เคลื่อนไหวไปกับนิพพาน (หลวงพ่อมหาดิเรก)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย *April*, 30 กรกฎาคม 2008.

  1. *April*

    *April* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +349
    การพัฒนาจิตของเราให้สูงขึ้นเป็นเรื่องที่ยาก หากว่าเราไม่มีความเข้าใจ และทำด้วยความ เสียสละหรือไม่ตั้งใจมาก่อน ดังนั้นการจัดกิจกรรมอบรมการเจริญสติขึ้น ก็เพื่อเป็นการศึกษาพุทธ ศาสนาขั้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะในข้อสุดท้ายของโอวาทปาติโมกข์ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า
    “อาจิตเต จะ อาโยโค” แปลว่าการขยันพัฒนาจิตให้สูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างต่อเนื่อง

    การเจริญวิปัสสนาเป็นสร้างกุศลขั้นสูง

    การจัดกิจกรรมเจริญสติ เพื่อเป็นการฝึกจิตขั้นสูง คือทำอย่างไร จะให้มันได้ผลที่ถูกต้อง และเร็ว เราก็ควรรีบทำกัน เพราะในทางพระพุธศาสนาการทำกุศล มี๓แบบด้วยกัน ๑.คือการให้ทาน ๒.คือการรักษาศีล และ ๓.คือการเจริญภาวนา จะเป็นสมถภาวนาภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนา ก็ตาม อาตมาทั้งสองมาเป็นกัลยามิตรให้ ด้วยการนำเอาประสบการณ์ที่เคยประพฤติปฏิบัติมา ตนเองได้ผลอย่างไร ก็นำผลนั้นมาพูดหรือถ่ายทอดให้ฟัง

    ทำไมต้องเคลื่อนไหว

    การภาวนาแบบรู้ตื่นเบิกบาน โดยใช้การเคลื่อนไหวแบบของหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ เป็น อุบายเป็นเรื่องที่ง่ายและเบาสบายและได้ผลไว เพราะเป็นการสัมผัสกับตัวรู้ตรงๆ ตัวรู้เป็นสภาวะ ปรมัตถ์ การใช้มือเคลื่อนไหว ก็เพื่อปลุกความรู้สึกตัวขึ้นมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ก็คือการเอาปรมัตถ์ เป็นอารมณ์ปฏิบัตินั้นเอง จึงเป็นทางลัดสู่วิปัสสนา โดยไม่ตรงไปหลงอยู่ในอารมณ์สมถะนานเกินไป
    แต่การปฏิบัติแบบนี้ก็มีอุปสรรค์มากเหมือนกัน นั้นก็คือนิวรณ์ระดับต่างๆ มันจะมีความรุนแรง เข้มข้นเป็นพิเศษ ฉะนั้นในช่วงภาวนา เราต้องทำความรู้จัก และเข้าใจนิวรณ์ให้แจ่มแจ้ง และรู้จัก ปรับแก้นิวรณ์ให้สงบโดยเร็วเสมอ อย่าปล่อยให้มันครอบงำจิตเรานานเกินไป ต้องขยันแก้ไขเปลี่ยน แปลงเวทนาต่างๆอยู่เสมอ จนกว่าจิตจะสงบ
    ฉะนั้น ตลอดเวลาของการเข้าอบรมหรือรีทรีท ก็คือเวลาแห่งการศึกษาเรื่องนิวรณธรรม และ ความเคยชินต่างๆอย่างต่อเนื่อง เมื่อจิตของเราได้สัมผัสกับสภาวะรู้ ตื่น เบิกบานอย่างต่อเนื่อง จิตก็ จะเข้าไปสู่ภาวะละเอียด ประณีตอย่างต่อเนื่อง จิตก็เริ่มสงบเย็นตามลำดับดังนั้นในช่วงของการศึกษา และปฏิบัติภายในเจ็ดวันนี้ ถ้าเราทำได้อย่างถูกต้อง และต่อเนื่องจริงจัง การสัมผัสรูปนามเบื้องต้น ก็ไม่ยาก อย่างน้อยสามวันก็จะสัมผัสได้แล้ว
    กิจวัตรประจำวัน เช่นการร่วมกันทำวัตร สวดมนต์ การฟังธรรม การเข้าสอบอารมณ์การออก กำลังกายการจัดอาหารและสถานที่ ก็ต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับการปฏิบัติด้วย สำหรับเรื่องรักษา อารมณ์ปฏิบัตินั้น เราต้องรู้จักประคับประคองให้ต่อเนื่องเสมอ เช่นการการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน นุ่มนวล พูดคุยเพียงแต่น้อยเท่าที่จำเป็น ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ หรือไม่พูดคุยกันเรื่องนอกธรรมวินัย ถ้าเสร็จจากธุระที่จำเป็นแล้ว ก็พยายามกลับมานั่งสร้างจังหวะ เดินจงกรมอยู่เสมอไม่ปล่อยเวลาให้ ผ่านไปโดยปราศจากการตามรู้ตัวเอง


    ชีวิตคือการเคลื่อนไหว

    เพราะฉะนั้นการเคลื่อนไหวจึงมีตั้งแต่ระดับหยาบที่สุด ไปจนถึงระดับละเอียดที่สุด หากจิต ของเราเข้าไปคุ้นเคยและรู้จักกับการเคลื่อนไหวเหล่านี้ตาม ความเป็นจริงอย่างชัดเจนอยู่เสมอ เราก็ จะเห็นกฏของการเปลี่ยนแปลงคืออนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ฉะนั้นการเคลื่อนไหวของสิ่งที่เป็นรูป ทั้งหลาย ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตก็ตาม ก็จะมีกฏของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏในตัวของมัน ตลอดเวลา ไม่มีการยกเว้น
    เมื่อเราต้องการให้จิตพ้นไปจากทุกข์ เราก็ต้องพิจารณาการเคลื่อนไหวทุกๆระดับให้คุ้นเคย ให้เห็นชัดเจนตรงนั้น ถ้าเราทำอย่างนี้ได้ วิปัสสนาปัญญาก็จะปรากฏตลอดเวลาโดยกำหนดเอาการ เคลื่อนไหวที่เป็นสัญชาตญาณ ให้กลับมาเป็นตัวรู้สึกตัว การเคลื่อนไหวของเราก็จะเป็นประโยชน์ ตลอดเวลา
    การพิจารณาในที่นี้ คือการตั้งใจเข้าไปรู้และสัมผัสกับอาการเคลื่อนไหวของมือที่สร้างจังหวะ อยู่อย่างไม่ขาดสาย และพิจารณาของจริงที่ปรากฏกับเรา หากพิจรณาด้วยการนึกคิด สร้างภาพ
    จินตนาการในสิ่งที่ยังไม่เกิดไม่สอดคล้องกับของจริงที่กำลังทำอยู่ เรียกว่าจิตตสังขารซึ่งปรุงแต่งไป ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติแบบนี้ หากเราวิจัยหรือพิจารณาสิ่งที่เป็นความจริงในขณะนั้น เรียกว่า เป็นธัมมวิจยะ คือกำหนดรู้ดูความจริงที่กำลังเกิดและเป็นไปอยู่ ซึ่งมันจะเป็นประโยชน์ต่อการเจริญ วิปัสสนา เช่นว่าเรานั่ง เกิดอาการปวด เมื่อย เคล็ดขัดตรงไหน ก็ดูมันตรงนั้นตามดูอาการนั้นไป เรื่อยๆ จนกว่าเราจะทนไม่ได้ เราก็รู้ว่า นี่คือทุกข์ และตามดูอาการนี้ไปเรื่อยๆ

    ที่มา http://www.buddhayanando.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...