เกี่ยวกับปาราชิก ข้อเสพเมถุน

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย pom25, 8 สิงหาคม 2013.

  1. pom25

    pom25 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2007
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +409
    พระพุทธเจ้าบัญญัติว่าพระเสพเมถุน โดยสอดใส่อวัยวะเพศชาย เข้าในทวารหนัก ทวารเบา ปาก แม้เมล็ดงาหนึ่งต้องปาราชิก ผมอ่านแล้วเข้าใจว่าเนื้อหนังของอวัยวะเพศชายสัมผัสถูกกับเนื้อหนังภายในของ ทวารทั้งสาม แล้วกรณีเอาน้ำมัน สารหล่อลื่น หรือของเหลวอื่นๆ หรือสิ่งอื่นๆ สิ่งใดๆนอกจากที่กล่าวมา ทาอวัยวะเพศชาย หรือทาภายในทวารทั้งสาม (เหมือนน้ำมันเครื่องที่เคลือบทาผิวเหล็กเครื่องยนต์ป้องกันการเสียดสี) แล้วสอดใส่ หละครับ ปาราชิกหรือไม่


    หมายเหตุ ประโยคนี้ {หรือสิ่งอื่นๆ สิ่งใดๆนอกจากที่กล่าวมา} ผมเพิ่มเติม ไปเมื่อวันที่ 31/8/2013
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  2. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154


    ถ้าอยากจะมีเพศสำพันธ์..ก็สึกไปซ๊ะ?

    เป็นฆารวาสง่ายกว่า..ไม่ต้องยุ่งยาก.
     
  3. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,940
    ดูข้อความตอนต้นว่า"สอดใส่"ก็น่าจะได้อรรถสาระที่ควรแล้วนะครับ ...


    ท่านจขกท มีความฉลาดปราดเปรื่องในการหาช่องลอด ..ท่านพึงใช้ความปราดเปรื่องในการหาวิธีประพฤติตามพระวินัยบัญญัติให้ยิ่ง มั่นคงเถิด(หากบวชและห่มจีวรพระอยู่)...จะเป็นการรักษาตนไว้ได้ในภพภูมิที่ไม่ต้องเที่ยวลอดอะไรที่ใหนให้ลำบากในอีกนับภพไม่ถ้วน เหมือนเหล่าสัตว์ในอบายที่มีมากมายวิจิตรจนพระพุทธองค์ยังทรงตรัสว่า..

    ...ดูกร อานนท์ เราไม่เห็นสัตว์ใดวิจิตรยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉานเลย...ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความวิจิตรของจิตนั่นเอง


    ดังนี้...
     
  4. โมทนาman

    โมทนาman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    5,666
    ค่าพลัง:
    +6,165
    เอาถุงก๊อบแก๊บหุ้มก็โดนครับ
     
  5. buakwun

    buakwun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    2,830
    ค่าพลัง:
    +16,612
    อ่านคำถามแล้วเหมือนคำว่า เลี่ยงบาลี อย่างไรอย่างนั้น ภิกษุเสพเมถุน ต้องปาราชิก กิริยาที่เสพในทวารเบา ทวารหนัก หรือในปาก(มุขะ)ของมนุษย์ชายหญิงก็ตาม เป็นบัณเฑาะ(ผู้ผิดเพศ)ก็ตาม ของสัตว์ดิรัจฉานก็ตาม ชื่อว่าเสพเมถุน แม้ยังไม่สำเร็จกิจ แต่องค์กำเนิด(อวัยวะเพศชาย)ล่วงล้ำเข้าไปเพียงเล็กน้อยเท่าเมล็ดงา จะมีอะไรสวมใส่ก็ตาม จะเป็นมนุษย์หรือดิรัจฉาน ยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม ตายแล้วก็ตาม ได้ชื่อว่า "ปาราชิก"

    ในบทภาชนีย์ได้อธิบายไว้ ภิกษุเสพเมถุนธรรมอย่างไร กับใคร หรือ อะไร แล้วทำให้ปาราชิก ดังนี้
    ๑. กับหญิง ๓ จำพวก คือ สัตว์เดรัจฉานตัวเมีย เแม้นแต่สัตว์เล็ก ๆ อย่าง นก งู ปลา แมว ตุ๊กแก ก็เป็นถือว่าปาราชิก มนุษย์ผู้หญิง และ อมนุษย์ผู้หญิง เช่น ภูตผี นาค ยักษ์ อสูรกาย เทพธิดา ทางปาก ทางช่องอวัยวะสืบพันธ์ ทางช่องทวารหนัก หรือ ช่องใด ๆ ของหญิงทั้ง ๓ พวกนี้ ที่ภิกษุสามารถสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปได้แม้นเพียงเท่าเมล็ดงาเดียว แล้วมีความยินดีในการสอดเข้า คงอยู่ ถอนออก เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือเป็นปาราชิก
    ๒. กับพวกที่มี ๒ เพศในร่างเดียวกัน จะเป็นมนุษย์ หรือ อมนุษย์ ทางปาก ทางช่องอวัยวะสืบพันธ์ ทางช่องทวารหนัก หรือ ช่องใด ๆ ของพวกที่มี ๒ เพศในร่างเดียวกัน ที่ภิกษุสามารถสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปได้แม้นเพียงเท่าเมล็ดงาเดียว แล้วมีความยินดีในการสอดเข้า คงอยู่ ถอนออก เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือเป็นปาราชิก
    ๓. กับบัณเฑาะก์ ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ของพระธรรมปิฏก คือ กะเทย คนไม่ปรากฏว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ได้แก่ กะเทยโดยกำเหนิด ๑ ชายผู้ถูกตอนเรียกว่า ขันที ๑ และชายมีราคะกล้าประพฤตินอกจารีตในทางเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น ๑ เสพเมถุนธรรม ทางช่องปาก ทางทวารหนัก หรือ ช่องใด ๆ ของบัณเฑาะก์ที่ภิกษุสามารถสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปได้แม้นเพียงเท่าเมล็ดงาเดียว แล้วมีความยินดีในการสอดเข้า คงอยู่ ถอนออก เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือเป็นปาราชิก
    ๔. ชาย ๓ พวก คือ สัตว์เดรัจฉานตัวผู้ มนุษย์ผู้ชาย อมนุษย์ผู้ชาย เช่น เทวดา ทางช่องปาก ทางทวารหนัก หรือ ช่องใด ๆ ของชาย ๓ พวกนี้ ที่ภิกษุสามารถสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปได้ แม้นเพียงเท่าเมล็ดงาเดียว แล้วมีความยินดีในการสอดเข้า คงอยู่ ถอนออกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือว่าเป็นปาราชิก
    จะเห็นได้จากที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า เสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้นในสัตว์เดรัจฉานตัวเมียเป็นปาราชิก ตรงที่ว่าโดยที่สุดแม้นในนั้นแสดงว่า อย่างต่ำแค่เสพเมถุนกับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย ก็ถือเป็นปาราชิกแล้วดังนั้น ถ้าสูงกว่านั้น แม้นแต่สัตว์เดรัจฉานตัวผู้ ก็ยังถือเป็นปาราชิกเช่นกัน
    ๕. แม้นภิกษุรูปหนึ่งถูกภิกษุอื่นที่ไม่เป็นมิตรกัน กลั่นแกล้ง พามนุษย์ผู้หญิงมาถึงที่พัก แล้วกระทำการใด ๆ ที่ให้มนุษย์ผู้หญิงสามารถสอดใส่อวัยวะเพศของภิกษุผู้ถูกกลั่นแกล้งเข้าไปในช่องใด ๆ ของมนุษย์ผู้หญิงนั้นที่สามารถสอดใส่อวัยวะเพศของภิกษุได้แม้นเพียงเมล็ดงาเดียว แล้วภิกษุผู้ถูกกลั่นแกล้งนั้นมีความยินดีในการสอดเข้า ยินดีในการหยุดอยู่ภายในช่องนั้น ยินดีในการชักออก เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุผู้ถูกกลั่นแกล้งนั้นต้องอาบัติปาราชิก
    ๖. แม้นภิกษุรูปหนึ่งถูกภิกษุอื่นที่ไม่เป็นมิตรกัน กลั่นแกล้ง พาร่างมนุษย์หญิงที่หลับ หรือ ที่เมาไม่รู้ตัว หรือที่เป็นบ้า หรือที่เผลอหมดสติ หรือที่ตายแล้วแต่ยังไม่ถูกสัตว์กัดกิน ภิกษุรูปนั้นถูกกระทำการใด ๆ เป็นเหตุให้อวัยวะเพศสอดใส่เข้าไปในช่องปาก ช่องอวัยวะเพศหญิง ช่องทวารหนัก หรือ ช่องใด ๆ ที่อวัยวะเพศของภิกษุสามารถสอดใส่เข้าไป แม้นได้เพียงเมล็ดงาเดียว ภิกษุผู้ถูกกลั่นแกล้งมีความยินดีในการสอดเข้า ยินดีในการหยุดอยู่ภายในช่องนั้น ยินดีในการชักออก เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุผู้ถูกกลั่นแกล้งนั้นต้องอาบัติปาราชิก
    ข้อนี้เห็นได้ชัดว่า เแม้นเพียงภิกษุถูกกลั่นแกล้งให้เสพเมถุนกับศพมนุษย์ผู้หญิง แล้วมีความยินดีขณะใดขณะหนึ่งก็อาบัติปาราชิกแล้ว และถ้าภิกษุตั้งใจเสพเมถุนกับศพมนุษย์ผู้หญิงเอง มีความยินดีในการเสพเมถุนกับศพมนุษย์ผู้หญิง ก็ต้องอาบัติปาราชิกด้วยแน่นอน
     
  6. pom25

    pom25 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2007
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +409
    ขออภัยเพื่อนทุกท่านด้วยครับ ถ้าคำถามนี้ผมลงผิดที่ ผมไม่รู้จะไปลงตรงหมวดไหนดีในเว็บ และผมเป็นคฤหัสครับ เพียงได้อ่านพระไตรปิฎกมาบ้าง และมีข้อสงสัยบ้าง ก็เลยนำมาถามในเว็บ เพราะเว็บนี้มีเพื่อนธรรมมิก เพื่อนกัลยาณมิตร เข้ามาใช้บริการเยอะ และผมก็ขออภัยคุณอภิมาร และเพื่อนที่อ่านบางท่านด้วยที่อ่านแล้วเกิดไม่พอใจ ขออภัยอย่างสูงมาณ ที่นี้ด้วยครับ ผมไม่ได้มีเจตนาร้าย นะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  7. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154


    เข้าใจผิดแล้วครับ..ผมไม่ได้ไม่พอใจครับ

    บางครั้งผมชอบแสดงความคิดเห็นแบบตรงๆครับ

    กรณีที่ถามมา..ถ้าสึกไปทำอะไรอย่างว่ายัง

    กลับมาบวชใหม่ได้ครับ..มีเยอะไประดับครูอาจารย์

    บางท่านพรรษามาก..หรือระดับเป็นมหาก็มีครับ

    แต่ถ้าเป็นพระทำอย่างที่ตั้งกระทู้มาหมายถึง

    ปราชิก(เป็นผู้พ่ายแพ้)คราวนี้แหละเศร้าทั้ง

    ชาติเลยคุณ..อนุโมทนาครับในแง่มุม..แต่อยากให้

    เข้าใจจริตแต่ละคนแตกต่างครับ..เดี๋ยวพอมีเวลา

    ค่อย..ว่ากันเรื่องของกรรมอีกทีครับ.
     
  8. สีลสิกขา

    สีลสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    1,271
    ค่าพลัง:
    +7,135
    ว่าด้วยอาบัติปาราชิก(ผู้พ่ายแพ้) มี ๔ สิกขาบท ละเมิดเข้าแล้วต้องขาดจากความเป็นภิกษุ แม้สึกไปแล้วจะมาบวชใหม่อีก ก็ไม่ได้
    ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ โย ปะนะ ภิกขุ ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันโน.. "อนึ่ง ภิกษุใด ถึงพร้อมซึ่งสิกขาบทและสาชีพของภิกษุทั้งหลายแล้วไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียเป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้."

    วิภังค์ (จำแนกความ) คำว่า ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง ทรงอธิบายไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืนก็มี ภิกษุทั้งหลาย การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาเป็นอันบอกคืนก็มีภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า..ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน...

    ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระพุทธเจ้า... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระพุทธเจ้า...ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระพุทธเจ้า... ภิกษุย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบด้วยไวพจน์เหล่านั้น อันเป็นอาการเป็นลักษณะเป็นนิมิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.


    ที่ชื่อว่า เมถุนธรรม มีอธิบายว่า ธรรมของอสัตบุรุษ ประเพณีของชาวบ้าน มรรยาทของคนชั้นต่ำ ธรรมอันชั่วหยาบ ธรรมอันมีน้ำเป็นที่สุด กิจที่ควรซ่อนเร้น ธรรมอันคนเป็นคู่ๆ พึงประพฤติร่วมกัน นี้ชื่อว่า เมถุนธรรม.

    ที่ชื่อว่า เสพ ความว่า ภิกษุใดสอดนิมิตเข้าไปทางนิมิต สอดองค์กำเนิดเข้าไปทางองค์กำเนิด โดยที่สุดแม้ชั่วเมล็ดงา ภิกษุนั้นชื่อว่า เสพ.

    คำว่า เป็นปาราชิก ความว่า บุรุษถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจมีสรีระคุมกันนั้นเป็นอยู่ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เสพเมถุนธรรมแล้วย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.

    ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่ กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทศ* ที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้นเพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้. *อุทเทส ในที่นี้คือ การยกภิกษุปาติโมกข์ ภิกษุณีปาติโมกข์ขึ้นสวด (วิ.อ. ๑/๕๓/๒๖๙)*

    อนาบัติ (ลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ) - ๑.ภิกษุไม่รู้สึกตัว ๒.ภิกษุวิกลจริต ๓.ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ๔.ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๕.ภิกษอาทิกัมมิกะ (ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ) เหล่านี้ไม่ต้องอาบัติ.

    เรื่องต้นบัญญัติ - สมัยนั้นมีหมู่บ้านนามว่ากลันทะ ตั้งอยู่ไม่ไกลเมืองเวสาลี มีบุตรเศรษฐีผู้เป็นบุตรชาวกลันทะ นามว่าสุทินนะ สุทินนะพร้อมด้วยสหายไปสู่กรุงเวสาลี เห็นพระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรม จึงแวะเข้าไปสดับธรรมมีความเลื่อมใสใคร่จะออกบวช จึงกราบทูลขอบวชในพระพุทธศาสนา แต่พระศาสดายังไม่ประทานอนุญาตให้บวช เพราะมารดาบิดายังไม่อนุญาต สุทินนะจึงกลับ ไปขออนุญาตท่านมารดาบิดา แต่ไม่ได้รับอนุญาต จึงอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้รับอนุญาตเช่นเดิม สุทินนะจึงนอนลงกับพื้นอดอาหารถึง ๗ วัน มารดา บิดาอ้อนวอนให้ล้มความตั้งใจก็ไม่ยอม พวกเพื่อนๆ มาอ้อนวอน ก็ไม่ยอม ในที่สุดพวกเพื่อนๆ อ้อนวอนให้มารดาบิดาของสุทินนะอนุญาต ก็ได้รับอนุญาต เมื่อได้รับอนุญาตแล้วก็ออกบวช ประพฤติปฏิบัติเคร่งครัดอยู่ทางวัชชีคาม.

    ครั้งนั้น แคว้นวัชชีคาม (ซึ่งมี กรุงเวสาลี เป็นราชธานี) เกิดทุพภิกขภัย พระสุทินนะ มีญาติเป็นคนมั่งคั่งมาก เมื่อเดินทางไปถึงกรุงเวสาลี ญาติ ๆ ทราบข่าวก็นำอาหารมาถวายเหลือเฟือ พระสุทนนะก็ถายแก่ภิกษุทั้งหลายอีกต่อหนึ่ง แล้วเดินทางไปกลันทคาม (ตำบลบ้านเกิดของตน) ความทราบถึงมารดาบิดา บิดาจึงนิมนต์ไปฉัน มารดาก็นำทรัพย์สมบัติมาล่อเพื่อให้สึก พระสุทินนะไม่ยอมจึงไม่สำเร็จ ต่อมามารดาพระสุทินนะชวนให้สึกอีก พระสุทินนะไม่ยอม มารดาจึงกล่าวว่าถ้าไม่สึกก็ขอพืชพันธุ์ไว้สืบสกุล ครั้งนั้นยังไม่มีการบัญญัติวินัยห้ามเสพเมถุน พระสุทินนะเข้าใจว่าเป็นเรื่องพอทำได้ เพื่อให้มีบุตรสืบสกุล จึงเสพเมถุนกับอดีตภริยาของตน ถึง ๓ ครั้ง นางก็ตั้งครรภ์เพราะเหตุนี้.

    พระสุทินนะ เกิดความไม่สบายใจขึ้นมาภายหลัง ถึงขนาดซูบผอม ภิกษุทั้งหลายถามทราบความ จึงพากันติเตียน และนำความกราบทูลพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์เพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุนั้น ได้ทูลรับตามความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า

    " ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ เธอบวชในธรรมวินัยอันเรากล่าวไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า.
    ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีกำหนัด เพื่อความพรากไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพือความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่นมิใช่หรือ? เมื่อธรรมชื่อนั้น อันเราแสดงแล้วเพื่อคลายความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบเราแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น.
    ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความกระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่ดับแห่งตัณหา เพื่อออกไปจากตัณหาชื่อวานะ (เครื่องร้อยรัด) มิใช่หรือ?
    ดูก่อนโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความกระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ?
    ดูก่อนโมฆบุรุษ องค์กำเนิด อันเธอสอดเข้าไปในปากอสรพิษที่มีพิษร้ายแรงยังดีกว่า อันองค์กำเนิดของมาตุคาม ไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในปากงูเห่ายังดีกว่า อันองค์กำเนิดของมาตุคาม ไม่ดีเลย อันองค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในหลุมถ่านที่ไฟติดลุกโชนยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคาม ไม่ดีเลย.
    ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร? เพราะบุคคลผู้สอดองค์กำเนิดเข้าในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึงความตาย หรือความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามนั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ซึ่งมีการกระทำนี้เป็นเหตุ.

    ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อการกระทำนั้น มีโทษอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำอันชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของคนคู่ อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป เธอเป็นคนแรกที่กระทำอกุศลธรรม เป็นหัวหน้าของคนเป็นอันมาก

    การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสแล้ว และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว..."


    ทรงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแ่ห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสมการปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย.


    อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการในการบัญญัติสิกขาบท - ทรงกระทำธรรมิกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วทรงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ

    ๑. เพื่อความดีงามที่เป็นไปโดยความเห็นชอบร่วมกันของสงฆ์
    ๒. เพื่อความผาสุขแห่งสงฆ์
    ๓. เพื่อกำราบคนหน้าด้านไม่รู้จักอาย
    ๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
    ๕. เพื่อปิดกั้นความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อนที่จะมีในปัจจุบัน
    ๖. เพื่อปิดกั้นความเสื่อมเสียความทุกข์ ความเดือดร้อนที่จะมีในภายหลัง
    ๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
    ๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้ว
    ๙. เพื่อความดำรงมั่นแห่งสัทธรรม
    ๑๐. เพื่อส่งเสริมความเป็นระเบียบเรียบร้อย สนับสนุนวินัยให้หนักแน่น..."

    ทางบัญญัติสิกขาบท ห้ามมิให้ภิกษุเสพเมถุน ทรงปรับอาบัติปาราชิกแก่ภิกษุ ผู้ล่วงละเมิด

    อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม) - ต่อมามีภิกษุวัชชีบุตร ชาวกรุงเวสาลี เข้าใจว่าห้ามเฉพาะเสพเมถุนกับมนุษย์ จึงเสพเมถุนด้วยนางลิง ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมให้ชัดขึ้นว่า ห้ามแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย.

    ภิกษุเสพเมถุนขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว ภายหลังขอเข้าอุปสมบทอีก พระพุทธเจ้า จึงทรงบัญญัติมิให้อุปสมบทแก่ผู้เช่นนั้น.


    องค์แห่งอาบัติ - ๑. จิตคิดจะเสพเมถุน ๒. ยังองค์กำเนิดให้เข้าไปในทวารมรรค ถูกต้อง ณ ที่ใดที่หนึ่ง พร้อมด้วยองค์ ๒ ดังนี้ จึงเป็นปาราชิก

    ประมวลพระพุทธบัญญัตินี้ คัดลอกมาจากหนังสือ อริยวินัย วิถีชีวิต ที่นำสู่ความเป็นอริยะ รวบรวมจากพระไตรปิฎก ภิกขุวิภังค์ ภาค ๑ (วินัยปิฎกเล่ม ๑) ข้อ ๒.ปาราชิกกัณฑ์ ๔ สิกขาบท
     
  9. pom25

    pom25 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2007
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +409
    ขอบคุณ ที่ตอบครับ
     
  10. satitchangkit

    satitchangkit สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    แล้วถ้าหาก เป็นลำตัวขององค์กำเนิดละครับ จะเหมือนปลายองค์กำเนิดหรือป่าว ถ้าหากว่าเข้าแต่ด้านข้าง แต่ปลายขององค์กำเนิดไม่ได้เข้า ถือว่าเป็นปาราชิกเหมือนกันหรือป่าวครับ.
     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    คือ ต้องแยกให้ออกนะครับ ว่าเอาอวัยวะ เข้าหรือไม่ นะครับ

    จะเคลือบด้วยโปรตีน หรือ ถุงยาง ก็แล้วแต่ ไม่ใช่สิ่งที่เอามาตัดสินครับ

    แต่ตัดสินที่ อวัยวะเพศชาย

    ใส่อวัยวะเพศชาย เข้าในทวารหนัก ทวารเบา ปาก แม้เมล็ดงาหนึ่งต้องปาราชิก

    ฉนั้น ถ้าใส่อวัยวะเพศชาย ปาราชิก ครับ
     
  12. รวยสงบ

    รวยสงบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +35
    ทวารเบาจะใส่เข้าไปได้อย่างไรครับ
     
  13. zalievan

    zalievan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    3,264
    ค่าพลัง:
    +5,219
    คุณก็ไปทำศัลยกรรมให้ทวารเบาของคุณมีขนาดที่พอจะเข้าไปในทวารเบาของอีกฝ่ายสิครับ(ตอบเอาฮา 555) แต่ก็ยังปาราชิกอยู่นะ มันไม่ใช่ว่าเป็นการสอดใส่ทางไหน มันเป็นเรื่องของการทำลงไปแล้วมากกว่า = =
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2016
  14. รวยสงบ

    รวยสงบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +35
    ทวารเบา มัน คือ รูฉี่

    จะใส่เข้าไปได้ยังไง
     
  15. รวยสงบ

    รวยสงบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +35
    ต้องบัญญัติว่า เอาเสียบเข้าโยนิ
    เสียบทางทวารหนัก ก็พระเกย์แล้ว
     
  16. เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา

    เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา เพื่อมวลมนุษย์แลสรรพสัตว์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    872
    ค่าพลัง:
    +1,936
    มีแง่คิดเรื่องการอยู่ปริวาสกรรมและประพฤติมานัตของพระภิกษุ เพื่อออกจากอาบัติชั่วหยาบ คือสังฆาทิเสส ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องปกปิด บอกกับคฤหัสไม่ได้ ใฉนปัจจุบันจึงทำกันโจ๋งครึ่ม ป่าวประกาศไปทั่ว ..เพียงแต่สงสัย
     
  17. sevenmoons

    sevenmoons พุทธะเมตตา ธรรมะเมตตา สังฆะเมตตา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +86
    สมัยผมบรรพชาอุปสมบท ผมต้องอาบัติปาราชิก ข้อเสพเมถุนครับ คือ ผมทำหลังอ่อนคู้ตัวอมอวัยวะเพศตัวเองครับ ทำกับตัวเองก็เข้าข่ายอาบัติปาราชิกครับ หากอยากทราบรายละเอียดกรณีของกระผม ท่านสามารถเซิร์จหาในกูเกิ้ลได้ครับ โดยพิมพ์ชื่อกระผม นาย " ไพสิฐ เกียรติเลขา " ลงไปครับ
     
  18. TheKunKeng

    TheKunKeng เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2015
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +919
    คือผมสงสัยว่า ถ้าเราบวชแล้วต้องปาราชิก เพราะเสพเมถุน กับ พวก อมนุษย์อะครับ <<พวกนี้เรามองไม่เห็นด้วยตาเนื้ออยู่แล้ว เพราะพวกเค้าอยู่อีกมิติหนึ่งไม่ได้อยู่ในมิติเดียวกับโลกมนุษย์เรา แล้วมาทำอะไรกับเรา ซึ่งกำลังบวชอยู่แล้ว เราไม่ได้ยินยอม หรือยินยอมโดยไม่ตั้งใจก็แล้วแต่ (แต่เราไม่รู้ว่าอะไรมาทำเพราะมองไม่เห็นเลย ไม่รู้จริงๆ ว่าพวกอมนุษย์มาสมสู่กับเราแล้ว)
    ในขณะตอนที่เราเป็นพระสงฆ์อยู่ ไม่ว่าจะเวลาไหน ก็ตามไม่ว่าจะ กลางวัน,กลางคืน ตอนกำลัง ยืน,เดิน,นั่ง,นอน แล้วแบบนี้ก็ถือว่า อาบัติปาราชิกได้โดยง่ายดายน่ะสิครับ...ตัวเราเองยังไม่ได้รู้ตัว อะไรเลยด้วยซ้ำ ว่าเราอาบัติแล้ว ทั้งๆ ที่เราไม่ได้เต็มใจเลย เราไม่รู้ไม่เห็นจริงๆ เพราะพวกเค้าอยู่ในอีกมิติหนึ่ง แล้วเราจะทำยังไงดีล่ะทีนี้ มีวิธีป้องกันไม่ใช่พวกเค้าเข้ามาทำอย่างว่าในตอนที่เรา ครองสมณเพศ แล้วหรือไม่
     
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    [​IMG]<center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑</center></pre> <table width="90%" align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" width="100%" bgcolor="darkblue">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>วินีตวัตถุ </center><center>อุทานคาถา </center> [๔๘] เรื่องลิงตัวเมีย ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุวัชชีบุตร ๑ เรื่อง เรื่องปลอมเป็นคฤหัสถ์ ๑ เรื่อง เรื่องเปลือยกาย ๑ เรื่อง เรื่องปลอมเป็นเดียรถีย์ ๗ เรื่อง เรื่องเด็กหญิง ๑ เรื่อง <small>@๑. ยังองค์กำเนิดให้เข้าไปทางปัสสาวมรรคเป็นต้น แล้วถอนออกทางแผลใกล้ต่อมรรคนั้น.</small> <small>@๒. ยังองค์กำเนิดให้เข้าทางแผลใกล้ต่อมรรคแล้วถอนออกทางมรรค.</small> <small>@๓. บรรดาสองแผลที่เจือกัน ยังองค์กำเนิดให้เข้าไปทางแผลหนึ่งแล้วถอนออกทางแผลที่สอง.</small> <small>@ป.ส. หน้า ๓๑๗</small> เรื่องภิกษุณีชื่ออุปปลวัณณา ๑ เรื่อง เรื่องเพศกลับ ๒ เรื่อง เรื่องมารดา ๑ เรื่อง เรื่องธิดา ๑ เรื่อง เรื่องพี่น้องหญิง ๑ เรื่อง เรื่องภรรยา ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุหลังอ่อน ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุมีองค์กำเนิดยาว ๑ เรื่อง เรื่องแผล ๒ เรื่อง เรื่องรูปปั้น ๑ เรื่อง เรื่องตุ๊กตาไม้ ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุชื่อสุนทระ ๑ เรื่อง เรื่องสตรี ๔ เรื่อง เรื่องป่าช้า ๕ เรื่อง เรื่องกระดูก ๑ เรื่อง เรื่องนาคตัวเมีย ๑ เรื่อง เรื่องนางยักษิณี ๑ เรื่อง เรื่องหญิงเปรต ๑ เรื่อง เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุอินทรีย์พิการ ๑ เรื่อง เรื่องจับต้อง ๑ เรื่อง เรื่องพระอรหันต์เมืองภัททิยะหลับ ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุเมืองสาวัตถี ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุชาวมัลละเมืองเวสาลี ๓ เรื่อง เรื่องเปิดประตูนอน ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะฝัน ๑ เรื่อง เรื่องอุบาสิกาชื่อสุปัพพา ๙ เรื่อง เรื่องอุบาสิกาชื่อสัทธา ๙ เรื่อง เรื่องภิกษุณี ๑ เรื่อง เรื่องสิกขมานา ๑ เรื่อง เรื่องสามเณรี ๑ เรื่อง เรื่องหญิงแพศยา ๑ เรื่อง เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง เรื่องสตรีคฤหัสถ์ ๑ เรื่อง เรื่องให้ผลัดกัน ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุผู้เฒ่า ๑ เรื่อง เรื่องลูกเนื้อ ๑ เรื่อง. <center>เรื่องลิงตัวเมีย </center> [๔๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมีย แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องภิกษุวัชชีบุตร </center> [๕๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีหลายรูปด้วยกัน ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง แล้วเสพเมถุนธรรม พวกเธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องปลอมเป็นคฤหัสถ์ </center> [๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้ว ปลอมเป็นคฤหัสถ์เสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องเปลือยกาย </center> [๕๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้ว เปลือยกายเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องปลอมเป็นเดียรถีย์ ๗ เรื่อง </center> [๕๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วนุ่งคากรองเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วนุ่ง เปลือกไม้กรองเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วนุ่ง ผลไม้กรองเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วนุ่ง ผ้ากัมพลทำด้วยเส้นผมเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วนุ่งผ้า กัมพลทำด้วยขนหางสัตว์เสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๖. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วนุ่งผ้า ทำด้วยขนปีกนกเค้าเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๗. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วนุ่ง หนังเสือเสพเมถุนธรรม เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องเด็กหญิง </center> [๕๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง เห็นเด็กหญิงนอน อยู่บนตั่ง เกิดความกำหนัด จึงสอดนิ้วแม่มือเข้าไปในองค์กำเนิดเด็กหญิงๆ นั้นตาย เธอได้ มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้อง อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. <center>เรื่องภิกษุณีชื่ออุปปลวัณณา </center> [๕๕] ก็โดยสมัยนั้นแล มาณพคนหนึ่งมีจิตปฏิพัทธ์ในภิกษุณี ชื่ออุปปลวัณณา เมื่อ ภิกษุณีอุปปลวัณณา เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต จึงเข้าไปซ่อนอยู่ในกุฎี เวลาปัจฉาภัตรภิกษุณี อุปปลวัณณากลับจากบิณฑบาต ล้างเท้าแล้วเข้ากุฎีนั่งบนเตียง มาณพนั้นจึงเข้าปลุกปล้ำประทุษร้าย ภิกษุณีอุปปลวัณณา นางจึงแจ้งเหตุนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี ผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ. <center>เรื่องเพศกลับ ๒ เรื่อง </center> [๕๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล เพศหญิงปรากฏแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอุปัชฌาย์ เดิมนั้นแหละ อุปสมบทเดิมนั้นแหละ พรรษาก็เหล่านั้น และให้อยู่ร่วมกับภิกษุณีทั้งหลาย อาบัติเหล่าใดของภิกษุทั้งหลายที่ทั่วไปกับภิกษุณีทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปลงอาบัติเหล่านั้นใน สำนักภิกษุณีทั้งหลาย อาบัติเหล่าใดของภิกษุทั้งหลายที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณีทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ เพราะอาบัติเหล่านั้น ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล เพศชายปรากฏแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอุปัชฌาย์เดิมนั้นแหละ อุปสมบทเดิมนั้นแหละ พรรษาก็เหล่านั้น และให้อยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย อาบัติเหล่าใด ของภิกษุณีทั้งหลายที่ทั่วไปกับภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปลงอาบัติเหล่านั้น ในสำนักภิกษุ ทั้งหลาย อาบัติเหล่าใดของภิกษุณีทั้งหลายที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติเพราะอาบัติ เหล่านั้น. <center>เรื่องมารดา </center> [๕๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้ว เสพเมถุนธรรมในมารดา เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องธิดา </center> ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วเสพ- *เมถุนธรรมในธิดา เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องพี่น้องหญิง </center> ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วเสพ- *เมถุนธรรมในพี่น้องหญิง เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องภรรยา </center> ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในภรรยาเก่า เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องภิกษุมีหลังอ่อน </center> [๕๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีหลังอ่อน เธอถูกความกระสันบีบคั้นแล้ว ได้ อมองค์กำเนิดของตนด้วยปาก เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องภิกษุมีองค์กำเนิดยาว </center> ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีองค์กำเนิดยาว เธอถูกความกระสันบีบคั้นแล้ว ได้สอดองค์กำเนิดของตนเข้าสู่วัจจมรรคของตน เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องแผล ๒ เรื่อง </center> [๕๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้พบศพ และที่ศพนั้นมีแผลอยู่ใกล้องค์ กำเนิด ภิกษุนั้นคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ จึงสอดองค์กำเนิดของตน เข้าใน องค์กำเนิดของศพ แล้วถอนออกทางแผล เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้พบศพ และที่ศพนั้นมีแผลอยู่ใกล้องค์กำเนิด ภิกษุนั้นคิดว่า เราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ จึงสอดองค์กำเนิดของตนเข้าในแผล แล้วถอน ออกทางองค์กำเนิดของศพ เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องรูปปั้น </center> [๖๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้ถูกต้องนิมิตแห่งรูปปั้นด้วย องค์กำเนิด เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ. <center>เรื่องตุ๊กตาไม้ </center> ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้ถูกต้องนิมิตแห่งตุ๊กตาไม้ด้วยองค์ กำเนิด เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ. <center>เรื่องภิกษุชื่อสุนทระ </center> [๖๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุชื่อสุนทระ บวชจากกรุงราชคฤห์ แล้วเดินไปตามถนน สตรีผู้หนึ่งเห็นท่านแล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า นิมนต์หยุดประเดี๋ยวก่อน ดิฉันจักไหว้ นางไหว้ พลางเลิกผ้าอันตรวาสกขึ้นแล้ว ได้อมองค์กำเนิดด้วยปาก เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มี พระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่าถาม เธอยินดีหรือ? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ. <center>เรื่องสตรี ๔ เรื่อง </center> [๖๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่าท่านเจ้าขา นิมนต์ มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร สตรีนั้นแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ดิฉันจักพยายามเอง ท่านไม่ต้องพยายาม โดย วิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มา เสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร สตรีนั้นแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามเอง ดิฉันจักไม่พยายาม โดย วิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มา เสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร สตรีนั้นแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามภายใน แล้วปล่อยสุกกะภายนอก โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. ๔. ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพ เมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร สตรีนั้นแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามภายนอก แล้วปล่อยสุกกะ ภายใน โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องป่าช้า ๕ เรื่อง </center> [๖๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า เห็นศพซึ่งยังไม่ถูกสัตว์กัด ได้เสพ เมถุนธรรมในศพนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า เห็นศพซึ่งยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก ได้เสพ เมถุนธรรมในศพนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า เห็นศพซึ่งถูกสัตว์กัดโดยมาก ได้เสพ เมถุนธรรมในศพนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง อาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย. ๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า เห็นศพซึ่งมีศีรษะขาด ได้สอดองค์ กำเนิดเข้าไปกระทบในปากที่อ้า แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. ๕. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า เห็นศพซึ่งมีศีรษะขาด ได้สอดองค์กำเนิด เข้าไปในปากที่อ้า ไม่ให้กระทบ แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ. <center>เรื่องกระดูก </center> ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีจิตปฏิพัทธ์ในสตรีผู้หนึ่ง สตรีนั้นถึงแก่กรรมแล้ว เขาทิ้งไว้ในป่าช้า กระดูกเกลื่อนกลาด ภายหลังภิกษุนั้นไปป่าช้า เก็บกระดูกคุมกันเข้าแล้ว จดองค์กำเนิดลงที่นิมิต เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ. <center>เรื่องนาคตัวเมีย </center> [๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในนาคตัวเมีย แล้วมีความ รังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก แล้ว. <center>เรื่องนางยักษิณี </center> ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในนางยักษิณี แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องหญิงเปรต </center> ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในหญิงเปรต แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องบัณเฑาะก์ </center> ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในบัณเฑาะก์ แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องภิกษุมีอินทรีย์พิการ </center> [๖๕] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีอินทรีย์พิการ เธอคิดว่า เราไม่รู้สึกสุขหรือ ทุกข์ อาบัติจักไม่มีแก่เรา จึงเสพเมถุนธรรม แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ จึง กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้น รู้สึกก็ตาม ไม่รู้สึกก็ตาม ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องจับต้อง </center> [๖๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักเสพเมถุนธรรมในสตรี ครั้นจับต้อง ตัวเข้าเท่านั้น ก็เกิดความกินแหนง เธอได้มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ. <center>เรื่องพระอรหันต์เมืองภัททิยะจำวัดหลับ </center> [๖๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง อยู่ในที่พักกลางวันในป่าชาติยาวัน แขวงเมือง ภัททิยะ จำวัดหลับอยู่ อวัยวะใหญ่น้อยของภิกษุนั้นถูกลมรำเพยให้ตึงตัว สตรีผู้หนึ่งพบเข้าแล้ว ได้นั่งคร่อมองค์กำเนิด กระทำการพอแก่ความประสงค์ แล้วหลีกไป ภิกษุเห็นองค์กำเนิด เปรอะเปื้อน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การได้ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ กำหนัด ๑ ปวดอุจจาระ ๑ ปวดปัสสาวะ ๑ ถูกลมรำเพย ๑ ถูกบุ้งขน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การได้ ด้วยอาการ ๕ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย องค์กำเนิดของภิกษุนั้น พึงเป็นอวัยวะใช้การได้ ด้วยความกำหนัดใด ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส เพราะภิกษุนั้นเป็นอรหันต์ ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ. <center>เรื่องภิกษุเมืองสาวัตถี ๔ เรื่อง </center> [๖๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง อยู่ในที่พักกลางวันในป่าอันธวัน แขวง เมืองสาวัตถี จำวัดหลับอยู่ สตรีเลี้ยงโคคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ภิกษุนั้นยินดีกิริยา ที่เข้าไป ยินดีกิริยาที่เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีกิริยาที่หยุดอยู่ ยินดีกิริยาที่ถอนออก แล้วมีความรังเกียจ ว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอจึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่าอันธวัน แขวงเมืองสาวัตถี จำวัดหลับอยู่ สตรีเลี้ยงแพะคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ภิกษุนั้นยินดีกิริยาที่เข้าไป ยินดีกิริยาที่เข้าไปถึงแล้ว ยินดีกิริยาที่หยุดอยู่ ยินดีกิริยาที่ถอนออก แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่าอันธวัน แขวงเมืองสาวัตถี จำวัดหลับอยู่ สตรีหาฟืนคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ภิกษุนั้นยินดีกิริยาที่รังเกียจว่า เข้าไป ยินดีกิริยาที่เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีกิริยาที่หยุดอยู่ ยินดีกิริยาที่ถอนออก แล้วมีความ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. ๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่าอันธวัน แขวงเมือง สาวัตถี จำวัดหลับอยู่ สตรีขนโคมัยคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ภิกษุนั้นยินดีกิริยา ที่เข้าไป ยินดีกิริยาที่เข้าไปถึงที่แล้ว ยินดีกิริยาที่หยุดอยู่ ยินดีกิริยาที่ถอนออก แล้วมีความ รังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>เรื่องภิกษุชาวมัลละเมืองเวสาลี ๓ เรื่อง </center> [๖๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่ามหาวัน แขวงเมือง เวสาลี จำวัดหลับอยู่ สตรีคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด กระทำการพอแก่ความ ประสงค์ แล้วยืนหัวเราะอยู่ใกล้ๆ ภิกษุนั้นตื่นขึ้นแล้วได้ถามสตรีนั้นว่า นี่เป็นการกระทำของ เธอหรือ? สตรีนั้นบอกว่า เจ้าค่ะ เป็นการกระทำของดิฉัน ภิกษุนั้นมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอรู้สึกตัวหรือ? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้สึกตัว พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่รู้สึกตัว ไม่ต้องอาบัติ ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่ามหาวัน แขวงเมือง เวสาลี จำวัดหลับพิงต้นไม้อยู่ สตรีคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ภิกษุนั้นรีบลุกขึ้น ทันที แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิก แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอยินดีหรือ? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ในป่ามหาวันแขวงเมืองเวสาลี จำวัดหลับพิงต้นไม้อยู่ สตรีคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ภิกษุนั้นยันให้กลิ้งไป แล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอยินดีหรือ? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ. <center>เรื่องภิกษุเปิดประตูนอน </center> [๗๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวัน ณ กูฎาคารศาลาป่ามหาวัน แขวงเมืองเวสาลี เปิดประตูจำวัดหลับอยู่ อวัยวะใหญ่น้อยของเธอ ถูกลมรำเพยให้ตึงตัว ครั้งนั้น สตรีหลายคนถือของหอมและดอกไม้ไปสู่อาราม มุ่งตรงไปยังวิหาร พบภิกษุนั้น แล้ว ได้นั่งคร่อมองค์กำเนิด กระทำการพอแก่ความประสงค์ แล้วกล่าวว่าภิกษุนี้เป็นบุรุษองอาจนัก แล้วถือของหอมและดอกไม้กลับไป ภิกษุเห็นองค์กำเนิดเปรอะเปื้อน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์กำเนิดย่อมเป็นอวัยวะใช้การได้ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ กำหนัด ๑ ปวด อุจจาระ ๑ ปวดปัสสาวะ ๑ ถูกลมรำเพย ๑ ถูกบุ้งขน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์กำเนิดเป็น อวัยวะใช้การได้ด้วยอาการ ๕ อย่างนี้แล องค์กำเนิดของภิกษุนั้น พึงใช้การได้ด้วยความกำหนัด ใด ข้อนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส เพราะภิกษุนั้นเป็นอรหันต์ ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้จะพักผ่อนในกลางวัน ปิดประตูก่อนจึงจะพักผ่อนได้. <center>เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะฝัน </center> [๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะรูปหนึ่ง ฝันว่าได้เสพเมถุนธรรมใน ภรรยาเก่า แล้วคิดว่า เราไม่เป็นสมณะ จักสึกละ แล้วเดินทางไปสู่เมืองภารุกัจฉะ พบท่าน พระอุบาลีในระหว่างทาง จึงกราบเรียนเรื่องนั้นให้ทราบ ท่านพระอุบาลีกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส อาบัติไม่มีเพราะความฝัน. <center>เรื่องอุบาสิกาชื่อสุปัพพา ๙ เรื่อง </center> [๗๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความ เลื่อมใสยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์ มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิดเจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ระหว่างขาอ่อน โดยวิธีนี้อาบัติจัก ไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่สะดือ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี แก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่เกลียวท้อง โดยวิธีนี้อาบัติจัก ไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๔. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ซอกรักแร้ โดยวิธีนี้อาบัติจัก ไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้นแล้ว มีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๕. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่คอ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี แก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๖. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ช่องหู โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี แก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๗. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่มวยผม โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี แก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๘. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ง่ามมือ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี แก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๙. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ในเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ดิฉันจักพยายามด้วยมือให้สุกกะเคลื่อน โดย วิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องบัญญัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. <center>เรื่องอุบาสิกาชื่อสัทธา ๙ เรื่อง </center> [๗๓] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธาในเมืองสาวัตถีเป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ระหว่างขาอ่อน โดยวิธีนี้อาบัติ จักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. [๗๔] ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีความเลื่อมใส ยังอ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่สะดือ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี แก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อน อยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุ แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่เกลียวท้อง โดยวิธีนี้อาบัติจัก ไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๔. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อน อยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ใกล้รักแร้ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี แก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๕. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อน อยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุ แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่คอ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๖. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อน อยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ช่องหู โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี แก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๗. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีความเลื่อมใสยัง อ่อนอยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบ ภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่มวยผม โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี แก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๘. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อน อยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุ แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ท่านจงพยายามที่ง่ามมือ โดยวิธีนี้อาบัติจักไม่มี แก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. ๙. ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสิกาชื่อสัทธา ในเมืองสาวัตถี เป็นผู้มีความเลื่อมใสยังอ่อน อยู่ นางมีความเห็นอย่างนี้ว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุ แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า อย่าเลย น้องหญิง การเรื่องนี้ไม่ควร นางแนะนำว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ ดิฉันจักพยายามด้วยมือให้สุกกะเคลื่อน โดยวิธีนี้ อาบัติจักไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้กระทำตามนั้น แล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. <center>เรื่องภิกษุณี </center> [๗๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุขืนให้ปฏิบัติผิดใน นางภิกษุณี เธอทั้งสองยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสียทั้งสอง เธอทั้งสองไม่ยินดี ทั้งสอง ไม่ต้องอาบัติ. <center>เรื่องสิกขมานา </center> ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุขืนให้ปฏิบัติผิดให้นางสิกขมานา เธอทั้งสองยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสียทั้งสอง เธอทั้งสองไม่ยินดี ทั้งสองไม่ต้อง อาบัติ. <center>เรื่องสามเณรี </center> ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุขืนให้ปฏิบัติผิดในสามเณรี เธอทั้งสองยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสียทั้งสอง เธอทั้งสองไม่ยินดี ทั้งสองไม่ต้องอาบัติ. <center>เรื่องหญิงแพศยา </center> [๗๖] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุให้ปฏิบัติผิดในหญิง แพศยา ภิกษุยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะภิกษุเสีย ภิกษุไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ. <center>เรื่องบัณเฑาะก์ </center> ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุให้ปฏิบัติผิดในบัณเฑาะก์ ภิกษุยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะภิกษุเสีย ภิกษุไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ. <center>เรื่องสตรีคฤหัสถ์ </center> ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุให้ปฏิบัติผิดในสตรีคฤหัสถ์ ภิกษุยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะภิกษุเสีย ภิกษุไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ. <center>เรื่องให้ผลัดกัน </center> ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุให้ปฏิบัติผิดในกันและกัน เธอทั้งสองยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสียทั้งสอง เธอทั้งสองไม่ยินดี ทั้งสองไม่ต้องอาบัติ. <center>เรื่องภิกษุผู้เฒ่า </center> [๗๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้เฒ่ารูปหนึ่ง ได้ไปเยี่ยมภรรยาเก่า นางได้จับบังคับว่า ท่านจงมาสึกเสียเถิด ภิกษุนั้นถอยหลังล้มหงาย นางจึงขึ้นคร่อมองค์กำเนิด เธอได้มีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอยินดีหรือเปล่า? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ. <center>เรื่องลูกเนื้อ </center> [๗๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า ลูกเนื้อมาสู่ที่ถ่ายปัสสาวะของเธอแล้ว ได้อมองค์กำเนิดพลางดื่มปัสสาวะ ภิกษุนั้นยินดีแล้วได้มีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ ผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. <center>ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ จบ. </center></pre>
     
  20. Pongsak keeree

    Pongsak keeree สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2016
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    การเสพเมถุน

    หากมีพระรูปหนึ่งชวนให้ผู้หญิงมานั่งคล่อมมีกกน.ขั้นระหว่างองคชาติมีการเสียดสีแล้วมีอารมณ์กำหนัด แต่เมื่อผู้หญิงพยายามที่จะสอดใส่ พระเกิดความรู้สึกผิดจึงพยายามที่จะหยุดการกระทำนั้นรีบผลักหญิงนั้นออกแต่ไม่สำเร็จ องคชาติได้สอดใส่ไปแต่มีกกน.ขั้นไว้พระไม่ยินยอมและขัดขืนแต่สุดท้ายปลอยให้หญิงสอดใส่จนพระสำเร็จความใคร่แต่ไม่ได้รู้สึกยินดี แบบนี้ถือว่าพระรูปนั้นปาราชิกไหมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...