อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=3db331d906443edd3691da70d83b4df4.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ


    ข้อความเบื้องต้น พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุจฺฉินฺท" เป็นต้น.
    มาณพบวชแล้วได้กัมมัฏฐานไม่ถูกอัธยาศัย ได้ยินว่า บุตรของนายช่างทองคนหนึ่งมีรูปสวย บวชในสำนักของพระเถระแล้ว. พระเถระดำริว่า "พวกคนหนุ่ม มีราคะหนา" แล้วได้ให้อสุภกัมมัฏฐานแก่ท่าน เพื่อกำจัดราคะ. แต่กัมมัฏฐานนั้นไม่เป็นที่สบายสำหรับท่าน เพราะเหตุนั้น ท่านเข้าไปสู่ป่าแล้ว พยายามอยู่สิ้น ๓ เดือน ไม่ได้แม้ซึ่งคุณมาตรว่าความเป็นผู้มีจิตแน่แน่วแล้ว จึงมาสู่สำนักของพระเถระอีก
    เมื่อพระเถระกล่าวว่า "ท่าน กัมมัฏฐานมาปรากฏแก่ท่านแล้วหรือ?" จึงบอกความเป็นไปนั้น. ครั้งนั้น พระเถระกล่าว (กะท่าน) ว่า "การถึงการปลงใจว่า ‘กัมมัฏฐานไม่สำเร็จ’ ดังนี้ ย่อมไม่สมควร" แล้วบอกกัมมัฏฐานนั้นแหละให้ดีขึ้นอีก แล้วได้ให้แก่ท่าน.
    แม้ในวาระที่ ๒ ท่านก็ไม่อาจยังคุณวิเศษอะไรๆ ให้เกิดขึ้นได้ จึง (กลับ) มาบอกแก่พระเถระ. แม้พระเถระบอกกัมมัฏฐานนั้นเอง ทำให้มีเหตุมีอุปมา. ท่านก็มาบอกความที่กัมมัฏฐานไม่สำเร็จแม้อีก.
    พระเถระคิดว่า "ภิกษุผู้ทำ (ความเพียร) ย่อมทราบนิวรณธรรม มีความพอใจในกามเป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในตนว่า ‘มีอยู่’ และที่ไม่มีว่า ‘ไม่มี’ ก็ภิกษุแม้นี้ เป็นผู้ทำ(ความเพียร) มิใช่เป็นผู้ไม่ทำ เป็นผู้ปฏิบัติ มิใช่เป็นผู้ไม่ปฏิบัติ แต่เราไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุนั่น, ภิกษุนั่นจักเป็นผู้อันพระพุทธเจ้าพึงแนะนำ"
    จึงพาท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาในเวลาเย็น แล้วกราบทูลความเป็นไปนั้นทั้งหมดว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้เป็นสัทธิวิหาริกของข้าพระองค์, ข้าพระองค์ให้กัมมัฏฐานชื่อนี้แก่ภิกษุนี้ ด้วยเหตุนี้."
    พระศาสดาประทานกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่ภิกษุนั้น ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า "ชื่อว่าอาสยานุสยญาณนั่น ย่อมมีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญบารมีแล้ว ยังหมื่นโลกธาตุให้บันลือแล้ว ถึงความเป็นพระสัพพัญญูนั่นแล" แล้วทรงรำพึงอยู่ว่า "ภิกษุนี้บวชจากสกุลไหนหนอแล?" ทรงทราบว่า "จากสกุลช่างทอง" ทรงพิจารณาอัตภาพที่ล่วงมาแล้ว ทรงเห็นอัตภาพ ๕๐๐ ของภิกษุนั้นอันเกิดโดยลำดับเฉพาะในสกุลช่างทอง แล้วทรงดำริว่า "ภิกษุหนุ่มนี้ ทำหน้าที่ช่างทองอยู่ตลอดกาลนาน หลอมแต่ทองมีสีสุกอย่างเดียว ด้วยคิดว่า "เราจักทำให้เป็นดอกกรรณิการ์และดอกปทุมเป็นต้น. อสุภปฏิกูลกัมมัฏฐานไม่เหมาะแก่ภิกษุหนุ่มนี้, กัมมัฏฐานที่พอใจเท่านั้น จึงจะเป็นกัมมัฏฐานที่สบายแก่เธอ"
    จึงตรัสว่า "สารีบุตร เธอจักเห็นภิกษุที่เธอให้กัมมัฏฐาน ลำบากแล้วตลอด ๔ เดือน บรรลุพระอรหัตในภายหลังภัต ในวันนี้นั่นแหละ เธอไปเถิด" ดังนี้แล้ว ทรงส่งพระเถระไป ทรงนิรมิตดอกปทุมทอง ประมาณเท่าจักรด้วยพระฤทธิ์ แล้วทรงทำให้เป็นเหมือนหลั่งหยาดน้ำจากใบและก้าน แล้วได้ประทานให้ด้วยพระดำรัสว่า "เอาเถิด ภิกษุ เธอจงถือเอาดอกปทุมนี้ไปวางไว้ที่กองทรายที่ท้ายวิหาร นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า แล้วทำบริกรรมว่า ‘โลหิตกํ โลหิตกํ’ (สีแดง สีแดง)"
    เมื่อภิกษุนั้นรับดอกปทุมจากพระหัตถ์ของพระศาสดาเท่านั้น จิตก็เลื่อมใสแล้ว, ท่านไปยังท้ายวิหารพูนทรายขึ้นแล้ว เสียบก้านดอกปทุมที่กองทรายนั่นแล้ว นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า เริ่มบริกรรมว่า "โลหิตกํ โลหิตกํ."
    ภิกษุนั้นสำเร็จคุณวิเศษ ครั้งนั้น นิวรณ์ทั้งหลายของท่านระงับแล้วในขณะนั้นนั่นเอง อุปจารฌานเกิดแล้ว. ท่านยังปฐมฌานให้เกิดขึ้น ในลำดับแห่งอุปจารฌานนั้น ให้ถึงความเป็นผู้ชำนาญโดยอาการ#- ๕ นั่งอยู่ตามเดิมเทียว บรรลุฌานทั้งหลายมีทุติยฌานเป็นต้นแล้ว นั่งเล่นฌานในจตุตถฌานที่ชำนาญอยู่.
    ____________________________
    #- อาการ ๕ คือ
    อาวัชชนะ การนึก, สมาปัชชนะ การเข้า, วุฏฐานะ การออก,
    อธิฏฐานะ การตั้งใจปรารถนา, ปัจจเวกขณะ การพิจารณา.

    พระศาสดาทรงทราบว่าฌานทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นแล้ว ทรงพิจารณาดูว่า "ภิกษุนี่จักอาจเพื่อยังคุณวิเศษอันยิ่งให้เกิดขึ้นตามธรรมดาของตนหรือหนอ?" ทรงทราบว่า "จักไม่อาจ" แล้วทรงอธิษฐานว่า "ขอดอกปทุมนั้นจงเหี่ยวแห้งไป" ดอกปทุมนั้นได้เหี่ยวแห้งมีสีดำ เหมือนดอกปทุมที่ถูกขยี้ด้วยมือฉะนั้น.
    ภิกษุนั้นออกจากฌานแล้ว แลดูดอกปทุมนั้น เห็นอนิจจลักษณะว่า "ทำไมหนอแล ดอกปทุมนี้ถูกชรากระทบแล้วจึงปรากฏได้, แม้เมื่ออนุปาทินนกสังขารอันชรายังครอบงำได้อย่างนี้, ในอุปาทินนกสังขารก็ไม่จำต้องพูดถึง, อันชราคงจักครอบงำอุปาทินนกสังขารแม้นี้."
    ก็ครั้นอนิจจลักษณะนั้นอันท่านเห็นแล้ว, ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะ ก็ย่อมเป็นอันเห็นแล้วเหมือนกัน. ภพ ๓ ปรากฏแล้วแก่ท่านดุจไฟติดทั่วแล้ว และดุจซากศพอันบุคคลผูกไว้ที่คอ.
    ในขณะนั้น พวกเด็กลงสู่สระแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกลภิกษุนั้น เด็ดดอกโกมุททั้งหลายแล้ว ทำให้เป็นกองไว้บนบก. ภิกษุนั้นแลดูดอกโกมุททั้งหลายบนบกและในน้ำ. ลำดับนั้น ดอกโกมุทในน้ำงดงาม ปรากฏแก่เธอประดุจหลั่งน้ำออกอยู่ ดอกโกมุทนอกนี้เหี่ยวแห้งแล้วที่ปลายๆ. ภิกษุนั้นเห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นดีขึ้นว่า "ชราย่อมกระทบอนุปาทินนกสังขารอย่างนี้ ทำไมจึงจักไม่กระทบอุปาทินนกสังขารเล่า?"
    จงตัดความเยื่อใย เจริญทางสงบ พระศาสดาทรงทราบว่า "บัดนี้ กัมมัฏฐานปรากฏแก่ภิกษุนี้แล้ว ประทับนั่งในพระคันธกุฎีเทียว ทรงเปล่งพระรัศมีไป. พระรัศมีนั้นกระทบหน้าภิกษุนั้น. ครั้นเมื่อท่านพิจารณาอยู่ว่า "นั่นอะไรหนอ?" พระศาสดาได้เป็นประหนึ่งว่าเสด็จมาประทับยืนอยู่ที่ตรงหน้า. ท่านลุกขึ้นแล้วประคองอัญชลี.
    ลำดับนั้น พระศาสดาทรงกำหนดธรรมเป็นที่สบายของเธอแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
    ๗. อุจฺฉินฺท สิเนหมตฺตโน
    กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา
    สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย
    นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ.
    เธอจงตัดความเยื่อใยของตนเสีย เหมือนบุคคลถอน
    ดอกโกมุทที่เกิดในสรทกาลด้วยมือ, จงเจริญทางแห่ง
    สันติทีเดียว (เพราะ) พระนิพพาน อันพระสุคตแสดง
    แล้ว.

    แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺฉินฺท คือ จงตัดด้วยอรหัตมรรค.
    บทว่า สารทิกํ ได้แก่ ที่เกิดแล้วในสรทกาล.
    บทว่า สนฺติมคฺคํ คือ ซึ่งทางอันมีองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน.
    บทว่า พฺรูหย คือ จงเจริญ.
    บทว่า นิพฺพานํ ความว่า เพราะพระนิพพานอันพระสุคตทรงแสดงแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจงเจริญทางแห่งพระนิพพานนั้น.
    ในเวลาจบเทศนา ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.
    เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ จบ.
    ------------------------------------------------

    อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    xJJzOPofYvhtBYjElmwZ7mzhBvzVSyxq_rLR0-S2RTKL&_nc_ohc=pJeH18MfqWoAX_MA0iq&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก


    ๑. เป็นผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาป
    ๒. เป็นผู้ยกตน ข่มผู้อื่น
    ๓. เป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำแล้ว
    ๔. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ
    ๕. เป็นผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ
    ๖. เป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ
    ๗. ถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์
    ๘. ถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์
    ๙. ถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์
    ๑๐. ถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ
    ๑๑. ถูกโจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)
    ๑๒. เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ
    ๑๓. เป็นผู้ริษยา ตระหนี่
    ๑๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา
    ๑๕. เป็นผู้กระด้าง มักดูหมิ่นผู้อื่น
    ๑๖. เป็นผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยาก
    สรุปความบางตอนจาก อนุมานสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=15
    tpAYWPcJQ0PIQUPu7ihCZTvcVwPMQ8FroEPzlhJJ5-Ns&_nc_ohc=QFUU3ooCAbsAX-JCLg_&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
    ***********
    [๓๖] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
    คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่
    ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
    ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
    ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
    ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
    ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
    ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
    ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
    ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

    บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ ความรู้ในทุกข์ (ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

    บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร คือ ความดำริในเนกขัมมะ (การออกจากกาม) ความดำริในอพยาบาท (ความไม่พยาบาท) ความดำริในอวิหิงสา (การไม่เบียดเบียน) นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ

    บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวาจา เป็นอย่างไร คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมุสาวาท (พูดเท็จ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากสัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) นี้เรียกว่า สัมมาวาจา

    บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากอทินนาทาน (การลักทรัพย)์ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม) นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ

    บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร คือ ข้อที่พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาอาชีวะ สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

    บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตมุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ สร้างฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ

    บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสติ เป็นอย่างไร คือ ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นี้เรียกว่า สัมมาสติ

    บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร คือ ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌานที่เป็นความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้และเพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

    นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
    ……………
    ข้อความบางตอนใน สุตมยญาณนิทเทส ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=14

    มรรคที่เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานั้น พร้อมด้วยโลกิยมรรค ได้แก่วิชชาและจรณะ เพราะสงเคราะห์สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะด้วยวิชชา สงเคราะห์ธรรมที่เหลือด้วยจรณะ.

    อนึ่ง ได้แก่ สมถะและวิปัสสนา เพราะสงเคราะห์ธรรมทั้งสองอย่างนั้นด้วยวิปัสสนายาน สงเคราะห์ธรรมนอกนั้นด้วยสมถยาน.

    ได้แก่ ขันธ์ ๓ และสิกขา ๓ เพราะสงเคราะห์ธรรมทั้งสองนั้นด้วยปัญญาขันธ์, สงเคราะห์ธรรม ๓ อย่างในลำดับธรรมนั้นด้วยสีลขันธ์, สงเคราะห์ธรรม ๓ อย่างที่เหลือด้วยสมาธิขันธ์ และสงเคราะห์ด้วยอธิปัญญาสิกขา อธิสิลสิกขาและอธิจิตตสิกขา.

    พระอริยสาวกประกอบด้วยมรรค เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดุจคนเดินทางไกลประกอบด้วยตาสามารถเห็นได้ และด้วย เท้าสามารถเดินไปได้ เว้นที่สุด ๒ อย่าง คือ เว้นกามสุขัลลิกานุโยคด้วยวิปัสสนายาน เว้นอัตกิลมถานุโยคด้วยสมถยาน ปฏิบัติมัชฌิมาปฏิปทา

    ทำลายกองโมหะด้วยปัญญาขันธ์... กองโทสะด้วยสีลขันธ์... กองโลภะด้วยสมาธิขันธ์

    ถึงสมบัติ ๓ คือ ปัญญาสัมปทาด้วยอธิปัญญาสิกขา, สีลสัมปทาด้วยอธิสีลสิกขา, สมาธิสัมปทาด้วยอธิจิตตสิกขา แล้วบรรลุนิพพานอันเป็นอมตะ.

    ภิกษุหยั่งลงสู่อริยภูมิกล่าวคือสัมมัตตนิยาม อันวิจิตรด้วยธรรมรัตนะคือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ งามในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด ด้วยประการฉะนี้.

    ……………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถามรรคสัจนิทเทส http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…
    #ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ #มัชฌิมาปฏิปทา #อริยมรรคมีองค์

    vqkgnp5u7aobt2qffp3nzb99gb8yiaqmq8vfexqr-_nc_ohc-pu-182r18lmax_4bemu-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=1b65d20c4187392c7071e7666cc16733.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    อนุสสติ ๑๐ อย่าง เป็นเหตุให้เกิดสติ
    *************
    (มีสติด้วยเหตุอีก ๑๐ อย่าง คือ)
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมคุณ
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงสังฆคุณ
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
    ๕. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
    ๖. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
    ๗. ชื่อว่ามีสติ เพราะตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
    ๘. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา
    ๙. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกทั่วไปในกาย(ให้เห็นว่าไม่งาม)
    ๑๐. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับ(กิเลสและความทุกข์) คือนิพพาน
    …….
    ข้อความบางตอนใน กามสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=1

    พระสารีบุตรเถระแสดงวิปัสสนาโดยเปรียบด้วยโครงกระดูกเป็นต้น และเปรียบด้วยกองไฟเป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงอุปจารสมาธิ จึงกล่าวคำว่า พุทฺธานุสฺสตึ ภาเวนฺโต เป็นต้น.

    บรรดาบทเหล่านั้น สตินั่นแหละ ชื่อว่าอนุสสติ เพราะเกิดขึ้นบ่อยๆ.

    อนึ่ง ชื่อว่าอนุสสติ เพราะอรรถว่าสติที่สมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรให้เป็นไปนั่นเอง ดังนี้ก็มี.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ชื่อว่าพุทธานุสสติ. คำว่า พุทธานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระพุทธคุณ, มีความเป็นพระอรหันต์เป็นต้นเป็นอารมณ์ซึ่งพุทธานุสสตินั้น.
    บทว่า ภาเวนฺโต ได้แก่ เจริญอยู่คือเพิ่มพูนอยู่.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระธรรม ชื่อว่าธรรมานุสสติ, คำว่า ธรรมานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระธรรมคุณ, มีความเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่าสังฆนุสสติ. คำว่า สังฆานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระสังฆคุณ, มีความเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้นเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อว่าสีลานุสสติ. คำว่า สีลานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีศีลคุณ, มีความไม่ขาดเป็นต้นของตนเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภจาคะ ชื่อว่าจาคานุสสติ. คำว่า จาคานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีจาคคุณ, มีความเป็นผู้มีจาคะอันสละแล้วของตนเป็นต้น เป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภเทวดา ชื่อว่าเทวตานุสสติ. คำว่า เทวตานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีคุณมีศรัทธาของตนเป็นต้น ตั้งเทวดาทั้งหลายไว้ในฐานะพยานเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภลมหายใจเข้าออก ชื่อว่าอานาปานัสสติ. คำว่า อานาปานัสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตแห่งลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความตาย ชื่อว่ามรณานุสสติ. คำว่า มรณานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีความตายกล่าวคือความแตกแห่งชีวิตินทรีย์ที่นับเนื่องในภพหนึ่งเป็นอารมณ์.
    สติที่ไป, คือเป็นไปในสรีระที่นับว่ากาย เพราะเป็นความเจริญ คือเป็นบ่อเกิดของสิ่งปฏิกูลทั้งหลายมีผมเป็นต้นที่น่าเกลียด ชื่อว่า กายคตาสติ. เมื่อควรจะกล่าวว่า กายคตสติ ท่านกล่าวว่า กายคตาสติ เพราะไม่รัสสะ แม้ในที่นี้ท่านก็กล่าวคำนี้เป็นกายคตาสติ เหมือนกัน. คำว่า กายคตาสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตปฏิกูลในส่วนของร่างกายมีผมเป็นต้นเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความสงบ ชื่อว่าอุปสมานุสสติ คำว่า อุปสมานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระนิพพานอันเป็นที่เข้าไปสงบทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์.

    ผู้เจริญปฐมฌานอันประกอบด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญทุติยฌานอันประกอบด้วยปิติ สุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญตติยฌานอันประกอบด้วยสุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญจตุตถฌานอันประกอบด้วยอุเบกขาและจิตเตกัคคตา ฯลฯ แม้ผู้เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย.

    พระสารีบุตรเถระแสดงการละกามโดยการข่มไว้ด้วยประการฉะนี้.
    ……..
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถากามสุตตนิทเทส http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…

    ya3sqggqcihwibk63idwdnmobwllbfglgndatq4rhshvzihza7g63svxyiihsby85_hf-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg

    ไฟล์ที่แนบมา:
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    องค์ธรรม ๗ ประการมีสัมมาทิฏฐิ เป็นหัวหน้าแวดล้อมซึ่งสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ผู้มีสัมมาสมาธิพอเหมาะ (บริบูรณ์ครบถ้วนไม่ขาดไม่เกิน) ก็จะมีสัมมาญาณญาณะและสัมมาวิมุตติด้วย
    ************
    [๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
    สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
    คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสติก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติก็มีพอเหมาะ

    ภิกษุทั้งหลาย พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ (แม้ในบรรดาองค์เหล่านั้น บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกไปปราศแล้ว ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนาโดยสัมมาญาณะ) ด้วยประการฉะนี้

    [๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
    สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
    คือ สัมมาทิฏฐิ ย่อมทำลายมิจฉาทิฏฐิได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนกอันมีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาทิฏฐินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็นอเนกอันมีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
    สัมมาสังกัปปะ ย่อมทำลายมิจฉาสังกัปปะได้ ...
    สัมมาวาจา ย่อมทำลายมิจฉาวาจาได้ ...
    สัมมากัมมันตะ ย่อมทำลายมิจฉากัมมันตะได้ ...
    สัมมาอาชีวะ ย่อมทำลายมิจฉาอาชีวะได้ ...
    สัมมาวายามะ ย่อมทำลายมิจฉาวายามะได้ ...
    สัมมาสติ ย่อมทำลายมิจฉาสติได้ ...
    สัมมาสมาธิ ย่อมทำลายมิจฉาสมาธิได้ ...
    สัมมาญาณะ ย่อมทำลายมิจฉาญาณะได้ ...
    สัมมาวิมุตติ ย่อมทำลายมิจฉาวิมุตติได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนก อันมีมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาวิมุตตินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็นอเนกอันมีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่

    ภิกษุทั้งหลาย เราจึงประกาศธรรมบรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะฝ่ายกุศล ๒๐ ประการ ฝ่ายอกุศล ๒๐ ประการ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกยังประกาศไม่ได้ไว้ ด้วยประการฉะนี้
    …ฯลฯ...
    .....................
    ข้อความบางตอนใน มหาจัตตารีสกสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=17

    อรรถกถามหาจัตตารีสกสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=252

    d8-wmhri1ppxtpkfw8iq3kxt_z50kvo7dbjn1ffr-_nc_ohc-7x0bohcgtaiax-4igux-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=647785e07e0ff8e1a82383f9f3dc6194.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น
    ***********
    [๑๖๔] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ... นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกฏฐิกะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น
    ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นอนัตตา คือ จักขุเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในจักขุนั้น รูปเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในรูปนั้น จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในจักขุวิญญาณนั้น จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในจักขุสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา เธอพึง
    ละฉันทะในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นอนัตตานั้น ฯลฯ
    ชิวหาเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในชิวหานั้น ฯลฯ มโนเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในมโนนั้น ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นอนัตตานั้น
    โกฏฐิกะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”
    ......................
    โกฏฐิกอนัตตสูตร สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=142
    หมายเหตุ โกฏฐิกอนัตตสูตร ว่าด้วยทรงแสดงอนัตตาแก่พระมหาโกฏฐิกะ คือ ท่าน พระมหาโกฏฐิกะทูลขอให้ทรงแสดงธรรมเพื่อหลีกออกไปอยู่คนเดียว พระผู้มีพระภาค จึงทรงแสดงว่า อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัส ๖ เป็นปัจจัย เป็นอนัตตา ให้ละความพอใจในอายตนะเหล่านั้น
    #อนัตตา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    k3Ew0thsQQ4FoTEUxkT_N_cu2bSmeLqzXlVVVTvN-7kb&_nc_ohc=5fq54W5hRV0AX8EsMMk&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    temp_hash-7fb9b674be6071a60f882f6f415888f3-jpg.jpg
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    การอนุมานตนเอง
    ************
    ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า
    ‘บุคคลผู้ยกตนข่มผู้อื่นย่อมไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’
    ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่ยกตน จักไม่ข่มผู้อื่น’
    ข้อความบางตอนใน อนุมานสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=15
    e4m6qhICoDWxly0n7FTyg2YG9sAZc3mAliNrBKKzDO6V&_nc_ohc=mTpT206GFHMAX_TREvt&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    TsQ-YRQTif_a5H88MhZpBTruvmzZHDfbdo_9RSQ3ES_O&_nc_ohc=UyxyLvXBrIMAX8qrgP_&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg






    เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิจึงไม่มี
    ************
    [๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้มีสติสัมปชัญญะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรียสังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้มีสติสัมปชัญญะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรียสังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    ฯลฯ
    วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อหิริและโอตตัปปะมี อินทรียสังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่ออินทรียสังวรมีศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อศีลมี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    เมื่อหิริและโอตตัปปะมี อินทรียสังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
    ฯลฯ
    วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ฉันนั้นเหมือนกัน”
    ...........
    สติสัมปชัญญสูตร อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=154
    หมายเหตุ เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี ธรรมเหล่านี้ คือ หิริและโอตตัปปะ, อินทรียสังวร, ศีล, สัมมาสมาธิ, ยถาภูตญาณทัสสนะ, นิพพิทาและวิราคะ และ วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมไม่มีตามไปด้วย เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบเสีย แม้สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่นก็ไม่สมบูรณ์ไปด้วย
    ในทางตรงกันข้าม เมื่อสติสัมปชัญญะมี ธรรมเหล่านี้ คือ หิริและโอตตัปปะ, อินทรียสังวร, ศีล, สัมมาสมาธิ, ยถาภูตญาณทัสสนะ, นิพพิทาและวิราคะ และ วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมจะมีตามไปด้วย เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบที่สมบูรณ์ แม้สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่นก็สมบูรณ์ไปด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    pnYck6Lfj8FN9xNvFTfLOb1zt_JHKp1LE407PjM1Bs0O&_nc_ohc=kebqQj5VrdAAX-QSpPK&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    [๒๕] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
    ธรรม ๑ อย่างที่ควรเจริญ คือ กายคตาสติที่ประกอบด้วยความสำราญ
    ธรรม ๒ อย่างที่ควรเจริญ คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
    ธรรม ๓ อย่างที่ควรเจริญ คือ สมาธิ ๓
    ธรรม ๔ อย่างที่ควรเจริญ คือ สติปัฏฐาน ๔
    ธรรม ๕ อย่างที่ควรเจริญ คือ สัมมาสมาธิอันมีองค์ ๕
    ธรรม ๖ อย่างที่ควรเจริญ คือ อนุสสติฏฐาน (อนุสสติที่เป็นเหตุ) ๖
    ธรรม ๗ อย่างที่ควรเจริญ คือ โพชฌงค์ ๗
    ธรรม ๘ อย่างที่ควรเจริญ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘
    ธรรม ๙ อย่างที่ควรเจริญ คือ ปาริสุทธิปธานิยังคะ ๙
    ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรเจริญ คือ กสิณ ๑๐
    ……………
    ข้อความบางตอนใน สุตมยญาณนิทเทส ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=14
    3z0d6v-4puG1B17ZOkWYtdJ4kAIGfXZ-BKHIBd_ruIDU&_nc_ohc=7Pf0ybJ1NLAAX_JqsqF&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    PXRIh84rWbb-VZip7BEjdLjtWasJ9fTDsjWJjH9N3jDI&_nc_ohc=eToKPmTSiMMAX-NbarA&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    24T20Xyq6SKA9yxtNE1MKbiS5RJIm2qPuhOzoQeSq4TW&_nc_ohc=AXbCoQfAg9oAX8PNU6f&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ..#เมตตาธรรมค้ำจุนโลก..
    ..อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาชนิดนี้พร้อมไปด้วยสติปัญญา อย่างรอบรู้อย่างเข้าใจและรอบคอบ พวกเราควรมาฝึกฝนอบรมตนเองให้มีอุเบกขาในสัมโพชฌงค์ ซึ่งรอบรู้ในกองสังขารทั้งหลายด้วยปัญญา รู้ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และความดับไปของสังขารและสัตว์โลก ทั้งมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เขาเข้าใจว่าสัตว์เกิดขึ้นมาในโลกนี้ เขารู้จักว่ามีเกิดขึ้นมา ตั้งแต่เล็กไม่เที่ยง เกิดมาแล้วอยู่มีความทุกข์ มาเฒ่ามาแก่ ก็ล่วงลับดับตายไปตามธรรมชาติของสังขาร รู้ด้วยปัญญา
    ..แม้บุคคลเกิดขึ้นมา ชาติใดภาษาใด ทั้งหญิงและชาย เล็กใหญ่ก็เหมือนกัน เข้าใจ รู้จริง เห็นเป็นสัจธรรม เป็นของจริงว่าคนเกิดมาชาติใดภาษาใดก็ตาม เกิดขึ้นมาต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายเป็นธรรมดาที่สุด เมื่อรู้เกิดขึ้นมาด้วยปัญญาอันแจ้งชัดเช่นนี้ จึงเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ รู้ของจริงด้วยปัญญาอันแจ้งชัดได้ เหตุฉะนั้นหากสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็รู้ ความแปรปรวนไปของสังขารทั้งหลายก็รู้ จิตใจก็ไม่เหี่ยวแห้งร่วงโรยโศกเศร้าโศกาอาดูรไปด้วย
    ..เหมือนสัตว์ทั้งหลายมีความทุกข์เกิดขึ้น หรือเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายมีความทุกข์ลำบาก ก็พยายามช่วยจนสุดกำลัง เหมือนพวกเราช่วยคนป่วยคนเจ็บเป็นโรคต่างๆนานานี่แหละ ช่วยพาไปหาแพทย์หาหมอก็ดี ช่วยพยาบาลก็ดี จนหมดกำลัง บุคคลนั้นก็ล่วงลับดับตายไปจากพวกเรา เราก็ต้องวางอุเบกขา เป็นสัมโพชฌงค์ รู้ อุเบกขาแล้ว ไม่โศกเศร้าโศกาอาดูรด้วย เพราะเราช่วยหมดกำลังของเรา ปัญญาที่รู้อย่างนี้เองเรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์..
    ..#โอวาทธรรมหลวงปู่เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป..เมตตาธรรมค้ำจุนโลก#11..
    zwwbhLtn7D8LEvV9etjahk0Rtgmf1TZLHH7RULXhUrJW&_nc_ohc=ACWuTFFGIU4AX8QaeZ7&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=88792674e61b1a132073cfa6dae5e3ac.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...