เมตตาธรรม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย มองภายใน, 3 เมษายน 2013.

  1. มองภายใน

    มองภายใน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +188
    เมตตา นี้เป็นธรรมอันเป็นสากลของโลกเราไม่ว่าศาสนาใดๆในโลกนี้มักจะมีเมตตาแทรกไว้เป็นคำสอนเสมอทั้งนี้เพราะพระศาสดาทั้งหลายมีเมตตาแก่โลกทำให้พระองค์ทรงเห็นว่าเมตตานี้ดีเมตตานี้เป็นธรรมอันเด่น พระพุทธศาสนานั้นสอนให้มนุษย์มีเมตตาไมตรีต่อกัน คนมีเมตตาจิตนั้นเป็นคนใจเย็น เป็นมิตรกับเพื่อนมนุษย์ สัตว์ทั้งหลายเมตตานี้เป็นหนึ่งในบารมีสามสิบทัศด้วยพระพุทธเจ้าทรงทรงถึงลักษณะของเมตตานี้ไว้ในวิสุทธิมรรค สมาธินิทเทส พรหมวิหารนิเทสไว้ว่า
    เมตตามีอาการประพฤติเกื้อกูลเป็นลักษณะ
    มีการน้อมนำเข้าไปเกื้อกูลประโยชน์ในสัตว์เป็นรส
    มีการบำบัดความอาฆาตเป็นปัจจุปัฏฐาน (อาการที่ปรากฏ)
    มีการเห็นสัตว์เป็นที่ชอบใจ คือไม่โกรธเคือง ไม่ขุ่นเคืองในขณะนั้นเป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้)
    มีการเข้าไปสงบความพยาบาทเป็นสมบัติมีความเสน่หาเป็นวิบัติ
    ทั้งยังตรัสไว้ในอัฏสาลินี อรรถกถา พระธัมมสังคณีปกรณ์ ทุกนิกเขปกถา เหตุโคจฉกะ พระบาลีนิทเทอโทสะ (1062)ไว้อีกว่า
    เมตตามีชื่อว่าไมตรี เนื่องจากเป็นกิริยาที่สนิทสนม
    เมตตามีชื่อว่าการเอ็นดู เพราะคอยปกป้องคุมครอง
    เมตตามีชื่อว่าความแสวงหาผลประโยชน์เกื้อกูล
    เมตตามีชื่อว่าความสงสาร เนื่องจากคอยหวั่นไหวตามไปด้วย
    และยังตรัสถึงกุศลของผู้เจริญเมตตาธรรมไว้อีกว่าเมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมตตาอันเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นแห่งจิตนี้, อาเสวิตายะ, อันบุคลบำเพ็ญจนคุ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว, พะหุลีกาตายะ ยานีกะตายะ, ทำให้มากคือ, ชำนาญให้เป็นยวดยานของใจ, วัตถุกะตายะ อะนุฎฐิตายะ, ให้เป็นที่อยู่ของใจตั้งไว้เป็นนิตย์, ปะริจิตายะ, อันบุคคลส่งเสริมอบรมแล้ว บำเพ็ญดีแล้ว, เอกาทะสานิสังสา ปาฎิกังขา, ย่อมมีอานิสงส์ สิบเอ็ดประการ, กะตะเม เอกาทะสะ,
    อานิสงส์สิบเอ็ดประการ อะไรบ้าง,
    (๑) สุขังสุปะติ, คือ (ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น) หลับอยู่ก็เป็นสุฃสบาย
    (๒) สุขัง พุชฌะติ, ตื่นขึ้นก็เป็นสุขสบาย,
    (๓) นะปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ, ไม่ฝันร้าย
    (๔) มะนุสสานัง ปิโยโหติ, เป็นที่รักของเหล่ามนุษย์ทั้งหลาย,
    (๕) อะมะนุสสานัง ปิโยโหติ, เป็นที่รักของเหล่าอมนุษย์ทั่วไป,
    (๖) เทวะตารักขันติ, เทวดาย่อมคุ้มครองรักษา
    (๗) นาสสะอัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ, ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศัตราก็ดี ย่อมทำอันตรายไม่ได้,
    (๘) ตุวะฎัง จิตตังสะมาธิยะติ, จิตย่อมเป็นสมาธิได้โดยเร็ว,
    (๙) มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ, ผิวหน้าย่อมผ่องใส,
    (๑๐) อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ, เป็นผู้ไม่ลุ่มหลง ทำกาลกิริยาตาย,
    (๑๑) อุตตะรัง อัปปะฎิวำชฌันโต, พรัหมะโลกูปะโค โหติ, เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษอันยิ่งๆขึ้นไป, ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล
    เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมตตาอันเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นแห่งจิตนี้, อาเสวิตายะ, อันบุคลบำเพ็ญจนคุ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว, พะหุลีกาตายะ ยานีกะตายะ, ทำให้มากคือ, ชำนาญให้เป็นยวดยานของใจ, วัตถุกะตายะ อะนุฎฐิตายะ, ให้เป็นที่อยู่ของใจตั้งไว้เป็นนิตย์, ปะริจิตายะ, อันบุคคลส่งเสริมอบรมแล้ว บำเพ็ญดีแล้ว, เอกาทะสานิสังสา ปาฎิกังขา, ย่อมมีอานิสงส์ สิบเอ็ดประการ, อิทะมะโว จะ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายอันนี้แล้ว, อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต, ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ ก็มีใจยินดี, ภาสิตัง อะภินันทุนติ, พอใจในภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น, อิติ, ด้วยประการฉะนี้แล


    ความสงบ เปรียบยัง กังน้ำใส
    ดูสิ่งใด ได้เห็น เป็นแก่นศรี
    ถ้าดูจิตสนิทแนบ แอบกายี
    ดูให้ดี มีสุข ไม่ทุกข์ใจ
    จงตรวจดู ภายใน อย่าให้ขาด
    คงไม่พลาด ความจริง สิ่งแจ่มใส
    สันติสุข ทุกข์ดับ ลับดวงใจ
    ความเป็นไท ทรงไว้ ได้แน่เอย
    คติธรรมโดยพระอาจารย์ธรรมรัติ ธัมฺมรโต เจ้าอาวาสวัดชากใหญ่
     

แชร์หน้านี้

Loading...