เหรียญพระแก้ว บล็อก 2 ตัวหนังสือ

ในห้อง 'ห้องแสดงวัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย สิงห์ คำ, 8 กรกฎาคม 2019.

  1. สิงห์ คำ

    สิงห์ คำ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +40
    “เหรียญพระแก้วมรกต วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    ปี พ.ศ.2475 ฉลองกรุงเทพฯ 150 ปี (บล็อก2 ตัวหนังสือ ) เนื้อเงิน”


    วัตถุมงคลพระแก้วมรกตนั้น มีการจัดสร้างกันโดยทั่วไป ด้วยความศรัทธาในพระบารมี แต่สำหรับ “เหรียญพระแก้วมรกต วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ปี พ.ศ.2475 ฉลองกรุงเทพฯ 150 ปี” นับเป็นเหรียญพระพุทธอันทรงคุณค่า ด้วยสร้างเพื่อเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบ 150 ปี และเป็นการรวมพุทธาคมของพระเกจิดังแห่งยุคเข้าร่วมอธิษฐานจิต

    การจัดสร้าง “เหรียญพระแก้วมรกต ปี พ.ศ.2475 ฉลองกรุงฯ 150 ปี” สร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนิเกิล และ เนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม พิมพ์กลมแบน ขอบเรียบ ด้านหน้า จำลององค์พระแก้วมรกต ประทับนั่งเหนืออาสนะฐานบัวคว่ำบัวหงาย ภายในซุ้มเรือนแก้ว มีผ้าทิพย์ห้อย และดอกไม้อยู่โดยรอบ

    ด้านหลัง เป็นรูปยันต์ ‘กงจักร’ มีอักษรจารึก มรรค 8 อักขระขอมที่ปรากฏ คือ ‘ทิ’ คือ สัมมาทิฐิ ‘สํ’ คือ สัมมาสังกัปโป ‘วา’ คือ สัมมาวาจา ‘กํ’ คือ สัมมากัมมันโต ‘อา’ คือ สัม อาชิโว ‘วา’ คือ สัมมา วายาโม ‘ส’ คือ สัมมา สติ และ ‘สํ’ คือ สัมมาสมาธิ ที่ริมขอบเหรียญด้านหลังจะมีอักษรประทับชื่อผู้ผลิต แบ่งเป็น 2 บล็อก ได้แก่ บล็อกนอก และ บล็อกใน

    "บล็อกนอก" หรือ “บล็อกเจนีวา” คือ บล็อกที่สั่งทำจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ด้านหลังล่างสุดจะอักษรระบุไว้ว่า “Georges Hantz Geneve U.G.D.” เป็นบล็อกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

    สำหรับ “บล็อกใน” นั้น เนื่องจากมีผู้บริจาคเงินเป็นจำนวนมาก จึงต้องมีการจัดสร้างเพิ่มกันภายในประเทศหลายโรงงาน ซึ่งก็จะมีอักษรบ่งบอกที่ด้านหลังเหรียญเช่นกัน อาทิ เพาะช่าง สุวรรณประดิษฐ์ นาถาจารุประกร และ ฮั่งเตียนเซ้ง

    ซึ่งสนนราคาค่านิยมก็จะลดหลั่นกันไป ข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ “บล็อกนอก” จะไม่ปรากฏเนื้อทองแดง

    การประกอบพิธีพุทธาภิเษก นับว่ายิ่งใหญ่อลังการมาก เพราะเป็นการรวมพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังผู้ทรงพุทธาคมในยุคนั้นมากมายเข้าร่วมอธิษฐานจิต อาทิ

    1.พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิตร กรุงเทพฯ
    2.สมเด็จพระวันรัต (แพ ติสสเทโว) วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ
    3.พระโพธิวงศาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม กรุงเทพฯ
    4.สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดโพธิ์ กรุงเทพฯ
    5.เจ้าคุณอุบาลี สิริจันโท วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    6.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ กรุงเทพฯ
    7.หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กรุงเทพฯ
    8.หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง กรุงเทพฯ
    9.หลวงพ่อพร วัดดอนเมือง กรุงเทพฯ
    10.หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
    11.หลวงพ่อสนธิ์ วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ
    12.หลวงพ่อแฉ่ง วัดพิกุลเงิน จ.นนทบุรี
    13.หลวงพ่อชม วัดพุทไธสวรรค์ จ.พระนครศรีอยุธยา
    14.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา
    15หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา
    16.หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย จ.สระบุรี
    17.หลวงพ่อกรัก วัดอัมพวัน จ.ลพบุรี
    18.หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ
    19.หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม จ.ฉะเชิงเทรา
    20.หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี
    21.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี
    22.หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
    23.หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จ.สุมทรสงคราม
    24.หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม จ.สุมทรสงคราม
    25.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สุมทรสงคราม
    26.หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง จ.ราชบุรี
    27.หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี จ.สิงห์บุรี
    28.หลวงพ่อสอน วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
    29.หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี
    30.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์
    31.หลวงพ่อทอง วัดเขากบ จ.นครสวรรค์
    32.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี
    33.หลวงพ่อคง วัดใหม่บำเพ็ญบุญ จ.ชัยนาท
    34.หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง จ.พิจิตร
    35.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น

    ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก Google.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN2306.JPG
      DSCN2306.JPG
      ขนาดไฟล์:
      297 KB
      เปิดดู:
      355
    • DSCN2307.JPG
      DSCN2307.JPG
      ขนาดไฟล์:
      225.5 KB
      เปิดดู:
      221

แชร์หน้านี้

Loading...