เมืองแก้ว บุรี อสังขตสถาน สถานที่ นิพพาน ในพระไตรปิฏก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 20 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <B><CENTER><BIG>อรรถกถา อัฏฐสัททชาดก</BIG> <CENTER class=D>ว่าด้วย นิพพาน</CENTER><CENTER class=D>...............................................................................................</CENTER></CENTER></B>


    ดูก่อนมหาบพิตร เสียงที่ ๘ เป็นเสียงเปล่งอุทาน คือ
    ที่เงื้อมภูเขานันทมูลกะ พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งว่า อายุสังขารของตนจะสิ้นแล้ว จึงคิดว่าจักไปแดนมนุษย์ ปรินิพพานในพระราชอุทยานของพระเจ้าพาราณสี พวกมนุษย์จักเผาศพเรา จักเล่นสาธุกีฬา บูชาธาตุบำเพ็ญทางสวรรค์ ดังนี้ แล้วเหาะมาด้วยฤทธานุภาพ เวลามาถึงยอดปราสาทของพระองค์ โดยปลงขันธภาระเปล่งอุทานแสดงเมืองแก้วคือนิพพาน ดังนี้
    แล้วกล่าวคาถาที่พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวไว้ ความว่า :-
    เราเห็นพระนิพพานอันเป็นที่สิ้นชาติ ไม่ต้องกลับมานอนในครรภ์อีก โดยไม่ต้องสงสัย ความเกิดของเรานี้มีในที่สุดแล้ว การนอนในครรภ์เป็นหนสุดท้ายแล้ว สงสารเพื่อภพใหม่ต่อไปของเราสิ้นสุดแล้ว

    ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1129
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1129
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • %205%2~1.JPG
      %205%2~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      87.7 KB
      เปิดดู:
      851
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2015
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้า
    พระแม่เจ้าชอบใจจะปรินิพพานอันเกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงดิฉันทั้ง
    หลายก็จักนิพพานทั้งหมด ในกาลก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงพระ-
    อนุญาต ดิฉันทั้งหลายได้ออกจากเรือนพร้อมด้วยพระแม่เจ้า เมื่อ
    ดิฉันทั้งหลายออกจากภพนี้ไปสู่ บุรี คือนิพพานอันอุดม ดิฉันทั้งหลาย
    ก็จักไปพร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน พระมหาปชาบดีโคตมีได้
    กล่าวว่า เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพาน ดิฉันจักว่าอะไรได้เล่า แล้ว
    ได้ออกจากสำนักนางภิกษุณีไปพร้อมกับพระภิกษุณีทั้งหมดในครั้ง
    นั้น พระปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้กล่าวกะทวยเทพทั้งหลายว่า ขอทวย
    เทพทั้งหลายที่สิงอยู่ ณ สำนักนางภิกษุณี จงอดโทษแก่ดิฉันเถิด
    การเห็นสำนักนางภิกษุณีของดิฉันนี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายในที่ใด
    ไม่มีความแก่หรือความตาย ไม่มีการสมาคมด้วยสัตว์และสังขารอัน
    ไม่เป็นที่รัก ไม่มีการพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก
    ที่นั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็นอสังขตสถาน


    อ้างถึง
    อ้างอิงพระไตรปิฏก......http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=33&A=4471&Z=4887
    อ้างถึง
    ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้
    อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของ
    หม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2015
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    ไปสู่...สถานที่ไม่จุติ



    พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    คาถาธรรมบท โกธวรรคที่ ๑๗



    มุนีเหล่าใดผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมแล้วด้วยกายเป็นนิตย์
    มุนีเหล่านั้นย่อมไปสู่สถานที่ไม่จุติ ที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่
    เศร้าโศก


    อ้างถึง
    อ้างอิงพระไตรปิฏก

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=27&book=25&bookZ=&pagebreak=0&mode=%5B%5D
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2015
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    กสิภารทวาชสูตรที่ ๔




    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
    ศรัทธาของเราเป็นพืช ความเพียรของเราเป็นฝน ปัญญา
    ของเราเป็นแอกและไถ หิริของเราเป็นงอนไถ ใจของเรา
    เป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและปฏัก เราคุ้มครองกาย
    คุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารในท้อง ย่อมกระทำการ
    ถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ ความสงบเสงี่ยม
    ของเราเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรานำธุระ
    ไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมา
    ย่อมถึงสถานที่ๆ บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก การไถนานั้น
    เราไถแล้วอย่างนี้ การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคล
    ไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ฯ

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๗๑๐๒ - ๗๑๗๖. หน้าที่ ๓๑๑ - ๓๑๔.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=7102&Z=7176&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2015
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    อ้างอิงพระไตรปิฏก...
    อ้างถึง
    อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬยมกวรรค
    พรหมนิมันตนิกสูตร ว่าด้วยพกพรหมมีทิฏฐิอันลามก
    [urlคำว่า "เข้าถึงแสงทั้งหมด" ได้แก่สมบูรณ์ด้วยแสงโดยประการทั้งปวง. จริงอยู่ นอกจากพระนิพพานแล้ว ไม่มีสิ่งอื่นที่มีแสงกว่า มีความโชติช่วงกว่า มีที่สุดที่หมดจดกว่า หรือขาวกว่า.
    อีกอย่างหนึ่ง พระนิพพานเป็นแดนเกิดจากที่ทั้งปวงทีเดียว ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ไม่ใช่ไม่มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นแดนเกิดโดยประการทั้งปวง. จริงอยู่ ในทิศตะวันออกเป็นต้น ชื่อว่าในทิศโน้น ไม่พึงกล่าวว่า ไม่มีพระนิพพาน.
    อีกอย่างหนึ่ง คำว่า "แสง" เป็นชื่อของท่า.
    ชื่อว่ามีท่าทุกแห่ง เพราะทุกแห่งมีท่า. เขาเล่าเกี่ยวกับพระนิพพานว่า ผู้อยากจะข้ามมหา<WBR>สมุทร<WBR>โดย<WBR>ที่<WBR>ใดๆ ที่นั้นๆ แล้วย่อมเป็นท่า, ชื่อว่าที่ที่ไม่ใช่ท่า ย่อมไม่มีฉันใด ในกัมมัฏฐาน ๓๘ อย่าง ผู้ประสงค์จะข้ามไปพระนิพพานด้วยหัวข้อสำคัญใดๆ หัวข้อนั้นๆ แลย่อมเป็นท่า, ไม่มีกัมมัฏฐานที่ชื่อว่าไม่เป็นท่าของพระนิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน,
    เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "เป็นท่าทุกแห่ง".
    คำว่า "นั้นแห่งแผ่นดิน เพราะอรรถว่าแผ่นดิน" ความว่า พระนิพพานนั้นเป็นสภาพที่ไม่เป็นไปตามแผ่นดิน เพราะอรรถว่าแผ่นดิน และไม่เป็นไปตามน้ำเป็นต้น อื่นจากแผ่นดินนั้น เพราะสภาพแห่งน้ำเป็นต้น.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งพระดำรัสว่า ธรรมชาติที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมดอันเป็นวิสัยของบุคคลแบบเธออันใด ธรรมชาตินั้นเป็นธรรมชาติที่พึงรู้แจ้ง เห็นไม่ได้ไม่มีที่สุด ท่าทุกแห่งเป็นธรรมชาติที่ไม่เป็นไปตาม (อะไรๆ) เพราะอรรถว่าทั้งหมดของธรรมชาติ ทั้งหมดนั้น ดังนี้.
    =http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=551]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2015
  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    ๑๐. จูฬปันถกสูตร
    [๑๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระจูฬปันถกะ
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้จำเพาะหน้า ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
    พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นท่านพระจูฬปันถกะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ
    ไว้จำเพาะหน้า ในที่ไม่ไกล ฯ
    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง
    อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    ภิกษุมีกายตั้งมั่นแล้ว มีใจตั้งมั่นแล้ว ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี
    นอนอยู่ก็ดี ควบคุมสตินี้ไว้อยู่ เธอพึงได้คุณวิเศษทั้ง
    เบื้องต้นและเบื้องปลาย ครั้นได้คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายแล้ว
    พึงถึงสถานที่เป็นที่ไม่เห็นแห่งมัจจุราช ฯ
    จบสูตรที่ ๑๐
    จบโสณเถรวรรคที่ ๕

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๓๒๙๕ - ๓๓๑๕. หน้าที่ ๑๔๓ - ๑๔๔.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=3295&Z=3315&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2015
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
    สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



    ๓. ยมกสูตร
    ว่าด้วยพระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่


    ๑๙๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ-
    *บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า
    เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว
    ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก. ภิกษุหลายรูป ได้ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ยมกภิกษุเกิด
    ทิฏฐิอันชั่วช้าเป็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพ
    เมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก. ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงพากัน
    เข้าไปหาท่านยมกภิกษุถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกภิกษุ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัย
    ชวนให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว จึงถามท่านยมกภิกษุว่า
    ดูกรท่านยมกะ ทราบว่า ท่านเกิดทิฏฐิอันชั่วช้า เห็นปานนี้ว่า เรารู้ว่าทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มี-
    *พระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก
    จริงหรือ? ท่านยมกะกล่าวว่า อย่างนั้น อาวุโส.
    ภิ. ดูกรอาวุโสยมกะ ท่านอย่าได้พูดอย่างนั้น อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะ
    การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ว่า พระขีณาสพเมื่อ
    ตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.
    ท่านยมกะ เมื่อถูกภิกษุเหล่านั้นกล่าวแม้อย่างนี้ ยังขืนกล่าวถือทิฏฐิอันชั่วช้านั้น อย่าง
    หนักแน่นอย่างนั้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อ
    ตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.
    ภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่อาจเพื่อจะยังท่านยมกะ ให้ถอนทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้ จึงลุกจาก
    อาสนะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่
    ท่านสารีบุตร ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค
    ทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ขอ
    โอกาสนิมนต์ท่านพระสารีบุตรไปหายมกภิกษุถึงที่อยู่ เพื่ออนุเคราะห์เถิด. ท่านพระสารีบุตรรับ
    นิมนต์โดยดุษณีภาพ.
    [๑๙๙] ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้วเข้าไปหาท่านยมกะ
    ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
    จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านยมกะว่า ดูกรอาวุโสยมกะ ทราบว่า ท่านเกิด
    ทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพ
    เมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ดังนี้ จริงหรือ?

    ท่านยมกะตอบว่า
    อย่างนั้นแล ท่านสารีบุตร.
    สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ย. ไม่เที่ยง ท่าน ฯลฯ
    สา. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ย. ไม่เที่ยง ท่าน ฯลฯ
    สา. เพราะเหตุนี้นั้นแล ยมกะ พระอริยสาวกผู้ใดสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
    รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก.
    [๒๐๐] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นรูปว่าเป็น
    สัตว์เป็นบุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นเวทนาว่าสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นสัญญาว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นสังขารว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นวิญญาณว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    [๒๐๑] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคล
    มีในรูปหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากรูปหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในเวทนาหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในสัญญาหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในสังขารหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากสังขารหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในวิญญาณหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    [๒๐๒] สา. ดูกรยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นรูป เวทนา
    สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นสัตว์บุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    [๒๐๓] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นว่า สัตว์
    บุคคลนี้นั้นไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ หรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ดูกรท่านยมกะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ ท่านจะค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้
    ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรแลหรือที่ท่านจะยืนยันว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค
    ทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.
    ย. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร เมื่อก่อนผมไม่รู้อย่างนี้ จึงได้เกิดทิฏฐิอันชั่วช้าอย่างนั้น แต่
    เดี๋ยวนี้ ผมละทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้แล้ว และผมก็ได้บรรลุธรรมแล้วเพราะฟังธรรมเทศนานี้ ของ
    ท่านพระสารีบุตร.
    [๒๐๔] สา. ดูกรท่านยมกะ ถ้าชนทั้งหลาย พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านยมกะ ภิกษุ
    ผู้ที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเป็นอะไร ท่านถูกถามอย่างนั้น จะพึงกล่าวแก้
    ว่าอย่างไร?
    ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ถ้าเขาถามอย่างนั้น ผมพึงกล่าวแก้อย่างนี้ว่ารูปแลไม่เที่ยง สิ่ง
    ใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ เวทนา
    สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไป
    แล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมถูกเขาถามอย่างนั้น พึงกล่าวแก้อย่างนี้.
    [๒๐๕] สา. ดีละๆ ยมกะ ถ้าอย่างนั้น เราจักอุปมาให้ท่านฟัง เพื่อหยั่งรู้ความข้อ
    นั้นให้ยิ่งๆ ขึ้น. ดูกรท่านยมกะ เปรียบเหมือนคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์
    มาก มีโภคะมาก และเขารักษาตัวกวดขัน เกิดมีบุรุษคนหนึ่งประสงค์ความพินาศ ประสงค์ความ
    ไม่เป็นประโยชน์ ประสงค์ความไม่ปลอดภัย อยากจะปลงชีวิตเขาเสีย เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
    คฤหบดีและบุตรคฤหบดีนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเขามีการรักษาอย่าง
    กวดขัน การที่จะอุกอาจปลงชีวิตนี้ ไม่ใช่เป็นการทำได้ง่ายเลย อย่ากระนั้นเลย เราพึงใช้อุบาย
    ปลงชีวิต. บุรุษนั้น พึงเข้าไปหาคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผมขอเป็น
    คนรับใช้ท่าน. คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น พึงรับบุรุษนั้นไว้ใช้ เขาพึงรับใช้เรียบร้อยดีทุกประการ
    คือ มีปรกติตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังคำสั่ง ประพฤติให้เป็นที่พอใจ กล่าวแต่วาจาเป็นที่รัก
    ใคร่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น เชื่อเขาโดยความเป็นมิตร โดยความเป็นสหาย และถึงความ
    ไว้วางใจในเขา. เมื่อใด บุรุษนั้นพึงคิดว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีไว้ใจเราดีแล้ว เมื่อนั้น บุรุษ
    นั้นรู้ว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีอยู่ในที่ลับ พึงปลงชีวิตเสียด้วยศาตราอันคม. ท่านยมกะ ท่าน
    จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในกาลใด บุรุษนั้นเข้าไปหาคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีโน้นแล้ว
    กล่าวอย่างนี้ว่า ผมขอรับใช้ท่านแม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่าอยู่แล้ว ก็แต่คฤหบดีหรือบุตร
    คฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษผู้ฆ่าว่า เป็นผู้ฆ่าเราไม่. ในกาลใด บุรุษนั้นตื่นก่อน นอนภายหลัง
    คอยฟังคำสั่ง ประพฤติให้เป็นที่พอใจ กล่าวแต่วาจาเป็นที่รักใคร่ แม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็น
    ผู้ฆ่าอยู่แล้ว ก็แต่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษผู้ฆ่านั้นว่า เป็นผู้ฆ่าเราไม่. และใน
    กาลใด บุรุษนั้นรู้ว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นอยู่ในที่ลับ จึงปลงชีวิตเสียด้วยศาตราอันคม
    แม้ในกาลนั้น เขาเป็นผู้ฆ่านั่นเอง ก็แต่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษนั้นว่าเป็นผู้ฆ่า
    เราไม่.
    ย. อย่างนั้น ท่าน.
    [๒๐๖] สา. ดูกรท่านยมกะ ข้ออุปมานี้ฉันใด ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ
    ทั้งหลาย ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่
    ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป โดย
    ความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป ย่อมเห็นรูปในตน หรือย่อมเห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนา
    โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน
    ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน หรือ
    ย่อมเห็นตนในวิญญาณ. เขาย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    อันไม่เที่ยงว่า ไม่เที่ยง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    อันเป็นทุกข์ว่า เป็นทุกข์ ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    อันเป็นอนัตตาว่า เป็นอนัตตา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่งว่า อันปัจจัยแต่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ อันเป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นผู้ฆ่า. เขาย่อมเข้าไปถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณว่า เป็นตัวตนของเรา. อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันปุถุชนนั้นเข้าไปถือมั่น ยึด
    มั่นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
    [๒๐๗] ดูกรท่านยมกะ ส่วนพระอริยสาวกผู้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาด
    ในอริยธรรม ได้รับแนะนำในอริยธรรมดีแล้ว ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ฉลาดในสัปปุริสธรรม
    ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรมดีแล้ว ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ย่อม
    ไม่เห็นรูปในตน หรือย่อมไม่เห็นตนในรูป ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่
    เห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่เห็นวิญญาณ
    โดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีวิญญาณ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน หรือย่อมไม่เห็นตนใน
    วิญญาณ. เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยงว่า
    ไม่เที่ยง. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ว่า
    เป็นทุกข์. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา
    ว่า เป็นอนัตตา. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัย
    ปรุงแต่ง ว่าปัจจัยปรุงแต่ง. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    อันเป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นผู้ฆ่า. เขาย่อมไม่เข้าไปถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณว่า เป็นตัวตนของเรา. อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันอริยสาวกนั้น ไม่เข้าไปถือมั่น ยึด
    มั่นแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน.
    ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ข้อที่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้เช่น
    นั้น เป็นผู้อนุเคราะห์ ใคร่ประโยชน์ เป็นผู้ว่ากล่าวพร่ำสอน ย่อมเป็นอย่างนั้นแท้ ก็แล
    จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่น เพราะได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านสารีบุตร.
    จบ สูตรที่ ๓.


    อ้างอิงพระไตรปิฏก
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๒๔๔๗ - ๒๕๘๕. หน้าที่ ๑๐๖ - ๑๑๒.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=2447&Z=2585&pagebreak=0

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2015
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    อ้างอิงพระไตรปิฏก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
    ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส



    โมฆราชมาณวกปัญหานิทเทส
    ว่าด้วยปัญหาของท่านโมฆราช








    ดูกรคามณิ เมื่อบุคคลเห็นซึ่งความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งสิ้น ซึ่งความสืบต่อแห่งสังขารทั้งสิ้น ตามความเป็นจริงภัยนั้นย่อมไม่มี.
    เมื่อใด บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกเสมอหญ้าและไม้ด้วยปัญญา
    เมื่อนั้น บุคคลนั้นก็ไม่พึงปรารถนาภพหรืออัตภาพอะไรๆ อื่น เว้นไว้แต่นิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ.




    อ้างถึง
    สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เนื้อที่อยู่ในป่า
    เมื่อเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ เดินไปก็ไม่ระแวง ยืนอยู่ก็ไม่ระแวง นั่งพักอยู่ก็ไม่ระแวง นอนอยู่
    ก็ไม่ระแวง. ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเนื้อนั้นไม่ไปในทางของพราน แม้ฉันใด ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็เหมือนฉันนั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
    อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมาร
    ให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุแห่งมารผู้ลามก. ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก
    ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. เข้า
    ตติยฌาน เข้าจตุตถฌาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่
    ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก.
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะ
    ล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่
    ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=30&A=4519&Z=4935
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2015
  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค



    อัจฉราสูตรที่ ๖

    [๑๔๓] เทวดาทูลถามว่า
    ป่าชัฏชื่อโมหนะ อันหมู่นางอัปสรประโคมแล้ว อันหมู่
    ปีศาจสิงอยู่แล้ว ทำไฉนจึงจะหนีไปได้ ฯ
    [๑๔๔]
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    ทางนั้นชื่อว่าเป็นทางตรง ทิศนั้นชื่อว่าไม่มีภัย รถชื่อว่าไม่มี
    เสียงดัง ประกอบด้วยล้อคือธรรม หิริเป็นฝาของรถนั้น
    สติเป็นเกราะกั้นของรถนั้น เรากล่าวธรรมมีสัมมาทิฏฐินำหน้า
    ว่าเป็นสารถี ยานชนิดนี้มีอยู่แก่ผู้ใด จะเป็นหญิงหรือชาย
    ก็ตาม เขา (ย่อมไป) ในสำนักพระนิพพานด้วยยาน
    นี้แหละ ฯ
     
  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
    ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก



    ยโสธราเถริยาปทานที่ ๘
    ว่าด้วยบุพจริยาของพระยโสธราเถรี


    [๑๖๘] ดิฉันมีฤทธิ์มาก มีปัญญามาก มีภิกษุณี ๑,๑๐๐ องค์ เป็นบริวาร
    เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ถวายอภิวาทแล้วเห็นลายลักษณ์กงจักร
    ของพระศาสดา แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ได้กราบทูลว่า
    หม่อมฉันมีอายุ ๗๘ ปี ล่วงเข้าปัจฉิมวัยแล้ว ถึงความเป็นผู้มีกาย
    เงื้อมลงแล้วขอกราบทูลลาพระมหามุนี หม่อมฉันมีวัยแก่ มีชีวิต
    น้อย จักละพระองค์ไป มีที่พึ่งของตนได้ทำแล้ว มีมรณะใกล้เข้ามา
    ในวัยหลัง ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันจักถึงความดับในคืนวันนี้
    มิได้มีชาติ ชรา พยาธิและมรณะจักไปสู่นิพพานที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
    เป็นบุรีอันไม่มีความแก่ ความตายและไม่มีภัย
    บริษัทเข้าเฝ้าพระองค์
    อยู่ รู้จักความผิด ขอประทานโทษ ณ ที่เฉพาะพระพักตร์พระองค์
    เมื่อหม่อมฉันท่องเที่ยวไปในสงสาร หากมีความพลั้งพลาดใน
    พระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานโทษแก่หม่อมฉันเถิด.
    พระมีผู้พระภาคตรัสว่า
    ดูกรท่านผู้ปฏิบัติตามคำสอนของเรา ท่านจงแสดงฤทธิ์ และตัดความ
    สงสัยของบริษัททั้งปวงในศาสนาเถิด.
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๔๔๗๑ - ๔๘๘๗. หน้าที่ ๑๙๓ - ๒๑๐.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=33&A=4471&Z=4887&pagebreak=0

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2015
  11. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

    ภัททิยสูตรที่ ๒


    [๑๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
    ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร
    สำคัญท่านพระลกุณฐกภัททิยะว่า เป็นพระเสขะ จึงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมา
    ทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา โดยอเนกปริยาย ยิ่งกว่าประมาณ
    พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นท่านพระสารีบุตรสำคัญท่านพระลกุณฐกภัททิยะว่า เป็น
    พระเสขะ ชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา
    โดยอเนกปริยาย ยิ่งกว่าประมาณ ฯ
    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่ง
    อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    บุคคลตัดวัฏฏะได้แล้ว บรรลุถึงนิพพานอันเป็นสถานที่ไม่มี ตัณหา ตัณหาที่บุคคลให้เหือดแห้งแล้วย่อมไม่ไหลไป วัฏฏะที่บุคคลตัดได้แล้ว ย่อมไม่เป็นไป นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
    จบสูตรที่ ๒
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๓๗๘๘ - ๓๘๐๒. หน้าที่ ๑๖๕ - ๑๖๖.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=3788&Z=3802&pagebreak=0


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2015
  12. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    อุทาน ปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘
    ๑. นิพพานสูตรที่ ๑

    [๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ
    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค
    ทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วย
    ธรรมมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้ว
    น้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ
    วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า
    พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ
    จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้
    นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๓๙๗๗ - ๓๙๙๒. หน้าที่ ๑๗๕.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=3977&Z=3992&pagebreak=0

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2015
  13. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔

    [๑๔] ใครจักรู้แจ้งแผ่นดินนี้ ใครจักรู้แจ้งยมโลกและมนุษยโลกนี้
    พร้อมกับเทวโลก ใครจักเลือกสรรบทธรรมที่เราแสดงดีแล้ว
    ดุจนายมาลาการผู้ฉลาด เลือกสรรดอกไม้ ฉะนั้น พระเสขะ
    จักรู้แจ้งแผ่นดิน พระเสขะจักรู้แจ้งยมโลกและมนุษยโลกนี้
    พร้อมกับเทวโลก พระเสขะจักเลือกสรรบทธรรมที่เรา
    แสดงดีแล้วดุจนายมาลาการผู้ฉลาดเลือกสรรดอกไม้ ฉะนั้น
    ภิกษุทราบกายนี้ว่า เปรียบด้วยฟองน้ำ ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ
    กายนี้ว่ามีพยับแดดเป็นธรรม ตัดดอกไม้อันเป็นประธาน
    ของมารแล้ว พึงไปสู่ที่ที่มัจจุราชไม่เห็น มัจจุย่อมจับนระผู้มีใจอันซ่านไปแล้วในอารมณ์ต่างๆ กำลังเลือกเก็บดอกไม้
    ทั้งหลายนั่นเทียวไป เหมือนห้วงน้ำใหญ่พัดบ้านอันหลับแล้ว
    ไป ฉะนั้น มัจจุผู้ทำซึ่งที่สุด ย่อมทำนระผู้มีใจอันซ่าน
    ไปแล้วในอารมณ์ต่างๆ กำลังเลือกเก็บดอกไม้ทั้งหลาย ไม่อิ่ม
    แล้วในกามคุณนั่นแล ไว้ในอำนาจ..........
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๓๙๕ - ๔๓๓. หน้าที่ ๑๘ - ๑๙.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=395&Z=433&pagebreak=0

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2015
  14. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔
    หน้าต่างที่ ๒ / ๑๒.


     
  15. Guide_Raito

    Guide_Raito เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    892
    ค่าพลัง:
    +2,990
    สาธุครับ ทิพย์พิเศษ แดนนิพพาน

    [​IMG]
     
  16. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ตรัสไว้แล้วว่า
    สัตว์ทั้งหลายมีที่สุด พระนิพพานที่ไม่เกิด ไม่มีที่สุด
    สัตว์ทั้งหลายไม่ปรากฏในที่สุด เราได้ประกาศที่สุด
    ในสัตว์แล้ว.
    คำว่า "เข้าถึงแสงทั้งหมด" ได้แก่สมบูรณ์ด้วยแสงโดยประการทั้งปวง. จริงอยู่ นอกจากพระนิพพานแล้ว ไม่มีสิ่งอื่นที่มีแสงกว่า มีความโชติช่วงกว่า มีที่สุดที่หมดจดกว่า หรือขาวกว่า.
    อีกอย่างหนึ่ง พระนิพพานเป็นแดนเกิดจากที่ทั้งปวงทีเดียว ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ไม่ใช่ไม่มี
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นแดนเกิดโดยประการทั้งปวง.
    จริงอยู่ ในทิศตะวันออกเป็นต้น ชื่อว่าในทิศโน้น ไม่พึงกล่าวว่า ไม่มีพระนิพพาน.
    อีกอย่างหนึ่ง คำว่า "แสง" เป็นชื่อของท่า.
    ชื่อว่ามีท่าทุกแห่ง เพราะทุกแห่งมีท่า. เขาเล่าเกี่ยวกับพระนิพพานว่า ผู้อยากจะข้ามมหาสมุทรโดยที่ใดๆ ที่นั้นๆ แล้วย่อมเป็นท่า, ชื่อว่าที่ที่ไม่ใช่ท่า ย่อมไม่มีฉันใด ในกัมมัฏฐาน ๓๘ อย่าง ผู้ประสงค์จะข้ามไปพระนิพพานด้วยหัวข้อสำคัญใดๆ หัวข้อนั้นๆ แลย่อมเป็นท่า, ไม่มีกัมมัฏฐานที่ชื่อว่าไม่เป็นท่าของพระนิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน,
    เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "เป็นท่าทุกแห่ง".


    =http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=551]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2015
  17. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    อ้างอิงพระไตรปิฏก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
    ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส



    โมฆราชมาณวกปัญหานิทเทส
    ว่าด้วยปัญหาของท่านโมฆราช








    ดูกรคามณิ เมื่อบุคคลเห็นซึ่งความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งสิ้น ซึ่งความสืบต่อแห่งสังขารทั้งสิ้น ตามความเป็นจริงภัยนั้นย่อมไม่มี.
    เมื่อใด บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกเสมอหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อนั้น บุคคลนั้นก็ไม่พึงปรารถนาภพหรืออัตภาพอะไรๆ อื่น เว้นไว้แต่นิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ.



    อ้างถึง
    สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เนื้อที่อยู่ในป่า
    เมื่อเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ เดินไปก็ไม่ระแวง ยืนอยู่ก็ไม่ระแวง นั่งพักอยู่ก็ไม่ระแวง นอนอยู่
    ก็ไม่ระแวง. ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเนื้อนั้นไม่ไปในทางของพราน แม้ฉันใด ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็เหมือนฉันนั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
    อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมาร
    ให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุแห่งมารผู้ลามก. ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก
    ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. เข้า
    ตติยฌาน เข้าจตุตถฌาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่
    ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก.
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะ
    ล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่
    ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก.
    อ้างอิงพระไตรปิฏก.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2015
  18. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    Quote Tipitaka:
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต



    สังขตสูตร
    [๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓
    ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑
    เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขต-
    *ธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๙๔๔ - ๓๙๔๘. หน้าที่ ๑๖๙ - ๑๗๐.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0<!-- m -->


    Quote Tipitaka:
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต



    อสังขตสูตร
    [๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓
    ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ
    ไม่ปรากฏความเกิด ๑
    ไม่ปรากฏความ
    เสื่อม ๑
    เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะ
    ของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๙๔๙ - ๓๙๕๓. หน้าที่ ๑๗๐.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0<!-- m -->

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2015
  19. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
    ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส



    โมฆราชมาณวกปัญหานิทเทส
    ว่าด้วยปัญหาของท่านโมฆราช








    ดูกรคามณิ เมื่อบุคคลเห็นซึ่งความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งสิ้น ซึ่งความสืบต่อแห่งสังขารทั้งสิ้น ตามความเป็นจริงภัยนั้นย่อมไม่มี.
    เมื่อใด บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกเสมอหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อนั้น บุคคลนั้นก็ไม่พึงปรารถนาภพหรืออัตภาพอะไรๆ อื่น เว้นไว้แต่นิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ.




    อ้างถึง
    สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เนื้อที่อยู่ในป่า
    เมื่อเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ เดินไปก็ไม่ระแวง ยืนอยู่ก็ไม่ระแวง นั่งพักอยู่ก็ไม่ระแวง นอนอยู่
    ก็ไม่ระแวง. ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเนื้อนั้นไม่ไปในทางของพราน แม้ฉันใด ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็เหมือนฉันนั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
    อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมาร
    ให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุแห่งมารผู้ลามก. ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก
    ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. เข้า
    ตติยฌาน เข้าจตุตถฌาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่
    ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก.
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะ
    ล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่
    ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก.
    อ้างอิงพระไตรปิฏก
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=30&A=4519&Z=4935
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2015
  20. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะะอย่างยอดเยี่ยม

    ๔๖๙] สา. อาวุโส ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความสะดุ้งกลัวอย่างไร ฯ
    ก. อาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศล
    ธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสีย
    ประโยชน์ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า
    กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์
    ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไป
    เพื่อความเสียประโยชน์ อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มี
    ความสะดุ้งกลัว อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีความเพียรเครื่อง
    เผากิเลส มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน
    ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ดังนี้ ฯ

    <CENTER>จบสูตรที่ ๒
    </CENTER>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๕๑๕๑ - ๕๒๑๑. หน้าที่ ๒๑๗ - ๒๒๐.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5151&Z=5211&pagebreak=0
     

แชร์หน้านี้

Loading...