อุเบกขา..เมื่อความเฉยปรากฏควรทำอย่างไรดี ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ศรีสุทโธ, 27 เมษายน 2011.

  1. ศรีสุทโธ

    ศรีสุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +461
    มันเป็นอาการแบบเฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย กับอะไรเลย พระไม่ไหว้ มนต์ไม่สวด
    เห็นเค้าทำบุญก็ไม่นึกจะอนุโมทนา เฉยๆ วันๆอยู่กับตัวเอง ไม่อยากเป็นอะไร
    มันเฉยๆจนน่าใจหาย เห็นทีถ้าปล่อยไว้แบบนี้ ถ้าจะแย่เอาได้ หรือว่าผมจะเป็น
    บ้าไปแล้ว ไม่กำหนดอะไร ไม่พิจารณาอะไร พูดน้อยลง ก็แปลกใจไม่น้อยเลย
    ที่ปรากฏอาการนี้มาได้สัก 3 เดือนแล้ว ..แต่ก็พยายามแก้ไขด้วยตนเองเพราะ
    ทราบมาว่าเป็นอาการของ วิปัสนูกิเลสทั้ง 10 ประการ แต่ก็แก้ไม่ตก
    จึงอยากปรึกษาทุกท่าน.มีคำถามว่า

    1.ผมจะหมดศรัทธา ในพระรัตนะตรัยไปแล้ว ?
    2.ผมจะป่วยทางจิต ?

    ท่านใดรู้อาการนี้ช่วยกรุณาตอบด้วยครับ...น้อมรับทุกความเห็นครับ...
     
  2. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    จริงๆ ถ้ามันมีการ พิจารณาเห็นว่า ตัวเฉยๆ อยู่นี่ ไม่ติดวิปัสสนูหรอก

    หากติดวิปัสสนู มันจะไม่รู้เลยว่าตัวเองติดอะไร อยู่ในอะไร จะมีแต่สำคัญว่า
    ไม่ติดอะไรเลย ไม่ได้อยู่ในอะไรเลย

    อาการเฉยๆ จากทั้งทาง กุศลธรรม และ อกุศลธรรม มันคืออาการบารมีมัน
    เต็ม กล่าวคือเมื่อก่อน ทำอกุศลก็เผ็ดร้อนยินร้าย ทำบุญก็รู้สึกยินดี นี้เพราะ
    ความยินดี ยินร้ายในกาลก่อนมันไม่ปรากฏแล้ว มันก็เข้าสู่ความเป็นกลางต่อการ
    ปรุงแต่ง

    มาถึงตรงนี้ ไม่ใช่ว่าติดวิปัสนูกิเลส เพียงแต่ เป็นอาการไม่รู้จะรู้อริยสัจจอย่างไร

    มันเหมือนคนที่รู้ว่ามีบ้านให้กลับ เดินทางมาไกลแล้ว เฉียดแล้ว แต่ก็ยังไม่รู้ว่า
    ประตูบ้านมันอยู่ตรงไหน

    ถ้าต้องการจะเห็นทางเข้า ก็ให้ ดูความว่างๆ หรือ ความเฉยๆ นี้ในฐานะสังขาร
    ธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ช้ามันจะต้องแสดง สามัญลักษณ์ออกมา

    หากมันแสดงออกมาแล้ว เรากลับไปจมโลกของการปรุงแต่งไปแล้ว ก็พิจารณาไป
    ในแบบ เจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วเสื่อม ทำไปอย่างเดิม แล้วดูเจริญแล้วเสื่อมไปซ้ำ
    แล้วซ้ำเล่า ทำเรื่อยๆ ไม่ตายไม่เลิก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2011
  3. ศรีสุทโธ

    ศรีสุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +461
    เคยได้ยินที่เค้าว่ากันว่า "อิ่มในอารมณ์" มันคงจะใกล้เคียง แต่ว่าจะตัดอารมณ์เสีย
    ที่เดียวมันไม่ขาด มันยังแสดงความเสียดายหวงแหนในอารมณ์ให้ปรากฏอยู่...
     
  4. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +4,065
    สาธุ..ผมว่าท่านต้องใช้ ธุดงควัตร์ช่วยนะครับ อย่าทิ้งวัตรปฏิบัติครับ เป็นพระหรือโยมก็ช่วยได้ครับ แค่เสนอความเห็น สาธุครับ
     
  5. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +4,065
    สาธุ ท่านปฏิบัติได้ถึงขั้นนี้ สาธุครับ..หากท่านหมายถึง"จิตมันเต็ม"..ผมว่ามันแยกยากมากกับ..จิตเริ่มคลายหรือเสื่อมจากสมาธินะครับ
    ท่านใช้คำว่า " ศรัทธาจะหมด"..ตรงนี้หากศิลท่านมั่นคงไม่ใช่แน่ครับ ..แต่หากท่านใช้กำลังจิตมากในทางโลก กำลังจิตท่านถอยลงเพราะไม่ทำให้ต่อเนื่องจึงดูเหมือนเฉยไปหมด..แล้วจะลงมาที่ สมาธิจิตกำลังเสื่อม คลายลงครับ (สาธุ ความเห็นส่วนตัวครับ)
    กระทู้คุณภาพ อยากฟังจากท่านอื่นๆด้วยครับ..ท่านอโศ ท่านขันธ์ ท่านวิสุธทโธ..พี่เสขะ ฯลฯ ท่านธรรมภูติหายป่วยรึยังครับ ขอให้หายไวๆบุญรักษาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2011
  6. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830




    พิจารณา สิ่งที่ตนเองเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้....
    มีประโยชน์ เกิดคุณหรือโทษแก่ตนเองอย่างไร


    แนะนำ ไปเที่ยวพักผ่อนสมอง เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนบรรยากาศใหม่ๆ
    ลองหากิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมทำบ้าง

    เผื่อ....จะเข้าใจโลกและธรรมมากขึ้น
    อย่าเอาใจหมกหมุ่น....กับเรื่องนี้มากเกินไป
    จะกลายเป็นคนสุดโต่ง เข้ากับใครไม่ได้
     
  7. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    นั่นแหละๆ ดูความหวงแหน อารมณ์ตัวนั้นแทน มันจะเห็นไม่กี่ขณะจิตเท่านั้น

    หากเห็นได้ ก็ระลึกสภาพธรรมตัวนั้น เอามาดูสามัญลักาณ์แทน

    ถ้าความหิวอารมณ์มันแสดงไตรลักษณ์เมื่อไหร่ ดับเมื่อไหร่ มันก็จะมีโอกาส
    เห็นสภาวะธรรมที่ว่า "อิ่มอารมณ์" ได้

    ซึ่งการจะอิ่มได้ มันก็ต้องอยู่ที่ป้อนเข้าไปต่อเนื่อง แต่การป้อนต่อเนื่องนี้จะ
    ต้องป้อนอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่เจือตัณหา ไม่เจือความอร่อยในรส

    หากรสอร่อยมันยังปรากฏ มันก็จะมีการป้อนด้วยตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งแน่

    ก็ค่อยๆพิจารณาอุบายนำออกไปเรื่อยๆ ซึ่งจะทำอะไรไม่ได้มาก จะขยับ
    นิดหน่อยมันก็เป็นเรื่องอร่อยในรสไปหมด อันนี้จึงต้องใช้ปัญญาอย่างยิ่ง
    ในการหาอุบายนำออก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2011
  8. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ขอเสริมด้วย พุทธวัจนะ

     
  9. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    มีคำถาม จขกท. ดังนี้

    สังเกตุตนเอง
    จิตคุณมีกำลังตั้งมั่น ไม่ส่ายแส่ ภาวนาสงบรวมลงง่าย
    เจริญสติในอริยาบถ 4 ตลอดเวลา หรือเปล่า
    เมื่อเหตุเต็ม ผลย่อมเต็ม.....คำว่า "อิ่มในอารมณ์" จึงเกิดขึ้นได้

    หากไม่เป็นตามนี้ มันเป็น "อุเบกขาควาย"
    ขอโทษ ที่ใช้คำแรง แต่ต้องการสื่อความหมายให้ตรงที่สุด

    เพราะ อุเบกขาธรรม ไม่ควรกระทำในเรื่องนี้ เช่น
    พระไม่ไหว้ มนต์ไม่สวด เห็นเค้าทำบุญก็ไม่นึกจะอนุโมทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2011
  10. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +4,065
    สาธุกับท่านอโศครับ เห็นด้วยต้องมีเหตุปัจจัยไล่เลียงได้ครับ..สาธุ
     
  11. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ลองมาทบทวนดูคำถามนะครับ

    การที่คุณดำเนินมาจนรู้สึกว่า ไม่มีบัญญัติใดที่เป็น รูปคน ให้ยึดจับเลย แล้ว
    ปริวิตกไปว่า นี้คือลืมพระพุทธเจ้าหรือเปล่า ลืมสงฆ์หรือเปล่า ตรงนี้ศาสดา
    ท่านตรัสชัดเจนครับว่า ให้เอาพระธรรมเป็นที่พึ่ง นั่นคือ อธิจิตไว้ที่นิพพาน
    เท่านั้น แล้วจะไม่สับสน

    การมาถึงยอดเขาจะเหนือธรรมชาติอยู่แล้วพบว่า ไม่มีใครเลย นั้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่ความที่
    ปริวิตก ดำริไป ทำให้มารสบช่อง ชงคำถามแปลกๆมาหลอกให้เราคิดไป
    เรียกว่า มารร้ายที่สุดคือ อภิสังขารมาร(ความคิดนี่แหละ) พอสงสัยปัีกก็ตกจิตตั้งมั่นไป

    จากบทพิจารณา รส และ หาอุบายนำออก อันนั้น เป็นของพระอนุตรสัมมาสัมพุทธ
    ข้อความจึงปรากฏการพิจารณากองขันธ์ทุกกอง แต่ สาวกธรรมดาๆ ให้พิจารณา
    เฉพาะหน้า คือ เท่าที่เห็นชัดกองใดกองหนึ่งพอแล้ว

    เช่น ความว่าง ความว่างนี้คือกองสังขาร

    รสอร่อยคือ พอใจความว่าง สังขารคือความว่างจึงอร่อย มีเข้า มีออก

    โทษของสังขารคืออะไร คือมันแปรปรวน มีเข้า มีออก นั้นนั่นแหละ

    ดังนั้น ก็ให้พิจารณาไปตามนั้น จนกว่าจะเห็นอุบายนำออกได้ ซึ่งตรงนี้
    ก็ว่ากันไปตามแต่ ปัจจุบันธรรมจะปรากฏ คะเนล่วงหน้าไม่ได้

    ถ้าคุณคะเนปั๊ป มันจะเป็นเรื่อง รสอร่อยของสัญญาขันธ์ไปอีก มันจะหยุด
    ไม่อยู่หากฝึกสติระลึกแยกรูปแยกนามได้ไม่ปริเฉทพอ คือ พิจารณามา
    หลายๆกอง หลายๆธาตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2011
  12. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เฉยในที่นี้ ไม่ใช่อุเบกขา เป็นเฉยแบบโมหะ เป็นอกุศลอยู่
    และไม่ใช่ญาณเบื่อหน่ายอะไรในวิปัสสนา
    เป็นปกติธรรมดา คนของคนถูกอารมณ์ครอบงำ

    ทำตัวให้มีสติ ตื่นโลก ตื่นธรรม ตื่นใจ รู้อยู่ที่รูปนาม
     
  13. banana603

    banana603 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +17
    เฉกเช่นข้อสอบ ในเมื่อเห็นคำตอบของโจทย์แล้ว

    เหตุใด ท่านไม่ทำโจทย์ ลากเส้นหาเหตุหาผลจากโจทย์กับคำตอบที่ได้เล่าท่าน...
     
  14. ศรีสุทโธ

    ศรีสุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +461
    เคยปรึกษาท่านผู้รู้ เกี่ยวกับเรื่องความเฉยๆนี้ ท่านก็ให้อุบายธรรมมาว่า "ก็ให้ดูที่ความเฉยๆ
    นี่ละ ที่มันเฉยๆ มันมีสาเหตุ สังขารธรรมทั้งหลาย เกิดแต่เหตุและปัจจัย ให้ใช้ อริยะสัจจ์เข้าพิจารณา "
    แต่ผมก็ยังขบไม่แตกอยู่ดี

    ส่วนเรื่องเกี่ยวกับพระรัตนะตรัยนั้น วัตถุมงคล เครื่องราง ที่ถือเป็นรูปเปรียบ ของพระ
    พุทธเจ้า พระสงฆ์ เหล่านี้ผมค้นพบว่า ไม่จำเป็นแล้ว เป็นแต่เพียงวัตถุธาตุ ที่นำมาหล่อ
    หลอม ใส่รูปบัญญัติ นามบัญญัติ สมติว่าเป็นพระนั้น นี้ เพราะถ้าไม่นำมาทำเป็นรูปพระ
    ก็ถือว่า ยังเป็นธาตุทั้ง 4 โดยสมบูรณ์ พวกเราที่มาสมมติ สมนามกันเองทั้งนั้นจึงไม่ยึด
    ไม่ถือของแบบนี้แล้ว ปัจจุบันไม่แขวนพระทั้งที่ก่อนหน้า เป็นนักสะสมตัวยง เช่าหามาก็
    หลายอัฐ ได้มอบหมายแจกจ่ายแก่ผู้ต้องการ ไปเสียสิ้นทั้งที่ก็เช่าหามาด้วยปัจจัยจำนวน
    ไม่น้อย ถึงเลขหกหลัก....

    ส่วนที่ว่าบ้านั้น มันเป็นอาการทางจิต รับรู้ได้ด้วยจิต ที่เกิดขึ้นครั้งแรก จึงแปลกใจบ้าง
    เล็กน้อย แต่ความรู้สึกที่เด่นชัด คือ รู้ทุกความอารมณ์ พอรู้แล้วก็ดับลง แล้วก็เฉยๆต่อ
    แต่ก็ไม่ได้สำคัญมั่นหมายว่า ตนเป็นนั่นเป็นนี่ เพราะยังเข้าใจว่ายังเสียดายหวงแหนในอารมณ์อยู่นั่นเอง...
     
  15. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    มาดูกันต่อในอีกแง่มุมหนึ่งของการ "หิวอารมณ์"

    นักปฏิบัติที่ชำนาญมาในแต่ละทาง มักลืมไปว่า ทางที่ตนใช้นั้น ล้วนเป็นอุบายธรรม

    ความที่ไม่ได้ใส่ใจ้พิจารณาเล็งเห็น ความเป็นอุบายธรรม ทำให้ขาดการพิจารณา คุณ
    และ โทษ ของหนทางที่ตนใช้เป็นอุบายอยู่ควบคู่ไปด้วย (ขาดการเห็นทุกข์)

    ทำให้ เวลาจะขาดจาก นามรูป อันเป็นปัจจัยพิเศษให้เกิด วิญญาณ
    และ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป หากลืมพิจารณา คุณและโทษ
    ของอุบายธรรมที่ใช้อยู่ไว้แล้ว ก็จะหลุดออกจาวงจรไม่ได้ แถมยังไม่รู้
    สึกด้วยว่า "อัตตา" มันเกิด

    คนที่มาทางสมถะนำหน้า หากขาดการพิจารณาคุณและโทษ จิตจะหิว
    อารมณ์โดยการติดวิญญาณขันธ์(นามรูป)แสวงหาอารมณ์รู้ ทำให้กดไว้เล็ก
    น้อย ไม่ปล่อยจิต

    คนที่มีปัญญานำหน้า หากขาดการพิจารณาคุณและโทษ จิตจะหิว
    อารมณ์โดยการใช้สัญญาขันธ์(นามรูป)แสวงหาทางพ้น ทำให้ควานหาเล็กน้อย
    ไม่ปล่อยจิต

    ดังนั้น วิธีคือต้องพิจารณา สังขารธรรมที่มีการแอบดำริ หรือ เพ่งจ้อง
    แล้วมีความรู้สึกว่าพ้นแล้วเหล่านั้นให้ดี โดยแยบคาย ไม่ใช้ทั้งเจตคติ(เจโตสมาธิ
    อันเกิดจากวิญญาณขันธ์ ) และไม่ใช้ทั้งปัญญาอบรมสมาธิอันเกิดจากสัญญาขันธ์
    แสวงหาหนทางหลุดพ้น เพราะไม่มีทางที่ขันธ์5 จะให้หนทางหลุดพ้นได้ ตรงนี้เรียกว่า
    "จิตไม่อิ่มอารมณ์" หรือ ไม่เลิกใช้ขันธ์5แสวงหาทางหลุดพ้นนั่นแหละ

    หากปล่อยวางอย่างแยบคาย จะพบว่า เป็นเพราะ ขาดการพิจารณาโทษ และคุณ
    นั่นเอง ทำให้จิตไม่มุ่งพิจารณา "ทุกขสัจจ" จิตจึงไม่ปล่อย พอไม่ปล่อยก็ไม่ทราบ
    ถึงการพ้นจากโลกียสมาธิ พ้นจากโลกียปัญญา พอไม่พ้น ก็ไม่เหนือเหตุ ไม่เหนือผล
    ไม่เหนือธรรม(ชาติ) ไม่เห็นวิมุตติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2011
  16. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    มาดู การหยั่งลงสู ครรภ์ หรือ การกำเหนิดวิญญาณ หรือ การหิวอารมณ์
    ในแบบพุทธวัจนะกัน

    คำว่า

    เพศ ก็ได้แก่ เทวตา(บุญบา) พรหมา(โลกียสมาธิ) เมื่อหยั่งลงสู่การกำเหนิดแล้วจะพ้นนั้นเป็นไปไม่ได้
    นิมิต ก็ได้แก่ การตั้งขึ้นของเพศ
    นิทาน,อุเทศ ได้แก่ สุตตมัยยปัญญา จินตมัยปัญญา ที่เป็นเรื่องโลก รวมทั้งธรรม เมื่อมีเรื่องราวแล้วจะพ้นนั้นเป็นไปไม่ได้
    เหตุ ได้แก่ นันทิราคะ (การเผลอเพลิน หรือ การขาดพิจารณาคุณและโทษ)

    จะเห็นว่า หากมาถึงจุดๆนี้ ว่างจากผัสสะ ว่างจากการปรุง ว่างจากการหยั่ง
    แม้แต่ นามรูป( การเห็นเป็นบุคคล เรา เขา ผู้ประเสริฐ-นิทาน ผู้ไม่ประเสริฐ-อุเทศ)
    มันก็คือโอกาสในการจ่อที่ปากประตู การเห็นอริยสัจจ ก็ขอให้เดินหากันต่อไป
    ไม่ตายไม่เลิกรู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2011
  17. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    อืม ถ้าเป็นผมผมก็ดูว่าเรื่องนี้เคยไม่เฉย ตอนนี้เฉยแล้ว
    มีเรื่องไรอีกที่หวั่นไหวได้ แล้วยังหวั่นไหวไหม เฉยมากๆก็จะเบื่อ
    เฉยนั่นเที่ยงไหม เบื่อนั้นเที่ยงไหม
    ลองเปิดช่อง3 ดูเรยา2ทุ่มครึ่ง ก็ได้ครับว่าเฉยไหมหรือหนุกดี
    ลองบันจี้จั๊มดู หรือโดดหอ34ฟุต ไปเกาะกรงหมี กรงเสือแบบใกล้ชิดในพาต้า
    ว่ายังมีกลัวตายไหม ยังเฉยไหม

    ถ้าเจออะไรหวั่นไหวก็เข้าไปดูว่ามันเที่ยงไหมครับ หรือดับไปอีกแล้ว
    หรือไม่มีอะไรเกิด ดับ เฉยจริงๆ
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ตรงนี้เรียกว่า
    "จิตไม่อิ่มอารมณ์" หรือ ไม่เลิกใช้ขันธ์5แสวงหาทางหลุดพ้นนั่นแหละ [​IMG]
    ---------------------------------------------------------------------------

    เคยปรึกษาท่านผู้รู้ เกี่ยวกับเรื่องความเฉยๆนี้ ท่านก็ให้อุบายธรรมมาว่า "ก็ให้ดูที่ความเฉยๆ
    นี่ละ ที่มันเฉยๆ มันมีสาเหตุ สังขารธรรมทั้งหลาย เกิดแต่เหตุและปัจจัย ให้ใช้ อริยะสัจจ์เข้าพิจารณา "
    แต่ผมก็ยังขบไม่แตกอยู่ดี [​IMG]

    ท่านผู้รู้ บอกว่า ให้ดู ที่ความเฉยๆ ไม่ได้ให้ไปขบคิด [​IMG]

    ดู ความเฉยๆ อะ ทำเป็นป่าวววว เหมือนดูลูกหมา มันดำเนินชีวิตไปตามธรรมชาติ อะ [​IMG]

    ไม่ต้องไปช่วยลูกหมามันคิด ให้ลูกหมา มันเปิดปั๊กกะตู เอง [​IMG]

    ดูลูกหมามันหาทางเข้าประตู ของมันเอง ที่มันเฉยอยู่ มันอาจจะทำเหตุของมันอยู่ [​IMG]

    บางที ลูกหมามันอาจจะรอให้เจ้าของหยุดขบคิดก็ได้นะ เราจูงลูกหมามาเยอะแล้ว [​IMG]

    ประตูสุดท้าย มันต้อง ละเจตนา ไม่ต้องไปจูง ไม่ต้องไปช่วยเค้าขบคิดแร้ว....อ่า [​IMG]

    คิดเท่าไร ก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ก็ต้องอาศัยคิด [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2011
  19. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    ศึกษาทำความเข้าใจ เวทนานุปัสสนา


     
  20. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร<o></o>

    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ วิธีอย่างนี้แล้ว บัดนี้

    เพื่อจะตรัส เวทนานุปัสสนา ๙ วิธี
    จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นอย่างไรเล่า เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น
    บทว่า สุขเวทนา ความว่า ภิกษุกำลังเสวยเวทนาที่เป็นสุข ทางกายก็ดี ทางใจก็ดี ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา
    จะวินิจฉัยในคำนั้น แม้เด็กทารกที่ยังนอนหงาย เมื่อเสวยสุขในคราวดื่มนมเป็นต้น ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนาก็จริงอยู่
    แต่คำว่า สุขเวทนาเป็นต้นนี้ มิได้ตรัสหมายถึงความรู้ชัดอย่างนั้น เพราะความรู้ชัดเช่นนั้น ไม่ละความเห็นว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ไม่ถอนความสำคัญว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ไม่เป็นกัมมัฏฐานหรือสติปัฏฐานภาวนาเลย
    ส่วนความรู้ชัดของภิกษุนี้ ละความเห็นว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ถอนความสำคัญ ว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนได้ <o></o>
    ทั้งเป็นกัมมัฏฐาน เป็นสติปัฏฐาน ภาวนา
    ก็คำนี้ตรัสหมายถึง ความเสวยสุขเวทนาพร้อม ทั้งที่รู้ตัวอยู่ อย่างนี้ว่า <o></o>
    ใครเสวย ความเสวยของใครเสวยเพราะเหตุไร <o></o>
    สักว่าเวทนาไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา <o></o>
    จะวินิจฉัยในปัญหาเหล่านั้น
    ถามว่า ใครเสวย
    ตอบว่า มิใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ เสวย <o></o>
    ถามว่า ความเสวยของใคร
    ตอบว่า มิใช่ความเสวยของสัตว์ หรือบุคคลไรๆ
    ถามว่า เสวยเพราะเหตุไร
    ตอบว่า ก็เวทนาของ ภิกษุนั้นมีวัตถุเป็นอารมณ์ อย่างเดียว เหตุนั้น เธอจึงรู้อย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเสวยเวทนา เพราะทำวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา มีสุขเวทนา เป็นต้นนั้นๆ ให้เป็นอารมณ์
    ก็คำว่า เราเสวยเวทนา เป็นเพียงสมมติเรียกกัน เพราะยึดถือความเป็นไปแห่งเวทนานั้น เธอกำหนดว่า สัตว์ทั้งหลาย เสวยเวทนาเพราะ ทำวัตถุให้เป็นอารมณ์
    อย่างนี้ พึงทราบว่า เธอย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา

    เหมือนพระเถระรูปหนึ่ง ซึ่งสำนักอยู่ที่ จิตตลบรรพต พระเถระผู้เสวยทุกขเวทนา ได้ยินว่า
    พระเถระทุรนทุราย กลิ้งเกลือกอยู่ด้วยเวทนากล้าแข็ง คราวอาพาธไม่ผาสุก <o></o>
    ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เรียนถามว่า ท่านเจ็บตรงไหนขอรับ
    ท่านบอกว่าบอกที่เจ็บไม่ได้ดอกเธอ ฉันทำวัตถุเป็นอารมณ์ เสวยเวทนา<o></o>
    ถามว่า ตั้งแต่เวลารู้ชัดอย่างนั้น ท่านอดกลั้นไว้ ไม่ควรหรือขอรับ
    ตอบว่า ฉันจะอดกลั้นนะเธอ
    ภิกษุหนุ่ม กล่าวว่า อดกลั้นได้ก็ดีน่ะสิ ขอรับ
    พระเถระก็อดกลั้น ( ทุกขเวทนา ) <o></o>รคลมก็ผ่าแล่งจนถึงหัวใจ ไส้ของพระเถระก็ออกมากองบนเตียง พระเถระชี้ให้ภิกษุหนุ่มดู
    ถามว่า อดกลั้นขนาดนี้ควรไหม <o></o>
    ภิกษุหนุ่มก็นิ่ง
    พระเถระประกอบความเพียรสม่ำเสมอ บรรลุพระอรหัตพร้อมปฏิสัมภิทาทั้งหลายเป็นพระอรหัตสมสีสี ( ผู้สิ้นอาสวะ พร้อมกับสิ้นชีวิต คือ บรรลุอรหัตตผล ในขณะเดียวกับที่สิ้นชีวิต ) ปรินิพพานแล้ว <o></o>
    อนึ่ง ภิกษุผู้เจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนา <o></o>
    เมื่อเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนา
    เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา (ไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ อุเบกขาเวทนา) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา <o></o>
    หรือเมื่อเสวยสุขเวทนามีอามิส ( คือเจือกามคุณ ) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนามีอามิส
    หรือเมื่อเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส (คือไม่เจือกามคุณ ) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
    หรือเมื่อเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส<o></o>
    หรือเมื่อเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส <o></o>
    หรือเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา มีอามิส ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส <o></o>
    หรือเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังนี้
    <o></o>
    เวทนาเป็นอรูปกัมมัฏฐาน <o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสรูปกัมมัฏฐานด้วยประการฉะนี้แล้ว <o></o>
    เมื่อจะตรัสอรูปกัมมัฏฐาน แต่เพราะที่ตรัสด้วยอำนาจ ผัสสะ หรือด้วยอำนาจจิตกัมมัฏฐานไม่ปรากฏชัด ปรากฏเหมือนมืดมัว <o></o>
    ส่วนความเกิดขึ้นแห่ง เวทนาทั้งหลาย ปรากฏชัด กัมมัฏฐานปรากฏชัดด้วยอำนาจเวทนา
    ฉะนั้น จึงตรัสอรูปกัมมัฏฐาน ด้วย อำนาจเวทนา
    แม้ในพระสูตรนี้ เหมือนอย่างในสักกปัญหสูตร กถามรรค ในพระสูตรนี้นั้น พึงทราบโดยนัย<o></o>
    ที่ตรัสในสักกปัญหสูตรแล้วนั่นแลว่า ก็กัมมัฏฐานมี ๒ อย่าง คือ
    รูปกัมมัฏฐาน (กัมมัฏฐานที่ใช้รูปธรรมเป็น อารมณ์ของกัมมัฏฐาน )
    และอรูปกัมมัฏฐาน (กัมมัฏฐานที่ใช้นามธรรมเป็นอารมณ์ของกัมมัฏฐานในที่นี้คือ ใช้เวทนาเป็นอารมณ์ของกัมมัฏฐาน ) <o></o>
    พึงทราบวินิจฉัย ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ในคำว่า สุขเวทนา ดังนี้เป็นต้น <o></o>
    มีปริยาย ( ทาง ) แห่ง ความรู้ชัดอีกอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
    ข้อว่า สุขํ เวทนํ เวทิยมีติ ปชานาติ รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา ความว่า<o></o>
    เมื่อเสวยสุขเวทนา เพราะขณะเสวยสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาดังนี้ เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่าเวทนาไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา <o></o>
    เพราะในขณะที่ไม่มีทุกขเวทนาที่เคย<o></o>มีมาก่อน และเพราะก่อนแต่นี้ ก็ไม่มีสุขเวทนานี้ เธอรู้ตัวในสุขเวทนานั้นอย่างนี้ สมจริง ดังที่<o></o>
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ( ในทีฆนขสูตร มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย ) ดังนี้ว่า <o></o>
    ดูก่อนอัคคิเวสสนะ สมัยใดเสวยสุขเวทนา สมัยนั้น หาเสวยทุกขเวทนาไม่ หาเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่ ย่อมเสวยสุขเวทนาเท่านั้น <o></o>
    สมัยใดเสวยทุกขเวทนา สมัยนั้น หาเสวยสุขเวทนาไม่ หาเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่ ย่อมเสวยทุกขเวทนาเท่านั้น
    สมัยใดเสวยอทุกขสุขเวทนา สมัยนั้น หาเสวยทุกขเวทนาไม่ หาเสวยสุขเวทนาไม่ ย่อมเสวยอทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น

    ดูก่อนอัคคิเวสนะ แม้สุขเวทนาแล ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
    มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา <o></o>
    แม้ทุกขเวทนาแล ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น <o></o>
    มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา <o></o>
    แม้อทุกขมสุขเวทนาแล ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น <o></o>
    มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา <o></o>
    ดูก่อนอัคคิเวสสนะ อริยสาวกสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมหน่ายแม้ในสุขเวทนา แม้ในทุกขเวทนา แม้ใน อทุกขมสุขเวทนา
    เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น <o></o>
    เมื่อหลุดพ้น ย่อมหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำก็ทำเสร็จแล้ว กิจอย่างอื่นเพื่อเป็น<o></o>
    อย่างนี้ไม่มีอีกดังนี้

    เวทนาที่เป็นสามิสและนิรามิส<o></o>
    จะวินิจฉัยในข้อว่า สามิสํ วา สุขํ หรือสุขเวทนาที่มีอามิส เป็นต้น <o></o>
    โสมนัสเวทนาอาศัยอามิสคือกามคุณ ๕ ( รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัสถูกต้องทางกาย ) ขอให้ศึกษาจากพระอภิธรรมเอาเถิด <o></o>
    เวทนาใน เวทนานอก<o></o>
    ข้อว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา หรือภายใน ความว่า
    พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาทั้งหลายของตน เวทนาทั้งหลายของคนอื่น หรือในเวทนาทั้งหลายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล <o></o>
    ด้วยการกำหนดสุขเวทนาเป็นต้นอย่างนี้อยู่ -
    ส่วนในข้อว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา พิจารณาเห็นธรรมความเกิด (ในเวทนาทั้งหลาย ) นี้ มีวินิจฉัยว่า<o></o>
    ภิกษุเมื่อเห็นความเกิด และความเสื่อม แห่งเวทนาทั้งหลายด้วยอาการอย่างละ ๕ ว่า <o></o>
    เพราะอวิชชาเกิด จึง เกิดเวทนาดังนี้เป็นต้น
    พึงทราบว่า เธอพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดในเวทนาทั้งหลายอยู่
    พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อม ในเวทนาทั้งหลายอยู่
    หรือพิจารณาเห็นธรรม คือวามเกิดในเวทนาทั้งหลาย ตามกาลอยู่<o></o>
    พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในเวทนาทั้งหลาย ตามกาลอยู่
    คำว่า สติของเธอปรากฏชัดว่าเวทนามีอยู่ ความว่า <o></o>
    สติของภิกษุนั้นเข้าไปตั้งเฉพาะอย่างนี้ว่า เวทนาแลมีอยู่ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร<o></o>
    คำว่า เพียงเท่านั้น นี้เป็นเครื่องกำหนดเขตแห่งประโยชน์ ท่านอธิบายว่า
    สติที่เข้าไปตั้งอยู่นั้น หาใช่เพื่อประโยชน์อย่างอื่นไม่ ที่แท้ก็เพียงเพื่อประโยชน์สักว่า ความรู้
    คือประมาณแห่งความรู้ยิ่งๆ ขึ้นไป และประมาณแห่งสติเท่านั้น อธิบายว่า เพื่อความเจริญแห่งสติสัมปชัญญะ
    คำว่า ไม่ถูกกิเลส อาศัยอยู่ ความว่า ไม่ถูก กิเลสอาศัย ด้วยอำนาจแห่งกิเลสเป็นที่อาศัย คือตัณหา และทิฏฐิอยู่
    คำว่า ไม่ยึดถือสิ่งไรๆ ในโลกด้วย ความว่า ไม่ถือสิ่งไรๆ ในโลก คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญานว่า นี้เป็นตัวของเรา นี้มีในตัวของเรา <o></o>
    สติกำหนดเวทนา เป็นอริยสัจ ๔<o></o>
    ในเวทนานุปัสสนานี้
    สติอันกำหนดเวทนา เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ
    ตัณหาที่มีในก่อน อันยังสติ กำหนดเวทนา เป็นอารมณ์นั้นให้ตั้งขึ้น เป็นสมุทัยสัจ
    การหยุดทุกขสัจ และสมุทัยสัจทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ
    อริยมรรคอันกำหนดทุกข์ ละสมุทัย มีนิโรธเป็นอารมณ์เป็นมรรคสัจ
    ภิกษุโยคาวจร ขวนขวายโดยทางสัจจะ ๔ อย่างนี้ ย่อมบรรลุนิพพานดับทุกข์ได้แล
    นี้เป็นทางปฏิบัตินำทุกข์ออกจนถึงพระอรหัต ของภิกษุผู้กำหนดสติกำหนดเวทนาเป็นอารมณ์ อย่างนี้แล <o></o>
    <hr>
    จบเวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน<o></o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...