เชิญชวนจัดพิมพ์หนังสือธรรมะออกใหม่ - ในราคาต้นทุนโรงพิมพ์ธรรมทาน

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย trilakbooks, 8 สิงหาคม 2016.

  1. trilakbooks

    trilakbooks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +414
    [​IMG]

    ประชาสัมพันธ์เชิญชวนจัดพิมพ์หนังสือธรรมะ ออกใหม่

    ในราคาต้นทุนโรงพิมพ์ธรรมทาน

    ชื่อหนังสือ : หลุดพ้น เสียจากความหลุดพ้น

    โดย : หลวงพ่อ พุทธทาสภิกขุ

    ขนาด 14.5*21cm

    ปกอ่อน ถนอมสายตา สีครีม

    จำนวน 40 หน้า



    ราคาต้นทุนโรงพิมพ์ธรรมทาน 19 บาท

    .....................................................................................

    สารบาญ หนังสือเล่มนี้

    เรื่องความหลุดพ้น...เป็นหัวใจของพุทธศาสนา

    เปรียบดูความหลุดพ้น...ของศาสนาอื่นๆบ้าง

    สำรวจดูสิ่งสูงสุด...ของฝ่ายพุทธกับฝ่ายอื่นด้วย

    แต่ละศาสดา...ทำลายความเห็นแก่ตัวต่างกัน

    พุทธศาสนามีหลักไม่มีตัวตน...มีแต่อิทัปปัจจยตา

    พุทธศาสนามีวิธีทำลาย...ความเห็นแก่ตัวตรงที่ไม่มีตัว

    ต้องศึกษาปฏิจจสมุปบาท...จะเห็นไม่มีตัว

    ความหลุดพ้น...นี้คือความหลุดพ้นจากตัวกู ของกู

    ผู้ที่ยึดตัวกูของกู...จะหลุดพ้นไม่ได้



    ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...



    เรื่องความหลุดพ้น

    เป็นหัวใจของพุทธศาสนา

    ข้อนี้เกี่ยวกับหลักพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งซึ่งได้บอกออกมาแล้วว่า แม้จะเป็นการบรรยายครั้งเดียว

    ก็จะช่วยให้เข้าใจพระพุทธศาสนา ที่เคยได้ยินได้ฟังมามากมายแล้วนั้น ให้ชัดเจนแจ่มแจ้งอย่างยิ่ง

    โดยเฉพาะเจาะจงลงไปเฉพาะเรื่อง หรือเฉพาะคำ เช่น เฉพาะเรื่องความหลุดพ้น

    หรือ เฉพาะคำ คำพูดที่ว่า ìความหลุดพ้นî ก็ได้เหมือนกัน

    ขอเตือนให้ทราบ คือ ให้นึกขึ้นมาใหม่ว่า

    เราเคยพูดกันมากี่ครั้งแล้วว่า พระพุทธศาสนานั้น

    มีหัวใจเป็นความหลุดพ้น พรหมจรรย์ทั้งหมด

    ในพระพุทธศาสนานี้มีความหลุดพ้นเป็นแก่นสาร หรือว่า

    ธรรมะทั้งหมดนี้ไปจบอยู่ที่ความหลุดพ้น ฉะนั้นความหลุดพ้นก็

    เป็นเรื่องหัวใจของพระพุทธศาสนานี่เป็นหลักที่เรารู้กันอยู่ได้ยินได้ฟังกันอยู่

    แต่จะเข้าใจถึงที่สุดหรือไม่นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง



    พระพุทธเจ้าตรัสเปรียบว่าพรหมจรรย์นี้มันมีวิมุตติ

    เป็นรสเป็นสิ่งที่จะได้รับเหมือนกับว่านํ้าทะเลทั้งหมดมีความเค็มเป็นรส

    เปรียบเหมือนกับพรหมจรรย์นี้มี วิมุตติ คือความหลุดพ้นนั้นเป็นรส

    ถ้ามีความติดอยู่ที่ไหน ก็หมายความว่าไม่ได้รับผล ไม่ได้รับผลที่ถูกต้อง

    อันเป็นผลของพรหมจรรย์นี้ ต้องได้รับผลเป็นความหลุดพ้น

    จึงจะได้รับผลของพรหมจรรย์นี้

    เพราะฉะนั้น คำว่า หลุดพ้น ก็เป็นเรื่องสำคัญ

    เป็นเรื่องสำคัญขอให้เข้าใจให้ดีว่า

    เรื่องความหลุดพ้น เป็นเรื่องสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา ในฐานะที่เป็นผล

    ถ้าเป็นความรู้ เราก็เรียนกันเรื่องความหลุดพ้น ถ้าเป็นการปฏิบัติ

    เราก็ปฏิบัติกันเพื่อความหลุดพ้น ถ้าเป็นผลที่ได้รับ

    เราก็ได้รับความหลุดพ้น อะไรๆ จึงเป็นเพื่อความหลุดพ้น



    ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...

    แต่ละศาสดา

    ทำลายความเห็นแก่ตัวต่างกัน

    สำหรับศาสนาที่เขามีพระเจ้าจะเป็นศาสนาคริสเตียนอิสลาม

    ศาสนาซิกข์ ศาสนาฮินดูบางแขนง เขามีพระเจ้า ทำตาม

    พระเจ้า แล้วก็หมดความเห็นแก่ตัว บางทีก็แบ่งแยกไปว่า

    ความเห็นแก่ตัวอย่างนี้ แล้วไปมีตัวอย่างอื่นที่สูงสุดที่ไม่เปลี่ยนแปลง

    อย่างนั้นก็มี แต่นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ เรื่องสำคัญตรงที่ว่า

    คนอย่าเห็นแก่ตัว แล้วคนก็จะไม่เบียดเบียนกัน แล้วคนก็จะอยู่กันอย่างผาสุก

    ทีนี้พุทธศาสนาไม่มีพระเจ้าอย่างนั้นถ้าจะไม่ให้เห็นแก่ตัว

    จะต้องทำอย่างไร?พวกนี้ใช้ปัญญาใช้ปัญญามองดูมองดู

    พิจารณาดู เห็นโทษว่า โอ้, ถ้าเห็นแก่ตัวแล้วมันฆ่าฟันกันตายหมด

    เราเกลียดความเห็นแก่ตัว อย่ามีความเห็นแก่ตัว

    อย่ามีความเห็นแก่ตัว นี้ก็ระดับหนึ่ง

    ทีนี้อีกระดับหนึ่ง สูงไปกว่านั้นก็ว่า โอ้,ที่จริงมันไม่มีตัว

    โดยแท้จริง ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัว หรือเป็นตัว

    มีแต่สิ่งที่เป็นไปตามกฎของอิทัปปัจจยตา เท่านั้นแหละ

    เป็นไปตามกฎของอิทัปปัจจยตา

    เป็นการปรุงแต่ง เป็นตัวการปรุงแต่ง เป็นกระแสแห่งการปรุงแต่ง ที่เราเรียกว่า

    สังขาร สังขาร สังขารนั่นแหละ สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่มีตัว

    เป็นไปตามกฎแห่งอิทัปปัจจยตา พวกนี้ใช้ปัญญามองเห็นว่า

    อ้าว, มันไม่มีตัวนี่ มันก็หมดความเห็นแก่ตัว

    ถ้ายังไม่ขึ้นมาถึงขั้นนี้ ยังอยู่ในขั้นศีลธรรม

    เขาก็มองเห็นว่า เห็นแก่ตัวมัน

    ทำลายล้างกันฉะนั้นอย่าเห็นแก่ตัวกันเลยในขั้นศีลธรรม

    ก็ไม่เห็นแก่ตัวเพราะมีศีล ในขั้นปรมัตถ์ก็ไม่เห็นแก่ตัว เพราะมีปัญญาเห็นว่ามันไม่มีตัว

    ดังนั้น พุทธศาสนาของเรา จึงแปลกจากศาสนาอื่นที่เขามีตัว หรือมีแบบพระเจ้า

    อาศัยอำนาจพระเจ้ามากำจัดความเห็นแก่ตัว นี่เราอาศัยความจริง เห็นว่าไม่มีตัวมายกเลิกความเห็นแก่ตัวเสีย

    .....................................................................................



    พุทธศาสนามีหลักไม่มีตัวตน

    มีแต่อิทัปปัจจยตา

    ฉะนั้น ให้จำคำนี้ไว้เป็นหลักว่า พุทธศาสนานั้นไม่มีตัว

    ไม่มีตัวที่จะเกิดความเห็นแก่ตัว ถ้ารู้จักจริง ถ้าไม่รู้จริงก็มีตัว

    ไปก่อน ก็ควบคุมตัวไว้ให้ดีๆ อย่าให้เกิดอันตรายขึ้นมา

    แต่ถ้าเป็นเนื้อแท้เป็นตัวจริงของพระพุทธศาสนาแล้ว

    ก็คือไม่มีตัว ไม่มีตัว มีแต่สังขาร เป็นไปตามกฎของธรรมะ

    หรือกฎของพระเจ้าอิทัปปัจจยตา พระเจ้าอิทัปปัจจยตา

    ควบคุมอยู่ เป็นไปตามกฎของพระเจ้าอิทัปปัจจยตา

    แล้วก็ไม่มีตัว แล้วก็ไม่ต้องเห็นแก่ตัว ไม่เรียกว่าตัว

    ทำไมไม่เรียกว่าตัว?เพราะมันไม่มีตัวที่จะเป็นตัว

    เป็นไปตามกฎของอิทัปปัจจยตาดังนั้นมันจึงต้องเป็นอนิจจัง...

    เปลี่ยนแปลง เป็นทุกขัง...เป็นทุกข์และน่าเกลียด เป็นอนัตตา...

    หาส่วนไหนที่จะเป็นตัวตนมิได้

    ถ้าจะพูดกันถึงความทุกข์ก็มีชัดอยู่ว่าความทุกข์มันเกิดขึ้น

    เพราะเหตุปัจจัยอย่างนี้ๆความทุกข์นี้ก็เป็นสังขารความทุกข์นี้เกิด

    เพราะเหตุปัจจัยอย่างนี้ๆดับเหตุปัจจัยนี้เสียความทุกข์ก็ดับไม่

    ต้องมีตัวไม่ต้องยึดเอาสิ่งไหนขึ้นมาเป็นตัวความทุกข์ก็มิใช่

    ตัวเหตุให้เกิดทุกข์ก็มิใช่ตัว ความดับทุกข์ก็มิใช่ตัว

    หนทางดับทุกข์ก็มิใช่ตัว ก็เลยมิใช่ตัว ไม่มีตัว ไม่มีสิ่งใดที่ควรเรียกว่าตัว

    ดังนั้น พุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาแห่งความไม่มีตัว

    ฟังแล้วก็ไม่น่าเลื่อมใส เป็นศาสนาแห่งความไม่มีตัว

    แต่เราอยากจะมีตัว พระธรรมบอกว่าไม่มีตัว เราอยากจะมีตัว

    ก็ได้ทะเลาะกับพระธรรมนั่นเอง แล้วมันก็ติดแหงอยู่ที่นี่ ไปไม่ได้

    มารู้เรื่องความไม่มีตัวกันเสียดีกว่าว่า พุทธศาสนามีหลักคือ

    มีแต่สิ่งที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย

    มันก็เป็นไปตามสิ่งนั้น ซึ่งมันก็ไม่ใช่ตัว มันเป็นสิ่งที่นอกเหนือกฎนั้น

    ถ้ามีตัว ถ้าเป็นตัว มันก็มาตามใจเราได้ตามที่เราจะต้องการอย่างไร

    นี่ให้เห็นว่า ธรรมประเภทสังขารก็ดี มันไม่มาตามใจเราก็ไม่ใช่ตัว

    ธรรมประเภทวิสังขารหรืออสังขตะก็ดี มันไม่มาตามใจเรา ฉะนั้นจึงไม่มีตัว

    ที่จะมาเจรจาตกลง ต่อรองต้องการอะไรกันได้ ยกให้ว่า

    เป็นธรรมเท่านั้นแหละ เป็นสักว่าธรรมตามธรรมชาติเท่านั้น

    จะเป็นธรรมฝ่ายสังขตะก็ดี ฝ่ายอสังขตะก็ดี เป็นสักว่า

    ธรรมตามธรรมชาติเท่านั้นแล้วมันก็ไม่มีตัวอย่าเอาอะไรๆ

    เข้ามาเป็นตัว



    นี้กำลังพูดเรื่องไม่มีตัว ความหมายเดียว คำเดียว ข้อเดียว

    ให้ท่านทั้งหลายนำไปนึกคิดตรึกตรอง ศึกษากันเสียใหม่ว่ามันไม่มีตัวอย่างนี้

    มันไม่มีตัวอย่างนี้ แล้วเอาไปตรวจทดสอบกับธรรมที่เคยฟังมาแต่กาลก่อนก่อน

    โน้นเรื่องไม่มีตัวเข้าใจถึงขนาดนี้แล้วหรือยัง? ถ้าเข้าใจถึงขนาดนี้ ก็นับว่าง่ายมาก

    ทีเดียว ปลอดภัยมากทีเดียวที่จะเข้าใจต่อไปว่าหลักพุทธศาสนาโดยแท้จริง

    คือไม่มีตัว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวกูก็ดี เป็นของกูก็ดี เป็นตัวสูก็ดี

    ของสูก็ดี ไม่มีตัวของเราหรือของใคร นี่หลักอันนี้

    มันก็แปลกที่ว่า สิ่งที่ไม่ใช่ตัวนี้มันกลับพูดได้ กินได้ เดินได้

    นอนได้ คิดได้ ตายได้ เกิดได้ มันไม่มีตัว เอากับมันซิ มันไม่มีตัว

    แต่มันทำอย่างนั้นได้ ไม่มีตัวก็มานั่งฟังพูดอยู่ที่นี่ได้เป็นแถว

    มันไม่มีตัว แต่มันทำอย่างนี้ได้ คือเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ

    ของสิ่งที่มีจิต มีจิต...ธาตุ คือธาตุที่เป็นความรู้สึกคิดนึกได้แล้วบังคับ

    ร่างกายได้ เป็นไปตามสิ่งแวดล้อม สิ่งที่มาแวดล้อมบังคับให้จิตคิดอย่างนั้น

    กับบังคับร่างกายทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ มันจึงทำนั่นทำนี่ได้

    กระทั่งว่าสืบพันธุ์ก็ได้ กระทำทุกอย่างก็ได้ กระทั่งมาฟังเทศน์ที่นี่

    จะหาความรู้ยิ่งๆขึ้นไปก็ทำได้ ทั้งๆที่ว่าไม่มีตัวหรือไม่ใช่ตัว

    มันเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเรียกว่าตัว

    ไม่ใช่ว่ามันจะไม่มีอะไรเสียเลย มันมีดิน นํ้า ลม ไฟ

    อากาศ
    วิญญาณ มีครบทุกอย่างทุกประการ แต่ว่าทุกอย่างนั้น

    มันไม่ควรจะเรียกว่าตัว ไม่ควรจะถือว่าตัว ท่านจึงตรัสว่า เป็นอนัตตา

    ไม่ใช่ตัว มันรู้สึกนึกคิดได้ คิดผิดก็เป็นทุกข์ คิดไม่ผิดก็ไม่เป็นทุกข์

    ถ้าคิดผิดเป็นทุกข์ มันก็คิดเสียใหม่ให้ถูกมันก็จะหายเป็นทุกข์ โดยข้อเท็จจริง

    มันมีเพียงเท่านี้ ทั้งที่มันมิใช่ตัว แต่มันคิดนึกได้ มันกระทำได้ ส่วนที่เป็นจิต

    ก็คิดนึกได้ ส่วนกาย ส่วนวาจา มันก็กระทำได้ ตามความรู้สึกนึกคิดของจิต

    รวมแล้วก็สมมติเรียกกันว่าคน แต่มิใช่ตัวตนนั้นเป็นความจริง คนนี้มิใช่ตัวตน

    แต่ความรู้สึกของคนนั้น มันรู้สึกว่ามีตัว ตามความรู้สึกของคนมันรู้สึกว่ามีตัว

    ซึ่งมันไม่ใช่ความจริงว่าต้องมีตัว

    ปัญหามันก็อยู่ที่ว่าเพราะมีตัวจึงเกิดปัญหาว่าเราเป็นอย่างนั้น

    เราเป็นอย่างนี้ เราได้ เราเสีย เราแพ้ เราชนะ เราขาดทุน นั่นเพราะความรู้สึกว่ามีตัว

    ถ้ามันรู้สึกว่าลงไปจริงๆว่า ไม่มีตัวอย่างนี้แล้ว ความรู้สึกทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่มี

    มันจะไม่เกิดว่าเรามีอยู่ เราตายไป เราได้ เราเสีย เราแพ้ เราชนะ เรากำไร

    เราขาดทุน เราได้เปรียบ เราเสียเปรียบ มันจะไม่มีเพราะความรู้สึกว่า

    มีตัว...มันจึงมีความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นมาจนเต็มไปหมด เราได้ เราเสีย

    เราอยากจะดี เราก็ทำความดี เราก็แสวงหาความดี เอาความดีเป็นของเรา

    นั่นยังไม่ใช่หลุดพ้นนะ มันยังไม่ใช่หลุดพ้น



    แม้จะมีความดีเป็นของเรานั้น ถ้ายังไม่หลุดพ้นมันก็ยังไม่ดีดอก

    ถ้ามันหลุดพ้นจากความทุกข์จึงควรจะเรียกว่าดี แต่เดี๋ยวนี้มาบัญญัติกันเสียตํ่า

    ตํ่าว่าทางที่ดี ทำบุญทำกุศลดี อะไรก็ดีกันอยู่เพียงเท่านี้ แล้วก็ไม่หลุดพ้น

    ฉะนั้นความดีกลายเป็นเครื่องผูกมัดไปเสีย ความดีกลายเป็นคอกขังบุคคลเหล่านี้ไว้

    ให้อยู่ในคอกของความดีแล้วเขาก็ชอบความดี อยู่กับความดี สนใจอยู่กับความดี

    จิตใจผูกพันอยู่กับความดี นี่โดยทั่วไปแล้วจะเป็นอย่างนี้ จนกว่าจะรู้สึก

    นี้ผูกพัน นี้ทำอันตราย จึงอยากจะหลุดพ้นไปเสียจากสิ่งเหล่านี้



    ....................................................................................



    โปรโมชั่น หนังสือเล่มนี้ สั่งพิมพ์ 100 เล่มขึ้นไป

    สามารถพิมพ์ข้อความแทรก ขาวดำ ฟรี 1 หน้า จัดส่งทั่วประเทศ

    บริการจัดพิมพ์งานหนังสือ ที่ระลึก เนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ ใช้เวลาจัดพิมพ์รวดเร็วสุด

    ไม่เกิน 1-2 วัน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สะดวกส่งเร็ว ด้วยบริษัทขนส่งทั่วประเทศ

    โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การจัดพิมพ์หนังสือ ได้ที่ 02-482-7358 , 087-696-7771,

    085-819-4018, 099-436-5777 หรือสั่งพิมพ์ โดยตรง ได้ที่

    :::: E-MAIL : trilak_books@yahoo.com ::::

    .....................................................................................
     

แชร์หน้านี้

Loading...