านก็คุยเข้ากันได้กับทุกอุปนิสัย ท่านเข้าใจสนทนาหว่านล้อมจนกระทั่งสุดท้ายก็ต้องยอมลงให้แก่ท่าน ท่านก็ได้โอกาสสอดแทรกธรรมมะ หรือคติเตือนใจเข้าไปได้ ญาติโยมเข้ามาหาเครื่องรางของขลัง ท่านก็มักจะสอนให้ปฏิบัติที่ตัวเองมากกว่า เช่นมาหานางกวัก ท่านก็ว่า “จะมาหานางกวักอะไรที่นี่หล่ะ ไปหานางกวักที่บ้านซิดีกว่าเยอะ”โยมก็ไม่เข้าใจว่านางกวักจะมีที่บ้านของเขา ได้อย่างไรก็เลยถามหลวงพ่อว่านางกวักที่บ้านเป็นยังไง หลวงพ่อท่านก็เฉลยให้ฟังว่า “ก็หัวจอบซิจ๊ะ ยิ่งใช้เท่าไรก็ยิ่งรวยเท่านั้น” แม้แต่เรื่องทำบุญท่านก็ว่า “บุญน่ะไม่ใช่จะมาทำที่วัดกันอย่างเดียว กลับไปก็ต้องไปทำที่บ้านด้วย ขยัน อดทน ประหยัด ไม่สุรุ่ยสุร่าย ขยันให้เป็นหลัก ยกตัวอย่างโยมขยันทำนาได้ข้าวมาก ชาวบ้านเขาก็ว่า เอ้อ..ปีนี้มันได้ข้าวเยอะบุญของมันเน๊อะ นี่ไงเล่าบุญ” และโดยเฉพาะเด็กๆท่านจะเอ็นดูมากถ้าท่านเห็น ท่านก็มักจะเรียกมาแจกพระบ้าง แจกขนมนมเนยบ้าง สังเกตได้ว่าเหรียญของท่านจะทำเป็นเหรียญเล็กๆขนาดกะทัดรัดสำหรับคล้องคอ เด็กๆได้เหมาะสม และเหรียญของท่านก็สร้างปาฏิหาริย์ให้กับเด็กๆมามากต่อมากด้วยเช่นกัน ในคอเด็กๆในละแวกนั้นส่วนใหญ่จะมีเหรียญหรือไม่ก็ล๊อคเก๊ตของท่านเกือบทุกคน เด็กๆก็รักและเคารพนับถือท่านมาก บ้างก็ไปปัดกวาดเช็ดถู บ้างก็ไปบีบนวดให้ท่านท่านก็ได้โอกาสอบรมสั่งสอนคุณธรรมให้แก่เด็กๆไปในตัว



    ในสมัยที่ท่านอยู่พวกหมา พวกไก่ใครมาปล่อยไว้หรือพัดหลงมาเองท่านก็มีเมตตารับเลี้ยงไว้หมด คำพูดคำจาของท่านออกจะนุ่มนวลและเป็นกันเองตามแบบฉบับลูกทุ่งโดยแท้ ไม่ว่าเหตุการณ์จะดีร้ายอย่างไร ท่านจะว่า “ ดีจ๊ะดี ” หมด เคยมีโยมท่านหนึ่งมาบอกหลวงพ่อว่าไฟไหม้บ้านเขา หลวงพ่อก็บอกว่า “ไฟไหม้ก็ดีซิจ๊ะ ก็จะได้บ้านใหม่ล่ะซิหว่า” น้ำท่วมอ้อยท่วมข้าวท่านก็ว่าดี “น้ำท่วมก็ดีซิจ๊ะ ก็จะได้ไม่ต้องไปเสียเวลาดูแลมันอีกไงล่ะ” อย่างนี้เป็นต้น เรื่องขันติธรรมท่านก็เป็นหนึ่งตลอดอายุสังขารในเวลาที่ท่านเจ็บป่วย ท่านไม่เคยออกปากขอความช่วยเหลือจากใคร และไม่เคยแสดงอาการให้ใครเห็น เคยมีลูกศิษย์จะพาไปหาหมอ ท่านไม่ยอมไป ท่านว่าของท่านว่า “เป็นเองก็หายเองซิหว่า” ในด้านการขบฉัน ด้วยนิสสัยของพระปฏิบัติที่เคยถือธุดงค์เป็นวัตรทำให้ท่านมีปกติที่จะฉันแบบ เอกา คือการฉันในบาตรแต่อย่างเดียวไม่ใช้ภาชนะอื่น และฉันมื้อเดียว แต่เพื่อไม่ให้ขัดศรัทธาญาติโยมท่านก็ผ่อนปรนลงบ้างในกรณีที่มีกิจนิมนต์ฉัน เพลท่านก็สามารถฉลองศรัทธาได้ไม่ให้เสียกำลังใจญาติโยม เวลาท่านออกบิณฑบาต ท่านจะมีบาตรของท่านติดตัวไปเพียงใบเดียวเท่านั้น ใครจะใส่หวาน ใส่คาว ก็เทใส่รวมลงไปในนั้น บางคนหวังดีไม่อยากให้กับข้าวปนกันเกรงว่าท่านจะฉันไม่ได้รส พอท่านรับบิณฑบาตแล้วลับหลังท่านก็แก้ถุงออกแล้วเทรวมลงไปตามเดิม ท่านบอกของท่านว่า “ อย่างนี้ฉันง่ายดีจ๊ะ ไม่ต้องไปคลุกเคล้า เดี๋ยวก็ลงไปเคล้ากันในท้องอยู่ดีแหละจ๊ะ” เส้นทางที่ท่านใช้บิณฑบาตก็แปลกเช่นกันพอได้เวลาสักประมาณ 4 -5 เย็นท่านจะพาพระลูกวัดปัดกวาดทำความสะอาดทุกวันตั้งแต่ออกจากวัดจนกระทั่ง สุดเส้นทางบิณฑบาตทั้งขาไปและขากลับอยู่เป็นประจำ ท่านเป็นพระขยัน นอกเสียจากเวลาปฏิบัติของท่านแล้ว ท่านมักจะทำนู่นทำนี่อยู่เสมอ กว่าจะเข้ากุฏิจำวัดได้ก็ค่อนข้างดึกบางคราวท่านก็นั่งปฏิบัติทั้งคืน หากจำวัดท่านก็ตื่นแต่เช้าประมาณตี 3 ทำกิจวัตรส่วนตัวทำวัตรสวดมนต์ตามปกติของท่าน สักประมาณตี 4 ท่านก็จะออกปัดกวาดบริเวณวัด พระลูกวัดรูปไหนยังไม่ตื่นท่านก็ไม่ดุไม่ว่าแต่ท่านจะไปเที่ยวกวาดอยู่ใน บริเวณใกล้ๆกุฏิของพระรูปนั้นนั่นเอง นับว่าเป็นอุบายวิธีที่แยบคาย การจำวัดของท่านท่านจะจำวัดในท่าสีหไสยาสน์เสมอ จะเห็นได้จากรูปอิริยาบถต่างๆของท่านที่วัดสุวรรณรัตนาราม และด้วยปฏิปทาจริยาวัตรที่ท่านถือปฏิบัติบ่มเพาะบำเพ็ญเพียรมาอย่างอุกฤษฏ์ นี้เอง จึงเป็นผลให้วัตถุมงคลของท่านทรงอานุภาพศักด์สิทธิ์ แม้แค่เสกเป่าเพียงพ่วงเดียวก็ก่อให้เกิดความเข้มขลังมีประสบการณ์เป็นพยาน ยืนยันมาหลายต่อหลายราย เมื่อจิตของท่านยังทรงกำลังฌานอยู่ ท่านจะกำหนดที่อะไรกะแสจิตก็ยิ่งไวต่อสิ่งนั้น ดังที่ชาวบ้านเกรงบารมีท่านกันนักหนาในเรื่องวาจาสิทธิ์ของท่าน ท่านพูดอย่างไรย่อมเป็นไปอย่างนั้นไม่มีพลาดเลย ยกตัวอย่าง ท่านเห็นญาติโยมที่กราบลากลับไปขึ้นรถกันหมดแล้วแต่ยังไม่ทันได้สตาร์ท เครื่อง ท่านจึงทักว่า “ เอ้า..มันยังไม่ไปกันหรือหว่าน่ะ” ทีนี้เองเจ้าของรถจะสตาร์ทรถอย่างไรก็ไม่ติด พอท่านเห็นท่าไม่ค่อยดีท่านจึงกล่าวว่า “เออ..ไปกันได้แล้ว” เท่านั้นแหละรถก็สตาร์ทติดชึ่ง ได้อย่างง่ายดาย ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เล่ากันว่าหากไม่ขออนุญาตท่านแล้วจะถ่ายรูปท่าน อย่างไรก็ถ่ายไม่ติด การล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สร้างความพิศวงงงงวยให้ กับบุคคลใกล้ชิดอยู่เสมอ เช่น เรื่องของคุณหมอในตลาดพยุหะท่านหนึ่งมากราบหลวงพ่อเมื่อเสร็จธุระแล้วก่อน กลับคุณหมอก็กราบขอพรหลวงพ่อ แต่คราวนี้แทนที่หลวงพ่อจะให้พรตามปกติ หลวงพ่อกลับกล่าวทักขึ้นมาว่า เออ..ไปเถอะอย่างหมอเนี่ยถึงชนกันก็ไม่ตาย คุณหมอก็งงๆกับพรของหลวงพ่อเช่นกัน แต่เมื่อขับรถมาถึงสี่แยกพยุหะปรากฏว่ามีรถวิ่งเข้ามาชนรถคุณหมอจริงๆ สภาพรถยับเยินแต่คุณหมอไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างไร



    ในเรื่องโชคลาภนั้นมีอยู่มากมายเช่นกัน อย่างเช่นคราวหนึ่งเมื่อนายโย มากราบหลวงพ่อแต่การกราบคราวนี้ต่างจากการเข้ามากราบทุกๆครั้ง เนื่องจากเมื่อนายโยก้มกราบหลวงพ่อแล้ว หลวงพ่อกลับใช้เท้าเหยียบลงไปบนหัวของนายโย สร้างความประหลาดใจให้กับนายโยเป็นอย่างมาก และในงวดนั้นนั่นเองปรากฏว่านายโยถูกล๊อตตารี่รางวัลที่ 1 อย่างไม่คาดคิด คราวนี้เองนายโยจึงเข้าใจพระคุณรอยเท้าหลวงพ่อที่ประทับลงมาบนศรีษะว่ามี ความหมายและเป็นศิริมงคลต่อตนอย่างไร
    มีโยมคนหนึ่งมาขอหวยจากหลวงพ่อ แต่หลวงพ่อก็ปฏิเสธบ่ายเบี่ยงว่าท่านไม่รู้หรอกว่าหวยมันจะออกเลขอะไรถ้า อยากรู้ก็ให้ไปถามกองสลากกินแบ่งโน่น โยมบอกว่าไปไม่ถูกแต่เขาได้เลข 82 มาจากหลวงพ่ออื่น หลวงพ่อก็เลยควักแบงค์ 20 ฝากโยมซื้อหวยเลขนั้นด้วย “งั้นข้าฝากซื้อ 20 นะ” ชาวบ้านเห็นหลวงพ่อซื้อเลข 82 ก็พากันซื้อเลข 82 กันยกใหญ่ ปรากฏว่าหวยงวดนั้นออก 20 ชาวบ้านได้ยินแล้วหงายท้องตามๆกันที่สำคัญความหมายของหลวงพ่อผิด
    คุณลุงอีกท่านบ้านอยู่ทางวัดดงขวาง จ.อุทัยธานีเล่าว่า ตอนแกบวชแกไปสึกกับหลวงพ่อคำ(แกเล่าว่าตอนนั้นหลวงพ่ออยู่ที่วัดอีเติ่ง) แกแลเห็นกุฏิหลวงพ่อจุดเทียนสว่างจนดึกจนดื่นด้วยความสงสัยแกจึงแอบดู ปรากฏว่าหลวงพ่อท่านนั่งสมาธิตลอดทั้งคืน เมื่อตอนหัวค่ำหลังจากที่พระลูกวัดแยกย้ายกันไปจำวัดแล้วแกก็เห็นหลวงพ่อ เดินไปเดินมา เหมือนกับเดินจงกรมแต่แกก็ไม่ได้เอะใจอะไร ต่อเมื่อฟ้าสว่างท่านเดินผ่านกุฏิหลวงพ่ออีกครั้ง ทำให้ลุงแกถึงกับอึ้ง..เพราะปรากฎว่าหลังกุฏิหลวงพ่อเป็นลำคลองที่มีน้ำอยู่ เต็มตลิ่ง นอกจากนั้นลุงท่านนี้ยังเล่าว่าหลวงพ่อท่านกล่าวถึงหลวงปู่แหวนวัดดอยแม่ ปั๋ง เหมือนกับท่านไปมาหาสู่กันอยู่เสมอทั้งๆที่หลวงพ่อท่านก็ไม่ได้ไปไหนไกลเลย
    สำหรับข้อห้ามในการใช้เครื่องรางของขลังของหลวงพ่อ ท่านไม่มีข้อห้ามยุ่งยากเหมือนหลวงปู่หลวงพ่อท่านอื่นๆเลย ท่านห้ามผิดศีลข้อ 3 เป็นหลัก และก็ห้ามด่าพ่อด่าแม่ เท่านั้นเอง ท่านว่า ทองคำอย่างไรก็เป็นทองคำ ตกน้ำก็เป็นทองคำ ตกไฟละลายแล้วก็ยังเป็นทองคำ อยู่วันยันค่ำ
    ความมหัศจรรย์ในองค์ท่านผู้เฒ่าผู้แก่กล่าวว่าเล่าวันนึงก็ไม่หมด ด้วยเหตุที่หลวงพ่อเป็นพระผู้นั่งอยู่เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของชาวบ้านทุก เพศทุกวัยจึงพูดได้เต็มปากว่าท่านเป็นเสมือนหนึ่ง “เทพเจ้าแห่งน้ำทรง”

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่คำหลังสิงห์ ปี๒๕๒๐ สภาพสวยเดิม ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ วัตถุมงคลท่านมากประสพการณ์ครับ สังขารยังอยู่ให้กราบนะครับที่วัดหนองหม้อ ตาคลี หาสวยเดิมๆแบบนี้ยากครับ

    ลป.คำ.jpg ลป.คำหลัง.jpg
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    มาทำความรู้จักกับพระเกจิครูบาดังแห่งล้านนา ที่ได้มาทำพิธีบริเวณปากถ้ำหลวง จ.เชียงราย เพื่อให้ทีมหมูป่าทั้ง 13 คน หลุดพ้นออกมาจากถ้ำหลวง... พระเกจิดังแห่งล้านนาที่เรา ได้นำเสนอในวันนี้ คือ ครูบาแสงหล้า
    1530594974.jpg
    ภาพจาก : Bloggang


    ครูบาแสงหล้า เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุสายเมือง ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา มีลูกศิษย์ทั้งในประเทศและเมียนมามากมาย เป็นพระเถระสายล้านนาที่ปฏิบัติวิปัสสนาเคร่งครัด ทำให้มีภูมิธรรมสูง บารมีมาก มีครบทั้งปัญญาและอภิญญาอีกรูปหนึ่ง

    ประวัติ ครูบาแสงหล้า

    ครูบาแสงหล้า หรือ “พระครูบาแสงหล้า” เป็น เจ้าอาวาสวัดพระธาตุสายเมือง จ.ท่าขี้เหล็ก (ชายแดนไทยแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก) ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมาร์ หรือมีชื่อตาม สมณศักดิ์ ว่าพระรัตนรังสี (แสงหล้า ธมฺมสิริ) พระมหาคุรุครูบาแสงหล้า อภิธชอัคค มหาสัทธัมมโชติก อัคคมหาบัณฑิต ท่าน มี อายุ 86 พรรษา

    1530595059.jpg
    ภาพจาก : wathyuaplakang

    ปัจจุบันได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญในราชทินนามที่ “พระรัตนรังษี”

    (ท่าน ได้ สมณศักดิ์จากรัฐบาลไทย เมื่อ 5 ธันวาคม 2554 เนื่องในพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ นอกจากนี้ยังมีสมณศักดิ์จากทางรัฐบาลพม่าด้วยหลายระดับ ตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมาจนถึง ปัจจุบัน)

    1530596717.jpg
    ภาพจาก : Bloggang
    ประวัติการศึกษา


    ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม ทั้งนี้สภามร.ชร. ซึ่งมี นายคำรน โกมลศุภกิจ นายกสภาได้นำคณะกรรมการ และผู้บริหารระดับสูงไปทำพิธีถวายครุยปริญญาดังกล่าวแล้วที่วัดพระธาตุสายเมือง จ.ท่าขี้เหล็ก (พม่า) เมื่อ 18 ธันวาคม 2557

    โดยมี ผศ.ดร.ทศพล อารีนิจ อธิการบดี และ ดร.วรรณะ รัตนพงษ์ คณบดีสำนักวิชาสังคมศาสตร์ อ.วิทยา วรรณศิริ ประธานโปรแกรมพัฒนาสังคม มร.ชร.ฐานะบุคคลที่ความสำคัญในการเสนอชื่อเพื่อให้ได้รับปริญญาดังกล่าว ร่วมพิธีสำคัญนี้ด้วย

    ในพิธีถวายปริญญาดังกล่าว ผศ.ดร.ทศพล ได้ประกาศเกียรติคุณถึงผลงานอันเป็นวัตรปฏิบัติของพระรัตนรังษี หรือ พระครูบาแสงหล้า ธมฺมสิริ ว่า เป็นพระสงฆ์ มีวัตรปฏิบัติที่งดงาม ครองตนอยู่ในพระวินัย เป็นพระนักพัฒนาที่มีแนวทางในการจะยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนทุกชาติพันธุ์ในพม่า

    1530597448.jpg
    ภาพจาก : Bloggang


    โดยเฉพาะชาติพันธุ์เชื้อสายไทยใหญ่ ได้อุทิศแรงกายแรงใจและกำลังทรัพย์ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ผู้ด้อยโอกาสทุกระดับรวมทั้งทำนุบำรุงด้านพระศาสนา เป็นที่ประจักษ์แก่ชนชาติต่างในพม่า อีกทั้งยังได้สร้างโรงพยาบาลขนาด 50 เตียง เพื่อการดูแลสุขภาพประชาชนในเขตเมืองท่าขี้เหล็กและใกล้เคียง

    นอกนี้ยังได้สร้างที่พักคนชรา ผู้พิการ เป็นที่พักอาศัยและดูแลผู้ยากไร้โดยไม่แบ่งเชื้อชาติ ทางด้านการศึกษา ยังได้ส่งเสริมการศึกษาให้แก่ประชาชนและพระสงฆ์ โดยการสร้างโรงเรียนอีกหลายสิบแห่งเพื่อเป็นการสร้างคนให้มีโอกาสพัฒนาคุณภาพตนเอง

    สภามร.ชร. จึงอนุมัติปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปริญญาเอก) สาขาการพัฒนาสังคม ให้เป็นเกียรติประวัติสืบไป” อธิการบดีมร.ชร. กล่าว

    1530597530.jpg
    ภาพจาก : Youtube


    สำหรับพระครูบาแสงหล้านี้ ต่างเป็นที่เคารพศรัทธาในบุญญาบารมี หรือแม้แต่เรื่องความเชื่อในพุทธคุณต่างๆ เป็นที่เลื่องลือของศาสนิกชนในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมานานแล้ว
    ทั้งในและต่างประเทศ อาทิ จาก
    • พม่า
    • ไทย
    • ลาว
    • และจีน ซึ่งจะเห็นได้จากศรัทธาในการทำบุญแต่ละครั้ง และยังเป็นพระสงฆ์ที่ผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดในเขตลุ่มแม่น้ำโขง
    และท่านยังมีพระลูกศิษย์ที่มีชื่อที่หลายคนรู้จัก คือ พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร เกจิอาจารย์ชื่อดังในย่านนี้ ซึ่งในวันทำพิธีฯ ก็มาร่วมพิธี อีกทั้งพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่จากเชียงตุงหลายสิบรูป นอกจากนี้ยังมีพระชั้นผู้ใหญ่จากฝั่งไทยคือ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่ครุบาแสงหล้า ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ครุบาแสงหล้า.jpg ครุบาแสงหล้าหลัง.jpg
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    paragraphparagraph_paragraphparagraph__5_822.jpg
    ประวัติและปฏิปทา
    พระญาณสิทธาจารย์
    (หลวงปู่เมตตาหลวง, หลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร)

    วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดพระขาว)
    ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา


    ๏ ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร, พระอาจารย์มหาสิงห์ สุนฺทโร ป.ธ. ๖) หรือที่รู้กันทั่วไปในนาม “หลวงปู่เมตตาหลวง” มีนามเดิมว่า สิงห์ เนียมอ้ม เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา ณ หมู่ที่ ๓ ต.สะอาด อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายหา และนางปาน เนียมอ้ม มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๑๐ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒


    ๏ ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๑ ขวบ ซึ่งเป็นการบวชหน้าไฟอุทิศส่วนกุศลให้แก่คุณตาที่ถึงแก่กรรม แต่อย่างไรก็ดี การบรรพชาในครั้งนี้ท่านตั้งใจบวชเพื่ออุทิศบุญกุศลและถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ณ วัดบ้านหนองอ้อใหญ่ ต.สะอาด อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นการบวชฝ่ายมหานิกาย หลังจากบรรพชาได้ ๒ ปี พระอุปัชฌาย์ของท่านได้เห็นความตั้งใจจริง และมองการณ์ไกลต่อไปในอนาคต จึงได้บวชให้ใหม่เป็นฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

    ต่อมาจึงให้ท่านไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่วัดศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งในช่วงนี้ท่านได้ติดตามพระภิกษุรูปหนึ่งไปยังวัดอุ่มเม่า จ.กาฬสินธุ์ แล้วจึงกลับมายังวัดศรีจันทร์อีกครั้ง ครั้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ โดยมี พระครูพิศาลอรัญญเขต (จันทร์ เขมิโย ป.ธ. ๓) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูพิเศษสุตคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดสังข์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดดวงจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “สุนฺทโร” แปลว่า ผู้งาม

    ด้วยความที่ท่านมีนิสัยขยันหมั่นเพียรอ่านท่องหนังสือ จึงทำให้มีผู้สนใจรบเร้าให้พระอุปัชฌาย์พาท่านเพื่อมาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ ซึ่งก็ได้รับความยินยอมตามประสงค์ พระอุปัชฌาย์ท่านจึงได้พาตัวหลวงปู่ไปถวายกับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ในขณะนั้น ซึ่งท่านก็ได้เรียนนักธรรมที่กรุงเทพฯ และสอบมาเรื่อยๆ จนกระทั่งสอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๒๙ ปี จึงได้เดินทางกลับสู่ภูมิลำเนา

    เมื่อหลวงปู่กลับไปถึง อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ท่านได้รับตำแหน่งหน้าที่เป็นพระสังฆาธิการเจ้าคณะอำเภอ ซึ่งในขณะนั้นท่านก็ได้นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมา นำมาสอนแก่เหล่ากุลบุตรผู้สนใจ รวมทั้ง ได้ตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรมขึ้น ณ วัดเสี้ยวโคกลาง อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ในช่วงเวลานี้หากว่างเว้นจากการสอน ท่านก็จะหามุมเงียบสงบเพื่อเจริญปฏิบัติภาวนาในป่าเขาเช่นกัน

    ต่อมาหลวงปู่ก็ได้พบกับหลวงปู่คำดี ปภาโส ซึ่งหลวงปู่คำดีได้แนะวิธีเจริญปฏิบัติภาวนาให้ ท่านจึงเคารพหลวงปู่คำดีเป็นอย่างยิ่ง ครั้นต่อมา หลวงปู่ขาว อนาลโย ได้ออกเดินธุดงค์หาความสงบวิเวกผ่านมาทางจังหวัดเลย หลวงปู่จึงได้ออกเดินธุดงค์ไปพร้อมกับหลวงปู่ขาว กระทั่งหลวงปู่ขาวได้เล็งเห็นถึงปฏิภาณของหลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร จึงได้ถ่ายทอดและสอนท่านให้สวดมนต์พระคาถาเมตตาหลวง

    พระคาถาเมตตาหลวงบทนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านมักจะใช้ภาวนาเจริญเมตตาไปยังสรรพสัตว์ไม่มีประมาณ ให้หมู่มนุษย์และเทวดาได้รับความร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วกัน เป็นการเจริญกรรมฐานที่มีอานิสงส์ทำให้จิตตั้งมั่นได้ถึงระดับอัปปนาสมาธิ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา จิตสามารถตั้งมั่นในระดับฌาณ ๓ ส่วนอุเบกขา จิตสามารถตั้งมั่นในระดับฌาณ ๔ ในหมวดกรรมฐาน ๔๐ กองบทนี้เรียกว่า พรหมวิหาร ๔ หรืออัปปมัญญา ๔ ซึ่งพระคาถาบทนี้หลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ได้รับการถ่ายทอดไว้และสามารถจดจำได้เพียงรูปเดียว และต่อมาได้ถ่ายทอดให้แก่หลวงปู่สิงห์

    ครั้นต่อมา หลวงปู่สิงห์ก็ได้นำมาเผยแผ่ต่อให้กับลูกศิษย์ลูกหา จนกระทั่งสาธุชนทั้งหลายให้สมญานามท่านว่า “หลวงปู่เมตตาหลวง” เมื่อท่านอยู่ศึกษาปฏิบัติกับหลวงปู่ขาว อนาลโย ได้เวลาสมควรแล้ว จึงย้อนกลับมาปฏิบัติภาวนาอยู่กับหลวงปู่คำดี ปภาโส เช่นเดิม

    หลังจากนั้นหลวงปู่ยังได้พบกับครูบาอาจารย์อีกหลายรูปหลายองค์ และต่อมาได้ติดตามสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร) มาพำนักจำพรรษา ณ วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ ซึ่งสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ท่านเห็นความเหมาะสมของหลวงปู่ จึงได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นพระธรรมฑูต ไปแสดงพระธรรมเทศนาตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลานานถึง ๔ ปี จึงลาออกจากตำแหน่ง

    ในช่วงที่ท่านพำนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร กรุงเทพฯ นั้น หลวงปู่ได้มาศึกษาปฏิบัติอยู่กับท่านพ่อลี ธัมมธโร แห่งวัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ด้วย ซึ่งภายหลังท่านจึงติดตามท่านพ่อลี ธัมมธโร ออกธุดงค์เดินทางไปภาคอีสาน ออกวิเวกตามสถานที่ต่างๆ จนกระทั่งมาถึงดงพญาเย็น ท่านได้พักปฏิบัติธรรมอยู่ ณ ที่นั้น ซึ่งเป็นเชิงเขาที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “เขาสีเสียดอ้า” หรือ “เขาเทพพิทักษ์” บริเวณหมู่บ้านกลางดง ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13136

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่เมตตาหลวงปี2521 ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    ลป.เมตตาหลวง.JPG ลป.เมตตาหลวงหลัง.jpg
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    452-17c0.jpg



    พระครูประสาธน์วิทยาคม หรือ หลวงพ่อนอ จันทสโร วัดกลาง เกิดวันอังคารที่ 31 มกราคม 2435 ตรงกับขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง ณ บ้านศาลาลอย อ.ท่าเรือ เป็นบุตรของ นายสวน นางพุฒ งามวาจา

    บรรพชา อายุ 17 ปี ณ วัดกษัตราธิราช
    อุปสมบท ปี 2458 ณ วัดศาลาลอย
    มรณภาพ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2521 ตรงกับขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย
    รวมสิริอายุ 86 ปี 63 พรรษา

    โยมบิดาตั้งนามว่า "นอ" อายุได้ 7 ขวบ ได้เข้าเล่าเรียนอักขระสมัยกับพระสวย ที่เป็นหลวงลุงที่วัดกษัตราธิราช และได้บรรพชาเป็นสามเณรที่นั่น อายุครบบวชจึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดศาลาลอย และได้เล่าเรียนวิชาอาคมกับพระอาจารย์นาค และพระอาจารย์วงษ์ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่มีอาคมแก่กล้าเป็นที่นับถือในหมู่คนทั่วไป โดยพระอาจารย์วงษ์เก่งทางด้านคงกระพัน พระอาจารย์นาคเก่งทางด้านมหาอุด โดยได้ศึกษามาจากสำนักวัดประดู่ทรงธรรมพระนครศรีอยุธยา

    หลวงพ่อนอ ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางท่าเรือเพราะญาติโยมที่เคยเห็นสรรพคุณของท่านมาก่อนได้ นิมนต์มาช่วยสร้างวัด เพราะตอนนั้นวัดกลางท่าเรือเป็นวัดที่แทบจะเป็นวัดร้าง หลวงพ่อนอจึงได้ตั้งใจเด็ดเดี่ยวกับกรรมการวัดว่า ไม่เป็นไรหรอก เมื่อไว้ใจให้ฉันมาช่วยสร้างวัด คอยดูนะ ฉันจะจารตะกรุดสร้างวัดให้พวกแกดู การก็เป็นความจริง หลวงพ่อนอลงตะกรุดโทนตะกรุดหนังหน้าผากเสือหาเงินเข้าสร้างโบสถ์และเสนาสนะ ปรากฏว่า ตะกรุดโทนหลวงพ่อนอ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านท้ายิงได้ทุกดอก ยิงออกไม่ต้องเอาเงินทำบุญ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ


    เหรียญหลวงพ่อนอ ปี2517 ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ(ปิดรายการ)

    ลพ.นอ.jpg ลพ.นอหลัง.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2019
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,154
    ค่าพลัง:
    +21,318
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่มา ญาณวโร
    1614-9f21.jpg
    วัดสันติวิเวก
    ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด


    ๏ อัตโนประวัติ

    “พระมงคลญาณเถร” หรือ “หลวงปู่มา ญาณวโร” อดีตประธานสงฆ์แห่งวัดสันติวิเวก บ้านโนนคำ ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด พระสายวิปัสสนากรรมฐานชื่อดังแห่งภาคอีสาน สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่สาธุชนทั่วไปต่างรู้จักดีถึงกับมีการขนานนามท่านว่า “เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี”

    หลวง ปู่มา ญาณวโร มีนามเดิมว่า มา วรรณภักดี เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล ณ บ้านโนนคำ ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โยมบิดาชื่อ นายคูณ วรรณภักดี โยมมารดาชื่อ นางตั้ว วรรณภักดี ครอบครัวประกอบอาชีพทำนาทำไร่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๕ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ มีชื่อตามลำดับดังนี้

    ๑. นางโฮม วรรณภักดี
    ๒. นายสม วรรณภักดี
    ๓. นายทา วรรณภักดี
    ๔. หลวงปู่มา ญาณวโร
    ๕. นางสุดตา อุ่นทรวง


    ๏ การบรรพชา

    สาเหตุ ที่ทำให้ต้องบวช หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อวัยเยาว์ พอท่านอายุย่างเข้า ๘ ขวบ โยมมารดาของท่านก็มาเสียชีวิต ตามประเพณีแล้วเมื่อบิดามารดา ญาติพี่น้อง หรือผู้มีพระคุณเสียชีวิต จะต้องมีการบวชหน้าศพ โดยลูกหรือหลานๆ ของผู้ที่เสียชีวิต แล้วนำศพไปเผา

    เช่น เดียวกันในงานศพของโยมมารดาของท่านนั้น พวกญาติๆ จึงเลือกให้หลวงปู่บวชหน้าศพ หลวงปู่บอกว่า ท่านยังจำคำพูดของโยมมารดาท่านได้ เมื่อโยมมารดากำลังป่วยอยู่ได้พูดกับท่านว่า “เมื่อแม่ตายแล้ว ให้บักน้อยบวชให้แม่เด้อ” ยังจำได้จนบัดนี้ ครั้นต่อมาเมื่อนางตั้ว วรรณภักดี โยมมารดาเสียชีวิตแล้ว ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดดอนประดิษฐาราม บ้านดอนน้อย ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ โดยมีพระอธิการสอน อุตฺตโม เป็นพระอุปัชฌาย์

    พอตอนบ่ายพวกญาติๆ และชาวบ้าน ก็ได้นำศพโยมมารดาไปสู่ป่าช้าดอนหมากเหลื่อม ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือหมู่บ้าน ห่างประมาณกิโลเศษ หลวงปู่ก็ได้เดินนำหน้าศพโยมมารดา ตั้งแต่บ้านถึงป่าช้า เมื่อทำพิธีเผาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็กลับบ้าน ตอนเย็นโยมบิดา พี่ชาย และพี่สาว ก็ออกมาหาที่วัด ถามว่า “จะสึกไหม” ท่านก็บอกว่า “ยังไม่สึก เพราะก่อนตายแม่สั่งไว้ว่าให้น้อยบวชให้แม่ น้อยจะอยู่ไปก่อน” ท่านว่าพอคิดจะสึก ก็ให้นึกถึงคำพูดของโยมมารดา ก็เลยไม่สึกอยู่มาจนทุกวันนี้

    1617-e579.jpg
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)-หลวงปู่มา ญาณวโร


    ๏ วิทยฐานะและการศึกษาพระปริยัติธรรม

    หลัง จากบรรพชาเป็นสามเณร ได้ประมาณ ๒๐ กว่าวัน ทางราชการก็ได้มีหมายเกณฑ์ให้หลวงปู่ไปเข้าโรงเรียน เพราะอายุย่างเข้า ๘ ปีแล้ว การเรียนสมัยนั้นยังไม่ได้ใช้กระดาษ แต่ใช้กระดานหินแทนกระดาษ และดินสอหิน หลวงปู่ท่านก็เดินข้ามทุ่งไปเรียนหนังสือร่วมกับเด็กๆ ทั้งชายหญิง ทั้งที่ท่านก็เป็นสามเณร ที่โรงเรียนวัดบ้านดอนน้อย ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด บ้านเกิดของท่าน

    หลวงปู่นั้นท่านเป็นผู้ที่ โชคดีกว่าทุกคนที่ไปเรียนด้วยกัน เพราะตอนที่ท่านอายุได้ ๔ ขวบ โยมบิดาได้นำท่านไปฝากไว้กับหลวงลุงดอน ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดบ้านโนนคำ ให้เรียนหนังสืออยู่ที่นั่น เนื่องจากว่าหลวงลุงดอนท่านนี้ เป็นผู้ที่รู้หนังสือไทยดีคนหนึ่ง คนในสมัยนั้นน้อยคนที่จะรู้หนังสือไทย เมื่อหลวงปู่อยู่กับหลวงลุงดอน หลวงลุงดอน ก็เอาหนังสือแบบเรียนเร็วมาให้หัดเขียน หัดอ่านตั้งแต่ ก ข ค ฆ ง แล้วผสมสระ พยัญชนะ อ่านเป็นเสียงได้

    หลวงปู่บอกว่า ท่านอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง มีใจความว่า ตาดีมือแป ตาสาอีแป๊ะ หนังสือนิทานอีสปนกกระสาหมาจิ้งจอก เรียนอยู่ไม่นาน ครูประจำชั้นก็ให้ท่านเป็นหัวหน้า นำนักเรียนในกลุ่มเดียวกันอ่านหนังสือ ตลอดจน นับเลข ตั้งแต่หนึ่งถึงร้อย ถึงพัน ท่านก็เรียนอยู่ ๒ ปี ครูเลยให้ขึ้นไปอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จนกระทั่งจบการศึกษาขั้นสูงสุดในสมัยนั้นคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

    พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ลาออกจากโรงเรียนบ้านดอนน้อย ไปเรียนต่อที่วัดคำครตา ต.ดงมะไฟ อ.ยโสธร (ในสมัยนั้น) จ.อุบลราชธานี มีพระสา ซึ่งเป็นญาติๆ กันจะไปจำพรรษาที่นั่น จึงได้ติดตามเป็นลูกศิษย์ไปด้วย ณ วัดคำครตาแห่งนี้ มีพระเถระองค์หนึ่งเคยรับราชการเป็นเจ้านายคนไทย รู้หนังสือไทยดี มาอยู่ที่นี่ได้เรียนสูตรสิบสองตำนาน เรียนสวดไชยน้อย ไชยใหญ่ การเรียนต้องเรียนต่อคำ ไม่ต้องจับหนังสือท่องบ่นเหมือนในสมัยนี้ เรียนเทศน์มหาชาติ อยู่ที่นี้ได้ไม่นานนัก (พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๔๖๗)

    พ.ศ. ๒๔๖๘ ก็ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดตาล (วัดศรีทองนพคุณ) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๗๐ พระครูอุตตรานุรักษ์ (อินทร์ อินฺทสาโร) เจ้าคณะแขวงเสลภูมิ (ในสมัยนั้น) ได้มีหนังสือเรียกตัวให้เข้ามาอยู่ที่วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๗๑-พ.ศ. ๒๔๗๓ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ณ สำนักเรียนวัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) สามารถสอบไล่ได้ ๓ ปีติดต่อกัน

    หลัง จากที่สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอกแล้ว ตั้งใจว่าจะไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ เพราะอยากเป็นมหากับเขาบ้าง สามเณรรุ่นเดียวกันเขาไปเรียนได้เป็นมหา เป็นเจ้าคุณ เป็นสมภารเจ้าวัด ก็หลายองค์ หลวงปู่ท่านบอกว่า เรามันไม่มีบุญจะได้เป็นมหากับเขา เป็นเพียงพระที่อาศัยอยู่ตามวัดบ้านนอกอย่างที่เห็นอยู่นี่แหละ

    1616-9aa6.jpg
    หลวงปู่มา ญาณวโร-พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)



    ๏ สามเณรเสียงทอง

    พูด ถึงการเทศน์เสียง (แหล่) นั้นแต่ละภาคก็มีสำเนียงภาษาที่ต่างกัน และเป็นที่นิยมของแต่ละภาค หลวงปู่ท่านก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่เทศน์เสียงได้ไพเราะ เป็นที่ติดอกติดใจของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง ในสมัยที่ครั้งยังเป็นสามเณร ท่านเล่าให้ฟังว่า สมัยที่ท่านเป็นสามเณรไปอยู่วัดคำครตา ท่านก็มีโอกาสได้ฝึกการเทศน์แหล่อยู่บ้าง

    พอออกพรรษาชาวบ้านก็ทำบุญกันตามประเพณี คือประเพณีอีสานนั้นครูบาอาจารย์ท่านว่า “เดือน อ้าย ทำบุญเข้าปริวาสกรรม เดือนยี่ ทำบุญข้าว เดือนสาม ทำบุญข้าวจี่ เดือนสี่ ทำบุญมหาชาติ เดือนห้า ทำบุญตรุษสงกรานต์ เดือนหก ทำบุญวันวิสาขา เดือนเจ็ด ทำบุญเทวดาอารักษ์หลักเมือง เดือนแปด ทำบุญเข้าพรรษา เดือนเก้า ทำบุญข้าวประดับดิน เดือนสิบ ทำบุญข้าวสาก หรือข้าวสราท เดือนสิบเอ็ด ทำบุญออกพรรษา เดือนสิบสอง ทำบุญกฐิน”

    ชาว บ้านคำครตา ก็เช่นเดียวกัน พอถึงเดือนสี่ ก็ทำบุญมหาชาติ มีการนำเอาหนังสือมหาเวสสันดร มาแบ่งเป็นกัณฑ์ๆ เพื่อให้พระเทศน์ ในงานครั้งนั้นสามเณรมา ได้รับหนังสือเทศน์มา ๒ กัณฑ์ เป็นกุมารบั้นปลาย ตอนพระเวสสันดรทานกัณหา ชาลี แก่ชูชก และกัณฑ์มัทรี เมื่อรับมาแล้วก็พากเพียรฝึกอ่านฝึกเทศน์ตามภาษาท้องถิ่น

    พอถึงวัน งานได้เวลา ญาติโยมก็นิมนต์ขึ้นมาเทศน์ สามเณรมาตัวเล็กๆ ก็ขึ้นสู่ธรรมาสน์อย่างอาจหาญ เพราะมีความเชื่อมั่นในตนเอง เล่นเอาญาติโยมที่ฟังเทศน์ตะลึง ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ คนทั้งหลายติดอกติดใจในน้ำเสียง และลีลาการเทศน์ของสามเณรมา ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา สามเณรมาก็ถูกคนกล่าวถึง และนิมนต์ไปเทศน์มหาชาติ ทุกวันตลอดฤดูกาล หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนนั้น เวลาไปเทศน์บ้านไหน ต้องเดินไปไม่มีรถขี่เหมือนทุกวันนี้ บางหมู่บ้านก็อยู่ไกล


    ๏ การอุปสมบท

    ต่อ มาท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู ณ พัทธสีมาวัดดอนประดิษฐาราม บ้านดอนน้อย ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โดยมี พระครูอุตตรานุรักษ์ (อินทร์ อินทสาโร) วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสมุห์ฉิม ชินวํโส วัดศรีทองนพคุณ (วัดตาล) อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูใบฎีกาสะอาด โฆสโก วัดเหนือเสลภูมิ อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เป็นพระอนุสาวนาจารย์


    ๏ การศึกษาพิเศษ

    เรียนจบอักษรขอม (เขมร) ภาษาธรรม ภาษาไทยน้อย


    ๏ การศึกษาพระเวทย์

    พูด ถึงการศึกษาเวทย์มนต์คาถาของครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนนั้นเป็นที่นิยมกันมาก หลวงปู่ก็เช่นกัน ท่านก็อยู่ในวัยหนุ่มที่อยากรู้ อยากเห็น อยากลอง อยากมีไว้กับเขาบ้าง ถ้าได้ข่าวว่าพระอาจารย์องค์ไหนโด่งดังทางเวทย์มนต์คาถา ท่านก็จะพยายามไปหาเพื่อศึกษาข้อวัตรของพระอาจารย์องค์นั้น ดูเห็นว่าดีก็จะฝากเนื้อฝากตัวเป็นลูกศิษย์

    ท่านบอกว่า เรียนรู้เอาไว้ อันไหนดีก็เก็บไว้ อันไหนไม่ดีก็ทิ้งไปไม่ต้องเสียดาย ขึ้นชื่อว่าลูกผู้ชายมีไว้กับเขาบ้างก็ดี การที่จะได้เรียนวิชาเวทย์มนต์คาถากับครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนนั้น จะต้องเรียนอักษรขอม (เขมร) ภาษาธรรม ภาษาไทยน้อย เรียนกัมมัฏฐาน ฝึกการนั่งสมาธิ เดินจงกรมภาวนา ทำจิตให้แน่วแน่เป็นหนึ่ง มีความเมตตาเป็นที่ตั้ง ออกเดินธุดงค์ติดตามครูบาอาจารย์ไปในที่ต่างๆ มีความอดทน มีข้อวัตรปฏิบัติดี ไม่เป็นที่หนักอกหนักใจของครูบาอาจารย์และเป็นที่ไว้วางใจของครูบาอาจารย์ จึงจะเรียนได้

    ไม่ว่าจะยากลำบากสักเพียงใด หลวงปู่ท่านก็ไม่เคยหวั่น ถ้าได้ตั้งใจแล้วจะต้องเอาให้ได้ ครูบาอาจารย์ที่หลวงปู่ท่านได้ไปศึกษาด้วยเท่าที่ทราบจากท่านก็มี ดังนี้

    ๑. หลวงปู่สอน อุตฺตโม วัดดอนประดิษฐาราม บ้านดอนน้อย ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    ๒. พระครูอุตตรานุรักษ์ (อินทร์ อินฺทสาโร) หรือหลวงปู่เสือ วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    ๓. พระราชสิทธาจารย์ (บุญเรือง ปภสฺสโร) วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    ๔. หลวงปู่มหาดไทย วัดบ้านบัว ต.เหล่า อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด

    ๕. หลวงปู่พรหม ไม่ปรากฏว่าท่านอยู่วัดไหน ท่านเป็นพระที่ธุดงค์มา เป็นผู้มีปฏิปทาข้อวัตรอันดีเป็นที่น่าเลื่อมใส หลวงปู่ท่านจึงเข้าไปศึกษาข้อวัตรด้วย

    ทั้งนี้ หลวงปู่ท่านก็ได้ใช้วิชาการความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาสร้างสาธารณประโยชน์อย่างมากมาย


    ๏ ความชำนาญพิเศษ

    - เป็นช่างไม้ ช่างปูน ทำการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ ก่อสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และอาคารต่างๆ อีก

    - นวกรรม เขียนแบบแปลนอุโบสถ แบบแปลนกุฏิสงฆ์ แบบแปลนศาลาการเปรียญ และแบบแปลนอาคารอื่นๆ อีก

    - หัตถกรรม จักสาร ตะกร้า กระจอ กระเบียน กระติบข้าว กระบุง

    - ศิลปกรรม เขียนลายไทยและแกะสลักลายไทย บานประตูหน้าต่าง พระอุโบสถช่างลงลักปิดทอง ติดมุก ติดกระจก ช่อฟ้า ใบระกาในอุโบสถ ช่างปั้นหล่อ เช่น ช่างปั้นช่อฟ้า ใบระกาอุโบสถ และประดับด้วยลายไทย

    1618-75bf.jpg
    หอธรรมกลางน้ำ ณ วัดสันติวิเวก จ.ร้อยเอ็ด

    1619-9b27.jpg
    กุฏี ๙๑ ปี หลวงปู่มา ญาณวโร ณ วัดสันติวิเวก จ.ร้อยเอ็ด



    ๏ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์

    พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสมานสามัคคีธรรม ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลเมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านนาทม ต.ภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะอำเภอเสลภูมิ

    พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้ลาออกจากเจ้าอาวาสวัดบ้านนาทม แล้วไปสร้างสำนักวิเวกอาศรม ต.ภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวิเวกอาศรม ต.ภูเงิน อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสันติวิเวก ต.เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเสลภูมิ


    ๏ ลำดับสมณศักดิ์

    พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระปลัดมา ญาณวโร ฐานานุกรมของพระครูวิโรจน์ผดุงศาสน์ เจ้าคณะอำเภอเสลภูมิ วัดกลาง (วัดมิ่งเมือง) ต.กลาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด

    พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูสารธรรมนิเทศ

    พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้น โท และรองเจ้าคณะอำเภอชั้นโท ในพระราชทินนามเดิม

    พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในพระราชทินนามเดิม

    พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่ พระมงคลญาณเถร


    ๏ งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    - เป็นวิทยาการอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดป่าซำทอง, วัดป่าหัวคู, วัดป่าคูขาด และวัดป่าบ้านคำแดง

    - เป็นพระธรรมทูตประจำสายที่ ๕ จ.ร้อยเอ็ด

    - เป็นวิทยากรอบรมศีลธรรมวัฒนธรรมและจริยธรรมแก่กลุ่มเยาวชน

    - เป็นรองประธานคณะกรรมการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล อ.เสลภูมิ


    ๏ งานสาธารณประโยชน์

    หลวง ปู่มา เป็นพระเถระผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไปและทั่วทั้งภาคอีสาน เกียรติคุณของท่านเป็นที่ทราบโดยทั่วไป หน่วยงานราชการและประชาชนต่างหลั่งไหลเข้ามาขอให้ท่านได้ช่วยเหลือเป็นจำนวน มาก ซึ่งท่านก็ได้บริจาคและให้ความช่วยเหลือด้วยดีมาโดยตลอด ชื่อหลวงปู่จึงปรากฏอยู่ตามสถานที่ราชการ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล และหน่วยงานต่างๆ มากมาย

    ทั้งนี้ โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ได้รับความเมตตาจากท่านในการสร้าง “หอสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก” เป็นจำนวนเงิน ๗ ล้าน ๕ แสนบาท เพื่อให้ลูกหลานชาวเสลภูมิได้ศึกษาหาความรู้ ซึ่งชาวเสลภูมิพิทยาคมสำนึกในพระคุณของหลวงปู่อย่างที่สุด


    ๏ เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี

    ชีวิต ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านเจ้าคุณพระมงคลญาณเถร หรือหลวงปู่มา ญาณวโร นั้น เป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยการอุทิศตนเพื่อประโยชน์สุข ประโยชน์เกื้อกูลแก่มวลมนุษย์ชาติ มีความโดดเด่นของเกียรติคุณชื่อเสียงและความพิเศษสุดในการบำเพ็ญทานบารมี รวมทั้งยังเป็นทั้งผู้รู้ รัตตัญญูเถระ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของคณะสงฆ์ไทยว่าเป็นผู้ที่มีลักษณะงดงาม เป็นเผ่าพันธุ์ชาวอีสาน มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติศักดิ์ในภูมิปัญญาพื้นบ้าน ของชาวอีสานโดยแท้จริง เป็นผู้ที่สามารถสร้างความเคารพและศรัทธาให้เกิดขึ้นในถิ่นแดนอีสาน อีกทั้ง ยังนำความเจริญที่กลมกลืนกับหลักพุทธธรรมหยิบยื่นให้กับชาวอีสาน จนทำให้ประชาชนดำรงชีพยืนหยัดอยู่ได้ด้วยลำแข้ง ประกอบสัมมาอาชีพบนความถูกต้องและชอบธรรม

    ตลอดจน ท่านยังเป็นพระนักทำงาน และทำจริงๆ อะไรที่จะเป็นประโยชน์ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ทั้งต่อมวลประชาและฝ่ายคณะสงฆ์ ท่านจะรีบเร่งทำอย่างรวดเร็วโดยมิรั้งรอ ทุกขณะทุกลมหายใจของท่านเปี่ยมล้นไปด้วยความดีที่จีรัง และไม่มีอะไรมาจำกัดขอบเขตคุณความดีที่แผ่กระจายออกไป ประจักษ์แจ้งในหมู่คณะสงฆ์ คงอยู่ในใจชาวลุ่มน้ำชีมาเกือบศตวรรษ

    “หลวงปู่มา ญาณวโร” หรือหลวงปู่ท่านเจ้าคุณ “พระมงคลญาณเถร” สมณศักดิ์ใหม่ของหลวงปู่ท่าน จึงเป็นมงคล เป็นสายน้ำแห่งพระธรรมที่หล่อเลี้ยงชาวอีสานในเขตลุ่มน้ำชีทุกอณู เป็นสายธรรม สายทอง ของชาวไทยอีสานโดยแท้ ดั่งที่เราท่านทั้งหลายได้เห็นประจักษ์อยู่ในปัจจุบันนี้ ทั้งนี้ เป็นเพราะหลวงปู่ท่านเป็นพระมหาเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีวัตรปฏิปทาสม่ำเสมอ จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไปถึงกับมีการขนานนามท่านว่า “เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี”


    ๏ การมรณภาพ

    หลวงปู่มา ญาณวโร ประธานสงฆ์แห่งวัดสันติวิเวก จ.ร้อยเอ็ด พระสายวิปัสสนากรรมฐานชื่อดังแห่งภาคอีสาน สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งอาพาธมาหลายเดือน ได้มรณภาพแล้วด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา ๑๐.๕๙ น. ของวันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ณ วัดสันติวิเวก สิริรวมอายุได้ ๙๗ ปี พรรษา ๗๗

    สำหรับที่มาของฉายา “เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำชี” นั้น พระครูอุดมธรรมานุกูล (สุนทร อุตฺตโม) เจ้าอาวาสวัดภูพานอุดมธรรม ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม หนึ่งในพระลูกศิษย์ที่ใกล้ชิด บอกว่า หลวงปู่มา เป็นพระเถระผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไป และทั่วทั้งภาคอีสาน เกียรติคุณของท่านเป็นที่ทราบโดยทั่วไป หน่วยงานราชการและประชาชนต่างหลั่งไหลเข้ามาขอให้ท่านช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ซึ่งท่านก็ได้บริจาคและให้ความช่วยเหลือด้วยดีมาโดยตลอด

    ในวันอังคารที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จะมีพิธีน้ำหลวงสรงศพองค์หลวงปู่มา

    1620-2616.jpg
    วงล้อธรรมจักร ณ วัดสันติวิเวก จ.ร้อยเอ็ด

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมืทอนหลวงปู่มา พิธีใหญ่ ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ
    ลป.มาราย.jpg ลป.มา.jpg ลป.มาหลัง.jpg
     
  20. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,337
    ค่าพลัง:
    +6,401
    ขอจองครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...