เบญจขันธ์ หรือขันธ์ ๕

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย กล่องไม้ขีดไฟ, 9 กรกฎาคม 2018.

  1. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    เบญจขันธ์ หรือขันธ์ ๕ ก็คือร่างกายของเรานี่เอง แยกออกได้เป็น ๕ ส่วน คือ

    ๑.รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กระดูก เลือด
    ๒.เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ
    ๓.สัญญา ได้แก่ ความจำได้หมายรู้
    ๔.สังขาร ได้แก่ ความคิด ความปรุงแต่ง
    ๕.วิญญาณ ได้แก่ ประสาทสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    เบญจขันธ์นี้ จะเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีอยู่ในร่างกายทั้งนั้น


    รูป จัดเป็น รูปธรรม
    เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ จัดเป็น นามธรรม

    พระพุทธเจ้า พระขีณาสพ ท่านสอนให้พิจารณาความจริงของเบญจขันธ์นี้
    ให้คลายความกำหนัดยินดี คลายความยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย
    คือให้พิจารณาร่างกาย จนรู้แจ้งแทงตลอดว่า
    ร่างกายนี้มีสภาพความจริงที่สกปรก และเต็มไปด้วยภาระ
    ต้องอาบน้ำสระผม แปรงฟัน ซักผ้า ทำอาหาร ล้างจาน
    กวาดถูบ้านเรือน เรียนหนังสือ ทำงานหาอยู่หากิน หาปัจจัย
    ยามหิวก็หาให้กิน ยามกระหายก็หาให้ดื่ม
    ยามเหนื่อยก็พาไปพักผ่อน ยามเจ็บไข้ก็รักษา
    พาไปออกกำลังกาย ให้การศึกษา ให้อาชีพ
    ดูแลเสื้อผ้าหน้าผมเครื่องประดับทุกอย่าง
    มอบความสุข มอบเกียรติยศ มอบสิ่งดีๆให้
    บำรุงบำเรอกันไม่รู้เท่าไหร่ตลอดชีวิตที่ผ่านมา

    แต่เจ้าร่างกายนี้ก็แสนจะเนรคุณ
    จะเป็นเด็กน้อยน่ารักตลอดก็ไม่ได้
    จะเป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดก็ไม่ยอม
    มันมีความแก่ ความเหี่ยวย่น ความเสื่อม ความอ่อนแอ ความเจ็บป่วย และมีความตายเป็นที่สุด

    ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน เป็นความทนได้ยาก สุดท้ายต้องจากกันทั้งหมด
    ทุกอย่างล้วนแตกสลาย ดินน้ำลมไฟที่ยืมเขามา ถึงเวลาต้องมอบส่งคืนทุกอย่าง
    ไม่มีใครเก็บอะไรไว้ได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง
    รูปขันธ์ นามขันธ์ มีสภาพอย่างนี้

    ผู้ที่รู้เเจ้งในขันธ์ ๕ ปล่อยวางได้ จึงพ้นทุกข์ได้
    รูปขันธ์เห็นง่าย รู้ง่าย พิจารณาง่าย ฝึกทบทวนบ่อยๆ
    รูปขันธ์เกิดดับอย่างไร นามขันธ์ก็เกิดดับอย่างนั้น
    เวทนาขันธ์ ก็ดูสิ
    เดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเสียใจ เดี๋ยวเฉยๆ
    สัญญาขันธ์ ก็ดูสิ
    เดี๋ยวจำได้แม่น เดี๋ยวลืมเสียแล้ว เดี๋ยวนึกได้ลางๆ
    สังขารขันธ์ ก็ดูสิ
    เดี๋ยวคิดมากฟุ้งไม่หยุด เดี๋ยวคิดไม่ออก

    วิญญาณขันธ์ ก็คือประสาทสัมผัสนี่เอง พระพุทธเจ้าทรงจำแนกวิญญาณออกเป็น ๖ ประเภท ได้แก่
    ๑.จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา คือการเห็น
    ๒.โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู คือการได้ยิน
    ๓.ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือการได้กลิ่น
    ๔.ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือการรู้รส
    ๕.กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย เช่น หนาว ร้อน อ่อน เเข็ง
    ๖.มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ คือรู้ธรรมารมณ์


    ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่ใจรับรู้ ความคิด จินตนาการ สิ่งที่ใจเก็บมาคิด
    ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต หน่วงดึงมาเป็นอารมณ์ สิ่งต่างๆที่สัมผัสได้ด้วยใจ
    เรื่องเบญจขันธ์ เป็นเรื่องกลไกการทำงานที่หมุนไปด้วยกัน ส่งต่อกัน
    จนเกิดเรื่องราวต่างๆมากมาย ทั้งที่เป็นบาป และเป็นบุญ
    เป็นการต่อกระแส และเป็นการตัดกระแส

    ทั้งหมดที่อธิบายมานี้ จะเห็นว่าขันธ์ ๕ คือเรื่องปกติของธรรมชาติ
    ที่เมื่อไหร่เราเผลอขาดสติ ความหลงในขันธ์ห้าทำให้เกิดตัณหาหน้ามืด
    เกิดเรื่องผิดศีลผิดธรรม เราเข้าไปยึดถือขันธ์ ๕ มากเท่าใด
    เราจะแบกไว้ซึ่งทุกข์อันใหญ่หลวงมากเท่านั้น หรืออาจจะกล่าวได้ว่า
    ขณะนี้เรามีความทุกข์มากเท่าไหร่ แสดงว่าเรากำลังหลงยึดอยู่มากเท่านั้น

    ในทางกลับกัน เมื่อใดเรามีสัมมาสติดีๆ จะพบว่ามันเป็นเรื่องธรรมดามากๆ
    จะทุกข์ไปทำไม ทุกอย่างมันรอเวลาของมัน เวลาที่จะได้ จะเสีย จะพบ จะจาก
    ไม่ว่าจะชอบใจหรือไม่ชอบใจก็ตาม สุดท้ายดับทั้งหมด มีอยู่แค่เท่านี้จริงๆในทุกสรรพสิ่ง
    ในทางโลก การฝึกจิตให้พิจารณาขันธ์ ๕ คือการฝึกแยกส่วนผสมของชีวิต
    ทุกคนมีแบบที่เหมาะสมพอดีของตนเอง เวลาร้อนจะได้ไม่ร้อนมาก
    เวลาหนาวก็จะได้ไม่หนาวจัด รู้จักปรับตัว ปรับอารมณ์ เตรียมพร้อม
    สามารถยอมรับความเกิดดับได้ทุกสถานการณ์

    ในทางธรรม การพิจารณาขันธ์ ๕ คือการแยกแยะเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความทุกข์
    หยั่งสติธรรม หยั่งปัญญาธรรม ลงค้นคว้า จนรู้เท่าทัน
    สามารถปลดเเอกจิตให้เป็นอิสระจากขันธ์ ๕
    ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดแบกภาระร่างกายให้เหนื่อยยากอีก

    จิต ไม่ใช่ขันธ์ ๕
    จิตคือผู้รู้ ผู้เช่าบ้านขันธ์ ๕ มาอยู่อาศัยชั่วคราว ตราบจนสิ้นอายุขัย
    ท่านใดพิจารณาจนรู้เท่าทันขันธ์ ๕ อันเป็นด่านแรกได้แล้ว
    ให้ก้าวเดินหน้าฝ่าด่านต่อไป คือให้พิจารณาจิต ชำระอวิชชาในจิต


    ท่านใดพิจารณาจิต หมดสิ้นความยึดถือจิตเป็นเรา เป็นของเรา คืนจิตผู้รู้สู่ธรรมชาติ
    รู้เท่าทันความไม่มีสาระแก่นสารของจิต หมดสิ้นอัตตา
    ท่านนั้นจักพ้นจากทุกข์ตลอดอนันตกาล

    ที่มา
    พระอาจารย์คม อภิวโร วัดป่าธรรมคีรี โคราช
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    โอ้ เห็นด้วยเลยครับผม
    ส่วนตัวมองว่าจิตเป็นผู้รู้
    หรือมองเป็นธาตุรู้ก็ได้ครับ
    เพียงแต่ในขั้นของการเดินปัญญา
    จะปล่อยให้จิตว่างรับรู้
    แต่ว่าไม่ให้เค้าเกิดครับ


    เห็นด้วยว่าด่านแรกคือรู้เท่าทันขันธ์ ๕ ก่อน
    แล้วค่อยมาชำระอวิชชาในจิตต่อ
    ตามด้วยพิจารณาจิต
    หมดสิ้นความยึดถือจิตเป็นเรา
    คืนจิตผู้รู้สู้ธรรมชาติ
    นี่มันเป็นคำสอนเพื่อ
    การหลุดพ้นแล้วครับ
    แม้ว่าจะยังไม่ลงรายละเอียดใน
    แต่ละขั้นตอน แต่ส่วนตัวเชื่อว่า
    ท่านผ่านมาหมดแระครับ
    และคงมีคำสอนถึง
    วิธีการในแต่ละส่วนอยู่ครับ


    ถ้าไม่มีสัมผัสภายในจากฐานสมาธิที่ดีมาก
    บวกเรื่องพลังงานมาหนุนร่วมกัน
    (เอกลักษณ์แนวสายทางพระป่า
    คือไม่ได้เน้นเอาพลังงานไปทางด้านฤทธิ์)
    แต่เน้นไปทางหนุนการปฎิบัติ
    ทางด้านปัญญาแล้วไซด์
    คงจะแสดงธรรมอย่างนี้ไม่ได้หรอกครับ

    ปล ความเห็นส่วนตัวนะครับ

     
  3. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ท่านยังอายุไม่มาก แต่อธิบายธรรม
    ด้วยภาษาที่เข้าใจได้ง่าย

    เหมาะกับคนทั่วไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...