เหตุที่ค้าขาย กำไร กับ ขาดทุน ในพะรไตรปิฏก (แก้ปัญหาเศรษฐกิจ)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 10 มิถุนายน 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
    อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER>


    </PRE>



    <CENTER>วณิชชสูตร</CENTER>


    </PRE>

    [๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ


    </PRE>ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้
    ทำการค้าขายขาดทุน
    อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ทำการค้าขายไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์
    อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้
    ทำการค้าขายได้กำไรตามที่ประสงค์
    อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้
    ทำการค้าขายได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว ย่อมปวารณาว่า ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ท่านประสงค์ เขากลับไม่ถวายปัจจัยที่เขาปวารณา
    ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมขาดทุน
    อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว ย่อมปวารณาว่า ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ท่านประสงค์แต่เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ไม่เป็นไปตามประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์
    อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว ย่อมปวารณาว่า ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ต้องประสงค์ เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ตามที่ประสงค์
    ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมได้กำไรตามที่ประสงค์
    อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว ปวารณาว่า ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ต้องประสงค์ เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ยิ่งกว่าที่ประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้น มาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์

    ดูกรสารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายขาดทุน


    นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายได้กำไรตามที่ประสงค์นี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ทำการค้าขายได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์ ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๙</CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๒๑๙๔ - ๒๒๒๑. หน้าที่ ๙๔ - ๙๕.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=2194&Z=2221&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    <CENTER></CENTER><CENTER>๓. อิณสูตร</CENTER>[๓๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนจน เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก

    ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ย่อมกู้ยืม แม้การกู้ยืมก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ฯ

    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ กู้ยืมแล้วย่อมรับใช้ดอกเบี้ยแม้การรับใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของผู้บริโภคกามในโลก ฯ

    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ รับใช้ดอกเบี้ยแล้วไม่ใช่ดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมทวงเขา แม้การทวงก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ฯ

    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ถูกเจ้าหนี้ทวงไม่ให้เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมติดตามเขา แม้การติดตามก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ฯ

    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ถูกเจ้าหนี้ติดตามทันไม่ให้ทรัพย์ เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมจองจำเขา แม้การจองจำก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ฯ

    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ความเป็นคนจนก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก แม้การกู้ยืมก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก แม้การรับใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก แม้การทวงก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก แม้การติดตามก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลกแม้การจองจำก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม บุคคลนี้เรียกว่า เป็นคนจนเข็ญใจยากไร้ในวินัยของพระอริยเจ้าฉันนั้นเหมือนกัน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแล เมื่อไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจเรากล่าวการประพฤติทุจริตของเขาว่า เป็นการกู้ยืม เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก

    เพราะเหตุแห่งการปกปิดกายทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา ย่อมดำริ ย่อมกล่าววาจา ย่อมพยายามด้วยกายว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา
    เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการปกปิดวจีทุจริตนั้น ฯลฯเขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก
    เพราะเหตุแห่งการปกปิดมโนทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา ย่อมพยายามด้วยกายว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา เรากล่าวเหตุการปกปิดทุจริตของเขานั้นว่า เป็นการรับใช้ดอกเบี้ยเพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รักได้กล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ก็ท่านผู้มีอายุรูปนี้ เป็นผู้กระทำอย่างนี้ เป็นผู้ประพฤติอย่างนี้
    เรากล่าวการถูกว่ากล่าวของเขาว่า เป็นการทวงดอกเบี้ย อกุศลวิตกที่เป็นบาปประกอบด้วยความเดือดร้อน ย่อมครอบงำเขาผู้อยู่ป่า ผู้อยู่โคนไม้ หรือผู้อยู่ในเรือนว่าง เรากล่าวการถูกอกุศลวิตกครอบงำนี้ของเขาว่า เจ้าหนี้ติดตามเขา คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแล ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมถูกจองจำ ในเรือนจำ คือ นรก หรือในเรือนจำ คือ กำเนิดดิรัจฉาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นเรือนจำอื่นเพียงแห่งเดียว ซึ่งร้ายกาจ เป็นทุกข์ กระทำอันตรายแก่การบรรลุนิพพานซึ่งเป็นธรรมเกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ อย่างนี้ เหมือนเรือนจำ คือ นรก หรือเรือนจำ คือ กำเนิดดิรัจฉานเลย ฯ ความเป็นคนจน และการกู้ยืม เรียกว่าเป็นทุกข์ในโลก

    คนจนกู้ยืมเลี้ยงชีวิตย่อมเดือดร้อน เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมติด ตามเขา เพราะไม่ใช้หนี้นั้น เขาย่อมเข้าถึงแม้การจองจำ
    ก็การจองจำนั้น เป็นทุกข์ของชนทั้งหลายผู้ปรารถนาการได้ กาม ในวินัยของพระอริยเจ้า ผู้ใดไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่ มีโอตตัปปะ พอกพูนบาปกรรม กระทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ย่อมปรารถนา ย่อมดำริว่า คนเหล่าอื่น อย่ารู้จักเรา พอกพูนบาปกรรมในที่นั้นๆ อยู่ บ่อยๆ ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
    เราตถาคตย่อมกล่าวว่า เป็นทุกข์ เหมือนอย่างนั้น เขาผู้มีบาปกรรม มีปัญญาทราม ทราบความ ชั่วของตนอยู่ เป็นคนจน มีหนี้สิน เลี้ยงชีวิตอยู่ย่อมเดือด ร้อน
    ลำดับนั้น ความดำริที่มีในใจ เป็นทุกข์เกิดขึ้นเพราะ ความเดือดร้อนของเขา ย่อมติดตามเขาที่บ้าน หรือที่ป่า เขาผู้มีบาปกรรม มีปัญญาทราม ทราบความชั่วของตนอยู่ ย่อมเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉานบางอย่าง หรือถูกจองจำในนรก ก็การจองจำนั้นเป็นทุกข์ ที่นักปราชญ์หลุดพ้นไปได้ บุคคล ผู้ยังใจให้เลื่อมใส ให้ทานด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลาย ที่ได้มา โดยชอบธรรม ย่อมเป็นผู้ยึดถือชัยชนะไว้ได้ในโลกทั้งสอง ของผู้มีศรัทธาอยู่ครองเรือน คือ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลใน ปัจจุบัน และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ การบริจาคของ คฤหัสถ์ดังกล่าวมานั้น ย่อมเจริญบุญ ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีใจประกอบด้วยหิริ มีโอตตัปปะ มีปัญญา และสำรวมใน ศีล ในวินัยของพระอริยเจ้า
    ผู้นั้นแลเราเรียกว่ามีชีวิตเป็น สุข ในวินัยของพระอริยเจ้า

    ฉันนั้นเหมือนกัน เขาได้ความ สุขที่ไม่มีอามิส ยังอุเบกขา (ในจตุตถฌาน) ให้ดำรงมั่น ละนิวรณ์ ๕ ประการ เป็นผู้ปรารภความเพียรเป็นนิตย์ บรรลุ ฌานทั้งหลาย มีเอกัคคตาจิตปรากฏ มีปัญญารักษาตัว มีสติ จิตของเขาย่อมหลุดพ้นโดยชอบ
    เพราะทราบเหตุในนิพพานเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริง เพราะไม่ถือมั่น โดยประการทั้งปวง

    หากว่าเขาผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบ คงที่ อยู่ในนิพพาน เป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ ไว้ในภพ ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ไซร้ ญาณนั้นแลเป็นญาณชั้นเยี่ยม ญาณนั้นเป็นสุขไม่มีสุข อื่นยิ่งกว่า ญาณนั้นไม่มีโศก หมดมัวหมองเป็นญาณเกษม สูงสุดกว่าความไม่มีหนี้ ฯ


    <CENTER>จบสูตรที่ ๓</CENTER>






    </PRE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER>พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท</CENTER>


    </PRE>

    [๖] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง


    </PRE>ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า
    พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้เมืองเวรัญชามีภิกษาหารน้อย ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร
    ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย
    พระพุทธเจ้าข้าพื้นเบื้องล่างแห่งแผ่นดินผืนใหญ่นี้ สมบูรณ์ มีรสอันโอชา เหมือนน้ำผึ้งหวี่ที่ไม่มีตัวอ่อนฉะนั้นขอประทานพระวโรกาส ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงพลิกแผ่นดิน ภิกษุทั้งหลายจักได้ฉันง้วนดินพระพุทธเจ้าข้า.

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
    ดูกรโมคคัลลานะ ก็สัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินเล่า เธอจะทำอย่างไรแก่สัตว์เหล่านั้น?
    ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักนิรมิตฝ่ามือข้างหนึ่งให้เป็นดุจแผ่นดินใหญ่ ยังสัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินเหล่านั้นให้ไปอยู่ในฝ่ามือนั้น
    จักพลิกแผ่นดินด้วยมืออีกข้างหนึ่งพระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การพลิกแผ่นดิน เธออย่าพอใจเลย สัตว์ทั้งหลายจะพึงได้รับผลตรงกันข้าม.
    ม. ขอประทานพระวโรกาส ขอภิกษุสงฆ์ทั้งหมดพึงไปบิณฑบาตในอุตรกุรุทวีป พระพุทธเจ้าข้า.

    ภ. ก็ภิกษุผู้ไม่มีฤทธิ์เล่า เธอจักทำอย่างไรแก่ภิกษุเหล่านั้น?


    ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักทำให้ภิกษุทั้งหมดไปได้ พระพุทธเจ้าข้า.
    --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------หน้าที่ ๙.




    ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การที่ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดไปบิณฑบาตถึงอุตรกุรุทวีป เธออย่าพอใจเลย.<CENTER></CENTER>

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015

แชร์หน้านี้

Loading...