เตือนภัยระวังกรุงเทพฯจมบาดาล

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย crimsonn, 1 ธันวาคม 2011.

  1. crimsonn

    crimsonn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +455
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Exc3SEWjmgQ]เตือนภัยระวังกรุงเทพฯจมบาดาล(1).wmv - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=vJlD6JDfJTk&feature=related]เตือนภัยระวังกรุงเทพฯจมบาดาล(2).wmv - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=U_8lFjIJ7ak&feature=related]เตือนภัยระวังกรุงเทพฯจมบาดาล(3).wmv - YouTube[/ame]
     
  2. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>6 แสนล้าน ต้านน้ำท่วมถาวร</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>1 ธันวาคม 2554 </TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>

    <TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> - เผย3 แนวทางรับมือรับมือน้ำท่วมใหญ่ครั้งหน้า

    - ทุกฝ่ายสนองแนวพระราชดำรัสเป็นพื้นฐาน

    - ฝั่งตะวันออกเวนคืน 100 กิโลเมตร สร้างมอเตอร์เวย์น้ำ จากอยุธยาถึงสมุทรปราการ

    - เล็งสร้างอุโมงค์ยักษ์ 2 ชั้น ระบายน้ำ-ระบายรถ

    - นักเศรษฐศาสตร์ชี้งานนี้วัดกึ๋นรัฐบาลยิ่งลักษณ์อยู่หรือไป

    สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ชี้ว่า อุทกภัยครั้งนี้ ส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมทั้งทางตรงและทางอ้อมประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.5 ของจีดีพี จึงคาดว่าเศรษฐกิจของไทยในปีนี้จะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 1.5-1.8 โดยมีครัวเรือนได้รับผลกระทบ 1.2-1.5 ล้านครัวเรือน มากสุดคือกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประมาณ 1 ล้านครัวเรือน

    ส่วนภาคเกษตรได้รับผลกระทบ 11.2 ล้านไร่ กระทบเกษตรกร 721,000 ครอบครัว ส่งผลให้มีนาข้าวจมน้ำ 9.18 ล้านไร่

    สำหรับภาคอุตสาหกรรมกระทบโรงงาน 9,895 แห่ง ในพื้นที่ 8 จังหวัด กระทบต่อแรงงาน 660,000 คน และส่งผลให้การส่งออกในไตรมาส 4 ให้ลดลงร้อยละ 10 รวมทั้ง กระทบยอดนักท่องเที่ยวปีนี้ทำให้ลดลงจาก 19.5 ล้านคน เหลือ 18.5 ล้านคน

    ขณะที่ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกเป็นที่น่าหวาดหวั่นว่าภัยพิบัติต่างๆ ซึ่งรวมทั้งอุทกภัยนั้นมีโอกาสจะเกิดขึ้นได้มากและรุนแรงขึ้น ดังนั้น การเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันวิกฤตการณ์น้ำท่วมในระยะยาว ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นในครั้งนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

    แนวทางของผู้เชี่ยวชาญทั้งในภาครัฐและเอกชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในภาคกลางเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืน โดยตอกย้ำถึงการนำแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ ประกอบกับการนำเสนอแนวทางใหม่ๆ ซึ่งได้จากการพัฒนาองค์ความรู้ ประสบการณ์ รวมทั้ง ตัวอย่างจากต่างประเทศ

    แนวทางแรก “ปราโมทย์ ไม้กลัด” อดีตอธิบดีกรมชลประทาน “ธีระชน มโนมัยพิบูลย์” รองผู้ว่ากรุงเทพมหานครในฐานะวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญด้านโครงสร้าง และ “ดร.รอยล จิตรดอน” ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำ สิ่งที่ทั้ง 3 คนเห็นตรงกันว่า เรื่องแรกๆ คือ ควรยึดแนวทางตามพระราชดำรัสเรื่องแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานไว้เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2538

    จากนั้น จึงใช้ทรัพยากรทั้งข้อมูล องค์ความรู้ วัสดุอุปกรณ์ ซึ่งหากต้องใช้งบประมาณคาดว่าน่าจะอยู่ที่ 2 แสนล้านบาท เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาในระยะยาว

    ขณะที่ แนวทางที่สอง คือ “ทีมกรุ๊ป” บริษัทเอกชนที่มีความชำนาญด้านแหล่งน้ำและวิศวกรรม เสนอแนวทางลงทุนก่อสร้างมอเตอร์เวย์น้ำ ควบคู่กับมอเตอร์เวย์ถนนมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท

    และแนวทางที่สาม คือ “วิศวกรรมสถาน” นำเสนอการสร้าง “อุโมงค์ใต้ดิน” มูลค่า 2 แสนล้านบาท รวมกว่า 6 แสนล้านบาท

    ปราโมทย์ - ยุทธศาสตร์ต้องชัด

    ปราโมทย์ ไม้กลัด ผู้มีประสบการณ์มากมาย จากการทำงานกับ “น้ำ” มาตลอดชีวิต ทั้งในฐานะอดีตอธิบดีกรมชลประทาน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และอดีตรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    ให้ความเห็นว่า แนวคิดหลักในการแก้ปัญหา เริ่มจากต้องทำความเข้าใจความแตกต่างเรื่อง “น้ำท่วม” กับ “อุทกภัย” ก่อน

    “ต้องเข้าใจว่า น้ำท่วมในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะลุ่มน้ำไหนก็ตามมันห้ามไม่ได้ อุทกภัยคือ ความเสียหายอันเกิดจากน้ำท่วม น้ำท่วม ท่วมได้ แต่ต้องจัดการกำหนดยุทธศาสตร์บริเวณพื้นที่นั้นไม่ให้เกิด ไม่ให้เป็นอุทกภัย ต้องกำหนดให้ชัดเจน”


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=365 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=365>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ภายใต้ความเชื่อร่วมกันของสังคมไทยขณะนี้ที่ว่า น้ำท่วมต้องเกิดขึ้นบ่อย ปราโมทย์ ให้ความเห็นว่า การแก้ปัญหาเรื่องน้ำระยะยาว มี 3 ยุทธศาสตร์หลัก แต่ละยุทธศาสตร์มีวิธีการแตกต่างกัน

    ยุทธศาสตร์ที่ 1 คือ ยุทธศาสตร์ “สู้” - สู้กับเหตุการณ์ สู้กับภัย ตัวอย่างเช่น นิคมอุตสาหกรรม กทม. ศาลาว่าการตามต่างจังหวัด ชุมชนต่างๆที่เป็นเขตเศรษฐกิจ เหล่านี้เข้าข่ายใช้ยุทธศาสตร์สู้

    เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ยังต้องมีองค์กรรับผิดชอบชัดเจน ไม่จำเป็นต้องเป็นกรมชลประทาน ส่วนวิธีการต้องทำระบบปกป้อง เช่น คันกั้นน้ำ จุดสำคัญคือถูกต้องตามหลักวิศวกรรม

    ยุทธศาสตร์ที่ 2 สู้ไม่ไหวต้องใช้ยุทธศาสตร์ “ปรับตัว” ทำความเข้าใจธรรมชาติว่า เมื่อเกิดเป็นน้ำท่วม ต้องไม่ให้เป็นอุทกภัย เป็นเรื่องการเข้าใจธรรมชาติ ซึ่งนำไปปรับใช้ได้กับลุ่มน้ำทั่วประเทศ

    วิธีการ เริ่มจากการหาข้อมูลพื้นที่ๆท่วมตามธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถป้องกัน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องออกไปพูดคุย สอบถามความต้องการของประชาชน แล้วนำมาสรุป โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่าย วัสดุอุปกรณ์ ไม่ใช่การจ้าง รวมทั้งไม่ใช่การชดเชยโดยให้เงินระยะยาว เป็นการแก้ปัญหาลักษณะ “ร่วมด้วยช่วยกัน”

    “หน่วยราชการไม่มีทางทำได้รวดเร็วครบถ้วน วิธีการคือทำพร้อมๆกันทั่วประเทศ ชุมชนไหนยังไม่ทำก็ไม่เป็นไร หาข้อมูลสร้างความเข้าใจหรือดูตัวอย่างก่อน ดูตัวอย่างสิ่งที่จะทำ แต่ให้ชาวบ้านเป็นคนทำ”

    “แนวทางก็ใช้หลักของพระเจ้าอยู่หัว เรื่องการอยู่ร่วมกัน ท่านรับสั่งว่าจะทำอะไร ต้องเข้าใจ เข้าถึง เข้าถึงคือเข้าใจอย่างลึกซึ้งเข้าใจถึงผู้คนสังคมหมด หลังจากนั้นถึงมีวิธีการพัฒนา”

    ปราโมทย์ ยกตัวอย่างว่า ถ้าเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการจัดตั้งถิ่นฐานเพียบพร้อม น้ำท่วมประมาณเดือนครึ่ง หรือสองเดือน พอน้ำลดก็เริ่มทำนา รัฐก็จะจัดสรรชลประทานให้พร้อม เท่ากับมีเวลาทำนา 10 เดือน นอกจากนั้นก็ร่วมด้วยช่วยคิด ว่าช่วง 2 เดือนที่น้ำท่วม ชาวบ้านจะมีอาชีพ หรือใช้ชีวิตอย่างไร

    ยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ ยุทธศาสตร์ “หนีภัย” ตัวอย่างเช่น น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งเป็นอุทกภัยชัดเจน เป็นเรื่องที่สู้ไม่ได้ วิธีการ คือ องค์กรของรัฐไม่ว่าจะเป็นจังหวัด หรือองค์กรท้องถิ่น ต้องรณรงค์ทำความเข้าใจให้ย้ายบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยไปอยู่ในที่ปลอดภัย

    ทั้งนี้ ถ้าจัดการทั้ง 3 ยุทธศาสตร์ ให้สอดคล้องหมดทุกแห่งทุกพื้นที่ ก็สามารถแก้ปัญหาอุทกภัยได้ และหากต้องใช้งบประมาณเพื่อแก้ปัญหาในระยาวคาดว่าจะอยู่ที่ 2 แสนล้านบาท

    เป็นเรื่องที่ยอมรับทุกส่วนทุกสังคมแล้วว่า สิ่งที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็น “มหาอุทกภัย”ความสูญเสียมีหลายเรื่อง ปราโมทย์ เพิ่มเติมว่า หากพิจารณาย้อนกลับไป จะพบข้อบกพร่องมากมาย ขณะที่การกำหนดยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์เร่งด่วน เพื่อทำให้เกิด “ของ” ในที่นี้ หมายถึงวัสดุอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ ที่ใช้สำหรับป้องกันน้ำท่วม

    “เราไม่มีระบบ ไม่มีของ ไม่มีอะไรที่ทำไว้รับมือเลย เหมือนอยู่กันมาแบบธรรมชาติๆ มีอะไรก็อยู่กันไป”

    “เห็นชัดๆอย่างกทม. ใช้ยุทธศาสตร์สู้แต่ไม่มีของ ไม่มีสิ่งต่างๆที่ครบถ้วนสมบูรณ์มันก็ล้มระเนระนาด ไม่บรรลุเป้าหมายเท่าที่ควร เพราะฉะนั้น เราควรมารื้อฟื้นกัน เพื่อให้ครบถ้วน ทำ ทำออกมา อะไรที่เป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนการทำออกมา”


    โครงการมอเตอร์เวย์น้ำ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=598 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=598>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> กทม. - เน้นแก้ไขตามแนวทางพระราชดำริ

    ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ปัจจุบันองค์ประกอบต่างๆ ของเมือง เปลี่ยนแปลงจากอดีตมากมาย แนวทางหลัก คือ ต้องรื้อระบบบริหารจัดการน้ำใหม่หมด ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่า พื้นที่กทม.เป็นปลายทางของการรับน้ำ


    ทั้งนี้ แนวทางการแก้ปัญหาสำคัญๆของกทม. ประกอบด้วย การสร้างฟลัดเวย์ การเพิ่มอุโมงค์ เพิ่มการป้องกันพื้นที่ชั้นในด้วยการเสริมคันพระราชดำริให้แข็งแรง ให้แก้มลิงฝั่งตะวันตกมีบทบาทมากขึ้น

    การป้องกันระยะยาวแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ภาพรวม ประกอบด้วย หนึ่ง - รักษาต้นน้ำ หรือผืนป่า เช่น การปลูกป่า เพื่อบรรเทาความรุนแรงจากหนักเป็นเบา สอง-ตั้งคณะกรรมการควบคุมปริมาณการระบายน้ำที่จะระบายลงมา ทำการผันออกให้เหมาะสม สาม-ศึกษาเส้นทาง


    และระบบของจังหวัดที่จะรับน้ำ เช่น พิษณุโลก นครสวรรค์ จากนั้นกำหนดจุดที่จะทำคันกั้นน้ำ หรือทุ่งรับน้ำ เพื่อไม่ให้ตรงเข้ามากลางเมืองรวมเร็วเกินไป และสี่ ทั้งประเทศ ต้องมีการจัดสรรโดยใช้หลักผังเมือง บวกกับหลักวิศวกรรม

    ส่วนในกทม. ดร.ธีระชัยกล่าวว่า ทำโดยเริ่มจากเพิ่มความสูงของคันกั้นน้ำ จากเดิม 3 เมตรเป็น 3.5 เมตร การขุดลอกคูคลองอาจไม่จำเป็นต้องเวนคืนมาก โดยทำด้วยการจัดการการบุกรุกคูคลองในเขตทางสาธารณะ ขุดลอกคลองซึ่งมีประมาณกว่า 2,000 คลอง


    หาที่อยู่ใหม่ให้กับชุมชนที่อยู่ริมน้ำ หรือรุกล้ำคูคลอง รวมถึงการทำอุโมงค์ระบายน้ำ ถ้าจะมีเพิ่มเติมก็คือ การทำคลองแนวดิ่งที่เขตทวีวัฒนา พื้นที่ด้านตะวันตกเพิ่มเติม จากนั้นดึงน้ำทั้งหมดลงไปสู่แก้มลิง ที่กทม.ทำไว้แล้วน้ำก็จะไปสู่ปากอ่าวในที่สุด

    รอยล - ต่อยอดจากของเดิม

    ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วมลุ่มน้ำเจ้าพระยาระยะยาว ทำโดย


    1.ฟื้นฟูสภาพผืนป่า การใช้ประโยชน์ที่ดิน ตั้งแต่พิษณุโลกลงมา

    2.ให้ความสำคัญเรื่องการหน่วงน้ำ คือ บึงบอระเพ็ด บึงสีไฟ พื้นที่บึงตอนบนแถวคีรีมาศ ทะเลหลวง ต้องพัฒนาเพิ่มเติม

    3.เร่งพัฒนาโครงสร้างน้ำ ให้เข้าสู่ระบบชลประทาน

    4.สนับสนุนการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ รวมทั้งการทำแก้มลิง โดยอาจใช้วิธีปรับพื้นที่เกษตร

    เช่น บริเวณหนองเสือแถวปทุมธานี ซึ่งเป็นสวนส้มร้าง มีพื้นที่กว่าแสนไร่ นำมาปลูกพืชที่เหมาะสมน่าจะเป็นปาล์มน้ำมัน เพราะจะทำให้มีร่องลึกช่วยแบ่งน้ำ และพื้นที่ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวเหมาะกับปาล์มน้ำมัน

    5.จากแม่น้ำลพบุรี ชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งถูกควบคุมด้วยเขื่อนพระราม 6 ประตูน้ำพระนารายณ์ หากต้องการกันน้ำไม่ให้สมทบกับแม่น้ำเจ้าพระยาต้องแบ่งน้ำออกทางประตูพระนารายณ์ทางคลองระพีพัฒน์ ซึ่งระบายได้ 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีควรขยายเป็น 400 ลูกบาศ์ฯ


    ส่วนหนึ่งเอาน้ำออกทางคลอง 13 คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต อีกส่วนหนึ่งต้องเอาออกทางฉะเชิงเทรา ทางนครนายก โดยใช้ประตูน้ำพระนารายณ์และเขื่อนพระราม 6 วิธีขยายอาจปรับปรุงคลองให้กว้างหรือลึก

    นอกจากนั้นเหนือเขื่อนป่าสักมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กประมาณ 10 อ่าง ต้องนำมาบริหารร่วมกัน นอกจากนี้ แม่น้ำท่าจีนต้องปรับ คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต คลองต่างๆ ที่จะป้อนเข้าสู่ระบบสูบ

    ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวต่อไปว่า การแก้ไขปัญหาระยะยาว ควรทำอยู่บนของเดิม ทำให้ใช้ได้อย่างสมบูรณ์และต่อยอดได้

    ทั้งนี้ “ของเดิม” ประกอบด้วย


    1. “คันตามแนวพระราชดำริ” ที่เรียกว่า King Dike ซึ่งมีครบแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือเสริมความแข็งแกร่ง

    2. เพิ่มประสิทธิภาพของคลองต่างๆ ต้องทำให้ใช้งานได้อย่างน้อยร้อยละ 80 / ส่วนแม่น้ำท่าจีนต้องปรับปรุงคลองลัดต่างๆ และต้องทำเพิ่มเติมบริเวณตัวเมืองสมุทรสาครที่เป็นกระเพาะหมูอยู่ทำเป็นอุโมงค์หรือท่อ เหมือนคลองลัดโพธิ์หรือคลองบางกระเจ้า

    3. เพิ่มขีดความสามารถในการระบายของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยการเพิ่มทางระบายสองข้างของแม่น้ำเพื่อแบ่งน้ำออกไปซึ่งด้านตะวันออกคือระพีพัฒน์ บางปะกง หรือวงแหวนรอบนอก

    ทีมกรุ๊ป เล็งสร้างมอเตอร์เวย์น้ำ

    สำหรับ บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด หรือทีมกรุ๊ป โดย ชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการผู้จัดการ หน่วยธุรกิจแหล่งน้ำ กล่าวถึงแผนระยะยาว ซึ่งจะต้องใช้เวลาดำเนินการแล้วเสร็จมากกว่า 5 ปี ว่าประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ


    1. การก่อสร้างมอเตอร์เวย์น้ำ ซึ่งกำหนดไว้เป็นการขุดคลองระบายน้ำ หรือฟลัดเวย์ ขนาด 1,150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที สามารถระบายน้ำได้ 100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน

    โดยจะขุดเป็นคลองที่มีความยาว 100 กิโลเมตร ความกว้าง 180 เมตร ลึกประมาณ 8 เมตร มีประตูควบคุมน้ำที่ตอนเหนือบริเวณบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมีประตูควบคุมน้ำที่บริเวณท้ายน้ำ

    รวมทั้ง มีประตูเรือ ที่ให้เรือผ่านเข้าออกได้ ใช้เป็นเส้นทางเดินเรือบรรทุกสินค้าขนาด 3,000 ตันได้ ซึ่งจะทำให้ลดปริมาณการจราจรทางน้ำในแม่น้าเจ้าพระยาได้อีกทางหนึ่ง


    อกจากนี้ น้ำในคลองจะถูกเก็บกักและควบคุมให้เป็นน้ำจืด ที่สามารถใช้เป็นน้ำสำรอง สำหรับใช้เป็นแหล่งน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาสำหรับกรุงเทพฯ ด้านฝั่งตะวันออกได้อีกด้วย


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=424 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=424>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>แผนที่แสดงวงแหวนรอบนอกสำหรับเส้นทางของระบบ Multi - Service Flood Tunnel System </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> มอเตอร์เวย์น้ำ จะก่อสร้างคู่ขนานไปกับถนนวงแหวนรอบที่ 3 หรือมอเตอร์เวย์ โดยมีคลองอยู่ตอนกลาง ซึ่งจะมีส่วนของถนนที่ใช้เป็นทางด่วนเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอยู่ด้านหนึ่ง และมีถนนคู่ขนาน สองข้าง สามารถบริการประชาชนได้โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียม

    ส่วนที่ดินบริเวณสองข้างของถนนคู่ขนานเลียบมอเตอร์เวย์น้ำนี้ จะมีโอกาสพัฒนาให้มีความเจริญขึ้น ทั้งทางด้านการพัฒนาเป็นชุมชนที่พักอาศัยที่ทันสมัย อยู่ใกล้คลองที่จะมีน้ำอยู่ตลอดปี และพื้นที่ใกล้เคียงถัดออกไปสามารถใช้ในการเกษตรกรรมแผนใหม่


    ปัจจุบันบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จากัด (มหาชน) เริ่มส่งเสริมให้ปลูกต้นปาล์มแทนสวนส้มที่ได้รับความเสียหายในพื้นที่บริเวณทุ่งหนองเสือ โดยจะใช้น้ำมันปาล์ม มาผลิตเป็น Bio Diesel ต่อไป นอกจากนี้ ยังสามารถพัฒนาด้านการท่องเที่ยวทางน้ำได้อีกด้วย

    และส่วนของทางด่วนนั้นจากการศึกษาพบว่าจะสามารถเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางได้ประมาณ 3,500 ล้านบาทต่อปีอีกด้วย โดยโครงการก่อสร้างทั้งหมด คาดว่าจะใช้งบประมาณ 2.2 แสนล้านบาท

    จากการใช้แบบจำลองชลศาสตร์-อุทกวิทยา ที่ทีมกรุ๊ปได้พัฒนาขึ้นมาสำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยาซึ่งได้สอบเทียบ และใช้งานอย่างได้ผลดีมาตลอด 30 ปี และในการศึกษา ระบบระบายน้ำที่ปรับปรุงใหม่ทั้งระบบแล้วพบว่าการใช้มอเตอร์เวย์น้ำ เป็นทางระบายน้ำหลักอีกสายหนึ่ง


    บูรณการร่วมกับแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และการปรับปรุงทั้งระบบ แล้วจะสามารถระบายน้ำจากตอนเหนือ และจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั้งหมดได้รวม 550 ล้าน ลบ.ม./วัน สามารถบริหารจัดการน้ำท่วมใหญ่ ที่มีมวลน้ำมากเช่นเดียวกับปี 2538 และปี พ.ศ. 2554 นี้ได้อย่างเพียงพอแน่นอน

    2. ปรับปรุงคลองชลประทานชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งปัจจุบันมีขนาดความจุ 210 ลบ.ม./วินาที ส่งน้ำได้วันละ 18 ล้านลูกบาศก์เมตร ขยายขนาดคลอง


    และปรับเปลี่ยนไปเป็นคลองระบายน้ำขนาด 500 ลบ.ม./วินาที ให้ระบายน้ำได้วันละ 43 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อเร่งการระบายน้ำจากนครสวรรค์และชัยนาท ไม่ให้เกิดการสะสมในทุ่ง โดยก่อสร้างให้ไปเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์น้ำ เพื่อเร่งการระบายน้าลงสู่ทะเลต่อไป

    และ3. การก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นที่มีความจุอ่างเก็บน้ำ 730 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนแม่วงก์ ที่มีความจุอ่างเก็บน้ำ 230 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้าไว้ใช้ในฤดูแล้ง และสามารถใช้บรรเทาอุทกภัยได้ในฤดูฝนอีกด้วย ซึ่งจะต้องพิจารณาคัดเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

    ทั้งนี้ ส่วนแผนระยะสั้น ระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1-2 ปี คือการปรับปรุงระบบระบายน้ำในปัจจุบัน ประกอบด้วย การขุดลอกคูคลอง ปรับปรุงพนังกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำต่างๆ แต่การปรับปรุงคูคลองทั้งหมดนี้ จะมีปัญหาด้านมวลชนที่อาศัยอยู่ในเขตคลอง


    จึงต้องมีการศึกษาด้านการเวนคืน การจ่ายค่าชดเชย ซึ่งวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสหนึ่งที่รัฐจะทำความเข้าใจกับประชาชนได้ง่ายขึ้น เพราะทุกคน ได้เห็นถึงผลเสียหายที่เกิดขึ้น จากการบุกรุกที่ดินเขตคลอง และการสร้างโรงงาน อาคาร บ้านเรือนที่อยู่อาศัยอยู่ในเส้นทางน้ำ ที่จะระบายลงสู่ทะเล

    สำหรับ แผนระยะกลาง ระยะเวลาดาเนินการแล้วเสร็จภายใน 2-5 ปี คือ


    1. พัฒนาพื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่แก้มลิง : จะต้องมีการกำหนดให้พื้นที่เกษตรกรรมที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำที่มีศักยภาพ

    2. ปรับปรุงและขยายคลองบางแก้ว-แม่น้ำลพบุรี และเพิ่มช่องการระบายน้ำของ ประตูน้ำปากคลองบางแก้ว ประตูระบายน้ำปากคลองพระครู และประตูระบายน้ำปลายคลองบางแก้ว และปลายแม่น้ำลพบุรี เพื่อให้สามารถเร่งการระบายน้ำลงสู่มอเตอร์เวย์น้ำได้อย่างรวดเร็ว

    3. ขุดช่องลัดแม่น้ำท่าจีนและก่อสร้างประตูระบายน้ำควบคุม 4 แห่ง ซึ่งเป็นการเร่งระบายน้ำทางฝั่งตะวันตก โดยน้อมนำพระราชดาริที่ดำเนินการที่บางกระเจ้า โดยการขุดคลองลัดโพธิ์ และก่อสร้างบานประตูเพื่อควบคุมและระบายน้ำ เพื่อช่วยให้ระบายน้ำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

    วิศวกรรมสถาน เสนอสร้างอุโมงค์ใต้ดิน

    คณะกรรมการงานก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์ ภายใต้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) โดย รศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ตณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในฐานะประธานคณะกรรมการฯ เสนอแนวคิด MUSTS Flood Tunnel”


    คือ ระบบอุโมงค์ใต้ดินป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ อย่างยั่งยืน ระยะทาง 100 กิโลเมตร ใต้ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกจากบางปะอินถึงสมุทรปราการ มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 2 แสนล้านบาท หรือเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 250 ล้านบาทต่อกิโลเมตร

    ระบบอุโมงค์ป้องกันน้ำท่วมนี้ รศ.ดร.สุชัชวีร์ เสนอว่าน่าจะมีความกว้าง 24 เมตร ความลึก 10 เมตร โดยหลักวิชาการสามารถใช้วิธีก่อสร้างแบบกำแพงไดอะแฟรม (Diaphragm Wall)


    หรือวิธีก่อสร้างอุโมงค์แบบ Cut-and-cover การก่อสร้างแบบพิเศษด้วยวิธี Top-Down Construction ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ในการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน และยังสามารถออกแบบและก่อสร้างเป็นโครงสร้างใต้ดินที่มีพื้นสองชั้น (Double-deck underground structure)

    โดยชั้นบน จะเป็นถนนทางด่วนสำหรับรถยนต์ขนาด 6 เลนขึ้นไป ในยามปกติและน้ำท่วมเล็กน้อยจนถึงปานกลาง ส่วนชั้นล่าง จะเป็นทางระบายน้ำขนาดใหญ่ สามารถรองรับน้ำได้ 100,000 ลูกบาศ์กเมตร/กม. สำหรับในภาวะน้ำท่วมเล็กน้อยและปานกลาง ส่วนในกรณีน้ำท่วมใหญ่จะปิดถนนชั้นบนให้กลายเป็นทางระบายน้ำเพียงอย่างเดียว เพื่อให้สามารถรองรับน้ำได้อีก 1 เท่า

    นอกจากนี้ จะมีการเชื่อมโยงคลองที่มีอยู่เดิมด้วยการขุดอุโมงค์ใต้ดินที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 เมตรระหว่างคลองให้เป็นเครือข่ายใต้ดินเสมือน MUSTS Bypass เพื่อระบายน้ำจากพื้นที่มารวมอยู่ในระบบเดียวกัน


    โดยน้ำทั้งหมดในอุโมงค์ ยังสามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มโดยนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ ขนาด 400-600 เมกะวัตต์ แล้วแต่ขนาดโครงการที่ต้องการ ด้วยการสร้างอุโมงค์แนวดิ่ง (Hydro Power Flood Tunnel) เพื่อนำพลังน้ำไปหมุนเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า จากเดิมที่ต้องไหลทิ้งลงทะเล หรือในเวลาที่น้ำไม่ท่วม สามารถใช้การกักเก็บน้ำแล้วจึงปล่อยลงมาก็ได้


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=500>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>iบบอุโมงค์ป้องกันน้ำท่วม MUSTS</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=500>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>บ่อสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าในโครงการ MUSTS</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> “การเลือกสร้างอุโมงค์ใต้ดินใต้เส้นทางวางแหวนตะวันออกบางปะอิน-บางนา จะแก้ปัญหาน้ำท่วมจากการช่วยดึงน้ำทางตอนเหนือที่ไหลมาอยู่ที่ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานีให้เข้าไปทางฝั่งตะวันออก

    ซึ่งตอนปลายทางที่คลองด่านจังหวัดสมุทรปราการมีประตูระบายน้ำรออยู่แล้ว จะช่วยลดภาระการผันน้ำทางตะวันตก เพราะฟลัดเวย์หรือคลองต่างๆ ด้านตะวันออก ที่มีอยู่เดิม ไม่สามารถบังคับทิศทางของน้ำได้

    น้ำจึงล้นออกก่อนที่จะถึงอีกคลองหนึ่ง การผันน้ำจึงไม่ได้ผลที่ดี แต่ด้านตะวันตกสามารถใช้ระบบการระบายน้ำที่มีอยู่เดิมได้อยู่แล้ว”

    “นอกจากนี้ ไฟฟ้าจากพลังน้ำที่ผลิตขึ้นมาได้ยังสามารถนำมาใช้ในระบบฯ ส่วนถนนทางด่วนในอุโมงค์ใต้ดินยังช่วยรองรับการจราจรที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต


    เนื่องจาก เส้นทางวางแหวนตะวันออกบางปะอิน-บางนาในปัจจุบันมีการจราจรที่หนาแน่นอยู่แล้ว และเพราะเป็นถนนที่ค่อนข้างตรงทำให้การขับขี่สะดวกรวดเร็ว

    แต่อย่างไรก็ตาม การนำเสนอในตอนนี้เป็นหลักการและแนวทาง รายละเอียดอื่นๆ เช่น ค่าผ่านทาง ยังต้องศึกษาเพิ่มเติม หากรัฐบาลให้ความสนใจ”

    รศ.ดร.สุชัชวีร์ เน้นถึงข้อดีของระบบอุโมงค์ใต้ดินดังกล่าวว่า 1. เมื่อสภาพทางกายภาพของพื้นผิวดินและเมืองเปลี่ยนไปแล้ว เต็มไปด้วยชุมชนและสิ่งปลูกสร้างแออัด การวางระบบอุโมงค์ใต้ดินระบายน้ำจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า Flood Way หรือทางระบายน้ำบนพื้นดินซึ่งต้องมีการบูรณะตลอดเวลา


    2. ไม่มีปัญหาการบุกรุกของมวลชน ปัญหาความขัดแย้งในสังคม

    3. เป็นระบบที่เหมาะกับสภาพพื้นที่ของกรุงเทพมหานครซึ่งเปลี่ยนไปแล้ว เพราะ Flood Way บนพื้นดินนั้นเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการวางผังเมืองมาอย่างดี ไม่ต้องเจอปัญหาแนวระนาบของพื้นผิวดินซึ่งต่างกันทำให้ขาดประสิทธิภาพในการระบายน้ำ

    และเมื่อน้ำจำนวนมากท่วมเข้ามาจะแผ่ล้นออกทำให้การควบคุมทิศทางระบายน้ำบนผิวดินทำได้ยาก

    4. ไม่ติดปัญหายุ่งยากในการเวนคืนที่ดิน

    5. ประสิทธิภาพการระบายน้ำในระบบอุโมงค์ใต้ดินดีกว่าทางคูคลองบนผิวดิน

    สำหรับความพร้อมของประเทศไทยในงานวิศวกรรมไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยีซึ่งมีอย่างครบวงจร ทั้งวิศวกรที่ปรึกษา การออกแบบ การก่อสร้าง ผู้รับเหมา ซัพพลายเชน อุปกรณ์เครื่องจักร และแรงงานที่มีคุณภาพ รวมทั้ง ประสบการณ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับระดับโลก เช่น โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดิน อุโมงค์หรือท่อส่งก๊าซต่างๆ

    รศ.ดร.สุชัชวีร์ ย้ำเพิ่มเติมว่า ระบบอุโมงค์ใต้ดินนับเป็นการลงทุนเพื่อแก้ปัญหาและรองรับความต้องการในอนาคตอย่างคุ้มค่า เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติจะเกิดถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น คาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า เมืองต่างๆ กว่าพันแห่งทั่วโลกจะหันมาพัฒนาระบบระบายน้ำและคมนาคมด้วยอุโมงค์ใต้ดิน


    เพื่อจัดระเบียบเมืองและวิถีชีวิตที่ดี ที่ผ่านมีหลายเมืองใหญ่ลงทุนก่อสร้างระบบอุโมงค์ใต้ดินรับมือกับปัญหาน้ำท่วม เช่น กัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของประเทศมาเลเซีย สร้างอุโมงค์ใต้ดินระบายน้ำท่วม ระยะทางยาว 9.7 กิโลเมตร ซึ่งออกแบบเป็น 2 ชั้น

    ชั้นบนใช้เป็นมอเตอร์เวย์และชั้นล่างเป็นทางระบายน้ำท่วม หากปริมาณน้ำท่วมมากก็จะปิดทางรถยนต์ เพื่อใช้พื้นที่ทั้งหมดระบายน้ำท่วม เมื่อเข้าภาวะปกติก็ล้างทำความสะอาดอุโมงค์และเปิดเป็นทางรถวิ่ง ช่วยให้ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมทุกปีอย่างในอดีต

    ส่วนเกาะฮ่องกง ซึ่งมีปัญหาน้ำท่วมทางตอนเหนือของเกาะจากสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลพายุไซโคลนฤดูร้อนทำให้มีปริมาณฝนเฉลี่ยต่อปี 2,200 มม.สูงที่สุดในชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก และปัญหาการขยายเมืองจึงขาดพื้นที่รับน้ำจากพายุฝน


    รัฐบาลจึงมีโครงการแผนแม่บทอุโมงค์ใต้ดินระบายน้ำ ทำอุโมงค์ Flood Storage ขนาดใหญ่ในฝั่งตะวันตกของเกาะฮ่องกงเพื่อสกัดกั้นน้ำแล้วสูบออกสู่ทะเล เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปลายปี 2007 และกำหนดจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2012

    ขณะที่เมืองชิคาโกประเทศสหรัฐอเมริกาเคยประสบอุทกภัยอย่างรุนแรงมาตลอด 20 ปี ก็แก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยระบบอุโมงค์ใต้ดินระบายน้ำความยาวกว่า 174 กิโลเมตรและอ่างเก็บน้ำแก้มลิงขนาดใหญ่


    เช่นเดียวกับ เมืองโตเกียวของญี่ปุ่น มีโครงการ G-CANS หรือ Tokyo Flood Tunnel ซึ่งใช้อุโมงค์ใต้ดินระบายน้ำท่วมระยะทาง 64 กิโลเมตรได้อย่างมีประสิทธิภาพมาแล้ว

    นักเศรษฐศาสตร์ ชี้ รัฐบาลต้องชัดเจน

    ความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า แยกเป็น 1. โรงงานต่างๆ คาดว่ามีมูลค่านับแสนล้านบาท ประเมินจากนิคมอุตสาหกรรมสำคัญต่างๆ เช่น สหรัตนนคร บางชัน และบางกระดี


    2.สิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น บ้านเรือน ซึ่งมีมูลค่านับแสนล้านบาทเช่นกัน

    3. ความสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ เนื่องจากน้ำท่วมเป็นเวลายาวนานถึง 2-3 เดือน และทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ต้องใช้เวลาซ่อมแซมอย่างน้อย 2-3 เดือน เท่ากับเวลาที่สูญเสียไปประมาณ 6 เดือน

    เมื่อสินค้าต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ สินค้าเกษตร ที่ส่งออกซึ่งต้องสูญเสียตลาดไปอย่างมาก

    ดังนั้น เมื่อรวมกันทั้ง 3 ส่วนที่เกิดจากวิกฤตน้ำท่วมหนักในครั้งนี้ทำให้ตัวเลขความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศไทยสูงถึง 1 ล้านล้านบาท หรือเท่ากับ 10% ของจีดีพี

    แต่ต้องเข้าใจว่าตัวเลขที่ทำให้จีดีพีในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ และไตรมาสที่ 1 ของปีหน้าลดลง เป็นจีดีพีคนละตัว ซึ่งความเสียหายต่ออัตราการเติบโตนั้นคาดว่าเป็นตัวเลขนี้คงไม่ต่ำกว่า 2% กว่าๆ


    นี่คือเหตุผลที่ทำให้กลายฝ่ายลดอัตราการคาดการณ์การเติบโตของจีดีพีของประเทศไทยในปีนี้จาก 4% เหลือ 1% กว่า ซึ่งหมายความว่าจีดีพีของ ไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ต้องติดลบ

    และในส่วนของปีหน้า จีดีพี.ของประเทศไทยไตรมาสแรกได้รับผลกระทบ จากการส่งออกของไตรมาสที่ 4 ติดลบแน่นอน ทั้งๆ ที่การส่งออก 3 ไตรมาสแรกขยายตัวถึง 20 กว่า%

    ดังนั้น อัตราการเติบโตของการส่งออกในปีนี้น่าจะเหลืออยู่ที่ 10 กว่า% และจะกระทบไตรมาสแรกของปีหน้าอยู่บ้าง

    ส่วน 3 ไตรมาสหลังของปีหน้า น่าจะได้อานิสงค์ของการขยายตัวจาก 2 เรื่อง คือ


    1.ภาครัฐคงจะมีการร่วมกับเอกชนกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแรง

    2. การส่งออกจะดีขึ้น เพราะความต้องการที่ค้างอยู่ เช่น คอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งตลาดมีความต้องการแต่หาสินค้าหรืออะไหล่ไม่ได้ จึงต้องมีการเร่งการผลิต

    สรุปได้ว่า 1. ในแง่ผลกระทบทางเศรษฐกิจน่าจะเกิน 1 ล้านล้านบาท


    2. ผลกระทบด้านอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นจะทำให้จีดีพีของประเทศไทยเหลืออยู่ที่ 1% กว่า

    3. ผลกระทบด้านอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีหน้าจะช้าลง นี่คือความเสียหายที่เกิดขึ้น

    สำหรับสิ่งที่นักลงทุนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศคิดคือ ความเสียหายคราวนี้หนัก และคิดว่าปีหน้าจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ เพราะมองว่าอุทกภัยเช่นนี้มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้บ่อยๆ เพราะมีสาเหตุมาจากโครงสร้างสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลง


    จึงมองว่า เหตุการณ์น้ำท่วมเช่นในปีนี้มีโอกาสจะเกิดได้อีกหลายครั้ง และอาจจะรุนแรงกว่านี้

    ดังนั้น การแก้ปัญหาหรือแนวทางป้องกันต้องไม่ใช่แค่ระยะสั้นปีหรือสองปี แต่ต้องเตรียมการระยะยาว เพราะจากข้อมูลขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซา เห็นได้ชัดถึงผลที่กระทบที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลก เช่น เกาะมัลดีฟจะจมหายไป

    พราะฉะนั้น แผนกอบกู้หรือฟื้นฟูความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน คือ


    1.แผนระยะสั้นในปัจจุบันต้องมีมาตรการที่ดีมาก เพราะความไม่มั่นใจในการบริหารราชการของภาครัฐที่สะท้อนได้จากวิกฤตน้ำท่วมในครั้งนี้

    2.แผนระยะปานกลางและระยะยาว ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศและต้องใช้เงินนับล้านๆ บาท รวมทั้ง เวลาในการดำเนินการเป็นสิบปี

    เช่นเดียวกับ ประเทศเนเธอแลนด์ ที่มีการเตรียมพร้อมอย่างดีหากประเทศไทยขาดแผนที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือ เชื่อว่าจะได้รับผลกระทบด้านการลงทุนจากต่างชาติอย่างแน่นอน

    นอกจากนี้ ในด้านของงบประมาณหรือเงินที่จะนำมาใช้ แม้ว่าแผนระยะสั้นซึ่งน่าจะลงทุนไม่มากนัก จึงยังไม่มีปัญหา แต่แผนระยะกลางและยาว ซึ่งต้องใช้เงินเป็นล้านๆ บาท


    ถามว่า ประเทศไทยจะนำเงินมาจากที่ไหน จะบริหารงบประมาณนี้อย่างไรภายใต้ข้อจำกัด เพราะถ้าบริหารผิดจะมีปัญหาตามมา

    ถามว่า ประเทศไทยจะดำเนินนโยบายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันอย่างไร จะนำเงินจากไหนมาใช้ในการพัฒนา

    ถามว่า จะยอมลดงบประมาณด้านประชานิยมหรือไม่

    ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือ การมีแผนป้องกันน้ำท่วมที่น่าเชื่อถือ และการดำเนินการของแผนดังกล่าวต้องไม่กระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ปัญหานี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนักในการบริหารของรัฐบาล

    “แน่นอนว่าไม่ว่าใครที่เป็นรัฐบาลต้องทุ่มเต็มที่เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกในปีหน้า แต่การบริหารจัดการที่ผ่านมายังไม่มีประสิทธิภาพ


    รวมทั้ง การนำผู้เชี่ยวชาญต่างๆ มาช่วย ยังไม่เห็นผลที่ดี แค่คำพูดและความตั้งใจไม่เพียงพอสำหรับการฟื้นความเชื่อมั่น จำเป็นต้องมีแผนงานที่มีประสิทธิภาพทางเทคนิค และเป็นรูปธรรม

    เช่น ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกที่มีความรู้อย่างแท้จริง รวมทั้ง การบริหารโดยยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ผลประโยชน์ของนักการเมือง” ดร.สมชาย กล่าวทิ้งท้าย

    ยิ่งกว่านั้น หากปีหน้าซึ่งมีโอกาสสูงที่เศรษฐกิจโลกจะพัง เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจของยุโรป สภาพคล่องที่มาจากยุโรปจะหายไป 30% หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ของประเทศต่างๆ จะขยายตัว


    ส่งผลให้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น และจีน ได้รับผลกระทบอย่างหนักแน่นอน

    เพราะฉะนั้น นอกจากการบริหารในเรื่องน้ำท่วม ยังมีเรื่องเศรษฐกิจ จึงเป็นปัญหาด้านนโยบายว่าจะบริหารความเสี่ยงในเรื่องของงบประมาณได้มากน้อยอย่างไร


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    ขอบคุณสำหรับแนวความคิดที่ดีดีครับ:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...